Skip to main content


themadmon

หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น บทสะท้อนย้อนคิดหลังจากการชมภาพยนตร์เรื่อง Air Doll ผมในฐานะที่เป็นผู้เขียนจงใจจะหยิบเลือกประเด็น (ซึ่งผ่านการตีความของผม) โดยไม่ได้อ้างอิงอย่างชัดเจนไปสู่ตัวภาพยนตร์ในแต่ละฉากแต่ละตอน โดยหวังว่าผู้ที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ก็สามารถอ่านได้ และผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วจะสามารถระลึกถึงฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้ด้วยเช่นกัน

 

 

หากลองพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในสามประโยค  ผมคงพูดสั้นๆ ว่า..
“ผู้คนหลากหลาย เราต่างก็ว่างเปล่า และเหงามากมาย”
 

เพราะอะไรน่ะหรือ  เพราะผมเข้าใจว่า.. 

..ในสังคมสมัยใหม่ที่ผู้คนต่างก็แตกกระเจิงกระจัดกระจายกันไปคนละทิศละทางแม้จะอยู่ร่วมในพื้นที่เดียวกัน มันคงเป็นภาพที่ฉายให้เห็นของลักษณะการเคลื่อนตัวของความคิดและการดำรงอยู่แบบปัจเจกบุคคล ในแง่หนึ่งมันสร้างอิสระ มันอาจเป็นอิสระที่จะล่องลอยและโบยบินไปไหนต่อไหน อิสรภาพนั้นอาจเป็นสภาวะที่แสนจะสวยงามเหลือเกิน แต่ในความอิสระบางครั้งมันก็เบาหวิว มันอาจเบาหวิวเกินจะทานทนเช่นกัน ปัจเจกบุคคลและความโดดเดี่ยวจึงเป็นของคู่กัน พร้อมๆ กับที่อิสรภาพและความเหงาก็คงเป็นของคู่กันเช่นกัน แต่เมื่อมันล้วนแต่บางเบามันจึงไม่มีความเศร้าและความเหงาที่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับที่ไม่มีความเห็นหรืองานเขียนใดสมบูรณ์แบบ 

บางครั้งเรามองสิ่งต่างๆ ในลักษณะของการ  “แทนที่” เพื่อหวังจะทดแทนสิ่งที่เคยมี แต่แท้ที่จริงมันไม่มีอะไรแทนที่อะไรได้อย่างสมบูรณ์ มันคงมีเพียงความคล้ายบางอย่างที่เราหลงว่าต่างแทนที่กันได้ ในความเหงาเราอาจหาบางสิ่งบางอย่างมาเติมเต็ม แต่มิใช่หรอกหรือว่ามันไม่มีอะไรที่เติมเต็มได้ การเติมให้เต็มเป็นดังสภาวะที่ไม่มีวันเกิดขึ้นจริงในตอนสุดท้าย การพยายามเติมให้เต็มเป็นกระบวนการอันไม่รู้จบต่างหาก เพราะในท้ายที่สุด มันไม่เคยมีสิ่งใดสมบูรณ์ในกระบวนการเหล่านั้น เรามักหลงละเมอเพ้อพกเพ้อฝันกันไปเองทั้งนั้นว่ามีอะไรบางอย่างเข้ามาเติมความว่างเปล่าให้เต็มได้ และสิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นสิ่งย้ำเตือนให้เรารู้ว่าเราต่างก็ผิดพลาดอยู่เสมอๆ ความขาดไม่มีวันจะเหือดหายไป เพราะเราต่างก็ขาดอะไรบางอย่างอยู่เสมอ  

แต่ก็ใช่ว่ามันจะสิ้นหวังไปทั้งหมดเพราะคงกล่าวได้ว่าความหมายมันเกิดขึ้นในกระบวนการเติมเต็มนั้น ในระหว่างที่เราพยายามจะเติมให้เต็ม โดยหวังว่ามันจะเต็ม แม้มันจะไม่มีทางเต็ม แต่มันก็ทำให้เรามีความหมายขึ้นมา แม้เพียงในบางขณะก็ตาม มันจึงไม่มีอะไรไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง แต่มันก็ไม่มีอะไรที่สวยงามสมบูรณ์  

