Skip to main content

ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ

 

ที่ได้ไปก็เนื่องจากเพื่อนคนหนึ่งสนใจงานช่างมาก โดยเฉพาะงานช่างไม้ของญี่ปุ่น เพื่อนคนนี้เคยฝากซื้อเลื่อยจากญี่ปุ่นครั้งหนึ่ง ตอนนั้นก็ไม่เข้าใจว่าเลื่อยญี่ปุ่นมีอะไรพิเศษนักหนา แล้วอีกครั้งก็มีคนฝากซื้อหินลับมีดจากญี่ปุ่น ก็สงสัยว่าทำไมถึงต้องเจาะจงอยากได้ของพวกนี้จากญี่ปุ่นกันนัก สุดท้ายก็ไม่ได้ซื้อกลับไปเพราะลือกไม่เป็น

 

พอรู้ว่ามีพิพิธภัณฑ์แบบนี้ด้วย ก็เลยต้องติดสอยห้อตามเขามา ยิ่งมีนักวิชาการญี่ปุ่นเองช่วยนัดภัณฑารักษณ์ให้ ยิ่งดีใหญ่ เพราะนอกจากจะทำให้เข้าชมฟรีแล้ว (แต่ที่จริงค่าเข้าชมก็ไม่เท่าไหร่ แค่ 500 เยน ถือว่าคุ้มค่ามาก) ภัณฑารักษ์ยังอธิบายด้วยภาษาอังกฤษอย่างดี กระชับ เน้นข้อมูลสำคัญ แนะนำได้ครบถ้วน แล้วปล่อยให้เราศึกษาเพิ่มเติมเอง แถมบอกว่าหากมีคำถามเพิ่มเติมก็ถามได้ แต่แค่เท่าที่เขาช่วยพาชมนั่นก็เกินหนึ่งชั่วโมงแล้ว 

ผมชอบหลายอย่างของที่นี่ ที่น่าทึ่งคือ เขาทำให้เราเข้าใจความเฉพาะเจาะจงของงานช่างไม้ญี่ปุ่นได้ดีจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแยกความแตกต่างระหว่างงานช่างไม้ญี่ปุ่นกับงานช่างไม้จีน มีสองสามประเด็น 

เช่นว่า การที่เครื่องหลังคาของญี่ปุ่น โดยพื้นฐานก็เหมือนของจีนนั่นแหละ แต่เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีฝนมากกว่า กันสาดของหลังคาจึงยื่นออกมามากกว่า ทำให้โครงสร้างบางอย่างต้องแตกต่างกันไปด้วย 

เรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งที่พิพิธภัณฑ์นี้นำเสนอคือคำถามที่ว่า ชาวญี่ปุ่นเลื่อยไม้จากต้นไม้ใหญ่ให้เป็นแผ่นกระดานอย่างไร สำหรับช่างจีน จะใช้เลื่อยที่ใบเลื่อยเป็นปื้นแคบๆ ยาวๆ เข้ากรอบไม้ที่มีแกนกลาง มีไม้เป็นมือจับสองข้าง ซึ่งเป็นแบบที่เห็นได้ทั่วไปในประเทศไทยเช่นกัน 

แต่ญี่ปุ่นไม่ใช้วิธีนั้น เขาจะใช้ลิ่มเหล็กหรือลิ่มไม้ ตอกลงไปในลำต้นทีละตอนๆ ตามแนวที่ขีดไว้ ให้แยกจากกันทีละแผ่น แล้วจึงค่อยมาใช้มีดพิเศษชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายเคียวแต่ไม่โง้งยาวเท่า ค่อยๆ เหลาเข้าตัว ให้หน้ากระดานเรียบขึ้นๆ จนเนียน แต่เราก็ยังสัมผัสได้ถึงร่องรอยของใบมีดนั้น หรือถ้าจะให้เรียบจริงๆ เขาจะใช้กบที่ใบมีดละเอียดไสจนเรียบเนียนกริบเราวผ้าไหม 

เครื่องมืออีกชนิดที่ญี่ปุ่นใช้เลื่อยแผ่นกระดานคือ เลื่อยรูปร่างประหาด ที่ใบเลื่อยมีขนาดกว้างใหญ่เหมือนมีดปังตอ เพียงแต่ด้านคมเป็นฟันเลื่อย อย่างในรูปที่ถ่ายจากโบรชัวของพิพิธภัณฑ์ (ที่นี่ไม่ให้ถ่ายรูปสิ่งของและการจัดแสดงในท่จัดแสดง) เขาจะพาดลำต้นไม้ให้สูงขึ้นด้านหนึ่ง แล้วเหมือนนั่งเลื่อยจากด้านล่าง ท่าทางและการจัดการขี้เลื่อยคงเป็นเรื่องที่น่าสนใจไปอีกอย่างหนึ่ง (ผมอาจจะจำผิด ต้องตรวจสอบดูอีกทีหนึ่ง) 

นอกจากนั้น การจัดแสดงยังพยายามเทียบงานไม้ญี่ปุ่นกับงานไม้ที่ต่างๆ ทั่วโลก เขามีความสัมพันธ์กับพิพิธภัณฑ์ช่างไม้ในยุโรบหลายแห่ง จึงแลกเปลี่ยนข้อมูลและสื่อนำเสนอกันได้ ทำให้สามารถเปรียบเทียบวิธีการเลื่อยไม้ การทำงานไม้ได้พอสมควร 

นอกจากการจัดแสดง ของที่เขาสะสม การเล่าเรื่องราวต่างๆ แล้ว การออกแบบตกแต่งอาคารก็สมกับเป็นผลงานของช่างไม้มืออาชีพ เขาใส่ใจไม่เพียงแต่พื้นผิว ที่ว่าง สีสัน วัสดุ แต่ยังสร้างกลิ่นไม้ด้วยการฉีดน้ำหอมกลิ่นไม้ให้ได้รู้สึกกันตั้งแต่เข้าชมเลยทีเดียว น้ำหอมนี้มีขายด้วย หากใครคิดว่าอยากอยู่ในห้องที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในโรงไม้ตลอดเวลาก็น่าจะซื้อมาฉีดดมดู ผมคนหนึ่งละที่ไม่เอาด้วย 

แถมขณะนี้มีงานแสดงงานไม้ของศิลปินแห่งชาติ พร้อมทั้งผลงานของพ่อและปู่ของเขา จัดแสดงอยู่ นอกจากนั้นยังแสดงความละเอียดอ่อนของการเลือกวัสดุ ที่ภัณฑารักษ์เล่าว่า ขณะนี้ไม้ดีๆ ที่ได้อายุหาไม่ได้ในญี่ปุ่นอีกแล้ว ศิลปินจึงต้องไปหาไม้จากต่างประเทศมาแทน รวมทั้งการเปิดให้เห็นวิธีการเชื่อมต่อไม้ และให้ชมเครื่องมือต่างๆ ของช่างศิลปินแห่งชาติ เขาไม่ได้ให้ชมเครื่องมือของช่างเอง เพราะเขายังใช้งานอยู่ แต่ให้ชมของพ่อช่างเอง 

ถ้ายังไม่จุใจ พิพิธภัณฑ์นี้ยังมีห้องสมุดให้ค้นคว้า ทั้งข้อมูลเอกสารและข้อมูลวีดีโอ มีห้อง work shop ให้เรียนทำงานไม้แล้วเอาผลงานตนเองกลับบ้านได้เลย 

เมื่อชมจบ ก็มีคำถามคาใจมากมายเกี่ยวกับท้องถิ่นของงานช่าง และความแตกต่างระหว่างช่างพื้นบ้าน ที่เขาก็แสดงไว้ส่วนหนึ่ง กับช่างในวัดและในวัง รวมทั้งพัฒนาการของงานสถาปัตยกรรมต่างๆ แต่แค่นี้แม้ยังไม่ได้ถาม พิพิธภัณฑ์นี้ก็ทำหน้าที่มันได้อย่างดีแล้ว 

ถ้าจะถามกลับมาที่ประเทศไทยบ้าง เราคงเดาได้ไม่ยากว่าหากมีพิพิธภัณฑ์ประเภทนี้ในบ้านเราบ้าง "เพดาน" ของความคิดมันจะอยู่ตรงไหน ใครบ้างที่จะถูกเรียกว่าช่างไม้ แล้วเราจะได้เข้าใจงานช่างไม้สามัญมากกว่าช่างใครคนใดที่ถูกยกย่องกันจนพิเศษเกินไปหรือไม่

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มาเกียวโตเที่ยวนี้หนาวที่สุดเท่าที่เคยมา (สัก 6 ครั้งได้แล้ว) อุณหภูมิอยู่ราวๆ 0-5 องศาเซลเซียสตลอด แต่นี่ยังไม่เท่าเมืองที่เคยอยู่ คือวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้อยู่ราวๆ -20 องศาเซลเซียส และเคยหนาวได้ถึง -40 องศาเซลเซียส หนาวขนาดนั้นมีแต่นกกากับกระรอก ที่อึดพอจะอยู่นอกอาคารได้นานๆ แต่ที่เกียวโต คนยังสามารถเดินไปเดินมา หรือกระทั่งเดินเล่นกันได้เป็นชั่วโมงๆ หากมีเครื่องกันหนาวที่เหมาะสม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เมื่อวันที่ 23-24 มค. ยังความรื่นรมย์มสู่แวดวงวิชาการสังคมศาสตร์อีกครั้ง ถูกต้องแล้วครับ งานนี้เป็นงาน "เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 7" หากแต่อุดมคับคั่งไปด้วยนักสังคมศาสตร์ (ฮ่าๆๆๆ) น่ายินดีที่ได้พบเจอเพื่อนฝูงทั้งเก่าทั้งใหม่มากหน้าหลายตา แต่ที่น่ายินดียิ่งกว่านั้นคือการได้สนทนาทั้งอย่างเป็นทางการ ผ่านงานเขียนและการคิดอ่านกันอย่างจริงจัง บนเวทีวิชาการ กับเพื่อนๆ นักวิชาการรุ่นใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเช้า (26 มค.) ผมไปเลือกตั้งล่วงหน้าที่เขตจอมทอง ด้วยเหตุจำเป็นไม่สามารถไปเลือกตั้งวันที่ 2 กพ. ได้ ก่อนไป สังหรณ์ใจอยู่ก่อนแล้วว่าจะเกิดเหตุไม่ดี ผมไปถึงเขตเลือกตั้งเวลาประมาณ 9:00 น. สวนทางกับผู้ชุมนุมนกหวีดที่กำลังออกมาจากสำนักงานเขต นึกได้ทันทีว่ามีการปิดหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้า มวลชนหลักร้อย ดูฮึกเหิม ท่าทางจะไปปิดหน่วยเลือกตั้งอื่นต่อไป ผมถ่ายรูปคนจำนวนหนึ่งไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หนังสือ ประวัติศาสตร์ไทดำ : รากเหง้าวัฒนธรรม-สังคมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2557) เล่มนี้เป็นผลจากการวิจัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมทำวิจัยชิ้นนั้นก็เพื่อให้เข้าใจงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของชาวไทในเวียดนามสำหรับทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แต่เนื้อหาของหนังสือนี้แทบไม่ได้ถูกนำเสนอในวิทยานิพนธ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดือนที่แล้ว หลังเสร็จงานเขียนใหญ่ชิ้นหนึ่ง ผมกะจะหลบไปไหนสัก 4-5 วัน ระยะนั้นประเด็นวันเลือกตั้งยังไม่เข้มข้นขนาดทุกวันนี้ ลืมนึกไปจนกลายเป็นว่า ตัวเองกำหนดวันเดินทางในช่วงวันเลือกตั้ง 2 กพ. 57 พอดี เมื่อมาคิดได้ เมื่อวันที่ 14 มค. ก็เลยถือโอกาสที่ที่ทำงานให้หยุดงานไปลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตตนเอง ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีก็ได้เอกสารมาเก็บไว้ รอไปเลือกตั้งล่วงหน้าวันอาทิตย์ที่ 26 มค.
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เหตุที่ประโยค Respect My Vote. กลายเป็นประโยคที่นำไปใช้ต่อ ๆ กันแพร่หลายกินใจผู้รักประชาธิปไตยในขณะนี้ ไม่เพียงเพราะประโยคนี้มีความหมายตามตัวอักษร แต่เพราะประโยคนี้ยังเป็นถ้อยแถลงทางการเมืองของประชาชน ที่ประกาศว่า อำนาจสูงสุดของประเทศนี้เป็นของประชาชน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 9 มกราคม 2557 เวทีเสวนาประชาธิปไตยภาคใต้ ได้จัดอภิปรายเรื่อง "ปฏิรูปประเทศไทย : ปาตานีในระยะเปลี่ยนผ่าน" ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผมกับอาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ ได้รับเชิญในฐานะตัวแทนจากสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยไปร่วมบรรยายกับวิทยากรชาวปัตตานีและชาวสงขลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมอยู่ในแวดวงวิชาการ พร้อม ๆ กับทำกิจกรรมบริการทางสังคมด้านสิทธิ-เสรีภาพ การบริการทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานทางวิชาการ นอกเหนือจากการสอน การทำวิจัย และการเขียนงานวิชาการ แต่ในโลกทางวิชาการไทยปัจจุบัน เมื่อคุณก้าวออกมานอกรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว คุณจะกลายเป็น "คนมีสีเสื้อ" ไม่ว่าปกติคุณจะใส่เสื้อสีอะไร จะมีสติ๊กเกอร์ติดเสื้อคุณอยู่เสมอว่า "เสื้อตัวนี้สี..." เพียงแต่เสื้อบางสีเท่านั้นที่ถูกกีดกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งคือการยึดอำนาจของ กปปส. เพื่อจัดตั้งสภาประชาชน ไม่มีทางที่การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งจะเป็นการปฏิรูปที่ปวงชนชาวไทยจะมีส่วนร่วม เนื่องจาก...
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิวัติประชาชนของอาจารย์ธีรยุทธไม่ได้วางอยู่บนข้อเท็จจริงของสังคมไทยปัจจุบัน การปฏิวัติประชาชนตามข้ออ้างจากประวัติศาสตร์ประเทศต่างๆ ของอาจารย์ ล้วนแสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติของประชาชนเพื่อโค่นล้มผู้กุมอำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมเพราะผูกขาดอำนาจเป็นของตนเอง ตลอดจนเป็นการโค่นอำนาจรัฐที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยที่ประชาชนเป็นใหญ่มากขึ้น หากแต่เราจะถือว่า “มวลมหาประชาชน” หนึ่งล้านห้าแสนคน หรือต่อให้สองล้านคนในมวลชนนกหวีดเป็น “ประชาชน” ในความหมายนั้นได้หรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชัยวัฒน์ครับ ผมยินดีที่อาจารย์ออกมาแสดงความเห็นในสถานการณ์ล่อแหลมเช่นนี้ นี่ย่อมต้องเป็นสถานการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดจริงๆ ไม่เช่นนั้นอาจารย์ก็จะไม่แสดงความเห็นอย่างแน่นอน ดังเช่นเมื่อปี 2553 เหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่มีผู้เสียชีวิต 90 กว่าคน บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน อาจารย์ก็ยังเงียบงันจนผมสงสัยและได้เคยตั้งคำถามอาจารย์ไปแล้วว่า "นักสันติวิธีหายไปไหนในภาวะสงคราม"