Skip to main content

 

ระยะนี้พูดกันมากว่าประชาธิปไตยเป็นแนวคิดตะวันตก คนที่พูดอย่างนี้หากเป็นคนที่ไม่ได้ศึกษาค้นคว้าทางวิชาการอะไรก็ไม่ควรเอามาตรวัดความรู้อะไรไปตัดสินเขา เพราะเขาพูดจากความเชื่อล้วนๆ เหมือนความเชื่อที่ว่า สมัยก่อนคนเหาะได้ นรก-สวรรค์มีจริง อะไรพรรค์นั้น

แต่กับคนที่เรียกตัวเองหรือกินอยู่ในหน้าที่ทางสังคมว่า "นักวิชาการ" แล้วล่ะก็ ต้องต่อว่ากันว่า นี่แสดงว่าพวกคุณไม่ได้สนใจข้อถกเถียงใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้กันบ้างเลยหรืออย่างไร นี่แสดงว่าความรู้ของคุณมันจำกัดทั้งสายาวิชาและช่วงเวลาของการศึกษา นี่แสดงว่าคุณเลิกทำวิจัยมานานแล้ว หรือไม่ก็ทำวิจัยเฉพาะในกะลาวิชาการแบบไทยๆ จึงไม่เคยให้ใครในโลกนี้เขาตรวจสอบความรู้คุณเลย

ในระหว่างที่ทำวิจัยเรื่อง "ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย" พร้อมๆ กับทำวิจัยในพื้นที่ของตนเองเรื่อง “พลังชุมชนของชนบทใหม่ในกระแสโลกาภิวัตน์" ผมพบงานศึกษากลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจ คือการศึกษาประชาธิปไตยในแนวทางมานุษยวิทยา (anthropology of democracy) ประเด็นสำคัญคือ การศึกษาประชาธิปไตยในทางมานุษยวิทยาไม่ได้จะดูว่าสังคมต่างๆ ที่ศึกษาเป็นประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน เป็นประชาธิปไตยหรือยัง หรือมีกลไกอะไรที่ขัดขวางหรือส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย

บางคนอาจเข้าใจว่า นักมานุษยวิทยาสนใจวัฒนธรรมที่หลากหลายจึงอาจศึกษาดูว่าประชาธิไตยในถิ่นต่างๆ มีลักษณะเฉพาะอย่างไร นั่นอาจจะเป็นแนวทางที่นักมานุษยวิทยาบางคนใช้ เช่นที่บางคนพูดถึงประชาธิปไตยแบบไทยที่ไม่เหมือนใครในโลก แต่นั่นเท่ากับเป็นการตอกย้ำความเหลื่อมล้ำต่ำสูงในสังคมที่นำเอาแนวคิดประชาธิปไตยไปบิดเบือนเพื่อคงความเหลื่อมล้ำไว้อย่างเช่นในสังคมไทย

นักมานุษยวิทยาในโลกสากลไม่ได้สนใจประชาธิปไตยในลักษณะนั้น หากแต่เขาจะพิจารณาดูว่า “ประชาธิปไตย” ถูกใช้โดยใคร อย่างไร ในสังคมต่างๆ ทั่วโลก ประชาธิปไตยถูกเข้าใจอย่างไร ยกตัวอย่างเช่นการศึกษาวิธีที่ชนกลุ่มน้อยในบางประเทศอาศัยประชาธิปไตยเป็นเครื่องต่อรองเพื่อสร้างตัวตนในทางการเมืองของตนเองในตุรกี การศึกษาวิธีที่คนวรรณะต่ำๆ ใช้ประชาธิปไตยเพื่อแสดงสิทธิเสียงของตนเองในอินเดีย

วิธีการศึกษาแบบนี้ต่างการการศึกษาประชาธิปไตยในทางรัฐศาสตร์ ที่มักเน้นการวัดความเป็นประชาธิปไตย ราวกับว่ามีมาตรวัดประชาธิปไตยอยู่ที่ไหนสักแห่ง แล้วดูว่าประเทศนั้นๆ สังคมนั้น ๆ เป็นประชาธิปไตยแล้วหรือยัง เป็นแค่ไหน มีอะไรเป็นตัวถ่วงความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ แล้วจะแก้ไขอย่างไร

แต่ปัจจุบัน มีนักมานุษยวิทยาอีกกลุ่มหนึ่ง ที่หันมาสนใจแนวคิดเรื่อง “ประชาธิปไตยจากพื้นถิ่น” (vernacular democracy) นำโดยนักมานุษยวิทยาแนวหน้าอย่างเดวิด แกรเบอร์ (David Graeber) และมิเชล-โรลห์ ทรุยโยต์ (Michel-Rolph Trouillot) นักมานุษยวิทยาชาวเฮติผู้เพิ่งล่วงลับ รวมทั้งนักคิดอินเดียแนวหลังอาณานิคมชั้นนำอย่างพาธา ชัตเตอร์จี (Partha Chatterjee)

แนวคิด “ประชาธิปไตยจากพื้นถิ่น” เสนอว่า แท้จริงแล้วความคิดประชาธิปไตยไม่ได้มาจากตะวันตก หากแต่มาจากวิถีชีวิตของชนพื้นถิ่นที่พบเห็นได้ทั่วไปนอกประเทศตะวันตก แกรเบอร์เก็บข้อมูลทั้งจากในอดีตและต่างถิ่นในปัจจุบัน ที่น่าสนใจคือ แกรเบอร์พบว่า วิถีชีวิตแบบชาวอินเดียนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาที่ชาวตะวันตกบันทึกไว้ก่อนการเกิดประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มีลักษณะเดียวกันกับวิถีชีวิตแบบสังคมประชาธิปไตย ที่ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค แกรเบอร์ตั้งข้อสังเกตว่า นั่นอาจจะเป็นแนวทางให้ชาวตะวันตกที่ตั้งใจจะปลดแอกตนเองจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษตระหนักในวิถีชีวิตที่แตกต่างจากในอังกฤษ และเป็นที่มาของประชาธิปไตยแบบอเมริกัน

