Skip to main content

บุ เต่อ โดะ นะ แล บุ เออ
บุ ลอ บ ะ เลอ ต่า อะ เออ

ชะตา วาสนาช่างรันทด
ต้องเผชิญแต่สิ่งลำเค็ญ

ข่าวคราวชะตากรรมและน้ำตา น้ำเลือดของประชาชนและพระในประเทศพม่าได้ถูกเผยแพร่ไปทั่วตามสื่อต่างๆ ผมทราบความเป็นไปเหล่านี้มานานบ้างแล้ว  ผมยังทราบอีกว่าส่วนหนึ่งของประชาชนในประเทศพม่านั้นคือ คนเผ่าพันธุ์เดียวกับผมซึ่งมีจำนวนมากกว่า 10 ล้านคนในประเทศทหารเผด็จการแห่งนั้น

ผมได้รับรู้ถึงเรื่องราวของน้ำตาที่เกิดขึ้นในดินแดนแห่งนั้นเป็นระยะๆมานานแล้ว โดยที่ผมเองมิอาจคาดเดาได้ว่า  มันจะสิ้นสุดลงเมื่อใด

บางทีเรื่องราวบางเรื่องมันเหมือนไกลตัวเรา แต่ความจริงมันก็ใกล้ตัวเรานี่เอง น้ำตาแห่งความเจ็บปวดไม่เคยทิ้งผู้ด้อยโอกาสกว่าในทุกสังคม  ไม่ว่าสังคมที่เป็นเผด็จการ สังคมประชาธิปไตยครึ่งใบหรือเต็มใบก็ตาม

ทำให้คนด้อยโอกาส คนรากหญ้า คนจน คนชั้นล่างเกิดขบวนการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อหลุดพ้นจากความไม่เป็นธรรมต่างๆ ที่เกิดจากนโยบายการบริหารปกครองอันมีผลกระทบร้ายแรงต่อวิถีชีวิตอยู่เรื่อย

ผมเองเคยมีเรื่องราวแห่งน้ำตาที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เมื่อนึกย้อนไปในงาน กวีคีตา เพื่อป่าชุมชน จัดขึ้น เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2545 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแสงอรุณ ใจกลางกรุงเทพมหานคร

ซึ่งงานนี้มีทั้งนักดนตรี กวี  นักคิด นักเขียนมากันมากมาย  บางท่านผมเคยเห็นและรู้จัก แต่หลายท่านผมไม่รู้จักเลย  แต่ก็ได้มารู้จักในงานนี้

ปกติแล้วตอนนั้นผมมักจะบินคู่กับ พาตี่ทองดี แต่งานนั้น พาตี่ทองดี ไม่สบาย  ผมเลยต้องบินเดี่ยว นั่นเป็นสิ่งที่ค่อยๆลับ ค่อยๆฝนผมในทางอ้อมให้คมพอสามารถใช้แผ้วถางหญ้าได้บ้าง

ผมออกจากเชียงใหม่โดยรถทัวร์ หอบเอาร่างกายและวิญญาณก่อนหน้าที่จะมีงานเกิดขึ้นหนึ่งวัน ระหว่างทางผมได้ทบทวนวัตถุประสงค์ของการไปกรุงเทพฯครั้งนี้อย่างจริงจัง 

คำตอบในใจบอกว่า แผ่นดินเกิดกำลังจะร้อนรุ่ม  เผ่าพันธุ์กำลังเดือดร้อน ในเมื่อหมู่บ้านที่เกิด อยู่ กิน กำลังจะถูกพรากไปจากเรา  นึกถึงโชคชะตาของชนเผ่า ที่ต้องมาเจออุปสรรคต่างๆ   ทำให้คิดถึงคำบอกเล่าจากผู้เฒ่าปวาเก่อญอ  ที่เคยเล่าให้ฟังว่า

ในอดีตนั้นพวกเราอยู่กันอย่างสงบสุข และเรียบง่ายกลางป่า กลางดอย ชีวิตไม่ได้แขวนไว้กับโครงสร้างเศรษฐกิจโลกไม่ได้ยึดติดกับเงินตรา ไม่ได้หวั่นไหวกับการผันผวนของค่าเงิน  มีผืนดินเป็นเหมือนเนื้อหนัง  มีสายน้ำเป็นเป็นเหมือนสายเลือด  มีอากาศเป็นลมหายใจ ต้นไม้ป่าไม้เป็นกระดูก มีผีเทวดาคุ้มครองร่างกายและวิญญาณ เราเคารพต่อกันและกัน ไม่รบกวนที่อยู่ที่พักของผู้คุ้มครอง  ทำเท่าที่เราจะกิน กินเท่าที่เรามี  ไม่มีบัตรประชาชน หรือบัตรใดๆ   ไม่ได้อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลใดๆ

อยู่กันอย่างเสรี ตามจารีตและประเพณีปวาเก่อญอ  ที่บรรพบุรุษเคยทำเคยอยู่เคยกินกันมาเนิ่นนาน ต้นโพธิ์ที่ทวดของทวดปลูกเอาไว้ ต้นมะม่วงที่ตาของตาปลูกเอาไว้ ที่นาที่ปู่ของปู่เบิกเอาไว้ เราลูกหลานได้กินได้ใช้กันอย่างไม่ขัดสน  เพราะเราทำเท่าที่เรากิน เรากินเท่าที่เรามี

แต่อยู่มาวันหนึ่งมีคนแปลกหน้าเข้ามาในหมู่บ้าน มาบอกเราว่าผืนดินที่คุณอยู่นี้มีเจ้าผู้ครอบครอง  คุณต้องมีบัตรประชาชน ต้องเสียภาษี ทั้งภาษีไร่ ภาษีนาและภาษีคน เขาอ้างตัวว่าเป็นคนของทางการ บังคับให้ทุกคนต้องทำบัตรฯ   ทำให้คนหนุ่มบางคนในหมู่บ้านต้องหนีออกจากหมู่บ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทำบัตรประชาชน

ผู้หญิงคนแก่ในหมู่บ้านจึงต้องทำบัตรประชาชน  เราพูดภาษากลางไม่เป็น  นอกจากภาษาโย(ล้านนา)  เขาเลยเรียกเราว่า ชาวเขา ไม่ใช่ ชาวเรา เมื่อเราทำบัตรเสร็จทุกอย่างมันแปรเปลี่ยน ทุกปีมีผู้เก็บภาษี ขึ้นมาเก็บภาษีในหมู่บ้าน

ในแต่ละปีนั้น  คนเก็บภาษีมา  ไม่รู้ว่าพวกไหนจริง พวกไหนปลอม แต่พวกมันอ้างตัวว่าเป็นคนของทางการ  พวกเราเลยไม่กล้าทำอะไร  เพราะบัดนี้บ้านและผืนดินที่เราอยู่มา มีผู้อ้างตนเป็นเจ้าของเสียแล้ว   มีหมูมันก็ฆ่าของเรากิน  มีไก่มันก็เชือดของเราไปต้ม  ก่อนกลับมันไม่ลืมที่จะเรียกเก็บภาษีที่นา ภาษีไร่ ภาษีบ้านและภาษีคนจากเราอีก

คนในหมู่บ้านเลยกลัวการมีบัตรประชาชน  เพราะถ้าคุณมีบัตรประชาชนแล้ว คุณต้องเสียภาษีให้กับทางการ ไม่รู้ปีละกี่ครั้งต่อกี่ครั้ง

ผู้คนในหมู่บ้านจึงไม่อยากมีบัตรฯ   เมื่อไม่มีบัตรก็กลายเป็นคนเถื่อน ทำให้มีปัญหาเรื่องบัตรประชาชนตกหล่น ถึงปัจจุบัน

ต่อมาคนของทางการยังได้มาบอกอีกว่า  ผืนที่ไร่นาของเราทำกินไม่ได้แล้ว เป็นผืนที่ป่าที่ทางการสงวนอนุรักษ์   แม้กระทั่งหมู่บ้านที่พวกเราอยู่กินกันมาเป็นร้อยๆปี ก็กลายเป็นหมู่บ้านที่ผิดกฎหมาย

ความขัดสน ความขาดแคลน ความยากจน จึงมาเยือนผู้คนในหมู่บ้านของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราต้องพึ่งพาเงิน  ต้องพึ่งพิงปัจจัยภายนอก  ต้องอาศัยเครื่องไม้ เครื่องมือ จากภายนอกที่มานำเสนอโดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ มากมาย

โอ้….. ลูกฉันจะกินอย่างไร   เหลนฉันจะอยู่อย่างไร

ผมหลับตาคิดไปโดยไม่รู้ว่าหลับตอนไหน

ตื่นมาอีกทีไม่รู้ว่าถึงไหนแล้ว  มองออกไปนอกรถมืดไปหมด  เหมือนเส้นทางอนาคตชีวิตชนเผ่าที่ยังมองไม่ เห็นอะไร  ผมเลยหลับต่อดีกว่า  กระทั่งอีกทีผมได้ยินเสียงเพลงจากรถทัวร์ที่ดั่งผ่านประสาทหูผม  ทำให้ผมได้สติลืมตาขึ้นมา   กวาดลูกตาไปยังข้างทาง  ฟ้าเริ่มสางแล้ว  และเห็นป้ายโฆษณาสินค้าต่าง ๆและอาคาร ใหญ่โตโอฬารอยู่ตามสองข้างถนนเต็มไปหมด   แสดงว่าผมจะถึงกรุงเทพฯแล้ว

และผมก็ถึงหมอชิต  ผมลงรถแล้วได้เจอกับพี่พฤ  โอโดเชา  ซึ่งมารถคันเดียวกันโดยบังเอิญ
ผมถามเขาว่า  จะไปไหน  เขาบอกว่าไปงานเดียวกันกับผมนั่นแหละ

ทีนี้ผมโล่งใจมากที่เจอคนนำทางไปสู่ที่พักแล้ว  เพราะลำพังผมคนเดียวนั้นลำบากเป็นอย่างยิ่งกับการไปไหนมาไหนในกรุงเทพฯ   ผมแทบไม่รู้จักทางเลย  นอกจากหมอชิต  หัวลำโพงและดอนเมือง

พี่พฤ พาขึ้นรถแท็กซี่เพื่อไปยังสำนักงานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

พอไปถึง  ผมได้เจอกับพี่ต๋อม ชุมชนคนรักป่า  พี่ต๋อมบอกผมว่า  "เก้าโมงเราจะเดินทางไปยังสถานที่จัดงาน ตอนนี้ให้พักผ่อนตามสบาย”

แล้วผมก็จะได้เจอกับพี่สุวิชานนท์ และพี่ภู เชียงดาว  ผมสังเกตว่าพี่นนท์และพี่ภู ตื่นเต้นกับงานนี้ไม่น้อย

พี่นนท์ชวนพี่พฤ ซักซ้อมนัดแนะเกี่ยวกับงานนิดหน่อย   พี่ภูก็เรียกผมและพี่นก โถ่เรบอมา

เราได้นัดแนะกันแผนการที่จะขึ้นเวทีนิดหน่อย  แล้วเวียนกันเข้าห้องน้ำอาบน้ำเพื่อเตรียมตัวเดินทางไปในงานฯ





บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า?…
ชิ สุวิชาน
 หลังเสร็จงานศพ ความรู้สึกจำใจจากบ้านมาเยือนอีกครั้ง  แต่การกลับบ้านครั้งนี้แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะในวิถีประเพณี ที่มีคนตายในชุมชน  ได้เห็นสภาพของป่าช้าที่ถูกผ่าตัดตอนแล้วพยายามเปลี่ยนอวัยวะชิ้นส่วนใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนที่ 
ชิ สุวิชาน
 โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม  ลูกชายที่เป็นศาสนาจารย์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศิษยาภิบาลได้จับดินก้อนหนึ่งกำไว้ในมือ  แล้วชูดินต่อหน้าผู้ร่วมงาน"ชีวิตเราถูกสร้างมาจากดิน แล้วพระเจ้าได้เป่าลมหายใจ คือชีวิตสู่เรา การรักษาร่างกายไม่สำคัญเท่ากับการรักษาชีวิต ชีวิตที่แม้ไม่มีร่างกายก็มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อร่างกายเราถูกสร้างมาจากดิน ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งก็ต้องเสื่อมและต้องกลับคืนสู่ดิน แต่ชีวิตไม่ได้ถูกสร้างมาจากดิน ชีวิตถูกสร้างมาจากลมหายใจที่มาจากพระเป็นเจ้า ถ้าเรารักษาชีวิตไว้ในขณะที่อยู่บนโลกให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า…
ชิ สุวิชาน
จบพิธีทางคริสต์ศาสนา แขกเหรื่อที่มาต่างทยอยเดินลงบันใด และยืนกองรวมกันที่ลานหน้าบ้านผู้ตาย รถกระบะสองคันซึ่งเป็นของลูกชายศาสนาจารย์ที่จากไปได้แล่นมาแหวกกลุ่มคนที่ยืนอยู่ลานหน้าบ้าน และจอดท่ามกลางวงห้อมล้อมของฝูงชน  "กางเขนนี้คนเอาไม่อยู่ โคตรหนักเลย" เสียงของหนึ่งในชายฉกรรจ์ พูดขึ้นหลังจากนำไม้กางเขนซีเมนต์ขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้วได้ขึ้นไว้บนรถกระบะ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้แบกไม้กางเขนของตนเองไปยังภูเขาที่พระองค์จะถูกตรึง ระหว่างทางได้อ่อนระโหยโรยแรง มีชายผู้หนึ่งที่สงสารจึงอาสาช่วยแบก แต่มาครั้งนี้คนเอาไม่อยู่ ผมเพียงแต่นึกในใจว่ากางเขนซีเมนต์นี้…
ชิ สุวิชาน
"ที่จะร้องให้ฟังต่อไปนี้เป็น ธา ปลือ ร้องเพื่อให้คนเป็นรู้ว่าคนตายได้ตายเพื่อไปที่อื่นแล้ว ร้องเพื่อให้คนตายรู้ว่าตัวว่าได้ตายและต้องไปอยู่อีกที่แล้ว ในวันที่ไม่มีคนตายห้ามพูดห้ามร้องเด็ดขาด ไม่ว่าในบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือที่ใดก็ตาม ในวันที่มีคนตายนั้นต้องร้อง" พือพูดก่อนร้อง พือหยิบไมโครโฟน หันมาทางผม ผมจึงเริ่มบรรเลงเตหน่า
ชิ สุวิชาน
ข่าวเรื่องการละสังขารของศาสนาจารย์ผู้ก่อตั้งคริสตจักรมูเจะคีในวัย 96 ปีได้ถูกกระจายออกไป ไม่เพียงแค่ในพื้นที่มูเจะคีเท่านั้น เชียงราย กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่เกิดและที่เติบโตของพื้นที่อื่นที่เขาเคยเผยแพร่และเทศนาเรื่องราวของพระคริสต์ทั้งในพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ข่าวการจากไปของเขาไม่เลยผ่านไปได้ งานศพถูกจัดการอย่างดีตามรูปแบบของคริสเตียน ข่าวไปถึงที่ไหนผู้คนจากที่นั่นก็มา คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ดูแล้วปริมาณไม่ต่างกันเท่าเลย เหมือนมีการจัดงานมหกรรมบางเกิดขึ้นในชุมชน ลูกหลานที่ไปทำงานจากที่ต่างๆ ของเขาก็มากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยที่งานศพถูกเก็บไปสามคืน
ชิ สุวิชาน
พี่นนท์เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้ฟังพาตี่ทองดี จึงร้องเพลงธาปลือให้ฟัง จนกระทั่งถึงท่อน โย เย็นนั้นระหว่างงาน พี่นนท์จึงถามคำแปลของเพลงเหล่านั้น หลังจากเสร็จงานนั้นเพลงเส่อเลจึงมีการต่อเติมจนเป็นเพลงขึ้นมาจนได้ “พี่นึกถึงหญิงสาวที่ต้องโตขึ้นมาอย่างลำบาก นึกถึงพัฒนาการการเติบโตของชีวิต ต้องตามพ่อตามแม่ปลูกข้าว กว่าจะโตเป็นสาวต้องผ่านการตรากตรำทำงานอย่างลำบาก พี่เลยจินตนาการการตายของเธอว่า เป็นการเสียชีวิตด้วยไข้ป่า”
ชิ สุวิชาน
แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้
ชิ สุวิชาน
ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย “ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก…
ชิ สุวิชาน
มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมูอยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพรท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่าทำไร่หมุนเวียน ทำนา …
ชิ สุวิชาน
เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง "ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ…
ชิ สุวิชาน
ปี 2540 สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชนที่อยู่กับป่าร้อนระอุขึ้นมาอีกระลอก เมื่อรัฐบาลของนายหัว ชวน หลีกภัย ได้มีนโยบายอพยพคนออกจากป่า นั่นหมายถึงชะตากรรมวิถีของคนอยู่กับป่าจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ชุมชนเดิม ที่อยู่ ที่ทำกินเดิมนั้นจะกลายเป็นเพียงที่ที่เคยอยู่เคยกินเท่านั้น ตัวแทนขบวนคนอยู่กับป่าจึงมีการขยับเคลื่อนสู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง โดยมีเครือข่ายกลุ่มสมัชชาคนจนจากภาคต่างๆมาสมทบอย่างครบครัน กลายเป็นชุมชนคนจนหน้าทำเนียบโดยปริยาย “ลูกหลานไปเรียกร้องสิทธิหลายครั้งแล้ว ไม่ได้สักที คราวนี้ฉันต้องไปเอง ถ้าเรียกร้องไม่สำเร็จฉันจะไม่กลับมาเด็ดขาด”…