Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

นาลกะ
ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง “ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก และทุกข์ทรมานอยู่ในค่ายนรกนั้นหลายปีกระทั่งสงครามสงบ เขาเป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตไม่กี่คนที่กลับมาบอกเล่าให้คนรุ่นหลังได้ยินและ ได้อ่านกัน
ประกายไฟ
  "แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง" ทิพรดา ตากดำรงศ์กุลท่ามกลางข้อเสนอที่มากมาย ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือง ความล้มเหลวของระบบตัวแทน อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งวุ่นวายของการเมืองไทย เมื่อคิดถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่คอยอยู่ข้างหน้าแล้ว ข้อเสนอเกี่ยวกับต้นตอปัญหา วิธีการแก้ ผุดออกมาเป็นดอกเห็ด เป็นเรื่องของประสบการณ์ของผู้ที่อ้างตนว่าเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้ง หรือนักวิชาการต่างๆที่พยายามอธิบายด้วยนามธรรมที่ไร้ความหมาย หรือะไรที่ดูซับซ้อน บทความชิ้นนี้จึงมุ่งชี้ชวนใหเห็นว่า สำหรับภาคประชาชนซึ่งต้องการสร้างเงื่อนการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นแก่คนทั่วไป....ท่ามกลางความขัดแย้งที่ทางออกดูจะไม่ชัดเจน...คงถึงเวลาที่เราต้องกลับไปอ่านมาร์กซ์...ว่าอะไรคือสาระของการต่อสู้ทางชนชั้น เพื่อคนส่วนใหญ่ในสังคม 1. ชีวิตของกรรมาชีพการพัฒนาของระบบทุนนิยม ส่งผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องจักรมากมาย เครื่องจักรถูกพัฒนากว้างขวางออกไป แต่ทำไมกลับไม่ช่วยชีวิตคนงาน หรือการทำงานให้ดีขึ้นเลย แทนที่กรรมกรสมัยใหม่จะเพื่องฟูตามความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม กรรมกรกลับมีชีวิตที่แย่ลง เขากลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักร  ดูแลเครื่องจักรเหมอนเป็นทาสเครื่องจักร ถึงแม้เครื่องจักร จะทำให้ผลิตสินค้าออกมาได้มากขึ้น แต่น่าแปลกที่รายได้ที่แท้จริงของกรรมกรกลับเท่าเดิมหรือต่ำลง (เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ) เช่นเดียวกับปัจจุบันแต่ละสถานประกอบการสามารถผลิตของได้มากมายมหาศาล แต่รายได้ของผู้ใช้แรงงานยังคงถูกตั้งเพื่อ การมีชีสวิตรอดวันต่อวันเท่านั้น  การเรียกร้องเพื่อสวัสดิการ ซึ่งสะท้อนชีวิตที่ควรจะเป็นยังคงมีอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ได้รับการปฏิเสธเรื่อยมา ความเป็นอยู่ของแรงงานก็ยังคงต่ำอยู่ดี2. การต่อสู้ทางชนชั้นการต่อสู้ ขัดแย้งในสังคมมีได้หลากหลายแต่ที่ปรากฎเด่นชัด และทรงพลังคือความขัดแย้งระหว่างกรรมาชีพ กับชนชั้นนายทุน ในสังคมเราดูเหมือนว่า การจะเป็นนายทุนสามารถทำได้ง่ายดาย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การที่จะดำรงฐานะการเป็นนายทุนอยู่ได้ นับว่าน้อยมาก  และนายทุนก็มีแต่จะขยายฐานะตัวเอง คนรวยก็มีแนวดน้มที่จะรวยขึ้นเรื่อยๆไม่สิ้นสุด ชนชั้นอื่นๆที่เคยอมีอยู่ในสังคม เหล่าชนชั้นกลาง เจ้ากิจการรายย่อยต่างๆ ก็มีแนวดน้มจะล้มละลายและกลายเป็นผู้ใช้แรงงาน ในระบบนี้หาได้มีความมั่นคงถาวร ผู้ที่เคยมั่งคั่ง อาจกลับมายากจน ดังนั้นนายทุนจึงต้องแสวงหาความมั่งคั่งอย่างไม่มีสิ้นสุด เพื่อรับรองความมั่งคั่งของตน  ชนชั้นผู้ใช้แรงงานมีแต่จะขยายตัวมาขึ้น ชนชั้นนี้จึงน่าสนใจ มีบทบาทและพลังอย่างมาก ความขัดแย้งก็ยิ่งจะเพิ่มขึ้นยามเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ 3. ใครหาเลี้ยงใคร?แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง นายทุนเมื่อประสบปัญหาเศรษฐกิจ  สิ่งที่ทำให้นายทุนอยู่รอดได้มิใช่ใครอื่นนั่นคือผู้ใช้แรงงาน หากขาดแรงงานนาทุนก็อยู่ไม่ได้ เพราะเงื่อนไขการดำรงอยู่ของและควบคุมอำนาจของชนชั้นนายทุน  คือการสร้างมูลค่าส่วนเกินและการสะสมทุน ซึ่งเกิดจากแรงงานรับจ้าง มูลค่าที่เกิดขึ้นมิได้เกิดขึ้นเพราะอย่างอื่นนอกจาก การใช้แรงงาน ของผู้ใช้แรงงานเท่านั้น 4. ต้องยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลแท้จริงแล้วกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล  ไม่ใช่ความจริงสูงส่งแต่อย่างใดหากแต่เป็นข้ออ้างของ กลุ่มคนที่คิดจะกินแรง คนอื่น เพื่อเข้าไปแบ่งและยึดผลงานของผู้อื่นเท่านั้น นายทุนมักจะอ้างว่า หากยกเลิกระบบกรรมสิทธืส่วนบุคคล แรงจูงใจในการผลิตจะน้อยลง คนทั้งหลายจะเกียจคร้าน  ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น สังคมทุนนิยมคงล่มสลายไปนานแล้ว เพราะคนที่ทำงานจริงๆใช่ชนชั้นนายทุน คนที่ทำงานหนักที่สุดคือผู้ใช้แรงงาน แต่ได้ผลตอบแทนน้อยที่สุดในสังคม คนที่เกียจคร้านจริงๆ คงเป็นพวกนายทุนมากกว่า   คนที่ทำให้ระบบล่มและมีปัญหา  คือชนชั้นนายทุนเอง ไม่ใช่เพราะกรรมกรขี้เกียจ การแก้ไขคือการยกเลิกระบบกรรมสิทธิ์ และถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน วิธีนี้จะเป็นการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม ได้ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันนี้หาใช่เรื่องเฉพาะ....ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป การแย่งชิงอำนาจ วิกฤติเศรษฐกิจ การว่างงาน การปลดลูกจ้าง การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆล้วนอยู่ในโครงสร้างของระบบที่เรียกว่าทุนนิยม  หมายเหตุ: บทวามชิ้นนี้ เป็นหนึ่งในบทความ "แถลงการณ์ พรรคคอมมิวนิสต์ กับสังคมปัจจุบัน" ของนักเรียน ชั้น11โรงเรียนเพลินพัฒนา ตรวจทาน แก้ไขโดย ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี สมาชิกกลุ่มประกายไฟ 
หัวไม้ story
 ทีมข่าวการเมืองภายในประเทศ สื่อไทยและรัฐบาลใหม่ดูจะยังดำเนินไปตามขนบที่เป็นมายาวนานคือยังอยู่ในช่วงเวลาน้ำผึ้งพระจันทร์ แต่นอกพรมแดนรัฐไทยออกไป กลับเป็นบรรยากาศที่แตกต่าง ข้อมูลข่าวสารที่ถูกรายงานออกไปดูจะไม่เป็นมิตรต่อรัฐบาลใหม่ของประเทศจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้สักเท่าใด น้ำผึ้งไม่หวาน พลันที่ประเทศไทยได้รัฐบาลใหม่ที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ สิ่งที่รอยเตอร์แนะนำเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทยก็คือ....
Cinemania
  ธวัชชัย ชำนาญหนังรักโรแมนติกเป็นอะไรที่คนไทยให้ความสนใจโดยเฉพาะกลุ่มวัยทีนทั้งหลาย อย่างที่เพิ่งเข้าโรงไปอีกเรื่องก็คือ Happy Birthday เป็นความรักแบบโศกซึ้งน้ำตาซึมแห่งปีไปเลยก็ว่าได้ สาวๆหลายคนออกมาคงรำพันกับตัวเองไม่น้อย "ผู้ชายแบบนี้ยังมีอีกไหมหนอ"แต่สัปดาห์นี้ กระผมขอนำความรักในอีกแบบหนึ่งมาเสนอ เป็นหนังรักแห่งแดนอิเหนา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหนังรักแนวของประเทศมุสลิม คือเป็นหนังรักที่มีศาสนา จารีต ประเพณี และกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตรักของตัวละคร อย่างน้อยๆ หนังเรื่องนี้เป็นการสร้างสรรค์ให้วงการหนังแนวโรแมนติกในอีกมุมมองหนึ่งของความรักหนังเรื่องนี้ชื่อ ‘Ayat Ayat Cinta' แปลเป็นไทยได้ว่า "กาพย์แห่งรัก" เข้าฉายในอินโดนีเซียเมื่อกลางปี 2551 เป็นผลงานการกำกับของ  ฮานุง บรามัทโย (Hanung Bramantyo) ผู้เชี่ยวกรากในการกำกับหนังในแนวรักโรแมนติกตั้งแต่ปี 2000 เรื่อยมาจนถึงปี 2008 แต่ละเรื่องได้รับความนิยมและฝั่งแง่คิดทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียไว้อย่างเห็นได้ชัด ซึ่ง ‘Ayat Ayat Cinta' เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ยังคงเดินไปในแนวทางนี้โดยมีเนื้อหาสื่อถึง "วิถีรักของมุสลิม" ซึ่งชาวพุทธอย่างเราๆท่านๆในประเทศไทยหลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจ หรือปิดกั้นตัวเองที่จะเข้าใจ ดังนั้น ก่อนอื่นต้องเล่าถึงตัวละครกันสักนิดเพื่อจะได้ง่ายต่อการเข้าใจถึงเนื้อหาของเรื่องรักในแบบแดน อิเหนาเฟดี นูรีล (Fedi Nuril) แสดงเป็น ฟารีล บิน อับดุลเลาะ ชิดิล (Fahri bin Abdullah Shiddiq) นักศึกษาชาวอินโดนีเซียที่ได้ไปเรียนและกำลังจะจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ของโลกอย่าง Al-Azhar กรุงไคโร ประเทศอียิปส์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุยาวนานที่สุดในโลก ริอันตี จารวิง (Rianti Cartwright) รับบทเป็น อาอิชา เกรสมาส (Aisha Greimas) สาวในตาสวยผู้สวมอียาฟ ลูกครึ่งเยอรมัน- ตุรกี ที่สำคัญคือเธอรวย และไม่มีชายใดจะได้เห็นหน้าตาของเธอ นอกจากสามีในอนาคตเท่านั้น จาริซา ปูเตอรี (Carissa Puteri) รับบทเป็น มาเรีย กีกีส (Maria Girgis) หญิงสาวที่นับถือศาสนาคริสต์แต่ ก็ตกหลุมรักในอิสลามเช่นกัน และรักในตัวของฟารีลมาก เรื่องราวความรักของสามคนอาจคล้ายกับ "รักสามเศร้า" หนังไทยที่หลายคนคงดูไปแล้ว แต่เรื่องราวสามเศร้าของ ayat ayat cinta แตกต่างอยู่บ้างก็ตรงที่ ayat ayat cinta มีเรื่องของศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นส่วนใหญ่ คือความรักจะต้องอิงอยู่กับหลักศาสนา ฟารีล ชายหนุ่มที่ไม่เคยรู้เลยว่าใบหน้าของคู่รัก (อาอิชา) ที่จะแต่งงานด้วยเป็นอย่างไร เนื่องจากคู่แต่งงานของเขามีผ้าคลุมหน้าและศีรษะเหลือแต่ลูกตา (คลุมอียาฟ) ตามหลักศาสนาอิสลามแล้วนอกจากจะแต่งงานกันก่อนเท่านั้นจึงจะเห็นทุกส่วนมุมของหล่อนได้ แต่แล้วฟารีลก็รักเจ้าหล่อนจากลูกตาที่พอมองเห็นอยู่บ้าง และรักขึ้นอีกเมื่อได้เห็นหน้าตาที่สะสวย ขาวเนียน ของหล่อน ส่วนมาเรียนั้นหลงรักฟารีลและเจอฟารีลก่อนอาอิชา ขณะเดียวกันมาเรียก็คลั่งไคล้ในอิสลาม แม้ว่าเธอจะยังคงอยู่ในการนับถือศาสนาคริสต์ก็ตาม จนหลังจากที่ฟารีลกับอาอิชาแต่งงานกัน มาเรียเสียใจอย่างหนัก อีกทั้งยังป่วยตลอดเวลา เธอเป็นลูคิเมียที่รอวันตาย แต่ไม่มีใครรู้นอกจากตัวเธอจุดหักเหของเรื่องมาอยู่ตรงที่ ฟารีลถูกกล่าวหาว่าไปข่มขืน โน่รา บาฮาดูล Noura Bahadur รับบทโดย Zaskia Adya Mecca ซี่งการข่มขืนเป็นโทษที่ร้ายแรงมากตามหลักของอิสลาม แต่โนราไม่ได้โดนฟารีลข่มขื่น แม้ว่าเธอถูกข่มขื่นจริงแต่คนร้ายต้องการให้โนราใส่ความฟารีล เพราะไม่ชอบฟารีลที่เข้ามายุ่งเรื่องของตนมีเพียงมาเรียที่อยู่ในเหตุการณ์เท่านั้นที่จะเป็นพยานให้กับฟารีลได้ แต่มาเรียกก็ถูกรถชนโดยผู้ที่ต้องการที่จะปิดปาก เธอนอนหลับใหลไม่ได้สติในโรงพยาบาล และเป็นหน้าที่ของอาอิชาที่ต้องช่วยเหลือสามีของตนทุกวิถีทางเพื่อให้สามีออกจากคุกให้ได้ เธอได้ไปตามหามาเรียตามคำเรียกร้องของฟารีล มาเรียจึงเป็นทั้ง ‘กุญแจรัก' และ ‘ กุญแจพยาน'และแล้วอาอิชาก็ได้รู้ความจริงว่ามาเรียได้รักฟารีลมาก่อนตนจากไดอารี่ของมาเรียเอง แต่มาเรียก็ยังหลับใหลอยู่ ไม่มีทางที่จะไปเป็นพยานได้ อาอิชากลับไปหาฟารีลในคุกและติดต่อกับทนายเพื่อที่จะประกันตัวฟารีลออกมาเจอกับมาเรีย เพื่อที่จะกระตุ้นให้มาเรียฟื้น แต่การประกันตัวในคดีข่มขืนไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดายนัก อาอิชาต้องใช้เส้นสายเพื่อที่จะเอาตัวฟารีลออกมาให้ได้นั้น กระบวนการยุติธรรมที่เป็นเสมือนดาบสองคมทำให้เลือดตาเธอแทบกระเด็นท้ายที่สุดมาเรียก็ฟื้นขึ้นมาและได้เป็นพยานให้กับฟารีล มาเรียเล่าให้ศาลฟังว่า แท้ที่จริงแล้วฟารีลถูกใส่ความ โน่ราไม่ได้ถูกฟารีลขมขื่นเพราะฟารีลอยู่กับตน เสียงที่โห่ร้องในศาล เหมือนกับตลาดนัดวันเสาร์จึงได้ดังขึ้น เพราะความจริงได้ปรากฏออกมาจากปากของมาเรียหลังจากฟารีลพ้นจากข้อกล่าวหา อาอิชา ภรรยาใจกว้างจึงต้องการให้ฟารีลกับมาเรียแต่งงานกัน ตามหลักศาสนาการที่ฟารีลกับมาเรียจะแต่งงานกันได้ต้องได้รับความยินยอมจากภรรยาหลวงก่อน หลังจากนั้นทั้งสามก็มาอยู่ด้วยกัน อาอิชาท้อง แต่มาเรียเป็นลูคิเมียรอวันตาย ในที่สุดด้วยความรักในฟารีลและความเอื้ออาทรของอาอิชาทำให้มาเรียยอมเข้านับถืออิสลามและเสียชีวิตไปในท่าละหมาดร่วมกันกับฟารีลและอาอิชา  000หนังเรื่อง ayat ayat cinta มีรายละเอียดอีกมากมายซึ่งยากในการที่จะสาธยายได้หมด แต่หนังได้แฝงรสนิยม ทัศนคติ วัฒนธรรม หลักศาสนาและกฎหมาย หนังได้สะท้อนให้เห็นรสนิยมในโลกอิสลามภูมิภาคนี้ว่าการไปเรียนของนักศึกษาในอียิปส์นั้นเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่และสุดยอดที่สุดแล้ว ในขณะที่หลักกฎหมายที่หนังสื่อออกมานั้นก็ทำให้คนดูรู้สึกว่ากฎหมายอิสลามเหนียวแน่นเหลือเกิน แต่สุดท้ายมันก็ยังคงเป็นดาบสองคมสำหรับผู้ใช้และผู้ถูกใช้อยู่ดี และที่สำคัญ แม้แต่จุดอบอุ่นโรแมนติกก็ตาม ศรัทธาในโลกมุสลิมได้สะท้อนจุดเปราะบางทางความเชื่อของคู่ขัดแย้งสำคัญของโลกออกมาแล้วจึงทำให้แม้แต่การเปลี่ยนจากคริสต์มาเป็นอิสลามของตัวละครก็แฝงมีนัยย์บางอย่างที่มากกว่าความรัก การเปลี่ยนศาสนาในหนังรักโรแมนติกที่ดูเหมือนเรื่องธรรมดาเรื่องหนึ่งนั้น สัญลักษณ์คู่ตรงข้ามที่หยิบใช้อาจกำลังบอกเราว่า ‘อิสลามดีกว่าคริสต์' และเป็นประเด็นละเอียดอ่อนที่ผู้กำกับอาจจะลืมหรืออาจตั้งใจ !??? 000อย่างไรก็ตาม ayat ayat cinta นับได้ว่าเป็นหนังโรแมนติกที่ฉีกมุมมองของความรักได้อย่างน่าสนใจเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว หนังเรื่องนี้ได้ได้เข้าฉายในสิงคโปร์ มาเลเซีย เนื่องจากภาษาสามารถสื่อกันได้ ซึ่งการได้สัมผัสกับหนังรักในมุมของอิสลามแบบนี้อาจเป็นการตั้งคำถามที่ดี เมื่อความรักที่ดีในบางรูปแบบไม่จำเป็นต้องมีแค่หญิงหนึ่งชายหนึ่งเสมอไป ในบางความรัก ศาสนาที่ดูเป็นคู่ตรงข้ามกับแนวทางโลกียะกลับเป็นคำตอบของความสมหวัง ความรักในแบบอิสลาม ‘พระเจ้าคือรักสูงสุด เป็นรักที่แท้จริง และเป็นต้นตอของรัก' ความรักในแบบอิสลามทำให้เราพบคำตอบดีที่ไปไกลและแตกต่างไปจากเรื่อง ‘รักสามเศร้า' ในบ้านเรา ความรักในแบบอิสลามไม่จำเป็นต้องมีแค่สองเสมอไปหากเป็นความพร้อมใจร่วมกันความรักในแบบอิสลามจึงทำให้มาเรียสามารถสมหวังในรักได้แม้มันจะเพียงแค่ชั่วข้ามคืน ความรักในแบบอิสลามทำให้อาอิชาสามารถรักและปลื้มในตัวของมาเรียได้โดยไม่มีความรู้สึกผิดหรือขัดแย้งหากเทียบกับความรักแบบ ‘ผัวเดียวเมียเดียว'  ความรักในแบบอิสลามทำให้ผู้หญิงสองคนไม่จำเป็นต้องเกลียดและตบตีแย่งกัน ในขณะเดียวกันทั้งสองก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเพื่อนกันมาก่อนที่ต้องแบ่งปันกัน กุญแจสำคัญของความรักมีคำตอบเป็นสามได้กลับเป็นศาสนาอิสลามที่หลายคนมองเป็นปีศาจอันน่าเกลียดน่ากลัว กระผมเองอยากให้คนไทยหลายคนไปหาหนังเรื่องนี้ดู อาจจะเป็นความรักแนวใหม่ที่ทลายกรอบคิดบางประการของใครหลายๆคน แน่นอนว่าอารมณ์แตกต่างจากหนังบ้านเราแน่นอน กลิ่นอายของหนังอาจทำให้เราเข้าใจอิสลามมากขึ้น เข้าใจว่าเขาคิดกันอย่างไร เขารักกันอย่างไร หมายเหตุ : ผู้เขียนเป็นนักศึกษาฝึกงาน http://www.prachatai.com/     
กวีประชาไท
มาจากความปวดร้าวในคราวรัก เมื่อไหมถักป่านทอซอมซ่อค่า ขาดสะบั้นความหลังครั้งผ่านมา ทิ้งเพียงหยดน้ำตาพร่าเต็มเตียง   มาจากความอ่อนไหวในตัวตน ความสับสนโอบปีกเกินหลีกเลี่ยง ไร้แรงเรี่ยวกู่ก้องร้องสำเนียง หรุบปีกเอียงปรกหน้าอุราร้าว   มาจากความน้อยเนื้ออันเตี้ยต่ำ ที่จองจำจิตใจให้ย่นก้าว แหงนมองฟากฟ้านภาพราว ก็เจ็บปวดทุกคราวทุกดาวดวง   มาจากแพร่งชีวิตที่ผิดพลาด ลึกลงในรอยบาดที่ขาดห้วง ผสานแผลขื่นขมเล่ห์ลมลวง และจากความหนักหน่วงประดามี   มาจากความดีใจในชัยชนะ หรือความเสียสละในหน้าที่ ความภูมิใจ อิ่มเอม ความเปรมปรีดิ์ หยาดเพราะความยินดีที่เปี่ยมล้น   มาจากไหนน้ำตามาจากไหน หรือจากเมฆก้อนไกลกลั่นไอฝน มาเพื่อเผยความสุขความทุกข์ทน เป็นหยดหล่นจากเบ้าเคล้าอารมณ์ ฯ                                                                        ศุภชัย กองประชุม
เมธัส บัวชุม
ชัยชนะที่ได้มาด้วยการฉ้อฉลของพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะมีผลลัพธ์ออกมาเป็นรูปธรรมด้วยการจัดตั้งรัฐบาลสมความมุ่งมาดปรารถนาที่รอคอยมาเกือบสิบปี แต่ก็ด่างพร้อยอย่างยิ่ง ไม่มีความสง่างามแม้แต่นิดเดียว ล่อนจ้อนน่าละอาย ผิดกติกามารยาทรวมไปถึงผิดกฏหมาย กระทั่งก่อให้เกิดความระอาเกลียดชัง บทบาทพฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกข้างต้น ทำให้หลายคนตั้งฉายา สร้างวาทกรรมในการใช้เรียกขานพรรคประชาธิปัตย์ไปต่าง ๆ  นานาซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปในแง่ลบฉายาที่ 1 "รัฐบาลต่างตอบแทน" ตอบแทนกระทรวงกลาโหมให้กองทัพที่ยืนหยัดช่วยเหลือทั้งทางตรงทางอ้อมแก่พรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด ไม่มีการสลายม็อบยึดสนามบินที่แกนนำเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ตอบแทนกระทรวงต่างประเทศให้แก่กลุ่มก่อการร้ายพันธมิตรที่ช่วยกันปิดสนามบินสุวรรณภูมิอย่างสนุกสนานฉายาที่ 2 "ครม.ไอ้ห้อยไอ้โหน" ฉายาไอ้โหนไอ้ห้อย ไม่ได้ชวนให้นึกถึงใครเลยนอกจากนึกถึงนักการเมือง "งูเห่า" จากบุรีรัมย์ที่ผละจากนายเก่าเข้าร่วมเรียงเคียงหมอนผสมพันธุ์กับพรรคประชาธิปัตย์ แล้วดันวงศาคณาญาติ ทั้งพ่อทั้งน้อง และพรรคพวกเข้าไปกวาดตำแหน่งสำคัญ ๆ ได้สำเร็จ ฉายาที่ 3 "รัฐบาลแบล็กเมล์" ความสามารถในการแบล็กเมล์ของพรรคประชาธิปัตย์นั้นเรียกได้ว่าเข้า "ขั้นเทพ" ขยันวิ่งเต้นเข้าหาผู้มีอำนาจบารมีนอกและในรัฐธรรมนูญอย่างไม่รู้จักเหนื่อย สนับสนุนรัฐประหารล้มรัฐบาลเลือกตั้ง สมคบคิดกับพันธมิตรปิดสนามบิน เล่นการเมืองนอกกติกามารยาท
Hit & Run
  คิม ไชยสุขประเสริฐ  ข่าวคราวในวงการกีฬา เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. ที่ผ่านมา คงเป็นที่จดจำสำหรับคนไทยที่ชื่นชอบกีฬาฟุตบอลหรือเป็นนักเชียร์ตัวยงสำหรับกีฬาต่างๆ ที่ลงท้ายด้วยทีมชาติไทยพ่ายทีมชาติเวียดนาม 1-2 ประตู ในฟุตบอลอาเซียน ซูซูกิ คัพ 2008  รอบชิงชนะเลิศนัดแรก ซึ่งจัดขึ้นที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน โดยเกมนี้มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมตรี เดินทางไปเชียร์ทีมไทยถึงขอบสนาม เรียกได้ว่าเป็นการแพ้กันคาบ้าน   
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : เงาสีขาวผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทองประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน น้ำเน่าในคลองต่อให้เน่าเหม็นปานใดย่อมระเหยกลายเป็นไออยู่นั่นเอง แต่การระเหิด ไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนกับการระเหย  ระเหย คือ การกลายเป็นไอ จากสถานภาพของของเหลวเปลี่ยนสถานภาพกลายเป็นก๊าซระเหิด คือ การเปลี่ยนสถานภาพเป็นก๊าซโดยตรงจากของแข็งเป็นก๊าซ โดยไม่ต้องพักเปลี่ยนเป็นสถานภาพของเหลวก่อน ต่างจากการระเหย แต่เหมือนตรงที่ทั้งสองกระบวนการมีปลายทางอยู่ที่สถานภาพของก๊าซสอดคล้องกับความน่าเกลียดที่ระเหิดกลายเป็นไอแห่งความงามได้
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
งานลอยกระทงของอำเภอเวียงแหงผ่านพ้นไปแล้ว แต่ผลการตัดสินการประกวดกระทง ยังคงถูกวิพากษ์วิจารณ์แพร่หลาย ไม่จางหายไปง่ายๆ บ้างกล่าวว่า กรรมการตัดสินลำเอียง ตัดสินให้กระทงบ้านเจ้าภาพของงานชนะเลิศ เพราะพากรรมการไปเลี้ยงดูปูเสื่อ บางกลุ่มว่าประธานกรรมการตัดสิน มีภรรยาเป็นชาวบ้านของกระทงที่ชนะเลิศ สารพัดของการณ์วิจารณ์ บ่งบอกการไม่พอใจ ไม่ยอมรับกรรมการตัดสินกระทงชุดนี้ เวลาผ่านไปเทศกาลวันเข้าพรรษาวนมาถึง ปีนี้นอกจากงานทำบุญแล้ว จะมีการประกวดบ้องไฟหรือบั้งไฟด้วยโดยบ้านเวียงแหงเป็นเจ้าภาพ หมู่บ้านใกล้ไกลได้รับแจ้งข่าว เชิญชวนส่งบ้องไฟเข้าประกวดเรื่องสำคัญที่ถูกหยิบยกมากล่าวถึงอีกได้แก่ กรรมการตัดสินทุกหมู่บ้านแจ้งให้เจ้าภาพเลือกกรรมการที่เป็นกลางจริงๆ ไม่เอากรรมการจากหมู่บ้านใดๆ ควรให้อำเภอเป็นกรรมการกลางจะดีที่สุด ทุกหมู่บ้านยอมรับได้ นายอำเภอได้รับการเรียกร้อง จึงได้จัดประชุมเจ้าหน้าที่อำเภอ ทุกฝ่ายเห็นควรมอบหน้าที่กรรมการตัดสินบ้องไฟ ให้สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอรับข้อเสนอท่านหัวหน้าการฯ รับเรื่องมาหารือในสำนักงาน ที่ประชุมตกลงเลือกกรรมการ 3 คน คุณโพยม ฝ่ายการเงินธาตรี เจ้าหน้าที่ธุรการ ตัวผม นักวิชาการ ผมชักหนักใจไม่มีความรู้เรื่องบ้องไฟเพียงพอจะตัดสินได้ มีเพียงความเป็นกลางที่ชาวบ้านไว้ใจ ปรึกษากรรมการด้วยกัน ปรึกษาผู้รู้ เช่น สะหล่า (ช่างผู้ชำนาญการ) บ้องไฟ พระที่วัด เราจะต้องดูอะไร จึงจะให้คะแนนบ้องไฟได้ถูกต้อง อย่างไรได้มาก ได้น้อย เขาบอกว่า ให้ดู 2 อย่าง ขึ้นสูงประการที่หนึ่ง ไม่มีควันหรือควันน้อยเป็นประการที่สอง กรรมการดูบ้องไฟรายแรกที่พุ่งขึ้นท้องฟ้า ควรให้คะแนนน้อยไว้ก่อน ราว 7 คะแนนจากเต็ม 10 คะแนน บ้องไฟต่อไป ถ้าขึ้นสูงและควันมีน้อยกว่าบ้องไฟรายแรก ให้กรอกคะแนนลงไปมากกว่า 7 คะแนน ถ้าขึ้นไม่สูงกว่ารายแรกและควันมากกว่าก็ให้คะแนนน้อยกว่า 7 คะแนน ไม่ยาก ไม่ต้องหนักใจ.
นาโก๊ะลี
เฝ้ามองบางพื้นที่ ความจริงคือหลายพื้นที่ ที่พบ หรือความจริงอีกอย่างมันอาจจะเป็นทุกพื้นที่ ทุกสถานที่เหล่านี้มีผู้คนอาศัยอยู่ ดำรงชีวิต ประกอบกิจการงาน และมีหลายผู้คนวนเวียนเข้ามา ทั้งมาร่วมอยู่อาศัย ประกอบการงาน หรือกระทั่งเพียงผ่านมาเยี่ยมเยือน เช่นนั้นแล้ว ในสถานที่นั้นๆ มันจึงมีการเปลี่ยนแปลงผู้อยู่อาศัยอยู่เสมอ นั่นมันไม่ได้คงที่ ในฐานะอาคันตุกะ วาระหนึ่งเราพบคนหนึ่ง แต่เมื่อต่างวาระ เราก็พบคนที่ต่างไป และนั่นยังหมายความว่า อาคันตุกะผู้มาเยือนก็ต่างออกไป วาระหนึ่งเราอาจจะพบคนผู้หนึ่งเมื่อเราเดินทางมาพบกัน หากแต่ในอีกวาระหนึ่ง เราก็พบคนอีกผู้หนึ่งนั่นเอง เฝ้าดูส่วนที่ลึกลงไปในปรากฏการณ์ พบว่า เรื่องมันเป็นอย่างนี้ว่า ในความเป็นคนทุกคนมันก็มีความเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทั้งในแง่รูปธรรม อายุอานาม สุขภาพ ร่างกาย ทั้งในแง่นามธรรม ความคิดความอ่าน การตกผลึกของจิตวิญญาณ ด้วยองค์ประกอบนี้เองที่ทำให้สภาพของพื้นที่นั้นๆ เปลี่ยนไปด้วย สายตาที่มองออกไป ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และการปรับเปลี่ยนก็เกิดขึ้นเสมอ ที่สำคัญคือทัศนะ การมองโลก และความสัมพันธ์กับผู้คน
แพร จารุ
คราวนี้เสียงจากคนเชียงใหม่จริง ๆ ค่ะ เธอเขียนมาถึงดิฉัน พร้อมกับจดหมายสั้น ๆ ว่า ขอร่วมเขียนแถลงการณ์คัดค้าน การสร้างประตูระบายน้ำกั้นแม่น้ำปิงด้วยค่ะ เธอแนะนำตัวมาสั้นๆ ว่าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด บ้านอยู่ข้างสถานีรถไฟ ข้ามสะพานนวรัตน์ เห็นฝายพญาคำมาตั้งแต่เล็ก ต้องขอโทษด้วยที่ทำจดหมายของเธอตกค้างอยู่นานนับเดือน กว่าจะได้เอามาลงให้ เชิญอ่านได้เลยค่ะ
ฐาปนา
คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญวันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้านวันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ “แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..ข้าจะทำพวงมาลัยแบงค์ห้าร้อยคล้องคอให้ซะเลย...” ป้านิ่มว่า พลางยิ้มน้อยยิ้มใหญ่“...ได้ดูลิเกฟรีแล้วยังจะเอาไชยา มิตรชัยอีกเหรอป้า ? ...” น้าไก่สงสัย“...ข้าก็พูดไปงั้นแหละ...”

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม