Skip to main content

คำถามที่ว่า "นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์ได้รับสัญญาณอะไรพิเศษหรือไม่จึงกล้าบ้าบิ่นได้ขนาดนี้?" คำถามที่ว่า "เครือข่ายชนชั้นนำเก่าฉวยโอกาสตีตลบหลังเครือข่ายทักษิณ ผ่านอำนาจตุลาการและองค์กรอิสระต่างๆ ด้วยหรือไม่" นั้น ผมไม่มีปัญญาตอบ ขอติดตามการวิเคราะห์ของผู้อื่นที่เข้าถึงข้อมูลแปลกๆ หรือมีทฤษฎีวิเคราะห์การเมืองไทยจากมุมชนชั้นนำทางการเมืองมาเล่าเองดีกว่า ส่วนตัวผมอยากทำความเข้าใจมวลชน หรืออย่างน้อยอยากเข้าใจเพื่อนๆ มากกว่า

น่าจะมีการสำรวจนะครับว่าความต้องการของคนในม็อบนกหวีดเป็นอย่างไรกันแน่ ในทางวิชาการ อาจจะยากสักหน่อยที่จะสรุปเอาจากการสำรวจรายวัน ว่าผลโพลในม็อบจะสะท้อนโครงสร้างความต้องการของม็อบนกหวีดโดยรวมได้หรือไม่ แต่ผมว่าหากทำได้ก็จะดีไม่น้อย แต่ที่จะลองคิดดูข้างล่างนี่ คิดดูจากเพื่อนๆ ที่รู้จักนิสัยใจคอกันมาอยู่บ้างมากกว่า 

ผมมีเพื่อนที่รู้จักคบหากันนานๆ หลายคนที่เป็นกองเชียร์และเข้าร่วมม็อบนกหวีดอย่างแข็งขัน ผมไม่เข้าใจพวกเขาเลยว่าทำไมพวกเขาจึงมีทัศนะทางการเมืองแตกต่างกับผมอย่างลิบลิ่ว แต่มาลองนึกๆ ดู ผมว่าพวกเขาไม่ได้ต่างจากผมนักหรอกในแง่หลักการทางการเมืองบางอย่าง เท่าที่คบกันมา พวกเขาไม่น่าจะหลงใหลถูกชักจูงง่ายๆ หรอก พวกเขาไม่มีทางจะเชื่อใจนายสุเทพหรอก พวกเขาอาจชื่นชอบพรรคปชป.อย่างยิ่งยวด แต่พวกเขาก็รู้ๆ กันอยู่นั่นแหละว่าพรรคปชป.ทำดีทำชั่วอะไรไว้บ้าง หากมวลชนม็อบนกหวีดบางคนไม่รู้ ผมก็ว่าอย่างน้อยเพื่อนๆ ผมก็รู้ดีอยู่ดีนั่นแหละ 

แน่นอนว่าผู้นำม็อบย่อมมีความสำคัญในแง่ของการดึงดูดใจมวลชน และจะเห็นได้ว่า หลังจากที่แกนนำพันธมิตรฯ ล้วนกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินคดี และอยู่ในระหว่างประกันตัวนั้น ทำให้พวกเขาไม่สามารถมาออกหน้านำม็อบได้อย่างเคย การเข้ามารับหน้าที่นำม็อบของพรรคประชาธิปัตย์จึงกลายเป็นน้ำทิพย์ชะโลมใจให้ฝูงชนผู้ชิงชังรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้แสดงตนอย่างเป็นตัวเป็นตนขึ้นอีกครั้งหนึ่ง การนำม็อบของปชป.จึงเป็นการรื้อฟื้นรูปธรรมของการต่อต้านทักษิณ ชินวัตรขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ก็เท่านั้นเอง 

