Skip to main content

รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ไม่ใช่เพราะคนไทยติดใจรักใครรถกระบะเป็นพิเศษหรอก แต่เพราะโครงส้รางราคารถและราคาน้ำมัน รวมทั้งโครงสร้างการขนส่งในประเทศไทยต่างหาก ที่ทำให้รถกระบะเป็นที่นิยม การที่รัฐไม่พัฒนาระบบการขนส่งมวลชน ไม่พัฒนาระบบรถไฟทั่วประเทศ แต่อาศัยหากินกับการผลิตและการขายรถยนตร์นี่แหละ ที่ทำให้การบริโภครถกระบะเติบโตขึ้นมา
หลายคนคงรู้ดีกว่าผมว่า ประเทศไทยผลิตรถกระบะทั้งขายและส่งออกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่หากกวาดตาดูประเทศรอบบ้าน หรือมองให้ไกลไปว่าประเทศไทย มีประเทศไหนบ้างที่ใช้รถกระบะมากทั้งจำนวนและประเภทการใช้งานเท่าประเทศไทย ไม่มีหรอกครับ
เมื่อสักยี่สิบปีที่ผ่านมา รถกระบะจึงเป็นที่นิยมอย่างล้นหลาม ไม่เพียงคนซื้อรถกระบะแบบใช้นั่งสองคนแล้วมีกระบะบรรทุกด้านหลัง รถกระบะเองยังพัฒนาการออกแบบให้มี "แคป" นั่งหลังได้ แถมพัฒนาประตูให้เปิดกลับด้าน เพื่อให้ขึ้นนั่งบนแคปได้ รถกระบะจึงกลายเป็นรถอเนกประสงค์ แล้วมีการดัดแปลงใช้โครงสร้างรถกระบะต่อเติมเป็นรถแวน เรียกลูกค้าที่อยากใช้รถแวนราคาประหยัดได้อีกจำนวนมาก
การดัดแปลงรถกระบะเป็นรถสองแถวก็ไม่ใช่สิ่งที่เก่าแก่อะไรนัก เพิ่งจะมีมาเมื่อไม่เกิน 30 ปีมานี้เอง เดิมทีสมัยผมเด็กๆ ในกรุงเทพฯ หรือรวมทั้งรถโดยสารราคาถูกในต่างจังหวัด รถสองแถวล้วนแต่เป็นรถบรรทุก 6 ล้อที่ดัดแปลงมาเป็นรถโดยสารประจำทาง รถกระบะถูกดัดแปลงเป็นรถสองแถวเมื่อไม่นานมานี้เอง อาจจะด้วยความคุ้มทุนกว่า ขนาดเล็กเหมาะกับถนนเมืองไทยมากกว่า คล่องตัวกว่า และน่าจะประหยัดกว่ารถบรรทุก
เพื่อนๆ ญาติๆ ผมหลายคนเปรยอยู่เสมอๆ ว่า หากจะซื้อรถ เขาไม่อยากซื้อรถเก๋งหรอก ซื้อรถกระบะดีกว่า ได้ประโยชน์กว่า ขนได้ทั้งของและคน เรื่องบรรทุกคนท้ายรถกระบะเป็นเรื่องธรรมดา ผมเองก็ยังเคยนั่งท้ายรถกระบะระยะทางเป็นร้อยกิโลมาแล้ว แถมรถกระบะยังสมบุกสมบัน อายุการใช้งานยาวนาน และประหยัดค่าน้ำมันมากกว่า
ความผูกพันกับรถกระบะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ดัดแปลงไปมากมาย คนอยู่บนเขา นอกจากจะเชี่ยวชาญการขับรถบนที่สูงแล้ว รถกระบะแรงดี พอถึงหน้าฝน ถนนเข้าหมู่บ้านมีแต่ดินเบน รถกระบะยังถูกดัดแปลงเอาโซ่พันล้อ ให้วิ่งได้ราวรถตีนตะขาบ ตะกุยดินเลนได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งกว่ารถขับเคลื่อนสี่ล้อ
เมื่อสิบกว่าปีมานี้ รถกระบะจึงกลายเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญ เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของคนจำนวนหนึ่ง และยิ่งกว่านั้นคือ รถกระบะกลายเป็นวัตถุทางวัฒนธรรม รถกระบะถูกใช้เป็นพาหนะบรรทุกคนและถังน้ำเล่นสาดน้ำกันในช่วงสงกรานต์ นั่นเป็นภาพที่เห็นกันทั่วไป
นอกจากนั้น สักสิบปีมานี้ ยังมีการดัดแปลงรถกระบะติดเครื่องเสียง เปิดเสียงดังชนิดจะเรียกเผื่อแผ่หรือยัดเยียดเพื่อนร่วมท้องถนนก็แล้วแต่มุมมอง แต่ชมรมคนรักเครื่องเสียงติดท้ายรถกระบะก็สร้างวัฒนธรรมการใช้รถพ่วงไปกับรสนิยมการฟังเพลงเน้นจังหวะและการเต้นท้ายรถกระบะ งานมอร์เตอร์โชว์ไทยจึงไม่เหมือนที่ไหนในโลก ที่รถกระบะกลายเป็นสื่อทางเพศแบบเน้นผู้ชายมองเรือนร่างผู้หญิงยิ่งกว่ารถเก๋ง ใครจะชอบหรือไม่ชอบวัฒนธรรมแบบนี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง
หากเห็นว่าการใช้รถกระบะอย่างทุกวันนี้เป็นความผิดเพี้ยน มันก็ผิดเพี้ยนบิดเบี้ยวกันมาตั้งแต่โครงสร้างการจัดการการคมนาคม และเหนืออื่นใดคือความด้อยประสิทธิภาพของรัฐในการจัดการนโยบายการขนส่งนั่นแหละ แทนที่จะมาไล่เบี้ยเล่นงานแต่กับคนรายได้จำกัด สู้เอาสมองไปคิดถึงการจัดการเรื่องใหญ่ๆ ไม่ดีกว่าเหรอครับ หรือเพราะไม่เคยถูกฝึกให้คิดเรื่องใหญ่ ถูกฝึกให้ใช้แต่กำลัง ก็เลยเห็นแต่วิธีแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระดับภูมิภาคซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนภูมิภาค สภาองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในแต่ละปี ผมมักไปร่วมสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในคณะในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนประจำอยู่โดยไม่ได้ขาด เสียดายที่ปีนี้มีโอกาสสัมภาษณ์นักเรียนเพียงไม่กี่คน เพราะติดภาระกิจมากมาย แต่ก็ยังดีที่ได้สัมภาษณ์อย่างจริงจังถึง 10 คนด้วยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียชีวิตของเด็กหญิงบนรถไฟทำให้สังคมไทยสะเทือนใจกันไปทั่ว แต่ที่น่าสะเทือนใจไม่น้อยไปกว่าความสูญเสียดังกล่าวคือ การแสดงออกของสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นสังคมอาชญากรรมในหลายๆ ประการ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวัยเยาว์ ผมเริ่มสงสัยง่าย ๆ ว่า ในหัวของแต่ละคนคิดอะไรอยู่ จึงได้ทำให้คนแตกต่างกันหรือเหมือนกัน ผมพยายามค้นหาว่าความรู้ชนิดใดกันที่จะทำให้เข้าใจความคิดในหัวคนได้ แรก ๆ ก็เข้าใจว่าศาสนาจะช่วยให้เข้าใจได้ ต่อมาก็คือจิตวิทยา แต่ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ แล้วมาสนใจประวัติศาสตร์และปรัชญา ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ถูกใจ สุดท้ายผมได้เจอกับวิชาที่น่าสนใจว่าน่าจะช่วยให้เข้าใจทัศนคติได้ดี นั่นก็คือวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมสงสัยว่า บุคคลที่น่านับถือจำนวนมากที่ยินยอมตอบรับหรือเสนอตัวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ในคณะกรรมการต่างๆ มากมายนั้น ทั้งโดยออกนอกหน้าและเสนอตัวว่าขอทำงานอย่างลับๆ พวกเขาเข้าร่วมด้วยหลักการอะไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่า ทำไมคนไทยกลุ่มหนึ่งจึงโกรธนักโกรธหนาที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประณามและต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่พวกเขานั้นเป็นทาสฝรั่งเหล่านี้มากที่สุดในประเทศนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้*ท่านคงไม่ได้ติดตามข่าว ขณะนี้ไม่มีใครพูดถึงมาตรา 7 กันแล้ว ฝ่ายที่จะพยายามตั้งรัฐบาล ทั้ง กปปส. และพรรคพวก และการดำเนินงานของประธานวุฒิสภาเถื่อน (เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้า ทำเกินอำนาจหน้าที่) ในขณะนี้ ไม่ได้สนใจข้อกฎหมายมาตราใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาเพียงพยายามหาเสียงสนับสนุนจากสังคมโดยไม่ใยดีกับเสียงคัดค้าน ไม่ใยดีกับข้อกฎหมาย เพื่อที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของเขาเท่านั้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (8 พค. 57) ผมข้องเกี่ยวอยู่กับภาพยนตร์ในหลายๆ ลักษณะ ตอนเช้า สัมภาษณ์นักศึกษาสอบเข้าปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ น่าแปลกใจที่ผู้เข้าสอบหลายต่อหลายคนสนใจภาพยนตร์ ตกบ่าย ไปชมภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"ตามคำเชิญของ "คุณสืบ" และ "คุณเปีย" ผู้กำกับและตากล้องภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 12 เพิ่งจบสิ้นลงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (22-24 เมษายน ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย) ผมไปประชุมครั้งนี้อย่างเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องเตรียมตัวเสนอบทความตนเองหนึ่งชิ้น และร่วมในห้องเสวนาโต๊ะกลมอีกสองห้อง ทุกรายการอยู่คนละวัน ผมก็เลยต้องพูดทุกวันทั้งสามวัน