Skip to main content

ข่าวครม.ผ่านร่างพรบ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ชวนให้ผู้เขียนเศร้าใจจนกลายเป็นโกรธและสมเพชรัฐบาลอย่างเกินเวทนา ผู้บริหารประเทศนี้ชักจะบ้าจี้กันไปใหญ่แล้ว ความจริงไม่ใช่นักการเมืองบ้าอำนาจหรอก แต่นักการเมืองประเทศนี้เกรงกลัวสถาบันหลักต่างๆ อย่างไร้สติกันเกินไปแล้ว จนกระทั่งออกกฎหมายป้อยอ ปกป้องกันจนจะบิดเบือนธรรมชาติของสังคมกันไปใหญ่แล้ว

คำถามข้อแรกเลยคือ ทุกวันนี้สถาบันกษัตริย์ ศาสนา และความมั่นคงของประเทศ ยังได้รับการคุ้มครองไม่เพียงพออีกหรืออย่างไร จึงต้องเอาการคุ้มครองวัฒนธรรมเข้าไปผูกพ่วงด้วย

กล่าวเฉพาะสถาบันกษัตริย์ นี่ถ้าใครหมิ่นกษัตริย์ด้วยภาษาถิ่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ นอกจากคดี ม. 112 แล้ว ยังจะต้องถูกดำเนินคดีพ่วงเข้าไปอีกคดีหรืออย่างไร ถ้าไม่นับว่าศาลจะมารู้อะไรเกี่ยวกับวัฒนธรรม ก็สงสัยว่าศาลจะลงโทษอย่างไร ใช้คำหนึ่งคือผิดหนึ่งกระทง ใช้ 5 คำผิด 5 กระทง แบบเดียวกับตัดสินจำนวนครั้งที่ส่ง SMS อีกหรือเปล่า 

คำถามต่อมาคือ แล้วใครจะเป็นคนแจ้งความดำเนินคดี เช่น หากมีใครได้กำลังดูการแสดงหนังตะลุงอยู่ แล้วถ่ายคลิปที่แสดงในลักษณะ "หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ กระทบกระเทือนศาสนาและความมั่นคงของประเทศ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี" ไว้ ก็สามารถนำไปแจ้งความจับได้อย่างนั้นหรือ

นี่จะไม่ทำให้สังคมไทยโกลาหลกันไปใหญ่หรือ สังคมนี้จะกลายเป็นสังคมที่ทุกคนจ้องจับผิดกันเองตลอดเวลาหรือ สังคมนี้มิทำให้ทุกคนกลายเป็นเด็กขี้ฟ้องหรอกหรือ ลำพังคดี ม. 112 ที่พี่น้องแจ้งความดำเนินคดีกัน หรือนักจัดรายการอะไรที่ไหนก็ไม่รู้เดินขึ้นโรงพักไปแจ้งความดำเนินคดี ม. 112 กับนักศึกษาที่ออกมารณรงค์เรื่องชุดนักศึกษา ฯลฯ ยังโกลาหลคลุ้มคลั่งกันไม่พออีกหรืออย่างไร 

คำถามสุดท้าย วัฒนธรรมกลายเป็นสิ่งของที่คนบางกลุ่มเท่านั้นที่จะสามารถปกป้องดูแลได้หรือ เราจะไว้ใจ "คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม" ที่มีอำนาจในการเรียกคนนั้นคนนี้ที่เข้าข่ายกระทำผิดมาสอบสวนได้อย่างไร คนเหล่านั้นเป็นใคร มาจากไหน รู้จักวัฒนธรรมดีหรือ คณะกรรมการเหล่านี้เป็นใครกันจึงจะรู้ดีกว่าผู้ผลิตวัฒนธรรม 

หากใครที่ใช้วัฒนธรรมเหล่านั้นไปกระทำผิด คนเหล่านั้นก็น่าจะต้องเป็นเจ้าของวัฒนธรรมนั้นเองไม่ใช่หรือ เช่น คนร้องเพลงแหล่ ก็จะต้องร้องเพลงเป็น ก็แสดงว่าเขาเป็นผู้ใช้และสืบทอดเพลงนั้นมาเอง ก็แปลว่าเขาเป็นเจ้าของวัฒนธรรมนั้นไม่ใช่หรือ แต่เจ้าของวัฒนธรรมเหล่านี้กลับจะต้องถูกตัดสินจากใครก็ไม่รู้ว่ากระทำผิดทางวัฒนธรรมของตนเองอย่างนั้นหรือ

