Skip to main content
 

ธวัชชัย ชำนาญ

หนังรักโรแมนติกเป็นอะไรที่คนไทยให้ความสนใจโดยเฉพาะกลุ่มวัยทีนทั้งหลาย อย่างที่เพิ่งเข้าโรงไปอีกเรื่องก็คือ Happy Birthday เป็นความรักแบบโศกซึ้งน้ำตาซึมแห่งปีไปเลยก็ว่าได้ สาวๆหลายคนออกมาคงรำพันกับตัวเองไม่น้อย "ผู้ชายแบบนี้ยังมีอีกไหมหนอ"

แต่สัปดาห์นี้ กระผมขอนำความรักในอีกแบบหนึ่งมาเสนอ เป็นหนังรักแห่งแดนอิเหนา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหนังรักแนวของประเทศมุสลิม คือเป็นหนังรักที่มีศาสนา จารีต ประเพณี และกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตรักของตัวละคร อย่างน้อยๆ หนังเรื่องนี้เป็นการสร้างสรรค์ให้วงการหนังแนวโรแมนติกในอีกมุมมองหนึ่งของความรัก

หนังเรื่องนี้ชื่อ ‘Ayat Ayat Cinta' แปลเป็นไทยได้ว่า "กาพย์แห่งรัก" เข้าฉายในอินโดนีเซียเมื่อกลางปี 2551 เป็นผลงานการกำกับของ  ฮานุง บรามัทโย (Hanung Bramantyo) ผู้เชี่ยวกรากในการกำกับหนังในแนวรักโรแมนติกตั้งแต่ปี 2000 เรื่อยมาจนถึงปี 2008 แต่ละเรื่องได้รับความนิยมและฝั่งแง่คิดทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียไว้อย่างเห็นได้ชัด ซึ่ง ‘Ayat Ayat Cinta' เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ยังคงเดินไปในแนวทางนี้โดยมีเนื้อหาสื่อถึง "วิถีรักของมุสลิม" ซึ่งชาวพุทธอย่างเราๆท่านๆในประเทศไทยหลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจ หรือปิดกั้นตัวเองที่จะเข้าใจ

ดังนั้น ก่อนอื่นต้องเล่าถึงตัวละครกันสักนิดเพื่อจะได้ง่ายต่อการเข้าใจถึงเนื้อหาของเรื่องรักในแบบแดน อิเหนา

เฟดี นูรีล (Fedi Nuril) แสดงเป็น ฟารีล บิน อับดุลเลาะ ชิดิล (Fahri bin Abdullah Shiddiq) นักศึกษาชาวอินโดนีเซียที่ได้ไปเรียนและกำลังจะจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ของโลกอย่าง Al-Azhar กรุงไคโร ประเทศอียิปส์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุยาวนานที่สุดในโลก ริอันตี จารวิง (Rianti Cartwright) รับบทเป็น อาอิชา เกรสมาส (Aisha Greimas) สาวในตาสวยผู้สวมอียาฟ ลูกครึ่งเยอรมัน- ตุรกี ที่สำคัญคือเธอรวย และไม่มีชายใดจะได้เห็นหน้าตาของเธอ นอกจากสามีในอนาคตเท่านั้น จาริซา ปูเตอรี (Carissa Puteri) รับบทเป็น มาเรีย กีกีส (Maria Girgis) หญิงสาวที่นับถือศาสนาคริสต์แต่ ก็ตกหลุมรักในอิสลามเช่นกัน และรักในตัวของฟารีลมาก

เรื่องราวความรักของสามคนอาจคล้ายกับ "รักสามเศร้า" หนังไทยที่หลายคนคงดูไปแล้ว แต่เรื่องราวสามเศร้าของ ayat ayat cinta แตกต่างอยู่บ้างก็ตรงที่ ayat ayat cinta มีเรื่องของศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นส่วนใหญ่ คือความรักจะต้องอิงอยู่กับหลักศาสนา

ฟารีล ชายหนุ่มที่ไม่เคยรู้เลยว่าใบหน้าของคู่รัก (อาอิชา) ที่จะแต่งงานด้วยเป็นอย่างไร เนื่องจากคู่แต่งงานของเขามีผ้าคลุมหน้าและศีรษะเหลือแต่ลูกตา (คลุมอียาฟ) ตามหลักศาสนาอิสลามแล้วนอกจากจะแต่งงานกันก่อนเท่านั้นจึงจะเห็นทุกส่วนมุมของหล่อนได้ แต่แล้วฟารีลก็รักเจ้าหล่อนจากลูกตาที่พอมองเห็นอยู่บ้าง และรักขึ้นอีกเมื่อได้เห็นหน้าตาที่สะสวย ขาวเนียน ของหล่อน

ส่วนมาเรียนั้นหลงรักฟารีลและเจอฟารีลก่อนอาอิชา ขณะเดียวกันมาเรียก็คลั่งไคล้ในอิสลาม แม้ว่าเธอจะยังคงอยู่ในการนับถือศาสนาคริสต์ก็ตาม จนหลังจากที่ฟารีลกับอาอิชาแต่งงานกัน มาเรียเสียใจอย่างหนัก อีกทั้งยังป่วยตลอดเวลา เธอเป็นลูคิเมียที่รอวันตาย แต่ไม่มีใครรู้นอกจากตัวเธอ

จุดหักเหของเรื่องมาอยู่ตรงที่ ฟารีลถูกกล่าวหาว่าไปข่มขืน โน่รา บาฮาดูล Noura Bahadur รับบทโดย Zaskia Adya Mecca ซี่งการข่มขืนเป็นโทษที่ร้ายแรงมากตามหลักของอิสลาม แต่โนราไม่ได้โดนฟารีลข่มขื่น แม้ว่าเธอถูกข่มขื่นจริงแต่คนร้ายต้องการให้โนราใส่ความฟารีล เพราะไม่ชอบฟารีลที่เข้ามายุ่งเรื่องของตน

มีเพียงมาเรียที่อยู่ในเหตุการณ์เท่านั้นที่จะเป็นพยานให้กับฟารีลได้ แต่มาเรียกก็ถูกรถชนโดยผู้ที่ต้องการที่จะปิดปาก เธอนอนหลับใหลไม่ได้สติในโรงพยาบาล และเป็นหน้าที่ของอาอิชาที่ต้องช่วยเหลือสามีของตนทุกวิถีทางเพื่อให้สามีออกจากคุกให้ได้ เธอได้ไปตามหามาเรียตามคำเรียกร้องของฟารีล มาเรียจึงเป็นทั้ง กุญแจรัก' และ กุญแจพยาน'

และแล้วอาอิชาก็ได้รู้ความจริงว่ามาเรียได้รักฟารีลมาก่อนตนจากไดอารี่ของมาเรียเอง แต่มาเรียก็ยังหลับใหลอยู่ ไม่มีทางที่จะไปเป็นพยานได้

อาอิชากลับไปหาฟารีลในคุกและติดต่อกับทนายเพื่อที่จะประกันตัวฟารีลออกมาเจอกับมาเรีย เพื่อที่จะกระตุ้นให้มาเรียฟื้น แต่การประกันตัวในคดีข่มขืนไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดายนัก อาอิชาต้องใช้เส้นสายเพื่อที่จะเอาตัวฟารีลออกมาให้ได้นั้น กระบวนการยุติธรรมที่เป็นเสมือนดาบสองคมทำให้เลือดตาเธอแทบกระเด็น

ท้ายที่สุดมาเรียก็ฟื้นขึ้นมาและได้เป็นพยานให้กับฟารีล มาเรียเล่าให้ศาลฟังว่า แท้ที่จริงแล้วฟารีลถูกใส่ความ โน่ราไม่ได้ถูกฟารีลขมขื่นเพราะฟารีลอยู่กับตน เสียงที่โห่ร้องในศาล เหมือนกับตลาดนัดวันเสาร์จึงได้ดังขึ้น เพราะความจริงได้ปรากฏออกมาจากปากของมาเรีย

หลังจากฟารีลพ้นจากข้อกล่าวหา อาอิชา ภรรยาใจกว้างจึงต้องการให้ฟารีลกับมาเรียแต่งงานกัน ตามหลักศาสนาการที่ฟารีลกับมาเรียจะแต่งงานกันได้ต้องได้รับความยินยอมจากภรรยาหลวงก่อน หลังจากนั้นทั้งสามก็มาอยู่ด้วยกัน อาอิชาท้อง แต่มาเรียเป็นลูคิเมียรอวันตาย ในที่สุดด้วยความรักในฟารีลและความเอื้ออาทรของอาอิชาทำให้มาเรียยอมเข้านับถืออิสลามและเสียชีวิตไปในท่าละหมาดร่วมกันกับฟารีลและอาอิชา  

000

หนังเรื่อง ayat ayat cinta มีรายละเอียดอีกมากมายซึ่งยากในการที่จะสาธยายได้หมด แต่หนังได้แฝงรสนิยม ทัศนคติ วัฒนธรรม หลักศาสนาและกฎหมาย หนังได้สะท้อนให้เห็นรสนิยมในโลกอิสลามภูมิภาคนี้ว่าการไปเรียนของนักศึกษาในอียิปส์นั้นเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่และสุดยอดที่สุดแล้ว ในขณะที่หลักกฎหมายที่หนังสื่อออกมานั้นก็ทำให้คนดูรู้สึกว่ากฎหมายอิสลามเหนียวแน่นเหลือเกิน แต่สุดท้ายมันก็ยังคงเป็นดาบสองคมสำหรับผู้ใช้และผู้ถูกใช้อยู่ดี

และที่สำคัญ แม้แต่จุดอบอุ่นโรแมนติกก็ตาม ศรัทธาในโลกมุสลิมได้สะท้อนจุดเปราะบางทางความเชื่อของคู่ขัดแย้งสำคัญของโลกออกมาแล้วจึงทำให้แม้แต่การเปลี่ยนจากคริสต์มาเป็นอิสลามของตัวละครก็แฝงมีนัยย์บางอย่างที่มากกว่าความรัก

การเปลี่ยนศาสนาในหนังรักโรแมนติกที่ดูเหมือนเรื่องธรรมดาเรื่องหนึ่งนั้น สัญลักษณ์คู่ตรงข้ามที่หยิบใช้อาจกำลังบอกเราว่า อิสลามดีกว่าคริสต์' และเป็นประเด็นละเอียดอ่อนที่ผู้กำกับอาจจะลืมหรืออาจตั้งใจ !???

000

อย่างไรก็ตาม ayat ayat cinta นับได้ว่าเป็นหนังโรแมนติกที่ฉีกมุมมองของความรักได้อย่างน่าสนใจเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว หนังเรื่องนี้ได้ได้เข้าฉายในสิงคโปร์ มาเลเซีย เนื่องจากภาษาสามารถสื่อกันได้ ซึ่งการได้สัมผัสกับหนังรักในมุมของอิสลามแบบนี้อาจเป็นการตั้งคำถามที่ดี เมื่อความรักที่ดีในบางรูปแบบไม่จำเป็นต้องมีแค่หญิงหนึ่งชายหนึ่งเสมอไป ในบางความรัก ศาสนาที่ดูเป็นคู่ตรงข้ามกับแนวทางโลกียะกลับเป็นคำตอบของความสมหวัง

ความรักในแบบอิสลาม พระเจ้าคือรักสูงสุด เป็นรักที่แท้จริง และเป็นต้นตอของรัก' ความรักในแบบอิสลามทำให้เราพบคำตอบดีที่ไปไกลและแตกต่างไปจากเรื่อง รักสามเศร้า' ในบ้านเรา ความรักในแบบอิสลามไม่จำเป็นต้องมีแค่สองเสมอไปหากเป็นความพร้อมใจร่วมกัน

ความรักในแบบอิสลามจึงทำให้มาเรียสามารถสมหวังในรักได้แม้มันจะเพียงแค่ชั่วข้ามคืน ความรักในแบบอิสลามทำให้อาอิชาสามารถรักและปลื้มในตัวของมาเรียได้โดยไม่มีความรู้สึกผิดหรือขัดแย้งหากเทียบกับความรักแบบ ผัวเดียวเมียเดียว'  ความรักในแบบอิสลามทำให้ผู้หญิงสองคนไม่จำเป็นต้องเกลียดและตบตีแย่งกัน ในขณะเดียวกันทั้งสองก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเพื่อนกันมาก่อนที่ต้องแบ่งปันกัน

กุญแจสำคัญของความรักมีคำตอบเป็นสามได้กลับเป็นศาสนาอิสลามที่หลายคนมองเป็นปีศาจอันน่าเกลียดน่ากลัว

กระผมเองอยากให้คนไทยหลายคนไปหาหนังเรื่องนี้ดู อาจจะเป็นความรักแนวใหม่ที่ทลายกรอบคิดบางประการของใครหลายๆคน แน่นอนว่าอารมณ์แตกต่างจากหนังบ้านเราแน่นอน กลิ่นอายของหนังอาจทำให้เราเข้าใจอิสลามมากขึ้น เข้าใจว่าเขาคิดกันอย่างไร เขารักกันอย่างไร

หมายเหตุ : ผู้เขียนเป็นนักศึกษาฝึกงาน http://www.prachatai.com/

 

 

 

 

 

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
โดย… พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
Cinemania
      ซาเสียวเอี้ย   แต่ไหนแต่ไรมา...ระบบการศึกษาในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกมักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการ ‘ดับฝัน’ ของคนวัยหนุ่มสาว เพราะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้นที่จะ ‘เรียนรู้’ สิ่งแปลกใหม่ในวัยเยาว์ถูกลบเลือนหายไปในกรอบ-กฎเกณฑ์-เหตุผล-เงื่อนไข และข้อเท็จจริงทั้งหลายทั้งปวง (ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีโอกาสเกิดมาใช้ชีวิตบนโลกก่อนหน้าเรา...)   กระนั้น...ใครหลายคนก็ยังยินดีเดินตามแนวทางหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกวางไว้แล้วโดยไม่เคยคิดตั้งคำถาม เพื่อแลกเปลี่ยนกับ ‘การยอมรับ’ จากสังคมรอบข้าง...เพื่อที่มนุษย์ทั้งหลาย (ซึ่งเป็นสัตว์สังคม)…
Cinemania
        ซาเสียวเอี้ย   ‘ชาร์ลี วิลสัน’ ตายแล้ว...   แม้การตายของเขาจะไม่ได้ทำให้โลกสะท้านสะเทือนอะไรมากนัก แต่ก็มีความหมายสลักสำคัญมิใช่น้อย เพราะบทบาทของวิลสันในสมัยที่เขายังหนุ่มแน่นและดำรงตำแหน่ง สว.รัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา เป็นประเด็นให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดว่าควรจะจดจำเขาไว้ในฐานะอะไร...   บ้างก็ว่า ชาร์ลี วิลสัน คือ ‘นักการเมืองเจ้าสำราญ’ เจ้าของฉายา Good Time Charlie ผู้มีชีวิตโลดโผนเต็มไปด้วยสีสัน หรือเป็น ‘วีรบุรุษชาวอเมริกัน’ ผู้ช่วยให้นักรบมูจาฮิดีนขับไล่กองทัพสหภาพโซเวียตอันโหดร้ายป่าเถื่อนไปจากอัฟกานิสถาน…
Cinemania
themadmon หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น บทสะท้อนย้อนคิดหลังจากการชมภาพยนตร์เรื่อง Air Doll ผมในฐานะที่เป็นผู้เขียนจงใจจะหยิบเลือกประเด็น (ซึ่งผ่านการตีความของผม) โดยไม่ได้อ้างอิงอย่างชัดเจนไปสู่ตัวภาพยนตร์ในแต่ละฉากแต่ละตอน โดยหวังว่าผู้ที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ก็สามารถอ่านได้ และผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วจะสามารถระลึกถึงฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้ด้วยเช่นกัน     หากลองพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในสามประโยค  ผมคงพูดสั้นๆ ว่า.. “ผู้คนหลากหลาย เราต่างก็ว่างเปล่า และเหงามากมาย”  เพราะอะไรน่ะหรือ …
Cinemania
  บริวารเงา   ขงจื๊อ เป็นชื่อหนึ่งที่ผมได้ยินมาเนิ่นนาน ถ้าจำไม่ผิดอาจจะเป็นหนังจีนกำลังภายในสักเรื่องหนึ่งที่อ้างชื่อนี้ขึ้นมาเพื่อพูดถึงปรัชญาในเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร ผมมารู้จักเขาอีกครั้งในห้องสมุดช่วงที่กำลังสนใจพวกวิชาปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ฯลฯ  แต่ผมกลับไปชอบปรมาจารย์จีนอีกคนคือ เล่าจื๊อ เสียมากกว่า เพราะว่าแกมีความคิดที่ 'แนว' ดี (อารมณ์ของวัยรุ่นเช่นนี้แล) อีกนัยหนึ่งก็ดูเพี้ยน ๆ อีกนัยหนึ่งก็มีอารมณ์ศิลปินกว่าขงจื๊อ ขณะที่ผมเห็นว่าขงจื๊อเอาแต่พร่ำบ่นอะไรที่เป็นหลักจริยธรรมน่าเบื่อ ๆ ซึ่งความน่าเบื่อนี้ไม่ใช่ความผิดของขงจื๊อเสียทีเดียว…
Cinemania
เดือนสองจันทร์   October Sonata: รักที่รอคอย
Cinemania
สุพิชชา โมนะตระกูล ตลอดช่วงเวลาขณะชมภาพยนตร์สารคดี “Our Daily Bread” ผู้เขียนรู้สึกตะลึงกับภาพที่ได้รับชม โดยสาเหตุหลักหาใช่ “ความงาม” ของสีสันหรือองค์ประกอบศิลป์แบบภาพที่ผู้กำกับภาพบรรจงจัดวางอย่างภาพยนตร์ที่มีภาพงามเรื่องอื่นๆ...หากเป็น “ความจริง” ของภาพที่ตรึงผู้เขียนไว้ตลอดระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
Cinemania
  สาวกท่านเป้า ขณะที่กำลังตุรัดตุเหร่ในร้านหนังสือแอร์เย็นเฉียบ เพื่อตามหานิตยสารมือถือฉบับหนึ่ง บังเอิญเหลือบไปเห็นนิตยสารฉบับหนึ่งที่นำภาพโปรโมทภาพยนตร์ “วงษ์คำเหลา” มาขึ้นปก แต่เมื่อหยิบมาจึงรู้ว่าเป็นปกหลัง แต่ปกหน้าก็ยังเป็นวงษ์คำเหลาอยู่ดี จึงเริ่มรู้ตัวว่าถูกหลอกแดกเสียแล้ว มีที่ไหนวางขายนิตยสารโดยเอาปกหลังเป็นตัวชูโรง นิตยสารฉบับนั้นคือนิตยสารภาพยนตร์ของกลุ่มคนทวนกระแสที่ชื่อว่า “ไบโอสโคป”
Cinemania
   เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ ‘สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ ‘เศรษฐีใหม่' หรือ ‘ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง ‘บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ‘ปม'…
Cinemania
 'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...‘ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น ‘คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...บุรุษไปรษณีย์นามว่า ‘มาริโอ โรปโปโร':::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ‘ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538…
Cinemania
  ..mad mon..::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์:: 1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep)…
Cinemania
(เขียนเมื่อ 31 ธ.ค.51)จันทร์ ในบ่อ สิ้นปีกันเสียที บรรยากาศตึงๆ ปีนี้อาจทำให้ใครหลายคนอึดอัดและทำท่าจะลากยาวไปถึงปีหน้า ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ  คนสู้ๆ กับปัญหาที่รุมเร้า แต่ถ้าเครียดมากลองผ่อนคลายกันด้วยการหาหนังดูมาสักเรื่องสองเรื่อง จะซื้อ จะเช่ามานั่งดูที่บ้านหรือจะออกไปดูตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็ได้ ลองออกจากโลกความจริงไปอยู่ในโลกอื่นสักชั่วโมงสองชั่วโมงอาจจะสบายใจขึ้นส่วนถ้าใครยังไม่รู้จะดูเรื่องอะไร ที่ไหนอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมหนังรับปีใหม่มาฝาก เป็นหนังฟรีกลางแปลงครับหลายคนคงไม่ค่อยทราบว่าที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดเทศการหนังกลางแปลงกันทุกปี ในวันที่ 7-8-9 มกราคม 2552…