ส่วนเป้าหมายที่ว่าจะล้มระบอบทักษิณให้สิ้นซาก แล้วเปลี่ยนระบอบการปกครองไปให้อำนาจสถาบันกษัตริย์อย่างสมบูรณ์อะไรนั่นน่ะ คนที่เอาด้วยกับม็อบนกหวีดไม่ได้คิดในเชิงปฏิบัติการหรอก คือไม่ว่าคนบนเวทีจะว่าอย่างไร ผมคิดว่าเพื่อนผมจำนวนมากในม็อบนกหวีดก็คงจะไม่ได้เชื่ออะไรงมงายขนาดนั้นหรอก ก็คงมีนั่นแหละที่บางคนจะเชื่อว่าให้อำนาจสถาบันกษัตริย์ปกครองดีกว่าให้อำนาจนักการเมือง แต่ผมว่าถ้าเอาเข้าจริงๆ เกิดระบอบนั้นขึ้นจริงๆ พวกเขาก็ไม่เอาหรอก 

การยกสถาบันกษัตริย์ขึ้นมาเป็นธงนำในม็อบนกหวีดนั้น หากวิเคราะห์ทางวิชาการแบบตรงไปตรงมา สถาบันกษัตริย์ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อเป็นขั้วตรงข้ามเชิงสัญลักษณ์กับระบอบทักษิณมากกว่า ในการต่อสู้ทางการเมืองอย่างเข้มข้น หน้าสิ่วหน้าขวาน องค์สัญลักษณ์นำทางการเมืองที่เป็นรูปธรรมย่อมต้องถูกสร้างขึ้นมาเพื่อต่อต้านกับอีกองค์สัญลักษณ์ที่ตนเป็นปฏิปักษ์ด้วย เพราะ "ทักษิณ = ความชั่ว" และจึงมีคู่ตรงข้ามคือ "สถาบันกษัตริย์ = ความดี" แต่เมื่อทำดังนั้นแล้ว ก็อดคิดไม่ได้ว่า นั่นจะยิ่งกลับทำให้องค์สัญลักษณ์หนึ่งที่ควรอยู่พ้นการเมือง กลับกลายมาเกลือกกลั้วในการเมืองไปเสีย 

ถึงที่สุดแล้ว หากกลับไป ณ จุดเริ่มต้นเมื่อมีการต่อต้านพรบ.นิรโทษกรรม พวกเขาแค่ไม่พอใจรัฐบาล และที่ออกมากันมากขนาดนี้ ก็เพราะพวกเขาอัดอั้นตันใจมานานหลายปีแล้วที่ไม่สามารถให้ตัวแทนของพวกเขากลับเข้ามาบริหารประเทศได้ พวกเขาอาจจะคิดเพ้อเจ้อเลยเถิดไปบ้าง พวกเขาอาจจะสนุกกับอำนาจมือเปล่าของตนที่รัฐบาลไม่กล้าต่อกรจนเลยเถิดไปเดินเล่นในสถานที่ราชการแบบเด็กๆ ไปเที่ยววันเด็กบ้าง ก็แค่เป็นเพียงเพื่อคลายอารมณ์กลัดกลุ้ม

ผมว่าหากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วผู้นำรัฐบาลยอมขอโทษประชาชน ทั้งประชาชนฝ่ายต่อต้านและฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล ที่พรรคเพื่อไทยสอดไส้นิรโทษกรรมทักษิณและผู้สั่งการสังหารประชาชนในปี 2553 พร้อมๆ กันนั้นก็วางกรอบของการปรับโครงสร้างการเมืองให้สอดคล้องกับการก้าวไปของประเทศในทิศทางให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้นอย่างมั่นคง สถาณการณ์เฉพาะหน้าก็น่าจะคลี่คลายลงได้บ้าง 

แต่เมื่อถึงวันนี้แล้ว ก็ไม่ทราบจะแก้ไขสถานการณ์อย่างไรได้ ได้แต่หวังว่านางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจะยังคงแตกต่างจากผู้นำคนก่อนๆ หวังว่าเธอจะใช้ความอ่อนไหว ความเป็นแม่ ความเป็นหญิงในการปกครอง หวังว่าเธอจะยอมค้อมหัวให้ประชาชนมากเท่ากับที่ประชาชนจำนวนมากไว้วางใจเธอ และหวังว่าเธอและเครือข่ายจะคิดเร็ว และหาทางแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างนุ่มนวล ที่สำคัญคือ อย่าเอาหน้าแกนนำการชุมนุม ไปเป็นหน้ากากสวมแทนหน้าผู้ร่วมชุมนุม เพราะม็อบนกหวีดก็คือเพื่อนร่วมโลก คือมนุษย์ผู้คับข้องใจ พวกเขาไม่ได้ต้องการทำอะไรเลยเถิดเท่ากับที่แกนนำพวกเขาคุยฟุ้งว่าอยากทำหรอก 

