Skip to main content

ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี

คุณธรรมของ "ความเท่าเทียมระหว่างเพศ" ไม่ใช่คุณธรรมแบบไทยๆ แน่ๆ แต่ผมมั่นใจว่าสังคมไทยก็ไม่ได้เหยียดผู้หญิงมากเท่าที่เป็นอยู่อย่างในปัจจุบันมาก่อน และที่จริงการเคารพเพศอย่างเท่าเทียมกันก็ไม่ใช่คุณธรรมแบบตะวันตกอีกด้วย เพราะสังคมตะวันตกก็เหยียดเพศ เกลียดตุ๊ดไม่น้อยไปกว่าหรืออาจจะยิ่งกว่าในสังคมไทยและสังคมตะวันออกตั้งมากมายด้วย

แต่หากใครจะบอกว่า สังคมไทยเป็นสังคม "ปิตาธิปไตย" ชายเป็นใหญ่มาแต่ไหนแต่ไร ผมก็ว่าไม่ถูกนัก สังคมไทยในอดีต (นานแค่ไหนไม่รู้ อย่างน้อยในรุ่นยายผมก็ยังเป็นอย่างนั้นอยู่) ไม่ได้ยอมให้ใครเหยียดเพศแม่ได้ง่ายๆ อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน ผมคิดว่าการเหยียดเพศหญิงอย่างในปัจจุบันน่าจะมีที่มาจากสอง-สามแหล่ง ซึ่งมาจากซีกโลก "ตะวันตก" ของไทยทั้งสิ้น

หนึ่งคือจากศาสนาโลก ไม่ว่าจะฮินดู (พราหมณ์) พุทธ คริสต์ อิสลาม ให้ค่าผู้หญิงต่ำกว่าผู้ชายทั้งสิ้น เทพเจ้าสูงสุดของฮินดูสามองค์ ศิวะ พรหม นารายณ์ เป็นชายทั้งสิ้น พุทธศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบเถรวาทกีดกันผู้หญิง ในศาสนาคริสต์ผู้หญิงเกิดจากกระดูกซี่โครงของผู้ชาย เกิดมาภายหลังและเกิดจากผู้ชาย ในอิสลามผู้หญิงต้องอยู่ในการดูแลของผู้ชาย ต้องควบคุมตัวเองเพื่อไม่กระตุ้นราคะของผู้ชาย

สองคือจากสังคมอเมริกันชั้นกลาง ที่กดผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง "อเมริกันดรีม" ที่พ่อบ้านทำงานเหน็ดเหนื่อยกลับมาบ้านแล้วเจอศรีภรรยาทำกับข้าวด้วยเครื่องครัวที่อำนวยความสะดวกสารพัด แม่บ้านเลี้ยงดูลูกๆ ทำความสะอาดบ้าน ระหว่างที่สามีทำงานนอกบ้าน ในครอบครัวขนาดเล็กที่มีพ่อ-แม่-ลูก คือครอบครัวในอุดมคติของสังคมอเมริกันยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สังคมของผู้ชนะสงครามแล้วก่อสงครามไปทั่วโลก

ถ้าจะมีอีกแหล่ง น่าจะมาจากสังคมวิกตอเรี่ยนในยุโรปศตวรรษที่ 19 นี่เอง ที่ควบคุมเพศหญิงให้รักนวลสงวนตัว ผู้หญิงถูกควบคุม ถูกเก็บไว้ในบ้าน ถูกเรียกร้องให้เสียสละต่อครอบครัว ผู้หญิงไม่มีสิทธิในการเลือกตั้ง ยุคนี้นี่เองที่เริ่มมีขบวนการสิทธิสตรีในยุโรป เพื่อต่อต้านกับการกดทับอำนาจของผู้หญิง

แต่ในสังคมก่อน อยู่นอก แต่ยังผสมผสานอยู่กับสังคมไทยหลังอิทธิพลของศาสนาโลก ผู้หญิงมีที่ทางมากกว่าในยุโรปและอเมริกันยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนน่าเชื่อว่าจะมีอำนาจมากกว่าผู้ชาย เอาง่ายๆ คือ การที่ผู้ชายต้องแต่งงานแล้วเข้าไปอยู่บ้านผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงครอบครองพื้นที่ทั้งที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ผู้ชายต้องเข้าไปอยู่ในสังคมผู้หญิง เป็นคนนอกในสังคมของผู้หญิงที่เป็นพี่น้องกันหมด

สังคมลักษณะนี้น่าจะเป็นพื้นฐานของสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไล่เรื่อยไปจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิค ที่มีหลักฐานความเท่าเทียมกันระหว่างเพศมายืนยันมากมาย จนเป็นที่มาของแนวคิดเฟมินิสต์ยุคใหม่ ที่ท้าทายความเชื่อเดิมๆ ของเฟมินิสต์ที่เอาผู้หญิงตะวันตกเป็นศูนย์กลาง แล้วสรุปเหมารวมอย่างผิดๆ ว่าผู้หญิงถูกกดขี่ทั่วโลก

