Skip to main content

ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน

 
 

ผมอ่านเรื่องราวแนวคิดทางสถาปัตยกรรมของไรท์จากงานเขียนของแสงอรุณ รัตกสิกร สถาปนิกไทยที่เขียนหนังสืออ่านสนุกและฝีปาก(กา)กล้าคนหนึ่งตั้งแต่เข้ามหาวิทยาลัยปีแรก หากใครสนใจควรหาเล่มที่พิมพ์ครั้งแรกๆ ที่รูปเล่มเหมือนหนังสือเขียนภาพนะครับ จะจัดรูปเล่มกับใช้ฟอนต์ที่น่าอ่านกว่าที่มาพิมพ์กันทีหลังมาก 

ที่ชวนฉงนมากคือเมื่อแสงอรุณเล่าถึงการไปใช้ชีวิตที่ Taliesin (ทาลิเอซิน) ซึ่งตอนนั้นผมก็งงๆ สับสนระหว่าง ทาลิเอซินกับทาลิเอซินตะวันตก ส่วนหนึ่งเพราะไม่รู้จักมลรัฐวิสคอนซิน (ที่ตั้งของทาลิเอซิน) อีกส่วนเพราะคุ้นชื่อมลรัฐแอริโซนามากกว่า (ที่ตั้งทาลิเอซินตะวันตก) แต่ที่สำคัญคือ ไม่รู้ว่าไรท์เกิดที่วิสคอนซิน ณ ที่ซึ่งทาลิเอซินตั้งอยู่ตั้งแต่ปีค.ศ. 1911 จนถึงปัจจุบันนี้ 

ชื่อทาลิเอซินมาจากภาษาเวลช์ที่แปลว่า หน้าผากแจ่มจ้า ซึ่งไม่น่าจะหมายถึงหัวเถิกในภาษาไทย แต่น่าจะเนื่องจากเพราะตัวอาคารหลักของสถาบันนี้ คือบ้านบนเนินสูง ตั้งตระหง่านดั่งหน้าผากแจ่มจรัสอยู่บนเนิน ที่ตั้งชื่อเป็นภาษาเวลช์ก็เพราะครอบครัวไรท์เป็นชาวเวลช์ที่อพยพมาอยู่ที่วิสคอนซิน

ทาลิเอซินทั้งสองที่ไม่ใช่เพียงบ้านพักของไรท์ แต่ยังเป็นสถาบันสอนสถาปัตยกรรม โดยที่นักเรียนต้องมาอยู่กินที่ทาลิเอซินที่วิสคอนซิน แล้วในฤดูหนาวก็ย้ายลงไปอยู่ที่ทาลิเอซินตะวันตกที่แอริโซนา ซึ่งก็ไม่ได้อุ่นกว่ากันเท่าใดนัก 

เมื่อปี 1999 คราวที่มาเรียนที่นี่ ผมมีโอกาสไปทาลิเอซินที่วิสคอนซินเป็นครั้งแรก จึงทำให้เข้าใจขึ้นมาว่าทาลิเอซินไม่ได้มีเพียงบ้านหลังเดียว วานนี้มีโอกาสได้ไปอีกครั้งก็ยิ่งทำให้เข้าใจมากขึ้นเมื่อได้ไปดูอาคารหลังอื่นๆที่ทาลิเอซิน นอกจากบ้านหลังเด่นนั่นแล้ว ยังมีสถาปัตยกรรมอื่นๆ สำหรับกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนอีกมาก 



 

เช่นว่า มีห้องสตูดิโอที่หลังคาออกแบบพิศดารมาก มีหอพักที่ไม่สบายนัก เพราะนักเรียนจะได้ไม่หมกตัวในห้อง มีโรงละคร มีกังหันลม มีโรงนา รวมทั้งบ้านหลังอื่นๆ นอกจากนั้นยังเป็นพื้นที่การเกษตรขนาดใหญ่ ที่ครอบครัวไรท์มาตั้งรกรากอยู่จนให้กำเนิดไรท์ ณ ลุ่มน้ำวิสคอนซินนี่เอง 

แสงอรุณจึงเล่าในหนังสือว่า เมื่อมาเรียนที่นี่ ก็ต้องทำนา ปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เพื่อเก็บเกี่ยวกินไปพร้อมๆ กับการศึกษาสถาปัตยกรรม ที่เป็นอย่างนี้เพราะสำหรับไรท์แล้ว สถาปัตยกรรมไม่ได้โดดเดี่ยวหลุดลอยออกจากสิ่งแวดล้อมและชีวิต การเรียนกับการดำรงชีวิตก็ต้องควบคู่กันไป นักเรียนที่นี่จึงต้องเรียนรู้ที่จะทั้งดำรงชีพตนเองและทำงานสถาปัตยกรรม

 


แน่นอนว่า ค่าตอบแทนจากผลงานของไรท์มีค่ามากกว่าการทำนามากนัก คำสอนอันเป็นอุดมคติของเขาไม่น่าจะไปกันได้กับการใช้ชีวิตของเขา ที่ลำพังของสะสมที่มักมาจากเอเชียตะันออก ทั้งญี่ปุ่น และกระทั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ไม่น่าจะได้มาจากการเป็นเกษตรกร แต่หลักปรัชญา การออกแบบสถาปัตยกรรม และหลักสูตรของเขาก็กลายมาเป็นแนวทางของวิธีคิดสถาปัตยกรรมที่ทรงอิทธิพลมากในศจวรรษที่ 20

สถาปัตยกรรมที่เข้ากับธรรมชาติจึงไม่ใช่แค่การออกแบบที่นำเอาวัสดุ รูปทรง และแรงบันดาลใจจากธรรมชาติรอบข้างมาเป็นส่วนประกอบของอาคาร ไม่ใช่แค่การผสานอาคารเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อาคารตั้งอยู่ แต่ยังเป็นแนวทางการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยในอาคาร ที่ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมไปด้วยในตัว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์