ต่อให้มีการเชิญเจ้าของวัฒนธรรมมาร่วมตัดสินคดี รัฐกำลังจะให้อำนาจคนบางคนมาตัดสินคุณค่าทางวัฒนธรรมเท่านั้นหรือ เช่น จะมีเพียงเจ้าของภาษาถิ่นบางคนเท่านั้นหรือที่จะรู้ดีว่า อะไรถูกอะไรผิดในการใช้ภาษานั้น

วัฒนธรรมเป็นของทั้งชุมชนผู้สร้างและปัจเจกชนผู้ใช้ แสดงออก และร่วมสร้าง ทั้งชุมชนและปัจเจกชนมีสิทธิครอบครอง ใช้ และดัดแปลงวัฒนธรรมของตนเอง ไม่ใช่เรื่องอะไรที่รัฐจะต้องยื่นอำนาจเข้ามาก้าวก่าย รัฐอาจช่วยส่งเสริม ช่วยสนับสนุนให้พัฒนาได้ และนั่นเป็นบทบาทที่ถูกต้องของรัฐ การประกาศกฎหมายแบบนี้ออกมาเขาไม่ได้เรียกการส่งเสริมวัฒนธรรมหรอก เขาเรียกเผด็จการทางวัฒนธรรมต่างหาก 

แล้วคิดว่ากฎหมายแบบนี้จะช่วยปกป้องคุ้มครองสถาบันหลักๆ เหล่านั้นได้จริงหรือ กฎหมายที่มีอยู่แล้วยังช่วยคุ้มครองสถาบันเหล่านั้นไม่เพียงพอหรือ และเท่าที่มีกฎหมายต่างๆ อยู่แล้วน่ะ สามารถปกป้องไม่ให้สถาบันเหล่านั้นเสื่อมลงได้หรือ อะไรจะดีจะงามย่อมอยู่ที่คุณค่าในตัวมันเองและความนิยมชมชอบ ความเคารพศรัทธาของสังคมไม่ใช่หรือ กฎหมายจะทำให้สถาบันเหล่านั้นดีงามขึ้นมาได้อย่างไรถ้าสถาบันเหล่านั้นเสื่อมลงไปเอง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปีนี้ผมอายุ 52 ผมคิดอยู่ตลอดว่า ถ้าพ่อแม่เสียไป ผมจะดัดแปลงบ้านที่อยู่มายังไง จะรื้ออะไร ย้ายอะไร ผมไม่มีลูก ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การยุบพรรคอนาคตใหม่อย่างที่สาธารณชนและแม้แต่นักกฎหมายเองก็เห็นว่าไม่สมเหตุสมผลทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง และความเหลวแหลกของกลไก เกม และสถาบันการเมืองในขณะนี้ คือเงื่อนไขเฉพาะหน้าที่ทำให้เยาวชนจำนวนมาก ซึ่งเป็นคนหน้าใหม่ของการเมืองไทย ในหลายพื้นที่กระจายไปทั่วประเทศ ลุกขึ้นมาแสดงออกทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่มีความขัดแย้งรอบใหม่ในกลางทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วินาทีที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ความสำคัญไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองหนึ่งถูกยุบไปหรอก แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้มีอำนาจกำลังสร้างความแตกร้าวครั้งใหม่ที่พวกเขาอาจจะพบปฏิกิริยาโต้ตอบที่ไม่เหลือเศษซากอะไรให้กอบกู้โลกเก่าของพวกเขากลับมาได้อีกต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อสังเกตจากการแถลงของ ผบทบ. ล่าสุด แสดงการปัดความรับผิดชอบของผู้นำกองทัพไทยอย่างเห็นได้ชัดดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์ #กราดยิงโคราช เราเห็นอะไรเกี่ยวกับทหารไทยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พวกคุณไม่ได้เพียงกำลังทำลายพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง หรือกลุ่มการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่พวกคุณกำลังทำลายความหวังที่คนจำนวนมากมีต่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นใหม่ที่เริ่มสนใจประเทศชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาวเบี๋ยนเป็นศิลปินอาวุโสชาวไต/ไท ในเวียดนาม ผมรู้จักกับท่านมาร่วม 15 ปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อพบกันครั้งแรกๆ ก็ถูกชะตากับท่าน ผมจึงเพียรไปหาท่านหลายต่อหลายครั้ง ที่ว่าเพียรไปหาไม่ใช่แค่เพราะไปพบท่านบ่อย แต่เพราะการไปพบท่านเป็นเรื่องยากลำบากมาก เมืองที่ท่านอยู่ชื่อเมืองล้อ หรือเรียกแบบสยามๆ ก็เรียกว่าเมืองลอก็ได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว