Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

บก.สาละวินโพสต์
 อ่านเรื่องสายลับพม่ากันมาสองตอนแล้ว คนที่เคยเดินทางไปเที่ยวพม่าตามสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังต่าง ๆ อย่างเจดีย์ชเวดากอง หรือพระธาตุอินทร์แขวนอาจบอกว่า ไม่เห็นเคยเจอสายลับติดตามเลย  ผู้เขียนอาจเป็นพวก "คิดไปเอง" หรือเปล่า  อันที่จริง ถ้าผู้เขียนไม่ได้เดินทางไปพม่าในฐานะ "นักข่าว" ที่ต้องการเก็บข้อมูลปัญหาในพม่าออกเผยแพร่  ผู้เขียนก็คงจะเดินทางอย่างไร้กังวล ไม่ต้องเป็นโรคหวาดระแวงอย่างที่เห็น เพราะตามสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังจะไม่มีสายลับมาติดตามหรือถ้ามีสายลับอยู่ก็ไม่จำเป็นต้องกลัวเพราะตราบใดที่ยังไม่มี "พฤติกรรมนอกกรอบ" นักท่องเที่ยว  พวกสายลับก็จะไม่สนใจเฝ้าติดตามแต่ถ้าคุณมีนิสัยชอบซักถามข้อมูลและถ่ายภาพที่ "ไม่พึงประสงค์" ในสายตาของรัฐบาลพม่า เช่น ถ่ายภาพที่ทำการพรรคเอ็นแอลดีของนางอองซาน ซูจี หรือพูดคุยกับขอทานข้างถนน  ชาวบ้านในสลัม เป็นต้น  พฤติกรรมแบบนี้จะเป็นที่จับตามองของบรรดาสายลับพม่าซึ่งมักแฝงตัวรวมกับคนทั่วไป โดยเฉพาะร้านน้ำชา ซึ่งมีอยู่ทั่วทุกมุมเมือง อาทิ ร้านน้ำชาฝั่งตรงข้ามที่ทำการพรรคเอ็นแอลดี  ว่ากันว่า บรรดาสายลับพม่าจะต้องนั่งประจำการอยู่ที่นี่เพื่อเก็บข้อมูลคนเข้า-ออก  หากมีนักท่องเที่ยวคนไหนยกกล้องขึ้นมาถ่ายรูปที่ทำการพรรคแห่งนี้ละก็  บรรดาสายลับก็จะปฏิบัติงานทันที ผู้เขียนเคยเข้าพักที่โรงแรม Yusana ห่างจากที่ทำการพรรคเอ็นแอลดีแบบเดินถึงภายในห้านาที  เวลาเดินผ่านหน้าที่ทำการพรรคฯ ขนาดไม่ได้ยกกล้องขึ้นมาถ่ายรูป เพียงแค่ยืนมองป้ายด้านหน้าเฉย ๆ  สายตาหลายคู่จากร้านน้ำชาฝั่งตรงข้ามยังเปล่งรัศมีข้ามมาถึงจนทำให้ต้องรีบเดินจ้ำอ้าวผ่านไปเร็ว ๆ  ถ้าขืนยกกล้องขึ้นมา งานนี้สวรรค์คงไม่เมตตาแน่ ๆ เพราะหาเรื่องใส่ตัวเอง  ผู้เขียนได้แต่แกล้งทำทีซ่อนกล้องไว้ในกระเป๋าสะพายให้เลนส์โผล่ขึ้นมาเล็กน้อย เวลาเดินผ่านเป้าหมายก็กดชัตเตอร์มั่วๆ ไปโดยไม่ยกกล้องขึ้นมา  ผลปรากฎว่า มองไม่เห็นอะไรเลยเพราะรีบเดินจ้ำอ้าวเร็วเกินไป!เพื่อนช่างภาพชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เขาถูกสันติบาลพม่าติดตามหลายครั้งในระยะกระชั้นชิดและรู้แน่ชัดว่าถูกติดตาม  เขาจึงแกล้งไปสถานที่ทั่ว ๆ ไป เช่น ร้านน้ำชา พอเห็นสันติบาลมานั่งโต๊ะติดกันบ่อย ๆ ในที่สุด เขาก็หันไปยิ้มให้แล้วชักชวนให้มานั่งด้วยกันเสียเลยดีไหม  เขาบอกกับสันติบาลคนนั้นว่า "ผมเข้าใจดีว่า คุณกำลังทำตามหน้าที่ อยากตามก็ตามเถอะ"  อีกเหตุการณ์หนึ่ง เพื่อนชาวฟิลิปปินส์คนหนึ่งเล่าว่า เธอนัดคุยกับชาวพม่าท้องถิ่นเรื่องการพานักข่าวมาอบรมนอกประเทศพม่าที่ภัตตาคารแห่งหนึ่ง  เวลาคุยกัน  เด็กเสิร์ฟน้ำชามักจะมายืนใกล้ ๆ แล้วคอยบริการเติมน้ำชาให้กับเธอบ่อย ๆ เหมือนต้องการแอบฟังเรื่องราวที่คุยกัน ถึงขนาดที่ว่า เธอเพิ่งจิบน้ำพร่องไปนิดเดียว เด็กหนุ่มก็รีบเข้ามาเติมชาให้เต็มแก้วทันที  ฟังแล้ว.. บางคนอาจท้วงว่าเพื่อนคนนี้ขี้ระแวงมากไปหรือเปล่า เพราะนี่อาจเป็นบริการสุดประทับใจที่ทางภัตตาคารมอบให้ลูกค้าทุกคนก็เป็นได้ !ันอกจากร้านน้ำชาแล้ว  ร้านอินเทอร์เน็ตจัดเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่สายลับพม่ามักวนเวียนอยู่แถวนั้น  เพราะถือเป็นเครื่องมือสื่อสารสู่โลกภายนอก  เมื่อสมัยที่ผู้เขียนเดินทางเข้าพม่าแปดปีก่อน ยุคนั้นรัฐบาลพม่ายังไม่อนุญาตให้ใช้ฟรีอีเมลใด ๆ ทั้งสิ้น  หากต้องการส่งอีเมลจะต้องใช้อีเมลของร้านอินเตอร์เน็ตที่ขึ้นทะเบียนเปิดขอใช้อีเมลกับทางการเท่านั้น  ดังนั้น เวลาส่งเมลมาหาเพื่อนหรือญาติที่เมืองไทย ชื่อที่ปรากฎบนอีเมลของผู้ส่งจะเป็นชื่อของร้านอินเทอร์เน็ตนั้น ๆ  ผู้เขียนจำได้ว่า ตอนนั้นส่งเมลมาหาเพื่อนและต้องใส่ข้อความในชื่อเรื่องว่า "ถึง (ชื่อเพื่อน) นี่ฉันเอง (ชื่อตัวเอง)" เพราะกลัวเพื่อนคิดว่าเป็นเมลขยะแล้วลบทิ้ง แล้วค่าส่งอีเมลไม่ได้นับเป็นชั่วโมง  แต่คิดตามความยาวหน้ากระดาษ คือ "เขียนน้อยจ่ายน้อย เขียนมากจ่ายมาก"  แล้วเวลาจะส่งต้องเรียกพนักงานร้านมาส่งให้เพื่อทำการจัดเก็บข้อความของผู้ใช้บริการส่งให้หน่วยข่าวกรอง  ดังนั้น  ใครหาญกล้าเขียนข้อความล่อแหลมวิจารณ์รัฐบาลก็คงจะได้เข้าไปนอนในคุกแน่ ๆ เพราะหลักฐานมีให้เห็นอยู่โต้ง ๆ ล่าสุดที่ผู้เขียนเดินทางไปพม่าปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา  อินเทอร์เน็ตเข้าถึงเมืองใหญ่หลายเมืองแล้ว  โดยรัฐบาลพม่าอนุญาตให้ใช้ฟรีอีเมลของ gmail ได้  ส่วน hotmail และ yahoo ยังคงถูกบล็อคไว้  รวมทั้งเว็บไซต็ข่าวต่างประเทศหลายสำนักข่าวก็ถูกบล็อคเช่นกัน  แต่ถึงแม้ประชาชนจะมีฟรีอีเมลใช้ นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เสรีภาพในการส่งข้อมูลข่าวสารจะมากขึ้นตามไปด้วย  เพราะร้านอินเทอร์เน็ตที่ไปใช้ต้องขึ้นทะเบียนกับรัฐบาลและคนที่ไปใช้บริการก็ไม่มีความเป็นส่วนตัวในการพิมพ์ข้อความสักเท่าใดนัก เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ร้านเดินไปเดินมาตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ ถ้าใครส่งอีเมลที่มีข้อความ "ต้องห้าม" หรือ "น่าสงสัย" ก็อาจนำมาภัยมาสู่ตัวได้ง่าย เหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่คนหนึ่งของสาละวินโพสต์ซึ่งถูกจับได้หลังเก็บข้อมูลและถ่ายภาพผู้ประสบภัยนาร์กิสเมื่อปีที่ผ่านมา เรื่องราวจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามอ่าน "สายลับพม่า (ตอนจบ)" ในครั้งต่อไปนะคะ
Hit & Run
Ko We Kyaw ไร่ปลูกสบู่ดำริมทางบนถนนระหว่างเมืองเจ้าปะต่าวกับมิตทีลา ภาคมัณฑะเลย์ ภาพถ่ายในเดือนพฤษภาคม 2551 (ที่มา: Kowekyaw/Prachataiburma)   พฤษภาคม 25511. ผมอยู่บนรถโดยสารเก่าๆ แล่นออกจากเมืองเจ้าปะต่าว (Kyaukpadaung) มุ่งสู่มิตทีลา (Meiktila) ภาคมัณฑะเลย์ ใจกลางเขตแล้งฝน (dry zone) ของสหภาพพม่า สองข้างทางซึ่งเป็นดินแดงๆ จึงเหมาะจะปลูกเฉพาะพืชทนแล้ง โดยเมืองเจ้าปะต่าวถือเป็นแหล่งปลูกตาล ส่วนเนินแห้งแล้งรอบทะเลสาบมิตทีลาก็เป็นแหล่งปลูกฝ้าย แต่สองข้างทางของถนนที่ผมกำลังเดินทางกำลังเปลี่ยนโฉมหน้าด้วยโครงการปลูกพืชพลังงานชนิดใหม่ “สบู่ดำ” ป้ายโครงการปลูกสบู่ดำและไร่สบู่ดำหรือที่ภาษาพม่าออกเสียงว่า “แจ๊ตซู่” (Kyet-Suu) พบเห็นทั่วไปสองข้างทาง ปลูกทั้งที่ดินชาวบ้าน ทั้งที่ดินรัฐบาล ปลูกทั้งที่โล่ง และแม้แต่ปลูกบนอาคาร เช่นที่ว่างริมระเบียงในอพาร์ทเมนท์หรือยอดตึกในเมืองก็ไม่เว้น   2. บทรายงานในนิตยสารสาละวินโพสต์ ฉบับ 1 เม.ย. – 15 พ.ค. 2551 ระบุว่า ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 พลเอกอาวุโสตานฉ่วย ผู้นำพม่า ได้ประกาศรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นสบู่ดำเพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซล โดยตั้งเป้าว่า ภายในสามปีจะต้องขยายพื้นที่ปลูกต้นไม้ชนิดนี้ให้ได้ 20 ล้านไร่ รัฐบาลแบ่งโควตาเพาะปลูกอย่างน้อย 1.25 ล้านไร่ ในเขตรัฐหรือภาคต่างๆ แม้ว่าแต่ละรัฐหรือภาคจะมีพื้นที่มากน้อยต่างกันก็ตาม ทำให้รัฐคะเรนนีซึ่งเป็นรัฐที่มีขนาดเล็กที่สุด จะต้องสูญเสียพื้นที่ให้กับพืชพลังงานชนิดนี้ถึงร้อยละ 17 และชาวบ้านทุกคนจะต้องปลูกต้นไม้เฉลี่ยคนละ 177 ต้นภายใน 3 ปี เพื่อให้ได้ตามจำนวนโควตาที่กำหนดไว้ ประชาชนแทบทุกสาขาอาชีพจะต้องเข้าร่วมโครงการนี้โดยไม่ถามความสมัครใจ ไม่ว่าจะเป็นครู นักเรียน พยาบาล และหน่วยงานต่างๆ จะต้องใช้พื้นที่ว่างในหน่วยงานของตนปลูกพืชชนิดนี้ ดังนั้นจึงมีการปลูกต้นสบู่ดำรอบๆ บริเวณบ้าน ตามถนน ในสวน หรือแม้แต่ในไร่ที่ติดทางหลวง แม้แต่ในเมืองหลวง ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามอพาทเม้นท์ก็ต้องปลูกสบู่ดำ โดยถือว่าเป็นหน้าที่ต่อประเทศชาติ โดยประชาชนต้องซื้อเมล็ดมาปลูกเอง ไม่เว้นแม้แต่ปลูกตามระเบียงหน้าต่างของที่พัก หลังจากโครงการผ่านไปสองปี กระทรวงเกษตรและชลประทานได้ออกแถลงการณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2549 ว่า ขณะนี้มีพื้นที่ปลูกต้นสบู่ดำไปแล้ว 2.5 ล้านไร่ โดยจะปลูกเพิ่มอีกประมาณปีละ 6 ล้านไร่ในปี 2550 ถึง 2551 โดยในปี 2552 นี้ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายในแผนงานจะต้องปลูกเพิ่มอีกเกือบ 8.5 ล้านไร่ เพื่อรวมพื้นที่ทั้งหมดให้ได้ 20 ล้านไร่ทั่วประเทศพม่า อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังไม่มีแผนพัฒนาพลังงานชนิดนี้อย่างชัดเจน เช่นการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์และปุ๋ย รับประกันราคาผลผลิต ไปจนถึงการแปรรูปเป็นพลังงานไบโอดีเซล ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการรณรงค์ของโครงการคือการยึดที่นาของชาวบ้านมาเป็นของกองทัพและบังคับให้ชาวบ้านปลูกพืชชนิดนี้ทั้งที่ดินของตนเอง และของกองทัพ รวมถึงการเรียกเก็บเงินทดแทนสำหรับชาวบ้านที่ไม่มีที่ดินปลูกพืชโดยรัฐบาล ได้ออกคำสั่งเป็นเอกสารไปยังหน่วยทหารทุกหน่วยให้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมชาวบ้านในพื้นที่ของตนเองปลูกต้นสบู่ดำให้ได้ตามโควตาที่กำหนด นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาขาดแคลนอาหารในพม่า อันเนื่องจากแหล่งปลูกข้าวสำคัญคือที่ราบบริเวณปากแม่น้ำอิระวดีได้รับผลกระทบจากพายุนาร์กีส ขณะที่พื้นที่ส่วนที่เหลือของประเทศ ส่วนหนึ่งก็นำมาปลูกพืชพลังงานที่ว่า โดยการที่ชาวนาต้องใช้ที่ดินในการปลูกต้นสบู่ดำแทนพืชเพื่อยังชีพ ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปีจึงจะได้ผลผลิตรอบแรก อีกทั้งประชาชนยังถูกบังคับให้ไปปลูกพืชชนิดนี้ในที่ดินของกองทัพ จนไม่มีเวลาทำงานเลี้ยงตนเองและครอบครัว ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากพากันอพยพออกไปหางานทำในประเทศเพื่อนบ้าน โดยจากรายงานล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2551 เรื่อง "Biofuel By Decree: Unmasking Burma's bio-energy fiasco" โดยกลุ่ม Ethnic Community Development Forum (ECDF) ระบุว่า ปัจจุบันมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการนี้อย่างน้อย 800 คน อพยพมาทำงานอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน และนับตั้งแต่ต้นปี 2549 ที่รัฐบาลเริ่มโครงการทำไร่สบู่ดำ มีรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนของทหารพม่าที่เชื่อมโยงกับโครงการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังเช่น รายงานของกลุ่มเพื่อสิทธิมนุษยชนชาวไทยใหญ่ ระบุว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐฉานที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการนี้ โดยส่วนใหญ่เป็นการยึดที่ดินเกือบ 30 รายในช่วงเวลา 2 ปี โดยประชาชนเหล่านี้ต้องถูกยึดที่ดินทำกินโดยไม่ได้รับค่าชดเชยใดๆ เช่นเดียวกับประชาชนในเขตชายแดนพม่า - จีนเปิดเผยว่า กองทัพพม่าประจำทางตอนเหนือของรัฐฉานได้ยึดที่ทำกินชาวบ้านไปแล้วกว่า 2,500 ไร่ในเมืองหมู่เจ้เมื่อต้นปี 2550 ชาวบ้านส่วนใหญ่จะถูกยึดที่ดินโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆ หรือหากได้รับก็เป็นเงินจำนวนน้อยนิดเท่านั้นเมื่อเทียบกับที่ดินที่สูญเสีย ไป โดยอัตราค่าชดเชยที่ได้รับคือ 10,000 - 50,000 จั๊ต (300 บาท - 1,500 บาท) สำหรับพื้นที่ขนาดเล็ก หรือ 1 - 5 แสนจั๊ต (3,000 บาท - 15,000 บาท) สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ไร่ชา หรือ ไร่ส้มทั้งไร่   3. ล่าสุด บริษัทพัฒนาพลังงานชีวภาพญี่ปุ่น (Japan Bio Energy Development Corp) หรือ JBEDC ประกาศวันที่ 27 ก.พ. 52 เกี่ยวกับแผนการร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นของพม่า เพื่อก่อตั้งบริษัทใหม่ใช้ชื่อว่า Japan-Myanmar Green Energy เป็นการร่วมระหว่างเอกชนดังกล่าว 60% กับเอกชนพม่า 40% ภายใต้วงเงินลงทุนรวม 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทนี้ตั้งเป้าส่งออกเมล็ดละหุ่ง 5,000 ตันในปี 2552 นี้ก่อนจะตั้งโรงงานสกัดน้ำมันแห่งที่หนึ่งในปี 2553 และยังมีแผนการจะส่งออกเชื้อเพลิงชีวภาพที่สกัดจากเมล็ดสบู่ดำ ในปีหน้าอีกด้วย รายงานของบริษัทพัฒนาพลังงานชีวภาพญี่ปุ่น ยังระบุด้วยว่า ปัจจุบันพม่าเป็นประเทศผลิตสบู่ดำรายใหญ่ที่สุดของโลก รัฐบาลพม่าได้ส่งเสริมให้เกษตรปลูกอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549 พื้นที่ปลูกขยายออกไปเป็น 2 ล้านเฮกตาร์ หรือ 12.5 ล้านไร่ เมื่อสิ้นปี 2551 หรือเท่ากับว่าพม่าปลูกสบู่ดำคิดเป็นร้อยละ 90 ของเนื้อที่ปลูกสบู่ดำในประเทศต่างๆ ทั่วโลกร่วมกัน!   4. นอกจากนี้ ข่าวลืออีกด้านเกี่ยวกับโครงการปลูกต้นสบู่ดำ หรือ “แจ๊ตซู่” ก็คือ เหตุผลที่รัฐบาลผลักดันให้ประชาชนปลูกต้นไม้ชนิดนี้ไปทั่วอาจไม่ใช่เป้าหมายด้านพลังงาน แต่เป็นเพราะความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ที่ว่า ชื่อของต้นไม้ชนิดนี้ในภาษาพม่ามีความหมายตรงกับความต้องการของผู้นำพม่า นั่นเอง คำว่า “แจ๊ตซู่” หรือ Kyet Suu มีความหมายในภาษาพม่าว่า ไก่ขันเสียงดัง และเมื่อไหร่ที่ไก่จำนวนมากรวมตัวกันส่งเสียงดัง คนเราก็ไม่สามารถจะส่งเสียงร้องสู้กับไก่ได้ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทางการพม่าบังคับให้ประชาชนปลูกพืชสบู่ดำเพิ่มขึ้นทุกวันเพื่อกลบเสียงของประชาชน อีกความเชื่อหนึ่ง คือ คำว่า Kyet Suu ยังมีตัวอักษรแรกของแต่ละคำ คือ K และ S สลับกับอักษรนำหน้าของนางออง ซาน ซูจี (Suu Kyi) คือ S และ K ซึ่งหากมีการปลูกต้นสบู่ดำมากเท่าไหร่ก็หมายความว่า เงาของต้นสบู่ดำจะปกคลุมเหนือผู้นำพรรคฝ่ายค้านของพม่าผู้นี้ นอกจากนี้ คำว่า Kyet Suu ในภาษาพม่า ถ้าแปลตามหลักโหรศาสตร์แล้วคำว่า Kyet ขึ้นต้นด้วยตัว K มีความหมายว่า วันจันทร์ ส่วนคำว่า Suu ขึ้นต้นด้วยตัว S มีความหมายว่า วันอังคาร ดังนั้น Kyet Suu จึงมีความหมายว่า วันจันทร์ วันอังคาร เช่นเดียวกับชื่อของนางอองซาน ซูจี หรือ Suu Kyi ในภาษาพม่า โดยคำว่า Suu ขึ้นต้นด้วย S มีความหมายตามหลักโหรศาสตร์ว่า วันอังคาร และคำว่า Kyi ขึ้นต้นด้วย K มีความหมายว่าวันจันทร์ตามที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้นชื่อของซูจี หรือ Suu Kyi อาจมีความหมายตามหลักโหราศาสตร์ว่า วันอังคาร วันจันทร์ การปลูกต้นสบู่ดำมากเท่าไหร่ก็จะทำให้วันจันทร์ต้องนำหน้าวันอังคารมากเท่านั้น ซึ่งจะทำให้อำนาจของนางซูจีพ่ายแพ้ต่อผู้นำพม่าวันยังค่ำ ไม่ว่าการปลูกสบู่ดำจะเป็นไปด้วยเหตุผลใด ที่แน่นอนที่สุดทั้งประชาชนพม่า และอองซาน ซู จี ได้รับผลกระทบจากการปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการที่ยาวนานเกือบ 50 ปี นับตั้งแต่การรัฐประหารโดยนายพลเนวิน (Ne Win) ใน พ.ศ. 2505   (ที่มาของภาพ: www.pbase.com/dassk) พฤษภาคม 2552 5. และไม่ว่าการรณรงค์ปลูกสบู่ดำจะเกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์ของรัฐบาลทหารเพื่อข่มนางอองซาน ซูจีหรือไม่ แต่ที่แน่นอนที่สุดก็คือ ชะตากรรมของอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy – NLD) นั้น ในรอบ 19 ปีนี้ ถูกกักบริเวณอยู่ภายในบ้านพักริมทะเลสาบอินยา เมืองย่างกุ้ง กินเวลารวมถึง 13 ปี โดยการกักบริเวณรอบแรกกินเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2533 – 2538 และการกักบริเวณรอบสองเกิดขึ้นนับตั้งแต่หลังกรณีที่สมาชิกสมาคมสหภาพเพื่อความสามัคคีและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Association – USDA) โจมตีขบวนรถของนางออง ซาน ซูจี และผู้สนับสนุนที่หมู่บ้านเดปายิน (Depayin) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2546 ระหว่างที่นางและแกนนำพรรค NLD กำลังอยู่ระหว่างตระเวนพบปะผู้สนับสนุนพรรคในภูมิภาคสะกาย (Sagaing Division) ทางเหนือของพม่า โดยการโจมตีขบวนรถดังกล่าวทำให้สมาชิกพรรค NLD เสียชีวิตกว่า 70 คน จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นางออง ซาน ซูจี ถูกกักบริเวณอยู่แต่ในบ้านพักนับจากนั้น โดยรัฐบาลทหารพม่าต่ออายุการกักบริเวณไปเรื่อยๆ ตามมาตรา 10 ของกฎหมายคุ้มครองรัฐ อนุญาตให้รัฐบาลกักบริเวณบุคคลโดยปราศจากข้อหาหรือการพิจารณาคดีได้เพียงไม่เกิน 5 ปี และขยายเวลากักบริเวณได้ครั้งละ 1 ปีไปเรื่อยๆ โดยการขยายเวลากักบริเวณนางซูจีล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อปีก่อน และจะครบกำหนดการกักบริเวณในปลายเดือนพฤษภาคมนี้ แต่ไม่ทันที่รัฐบาลพม่าจะมีคำสั่งปล่อยตัวหรือขยายเวลากักบริเวณต่อไปอีก 1 ปี หรือไม่ ก็เกิดเหตุนายจอห์น วิลเลียม ยิตทอว์ (John William Yettaw) ลอบเข้าบ้านพักของนางซูจี โดยหนังสือพิมพ์เมียนมาร์ อะลีน (หนังสือพิมพ์แสงพม่า) หนังสือพิมพ์ของรัฐบาลพม่ารายงานว่า นายยิตตอว์ได้ว่ายน้ำข้ามทะเลสาบและเข้าไปในบ้านนางซู จี ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 3 พ.ค. จากนั้นก็ว่ายน้ำกลับมาในกลางดึกคืนวันที่ 5 พ.ค. ก่อนจะถูกตำรวจจับได้เมื่อเช้ามืดที่ 6 พ.ค. ชาวอเมริกันผู้นี้ว่ายน้ำโดยใช้กระป๋องน้ำ 5 ลิตร ช่วยพยุงตัวขณะว่ายน้ำ เมื่อตำรวจตรวจค้นสิ่งของติดตัว พบเป้สะพายหลังสีดำ 1 ใบ หนังสือเดินทางสหรัฐ 1 เล่ม คีม 2 อัน กล้องถ่ายภาพ 1 ตัว ธนบัตร 100 ดอลลาร์สหรัฐ 2 ใบ รวมทั้งเงินจ๊าตอีกจำนวนหนึ่ง โดยทางการสอบปากคำถึงแรงจูงใจว่าเหตุใดชายผู้นี้จึงว่ายน้ำไปยังพื้นที่ต้องห้าม ไม่เพียงแต่ยิตทอว์จะถูกดำเนินคดี แต่ออง ซาน ซูจี และผู้ช่วยประจำตัวอีก 2 คน คือนางขิ่น ขิ่น วิน, ลูกสาวของนางขิ่น ขิ่น วิน คือนางสาววิน มะ มะ ก็ถูกดำเนินคดีในข้อหาละเมิดกฎการควบคุมตัวด้วย ซึ่งหากศาลตัดสินว่ามีความผิด ระวางโทษของคนทั้ง 4 คือจำคุกระหว่าง 3-5 ปี มีการวิจารณ์ว่ารัฐบาลทหารพม่าจะใช้โอกาสดังกล่าวเป็นเหตุขยายเวลากักบริเวณนางออง ซาน ซูจี และผู้ช่วย ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าพวกเขาอาจถูกกักบริเวณในบ้าน หรือไปที่ “เรือนจำอินเส่ง” อันลือชื่อ!   6. 18 พฤษภาคม 2552 ที่เรือนจำอินเส่ง เขตอินเส่ง เมืองย่างกุ้ง วันพิจารณาคดีละเมิดคำสั่งกักบริเวณเริ่มต้นเป็นวันแรก ภายนอกเรือนจำ กลุ่มเยาวชนของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือเอ็นแอลดี มาชุมนุมกันอยู่บริเวณหน้าเรือนจำอินเส่ง อู วิน ติ่น (U Win Tin) กรรมการกลางของพรรคเอ็นแอลดีและอดีตนักโทษการเมืองวัย 80 ปี เดินทางมาพร้อมกับประชาชนหลายร้อยคนเพื่อมารอฟังการพิจารณาคดี แต่พวกเขาไม่สามารถฝ่าแนวรั้วลวดหนามไฟฟ้าเข้าไปได้ ผู้ชุมนุมหลายคนรวมทั้งพระสงฆ์ผูกผ้าคาดหัวและชูป้ายที่เขียนข้อความว่า “ออง ซาน ซูจี ไม่มีความผิด” … 000   อ้างอิง เรื่องนโยบายการปลูกต้นสบู่ดำในพม่า สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ KAWN LEOW, จับกระแส: โครงการปลูกต้นสบู่ดำ พลังงานทางเลือกหรือความอดอยากหิว, ใน สาละวินโพสต์ ฉบับที่ 46 1 เม.ย. - 15 พ.ค. 51. เผยแพร่ออนไลน์ 20 พ.ค. 51 Chiho Matsuda, Nikkei Monozukuri, Japan-Myanmar JV Established to Produce Biofuel from Tropical Plant, Techon, Mar 3, 2009   เรื่องก่อนหน้านี้ 'เหตุวิวาทในร้านน้ำชา' สู่ 'วันสิทธิมนุษยชนพม่า', Ko We Kyaw, 14/3/2009 ‘ตลกพม่า’ ประชัน ‘ตลก.ไทย’ ใครขำกว่า, Ko We Kyaw, 4/10/2008   หมายเหตุ ติดตามข่าว บทความ และบทวิเคราะห์สถานการณ์ในสหภาพพม่าและชายแดนได้ที่ www.prachatai.com/burma
หัวไม้ story
หลังการชุมนุมคนเสื้อแดงจบลงไปในวันที่ 14 เมษายน 2552 โดยการชุมนุมครั้งนั้นเกิดความรุนแรงขึ้นในหลายจุด ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการใช้อาวุธ ทั้งจากฝ่ายตำรวจ ผู้ชุมนุม และกลุ่มไม่ทราบฝ่าย ช่วงเวลา 2-3 วันให้หลัง ประชาไทพยายามติดตามหาพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ทว่าพยานบุคคลหลายคนเลือกที่จะเป็นเสียงเงียบ และหลายคนเลือกการเดินทางกลับต่างจังหวัด บรรยากาศภายใน 1 สัปดาห์หลังจากนั้น ดูเหมือนเป็นบรรยากาศแห่งความเงียบและหวาดระแวงสำหรับผู้เคยเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง นั่นทำให้เราเริ่มคิดถึงคนเสื้อแดงที่ต่างจังหวัด ว่าพวกเขาจะตกอยู่ภายใต้บรรยากาศแห่งวามกลัวเช่นนั้นหรือไม่จากลงพื้นที่ในจังหวัดสกลนครวันที่ 24 เม.ย. ที่ผ่านมา เราไม่เพียงไม่พบการเซ็นเซอร์ตัวเองอย่างที่พบในกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่เรายังได้พบคนในพื้นที่ที่เป็นเสียงเงียบ และเลือกใส่เสื้อแดงอยู่ที่บ้านต่างจังหวัดด้วย พวกเขามีความเห็นต่อการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่แกนนำถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงการขาดการจัดการที่ดี และความไม่เป็นขบวนของกลุ่มคนเสื้อแดงเอง พวกเขาในฐานะเสียงเงียบ ก็มีความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวเช่นกัน ทั้งต่อคนเสื้อแดง และการเมืองไทยโดยรวม
รวิวาร
ก็เพราะในชีวิตมีความเศร้า หรือชีวิตมีอีกชื่อเรียกว่า ทุกข์เศร้า คนจึงรานร้าว ดิ้นรนแสวงหา และเสียดทานภายในไม่หยุดหย่อน... จนกว่าจะปลดเปลื้องถึงอิสรภาพได้นั่นละกระมัง คุณน้อยคิดว่าอย่างนั้นไหม? ... สวัสดีปลายพฤษภาค่ะ
การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์
อมาวสี 24 พ.ค. ค่ะ  ไม่เข้าใจ ทำไมพี่โด้ชอบทำหน้าง่วง เบื่อ เซ็ง
เจนจิรา สุ
นักท่องเที่ยวต่างชาติยอมจ่ายค่าตั๋วอย่างต่ำหนึ่งร้อยถึงสองร้อยห้าสิบบาทเป็นค่าเข้าชม วิถีชีวิตที่จำลองขึ้นของชาวกระยันที่ถูกเรียกขานเสียใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวว่า "กะเหรี่ยงคอยาว" และนับเป็นความสำเร็จของกลุ่มนายทุนและการโปรโมทการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ทำให้คนทั่วประเทศหลั่งไหลเข้ามาชมกระเหรี่ยงคอยาว จนเป็นที่รับรู้กันว่าหากจะมาดูชนเผ่าที่มหัศจรรย์ที่สุดต้องมาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแห่งนี้
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
เพื่อนผมเรียนหนังสือรุ่นเดียวกัน อาชีพล่าสุดเป็นข้าราชการครูเหมือนกัน แต่เขาอยู่สายผู้บริหารสถานศึกษา ผมอยู่สายนักวิชาการ อยู่คนละอำเภอ เมื่อแยกย้ายไปเรียนต่อ ไปประกอบอาชีพ เราจึงไม่ได้พบไม่ได้ติดต่อกัน ทราบข่าวอีกครั้ง เสียชีวิตเสียแล้ว จากสาเหตุต้นยางโค่นล้มลงมาทับ ขณะขับรถยนต์มาตามถนนสายเชียงใหม่-สารภี ยังไม่พอ ต่อมาน้องสาวคนสวยแสนดีของเพื่อนเสียชีวิตขณะยืนรอรถโดยสารใต้ต้นยาง ไม่มีวี่แววฝนจะตก ลมพัดมาก่อน ลมอะไรไม่ทราบกระโชกมาอย่างรุนแรงวูบหนึ่ง กิ่งต้นยางหักโครมลงมาบนร่างบอบบาง น้องสาวของเพื่อนเสียชีวิตไปอีกคน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ดื่มเถิดเพื่อน...ถ้าหากเพื่อนต้องการดื่มเพื่อให้ลืมแผลพิษชีวิตขมเพื่อให้ลืมอดีตดั่งมีดคมซึ่งสั่งสมอยู่ภายในหัวใจเพื่อน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถตู้กลางเก่ากลางใหม่ของบริษัทดาวทองขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีช้างเผือก 10.30 น. หนุ่มใหญ่วัย 40 เศษ ไว้เคราบางๆและสวมแว่นตาดำตลอดเวลาซิ่งเจ้าเพื่อนยากปุเลงไปตามสันเขาน้อยใหญ่บนเส้นทางเชียงใหม่-เปียงหลวง 161 กิโลเมตร แดดฤดูร้อนจัดจ้านขับให้ดอกหางนกยูงสีแดงข้างทางสดเข้ม ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอเชียงดาวถึงแยกเมืองงาย เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายแม่จา-เปียงหลวง ก่อนที่เส้นทางจะไต่ไปตามสันเขาคดเคี้ยว หนุ่มนักซิ่งของเราจะเตือนผู้โดยสารผ่านน้ำเสียงหนักแน่นว่า
กวีประชาไท
" Let it be "For Me and Y o u For everybody be trueFor Beautiful Heart " ... Let it be " ... ช่า ง เ ถิด ที่ รักโลกประจักษ์ เป็นฉะนี้ปลดปล่อยวางว่างให้พอดีชีวีดำรงด้วยการกระทำ
ภู เชียงดาว
เกือบค่อนปีที่ข้าตัดสินใจหันหลังให้กับใบหน้าของเมืองใหญ่ มุดออกมาจากกล่องของความหยาบ แออัดและหมักหมม ถอยห่างออกมาจากความแปลก แยกออกมาจากความเปลี่ยน สลัดคราบมนุษย์เงินเดือน สลัดความเครียดที่สะสม สลัดทิ้งซึ่งพันธนาการ ตำแหน่ง หน้าที่การงาน และความโลภ ที่นับวันยิ่งพอกพูนสุมหัวใจข้า - - กระชาก ขว้างทิ้งมันไว้ตรงนั้น อา,ทุกอย่างช่างหน่วงหนักและเหน็ดหน่าย - -ย้อนถามตัวตน ข้าระเหระหนเดินทางมาไกลและแบกรับสัมภาระมากเกินไปแล้ว !

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม