Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

กวีประชาไท
  ข้ามน้ำ..ข้ามขุนเขาครั้งแล้วครั้งเล่ารอยย่ำของฝ่าเท้าทับรอยเท้าบนหนทางของการย่างก้าวล้วนเจ็บปวดมือแต่ละข้างหอบหิ้วครัวเรือนลูกหลาน, ร่อนเร่การพลัดพรากที่มิได้เชื้อเชิญในห้วงแห่งการเดินทางเดินทาง ....เดินทางยามแผ่นดินหม่นเศร้ายางแดง ... ยางขาว ... ยางพุทธ ...ยางคริสต์อพยพหนีปืน ...ลูกปืน ...ลูกหาบ...ทั้งกับดักของระเบิดชั่วร้ายทุกข์หนักเกิดขึ้นบนแผ่นดินทุกข์บ่าแบกของ ... แบกสัมภาระแบกทุกข์...ทุกข์หนักบนบ่าบนฝั่งฝันของชีวิตล้วนคือชะตากรรมแห่งความหม่นเศร้าในรอยทางของการอพยพค่ำคืนที่สายฝนพร่างพรมร่างกายไหวสะท้านหนาวเหน็บ, บางทีอาจไม่ใช่เรื่องสำคัญสายฝนบนใบหน้าแห่งความหวาดกลัวนั้นต่างหากสำคัญกว่าเหนือแผ่นดินที่เสียงปืนไม่เคยสงบเงียบคนในป่า-เคลื่อนย้าย-โยกย้ายอีกครั้งและอีกครั้งเพื่อการแสวงหาแผ่นดินปลอดภัยไร้ภัย บนแผ่นดินที่ไร้แผ่นดินให้ย่างเหยียบชีวิตที่เหลืออยู่ล้วนเพื่อแผ่นดินบนฝั่งของชีวิตล้วนมีอยู่เพื่อแผ่นดิน สุมาตร ภูลายยาวเชียงใหม่, ๔๙  ....แด่การเดินทางไกลอีกครั้งบนฟากฝั่งของแม่น้ำสาละวิน  
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ หากว่าได้รับการส่งเสริมสนับสนุนดีพอ
รวิวาร
 หัวใจของฉันไม่อาจแยกขาดจากร่าง ร่างกายที่กระทำการโดยปราศจากดวงใจขับเคลื่อนไปชั่วครู่ชั่วยาม ระหว่างดำเนินกิจกรรมนั้นไม่รู้สึกตัว ถูกครอบงำเต็มเปี่ยม มุ่งหน้าสู่ทิศทางที่ปรารถนา หยุดนิ่งทันทีเมื่อถึงที่หมาย "ฉัน" มีอยู่ในมิติกว้างใหญ่ ใช่เพียงแค่กาย-องคาพยพอิ่มหิวหลับนอน อยากคลายหายอยาก ไม่รู้หรอกว่าวิญญาณคืออะไร แต่รับรู้ได้ถึงความรู้-รู้สึกลึกล้ำ ส่วนหัวใจนั้นมีอยู่แน่แท้ หัวใจที่ทำให้ความรู้สึกดื่มด่ำ วาดรูป แต่งเพลง เขียนบทกวี มองเห็นความงามของสรรพสิ่ง งามที่ปวดร้าวในโลกแห่งความเป็นจริง งามบริสุทธิ์หล่อเลี้ยงในธรรมชาติ งามประณีตวิจิตรจากศิลปะ งามปัญญาแห่งธรรม
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ลูกลืมตาดูโลกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2550 ในตอนค่ำเวลา 19.21 น. ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 4 ปีกุน แม่ให้ชื่อลูกไว้ตั้งแต่ยังไม่เกิดว่า "สาละวิน" ชึ่งหมายถึงชื่อของแม่น้ำพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า สาละวินของแม่ถือกำเนิดมาจากแม่ซึ่งเป็นคนไทยและพ่อที่อพยพมาจากพม่า ชื่อของลูกที่เปรียบเทียบได้กับแม่น้ำพรมแดนเชื่อมสายสัมพันธ์ให้เราสองคนอยู่เคียงข้างกันตลอดไปดังเช่นไทยและพม่า