ในการศึกษาสังคมไทยช่วงหลังๆ จึงเริ่มมีนักมานุษยวิทยาประวัติศาสตร์อย่างแคทเธอรีน บาววี่เสนอว่า การสร้างเครือข่ายทางการเมืองเชื่อมโยงสังคมในวังเข้ากับสังคมชาวบ้าน น่าจะผ่านเครือข่ายผู้หญิงในหมู่บ้าน และดังนั้น การ "ถวายตัว" ของผู้หญิง แท้จริงแล้วเป็นการเชื่อมสายสัมพันธ์ระหว่างเจ้ากับไพร่ผ่านเครือข่ายผู้หญิงในหมู่บ้าน เป็นคนละเรื่องกันกับการสร้างฮาเร็มที่พวกฝรั่งมักเข้าใจเก่ียวกับโลกของนางใน

ว่าด้วยสังคม "นางใน" มีหลักฐานการสร้างฐานอำนาจของฝ่ายหญิงในสังคมชนชั้นสูง สุจิตต์ วงษ์เทศเคยบอกเล่าว่า ในสมัยอยุธามีคำว่า "กษัตริย์ฝ่ายใน" หมายถึงเจ้านายฝ่ายหญิงที่มีอิทธิพลไม่น้อยกว่ากษัตริย์ผู้ชาย 

ในเวียดนามในอดีตเมื่อหลายศตวรรษก่อน นักประวัติศาสตร์พบว่าเมื่อกษัตริย์สิ้นพระชนม์แล้ว ในบางรัชกาลแทนที่จะตั้งกษัตริย์ใหม่ กลับให้ราชินีองค์เดิมสมรสกับกษัตริย์องค์ใหม่ ที่อาจเป็นน้องชายหรือพี่ชายของกษัตริย์องค์เก่า ทั้งนี้เพื่อรักษาอำนาจของเครือข่ายราชินีไว้ พูดอีกอย่างก็คือ บางครั้งราชินีก็มีอำนาจเหนือกษัตริย์

คุณธรรมความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทยยังต้องสร้างกันขึ้นมาใหม่ แต่อย่าตั้งข้อรังเกียจด้วยคิดว่านั่นเป็นของตะวันตก เพราะความเข้าใจดังกล่าวก็เคยมีในสังคมไทยมาก่อน ต้องรื้อฟื้นความเข้าใจสังคมพื้นฐานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาผสมผสานกับคุณธรรมสิทธิมนุษยชนของสังคมสมัยใหม่ และที่สำคัญคือ ต้องเรียกร้องการเคารพเพศที่แตกต่างอย่างเท่าเทียมกัน กับทั้งผู้อื่นและต่อตนเอง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปีนี้ผมอายุ 52 ผมคิดอยู่ตลอดว่า ถ้าพ่อแม่เสียไป ผมจะดัดแปลงบ้านที่อยู่มายังไง จะรื้ออะไร ย้ายอะไร ผมไม่มีลูก ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การยุบพรรคอนาคตใหม่อย่างที่สาธารณชนและแม้แต่นักกฎหมายเองก็เห็นว่าไม่สมเหตุสมผลทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง และความเหลวแหลกของกลไก เกม และสถาบันการเมืองในขณะนี้ คือเงื่อนไขเฉพาะหน้าที่ทำให้เยาวชนจำนวนมาก ซึ่งเป็นคนหน้าใหม่ของการเมืองไทย ในหลายพื้นที่กระจายไปทั่วประเทศ ลุกขึ้นมาแสดงออกทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่มีความขัดแย้งรอบใหม่ในกลางทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วินาทีที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ความสำคัญไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองหนึ่งถูกยุบไปหรอก แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้มีอำนาจกำลังสร้างความแตกร้าวครั้งใหม่ที่พวกเขาอาจจะพบปฏิกิริยาโต้ตอบที่ไม่เหลือเศษซากอะไรให้กอบกู้โลกเก่าของพวกเขากลับมาได้อีกต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อสังเกตจากการแถลงของ ผบทบ. ล่าสุด แสดงการปัดความรับผิดชอบของผู้นำกองทัพไทยอย่างเห็นได้ชัดดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์ #กราดยิงโคราช เราเห็นอะไรเกี่ยวกับทหารไทยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พวกคุณไม่ได้เพียงกำลังทำลายพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง หรือกลุ่มการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่พวกคุณกำลังทำลายความหวังที่คนจำนวนมากมีต่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นใหม่ที่เริ่มสนใจประเทศชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาวเบี๋ยนเป็นศิลปินอาวุโสชาวไต/ไท ในเวียดนาม ผมรู้จักกับท่านมาร่วม 15 ปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อพบกันครั้งแรกๆ ก็ถูกชะตากับท่าน ผมจึงเพียรไปหาท่านหลายต่อหลายครั้ง ที่ว่าเพียรไปหาไม่ใช่แค่เพราะไปพบท่านบ่อย แต่เพราะการไปพบท่านเป็นเรื่องยากลำบากมาก เมืองที่ท่านอยู่ชื่อเมืองล้อ หรือเรียกแบบสยามๆ ก็เรียกว่าเมืองลอก็ได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว