Skip to main content

(เขียนเมื่อ 31 ธ.ค.51)
จันทร์ ในบ่อ 

สิ้นปีกันเสียที บรรยากาศตึงๆ ปีนี้อาจทำให้ใครหลายคนอึดอัดและทำท่าจะลากยาวไปถึงปีหน้า ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ  คนสู้ๆ กับปัญหาที่รุมเร้า แต่ถ้าเครียดมากลองผ่อนคลายกันด้วยการหาหนังดูมาสักเรื่องสองเรื่อง จะซื้อ จะเช่ามานั่งดูที่บ้านหรือจะออกไปดูตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็ได้ ลองออกจากโลกความจริงไปอยู่ในโลกอื่นสักชั่วโมงสองชั่วโมงอาจจะสบายใจขึ้น

ส่วนถ้าใครยังไม่รู้จะดูเรื่องอะไร ที่ไหนอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมหนังรับปีใหม่มาฝาก เป็นหนังฟรีกลางแปลงครับ

หลายคนคงไม่ค่อยทราบว่าที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดเทศการหนังกลางแปลงกันทุกปี ในวันที่ 7-8-9 มกราคม 2552 นี้ก็วนมาอีกรอบเข้าสู่ปีที่ 15 ใช้ชื่องานว่า มุง หนัง กลาง - แปลงชวนให้ไปมุงดูกัน มีทั้ง ลิเกออกแขก ออกร้าน และดนตรีอะคูสติกเบาๆ จากเพลงประกอบหนังเพื่อเพิ่มบรรยากาศตั้งแต่ยามเย็นไปถึงย่ำค่ำ ถ้าไม่มีอะไรดูก็ดูนักศึกษาไปก่อนก็ได้ เพราะบางทีนักศึกษาที่นี่ก็ แปลกเหมือนกัน

 
ปีนี้มีหนังน่าสนใจหลายเรื่อง หลายรส หลายอายุ เรียกได้ว่ามีทั้งหนังเก่า ใหม่ ไทยเทศคละกันในลักษณะแบบงานวัด แม้แต่หนังเกาหลีเทรนด์หนังล่าสุดก็มีมาฉายให้ลองตลาด

 

วันที่ 7 มกราคม 2552 เปิดเทศกาลด้วย เพื่อเพื่อน เพื่อฝัน เพื่อวันเกียรติยศสำหรับเกียรติยศแก่ พิเศษ สังข์สุวรรณ ที่เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งที่ผ่านมา พิเศษ สังข์สุวรรณ ได้ฝากฝีมือการแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ไว้ให้วงการหนังและได้รับรางวัลจากการทำเพลงหลายเรื่อง อาทิ ทองพูน โคกโพธิ์, มือปืน, มือปืน 2 สาละวิน, กล่อง, หมานคร, เสียดาย, คนเลี้ยงช้าง ฯลฯ

ส่วนในเรื่องนี้เป็นบทบาทของ พิเศษ สังข์สุวรรณ ในฐานะนักแสดง พิเศษรับบทเป็น ลุงไม้สำหรับคนที่คิดถึงนักแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์มือดีผู้เดินทางจากไปผู้นี้คงอิ่มใจที่จะได้เห็นเขากลับมาเคลื่อนไหวพูดคุยอีกครั้งแม้บนแผ่นฟิล์มก็ตาม

เรื่องต่อมาที่จะฉายเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นน่ารักๆ เรื่อง ‘Wall – E’ หุ่นยนต์เก็บขยะน้อยกับสาวสุดเฉี่ยวที่เพิ่งสร้างความประทับใจในโรงหนังเมื่อไม่นานมานี้จะกลับมาอีกครั้ง และคืนแรกปิดท้ายด้วยภาพยนตร์เกาหลีสุดโรแมนติก ‘The Classic’ ใครที่เคยดูแล้วก็ต้องพูดตรงกันว่า มัน..คลาสสิก

วันที่ 8 มกราคม 2552 เริ่มต้นด้วยหนังการ์ตูน Kung Fu Panda’ ซึ่ง นพพร ชูเกียรติศิริชัย เคยกล่าวถึงก่อนหน้านี้ใน Cinemania แห่งนี้ กลับไปหาดูบทวิจารณ์ก่อนชมได้ ในขณะที่เรื่องต่อมาคอกัญชาและสุราไม่น่าพลาด เพราะมันคือเรื่อง พันธุ์หมาบ้าอันเป็นภาพสะท้อนวัยหนุ่มที่ใช้ชีวิตอันสุดบรรเจิดเพริศพิไล จากบทประพันธ์อมตะของ ชาติ กอบจิตติคู่หู ไท (อำพล ลำพูน) และออตโต้ (พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง)รวมทั้งผองเพื่อนจะมาบ่มอารมณ์หนุ่มสาวจนเป็นบรั่นดีรสนุ่ม วิสกี้รสแรง และหวานเอียนควันพันลำและบ้องตัน

ใครมาดูจะนำไอ้ที่ว่าติดมืออาจเข้าทีและเข้าดีกับหนัง แต่เรื่องคุกตะรางที่ตามมานั้นขอให้เป็นเรื่องตัวใครตัวมันนะครับ

ปิดท้ายวันกันด้วย รักแห่งสยามที่อาจถือว่าเป็นไฮไลท์ของวันและอาจของเทศกาลเลยก็ได้ เพราะเป็นหนังที่ยังถือว่าสดใหม่เพิ่งผ่านตา มีกระแสฮือฮาและตอบรับดีเยี่ยม อีกทั้งได้รับการยกให้เป็นหนังแห่งปี 2550 จากนิตยสารไบโอสโคป

หนังเรื่องนี้จึงน่าสนใจทีเดียวที่จะตั้งคำถามว่า หนังรักเรื่องหนึ่งทำไมจึงประสบความสำเร็จสูงมาก เป็นเพราะเทคนิคทางการตลาดที่ปกปิดประเด็นหลักของหนังไว้อย่างเหนียวแน่นก่อนการฉายที่ทำให้รู้สึกว่าเป็นหนังรักธรรมดา แต่พอดูก็ต้องรู้สึกผิดคาดเมื่อความรักมันมีประเด็นซับซ้อนจนต้องบอกต่อเล่าลือกันปากต่อปาก

หรือเป็นเพราะนักวิชาการและนักวิจารณ์ที่สามารถจับทฤษฎีมาอธิบายได้อย่างเข้าที่เข้าทางโดยเฉพาะประเด็นชายขอบและเพศสภาพ หรืออาจเป็นเพราะเพลงประกอบที่ลงตัวในการพูดแทนความรู้สึกของตัวละครได้ หรือจะเป็นเพราะเด็กดาราหน้าใส (มาก) หรือที่สุดแล้วองค์ประกอบทั้งหลายแหล่นั้นมาประกอบกันจนทำให้สามารถถกเถียงกันได้ตลอดเวลาจนกลั่นกรองสุดท้ายได้ว่าหนังเรื่องนี้ดีจริงๆ

เทศกาลหนังกลางแปลงครั้งนี้ก็จะเป็นอีกโอกาสที่จะได้ไปดู ไปถก และไปคิดกันต่อเอง

วันที่ 9 มกราคม 2552 เป็นวันสุดท้ายของเทศกาลหนังกลางแปลง และเริ่มด้วยหนังที่จะทำให้ได้กลิ่น กลางแปลงแบบงานวัดในอดีตด้วย หนังจีน ไอ้หนุ่มหมัดเมาก็ได้มาวาดลวดลายกังฟูในงานเช่นกัน และเรื่องนี้นักศึกษาขอพากษ์สดเอง

  

อีกเรื่องในวันสุดท้ายคือ SURPRISE FILM (ภาพยนตร์ต้อนรับปีใหม่) อันนี้ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นอย่างไร แต่อาจจะมีอะไรให้ประหลาดใจก็ได้

เทศกาลจะปิดด้วย ‘Armagadon’ หนังที่หลายคนรู้จักกันดีโดยเฉพาะเพลงประกอบหนังที่สุดกินใจจาก Aerosmith

นอกจากนี้ ทุกๆ คืนจะคั่นเวลาด้วยหนังสั้นที่ชนะการประกวด Film in U

เริ่มเทศกาลเวลา 18.00 น.ทุกวัน ณ สนามบาส มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ดีที่สุดตรงที่ไม่เสียค่าเข้าชมครับ

    

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
โดย… พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
Cinemania
      ซาเสียวเอี้ย   แต่ไหนแต่ไรมา...ระบบการศึกษาในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกมักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการ ‘ดับฝัน’ ของคนวัยหนุ่มสาว เพราะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้นที่จะ ‘เรียนรู้’ สิ่งแปลกใหม่ในวัยเยาว์ถูกลบเลือนหายไปในกรอบ-กฎเกณฑ์-เหตุผล-เงื่อนไข และข้อเท็จจริงทั้งหลายทั้งปวง (ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีโอกาสเกิดมาใช้ชีวิตบนโลกก่อนหน้าเรา...)   กระนั้น...ใครหลายคนก็ยังยินดีเดินตามแนวทางหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกวางไว้แล้วโดยไม่เคยคิดตั้งคำถาม เพื่อแลกเปลี่ยนกับ ‘การยอมรับ’ จากสังคมรอบข้าง...เพื่อที่มนุษย์ทั้งหลาย (ซึ่งเป็นสัตว์สังคม)…
Cinemania
        ซาเสียวเอี้ย   ‘ชาร์ลี วิลสัน’ ตายแล้ว...   แม้การตายของเขาจะไม่ได้ทำให้โลกสะท้านสะเทือนอะไรมากนัก แต่ก็มีความหมายสลักสำคัญมิใช่น้อย เพราะบทบาทของวิลสันในสมัยที่เขายังหนุ่มแน่นและดำรงตำแหน่ง สว.รัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา เป็นประเด็นให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดว่าควรจะจดจำเขาไว้ในฐานะอะไร...   บ้างก็ว่า ชาร์ลี วิลสัน คือ ‘นักการเมืองเจ้าสำราญ’ เจ้าของฉายา Good Time Charlie ผู้มีชีวิตโลดโผนเต็มไปด้วยสีสัน หรือเป็น ‘วีรบุรุษชาวอเมริกัน’ ผู้ช่วยให้นักรบมูจาฮิดีนขับไล่กองทัพสหภาพโซเวียตอันโหดร้ายป่าเถื่อนไปจากอัฟกานิสถาน…
Cinemania
themadmon หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น บทสะท้อนย้อนคิดหลังจากการชมภาพยนตร์เรื่อง Air Doll ผมในฐานะที่เป็นผู้เขียนจงใจจะหยิบเลือกประเด็น (ซึ่งผ่านการตีความของผม) โดยไม่ได้อ้างอิงอย่างชัดเจนไปสู่ตัวภาพยนตร์ในแต่ละฉากแต่ละตอน โดยหวังว่าผู้ที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ก็สามารถอ่านได้ และผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วจะสามารถระลึกถึงฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้ด้วยเช่นกัน     หากลองพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในสามประโยค  ผมคงพูดสั้นๆ ว่า.. “ผู้คนหลากหลาย เราต่างก็ว่างเปล่า และเหงามากมาย”  เพราะอะไรน่ะหรือ …
Cinemania
  บริวารเงา   ขงจื๊อ เป็นชื่อหนึ่งที่ผมได้ยินมาเนิ่นนาน ถ้าจำไม่ผิดอาจจะเป็นหนังจีนกำลังภายในสักเรื่องหนึ่งที่อ้างชื่อนี้ขึ้นมาเพื่อพูดถึงปรัชญาในเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร ผมมารู้จักเขาอีกครั้งในห้องสมุดช่วงที่กำลังสนใจพวกวิชาปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ฯลฯ  แต่ผมกลับไปชอบปรมาจารย์จีนอีกคนคือ เล่าจื๊อ เสียมากกว่า เพราะว่าแกมีความคิดที่ 'แนว' ดี (อารมณ์ของวัยรุ่นเช่นนี้แล) อีกนัยหนึ่งก็ดูเพี้ยน ๆ อีกนัยหนึ่งก็มีอารมณ์ศิลปินกว่าขงจื๊อ ขณะที่ผมเห็นว่าขงจื๊อเอาแต่พร่ำบ่นอะไรที่เป็นหลักจริยธรรมน่าเบื่อ ๆ ซึ่งความน่าเบื่อนี้ไม่ใช่ความผิดของขงจื๊อเสียทีเดียว…
Cinemania
เดือนสองจันทร์   October Sonata: รักที่รอคอย
Cinemania
สุพิชชา โมนะตระกูล ตลอดช่วงเวลาขณะชมภาพยนตร์สารคดี “Our Daily Bread” ผู้เขียนรู้สึกตะลึงกับภาพที่ได้รับชม โดยสาเหตุหลักหาใช่ “ความงาม” ของสีสันหรือองค์ประกอบศิลป์แบบภาพที่ผู้กำกับภาพบรรจงจัดวางอย่างภาพยนตร์ที่มีภาพงามเรื่องอื่นๆ...หากเป็น “ความจริง” ของภาพที่ตรึงผู้เขียนไว้ตลอดระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
Cinemania
  สาวกท่านเป้า ขณะที่กำลังตุรัดตุเหร่ในร้านหนังสือแอร์เย็นเฉียบ เพื่อตามหานิตยสารมือถือฉบับหนึ่ง บังเอิญเหลือบไปเห็นนิตยสารฉบับหนึ่งที่นำภาพโปรโมทภาพยนตร์ “วงษ์คำเหลา” มาขึ้นปก แต่เมื่อหยิบมาจึงรู้ว่าเป็นปกหลัง แต่ปกหน้าก็ยังเป็นวงษ์คำเหลาอยู่ดี จึงเริ่มรู้ตัวว่าถูกหลอกแดกเสียแล้ว มีที่ไหนวางขายนิตยสารโดยเอาปกหลังเป็นตัวชูโรง นิตยสารฉบับนั้นคือนิตยสารภาพยนตร์ของกลุ่มคนทวนกระแสที่ชื่อว่า “ไบโอสโคป”
Cinemania
   เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ ‘สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ ‘เศรษฐีใหม่' หรือ ‘ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง ‘บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ‘ปม'…
Cinemania
 'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...‘ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น ‘คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...บุรุษไปรษณีย์นามว่า ‘มาริโอ โรปโปโร':::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ‘ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538…
Cinemania
  ..mad mon..::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์:: 1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep)…
Cinemania
(เขียนเมื่อ 31 ธ.ค.51)จันทร์ ในบ่อ สิ้นปีกันเสียที บรรยากาศตึงๆ ปีนี้อาจทำให้ใครหลายคนอึดอัดและทำท่าจะลากยาวไปถึงปีหน้า ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ  คนสู้ๆ กับปัญหาที่รุมเร้า แต่ถ้าเครียดมากลองผ่อนคลายกันด้วยการหาหนังดูมาสักเรื่องสองเรื่อง จะซื้อ จะเช่ามานั่งดูที่บ้านหรือจะออกไปดูตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็ได้ ลองออกจากโลกความจริงไปอยู่ในโลกอื่นสักชั่วโมงสองชั่วโมงอาจจะสบายใจขึ้นส่วนถ้าใครยังไม่รู้จะดูเรื่องอะไร ที่ไหนอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมหนังรับปีใหม่มาฝาก เป็นหนังฟรีกลางแปลงครับหลายคนคงไม่ค่อยทราบว่าที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดเทศการหนังกลางแปลงกันทุกปี ในวันที่ 7-8-9 มกราคม 2552…