ส่วนเพื่อนม็อบนกหวีด เมื่อรู้แล้วว่าประชาชนอย่างพวกคุณก็มีอำนาจ เสียงส่วนน้อยแบบอภิสิทธิ์ชนอย่างพวกคุณน่ะ รัฐบาลนี้เขากลัวจะตายอยู่แล้ว ออกมาจากสถานการณ์วันเด็ก แล้วคิดหาทางเปลี่ยนแปลงประเทศอย่างเป็นรูปธรรมไม่ดีกว่าหรือ อำนาจมือเปล่าของพวกคุณน่ะไม่สามารถล้มระบอบทักษิณได้หรอก เพราะระบอบทักษิณที่คุณว่าน่ะไม่ได้อยู่ด้วยทักษิณและพรรคพวกอีกต่อไปแล้ว ระบอบที่ทักษิณมีส่วนสร้างขึ้นมา ได้กลายผลเป็นความเปลี่ยนแปลงของประเทศโดยรวมไปแล้ว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มาเกียวโตเที่ยวนี้หนาวที่สุดเท่าที่เคยมา (สัก 6 ครั้งได้แล้ว) อุณหภูมิอยู่ราวๆ 0-5 องศาเซลเซียสตลอด แต่นี่ยังไม่เท่าเมืองที่เคยอยู่ คือวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้อยู่ราวๆ -20 องศาเซลเซียส และเคยหนาวได้ถึง -40 องศาเซลเซียส หนาวขนาดนั้นมีแต่นกกากับกระรอก ที่อึดพอจะอยู่นอกอาคารได้นานๆ แต่ที่เกียวโต คนยังสามารถเดินไปเดินมา หรือกระทั่งเดินเล่นกันได้เป็นชั่วโมงๆ หากมีเครื่องกันหนาวที่เหมาะสม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เมื่อวันที่ 23-24 มค. ยังความรื่นรมย์มสู่แวดวงวิชาการสังคมศาสตร์อีกครั้ง ถูกต้องแล้วครับ งานนี้เป็นงาน "เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 7" หากแต่อุดมคับคั่งไปด้วยนักสังคมศาสตร์ (ฮ่าๆๆๆ) น่ายินดีที่ได้พบเจอเพื่อนฝูงทั้งเก่าทั้งใหม่มากหน้าหลายตา แต่ที่น่ายินดียิ่งกว่านั้นคือการได้สนทนาทั้งอย่างเป็นทางการ ผ่านงานเขียนและการคิดอ่านกันอย่างจริงจัง บนเวทีวิชาการ กับเพื่อนๆ นักวิชาการรุ่นใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเช้า (26 มค.) ผมไปเลือกตั้งล่วงหน้าที่เขตจอมทอง ด้วยเหตุจำเป็นไม่สามารถไปเลือกตั้งวันที่ 2 กพ. ได้ ก่อนไป สังหรณ์ใจอยู่ก่อนแล้วว่าจะเกิดเหตุไม่ดี ผมไปถึงเขตเลือกตั้งเวลาประมาณ 9:00 น. สวนทางกับผู้ชุมนุมนกหวีดที่กำลังออกมาจากสำนักงานเขต นึกได้ทันทีว่ามีการปิดหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้า มวลชนหลักร้อย ดูฮึกเหิม ท่าทางจะไปปิดหน่วยเลือกตั้งอื่นต่อไป ผมถ่ายรูปคนจำนวนหนึ่งไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หนังสือ ประวัติศาสตร์ไทดำ : รากเหง้าวัฒนธรรม-สังคมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2557) เล่มนี้เป็นผลจากการวิจัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมทำวิจัยชิ้นนั้นก็เพื่อให้เข้าใจงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของชาวไทในเวียดนามสำหรับทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แต่เนื้อหาของหนังสือนี้แทบไม่ได้ถูกนำเสนอในวิทยานิพนธ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดือนที่แล้ว หลังเสร็จงานเขียนใหญ่ชิ้นหนึ่ง ผมกะจะหลบไปไหนสัก 4-5 วัน ระยะนั้นประเด็นวันเลือกตั้งยังไม่เข้มข้นขนาดทุกวันนี้ ลืมนึกไปจนกลายเป็นว่า ตัวเองกำหนดวันเดินทางในช่วงวันเลือกตั้ง 2 กพ. 57 พอดี เมื่อมาคิดได้ เมื่อวันที่ 14 มค. ก็เลยถือโอกาสที่ที่ทำงานให้หยุดงานไปลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตตนเอง ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีก็ได้เอกสารมาเก็บไว้ รอไปเลือกตั้งล่วงหน้าวันอาทิตย์ที่ 26 มค.
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เหตุที่ประโยค Respect My Vote. กลายเป็นประโยคที่นำไปใช้ต่อ ๆ กันแพร่หลายกินใจผู้รักประชาธิปไตยในขณะนี้ ไม่เพียงเพราะประโยคนี้มีความหมายตามตัวอักษร แต่เพราะประโยคนี้ยังเป็นถ้อยแถลงทางการเมืองของประชาชน ที่ประกาศว่า อำนาจสูงสุดของประเทศนี้เป็นของประชาชน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 9 มกราคม 2557 เวทีเสวนาประชาธิปไตยภาคใต้ ได้จัดอภิปรายเรื่อง "ปฏิรูปประเทศไทย : ปาตานีในระยะเปลี่ยนผ่าน" ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผมกับอาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ ได้รับเชิญในฐานะตัวแทนจากสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยไปร่วมบรรยายกับวิทยากรชาวปัตตานีและชาวสงขลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมอยู่ในแวดวงวิชาการ พร้อม ๆ กับทำกิจกรรมบริการทางสังคมด้านสิทธิ-เสรีภาพ การบริการทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานทางวิชาการ นอกเหนือจากการสอน การทำวิจัย และการเขียนงานวิชาการ แต่ในโลกทางวิชาการไทยปัจจุบัน เมื่อคุณก้าวออกมานอกรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว คุณจะกลายเป็น "คนมีสีเสื้อ" ไม่ว่าปกติคุณจะใส่เสื้อสีอะไร จะมีสติ๊กเกอร์ติดเสื้อคุณอยู่เสมอว่า "เสื้อตัวนี้สี..." เพียงแต่เสื้อบางสีเท่านั้นที่ถูกกีดกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งคือการยึดอำนาจของ กปปส. เพื่อจัดตั้งสภาประชาชน ไม่มีทางที่การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งจะเป็นการปฏิรูปที่ปวงชนชาวไทยจะมีส่วนร่วม เนื่องจาก...
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิวัติประชาชนของอาจารย์ธีรยุทธไม่ได้วางอยู่บนข้อเท็จจริงของสังคมไทยปัจจุบัน การปฏิวัติประชาชนตามข้ออ้างจากประวัติศาสตร์ประเทศต่างๆ ของอาจารย์ ล้วนแสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติของประชาชนเพื่อโค่นล้มผู้กุมอำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมเพราะผูกขาดอำนาจเป็นของตนเอง ตลอดจนเป็นการโค่นอำนาจรัฐที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยที่ประชาชนเป็นใหญ่มากขึ้น หากแต่เราจะถือว่า “มวลมหาประชาชน” หนึ่งล้านห้าแสนคน หรือต่อให้สองล้านคนในมวลชนนกหวีดเป็น “ประชาชน” ในความหมายนั้นได้หรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชัยวัฒน์ครับ ผมยินดีที่อาจารย์ออกมาแสดงความเห็นในสถานการณ์ล่อแหลมเช่นนี้ นี่ย่อมต้องเป็นสถานการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดจริงๆ ไม่เช่นนั้นอาจารย์ก็จะไม่แสดงความเห็นอย่างแน่นอน ดังเช่นเมื่อปี 2553 เหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่มีผู้เสียชีวิต 90 กว่าคน บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน อาจารย์ก็ยังเงียบงันจนผมสงสัยและได้เคยตั้งคำถามอาจารย์ไปแล้วว่า "นักสันติวิธีหายไปไหนในภาวะสงคราม"