Skip to main content
 

..mad mon..

::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์::

 

1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่

เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep) ลูกชายของทั้งคู่ (ซึ่งเป็นลูกที่ทั้งคู่รับมาเลี้ยง) ย้ายเข้ามาใน "บ้าน" หลังนี้ สองสามีภรรยาซ่อมแซมปรับปรุงบ้านหลังนี้ ไม่เพียงแต่เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัย แต่เพื่อทำให้มันกลับมาเป็นสถานเลี้ยงเด็กอีกครั้งหลังจากถูกทิ้งร้างไป

 

ตั้งแต่เปิดเรื่องได้ไม่นาน ตัวภาพยนตร์เปิดให้เรารับรู้ว่า Simón มีเพื่อนสองคนซึ่งพ่อแม่ของเขามองไม่เห็น! และเมื่อพวกเขาย้ายมาอยู่ที่บ้านหลังนี้ Simón ก็ได้พบกับเพื่อนใหม่คนหนึ่งในตอนที่ Laura พาเขาเข้าไปเล่นในถ้ำ! และตามมาด้วยเพื่อนใหม่อีก 5 คนในบ้านหลังนั้น,เด็ก 6 คนที่ไม่มีใครมองเห็น!

 

Simón ได้ชวนให้ Laura ร่วมเล่นเกมไขปริศนาผ่านสิ่งของกับเพื่อนที่มองไม่เห็นของเขา (ซึ่ง Laura มารู้ในภายหลังว่าพวกเธอและเขาเหล่านั้นคือเพื่อนในวัยเด็กของเธอ), เกมซึ่งสิ่งของต่างๆในฐานะที่เป็นคำใบ้สู่ปริศนาจะถูกวางอยู่อย่างผิดที่ผิดทาง และผู้เล่นต้องนำของเหล่านั้นแต่ละอันกลับไปอยู่ในที่ที่ควรจะเป็นทีละอันๆจนพบคำตอบ, มันจึงเป็นเกมที่เล่นกับการสังเกต การรับรู้ ความเป็นระเบียบ ลำดับ ความคุ้นเคย และที่สำคัญคือความทรงจำ.. หลังเกมรอบแรกจบลงที่แฟ้มประวัติของ Simón ซึ่งมีข้อความหนึ่งที่บอกว่าเขาเป็นพาหะของโรคเอดส์ (HIV carrier แปลจาก portador del VIH) ทั้งคู่มีปากเสียงกัน Simón โกรธมากที่แม่และพ่อของเขาโกหกว่าเขาเป็นลูกจริงๆ ทั้งที่เขาถูกรับมาเลี้ยง นอกจากนั้น มันยังทำให้เขารู้ว่าถ้าเขาไม่กินยา ไม่นานเขาก็จะตาย

2. คนหาย/การตาย และสายสัมพันธ์

ในวันหนึ่ง ท่ามกลางบรรยากาศของงานเลี้ยงใส่หน้ากาก, งานเลี้ยงเปิดโรงเรียน/โรงเลี้ยงเด็กพิเศษของสองสามีภรรยา, Simón ต้องการให้ Laura ไปดู "บ้านเล็กของ Tomas", เพื่อนใหม่คนหนึ่งของเขา, แต่ Laura ซึ่งกำลังวุ่นอยู่กับงานเลี้ยงปฏิเสธ ทั้งคู่มีปากเสียงกันอีก ไม่นานจากนั้น Laura ถูกแกล้ง/ทำร้ายโดยเด็กคนหนึ่งที่สวมหน้ากากกระสอบ, ซึ่งบนเสื้อมีข้อความว่า "Tomas", เด็กซึ่งไม่มีใครเห็นเขายกเว้น Laura, และเป็นวันนั้นเองที่ Simón หายตัวไป!

