Skip to main content
โดยพิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ

 
 
 “ในเวลานี้ ชาวอิหร่านทั่วโลกกำลังเฝ้าดูเราอยู่ ผมจินตนาการว่าพวกเขากำลังมีความสุขเป็นอย่างยิ่ง พวกเขาไม่ได้มีความสุขเพียงเพราะว่านี่เป็นรางวัลสำคัญ หรือแค่เพราะว่าเป็นภาพยนตร์จากอิหร่าน หรือเป็นคนทำหนังชาวอิหร่าน แต่เป็นเพราะว่าในเวลาที่นักการเมืองต่างพูดถึงอิหร่านในแง่มุมเกี่ยวกับสงคราม การคุกคาม และความก้าวร้าว ประเทศอิหร่านได้ถูกกล่าวถึงที่นี่, ตรงนี้ผ่านวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองและเก่าแก่ซึ่งถูกซุกซ่อนอยู่ภายใต้ฝุ่นผงหนาทึบของการเมือง ผมมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่จะมอบรางวัลนี้ให้กับผู้คนในประเทศของผม, ผู้คนซึ่งเคารพวัฒนธรรมทุกแบบและไม่ยอมรับในความเป็นปรปัักษ์และความคับแค้นใจ” [1]
 
นี่คือสิ่งที่ผู้กำกับอัสการ์ ฟาร์ฮาดี พูดบนเวทีประกาศผลรางวัลออสการ์ เมื่อ A Separation ได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมปี 2012 และบล็อกเกอร์หลายคนออกมายกย่องว่าเป็นสุนทรพจน์ขอบคุณที่ดีที่สุดในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ปีนี้ [2] สุนทรพจน์ของฟาร์ฮาดีก็เหมือนกับภาพยนตร์ของฟาร์ฮาดีที่ไม่ได้โจมตีรัฐบาลอนุรักษ์นิยมอิสลามอย่างเผ็ดร้อน แต่พูดถึงชีวิตของผู้คนธรรมดา, ผู้ซึ่งพยายามจะใช้ชีวิตในแต่ละวันให้ผ่านพ้นไปอย่างธรรมดา แต่ความปรารถนาเพียงเท่านั้นก็ไม่อาจเป็นจริงได้โดยง่าย ภายใต้สภาพสังคมการเมืองที่มีแต่ความไม่แน่นอน
 
 
A Separation เปิดเรื่องด้วยฉากที่ Nader กับ Simin นั่งต่อหน้าผู้พิพากษา โดย Simin พยายามจะให้เหตุผลว่าที่เธอต้องการหย่ากับ Nader เป็นเพราะว่าเธอต้องการจะย้ายไปอยู่ต่างประเทศ แต่ Nader ไม่ต้องการทิ้งพ่อที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ไว้เพียงลำพัง และไม่ต้องการให้ Termeh ลูกสาววัย 11 ปีไปอยู่กับเธอเช่นกัน
 
A Separation อาจจะไม่มีภาพการต่อต้านรัฐบาลอนุรักษ์นิยมของขบวนปัญญาชนและคนหนุ่มสาวหัวก้าวหน้า A Separation อาจจะไม่มีภาพการจับกุมผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล A Separation อาจจะไม่มีภาพการควบคุมสื่ออย่างเข้มงวด [3] แต่เราจะเห็นความพยายามของ Simin ผู้ซึ่งดิ้นรนหาหนทางไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศในช่วงเวลาที่ประเทศอิหร่านเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายทางการเมือง คนดูอาจจะไม่เห็นบรรยากาศเหล่านั้นปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ แต่รู้ได้ว่าเป็นแรงจูงใจที่ทำให้ตัวละครอยากออกไปจากประเทศนี้ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด
 
อัสการ์ ฟาร์ฮาดีฉายให้เห็นภาพการปะทะกันระหว่างชนชั้นและการปะทะกันระหว่างวิธีคิดทางศาสนาแบบดั้งเดิมกับวิถีชีวิตในโลกสมัยใหม่ ผ่านตัวละครที่เป็นชนชั้นกลางระดับบนและชนชั้นล่างผู้ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงอย่างเตหะรานที่มีประชากรมากกว่า 8 ล้านคน ต่างจากหนังอิหร่านยุค 90's ซึ่งนิยมใช้ภาพชีวิตของผู้คนในชนบทถ่ายทอดปัญหาสังคมการเมือง แต่ผู้กำกับอิหร่านยุคใหม่มักจะเลือกเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมเมืองร่วมสมัย  [4]
 
แม้เส้นเรื่องหลักของ A Separation จะเล่าถึงข้อพิพาทระหว่างสองครอบครัวที่แตกต่างกันทั้งฐานะและสถานภาพในสังคม แต่จุดร่วมของสองครอบครัวคือทั้งสองครอบครัวต่างดิ้นรนอย่างสิ้นหวังที่จะมีชีวิตที่ดีกว่าภายใต้สภาพสังคมอิหร่านที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ชนชั้นกลางระดับบนพยายามดิ้นรนเพื่ออพยพไปอยู่ต่างประเทศจนนำมาซึ่งความแตกร้าวในครอบครัวอย่างไม่มีทางเยียวยา ในขณะที่ชนชั้นล่างต้องพยายามมีชีวิตอยู่รอดให้ได้ในโลกทุนนิยมสมัยใหม่และต้องพยายามปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดในฐานะมุสลิมที่ดีไปในเวลาเดียวกัน (ฉากที่เผยให้เห็นความลักลั่นได้ชัดเจนที่สุดคือ ฉากที่ตัวละคร Razieh ซึ่งเป็นแม่บ้านที่ Nader จ้างมาดูแลพ่อ ต้องโทรไปขอคำปรึกษาทางศาสนาว่าการอาบน้ำให้ชายชราเป็นสิ่งที่บาปหรือไม่)
 
ความชาญฉลาดของ A Separation คือการเผยให้เห็นบริบทของสังคมอิหร่านโดยไม่ต้องชี้นิ้ววิพากษ์วิจารณ์โดยตรง เพราะการกระทำเช่นนั้นนอกจากจะสร้างความขุ่นเคืองให้รัฐบาลอนุรักษ์นิยมของประธานาธิบดีอาห์มะดีเนจาดแล้ว ตัวผู้กำกับเองก็อาจจะถูกจับโยนเข้าคุกด้วยข้อหาบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติและศาสนาอย่างเช่นที่ผู้กำกับจาฟาร์ ปานาฮี ถูกสั่งจำคุก 6 ปีและเพิกถอนใบอนุญาตทำหนังนานถึง 20 ปี เมื่อปานาฮีทำหนังเรียกร้องสิทธิสตรีเรื่อง Offside [5]
 
A Separation เล่าเรื่องความขัดแย้งในหน่วยเล็กที่สุดอย่างครอบครัวด้วยสไตล์สมจริงแบบหนังสัจจนิยม (Realism) แต่ท้ายที่สุดแล้ว หนังเผยให้เห็นความเจ็บปวดซึ่งผู้คนในสังคมอันกดทับต้องเผชิญอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ยิ่งไปกว่านั้น A Separation ได้ตั้งคำถามกับความเป็นมนุษย์ของคนดูซ้ำแล้วซ้ำเล่าผ่านสถานการณ์บีบหัวใจที่ทำให้คนดูต้องถามตัวเองเช่นกันว่า “ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น - เราจะทำอย่างไร?”
 
ภาพยนตร์ของฟาร์ฮาดีก็เหมือนกับสุนทรพจน์ของฟาร์ฮาดีบนเวทีออสการ์ เขาไม่ได้เผชิญหน้าหรือปะทะกับผู้ปกครองที่ใช้อำนาจลิดรอนเสรีภาพของประชาชนโดยตรง แต่ฟาร์ฮาดีกำลังทำหน้าที่ของศิลปิน นั่นคือการส่งเสียงให้โลกได้รู้ว่า ณ ที่นี่, ตรงนี้, นอกจากประเด็นนิวเคลียร์บนโต๊ะเจรจาระหว่างประเทศ นอกจากรัฐบาลอนุรักษ์นิยมที่ตะวันตกอาจมองว่าเป็นภัยคุกคามสันติภาพของโลก ณ ที่นี่, ตรงนี้, อิหร่านยังเป็นประเทศที่ประกอบด้วยผู้คนธรรมดา, ผู้ซึ่งพยายามใช้ชีวิตในแต่ละวันให้ผ่านพ้นไปอย่างดีที่สุด ผู้คนธรรมดา, ผู้ซึ่งสับสนกับสิ่งที่เป็นอยู่แต่ไม่รู้จะหาทางออกอย่างไร ผู้คนธรรมดา, ผู้ซึ่งต้องแบกรับความเจ็บปวดส่วนตัวไปเพียงลำพัง, ทั้งที่ความเจ็บปวดนั้นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของบาดแผลใหญ่ที่กำลังกัดกินทั้งสังคม


[1] http://www.huffingtonpost.com/2012/02/26/oscars-a-separation-iran_n_1302973.html

[2] http://thinkprogress.org/alyssa/2012/02/27/432678/the-biggest-winner-of-the-2012-academy-awards/  และ http://www.slate.com/blogs/browbeat/2012/02/27/asghar_farhadi_s_oscar_speech_the_best_of_the_night.html

[3] http://www.hrw.org/world-report-2012/world-report-2012-iran

[4] บทความ “เด็กน้อยที่หายไปและรสชาติใหม่ของหนังอิหร่าน” โดยกิตติภัต แสนดี นิตยสาร Bioscope ฉบับเดือนมีนาคม 2555

 

 

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
โดย… พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
Cinemania
      ซาเสียวเอี้ย   แต่ไหนแต่ไรมา...ระบบการศึกษาในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกมักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการ ‘ดับฝัน’ ของคนวัยหนุ่มสาว เพราะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้นที่จะ ‘เรียนรู้’ สิ่งแปลกใหม่ในวัยเยาว์ถูกลบเลือนหายไปในกรอบ-กฎเกณฑ์-เหตุผล-เงื่อนไข และข้อเท็จจริงทั้งหลายทั้งปวง (ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีโอกาสเกิดมาใช้ชีวิตบนโลกก่อนหน้าเรา...)   กระนั้น...ใครหลายคนก็ยังยินดีเดินตามแนวทางหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกวางไว้แล้วโดยไม่เคยคิดตั้งคำถาม เพื่อแลกเปลี่ยนกับ ‘การยอมรับ’ จากสังคมรอบข้าง...เพื่อที่มนุษย์ทั้งหลาย (ซึ่งเป็นสัตว์สังคม)…
Cinemania
        ซาเสียวเอี้ย   ‘ชาร์ลี วิลสัน’ ตายแล้ว...   แม้การตายของเขาจะไม่ได้ทำให้โลกสะท้านสะเทือนอะไรมากนัก แต่ก็มีความหมายสลักสำคัญมิใช่น้อย เพราะบทบาทของวิลสันในสมัยที่เขายังหนุ่มแน่นและดำรงตำแหน่ง สว.รัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา เป็นประเด็นให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดว่าควรจะจดจำเขาไว้ในฐานะอะไร...   บ้างก็ว่า ชาร์ลี วิลสัน คือ ‘นักการเมืองเจ้าสำราญ’ เจ้าของฉายา Good Time Charlie ผู้มีชีวิตโลดโผนเต็มไปด้วยสีสัน หรือเป็น ‘วีรบุรุษชาวอเมริกัน’ ผู้ช่วยให้นักรบมูจาฮิดีนขับไล่กองทัพสหภาพโซเวียตอันโหดร้ายป่าเถื่อนไปจากอัฟกานิสถาน…
Cinemania
themadmon หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น บทสะท้อนย้อนคิดหลังจากการชมภาพยนตร์เรื่อง Air Doll ผมในฐานะที่เป็นผู้เขียนจงใจจะหยิบเลือกประเด็น (ซึ่งผ่านการตีความของผม) โดยไม่ได้อ้างอิงอย่างชัดเจนไปสู่ตัวภาพยนตร์ในแต่ละฉากแต่ละตอน โดยหวังว่าผู้ที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ก็สามารถอ่านได้ และผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วจะสามารถระลึกถึงฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้ด้วยเช่นกัน     หากลองพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในสามประโยค  ผมคงพูดสั้นๆ ว่า.. “ผู้คนหลากหลาย เราต่างก็ว่างเปล่า และเหงามากมาย”  เพราะอะไรน่ะหรือ …
Cinemania
  บริวารเงา   ขงจื๊อ เป็นชื่อหนึ่งที่ผมได้ยินมาเนิ่นนาน ถ้าจำไม่ผิดอาจจะเป็นหนังจีนกำลังภายในสักเรื่องหนึ่งที่อ้างชื่อนี้ขึ้นมาเพื่อพูดถึงปรัชญาในเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร ผมมารู้จักเขาอีกครั้งในห้องสมุดช่วงที่กำลังสนใจพวกวิชาปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ฯลฯ  แต่ผมกลับไปชอบปรมาจารย์จีนอีกคนคือ เล่าจื๊อ เสียมากกว่า เพราะว่าแกมีความคิดที่ 'แนว' ดี (อารมณ์ของวัยรุ่นเช่นนี้แล) อีกนัยหนึ่งก็ดูเพี้ยน ๆ อีกนัยหนึ่งก็มีอารมณ์ศิลปินกว่าขงจื๊อ ขณะที่ผมเห็นว่าขงจื๊อเอาแต่พร่ำบ่นอะไรที่เป็นหลักจริยธรรมน่าเบื่อ ๆ ซึ่งความน่าเบื่อนี้ไม่ใช่ความผิดของขงจื๊อเสียทีเดียว…
Cinemania
เดือนสองจันทร์   October Sonata: รักที่รอคอย
Cinemania
สุพิชชา โมนะตระกูล ตลอดช่วงเวลาขณะชมภาพยนตร์สารคดี “Our Daily Bread” ผู้เขียนรู้สึกตะลึงกับภาพที่ได้รับชม โดยสาเหตุหลักหาใช่ “ความงาม” ของสีสันหรือองค์ประกอบศิลป์แบบภาพที่ผู้กำกับภาพบรรจงจัดวางอย่างภาพยนตร์ที่มีภาพงามเรื่องอื่นๆ...หากเป็น “ความจริง” ของภาพที่ตรึงผู้เขียนไว้ตลอดระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
Cinemania
  สาวกท่านเป้า ขณะที่กำลังตุรัดตุเหร่ในร้านหนังสือแอร์เย็นเฉียบ เพื่อตามหานิตยสารมือถือฉบับหนึ่ง บังเอิญเหลือบไปเห็นนิตยสารฉบับหนึ่งที่นำภาพโปรโมทภาพยนตร์ “วงษ์คำเหลา” มาขึ้นปก แต่เมื่อหยิบมาจึงรู้ว่าเป็นปกหลัง แต่ปกหน้าก็ยังเป็นวงษ์คำเหลาอยู่ดี จึงเริ่มรู้ตัวว่าถูกหลอกแดกเสียแล้ว มีที่ไหนวางขายนิตยสารโดยเอาปกหลังเป็นตัวชูโรง นิตยสารฉบับนั้นคือนิตยสารภาพยนตร์ของกลุ่มคนทวนกระแสที่ชื่อว่า “ไบโอสโคป”
Cinemania
   เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ ‘สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ ‘เศรษฐีใหม่' หรือ ‘ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง ‘บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ‘ปม'…
Cinemania
 'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...‘ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น ‘คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...บุรุษไปรษณีย์นามว่า ‘มาริโอ โรปโปโร':::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ‘ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538…
Cinemania
  ..mad mon..::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์:: 1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep)…
Cinemania
(เขียนเมื่อ 31 ธ.ค.51)จันทร์ ในบ่อ สิ้นปีกันเสียที บรรยากาศตึงๆ ปีนี้อาจทำให้ใครหลายคนอึดอัดและทำท่าจะลากยาวไปถึงปีหน้า ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ  คนสู้ๆ กับปัญหาที่รุมเร้า แต่ถ้าเครียดมากลองผ่อนคลายกันด้วยการหาหนังดูมาสักเรื่องสองเรื่อง จะซื้อ จะเช่ามานั่งดูที่บ้านหรือจะออกไปดูตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็ได้ ลองออกจากโลกความจริงไปอยู่ในโลกอื่นสักชั่วโมงสองชั่วโมงอาจจะสบายใจขึ้นส่วนถ้าใครยังไม่รู้จะดูเรื่องอะไร ที่ไหนอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมหนังรับปีใหม่มาฝาก เป็นหนังฟรีกลางแปลงครับหลายคนคงไม่ค่อยทราบว่าที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดเทศการหนังกลางแปลงกันทุกปี ในวันที่ 7-8-9 มกราคม 2552…