Skip to main content

จันทร์  ในบ่อ

 

หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน 

 

คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย นนทรีย์ นิมิบุตร' และเขียนบทโดย วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008 ต่อมาออกฉายในเทศกาลภาพยนตร์เวนิส ออกฉายรอบกาล่า ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ ปี 2008 เปิดตัวรายได้สัปดาห์แรกที่ 31.6 ล้านบาท กระแสตอบรับจึงถือว่าดี บทความนี้จึงขอแค่ทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์ไปตามเรื่องตามราวเท่านั้น

ปืนใหญ่จอมสลัด ออกตัวไว้แล้วว่าเป็นหนังแนวแฟนตาซีที่หยิบประวัติศาสตร์ลังกาสุกะ (มลายูปตานี) ในช่วงศตวรรษที่ 17 มาวางเป็นโครงหลักของเรื่อง ความน่าสนใจอยู่ที่ประวัติศาสตร์ช่วงนี้เป็นของกลุ่มชนชาติหนึ่งในสยามที่ห่างไกลจากความรับรู้อย่างปราศจากอคติของคนไทยทั่วไป ไม่มีในบทเรียน และยังไม่เคยมีการทำออกมาในรูปแบบภาพยนตร์ เป็นช่วงที่รัฐปัตตานีหรือปตานีเป็นอิสระจากสยาม (กรุงศรีอยุธยา) เป็นยุคทองของการค้าขายทางสำเภาทะเล เป็นเมืองท่าที่สำคัญในคาบสมุทรมลายูและมีความพิเศษในด้านการปกครองคือมี กษัตริยา' หรือมี ผู้หญิง' แห่งราชวงศ์ศรีวังสาปกครองติดต่อกันถึง 4 รุ่น ได้แก่ รายาฮิเจา รายาบิรู รายาอุงงู และรายากูนิง เป็นกษัตริยาพระองค์สุดท้าย การสิ้นพระชนม์ของเธอที่กัมปุง ปันจอร์ พ.ศ.2231 ถือเป็นการสิ้นสุดช่วงสมัยการปกครองโดยกษัตริยาอย่างสมบูรณ์

 

ปืนใหญ่จอมสลัดได้ตัดเอาเฉพาะประวัติศาสตร์ช่วงปลายสมัยของรายาฮิเจา (จารุณี สุขสวัสดิ์) แห่งราชวงศ์ศรีวังสา (ครองราชย์ 2127 - 2159) เชื่อมต่อสมัยรายาบิรู (ณัฐรดา อภิธนานนท์) มาสร้างโดยมี อุงงู' (แอนนา แฮมบาวริส) เป็นตัวละครหลักในการสร้างความรู้สึกสะเทือนใจด้วยปมที่ต้องเลือกระหว่างความรักส่วนตัวกับความเสียสละเพื่อแผ่นดิน

 

แต่เมื่อผู้กำกับออกตัวไว้ว่าเป็นหนังแนวแฟนตาซีมากกว่าหนังอิงประวัติศาสตร์ ผมจึงขอไม่แตะไปถึงความถูกผิดทางประวัติศาสตร์และขอยกให้เป็นหน้าที่ของนักวิชาการประวัติศาสตร์มลายูที่จะต้องอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจให้สังคมไทยอันหลากหลายต่อไป ตั้งแต่ประเด็นคำว่า ลังกาสุกะ' ที่หนังเลือกจะหยิบมาใช้อย่างค่อนข้างตั้งใจและเลี่ยงจะไม่ใช้คำว่า ปตานี' หรือ ปัตตานี' ตามประวัติศาสตร์ของพื้นที่

 

ส่วนอีกประเด็นหนึ่งที่หนังเลือกที่จะเลี่ยงไปก็คือ ภาษา' เพราะในขณะที่หนังต้องการสื่อถึงความเป็นพื้นที่การค้านานาชาติ ภาษา' ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อผ่านบรรดาผู้ปกครองของรัฐให้สามารถพูดได้หลากภาษาไม่ว่าจะเป็นไทย จีน อังกฤษ แต่ภาษา มลายู' อันเป็นภาษาของพื้นที่กลับถูกยกเว้นไว้ราวกับตั้งใจกีดกันไม่ให้มีปรากฏในหนังแม้สักฉาก   

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับประเด็นหลักที่อยากจะนำมาแลกเปลี่ยนกันในที่นี้ คือ การใช้สัญลักษณ์ที่สื่อความหมายถึงกระบวนการเรียกร้องสันติภาพที่เหมือนมีเจตนาบ่งชี้ไปยัง คนในพื้นที่ขัดแย้ง' อันหมายถึง 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยใช้ฉากจาก ประวัติศาสตร์มลายู' มาสะท้อน ความขัดแย้ง' ของปัจจุบัน  

 

ปืนใหญ่จอมสลัดเลือกการใช้ สี' เป็นสัญลักษณ์แทนคุณค่าให้เข้าใจได้อย่างง่ายๆผ่านการแบ่งฝ่ายออกมาอย่างชัดเจน สีขาว' เป็นสัญลักษณ์แทน ฝ่ายดี' ส่วน สีดำ' เป็นสัญลักษณ์แทน ฝ่ายเลว' โดยมีวิชา ดูหลำ' อันลึกลับเป็นเกณฑ์วัดความดีความชั่ว  

 

ทั้งนี้ ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งแบบแก้แค้นและหักล้างกันไปมาไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอำนาจหรือเรื่องส่วนตัว เหยื่อผู้ได้รับผลกระทบ ปืนใหญ่จอมสลัดเลือกใช้วิธีการจัดการปัญหาด้วยการเรียกร้องไปที่ปัจเจกบุคคลในระดับจิตวิญญาณ โดยบอกให้ หยุด' เพื่อตัดวงจรของการแก้แค้นอันเกิดจากตัวเองออกไม่ว่าจะผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายสักเพียงใดก็ตาม และแสดงภาพการแก้แค้นนั้นเป็นความมุ่งหมายของฝ่าย สีดำ' และการพยายามควบคุมหรือปล่อยวางเป็นเรื่องของฝ่าย สีขาว'  

 

เมื่อหนังมีวิชาดูหลำเป็นเกณฑ์วัดความดีชั่วแล้วก็มีตัวละคร กระเบนขาว' (สรพงษ์ ชาตรี) เป็นสัญลักษณ์ของการถ่ายทอดแทนครูหรือผู้สอนให้รู้จักแนวทางที่ควรเดิน แต่กระนั้นแม้แต่ครูเองก็ตาม เมื่อฝึกวิชา  ดูหลำแล้วหากจิตใจไม่มั่นคงก็อาจไม่สามารถควบคุม ความมืด' ในตัวเองได้ 

 

อาจเป็นการตีความที่เกินไปและสุ่มเสี่ยงต่อความอ่อนไหว แต่ในเมื่อหนังเรื่องนี้เป็นภาพสะท้อนของสถานการณ์ปัจจุบัน หนังจึงคล้ายกำลังกระซิบบอกให้เรานึกถึงศาสนาอิสลามอัน ลึกลับ' ในสายตา คนนอก' และบรรดาโต๊ะครูตามปอเนาะต่างๆก็กำลังทำหน้าที่ของกระเบนขาว' อย่างลึกซึ้ง

 

ดังนั้น เมื่อ กระเบนขาว' ถูกท้าทายความมั่นคงทางจิตใจด้วยการเกือบต้องสูญเสีย ลูกชาย' หรือ เจ้าชายราไว' (เอก โอรี) ที่บทวางเอาไว้ให้ว่าเป็นฝ่ายผู้ร้ายอย่างแจ่มแจ้งแล้ว วิชาดูหลำหรือ คำสอน' ก็กลายเป็นดาบสองคมที่มีไว้หล่อเลี้ยงความแค้น ครอบงำ และกลายร่างเป็น กระเบนดำ' ที่มีพลังเพิ่มพูนขึ้น แต่ก็หมายความถึงความกระหายเลือดที่มากขึ้น และการแก้แค้นก็เป็นวงจรของการเข่นฆ่ากันไปมาไม่รู้จบอันเป็นปมของสถานการณ์ความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ในปัจจุบัน

 

เช่นเดียวกับ อีกาดำ' (วินัย ไกรบุตร) ลูกศิษย์ของ กระเบนดำ' และสมุนของ เจ้าชายราไว' ที่นอกจากฝึกวิชาดูหลำแล้วยังถูกวางความแค้นไว้ให้จากการต้องสูญเสียคนรักเพราะการไปลอบสังหารรายาฮิเจา ผู้นำสูงสุดแห่งลังกาสุกะ เพื่อปูทางยึดอำนาจให้เจ้าชายราไว แต่ผิดพลาดจึงถูก ยะรัง' (เดี่ยว ชูพงษ์ ช่างปรุง) ทหารองครักษ์สังหาร อย่างไรก็ตามหนังได้สร้างความรู้สึกสาสมจากความตาย เสมือนเป็นกรรมของฝ่ายผู้ร้ายที่ก่อขึ้น

 

แต่ในเส้นทางที่คล้ายกันเพียงแต่บทถูกวางไว้แล้วว่าเป็นฝ่ายดี สิ่งที่เกิดขึ้นกับ ปารี' (อนันดา เอฟเวอริ่งแฮม) จึงเดินไปยังปลายทางที่ตรงกันข้าม ดังนั้นแม้ปารีจะถูกท้าทายด้วยสถานการณ์ที่ต้องสูญเสียภรรยาหรือถูกกลุ่มเจ้าชายราไวฆ่าล้างหมู่บ้าน และเป็นผู้ฝึกวิชาดูหลำตั้งแต่เด็ก เงื่อนไขทั้งหมดภายใต้ความแค้นทำให้ความมืดในใจแข็งกล้าขึ้นและพลังก็สูงขึ้น แต่เมื่อมี ความรัก' และการรู้จัก ปล่อยวาง' จึงทำให้ไม่หลงไปเป็น ปารีดำ' เป็นผู้รักสันติด้วยการเลือกที่จะช่วยลังกาสุกะ ฆ่า' ผู้รุกราน ดังคำกล่าวของเขาในช่วงท้ายเรื่องว่า "เรามาเพื่อหยุด"

 

แต่กระบวนการทางสันติวิธีหรือการตัดวงจรความแค้นแบบที่ปารีเลือกใช้นั่นเองกลับไม่ได้แตกต่างอะไรมากนักกับกระบวนการสันติวิธีของรัฐและคนใน ชาติไทย' มองไปในสถานการณ์ความขัดแย้ง 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่เป็น คนมลายู'

 

ประการแรกความเจ็บปวดจากการสูญเสียคงไม่สามารถหยุด' ได้ง่ายดายนัก หากไม่มีความรู้สึกถึงการได้รับความเป็นธรรมและมีการเยียวยาที่เหมาะสม อีกประการหนึ่ง หนังกลับได้สร้างความชอบธรรมในการ ฆ่า' หากมีกลุ่มบุคคลที่กำลังสร้างความไม่มั่นคงให้กับรัฐ เป็นคนอื่น และกลุ่มอำนาจอื่นที่ไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตนเองจึงสามารถถูกรัฐฆ่าให้ตายหรือกวาดล้างได้ แต่เมื่อปารีถูกวางตัวให้เป็นฝ่ายสีขาว แม้เป็นกลุ่มชาวบ้านที่รวมกลุ่มกันเป็น โจรสลัด' แต่การปล้นฆ่าโจรกลุ่มอื่นจึงเป็นความดี และเมื่อเริ่มต้นมีความรักครั้งใหม่กับอุงงูจึงมีความผูกพันธ์ทางใจกับฝ่ายรัฐหรือลังกาสุกะ (หลังภรรยาถูกฆ่าตายอย่างโหดร้ายไม่กี่เดือน) เขาจึงได้รับความชอบธรรมจากคนดูเพียงพอให้หยุดฝ่ายสีดำได้ด้วยการ ฆ่า' และกวาดล้างขบวนการฝ่ายตรงข้ามให้หายไปเพื่อตัดวงจรความแค้นที่ตามล้างกันไม่รู้จบ

 

สิ่งที่สะท้อนผ่านหนังจึงย้อนกลับมาหาตัวเราเองผ่านการทำให้เรารู้สึกตลอดเวลาว่าการเป็นพวกเดียวกันกับ ฝ่ายดี' จะทำให้เรามีความชอบธรรมในการฆ่า คนอื่น' ได้มากกว่า ในขณะที่ฝ่ายสีดำจะไม่สามารถอธิบายว่า หยุดด้วยการฆ่า' ได้ด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน

 

นอกจากนี้ ปืนใหญ่จอมสลัดยังสร้างผลิตคำอธิบายให้กับรัฐให้สร้างความชอบธรรมในการผูกขาด อำนาจ' โดยมี มหาปืนใหญ่' หรือองค์ความรู้ในการผลิตเป็นสัญลักษณ์ของแสนยานุภาพที่ทุกฝ่ายต้องการช่วงชิง

 

ดังนั้นเมื่อบทหนังเลือกที่จะเลี่ยงการมีอยู่ของรัฐปตานีที่สถาปนาขึ้นแล้วในคาบสมุทรมลายู ภายใต้การคุกคามที่รายล้อมและสั่นคลอนความมั่นคงไม่ว่าจะทั้งจากมหาอำนาจในยุคนั้นอย่างกรุงศรีอยุธยา หรือรัฐอื่นที่ก่อตัวขึ้นมาในเช่นกัน เช่น ยะโฮร์ ปาหัง หรือกลุ่มอิสระอื่นๆที่รวมตัวกันเป็น โจรใต้' อีกหลายกลุ่ม การดักปล้นสินค้าและอาวุธจึงมีความหมายของการไม่ยอมรับอำนาจและช่วงชิงผลประโยชน์ของรัฐส่วนกลาง

 

การย้อนกลับไปใช้คำว่า อาณาจักรลังกาสุกะ' จึงสร้างความหมายของการปฏิเสธการมีอยู่ของรัฐอิสลามในคาบสมุทรมลายูที่ตั้งตัวเป็นอิสระจากสยาม และลังกาสุกะในความรับรู้ของผู้ดูก็ไม่ได้แตกต่างไปจากการกำลังดูหนังประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยาอีกเรื่องหนึ่ง และเมื่อ ลังกาสุกะ' ถูกวางตัวตนให้เป็น กรุงศรีอยุธยา' ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ก็คงอนุมานต่อได้ว่า กรุงศรีอยุธยา' เท่ากับ สยาม' และ สยาม' ก็คือ ไทย' ในปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อมีคนอื่น (กลุ่มโจรสลัด = กลุ่มมลายูแบ่งแยกดินแดน) มาท้าทายอำนาจและมีอาวุธ (มหาปืนใหญ่ = การปล้นปืน การลอบวางระเบิด การลอบสังหาร ฯลฯ) ที่มีแสนยานุภาพจึงเป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้

 

ปืนใหญ่จอมสลัดจึงได้ผูกเรื่องและวางฝ่ายคนดีทั้งหมดรวมกันไว้ที่ ลังกาสุกะ' อันเป็นภาพตัวแทนของรัฐส่วนกลาง ในขณะที่ผู้ท้าทายทั้งหมดถูกวางไว้ที่ ฝ่ายดำ' เป็นกลุ่มโจร เป็นคนเลวแถมยังต่อต้านรัฐ ดังนั้นความหมายสุดท้ายที่แฝงไว้ก็คือพวกเหล่านี้ล้วนกำจัดได้

  

ปืนใหญ่จอมสลัดจึงเป็นหนังที่น่าเสียดายอีกเรื่องหนึ่ง ทั้งที่มีความพร้อมในหลายๆด้าน มีความแหลมคมของสถานการณ์ปัจจุบันที่อาจช่วยนำไปสู่ความสนใจในพื้นที่และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ลดอคติอย่างแท้จริงได้ งบประมาณสนับสนุนก็ถือว่าไม่ขี้เหร่ และที่สำคัญคือมีนักแสดงฝีมือดีไม่ว่าจะดารารุ่นเก๋าอย่างสรพงษ์ ชาตรี หรือจารุณี สุขสวัสดิ์ มีพระเอกมากฝีมืออย่างอนันดา เอฟเวอริ่งแฮม มีนักแสดงที่ล้วนจดจำบทบาทกันได้จากฝีมือที่ฝากไว้เมื่อครั้ง  ‘2499  อันธพาลครองเมือง' ไม่ว่าจะเป็นเจษฎาพร ผลดี, อรรถพร ธีมากร, ชาติชาย งามสรรพ์, หรือศุภกร กิจสุวรรณ 

 

แต่หนังไม่ค่อยปล่อยให้ตัวละครเหล่านั้นได้แสดงอารมณ์ออกมาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างหนังที่นนทรีเคยทำในเรื่องที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็น 2499 เองหรือในหนังเรื่อง นางนาก' ก็ตาม แต่กลับดูเหมือนจะสนใจโปรดัคชั่นหรูหราอลังการเสียมากกว่า

ดังนั้น ปืนใหญ่จอมสลัด แม้ว่ามีภาพของนักแสดงมากมายปรากฏตัวออกมา แต่กลับถูกลดทอนให้กลายเป็นบรรยากาศของงานเลี้ยงรุ่นที่แค่ยืมหน้ามาใช้ให้กล้องวิ่งผ่าน ที่สำคัญยังยืมรูปแบบการนำเสนอจากหนังเรื่องอื่นๆมาใช้มากเกินกว่าการเป็นแรงบันดาลใจจนทำให้เสียความเป็นตัวของตัวเองในการทำหนัง ไม่ว่าจะเป็นคาแร็กเตอร์ตัวละครอย่างกระเบนขาว/ดำที่ชวนให้นึกถึงพ่อมดแกนดาร์ฟ พวกโจรสลัดที่ไม่สลัดภาพของแจ็ค สแปโร่ ส่วนคิวบู๊ก็เหมือนจะโชว์ออฟจนเป็นองค์บากภาค 1 ครึ่ง หรือฉากในรั้วในวังก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าแตกต่างอะไรไปจากนเรศวรหรือสุริโยไทของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล

 

ที่สำคัญ การยอมตายเพื่อชูอุดมการชาติแบบกามิกาเซ่ของ ยะรัง' ทหารองครักษ์แห่งลังกาสุกะในตอนท้ายเรื่อง คงเป็นสัญญาณแทนคำตอบของหนังทั้งเรื่องไปแล้วว่า มหาปืนใหญ่' กระบอกนี้กำลังเล็งไปที่ใครกันแน่....

 

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
โดย… พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
Cinemania
      ซาเสียวเอี้ย   แต่ไหนแต่ไรมา...ระบบการศึกษาในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกมักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการ ‘ดับฝัน’ ของคนวัยหนุ่มสาว เพราะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้นที่จะ ‘เรียนรู้’ สิ่งแปลกใหม่ในวัยเยาว์ถูกลบเลือนหายไปในกรอบ-กฎเกณฑ์-เหตุผล-เงื่อนไข และข้อเท็จจริงทั้งหลายทั้งปวง (ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีโอกาสเกิดมาใช้ชีวิตบนโลกก่อนหน้าเรา...)   กระนั้น...ใครหลายคนก็ยังยินดีเดินตามแนวทางหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกวางไว้แล้วโดยไม่เคยคิดตั้งคำถาม เพื่อแลกเปลี่ยนกับ ‘การยอมรับ’ จากสังคมรอบข้าง...เพื่อที่มนุษย์ทั้งหลาย (ซึ่งเป็นสัตว์สังคม)…
Cinemania
        ซาเสียวเอี้ย   ‘ชาร์ลี วิลสัน’ ตายแล้ว...   แม้การตายของเขาจะไม่ได้ทำให้โลกสะท้านสะเทือนอะไรมากนัก แต่ก็มีความหมายสลักสำคัญมิใช่น้อย เพราะบทบาทของวิลสันในสมัยที่เขายังหนุ่มแน่นและดำรงตำแหน่ง สว.รัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา เป็นประเด็นให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดว่าควรจะจดจำเขาไว้ในฐานะอะไร...   บ้างก็ว่า ชาร์ลี วิลสัน คือ ‘นักการเมืองเจ้าสำราญ’ เจ้าของฉายา Good Time Charlie ผู้มีชีวิตโลดโผนเต็มไปด้วยสีสัน หรือเป็น ‘วีรบุรุษชาวอเมริกัน’ ผู้ช่วยให้นักรบมูจาฮิดีนขับไล่กองทัพสหภาพโซเวียตอันโหดร้ายป่าเถื่อนไปจากอัฟกานิสถาน…
Cinemania
themadmon หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น บทสะท้อนย้อนคิดหลังจากการชมภาพยนตร์เรื่อง Air Doll ผมในฐานะที่เป็นผู้เขียนจงใจจะหยิบเลือกประเด็น (ซึ่งผ่านการตีความของผม) โดยไม่ได้อ้างอิงอย่างชัดเจนไปสู่ตัวภาพยนตร์ในแต่ละฉากแต่ละตอน โดยหวังว่าผู้ที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ก็สามารถอ่านได้ และผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วจะสามารถระลึกถึงฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้ด้วยเช่นกัน     หากลองพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในสามประโยค  ผมคงพูดสั้นๆ ว่า.. “ผู้คนหลากหลาย เราต่างก็ว่างเปล่า และเหงามากมาย”  เพราะอะไรน่ะหรือ …
Cinemania
  บริวารเงา   ขงจื๊อ เป็นชื่อหนึ่งที่ผมได้ยินมาเนิ่นนาน ถ้าจำไม่ผิดอาจจะเป็นหนังจีนกำลังภายในสักเรื่องหนึ่งที่อ้างชื่อนี้ขึ้นมาเพื่อพูดถึงปรัชญาในเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร ผมมารู้จักเขาอีกครั้งในห้องสมุดช่วงที่กำลังสนใจพวกวิชาปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ฯลฯ  แต่ผมกลับไปชอบปรมาจารย์จีนอีกคนคือ เล่าจื๊อ เสียมากกว่า เพราะว่าแกมีความคิดที่ 'แนว' ดี (อารมณ์ของวัยรุ่นเช่นนี้แล) อีกนัยหนึ่งก็ดูเพี้ยน ๆ อีกนัยหนึ่งก็มีอารมณ์ศิลปินกว่าขงจื๊อ ขณะที่ผมเห็นว่าขงจื๊อเอาแต่พร่ำบ่นอะไรที่เป็นหลักจริยธรรมน่าเบื่อ ๆ ซึ่งความน่าเบื่อนี้ไม่ใช่ความผิดของขงจื๊อเสียทีเดียว…
Cinemania
เดือนสองจันทร์   October Sonata: รักที่รอคอย
Cinemania
สุพิชชา โมนะตระกูล ตลอดช่วงเวลาขณะชมภาพยนตร์สารคดี “Our Daily Bread” ผู้เขียนรู้สึกตะลึงกับภาพที่ได้รับชม โดยสาเหตุหลักหาใช่ “ความงาม” ของสีสันหรือองค์ประกอบศิลป์แบบภาพที่ผู้กำกับภาพบรรจงจัดวางอย่างภาพยนตร์ที่มีภาพงามเรื่องอื่นๆ...หากเป็น “ความจริง” ของภาพที่ตรึงผู้เขียนไว้ตลอดระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
Cinemania
  สาวกท่านเป้า ขณะที่กำลังตุรัดตุเหร่ในร้านหนังสือแอร์เย็นเฉียบ เพื่อตามหานิตยสารมือถือฉบับหนึ่ง บังเอิญเหลือบไปเห็นนิตยสารฉบับหนึ่งที่นำภาพโปรโมทภาพยนตร์ “วงษ์คำเหลา” มาขึ้นปก แต่เมื่อหยิบมาจึงรู้ว่าเป็นปกหลัง แต่ปกหน้าก็ยังเป็นวงษ์คำเหลาอยู่ดี จึงเริ่มรู้ตัวว่าถูกหลอกแดกเสียแล้ว มีที่ไหนวางขายนิตยสารโดยเอาปกหลังเป็นตัวชูโรง นิตยสารฉบับนั้นคือนิตยสารภาพยนตร์ของกลุ่มคนทวนกระแสที่ชื่อว่า “ไบโอสโคป”
Cinemania
   เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ ‘สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ ‘เศรษฐีใหม่' หรือ ‘ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง ‘บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ‘ปม'…
Cinemania
 'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...‘ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น ‘คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...บุรุษไปรษณีย์นามว่า ‘มาริโอ โรปโปโร':::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ‘ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538…
Cinemania
  ..mad mon..::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์:: 1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep)…
Cinemania
(เขียนเมื่อ 31 ธ.ค.51)จันทร์ ในบ่อ สิ้นปีกันเสียที บรรยากาศตึงๆ ปีนี้อาจทำให้ใครหลายคนอึดอัดและทำท่าจะลากยาวไปถึงปีหน้า ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ  คนสู้ๆ กับปัญหาที่รุมเร้า แต่ถ้าเครียดมากลองผ่อนคลายกันด้วยการหาหนังดูมาสักเรื่องสองเรื่อง จะซื้อ จะเช่ามานั่งดูที่บ้านหรือจะออกไปดูตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็ได้ ลองออกจากโลกความจริงไปอยู่ในโลกอื่นสักชั่วโมงสองชั่วโมงอาจจะสบายใจขึ้นส่วนถ้าใครยังไม่รู้จะดูเรื่องอะไร ที่ไหนอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมหนังรับปีใหม่มาฝาก เป็นหนังฟรีกลางแปลงครับหลายคนคงไม่ค่อยทราบว่าที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดเทศการหนังกลางแปลงกันทุกปี ในวันที่ 7-8-9 มกราคม 2552…