 

การหายตัวของ Simón ทำให้ Laura ค่อยๆ "ย้อนเวลา" กลับไปเมื่อ 30 ปีก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่เธอถูกรับไปเลี้ยง เธอได้รู้ว่าในบ้านเด็กกำพร้าหลังนั้นมีเด็กอีกคนหนึ่งที่เธอไม่รู้จัก, เด็กชายพิการไม่กำพร้าผู้สวมหน้ากากกระสอบ, Tomas, และแม่ของเขา, Benigna, คนเลี้ยงเด็กอีกคนหนึ่งซึ่งเธอไม่สามารถจดจำได้

 

เธอได้รู้ว่าหลังจากที่เธอออกจากบ้านเด็กกำพร้าไม่นาน ในวันหนึ่งเด็กๆไปเล่นกันในถ้ำริมทะเลซึ่งน้ำท่วมถึง เพื่อนๆของเธอแกล้ง Tomas โดยการถอดหน้ากากของเขาออกเพื่อที่จะรอดูใบหน้าไร้หน้ากากก้าวออกมาจากถ้ำ และตั้งแต่นั้น เขาก็ไม่กลับออกมาอีกเลย ในวันต่อมา ร่างไร้ชีวิตอันปราศจากหน้ากากของเด็กชายถูกพบบริเวณชายหาด ในเหตุการณ์นั้น เด็กๆคนอื่นไม่ถูกกล่าวโทษ ว่ากันว่ามันเป็นอุบัติเหตุจากการเล่นกันของเด็กเพียงเท่านั้น..

 

Laura ค่อยๆปะติดปะต่อเรื่องราวต่อมาจนพบว่า หลังจาก Tomás ตายไปได้ไม่นาน Benigna ชำระแค้นให้กับลูกชายของเธอโดยการวางยาพิษเด็กกำพร้าที่เหลือจนตายไปทั้งหมด, "เด็กกำพร้า" ผู้ซึ่งไม่มีสายสัมพันธ์กับใครที่ต้องตายไปโดยไม่มีใครมาร้องขอความเป็นธรรมให้พวกเธอและเขา, Laura ค่อยๆแกะรอยจาก (เกมปริศนา) สิ่งของซึ่งวางอยู่ผิดที่ผิดทาง เธอค่อยๆพบ (และ/หรือเรียกคืนความทรงจำ?) และจัดเรียงสิ่งของต่างๆในบ้านบางอย่างให้เข้าที่เข้าทาง และในที่สุด มันทำให้เธอพบซากกระดูกของเพื่อนๆเด็กกำพร้าของเธอ (โดยที่ "ของ" ชิ้นสุดท้ายอีกชิ้นหนึ่งยังไม่ได้ถูกไขปริศนา) ..ในชั่วขณะนั้น เธอคงกำลังคิดว่าใกล้จะได้พบกับ Simón แล้วกระมัง...

3. อดีตหลอน, ความทรงจำหวนคืน และการหลอมรวมของกาลเวลา

 

หลายเดือนผ่านไป และหลากวิธีในการค้นหา (ซึ่งรวมไปถึงการติดต่อกับวิญญาณผ่านคนทรงและการสะกดจิต) สองสามีภรรยาก็ยังไม่พบกับลูกชายที่หายไป.. Carlos ซึ่งแทบจะหมดหวังไปแล้วพยายามจะชวน Laura ออกไปจากบ้านหลังนั้นสักพักหนึ่ง แต่เธอก็ปฏิเสธ พร้อมๆไปกับการร้องขอที่จะได้เธออยู่ในบ้านหลังนั้นเพียงลำพัง ด้วยความหวังว่าจะได้พบกับ Simón อีกครั้งหนึ่ง..

 

ในระหว่างนั้น Laura จัดแจงเปลี่ยนสภาพบ้านหลังนั้นให้กลับไปเป็นโรงเลี้ยงเด็กกำพร้าแบบเดิมในวัยเด็กของเธอเมื่อสามสิบปีก่อน ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆถูกนำกลับไปวางในที่เดิมที่มันเคยอยู่ ไม่เพียงเท่านั้น แต่ Laura ได้นำการละเล่นในวัยเด็กกลับมาเล่นใหม่อีกครั้ง พร้อมๆกับการกินยาจำนวนมหาศาล (คนทรงบอกกับเธอว่า ในสภาวะที่ใกล้จะถึงความตาย จะสามารถพบปะพูดคุยกับวิญญาณได้.. เธอคงจะกินยาเหล่านั้นเพื่อให้ใกล้ตาย) ภาพที่เราเห็นต่อมาคือเพื่อนของเธอค่อยๆปรากฏตัวขึ้น! เด็กๆกลับมาเล่นเกมเดิมๆอีกครั้ง! ทั้งหมดยังคงเป็นเด็ก! มีเพียงเธอเท่านั้นที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว! เวลาของเธอเดินทางต่อไปแต่เวลาสำหรับเด็กๆเหล่านั้นกลับนิ่งสนิท,ไม่ต่างอะไรกับ Peter Pan และ Neverland...

 

และแล้ว "ของ" ชิ้นสุดท้าย, "ลูกบิดประตู", ก็ได้นำพา Laura ไปสู่ "ประตู" อันหนึ่ง, ประตูไปสู่ "บ้านเล็กของ Tomás" สถานที่ซึ่ง Simón เคยอยากจะพาเธอไปดูแต่เธอปฏิเสธ.. เธอพบร่างไร้ชีวิตของ Simón ในที่แห่งนั้น, ร่างเด็กชายที่สวมหน้ากากกระสอบ, หน้ากากกระสอบของ Tomás นั่นเอง!

 

Laura กินยาเข้าไปอีก (เธอคงอยากเข้าใกล้ความตายมากขึ้นไปอีก เพื่อที่จะได้พูดคุยกับลูกชายสุดที่รักของเธอ และเธออาจหวังลึกๆว่าจะนำเขากลับมาจากความตายได้สำเร็จ) ..และเพียงชั่วอึดใจ Simón ก็ลืมตาตื่นขึ้น, จากการที่เขาสามารถไขปริศนาจากเกมในตอนแรกได้เขาจึงสามารถอธิษฐานได้ข้อหนึ่ง, และคำอธิษฐานของ Simón ก็คือต้องการให้ Laura, แม่ของเขาอยู่ดูแล "พวกเขา" ณ ที่แห่งนี้, บ้านเด็กกำพร้าหลังเดิม, ที่ซึ่งเธอเคยจากไปเมื่อสามสิบปีก่อน

 

เมื่อสิ้นสุดคำอธิษฐาน Laura กลับมาสู่ The Orphanage (ในฐานะที่หมายถึงสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า "แห่งนี้") อีกครั้งหนึ่ง โดยอยู่อย่างพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งกับเพื่อนๆในวัยเด็กซึ่งเธอได้จากมา พร้อมๆกับได้อยู่กับลูกชายสุดที่รักของเธออีกครั้งหนึ่ง ในแง่นี้ ความทรงจำและแรงปรารถนาแห่ง "อดีต" จึงได้หลอมรวมเข้ากับความคาดหมายแห่ง "ปัจจุบัน" และแรงปราถนาแห่ง "อนาคต" กลายเป็นความสมปรารถนาอันปราศจากเวลา กาลเวลาของ The Orphanage จึงหยุดนิ่งอย่าง Neverland และพวกเธอและเขาคงจะไม่มีวันพรากจากกันไปอีก.. ตลอดกาล

 

4. ผีหลอก/อดีตหลอน

หาก The Orphanage ในฐานะของสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าแห่งนี้เป็นสถานที่ซึ่งหลอมรวมอดีต, ปัจจุบัน, และอนาคตของ Laura เข้าด้วยกัน แล้ว The Orphanage ในฐานะที่เป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจะกล่าวได้ว่ามันคืออะไร.. ผมเห็นว่าคงไม่เป็นการเยินยอจนเกินไปหากจะบอกว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นส่วนผสมชั้นดีของหนังดราม่าหนักๆที่ทั้งแสดงภาพของความรักของครอบครัวพร้อมๆไปกับแสดงภาพในบางแง่มุมของสังคมที่ "เด็กกำพร้า" (และอาจแทนที่ด้วยคนกลุ่มอื่นๆอีกมากมาย) เป็นกลุ่มคนที่ถูกละทิ้ง, ผสมผสานเข้ากับพล็อตเรื่องของหนังฆาตรกรรมที่ตัวเอกต้องเสาะหาฆาตรกรที่สร้างปมให้เกิดเรื่องราวทั้งหมด, พร้อมๆไปกับความเป็นหนัง "ผี" ที่ "หลอกหลอน" ตัวละครเอกของเรื่องและผู้ชมไปพร้อมๆกัน.. แต่ไม่ว่า "ผี" ในภาพยนตร์เรื่องนี้จะมีจริงหรือไม่ก็ตาม สำหรับ Laura แล้ว "อดีต" ของเธอนั่นแหละที่เป็น "ผี" มาคอย "หลอน" เธออยู่ตลอดเวลาอย่างไม่ต้องสงสัย

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
โดย… พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
Cinemania
      ซาเสียวเอี้ย   แต่ไหนแต่ไรมา...ระบบการศึกษาในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกมักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการ ‘ดับฝัน’ ของคนวัยหนุ่มสาว เพราะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้นที่จะ ‘เรียนรู้’ สิ่งแปลกใหม่ในวัยเยาว์ถูกลบเลือนหายไปในกรอบ-กฎเกณฑ์-เหตุผล-เงื่อนไข และข้อเท็จจริงทั้งหลายทั้งปวง (ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีโอกาสเกิดมาใช้ชีวิตบนโลกก่อนหน้าเรา...)   กระนั้น...ใครหลายคนก็ยังยินดีเดินตามแนวทางหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกวางไว้แล้วโดยไม่เคยคิดตั้งคำถาม เพื่อแลกเปลี่ยนกับ ‘การยอมรับ’ จากสังคมรอบข้าง...เพื่อที่มนุษย์ทั้งหลาย (ซึ่งเป็นสัตว์สังคม)…
Cinemania
        ซาเสียวเอี้ย   ‘ชาร์ลี วิลสัน’ ตายแล้ว...   แม้การตายของเขาจะไม่ได้ทำให้โลกสะท้านสะเทือนอะไรมากนัก แต่ก็มีความหมายสลักสำคัญมิใช่น้อย เพราะบทบาทของวิลสันในสมัยที่เขายังหนุ่มแน่นและดำรงตำแหน่ง สว.รัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา เป็นประเด็นให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดว่าควรจะจดจำเขาไว้ในฐานะอะไร...   บ้างก็ว่า ชาร์ลี วิลสัน คือ ‘นักการเมืองเจ้าสำราญ’ เจ้าของฉายา Good Time Charlie ผู้มีชีวิตโลดโผนเต็มไปด้วยสีสัน หรือเป็น ‘วีรบุรุษชาวอเมริกัน’ ผู้ช่วยให้นักรบมูจาฮิดีนขับไล่กองทัพสหภาพโซเวียตอันโหดร้ายป่าเถื่อนไปจากอัฟกานิสถาน…
Cinemania
themadmon หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น บทสะท้อนย้อนคิดหลังจากการชมภาพยนตร์เรื่อง Air Doll ผมในฐานะที่เป็นผู้เขียนจงใจจะหยิบเลือกประเด็น (ซึ่งผ่านการตีความของผม) โดยไม่ได้อ้างอิงอย่างชัดเจนไปสู่ตัวภาพยนตร์ในแต่ละฉากแต่ละตอน โดยหวังว่าผู้ที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ก็สามารถอ่านได้ และผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วจะสามารถระลึกถึงฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้ด้วยเช่นกัน     หากลองพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในสามประโยค  ผมคงพูดสั้นๆ ว่า.. “ผู้คนหลากหลาย เราต่างก็ว่างเปล่า และเหงามากมาย”  เพราะอะไรน่ะหรือ …
Cinemania
  บริวารเงา   ขงจื๊อ เป็นชื่อหนึ่งที่ผมได้ยินมาเนิ่นนาน ถ้าจำไม่ผิดอาจจะเป็นหนังจีนกำลังภายในสักเรื่องหนึ่งที่อ้างชื่อนี้ขึ้นมาเพื่อพูดถึงปรัชญาในเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร ผมมารู้จักเขาอีกครั้งในห้องสมุดช่วงที่กำลังสนใจพวกวิชาปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ฯลฯ  แต่ผมกลับไปชอบปรมาจารย์จีนอีกคนคือ เล่าจื๊อ เสียมากกว่า เพราะว่าแกมีความคิดที่ 'แนว' ดี (อารมณ์ของวัยรุ่นเช่นนี้แล) อีกนัยหนึ่งก็ดูเพี้ยน ๆ อีกนัยหนึ่งก็มีอารมณ์ศิลปินกว่าขงจื๊อ ขณะที่ผมเห็นว่าขงจื๊อเอาแต่พร่ำบ่นอะไรที่เป็นหลักจริยธรรมน่าเบื่อ ๆ ซึ่งความน่าเบื่อนี้ไม่ใช่ความผิดของขงจื๊อเสียทีเดียว…
Cinemania
เดือนสองจันทร์   October Sonata: รักที่รอคอย
Cinemania
สุพิชชา โมนะตระกูล ตลอดช่วงเวลาขณะชมภาพยนตร์สารคดี “Our Daily Bread” ผู้เขียนรู้สึกตะลึงกับภาพที่ได้รับชม โดยสาเหตุหลักหาใช่ “ความงาม” ของสีสันหรือองค์ประกอบศิลป์แบบภาพที่ผู้กำกับภาพบรรจงจัดวางอย่างภาพยนตร์ที่มีภาพงามเรื่องอื่นๆ...หากเป็น “ความจริง” ของภาพที่ตรึงผู้เขียนไว้ตลอดระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
Cinemania
  สาวกท่านเป้า ขณะที่กำลังตุรัดตุเหร่ในร้านหนังสือแอร์เย็นเฉียบ เพื่อตามหานิตยสารมือถือฉบับหนึ่ง บังเอิญเหลือบไปเห็นนิตยสารฉบับหนึ่งที่นำภาพโปรโมทภาพยนตร์ “วงษ์คำเหลา” มาขึ้นปก แต่เมื่อหยิบมาจึงรู้ว่าเป็นปกหลัง แต่ปกหน้าก็ยังเป็นวงษ์คำเหลาอยู่ดี จึงเริ่มรู้ตัวว่าถูกหลอกแดกเสียแล้ว มีที่ไหนวางขายนิตยสารโดยเอาปกหลังเป็นตัวชูโรง นิตยสารฉบับนั้นคือนิตยสารภาพยนตร์ของกลุ่มคนทวนกระแสที่ชื่อว่า “ไบโอสโคป”
Cinemania
   เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ ‘สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ ‘เศรษฐีใหม่' หรือ ‘ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง ‘บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ‘ปม'…
Cinemania
 'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...‘ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น ‘คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...บุรุษไปรษณีย์นามว่า ‘มาริโอ โรปโปโร':::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ‘ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538…
Cinemania
  ..mad mon..::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์:: 1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep)…
Cinemania
(เขียนเมื่อ 31 ธ.ค.51)จันทร์ ในบ่อ สิ้นปีกันเสียที บรรยากาศตึงๆ ปีนี้อาจทำให้ใครหลายคนอึดอัดและทำท่าจะลากยาวไปถึงปีหน้า ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ  คนสู้ๆ กับปัญหาที่รุมเร้า แต่ถ้าเครียดมากลองผ่อนคลายกันด้วยการหาหนังดูมาสักเรื่องสองเรื่อง จะซื้อ จะเช่ามานั่งดูที่บ้านหรือจะออกไปดูตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็ได้ ลองออกจากโลกความจริงไปอยู่ในโลกอื่นสักชั่วโมงสองชั่วโมงอาจจะสบายใจขึ้นส่วนถ้าใครยังไม่รู้จะดูเรื่องอะไร ที่ไหนอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมหนังรับปีใหม่มาฝาก เป็นหนังฟรีกลางแปลงครับหลายคนคงไม่ค่อยทราบว่าที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดเทศการหนังกลางแปลงกันทุกปี ในวันที่ 7-8-9 มกราคม 2552…