จนกว่าเราจะมองมันอย่างให้คุณค่า ความดี ความไม่ดี ความสุข ความเศร้า ความเหงา ความโดดเดี่ยว ความเจ็บปวด ต่างๆ นานา ราวกับว่ามันจะเป็นขั้นตอนภายหลัง แต่เราก็ทำให้มันเกิดขึ้นเป็นจริงอย่างพร้อมๆ กัน หากเพียงเราทำความเข้าใจขั้นตอนเหล่านี้อย่างชะลอเลื่อนเวลา แม้เราจะไม่สามารถชะงักการเดินของเวลาได้จริงก็ตาม แต่มิใช่หรือว่า เวลาก็เป็นเพียงแค่สิ่งที่เราให้ความหมายลงไปกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่เราจะทำความเข้าใจมันผ่านสิ่งที่เราเรียกกันว่าเวลา การทำความเข้าใจอย่างละเอียดละออ มันคงทำให้เราสะท้อนย้อนคิดถึงสิ่งต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป และเมื่อถึงตอนนั้นเราอาจเห็นว่าเราต่างก็สร้างความหมายให้กับสิ่งต่างๆ ตลอดเวลา 

และเมื่อมองย้อนหลังกลับไปเราคงพบได้ไม่ยากว่าชีวิตนั้นช่างว่างเปล่า เพราะความหมายต่างๆ ไม่ได้เป็นสิ่งที่อยู่ภายใน แต่ความหมายของชีวิตอาจอยู่กับสิ่งเกี่ยวเนื่อง อยู่กับสิ่งรายล้อม ที่ประกอบและแฝงฝังให้ตัวตนเกิดความหมายขึ้นมาได้ เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แม้เราจะโดดเดี่ยวเพียงไรก็ตาม

 

 
..ในหลายๆครั้ง ไม่เพียงแต่ตัวเอง แต่เราอาจพบว่าเราให้ความหมายแก่สิ่งต่างๆ และผู้คนที่เรารู้จักพบเจอด้วย และในหลายๆ ครั้งเราก็อาจให้ความหมายแก่สิ่งต่างๆ นั้นเพียงแค่ในแง่มุมของสิ่งที่เขาหรือเธอเหล่านั้น “ทำ” หรือพูดให้กลายเป็นสิ่งของมากไปกว่านั้นคือ “ใช้งาน” อะไรบางอย่างได้ และมันไม่ใช่แค่เพียง “ใช้” ได้ แต่ในชีวิตในโลกทุนนิยมอุตสาหกรรมภายใต้วิธีคิดแบบเสรีนิยมใหม่ ของทุกชิ้นหรือคนทุกคนต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพ มันจึงเป็นสิ่งที่ “ใช้ได้” เราจึงต่างก็กลายเป็นเพียงแค่แรงงานที่สามารถสร้างความหมายให้กับชีวิตได้เพียงแค่จากงานที่ทำ หากผลิตภาพลดลง สร้างรายได้ได้น้อยลง (หรือทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น) ฯลฯ เราก็คงกลายเป็นแค่ชิ้นส่วนที่เสื่อมค่า พร้อมที่จะถูกเขี่ยทิ้งไปจากสายพาน เพื่อเปิดทางให้สิ่งใหม่หรือคนใหม่ๆ เข้ามาแทนที่อยู่ทุกอึดใจ 

ดังนั้นเมื่อเรามองสิ่งต่างๆ เพียงแค่หน้าที่  เราจึงควานหาสิ่งแทนที่ที่เราคิดว่ามันน่าจะดีกว่าสิ่งเดิมอยู่เสมอๆ เพราะเรามองสิ่งต่างๆ เพียงแง่เดียวคือในแง่ของหน้าที่การทำงานหรือเปล่าเราจึงลดทอนกันและกัน ลดทอนความสัมพันธ์ระหว่างกันให้เป็นแต่เพียงความสัมพันธ์ของหน้าที่ที่ทำให้แก่กัน นี่หรือเปล่าที่เป็นจุดเริ่มต้นที่เราทำร้ายกัน บางทีเราอาจรู้ตัวแต่บางทีก็ไม่ แต่ในเรื่องราวเหล่านั้นเราต่างก็กัดกินกันไปตลอดเวลา ทำให้ใครต่อใครรอบกายเหงาและโดดเดี่ยวท่ามกลางการอยู่ร่วมกันตลอดเวลาเช่นกัน 

ในความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ใครหลายคนอาจเรียกว่าความรัก  แต่ละคนก็คงมีจินตภาพถึงความสัมพันธ์และความรักที่แตกต่างออกไป ใครหลายคนคงมองแต่เพียงการมีหน้าที่บางอย่างของความสัมพันธ์และคู่สัมพันธ์ คู่รักของเธอหรือเขาอาจกลายเป็นแต่เพียงผู้ทำหน้าที่บางอย่าง เคยหรือไม่ที่เราลดทอนอีกคนหนึ่งให้กลายเป็นแต่เพียงหน้าที่บางหน้าที่ และก็พร้อมที่จะเขี่ยสิ่งเดิมๆ ทิ้งไปเมื่อพบสิ่งใหม่ที่คาดว่าจะทำหน้าที่ได้ดีกว่า ความสัมพันธ์และความรักในแง่มุมหนึ่งมันก็กลายเป็นแต่เพียงรูปแบบของการผลิต ที่เราพร้อมจะเปลี่ยนปัจจัยการผลิตที่เราคิดกันไปเองว่ามันน่าจะดีกว่าเพื่อมาแทนที่เพื่อให้ได้ผลิตภาพมากขึ้น  

และหากจะพูดเลยไปกว่านั้นสักนิดหนึ่ง หากในกระบวนการผลิตเราสามารถคิดคำนวณต้นทุนกำไรได้อย่างละเอียดลึก ซึ้งเห็นเป็นขั้นเป็นตอนเป็นฉากๆ แต่ในความคุ้มค่าของความสัมพันธ์หรือความรักนั้น เราเคยคิดคำนวณได้อย่างถูกต้องด้วยหรือ  เราจะแน่ใจได้มากน้อยแค่ไหนว่าอะไรบ้างที่จะเป็นตัวแปรในสมการ อะไรจะถ่วงน้ำหนักมากน้อยเพียงไร หรือเพราะสิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่สิ่งที่จะมาคิดคำนวณกันได้ และเมื่อไรก็ตามที่เราพยายามชั่งน้ำหนักถูกผิดตรงนี้ มันอาจผิดตั้งแต่ต้นแล้วก็ได้ และในความเข้าใจกันอย่างผิดๆ หรือเข้าใจเพียงแต่ในแง่มุมของตัวเอง มันอาจทำให้เราทำร้ายกัน ทั้งโดยรู้ตัว โดยที่ไม่ทันจะรู้ตัว และโดยไม่รู้ตัว 

ขณะที่ในความสัมพันธ์และกิจกรรมทางเพศ  อวัยวะเพศชายที่สามารถแข็งชูชัน อวัยวะเพศหญิงที่ยืดขยายและมีน้ำหล่อลื่น  หรืออาจหมายถึงรูทวาร (ไม่ว่าจะของใครเพศใดก็ตาม) คงเป็น “หน้าที่” ในทำนองเดียวกัน การมีสมรรถภาพหรือความสามารถในการร่วมเพศ จึงเป็นทั้งวิถีทางและเป็นเป้าหมาย (หรือความสำเร็จและการรักษา/ยืนยันความสำเร็จ) ในตัวเอง ในชีวิตทางเพศการสามารถ/ความสามารถในการร่วมเพศคงเป็นความหมายสำคัญและคงเปรียบได้ดังกิจกรรมที่ให้ความหมายของชีวิต การไม่สามารถร่วมเพศได้ หรือสมรรถภาพที่ด้อยลงไป คงเปรียบได้กับความป่วยไข้ในชีวิตและการเดินทางสู่ความตายด้วยเส้นทางที่เจ็บป่วยและเจ็บปวด หากความหมายของชีวิตขึ้นอยู่กับการทำงาน ชีวิตทางเพศก็คงขึ้นอยู่กับการทำงานทางเพศอันหมายถึงความสามารถในการร่วมเพศได้ 

ไม่เพียงแต่ชีวิตการทำงานหรือในความสัมพันธ์ แต่ชีวิตของคนเราก็คงดำเนินไปในท่วงทำนองคล้ายๆ กัน เมื่อความตายซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยแน่นอนว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อไร แต่มันก็แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นกับทุกคนนั้นเป็นดังปลายทางของชีวิต ในการเดินทางไปสู่ความตายเราต่างค่อยๆ เสื่อมสลายไปตามเส้นทางนั้น หรือพูดอีกอย่างก็คือตั้งแต่เราถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกเราก็กำลังใกล้ความตายเข้าไปเรื่อยๆ วันเกิดและวันคล้ายวันเกิดในปีต่อๆ มามันจึงเป็นทั้งการระลึกถึงจุด เริ่มต้นและบอกเราว่าเราเดินทางมาถึงจุดไหนๆ ในหนทางที่เรียกว่าชีวิต การเฉลิมฉลองการเกิด/วันเกิดอย่างใหญ่โตมันคงเป็นทั้งความสวยงามและความน่ารังเกียจ วันเกิดจึงเป็นทั้งวันแห่งความสุขและวันแห่งความน่าสะอิดสะเอียน ในทางหนึ่งวันเกิด/วันคล้ายวันเกิดคงเปรียบได้กับการเตือนถึงสังขาร ที่เปลี่ยนแปรไปตามเวลา แต่ในอีกทางหนึ่งที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กันมันคือสารที่พยายามจะบอกว่าเรากำลังใกล้เดินทางไปสู่ความตายมากขึ้นเรื่อยๆ 