ประกายไฟ
  บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี ประเทศสหรัฐอเมริกา เสียงดนตรีแห่งทาสผิวดำได้ถือกำเนิดขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 19 พร้อมๆกับสถานภาพของคนผิวดำซึ่งมีสถานะ เป็นเพียงเป้าหมายของการทำให้ผู้อื่นเป็นปัจเจกชน เนื่องจากการเป็นเสรีชนและเสรีภาพในอเมริกานั้นต้องเป็นปัจเจกชนที่มีทรัพย์สินส่วนตัวและต้องเป็นพลเมืองผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง  แต่ในความเป็นจริงทาสผิวดำเป็นเพียงทรัพย์สินของนายทาส เป็นเครื่องมือของการผลิต ซึ่งส่งผลให้นายทาสเป็นปัจเจกชน คนผิวดำ จึงไม่มีศักยภาพที่จะสร้างหรือทำให้เสรีภาพแบบอเมริกันเป็นคุณสมบัติของตนเอง แม้ว่าคนผิวดำจะมีส่วนร่วมในการปฏิวัติอเมริกา ด้วยการคาดหวังว่าตนจะได้เสรีภาพและหลุดจากการเป็นทาส แต่ก็ต้องสิ้นหวัง                บทเพลงแห่งทาสหรือเพลงบูลส์สะท้อนความขมขื่นในสถานะภาพของคนผิวดำภายใต้สังคมอเมริกันผ่านเสียงร้องที่แหบกระด้างขึ้นจมูก แบบคนอมทุกข์ผสานกับท่วงทำนองที่มีลักษณะเศร้าสร้อย เนื่องจากเนื้อหาทั้งหมดจะสะท้อนอารมณ์หม่นหมอง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เรียกว่าบูลส์  "blue" หรือ" "The blue" ซึ่งก่อตัวขึ้นภายใต้วัฒนธรรมแอฟริกัน - อเมริกัน เกิดเป็นแอ่งอารยธรรม แอฟโฟ-อเมริกัน (Afro-American) ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของคนแอฟริกันในอเมริกาผสานกับภูมิปัญญาอเมริกันส่งผลให้วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของเมริกาก่อรูปขึ้น ทั้งดนตรี ชีวิต ชุมชน ครอบครัว คติชนวิทยา ภาษา กีฬา รวมถึงขบวนการสิทธิพลเมือง ซึ่งคนผิวดำใช้ภูมิปัญญาทั้งหมดนี้ค้นหาความหมายของเสรีภาพ                ในด้านของดนตรีนั้น คนผิวดำในอเมริกาในขณะนั้นยังไม่ได้รับการยอมรับ ดนตรีของคนผิวดำเปรียบเสมือนการลบหลู่ทางอารยธรรม เพราะดนตรีของคนผิวดำในอเมริกาถูกตีค่าว่าเต็มไปด้วยเสียงที่สกปรก ยุ่งเหยิงและไร้ระเบียบ ด้านเชื้อชาติชนชาติของคนผิวดำในขณะนั้นได้ถูกครอบงำด้วยองค์ความรู้ด้านสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยาที่แพร่สะพัดในศตวรรษที่19 ว่าวิวัฒนาการของคนนิโกรยังอยู่ในขั้นต่ำ ไม่เจริญและไม่มีวัฒนธรรม เท่ากับคนตะวันตกเป็นข้ออ้างที่คนขาวไม่ต้องการสูญเสียทาสผิวดำซึ่งมีสถานะเป็นทรัพย์สินของคนผิวขาว แม้ต่อมาชาวแอฟริกันอเมริกาจะผ่านการต่อสู้ที่ยาวนาน ตั่งแต่ปี ค.ส.1861-1865 ในสงครามกลางเมือง และได้รับการเลิกทาสตามประกาศแก้ไขรัฐธรรมนูญ สหรัฐอเมริกาฉบับที่13 ในปี 1865 คนผิวดำยังต้องต่อสู้ให้หลุดพ้นจากลัทธิการเหยียดเชื้อชาติก่อตัวขึ้นหลังสงครามกลางเมืองจึงเป็นเรื่องยากที่ดนตรีบูลส์จะได้รับการยอมรับในสังคมอเมริกา  แต่แล้วในปี 1920 -1950 เพลง  St.Louis blue ของ W.C Handy ได้มีผู้นำมาร้องและบรรเลงซึ่งได้รับความนิยมในวงกว้าง และในปี 1950 นี่เองที่คลื่นแห่งการต่อสู้ที่นำโดย มาร์ติน ลูเทอร์ คิงได้ขยายการต่อสู้เรียกร้องเสรีภาพเป็นวงกว้างมากขึ้นและประทุขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดยการนำของนักศึกษาผิวดำ มีการตั้งพรรค  "เสรีภาพเดี๋ยวนี้"  (Freedom  Now)  W.C Handy  "บิดาห่งบูลส์" เป็นที่รู้จักในสังคมอเมริกา โดยแฮนดี้และคณะยังได้แต่งเพลงที่มีเนื้อหาเหน็บแนมคนผิวขาว ชื่อเพลง "Mr. crump" แปลคร่าวๆว่า                                       "คุณครัมพ์ม่าอณุญาติให้ใครทำเล่น เราไม่เห็นสนว่าคุณครัมพ์จะอนุญาตอะไรเราเล่นมันๆของเราอย่างนี้ใครจะทำไมเชิญคุณครัมพ์ออกไปตามสบาย                การวางขายงานเพลงของคนผิวดำนั้นมีอุปสรรคมาก เพราะ เจ้าของร้านค้าที่เป็นคนผิวขาวนั้นไม่อาจรับงานขายได้ แฮนดี้แจึงวางขายเองผลงานของเขามียอดขายที่ดีมาก ปรากฏว่า The Memphis ของเขา เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วแฮนดี้เองยังเคยถูกชาวผิวขาวโห่ไล่ลงจากเวทีเพียงเพราะเป็นคนผิวดำซึ่งไม่เกี่ยวกับรสนิยมทางดนตรีแต่อย่างใดเพราะเมื่อวงถัดไปขึ้นโชว์โดยเล่นเพลงพื้นเมืองของตนผิวดำแต่กลับได้รับเสียงปรบมือ เพลงบูลส์ยังได้เป็นรากฐานของดนตรีแจ๊สในการสร้างท่วงทำนอนตามอารมณ์ของคนผิวดำ ส่วนในด้านของการจัดวลีท่วงทำนองของคนผิวดำให้เข้ากับระบบเสียงประสานของตะวันตกของแจ๊สอาศัยดนตรีแนว Ragtiam ซึ่งเป็นดนตรีของคนผิวดำในอเมริกาเช่นกัน โดยมีเพลง Treemonisha  ซึ่งได้รับรางวัลพูลิเซอร์ เนื้อหาของเพลงสะท้อนเรื่องราวของชาวผิวดำที่ไร้การศึกษาซึ่ง Treemonisha กลายเป็นสัญลักษณ์ ความเป็นไทของคนผิวดำอย่างแท้จริง ดั่งคำร้องท่อนหนึ่งว่า"หุบปากเสียเจ้าพูดมากพอแล้วเจ้าหลอก Treemonisha ไม่ได้หรอก เธอเป็นคนหัวก้าวหน้าเป็นคนเดียวที่ได้รับการศึกษาในหมู่พวกเราและในระแวกรอบๆแถวนี้พ้นจากคำสาปของความงมงายและพวกเจ้าจะต้องกลับเนื้อกลับตัวเสียเธอเป็นคนสอนให้ข้ารู้จักอ่านเขียนเธอสอนให้ข้ารู้จักคิดและข้าก็ขอบใจเธอยิ่งนักพวกเจ้าเลิกกระทำการโง่เขลาเสียเถิดเปลี่ยนวิถีชีวิตและหาทางที่ดีกว่านี้เถิด                เนื้อเพลงสะท้อนการต่อสู้ที่มีมายาวนานและเป็นแนวดนตรีหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อดนตรีแจ๊ส ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในยุโรป ในปัจจุบันมีนักดนตรีบูลส์ที่สำคัญเกิดขึ้นหลายคน เช่น Eric Clapton, B.B. KING และ Jimi Hendrix เป็นต้น                ในเรื่องของดนตรีในปัจจุบันชาวผิวดำถือว่าได้รับการยอมรับอย่างสูง แต่ในสังคมวัฒนธรรมอเมริกาซึ่งก่อสร้างมาบนอุดมการณ์ ปฏิวัติประชาธิปไตยให้ความสำคัญแก่ปัจเจกชนโดยสมบูรณ์ เน้นการรักษาทรัพย์สินส่วนตัวมากกว่าให้ทุกคนเสมอภาค และสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้น กลับเป็นการปฏิวัติที่อาจดูเหมือนนำมาซึ่งความเสมอภาคของคนผิวดำแต่โดยแท้จริงแล้วกลับนำมาซึ่งการขยายตัวของระบบทุนนิยมที่ต้องการแรงงานเสรีมากกว่าระบบทาสซึ่งหลังสงครามกลางเมืองคนผิวดำยังคงต้องเผชิญกับลัทธิการเหยีดสีผิวในระยะต่อมา ในทางการเมืองคนผิวดำได้รับความเป็นไทแล้วแต่ในทางเศษฐกิจตราบใดที่ยังขาดเสรีภาพ แรงงานกรรมกร ยังต้องพาผู้อื่นทางเศรษฐกิจ นั้นคงยังไม่สามารถเข้ากันได้กับอุดมคติแบบอเมริกันตามคำ                "ข้าพเจ้ามีความฝันว่าวันหนึ่งประเทศนี้จะบรรลุซึ่ง เป้าหมายที่แท้จริง"  ตามคำพูดที่ว่า"เราเชื่อว่าสัจธรรมเหล่านี้เป็นความจริงในตัวเองคนทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน "นี่เป็นตอนหนึ่งของสุนทรพจน์ของ มาร์ติน ลูเทอร์ คิงส์ "ในข้าพเจ้ามีความฝัน" และในสุนทรพจน์อันโด่งดังนี้ ดร. คิงส์ ได้พูดถึง ต้นกำเนิดของเพลงบูลส์ในบริเวณเนินเขามิสซิสซิปปี้ว่า"ให้เสียงระฆังแห่งเสรีภาพจงกังวานจากทุกเนินเขาของบมิสซิสซิปปี้ และจากทุกหุบเขาให้เสรีภาพกังวาน" ถ้าการก้าวเดินของบทเพลงบูลส์คือประวัติศาสตร์การต่อสู้ของคนผิวดำเพียงฉากแรก คนผิวดำยังคงต้องก้าวไปให้ถึงฉากสุดท้ายคือความเท่าเทียมที่แท้จริง                   
สร้อยแก้ว
 หน้าบ้านดอกโมกบานก่อนเพื่อนดอกมะลิตามมาดอกคูนเริ่มผลิไสวลั่นทมสี่ต้นที่เคยปลูกเองกับมือก็ผลิดอกให้ชมเร็วทันใจปีที่แล้วนี้เอง, ตอนนั้นเอามาปลูกกับเด็กหญิงไพจิตรพายุคะนองทำให้กิ่งก้านใหญ่ของลั่นทมหน้าศูนย์ฯ หักฉันแบ่งออกเป็นสี่กิ่งปลูกรอบบ้านดินไม่คิดว่าวันหนึ่งจะได้มาอยู่บ้านหลังนี้ลั่นทมกลิ่นหอม ชอบเด็ดมาดมดอกพุก ไม้ยืนต้นก็บานแล้วสีขาวดอกยอกขี้หมาส่งกลิ่นหอมจากคืนถึงเช้ามันเป็นดอกที่ชื่อกับตัวไม่เข้ากันเลยยอกขี้หมาสีขาวร่วงหล่นบนพื้นสีขาวเกลื่อนทางเดินดูสวยดียามเช้าตื่นมาเดินเล่น สูดดมกลิ่นหอมของดอกไม้แสนสดชื่นเย็นวันนี้ ได้เห็นดอกไม้อีกชนิดหนึ่งในบึงน้ำดอกบัวตูมสีชมพูแดดร้อนดินแล้งน้ำในบึงแห้งขอดไปมากแต่กอบัวยังแข็งแรงอดทนดีดอกบัวหนึ่งดอกจึงผลิช่อตูมหัวใจดวงน้อยก็เบิกบานตามแม้ยามแล้งกล้วยสุกอีกแล้วคาต้นเด็ดมากินแสนอร่อยอ้อยดำก็ฉ่ำหวานพืชผักพื้นบ้านขึ้นรอบศูนย์ฯ มีให้เก็บกินมากมาย
ภู เชียงดาว
ค่ำนั้น, ผมกลับมานั่งในบ้านปีกไม้ในหุบผาแดง นิ่งมองภาพเก่าๆ ของพ้อเลป่า สลับกับภาพครั้งสุดท้ายของเขาก่อนจะละสังขารไปอย่างสงบเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา
ฐาปนา
ลุงเหมือน อดีตทหารผ่านศึก คนปลูกแตงโมมือวางท้อปไฟว์ประจำหมู่บ้าน นั่งมองไร่แตงโมอย่างสบายอารมณ์ปีนี้แตงโมราคาดีไม่น้อย พ่อค้ามารับซื้อหน้าไร่กิโลกรัมละสิบห้าถึงยี่สิบห้าบาท ยิ่งลูกใหญ่ยิ่งได้ราคา มดแมลงก็ไม่ค่อยจะกวนเท่าไร ลุงเหมือนกะว่าปีนี้คงได้เงินจากแตงโมสักห้าหกหมื่น แล้วจากนั้นจะได้ปลูกกะเพรา โหระพา ใบแมงลัก แบบ "พอเพียง-เพียงพอ" บ้าง
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ :       เดอะซีเคร็ต ผู้เขียน :            รอนดา เบิร์นผู้แปล :             จิระนันท์ พิตรปรีชาพิมพ์ครั้งที่ 54 :  มีนาคม 2551จัดพิมพ์โดย :    สำนักพิมพ์อมรินทร์
บก.สาละวินโพสต์
ในแวดวงคนทำงานประเด็นพม่าต่างคุ้นหูกับเรื่องราวของ "สายลับพม่า" กันเป็นอย่างดี เพราะรัฐบาลทหารพม่าให้ความสำคัญกับหน่วยข่าวกรองมากและหน่วยข่าวกรองพม่าก็มีอำนาจมากจนเทียบเท่ากับอีกสามเหล่าทัพ (ทัพบก ทัพเรือ และทัพอากาศ) เลยทีเดียว สายลับพม่าไม่ได้ทำงานในเขตประเทศพม่าเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่ง "สาย" ข้ามฝั่งมาทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศพม่า หน้าที่ของสายลับพม่า คือ การเก็บข้อมูลความเคลื่อนไหวของบุคคลที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐบาลทหาร
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา ด่าเอาด้วยถ้อยคำที่ครูบาอาจารย์ไม่เคยสั่งสอนกลับไม่เป็นไร นงนุช เคยเขียนว่า
มูน
๑.คืนวันในภาพถ่าย  พ.ศ.๒๕๐๔ นางสงกรานต์ชื่อ กิริณีเทวี ทัดดอกมณฑา หัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือปืน เสด็จประทับเหนือคชสาร

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม