Skip to main content

เมื่อวาน (12 ธค. 2557) ปิดภาคการศึกษาแล้ว เหลือรออ่านบทนิพนธ์ทางมานุษยวิทยาภาษาของนักศึกษา ที่ผมให้ทำแทนการสอบปลายภาค เมื่อเหลือเวลาอีก 15 นาทีสุดท้าย ตามธรรมเนียมส่วนตัวของผมแล้ว ในวันปิดสุดท้ายของการเรียน ผมมักถามนักศึกษาว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่ได้เคยเรียนมาก่อนจากวิชานี้บ้าง นักศึกษาทั้ง 10 คนมีคำตอบต่างๆ กันดังนี้

นักศึกษาจีนคนหนึ่ง เรียนภาษาและวัฒนธรรมเอเชียระดับปริญญาตรี บอกว่าได้เข้าใจความสำคัญของการศึกษาภาษาขึ้นมาก รู้จักมิติต่างๆ ของภาษาที่ไม่เคยคิดถึงมาก่อน 
 
นักศึกษาจีนอีกคนหนึ่ง เรียนภาษาและวัฒนธรรมเอเชียระดับปริญญาโท บอกว่าวิชานี้เป็นวิชาที่ยากที่สุดตั้งแต่ที่เคยเรียนมาที่นี่เลย
 
นักศึกษาอเมริกัน เรียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาระดับปริญญาโท บอกว่าวิชานี้ช่วยเพิ่มคำศัพท์เกี่ยวกับการศึกษาภาษาให้อีกมาก ช่วยทำให้เข้าใจคำศัพท์มากมายที่เคยได้ยินมาแต่ไม่เคยเข้าใจมากขึ้น ได้อ่านงานสำคัญของนักวิชาการด้านนี้
 
นักศึกษาซาอุดิอารเบีย เรียนวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาตรี บอกว่าได้เรียนรู้อะไรมากมายสมใจกับที่อยากจะได้แลกเปลี่ยนกับผู้คน และได้รู้ว่าตนเองก็เขียนอะไรยาวๆ เป็นเหมือนกัน
 
นักศึกษาอเมริกัน เรียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดับปริญญาโท บอกว่าได้รู้ว่ามาร์กซิสม์นี่ใช้ศึกษาไปได้ทุกเรื่องเลยจริงๆ
 
นักศึกษาเกาหลี เรียนเศรษฐศาสตร์ระดับปริญญาตรี บอกว่าได้เข้าใจอัตลักษณ์ความเป็นชนกลุ่มน้อยและความเป็นคนสอง-สามภาษาของตนเองในตอนเด็กๆ ขึ้นมาก็ด้วยการเรียนวิชานี้ โดยเฉพาะเนื้อหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์กับภาษา เมื่อก่อนไม่เข้าใจว่าทำไมเพื่อนชอบล้อเรา เราต่างจากคนอื่นอย่างไร
 
นักศึกษาอเมริกัน เรียนภาษาศาสตร์ บอกไม่เคยเรียนมาก่อนเลยว่าภาษาจะเกี่ยวข้องกับมิติต่างๆ มากมาย โยงกับแทยทุกเรื่องได้หลายด้าน และที่สำคัญคือได้แลกเปลี่ยนความรู้จากที่ต่างๆ ทั่วโลก ได้รู้เกี่ยวกับประเทศไทยและเรื่องราวจากอีกซีกโลกหนึ่งอย่างปาปัวนิวกินี ถ้าเรียนในภาควิชาภาษาศาสตร์ แม้แต่ภาษาศาสตร์เชิงสังคมก็ศึกษาจากภาษาอังกฤษกับสังคมอเมริกัน
 
นักศึกษาลาวสัญชาติอเมริกัน เรียนภาษาศาสตร์ บอกว่าได้เชื่อมโยงภาษากับสังคมมากขึ้น ได้รู้จักมานุษยวิทยาและการศึกษา ethnography มากขึ้น ได้เห็นว่าการทำงานศึกษาภาษาในภาคสนามเป็นอย่างไร ยุ่งยากขนาดไหน ต่างจากการนั่งวิเคราะห์ภาษาจากตัวอย่่างที่มีอยู่แล้วแบบที่นักภาษาศาสตร์มักทำกัน
 
นักศึกษาอเมริกัน ศึกษามานุษยวิทยาชีวภาพและมานุษยวิทยาวัฒนธรรม บอกว่าที่ชอบมากคือการได้เรียนรู้ว่า แม้แต่สิ่งที่เราคิดว่าเป็นเรื่องที่คนทุกคนน่าจะรับรู้เหมือนๆ กัน อย่างการเห็นสี ก็เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ว่าทุกคน ทุกวัฒนธรรม จะเห็นเหมือนๆ กัน
 
นักศึกษาไทย เรียนมานุษยวิทยาระดับปริญญาเอก บอกว่าได้มีแนวคิดต่างๆ เอาไว้ให้ถกเถียงได้มากขึ้น
 
สุดท้าย นัดกันดื่มเบียร์กันตอนค่ำ เสียดายที่นักศึกษามากันไม่กี่คน คงเพราะเป็นช่วงเตรียมตัวสอบกันด้วย และบางคนก็ติดเรียนตอนค่ำ แต่เท่าที่มาก็ได้คุยเล่นกันสนุกมากขึ้น บางคนบอกไม่น่าเชื่อเลยว่าจะไม่มีวิชานี้ให้เรียนตอนเช้าวันศุกร์อีกแล้ว พวกเขาบอกว่าเป็นชั้นเรียนที่พวกเขาชอบกันมาก บางคนบอกว่าไม่เคยเรียนชั้นเรียนไหนแบบนี้มาก่อนเลย แล้วเราก็แลกเปลี่ยนความแตกต่างของภาษากันต่ออีกนาน
 
ตอนท้ายๆ ของเมื่อคืน ที่ผมตกใจคือ นักศึกษาบอกผมว่า "You are so humble. You can be arrogant from what you know, but you aren't." พวกเขาบอกว่าอาจารย์ที่นี่ส่วนมากไม่ค่อยมีใครเป็นกันเองและฟังนักศึกษามากนัก ผมบอกว่า ผมเน้นการเรียนรู้จากนักเรียนด้วย แล้วก็ขอบคุณนักศึกษาที่ช่วยกันทำชั้นเรียนให้มีความหมาย
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้