ในแง่นี้ความตายจึงสวยงาม หรือพูดอีกแบบหนึ่งเราอาจมองได้ว่าความตายนั้นช่างสวยงามเพราะความตายอาจเปรียบกับการปลดปล่อยตัวตนที่ว่างกลวงไร้ความหมายในตัวเอง ปลดปล่อยชีวิตที่ความหมายของชีวิตต้องขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น/คนอื่นอยู่ตลอดเวลา ปัจเจกบุคคลสมบูรณ์แบบไม่อาจเกิดขึ้นได้พร้อมๆ กับที่สัตว์สังคมสมบูรณ์แบบก็ไม่อาจมีอยู่จริง โครงสร้างสังคมอาจกำหนดเราแต่มันก็ไม่มีทางกำหนดได้สมบูรณ์ เราต่างสร้างและเสริมกันอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับที่เราต่างก็กัดกินกรีดเฉือนกันอยู่ตลอด เราจึงทั้งเหงาและเศร้าไม่มากไม่น้อยไปกว่ากัน แต่เราก็มีอิสระไม่มากไม่น้อยไปกว่ากัน ชีวิตและความตายอาจเป็นด้านตรงข้ามของกันและกัน แต่มันก็เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน 

แต่บางทีชีวิตไม่ได้มีแค่ความหมายในเรื่องของความหมาย แต่มันยังมีชีวิตที่เป็นเนื้อเป็นหนังเป็นตัวเป็นตน มันคือความหมายในอีกแบบอีกลักษณะ เพราะคนเรามี “หัวใจ” ไม่ใช่แค่ในด้านความรู้สึก แต่คือหัวใจเป็นก้อนๆ ที่เต้นตุบๆ อยู่ในทรวงอก คอยสูบฉีดให้ชีวิตในแต่ละชั่วขณะ และมากไปกว่านั้นคือมันไม่ใช่แค่หัวใจ แต่ต้องมีลมหายใจหรืออากาศด้วยที่ทำให้คนเรามีชีวิตดำรงตนและดำเนินไป ลมหายใจและหัวใจเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถสร้างความหมายให้กับชีวิตไปได้เรื่อยๆ และความหมายของชีวิตก็ล้วนต่อเติมหรือเป็นแรงผลักดันให้เรายังคง หายใจ สองด้านของความหมายของชีวิตดำเนินไปด้วยกัน มันจึงไม่ใช่แค่ชีวิตแต่เป็นชีวิตชีวาด้วยหากการขาดอากาศหายใจทำให้เราไม่สามารถมีชีวิตต่อไป การขาดกิจกรรมที่ให้ความหมายมันก็คงเปรียบได้กับการตายในทางสังคม 

แม้ภาพยนตร์เรื่อง Air Doll ในแง่หนึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการสวมใส่ความเป็นมนุษย์ลงไปในสิ่งของ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ฉายภาพด้านกลับให้เราเห็นว่าเราก็ต่างทำให้ผู้คนกลายไปเป็นสิ่งของด้วยกันทั้งนั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงไม่ได้เป็นแต่เพียงเรื่องราวของตุ๊กตายางที่มีชีวิตขึ้นมา แต่ใช่หรือไม่ว่าในหลายๆ ครั้งเราก็อาจเคยทำให้คนที่มีชีวิตและเลือดเนื้อกลายไปเป็นเพียงแค่ตุ๊กตายางเป่าลมเช่นกัน ถึงกระนั้น คงมิอาจปฏิเสธว่าชีวิตเราท่านทั้งหลายก็ดำเนินไปในแบบนั้น 

 

 

ป.ล. ในทำนองเดียวกัน ข้อเขียนชิ้นนี้ก็คงหนีไม่พ้นการลดทอนให้ภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็นเพียง “สิ่ง” ที่ใช้ถูกอธิบาย และผมในฐานะผู้กระทำการเขียนก็คงถูกประเมินในกรอบของความสามารถในการถ่ายทอด ความหมายของผมในฐานะผู้เขียนข้อเขียนชิ้นนี้ก็ทั้งถูกให้และถูกลดทอนภายใต้ข้อเขียนชิ้นนี้เฉกเช่นเดียวกัน เพราะในท้ายที่สุด ไม่ว่าผม หรือคุณ หรือใคร ข้อเขียนชิ้นนี้หรือข้อเขียนชิ้นไหนๆ รวมไปถึงภาพยนตร์เรื่องนี้และภาพยนตร์ทั้งหมดทั้งมวล เมื่อถูกหยิบมาพูดหรือเขียน มันก็ถูกหยิบเลือก ฉวยฉุด ยื้อยุด ทั้งหมดทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ต่อคำถามเรื่องในการดำเนินชีวิตไปในโลกว่าเราจะหลีกหนี “หน้าที่” และ “การแทนที่” ไปได้หรือไม่อย่างไร คงเป็นคำถามที่เราท่านคงต้องขบคิดกันต่อไป หรือกระทั่งว่าจะหลีกหนีไปเพื่ออะไรก็คงเป็นคำถามสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน

 

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
โดย… พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
Cinemania
      ซาเสียวเอี้ย   แต่ไหนแต่ไรมา...ระบบการศึกษาในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกมักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการ ‘ดับฝัน’ ของคนวัยหนุ่มสาว เพราะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้นที่จะ ‘เรียนรู้’ สิ่งแปลกใหม่ในวัยเยาว์ถูกลบเลือนหายไปในกรอบ-กฎเกณฑ์-เหตุผล-เงื่อนไข และข้อเท็จจริงทั้งหลายทั้งปวง (ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีโอกาสเกิดมาใช้ชีวิตบนโลกก่อนหน้าเรา...)   กระนั้น...ใครหลายคนก็ยังยินดีเดินตามแนวทางหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกวางไว้แล้วโดยไม่เคยคิดตั้งคำถาม เพื่อแลกเปลี่ยนกับ ‘การยอมรับ’ จากสังคมรอบข้าง...เพื่อที่มนุษย์ทั้งหลาย (ซึ่งเป็นสัตว์สังคม)…
Cinemania
        ซาเสียวเอี้ย   ‘ชาร์ลี วิลสัน’ ตายแล้ว...   แม้การตายของเขาจะไม่ได้ทำให้โลกสะท้านสะเทือนอะไรมากนัก แต่ก็มีความหมายสลักสำคัญมิใช่น้อย เพราะบทบาทของวิลสันในสมัยที่เขายังหนุ่มแน่นและดำรงตำแหน่ง สว.รัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา เป็นประเด็นให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดว่าควรจะจดจำเขาไว้ในฐานะอะไร...   บ้างก็ว่า ชาร์ลี วิลสัน คือ ‘นักการเมืองเจ้าสำราญ’ เจ้าของฉายา Good Time Charlie ผู้มีชีวิตโลดโผนเต็มไปด้วยสีสัน หรือเป็น ‘วีรบุรุษชาวอเมริกัน’ ผู้ช่วยให้นักรบมูจาฮิดีนขับไล่กองทัพสหภาพโซเวียตอันโหดร้ายป่าเถื่อนไปจากอัฟกานิสถาน…
Cinemania
themadmon หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น บทสะท้อนย้อนคิดหลังจากการชมภาพยนตร์เรื่อง Air Doll ผมในฐานะที่เป็นผู้เขียนจงใจจะหยิบเลือกประเด็น (ซึ่งผ่านการตีความของผม) โดยไม่ได้อ้างอิงอย่างชัดเจนไปสู่ตัวภาพยนตร์ในแต่ละฉากแต่ละตอน โดยหวังว่าผู้ที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ก็สามารถอ่านได้ และผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วจะสามารถระลึกถึงฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้ด้วยเช่นกัน     หากลองพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในสามประโยค  ผมคงพูดสั้นๆ ว่า.. “ผู้คนหลากหลาย เราต่างก็ว่างเปล่า และเหงามากมาย”  เพราะอะไรน่ะหรือ …
Cinemania
  บริวารเงา   ขงจื๊อ เป็นชื่อหนึ่งที่ผมได้ยินมาเนิ่นนาน ถ้าจำไม่ผิดอาจจะเป็นหนังจีนกำลังภายในสักเรื่องหนึ่งที่อ้างชื่อนี้ขึ้นมาเพื่อพูดถึงปรัชญาในเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร ผมมารู้จักเขาอีกครั้งในห้องสมุดช่วงที่กำลังสนใจพวกวิชาปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ฯลฯ  แต่ผมกลับไปชอบปรมาจารย์จีนอีกคนคือ เล่าจื๊อ เสียมากกว่า เพราะว่าแกมีความคิดที่ 'แนว' ดี (อารมณ์ของวัยรุ่นเช่นนี้แล) อีกนัยหนึ่งก็ดูเพี้ยน ๆ อีกนัยหนึ่งก็มีอารมณ์ศิลปินกว่าขงจื๊อ ขณะที่ผมเห็นว่าขงจื๊อเอาแต่พร่ำบ่นอะไรที่เป็นหลักจริยธรรมน่าเบื่อ ๆ ซึ่งความน่าเบื่อนี้ไม่ใช่ความผิดของขงจื๊อเสียทีเดียว…
Cinemania
เดือนสองจันทร์   October Sonata: รักที่รอคอย
Cinemania
สุพิชชา โมนะตระกูล ตลอดช่วงเวลาขณะชมภาพยนตร์สารคดี “Our Daily Bread” ผู้เขียนรู้สึกตะลึงกับภาพที่ได้รับชม โดยสาเหตุหลักหาใช่ “ความงาม” ของสีสันหรือองค์ประกอบศิลป์แบบภาพที่ผู้กำกับภาพบรรจงจัดวางอย่างภาพยนตร์ที่มีภาพงามเรื่องอื่นๆ...หากเป็น “ความจริง” ของภาพที่ตรึงผู้เขียนไว้ตลอดระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
Cinemania
  สาวกท่านเป้า ขณะที่กำลังตุรัดตุเหร่ในร้านหนังสือแอร์เย็นเฉียบ เพื่อตามหานิตยสารมือถือฉบับหนึ่ง บังเอิญเหลือบไปเห็นนิตยสารฉบับหนึ่งที่นำภาพโปรโมทภาพยนตร์ “วงษ์คำเหลา” มาขึ้นปก แต่เมื่อหยิบมาจึงรู้ว่าเป็นปกหลัง แต่ปกหน้าก็ยังเป็นวงษ์คำเหลาอยู่ดี จึงเริ่มรู้ตัวว่าถูกหลอกแดกเสียแล้ว มีที่ไหนวางขายนิตยสารโดยเอาปกหลังเป็นตัวชูโรง นิตยสารฉบับนั้นคือนิตยสารภาพยนตร์ของกลุ่มคนทวนกระแสที่ชื่อว่า “ไบโอสโคป”
Cinemania
   เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ ‘สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ ‘เศรษฐีใหม่' หรือ ‘ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง ‘บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ‘ปม'…
Cinemania
 'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...‘ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น ‘คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...บุรุษไปรษณีย์นามว่า ‘มาริโอ โรปโปโร':::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ‘ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538…
Cinemania
  ..mad mon..::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์:: 1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep)…
Cinemania
(เขียนเมื่อ 31 ธ.ค.51)จันทร์ ในบ่อ สิ้นปีกันเสียที บรรยากาศตึงๆ ปีนี้อาจทำให้ใครหลายคนอึดอัดและทำท่าจะลากยาวไปถึงปีหน้า ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ  คนสู้ๆ กับปัญหาที่รุมเร้า แต่ถ้าเครียดมากลองผ่อนคลายกันด้วยการหาหนังดูมาสักเรื่องสองเรื่อง จะซื้อ จะเช่ามานั่งดูที่บ้านหรือจะออกไปดูตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็ได้ ลองออกจากโลกความจริงไปอยู่ในโลกอื่นสักชั่วโมงสองชั่วโมงอาจจะสบายใจขึ้นส่วนถ้าใครยังไม่รู้จะดูเรื่องอะไร ที่ไหนอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมหนังรับปีใหม่มาฝาก เป็นหนังฟรีกลางแปลงครับหลายคนคงไม่ค่อยทราบว่าที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดเทศการหนังกลางแปลงกันทุกปี ในวันที่ 7-8-9 มกราคม 2552…