Skip to main content
โดยพิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ

 
 
 “ในเวลานี้ ชาวอิหร่านทั่วโลกกำลังเฝ้าดูเราอยู่ ผมจินตนาการว่าพวกเขากำลังมีความสุขเป็นอย่างยิ่ง พวกเขาไม่ได้มีความสุขเพียงเพราะว่านี่เป็นรางวัลสำคัญ หรือแค่เพราะว่าเป็นภาพยนตร์จากอิหร่าน หรือเป็นคนทำหนังชาวอิหร่าน แต่เป็นเพราะว่าในเวลาที่นักการเมืองต่างพูดถึงอิหร่านในแง่มุมเกี่ยวกับสงคราม การคุกคาม และความก้าวร้าว ประเทศอิหร่านได้ถูกกล่าวถึงที่นี่, ตรงนี้ผ่านวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองและเก่าแก่ซึ่งถูกซุกซ่อนอยู่ภายใต้ฝุ่นผงหนาทึบของการเมือง ผมมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่จะมอบรางวัลนี้ให้กับผู้คนในประเทศของผม, ผู้คนซึ่งเคารพวัฒนธรรมทุกแบบและไม่ยอมรับในความเป็นปรปัักษ์และความคับแค้นใจ” [1]
 
นี่คือสิ่งที่ผู้กำกับอัสการ์ ฟาร์ฮาดี พูดบนเวทีประกาศผลรางวัลออสการ์ เมื่อ A Separation ได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมปี 2012 และบล็อกเกอร์หลายคนออกมายกย่องว่าเป็นสุนทรพจน์ขอบคุณที่ดีที่สุดในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ปีนี้ [2] สุนทรพจน์ของฟาร์ฮาดีก็เหมือนกับภาพยนตร์ของฟาร์ฮาดีที่ไม่ได้โจมตีรัฐบาลอนุรักษ์นิยมอิสลามอย่างเผ็ดร้อน แต่พูดถึงชีวิตของผู้คนธรรมดา, ผู้ซึ่งพยายามจะใช้ชีวิตในแต่ละวันให้ผ่านพ้นไปอย่างธรรมดา แต่ความปรารถนาเพียงเท่านั้นก็ไม่อาจเป็นจริงได้โดยง่าย ภายใต้สภาพสังคมการเมืองที่มีแต่ความไม่แน่นอน
 
 
A Separation เปิดเรื่องด้วยฉากที่ Nader กับ Simin นั่งต่อหน้าผู้พิพากษา โดย Simin พยายามจะให้เหตุผลว่าที่เธอต้องการหย่ากับ Nader เป็นเพราะว่าเธอต้องการจะย้ายไปอยู่ต่างประเทศ แต่ Nader ไม่ต้องการทิ้งพ่อที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ไว้เพียงลำพัง และไม่ต้องการให้ Termeh ลูกสาววัย 11 ปีไปอยู่กับเธอเช่นกัน
 
A Separation อาจจะไม่มีภาพการต่อต้านรัฐบาลอนุรักษ์นิยมของขบวนปัญญาชนและคนหนุ่มสาวหัวก้าวหน้า A Separation อาจจะไม่มีภาพการจับกุมผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล A Separation อาจจะไม่มีภาพการควบคุมสื่ออย่างเข้มงวด [3] แต่เราจะเห็นความพยายามของ Simin ผู้ซึ่งดิ้นรนหาหนทางไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศในช่วงเวลาที่ประเทศอิหร่านเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายทางการเมือง คนดูอาจจะไม่เห็นบรรยากาศเหล่านั้นปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ แต่รู้ได้ว่าเป็นแรงจูงใจที่ทำให้ตัวละครอยากออกไปจากประเทศนี้ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด
 
อัสการ์ ฟาร์ฮาดีฉายให้เห็นภาพการปะทะกันระหว่างชนชั้นและการปะทะกันระหว่างวิธีคิดทางศาสนาแบบดั้งเดิมกับวิถีชีวิตในโลกสมัยใหม่ ผ่านตัวละครที่เป็นชนชั้นกลางระดับบนและชนชั้นล่างผู้ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงอย่างเตหะรานที่มีประชากรมากกว่า 8 ล้านคน ต่างจากหนังอิหร่านยุค 90's ซึ่งนิยมใช้ภาพชีวิตของผู้คนในชนบทถ่ายทอดปัญหาสังคมการเมือง แต่ผู้กำกับอิหร่านยุคใหม่มักจะเลือกเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมเมืองร่วมสมัย  [4]
 
แม้เส้นเรื่องหลักของ A Separation จะเล่าถึงข้อพิพาทระหว่างสองครอบครัวที่แตกต่างกันทั้งฐานะและสถานภาพในสังคม แต่จุดร่วมของสองครอบครัวคือทั้งสองครอบครัวต่างดิ้นรนอย่างสิ้นหวังที่จะมีชีวิตที่ดีกว่าภายใต้สภาพสังคมอิหร่านที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ชนชั้นกลางระดับบนพยายามดิ้นรนเพื่ออพยพไปอยู่ต่างประเทศจนนำมาซึ่งความแตกร้าวในครอบครัวอย่างไม่มีทางเยียวยา ในขณะที่ชนชั้นล่างต้องพยายามมีชีวิตอยู่รอดให้ได้ในโลกทุนนิยมสมัยใหม่และต้องพยายามปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดในฐานะมุสลิมที่ดีไปในเวลาเดียวกัน (ฉากที่เผยให้เห็นความลักลั่นได้ชัดเจนที่สุดคือ ฉากที่ตัวละคร Razieh ซึ่งเป็นแม่บ้านที่ Nader จ้างมาดูแลพ่อ ต้องโทรไปขอคำปรึกษาทางศาสนาว่าการอาบน้ำให้ชายชราเป็นสิ่งที่บาปหรือไม่)
 
ความชาญฉลาดของ A Separation คือการเผยให้เห็นบริบทของสังคมอิหร่านโดยไม่ต้องชี้นิ้ววิพากษ์วิจารณ์โดยตรง เพราะการกระทำเช่นนั้นนอกจากจะสร้างความขุ่นเคืองให้รัฐบาลอนุรักษ์นิยมของประธานาธิบดีอาห์มะดีเนจาดแล้ว ตัวผู้กำกับเองก็อาจจะถูกจับโยนเข้าคุกด้วยข้อหาบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติและศาสนาอย่างเช่นที่ผู้กำกับจาฟาร์ ปานาฮี ถูกสั่งจำคุก 6 ปีและเพิกถอนใบอนุญาตทำหนังนานถึง 20 ปี เมื่อปานาฮีทำหนังเรียกร้องสิทธิสตรีเรื่อง Offside [5]
 
A Separation เล่าเรื่องความขัดแย้งในหน่วยเล็กที่สุดอย่างครอบครัวด้วยสไตล์สมจริงแบบหนังสัจจนิยม (Realism) แต่ท้ายที่สุดแล้ว หนังเผยให้เห็นความเจ็บปวดซึ่งผู้คนในสังคมอันกดทับต้องเผชิญอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ยิ่งไปกว่านั้น A Separation ได้ตั้งคำถามกับความเป็นมนุษย์ของคนดูซ้ำแล้วซ้ำเล่าผ่านสถานการณ์บีบหัวใจที่ทำให้คนดูต้องถามตัวเองเช่นกันว่า “ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น - เราจะทำอย่างไร?”
 
ภาพยนตร์ของฟาร์ฮาดีก็เหมือนกับสุนทรพจน์ของฟาร์ฮาดีบนเวทีออสการ์ เขาไม่ได้เผชิญหน้าหรือปะทะกับผู้ปกครองที่ใช้อำนาจลิดรอนเสรีภาพของประชาชนโดยตรง แต่ฟาร์ฮาดีกำลังทำหน้าที่ของศิลปิน นั่นคือการส่งเสียงให้โลกได้รู้ว่า ณ ที่นี่, ตรงนี้, นอกจากประเด็นนิวเคลียร์บนโต๊ะเจรจาระหว่างประเทศ นอกจากรัฐบาลอนุรักษ์นิยมที่ตะวันตกอาจมองว่าเป็นภัยคุกคามสันติภาพของโลก ณ ที่นี่, ตรงนี้, อิหร่านยังเป็นประเทศที่ประกอบด้วยผู้คนธรรมดา, ผู้ซึ่งพยายามใช้ชีวิตในแต่ละวันให้ผ่านพ้นไปอย่างดีที่สุด ผู้คนธรรมดา, ผู้ซึ่งสับสนกับสิ่งที่เป็นอยู่แต่ไม่รู้จะหาทางออกอย่างไร ผู้คนธรรมดา, ผู้ซึ่งต้องแบกรับความเจ็บปวดส่วนตัวไปเพียงลำพัง, ทั้งที่ความเจ็บปวดนั้นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของบาดแผลใหญ่ที่กำลังกัดกินทั้งสังคม


[1] http://www.huffingtonpost.com/2012/02/26/oscars-a-separation-iran_n_1302973.html

[2] http://thinkprogress.org/alyssa/2012/02/27/432678/the-biggest-winner-of-the-2012-academy-awards/  และ http://www.slate.com/blogs/browbeat/2012/02/27/asghar_farhadi_s_oscar_speech_the_best_of_the_night.html

[3] http://www.hrw.org/world-report-2012/world-report-2012-iran

[4] บทความ “เด็กน้อยที่หายไปและรสชาติใหม่ของหนังอิหร่าน” โดยกิตติภัต แสนดี นิตยสาร Bioscope ฉบับเดือนมีนาคม 2555

 

 

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
  ธวัชชัย ชำนาญหนังรักโรแมนติกเป็นอะไรที่คนไทยให้ความสนใจโดยเฉพาะกลุ่มวัยทีนทั้งหลาย อย่างที่เพิ่งเข้าโรงไปอีกเรื่องก็คือ Happy Birthday เป็นความรักแบบโศกซึ้งน้ำตาซึมแห่งปีไปเลยก็ว่าได้ สาวๆหลายคนออกมาคงรำพันกับตัวเองไม่น้อย "ผู้ชายแบบนี้ยังมีอีกไหมหนอ"แต่สัปดาห์นี้ กระผมขอนำความรักในอีกแบบหนึ่งมาเสนอ เป็นหนังรักแห่งแดนอิเหนา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหนังรักแนวของประเทศมุสลิม คือเป็นหนังรักที่มีศาสนา จารีต ประเพณี และกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตรักของตัวละคร อย่างน้อยๆ หนังเรื่องนี้เป็นการสร้างสรรค์ให้วงการหนังแนวโรแมนติกในอีกมุมมองหนึ่งของความรักหนังเรื่องนี้ชื่อ ‘Ayat Ayat Cinta'…
Cinemania
 พิชญ์ รัฐแฉล้ม   " องค์บาก 2 " ภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นฟอร์มยักษ์ส่งท้ายปี 2551 นำแสดงโดย ‘จา' พนม ยีรัมย์ หรือ ‘โทนี่จา' ในวงการภาพยนต์โลก ถือฤกษ์มงคล 5 ธันวาคม เข้าฉาย ทีมผู้สร้างวางเป้าหมายไว้ ‘องค์บาก 2' จะต้องประสบความสำเร็จอย่างงดงามสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน บัดนี้..ผ่านมาแล้วสองสัปดาห์เต็มที่ภาพยนตร์ได้ออกฉายให้แฟนๆ จา พนม ที่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวแอ็กชั่นได้สัมผัสอย่างเต็มตา และได้รับการตอบรับจากแฟน จา พนม เป็นอย่างดีจนสามารถฉลองความสำเร็จของรายได้ที่ทะลุเป้าหมายร้อยล้านในสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้ๆกัน ‘องค์บาก 2'…
Cinemania
  หมายเหตุ: “บันทึกอิสรา” แสดงที่มะขามป้อมสตูดิโอ ในวันที่ 9-15 ธันวาคม เวลา 19.30น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 14.00น.  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูไปที่ www.makhampomstudio.net        “เรื่องราว... ถ้าไม่เล่าสู่กันฟัง คนข้างหลังก็จะลืม... เลือนราง” เนื้อร้องท่อนหนึ่งจากละครร้องเรื่อง “บันทึกอิสรา” ว่าเอาไว้ ชวนให้นึกเห็นด้วยไม่น้อย ทุกวันนี้ถ้าจะย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านพ้นมา ก็พบว่า ประวัติศาสตร์ของหลายๆ อย่างในประเทศนี้ไม่เคยจะสมบูรณ์เสียที ประวัติศาสตร์บางแบบแม้จะเรียนแล้วก็ต้องเรียนอีก…
Cinemania
ไก่ย้อย หมายเหตุ: จดหมายฉบับนี้สร้างขึ้นจากเรื่องจริงแต่แอบอิงวิธีการนำเสนอจากภาพยนตร์เรื่อง ‘เพื่อนสนิท’ โดยสมมติเหตุการณ์ว่าเป็นภาคต่อของภาพยนตร์ต้นฉบับ หากใครยังไม่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ บางทีก็อาจจะไม่เข้าใจมุกเห่ยๆ ของผู้เขียน  ส่วนใครที่ไม่อยากอ่านจดหมายฉบับนี้ ผู้เขียนก็ขอร้องว่าอย่าอ่านเลยนะพวกคุณ   ถึงเพื่อนๆ หากพวกแกได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ฉันขอร้องพวกแกอย่างหนึ่งนะว่า “อย่าคิดมาก” เพราะที่ผ่านมาเหตุการณ์บ้านเมือง และวงการวิชาการของไทยมันก็มีเรื่องซีเรียสมากมายกันพออยู่แล้ว ฉะนั้นพวกแกอย่าเสียเวลาเปลืองมันสมองเพื่อขบคิดกับจดหมายบ้าๆ บอๆ ของฉันอยู่เลย…
Cinemania
  จันทร์ ในบ่อ 20th Century Boys หรือเด็กในศตวรรษที่ 20 เป็นภาพยนตร์ที่นำเรื่องราวจากการ์ตูนชื่อเดียวกันมาสร้าง (การ์ตูนชื่อไทยว่า แกงค์นี้มีป่วน) เป็นผลงานเรื่องเด่นจากค่าย Shogakukan แต่งโดย Naoki Urasawa คนเดียวกับผู้เขียน Monster (คนปีศาจ)  20th Century Boys ยังคว้ารางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมครั้งที่ 48 จาก Shogakukan  รางวัลชนะเลิศในงาน Media Art ครั้งที่ 6 ของทบวงวัฒนธรรมญี่ปุ่น และรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม ครั้งที่ 25 จาก Kodansha คอการ์ตูนเองคงรู้ดีถึงความยอดเยี่ยม ส่วนฉบับภาพยนตร์ดูแล้วก็คิดว่าว่าไม่เสียรสชาติครับ ด้วยข้อจำกัดของหนังด้านเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหา…
Cinemania
จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิตรบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัยImagine : John LennonImagine there's no heavenIt's easy if you tryNo hell below usAbove us only skyImagine all the people  Living for todayImagine there's no countriesIt isn't hard to doNo greed or hungerAnd no religion tooImagine all the people  Living life in peaceYou may say I'm a dreamerBut I'm not the only oneI hope someday you'll join usAnd the world will live as oneImagine no possessionsI wonder if you canNothing to kill or die forA brotherhood of manImagine all the peopleSharing all the worldผมเคยได้ยินและได้ฟังเพลง Imagine…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  อังกฤษ ปี ค.ศ. 1983 ยุคที่รองเท้า ‘บู้ท' สไตล์ Dr.Matins ทรงผม ‘สกรีนเฮด' เสื้อเชิ้ต ‘ลายสก๊อต' และกางเกงยีนส์ คือสัญลักษณ์แห่ง ‘อำนาจ' ที่เหนือกว่าชนชาติอื่นในหมู่เยาวชนชาวอังกฤษ ‘ชอน' เด็กชายวัย 12 ผู้ฝังใจอยู่กับการสูญเสียพ่อไปในสมรภูมิเกาะฟอร์คแลนด์ (สงครามแย่งชิงเกาะฟอร์แลนด์ระหว่างประเทศอังกฤษและ อาเจนติน่า) กำลังเริ่มต้นค้นหาชีวิตในวัยหนุ่มกับกลุ่มเยาวชนรุ่นพี่  เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็นกลุ่มก้อน หรือความเป็นสถาบันผ่านเครื่องแต่งกายสไตล์ขาโจ๋เมืองผู้ดีในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็น ‘ชาย' ผ่าน ‘เกมส์'…
Cinemania
ชญานุช เล็กตระกูลชัย    ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mona_Lisa_Smile   “ศิลปะคืออะไร อะไรที่ทำให้มันดีหรือแย่ แล้วใครเป็นคนกำหนด” “ศิลปะไม่ใช่ศิลปะ จนกว่าจะมีคนบอกว่าใช่… มันมีมาตรฐาน เทคนิค องค์ประกอบ สี และหัวข้อ” (บางส่วนของบทสนทนาระหว่างตัวละคร ‘แคเธอรีน วัตสัน’ (จูเลีย โรเบิร์ตส์) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และ ‘เบ็ตตี้ วอร์เร็น’ (เคิร์สเตน ดันสต์) นักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ) ปรัชญา ศิลปะ และกระบวนการทำให้ ‘หญิง’ เป็น ‘หญิง’ ภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile นำเสนอภาพสะท้อนของสังคมตะวันตก (ทั้งยุโรป และอเมริกา) ในช่วงต้น…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  ภาพจาก http://www.japclub.com/dvd_box/j-bics/2008_may/Crows-Zero.htm    ผมเป็นผู้หนึ่งที่รู้สึกอิดหนาระอาใจกับสถานการณ์บ้านเมืองของเรา (หรือเปล่า?) ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผมไม่เคยคาดคิดว่า ภาพการไล่กระทืบกันอย่างเมามันด้วยความมุ่งหวังที่จะพิชิตฝ่ายตรงข้าม (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน) จะเกิดขึ้นในสังคมที่เที่ยวประกาศกับใครต่อใครว่าเป็นสังคมที่ยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาอย่างเข้มข้น ‘ฉากชีวิตจริง’ นั้นดุเด็ดเผ็ดมันกว่า ‘หนังบู๊’ ที่ดูผ่านหน้าจอหลายเท่านัก และดูจะสยดสยองกว่า ‘คลิปวีดีโอเด็กนักเรียนตบกัน’ เป็นไหนๆ  ส่วน ‘…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย   "to prove the Faustian dream to be a nightmare" ผมมีโอกาสประสบพบกับประโยคภาษาอังกฤษข้างต้นเป็นครั้งแรกในหนังสือ ‘POST MODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ' ของ อาจารย์ไชยันต์ ไชยพร และตั้งแต่วันนั้นผมก็ไม่เคยคิดว่าผมจะต้องนึกถึงมันอีกเลยไม่ว่าจะในกรณีใดๆ แต่แล้ววันดีคืนดี ในขณะที่ผมกำลังนั่งเพลิดเพลินเจริญอารมณ์อยู่กับภาพยนตร์เรื่อง Hellboy 2 : The Golden Army หลายๆ ฉาก หลายๆ ตอนในภาพยนตร์กลับทำให้มันสมองของผมเกิดระลึกถึงคำอธิบายเกี่ยวกับ ‘the Faustian dream' ของอาจารย์ไชยันต์ (ไชยพร) ขึ้นมาอย่างกระทันหัน …