Skip to main content

  

 

เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ เศรษฐีใหม่' หรือ ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติ

ถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ปม' เกี่ยวกับการนิยามอัตลักษณ์ หรือ การนิยามตัวตนที่แท้' อย่างที่หลายคนเข้าใจจริงๆ

รัฐบาลอเมริกันหลายยุคหลายสมัยทุ่มเทให้กับการศึกษา ค้นคว้า รวบรวม และส่งเสริมให้คนในสังคมแต่ละรุ่นตระหนักถึงประวัติศาสตร์ด้านต่างๆ ของประเทศชาติมาตลอด

หลักฐานยืนยันความพยายามที่ว่าก็คือจำนวน พิพิธภัณฑ์' ทั้งขนาดยักษ์ ขนาดใหญ่ และขนาดย่อย ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วทุกหัวระแหง รอคอยให้คนเข้าไปศึกษาหาความรู้ รวมถึงกระตุ้นให้เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ความเป็น 'สหรัฐ' ที่คนอเมริกันเชื่อว่า ไม่น้อยหน้า' ชาติเก่าแก่ทั้งหลายหรอกนะ!

:::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์:::

 

แม้กระทั่งในหนังภาคต่อของ Night at the Museum ตอน Battle of the Smithsonian ก็ยังคงตอกย้ำความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ (และประวัติศาสตร์) เหมือนเช่นเคย แต่ตัวละครดำเนินเรื่องจากภาคแรกอย่าง แลร์รี่ เดลีย์' (เบน สติลเลอร์)ไม่ได้เป็น ยามกะดึก' ในพิพิธภัณฑ์แล้ว แต่กลายเป็น นักธุรกิจ' ที่ประสบความสำเร็จ ได้เป็นเจ้าของบริษัทผลิตสินค้าจิปาถะในชีวิตประจำวัน แถมยังมีรายการโฆษณาสินค้าตัวเองออกฉายทางโทรทัศน์ซะด้วย

การผจญภัยในภาคนี้เริ่มขึ้นเมื่อพิพิธภัณฑ์ที่แลร์รี่เคยทำงานกำลังจะถูก ยกเครื่อง' ขนานใหญ่ ทำให้เพื่อนๆ ของแลร์รี่ที่เป็นหุ่นขี้ผึ้งจำลองของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ อาทิ ธีโอดอร์ รูสเวลท์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือที่เรียกเล่นๆ แบบตีสนิทว่า เท็ดดี้' (รับบทโดยโรบิน วิลเลียม) หรือหุ่นคาวบอยจิ๋ว เจดีไดอาห์ สมิธ' (โอเว่น วิลสัน) และมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลที่พูดกันไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ล้วนถูกนำไปเก็บลงกรุใต้ดินที่พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนี่ยนในกรุงวอชิงตันดีซี

จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อภาคต่อนี้ว่า การต่อสู้ที่สมรภูมิสมิธโซเนียน' นั่นแล...

ส่วนตัวร้ายในภาคนี้ก็มี คาห์มุนราห์' อดีตกษัตริย์อียิปต์ (แฮงค์ อาซาเรีย) จักรพรรดิ นโปเลียน' แห่งฝรั่งเศส (อแล็ง ชาบาต์) และ อัล คาโปน' เจ้าพ่อเชื้อสายอิตาเลียน-อเมริกันในวัยหนุ่ม (จอห์น เบิร์นทัล) ซึ่งทั้งหมดนี้โผล่มาเพื่อหวังจะ ครอบครองโลก' (เหตุผลยอดนิยมในหนังครอบครัวฮอลลีวู้ด!!) โดยใช้พลังของแผ่นศิลาที่ตกทอดมาจากยุคอารยธรรมอียิปต์โบราณเป็นเครื่องมือสร้างอำนาจ

ความวุ่นวายหลังไฟในพิพิธภัณฑ์ดับลง บวกกับความเพี้ยนของบรรดาหุ่นขี้ผึ้งที่ถูกปลุกให้มีชีวิตเพราะอำนาจแห่งแผ่นศิลา ถูกจับมาำยำรวมกับมุขตลกเกี่ยวกับอัตชีวประวัติของบุคคลสำคัญในอดีตทั้งหลายได้อย่างลงตัว ทำให้ภาพรวมของหนังดูสนุกเฮฮาไม่แพ้ภาคแรก ถึงแม้การกระจายบทของตัวละครอาจเฉลี่ยได้ไม่ดีนัก แต่ถ้ามองจากจุดขายของหนังซึ่งประกาศตัวชัดเจนว่าเป็น หนังครอบครัว' ให้เด็กดูได้และผู้ใหญ่ดูด้วย ก็ถือว่า ทำได้ดี-ทำได้ชอบ' แล้ว

ประกอบกับมีนักแสดงสาวหน้าใหม่ (สำหรับเรื่องนี้) อย่าง เอมี่ อดัมส์' มารับบทเป็น เอมิเีลีย แอร์ฮาร์ท' นักบินหญิงรุ่นบุกเบิกของอเมริกา ก็ยิ่งช่วยสร้างสีสันให้หนังน่าดูขึ้นมาอีกโข ^_^

ส่วนประเด็นหลักๆ ที่น่าอวยชัยให้พรอย่างยิ่งของหนังเรื่องนี้ คือการยืนยันว่าเราไม่ควรปล่อยให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ผูกขาด' การประเมินหรือนิยามประวัติศาสตร์เพียงลำพัง ต่อให้คนเหล่านั้นจะทำลงไปในนามของการปกปักรักษา คุณค่าทางประวัติศาสตร์' ก็ตามที และประเด็นที่ว่านี้ถูกนำเสนอออกมาในฉากการต่อสู้ชวนฮาระหว่างแลร์รี่ (อดีตยามกะดึก) และยามร่างตุ้ยนุ้ยประจำพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ดูแลรักษา' สมบัติของชาติ ด้วยการ กีดกัน' ให้ประชาชนอยู่ห่างๆ สิ่งเหล่านี้ให้มากที่สุด (และอย่าได้คิดแตะต้องเป็นอันขาด!!)

แต่ดูเหมือนว่าเนื้อหาในภาคนี้จะระมัดระวังในการนำเสนอนัยยะทางประว้ติศาสตร์อย่างเข้มงวดมากๆ เพราะมีความพยายามที่จะแก้ไขและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องทางการเมือง (Political Correctness) อยู่เต็มไปหมด เพือให้ตัวละครต่างๆ หลุดจากกรอบของอคติทางเพศและเชื้อชาติ แถมยังมีการตีความบริบทในประวัติศาสตร์โดยใช้มุมมองใหม่ๆ เข้าไปจับเหตุการณ์ในอดีตด้วย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือการแสดงความสามารถ (และความน่ารัก!) ของเอมีเลีย แอร์ฮาร์ท ในฐานะนักบินหญิงคนแรกที่ขับเครื่องบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเพียงลำพัง ได้รับการยกย่องอีกครั้งในหนังเรื่องนี้ว่าเป็น ผู้บุกเบิก' เส้นทางการเป็นนักบินให้คนรุ่นหลังอย่างทีมนักบินทัสคีจีซึ่งเป็นชาวอเมริกันผิวสี ซึ่งจะว่าไปก็เป็นฉากชวนซึ้งแบบจงใจไปหน่อย แต่ก็ไม่น่าเกลียดจนรับไม่ได้

ส่วนประเด็นสำคัญที่มองเห็นได้อีกอย่างคือค่านิยมเรื่อง สังคมอเมริกันในอุดมคติ' ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เพราะ Battle of the Smithsonian ดูจะสนับสนุนแนวคิดเรื่อง สลัดชามใหญ่' ที่มองว่าคนในสังคมอเมริกันควรมีความแตกต่างหลากหลายและคงอัตลักษณ์ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษซึ่งอพยพมาจากที่ต่างๆ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถอยู่ร่วมในดินแดนเดียวกันได้อย่างกลมกลืน

แนวคิดเรื่อง สลัด' ต่างจากแนวคิดเรื่อง เบ้าหลอม' หรือ หม้อต้ม' (Melting Pot) ที่เคยถูกพูดถึงอย่างแพร่หลายในช่วงศตวรษที่ 18-19 ซึ่งมีคนเปรียบเปรยว่าสังคมอเมริกันทำให้คนต่างเชื้อชาิติศาสนาสามารถ หลอมรวม' เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้

กว่าจะรู้ว่าการ หลอมรวม' ให้เกิด ความเป็นเอกภาพ' นำไปสู่การปฏิเสธอัตลักษณ์ของชนกลุ่มน้อย และประวัติศาสตร์ที่เิพิ่งสร้างเหล่านี้มีส่วนทำลายความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างใหญ่หลวง ทั้งยังทำให้เกิดการ แบ่งเขา-แบ่งเรา' ที่พอกพูนกลายเป็นความขัดแย้งเรื้อรังจนเกือบจะสายเกินแก้

แ่ต่หนังไม่ได้ทำให้เรามองโลกในแง่ร้ายขนาดนั้น เพราะมีการเพิ่มบทบาทให้อดีตประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น รัฐบุรุษคนสำคัญตลอดกาลของชาวอเมริกัน ได้มีโอกาสออกมายิงวาทะเด็ดเพื่อเตือนสติคนดูว่า อย่าทำให้บ้านแตกแยก' ชวนให้นึกไปถึงสถานการณ์ภายในประเทศไทยตอนนี้ (และที่ผ่านมา) สุดๆ !!!

ขณะเดียวกันบทบาท นายพลจอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์' (บิล เฮเดอร์) ผู้บัญชาการรบที่นำทหารอเมริกันราว 700 นายต่อสู้นักรบเผ่าอินเดียนแดงในยุคสงครามกลางเมืองอเมริกา แต่พ่ายแพ้เสียชีวิตที่สมรภูมิลิตเติลบิ๊กฮอร์น ซึ่งเป็นตัวละครที่เพิ่มมาในภาคนี้ และเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์อเมริกัน (ต่างจากคาห์มุนราห์ซึ่งออกแนวแฟนตาซีมากๆ) ถูกนำเสนอเพื่อให้คนดูได้ตีความใหม่ว่า ความพ่ายแพ้ในประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องซ้ำรอยเดิมในปัจจุบันหรือไม่?' ก่อนจะนำไปสู่การคลี่คลายสถานการณ์ในตอนท้ายสุด

ทั้งนี้ทั้งนั้น...รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมดที่ว่ามา อาจเกิดจากความตั้งใจของทีมผู้สร้าง หรือไม่ก็อาจเป็นเพียงความฟุ้งซ่านจับแพะชนแกะของคนดูคนนี้เอง แต่ถ้าเนื้อหามันทำให้นึกฟุ้งไปไกลได้ขนาดนั้น หนังสูตรสำเร็จของฮอลลีวู้ดเรื่องนี้ก็น่าจะคุ้มค่าตั๋วอยู่พอสมควร

 

- ซาเสียวเอี้ย -

 

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
โดย… พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
Cinemania
      ซาเสียวเอี้ย   แต่ไหนแต่ไรมา...ระบบการศึกษาในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกมักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการ ‘ดับฝัน’ ของคนวัยหนุ่มสาว เพราะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้นที่จะ ‘เรียนรู้’ สิ่งแปลกใหม่ในวัยเยาว์ถูกลบเลือนหายไปในกรอบ-กฎเกณฑ์-เหตุผล-เงื่อนไข และข้อเท็จจริงทั้งหลายทั้งปวง (ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีโอกาสเกิดมาใช้ชีวิตบนโลกก่อนหน้าเรา...)   กระนั้น...ใครหลายคนก็ยังยินดีเดินตามแนวทางหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกวางไว้แล้วโดยไม่เคยคิดตั้งคำถาม เพื่อแลกเปลี่ยนกับ ‘การยอมรับ’ จากสังคมรอบข้าง...เพื่อที่มนุษย์ทั้งหลาย (ซึ่งเป็นสัตว์สังคม)…
Cinemania
        ซาเสียวเอี้ย   ‘ชาร์ลี วิลสัน’ ตายแล้ว...   แม้การตายของเขาจะไม่ได้ทำให้โลกสะท้านสะเทือนอะไรมากนัก แต่ก็มีความหมายสลักสำคัญมิใช่น้อย เพราะบทบาทของวิลสันในสมัยที่เขายังหนุ่มแน่นและดำรงตำแหน่ง สว.รัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา เป็นประเด็นให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดว่าควรจะจดจำเขาไว้ในฐานะอะไร...   บ้างก็ว่า ชาร์ลี วิลสัน คือ ‘นักการเมืองเจ้าสำราญ’ เจ้าของฉายา Good Time Charlie ผู้มีชีวิตโลดโผนเต็มไปด้วยสีสัน หรือเป็น ‘วีรบุรุษชาวอเมริกัน’ ผู้ช่วยให้นักรบมูจาฮิดีนขับไล่กองทัพสหภาพโซเวียตอันโหดร้ายป่าเถื่อนไปจากอัฟกานิสถาน…
Cinemania
themadmon หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น บทสะท้อนย้อนคิดหลังจากการชมภาพยนตร์เรื่อง Air Doll ผมในฐานะที่เป็นผู้เขียนจงใจจะหยิบเลือกประเด็น (ซึ่งผ่านการตีความของผม) โดยไม่ได้อ้างอิงอย่างชัดเจนไปสู่ตัวภาพยนตร์ในแต่ละฉากแต่ละตอน โดยหวังว่าผู้ที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ก็สามารถอ่านได้ และผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วจะสามารถระลึกถึงฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้ด้วยเช่นกัน     หากลองพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในสามประโยค  ผมคงพูดสั้นๆ ว่า.. “ผู้คนหลากหลาย เราต่างก็ว่างเปล่า และเหงามากมาย”  เพราะอะไรน่ะหรือ …
Cinemania
  บริวารเงา   ขงจื๊อ เป็นชื่อหนึ่งที่ผมได้ยินมาเนิ่นนาน ถ้าจำไม่ผิดอาจจะเป็นหนังจีนกำลังภายในสักเรื่องหนึ่งที่อ้างชื่อนี้ขึ้นมาเพื่อพูดถึงปรัชญาในเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร ผมมารู้จักเขาอีกครั้งในห้องสมุดช่วงที่กำลังสนใจพวกวิชาปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ฯลฯ  แต่ผมกลับไปชอบปรมาจารย์จีนอีกคนคือ เล่าจื๊อ เสียมากกว่า เพราะว่าแกมีความคิดที่ 'แนว' ดี (อารมณ์ของวัยรุ่นเช่นนี้แล) อีกนัยหนึ่งก็ดูเพี้ยน ๆ อีกนัยหนึ่งก็มีอารมณ์ศิลปินกว่าขงจื๊อ ขณะที่ผมเห็นว่าขงจื๊อเอาแต่พร่ำบ่นอะไรที่เป็นหลักจริยธรรมน่าเบื่อ ๆ ซึ่งความน่าเบื่อนี้ไม่ใช่ความผิดของขงจื๊อเสียทีเดียว…
Cinemania
เดือนสองจันทร์   October Sonata: รักที่รอคอย
Cinemania
สุพิชชา โมนะตระกูล ตลอดช่วงเวลาขณะชมภาพยนตร์สารคดี “Our Daily Bread” ผู้เขียนรู้สึกตะลึงกับภาพที่ได้รับชม โดยสาเหตุหลักหาใช่ “ความงาม” ของสีสันหรือองค์ประกอบศิลป์แบบภาพที่ผู้กำกับภาพบรรจงจัดวางอย่างภาพยนตร์ที่มีภาพงามเรื่องอื่นๆ...หากเป็น “ความจริง” ของภาพที่ตรึงผู้เขียนไว้ตลอดระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
Cinemania
  สาวกท่านเป้า ขณะที่กำลังตุรัดตุเหร่ในร้านหนังสือแอร์เย็นเฉียบ เพื่อตามหานิตยสารมือถือฉบับหนึ่ง บังเอิญเหลือบไปเห็นนิตยสารฉบับหนึ่งที่นำภาพโปรโมทภาพยนตร์ “วงษ์คำเหลา” มาขึ้นปก แต่เมื่อหยิบมาจึงรู้ว่าเป็นปกหลัง แต่ปกหน้าก็ยังเป็นวงษ์คำเหลาอยู่ดี จึงเริ่มรู้ตัวว่าถูกหลอกแดกเสียแล้ว มีที่ไหนวางขายนิตยสารโดยเอาปกหลังเป็นตัวชูโรง นิตยสารฉบับนั้นคือนิตยสารภาพยนตร์ของกลุ่มคนทวนกระแสที่ชื่อว่า “ไบโอสโคป”
Cinemania
   เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ ‘สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ ‘เศรษฐีใหม่' หรือ ‘ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง ‘บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ‘ปม'…
Cinemania
 'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...‘ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น ‘คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...บุรุษไปรษณีย์นามว่า ‘มาริโอ โรปโปโร':::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ‘ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538…
Cinemania
  ..mad mon..::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์:: 1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep)…
Cinemania
(เขียนเมื่อ 31 ธ.ค.51)จันทร์ ในบ่อ สิ้นปีกันเสียที บรรยากาศตึงๆ ปีนี้อาจทำให้ใครหลายคนอึดอัดและทำท่าจะลากยาวไปถึงปีหน้า ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ  คนสู้ๆ กับปัญหาที่รุมเร้า แต่ถ้าเครียดมากลองผ่อนคลายกันด้วยการหาหนังดูมาสักเรื่องสองเรื่อง จะซื้อ จะเช่ามานั่งดูที่บ้านหรือจะออกไปดูตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็ได้ ลองออกจากโลกความจริงไปอยู่ในโลกอื่นสักชั่วโมงสองชั่วโมงอาจจะสบายใจขึ้นส่วนถ้าใครยังไม่รู้จะดูเรื่องอะไร ที่ไหนอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมหนังรับปีใหม่มาฝาก เป็นหนังฟรีกลางแปลงครับหลายคนคงไม่ค่อยทราบว่าที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดเทศการหนังกลางแปลงกันทุกปี ในวันที่ 7-8-9 มกราคม 2552…