ส่วนทรุยโยต์ ซึ่งส่งแรงบันดาลใจแก่ชัตเตอร์จีในภายหลัง ได้ชี้ให้เห็นว่า ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเสมอภาคของชาวเฮติเพื่อปลดแอกตนเองจากฝรั่งเศสนั้น มีมาก่อนหรืออย่างน้อยก็พร้อมๆ กันกับระยะที่เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสด้วยซ้ำ ที่สำคัญคือ ทรุยโยต์ชี้ว่า ขณะที่การปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตยของชาวฝรั่งเศสนั้นยังไม่ได้สนใจใยดีต่อเสรีภาพและความเสมอภาคของชนชาติอื่นๆ ที่ถูกฝรั่งเศสปกครองอยู่ เสรีภาพและความเสมอภาคของชาวเฮตินั้นเกิดขึ้นมาเพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของการที่เสรีภาพและความเสมอภาคจะต้องคำนึงถึงไม่เว้นชนชาติ ในแง่นี้อาจกล่าวได้ว่า ประชาธิปไตยของเฮตินั้น “เป็นสากล” และก้าวหน้าเสียยิ่งกว่าประชาธิปไตยแบบฝรั่งเศสในยุคแรกเริ่มด้วยซ้ำ

หากยังเห็นว่างานศึกษาเหล่านี้ก็เป็นงานตะวันตก เป็นแนวคิดตะวันตก เพียงเพราะงานเขียนเหล่านี้ใช้ภาษาอังกฤษล่ะก็ โปรดอยู่ในโลกที่เชื่อว่าประชาธิปไตยเป็นของตะวันตกเท่านั้น ดุจเดียวกับที่พวกคุณคงยังเชื่อในนรก-สวรรค์กันอยู่ต่อไปก็แล้วกัน

แต่หากลองเปิดหูเปิดตาดูบ้างว่าโลกประชาธิปไตยมีที่มาที่ไม่ใช่ในตะวันตกเพียงเท่านั้นแล้ว ก็คงจะเข้าใจได้บ้างว่า ทำไมคนพื้นถิ่นต่างๆ เขาจึงถวิลหาประชาธิปไตยกันนัก ทำไมชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนา คนยากคนจน จะเข้าใจประชาธิปไตยมากกว่าชาวกรุงชาวเมืองบ้างไม่ได้ ทำไมประชาธิปไตยจึงแนบแน่นอยู่ในวิถีชีวิตของคนธรรมดาสามัญ และทำไมชาวบ้านร้านตลาดเขาถึงหวงแหนประชาธิปไตยกันนัก นั่นก็เพราะประชาธิปไตยเป็นของเขา ประชาธิปไตยกลายเป็นของสามัญชนชาวไทยไปแล้ว ไม่ได้จำเป็นต้องมาจากตะวันตกห่างไกลที่ไหน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปีนี้ผมอายุ 52 ผมคิดอยู่ตลอดว่า ถ้าพ่อแม่เสียไป ผมจะดัดแปลงบ้านที่อยู่มายังไง จะรื้ออะไร ย้ายอะไร ผมไม่มีลูก ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การยุบพรรคอนาคตใหม่อย่างที่สาธารณชนและแม้แต่นักกฎหมายเองก็เห็นว่าไม่สมเหตุสมผลทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง และความเหลวแหลกของกลไก เกม และสถาบันการเมืองในขณะนี้ คือเงื่อนไขเฉพาะหน้าที่ทำให้เยาวชนจำนวนมาก ซึ่งเป็นคนหน้าใหม่ของการเมืองไทย ในหลายพื้นที่กระจายไปทั่วประเทศ ลุกขึ้นมาแสดงออกทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่มีความขัดแย้งรอบใหม่ในกลางทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วินาทีที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ความสำคัญไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองหนึ่งถูกยุบไปหรอก แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้มีอำนาจกำลังสร้างความแตกร้าวครั้งใหม่ที่พวกเขาอาจจะพบปฏิกิริยาโต้ตอบที่ไม่เหลือเศษซากอะไรให้กอบกู้โลกเก่าของพวกเขากลับมาได้อีกต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อสังเกตจากการแถลงของ ผบทบ. ล่าสุด แสดงการปัดความรับผิดชอบของผู้นำกองทัพไทยอย่างเห็นได้ชัดดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์ #กราดยิงโคราช เราเห็นอะไรเกี่ยวกับทหารไทยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พวกคุณไม่ได้เพียงกำลังทำลายพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง หรือกลุ่มการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่พวกคุณกำลังทำลายความหวังที่คนจำนวนมากมีต่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นใหม่ที่เริ่มสนใจประเทศชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาวเบี๋ยนเป็นศิลปินอาวุโสชาวไต/ไท ในเวียดนาม ผมรู้จักกับท่านมาร่วม 15 ปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อพบกันครั้งแรกๆ ก็ถูกชะตากับท่าน ผมจึงเพียรไปหาท่านหลายต่อหลายครั้ง ที่ว่าเพียรไปหาไม่ใช่แค่เพราะไปพบท่านบ่อย แต่เพราะการไปพบท่านเป็นเรื่องยากลำบากมาก เมืองที่ท่านอยู่ชื่อเมืองล้อ หรือเรียกแบบสยามๆ ก็เรียกว่าเมืองลอก็ได้