Skip to main content

 

หมายเหตุ: บันทึกอิสรา แสดงที่มะขามป้อมสตูดิโอ ในวันที่ 9-15 ธันวาคม เวลา 19.30น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 14.00น.  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูไปที่ www.makhampomstudio.net

 

 

 

 

เรื่องราว... ถ้าไม่เล่าสู่กันฟัง คนข้างหลังก็จะลืม... เลือนราง

เนื้อร้องท่อนหนึ่งจากละครร้องเรื่อง บันทึกอิสรา ว่าเอาไว้ ชวนให้นึกเห็นด้วยไม่น้อย ทุกวันนี้ถ้าจะย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านพ้นมา ก็พบว่า ประวัติศาสตร์ของหลายๆ อย่างในประเทศนี้ไม่เคยจะสมบูรณ์เสียที ประวัติศาสตร์บางแบบแม้จะเรียนแล้วก็ต้องเรียนอีก เช่นเดียวกับอีกหลายประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยได้เรียนอย่างไร ก็ยังคงไม่ได้ถูกบรรจุให้เรียนอยู่อย่างนั้น

 

มันก็คงเหมือนกันกับความเป็นนักหนังสือพิมพ์ปากกล้า ที่กล้าวิพากษ์บทบาทของ ผู้มีอำนาจ ของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ที่ถูกทำให้เลือนรางไป แล้วขับเน้นให้เห็นเพียงบทบาทบางเสี้ยวบางด้าน เช่นการเป็นนักเขียนนิยาย ข้างหลังภาพผ่านนามปากกา ศรีบูรพาเท่านั้น

 


กุหลาบ (ล่างซ้าย) เข้าเจรจากับรัฐบาล จอมพล ป. เพื่อให้รัฐยอมรับในอิสรภาพของสื่อมวลชน
ภาพโดย
poakpong

บันทึกอิสรา เป็นบทละครร้องที่พัฒนามาจากบทละครร้องเรื่อง อิสราชน ซึ่งกลุ่มมะขามป้อม ได้จัดแสดงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2548 เนื่องในวาระ100 ปี ชาตกาลของกุหลาบ สายประดิษฐ์

 

บันทึกอิสรา บอกเล่าประวัติ ผลงาน และแนวคิดของกุหลาบ ผ่านเหตุการณ์ช่วงที่เขาถูกจองจำอยู่ในคุกนานกว่า 4 ปี โดยที่งานเขียนของเขายังทยอยออกมาสู่โลกนอกห้องคุมขังอยู่เรื่อยๆ ด้วยความช่วยเหลือของหลายฝ่าย รวมไปถึง ชนิด สายประดิษฐ์ คู่ชีวิตของเขาเอง

 


เรื่องราวถูกเล่าผ่าน
ชนิด สายประดิษฐ์ ภรรยาของ กุหลาบ
ภาพโดย poakpong

 

ขณะที่ละครร้องเรื่องนี้ แสดงให้เห็นถึงความพยายามไปพ้นจากข้อจำกัดทางกายภาพอย่างซี่ลูกกรง ทีมงานละครร้องนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการใช้ประโยชน์จากข้อจำกัดทางกายภาพของสถานที่แสดงเช่นกัน มะขามป้อมสตูดิโอเป็นห้องแถวขนาดย่อมๆ ซึ่งเมื่อตั้งแสตนท์สำหรับผู้ชมเข้าไปทั้งสองฝั่งแล้ว ก็เหลือที่สำหรับนักแสดงเพียงไม่กี่มากน้อย (กะด้วยสายตา น่าจะราว 5*5 เมตร) แต่ทีมงานก็ใช้พื้นที่ รวมถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ในการสื่อสารได้ดีทีเดียว

 

 


นักแสดงและผู้กำกับพูดคุยกับผู้ชม

ภาพโดย poakpong

 

 

หลังการแสดงจบลง ทีมงานเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถามพูดคุย หลายคนแสดงความชื่นชม รวมถึงอยากให้เพิ่มรอบ ไปจนถึงจัดการแสดงตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วย

 

สมบัติ บุญงามอนงค์ อดีตคนทำละครเวที ถามประดิษฐ ประสาททอง ผู้กำกับการแสดงขึ้นว่า เหตุใดจึงนำละครเรื่องนี้กลับมาเล่นอีกครั้งในช่วงเวลานี้ ผู้กำกับไม่ได้ตอบในทันที หากแต่ถามกลับว่าผู้ชมนั้นคิดอย่างไร

 

สมบัติตอบว่า เขาชอบประโยคเปิดที่ว่า คนมีชีวิตอยู่มีหน้าที่เล่าเรื่องต่อไป ทำให้ความจริง ไม่ว่าจะมากหรือน้อยดำรงอยู่ได้ อาจเพราะโลกสมัยก่อนนั้นมีข้อจำกัดด้านการสื่อสาร

 

โดยเขาตั้งข้อสังเกตว่า ถ้อยคำในละครที่มีอายุบางคำก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ มันร่วมสมัย และตีกันในสมองผม ผมพยายามเปรียบเทียบและอ่านใจว่าคนทำคิดอะไรอยู่

 

จากนั้น ประดิษฐ ได้เล่าว่า สาเหตุที่เขานำละครร้องเรื่องนี้ กลับมาทำใหม่นั้น เพราะในห้วงที่ผ่านมา เขาได้รับผลกระทบ ไม่ว่ากับญาติ หรือเพื่อนฝูง คนที่นั่งกินข้าวอยู่ตรงข้ามกันพูดคุยกันลึกซึ้งไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าเขาต่อต้านเราอยู่รึเปล่าและจะเสียเขาไปไหม เขาบอกว่า แม้แต่คนในบ้านเดียวกัน หรือแท็กซี่ก็ต้องระวัง เหมือนว่าสังคมกำลังเจ็บป่วย โดยที่เราเป็นหนึ่งในเชื้อโรคตัวนั้น เราเป็นส่วนหนึ่ง

 

ประดิษฐจึงคิดว่าควรหยิบเรื่องนี้กลับมาเล่นใหม่ โดยหวังว่าจังหวะของคนในละคร จะช่วยให้ผู้ชมได้หยุดคิด 

เราเจอละครหลายรูปแบบ ทั้งแนวรักชาติ หรือดูแล้วเกิดอารมณ์ ผมตั้งใจว่าจะไม่ทำให้ดูแล้วเกิดอารมณ์ แต่ให้ได้ปัญญา ความคิดและแรงบันดาลใจ

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
โดย… พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
Cinemania
      ซาเสียวเอี้ย   แต่ไหนแต่ไรมา...ระบบการศึกษาในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกมักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการ ‘ดับฝัน’ ของคนวัยหนุ่มสาว เพราะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้นที่จะ ‘เรียนรู้’ สิ่งแปลกใหม่ในวัยเยาว์ถูกลบเลือนหายไปในกรอบ-กฎเกณฑ์-เหตุผล-เงื่อนไข และข้อเท็จจริงทั้งหลายทั้งปวง (ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีโอกาสเกิดมาใช้ชีวิตบนโลกก่อนหน้าเรา...)   กระนั้น...ใครหลายคนก็ยังยินดีเดินตามแนวทางหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกวางไว้แล้วโดยไม่เคยคิดตั้งคำถาม เพื่อแลกเปลี่ยนกับ ‘การยอมรับ’ จากสังคมรอบข้าง...เพื่อที่มนุษย์ทั้งหลาย (ซึ่งเป็นสัตว์สังคม)…
Cinemania
        ซาเสียวเอี้ย   ‘ชาร์ลี วิลสัน’ ตายแล้ว...   แม้การตายของเขาจะไม่ได้ทำให้โลกสะท้านสะเทือนอะไรมากนัก แต่ก็มีความหมายสลักสำคัญมิใช่น้อย เพราะบทบาทของวิลสันในสมัยที่เขายังหนุ่มแน่นและดำรงตำแหน่ง สว.รัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา เป็นประเด็นให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดว่าควรจะจดจำเขาไว้ในฐานะอะไร...   บ้างก็ว่า ชาร์ลี วิลสัน คือ ‘นักการเมืองเจ้าสำราญ’ เจ้าของฉายา Good Time Charlie ผู้มีชีวิตโลดโผนเต็มไปด้วยสีสัน หรือเป็น ‘วีรบุรุษชาวอเมริกัน’ ผู้ช่วยให้นักรบมูจาฮิดีนขับไล่กองทัพสหภาพโซเวียตอันโหดร้ายป่าเถื่อนไปจากอัฟกานิสถาน…
Cinemania
themadmon หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น บทสะท้อนย้อนคิดหลังจากการชมภาพยนตร์เรื่อง Air Doll ผมในฐานะที่เป็นผู้เขียนจงใจจะหยิบเลือกประเด็น (ซึ่งผ่านการตีความของผม) โดยไม่ได้อ้างอิงอย่างชัดเจนไปสู่ตัวภาพยนตร์ในแต่ละฉากแต่ละตอน โดยหวังว่าผู้ที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ก็สามารถอ่านได้ และผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วจะสามารถระลึกถึงฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้ด้วยเช่นกัน     หากลองพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในสามประโยค  ผมคงพูดสั้นๆ ว่า.. “ผู้คนหลากหลาย เราต่างก็ว่างเปล่า และเหงามากมาย”  เพราะอะไรน่ะหรือ …
Cinemania
  บริวารเงา   ขงจื๊อ เป็นชื่อหนึ่งที่ผมได้ยินมาเนิ่นนาน ถ้าจำไม่ผิดอาจจะเป็นหนังจีนกำลังภายในสักเรื่องหนึ่งที่อ้างชื่อนี้ขึ้นมาเพื่อพูดถึงปรัชญาในเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร ผมมารู้จักเขาอีกครั้งในห้องสมุดช่วงที่กำลังสนใจพวกวิชาปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ฯลฯ  แต่ผมกลับไปชอบปรมาจารย์จีนอีกคนคือ เล่าจื๊อ เสียมากกว่า เพราะว่าแกมีความคิดที่ 'แนว' ดี (อารมณ์ของวัยรุ่นเช่นนี้แล) อีกนัยหนึ่งก็ดูเพี้ยน ๆ อีกนัยหนึ่งก็มีอารมณ์ศิลปินกว่าขงจื๊อ ขณะที่ผมเห็นว่าขงจื๊อเอาแต่พร่ำบ่นอะไรที่เป็นหลักจริยธรรมน่าเบื่อ ๆ ซึ่งความน่าเบื่อนี้ไม่ใช่ความผิดของขงจื๊อเสียทีเดียว…
Cinemania
เดือนสองจันทร์   October Sonata: รักที่รอคอย
Cinemania
สุพิชชา โมนะตระกูล ตลอดช่วงเวลาขณะชมภาพยนตร์สารคดี “Our Daily Bread” ผู้เขียนรู้สึกตะลึงกับภาพที่ได้รับชม โดยสาเหตุหลักหาใช่ “ความงาม” ของสีสันหรือองค์ประกอบศิลป์แบบภาพที่ผู้กำกับภาพบรรจงจัดวางอย่างภาพยนตร์ที่มีภาพงามเรื่องอื่นๆ...หากเป็น “ความจริง” ของภาพที่ตรึงผู้เขียนไว้ตลอดระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
Cinemania
  สาวกท่านเป้า ขณะที่กำลังตุรัดตุเหร่ในร้านหนังสือแอร์เย็นเฉียบ เพื่อตามหานิตยสารมือถือฉบับหนึ่ง บังเอิญเหลือบไปเห็นนิตยสารฉบับหนึ่งที่นำภาพโปรโมทภาพยนตร์ “วงษ์คำเหลา” มาขึ้นปก แต่เมื่อหยิบมาจึงรู้ว่าเป็นปกหลัง แต่ปกหน้าก็ยังเป็นวงษ์คำเหลาอยู่ดี จึงเริ่มรู้ตัวว่าถูกหลอกแดกเสียแล้ว มีที่ไหนวางขายนิตยสารโดยเอาปกหลังเป็นตัวชูโรง นิตยสารฉบับนั้นคือนิตยสารภาพยนตร์ของกลุ่มคนทวนกระแสที่ชื่อว่า “ไบโอสโคป”
Cinemania
   เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ ‘สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ ‘เศรษฐีใหม่' หรือ ‘ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง ‘บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ‘ปม'…
Cinemania
 'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...‘ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น ‘คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...บุรุษไปรษณีย์นามว่า ‘มาริโอ โรปโปโร':::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ‘ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538…
Cinemania
  ..mad mon..::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์:: 1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep)…
Cinemania
(เขียนเมื่อ 31 ธ.ค.51)จันทร์ ในบ่อ สิ้นปีกันเสียที บรรยากาศตึงๆ ปีนี้อาจทำให้ใครหลายคนอึดอัดและทำท่าจะลากยาวไปถึงปีหน้า ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ  คนสู้ๆ กับปัญหาที่รุมเร้า แต่ถ้าเครียดมากลองผ่อนคลายกันด้วยการหาหนังดูมาสักเรื่องสองเรื่อง จะซื้อ จะเช่ามานั่งดูที่บ้านหรือจะออกไปดูตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็ได้ ลองออกจากโลกความจริงไปอยู่ในโลกอื่นสักชั่วโมงสองชั่วโมงอาจจะสบายใจขึ้นส่วนถ้าใครยังไม่รู้จะดูเรื่องอะไร ที่ไหนอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมหนังรับปีใหม่มาฝาก เป็นหนังฟรีกลางแปลงครับหลายคนคงไม่ค่อยทราบว่าที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดเทศการหนังกลางแปลงกันทุกปี ในวันที่ 7-8-9 มกราคม 2552…