Skip to main content
 

นพพร ชูเกียรติศิริชัย

 

 

 

"to prove the Faustian dream to be a nightmare"

 

ผมมีโอกาสประสบพบกับประโยคภาษาอังกฤษข้างต้นเป็นครั้งแรกในหนังสือ ‘POST MODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ' ของ อาจารย์ไชยันต์ ไชยพร และตั้งแต่วันนั้นผมก็ไม่เคยคิดว่าผมจะต้องนึกถึงมันอีกเลยไม่ว่าจะในกรณีใดๆ

 

แต่แล้ววันดีคืนดี ในขณะที่ผมกำลังนั่งเพลิดเพลินเจริญอารมณ์อยู่กับภาพยนตร์เรื่อง Hellboy 2 : The Golden Army หลายๆ ฉาก หลายๆ ตอนในภาพยนตร์กลับทำให้มันสมองของผมเกิดระลึกถึงคำอธิบายเกี่ยวกับ ‘the Faustian dream' ของอาจารย์ไชยันต์ (ไชยพร) ขึ้นมาอย่างกระทันหัน

 

แม้ว่าผมจะไม่เคยอ่านบทประพันธ์เรื่อง ‘Faust' ของเกอเธ่ (JohannWolfgang von Goethe) กวีเอกชาวเยอรมัน (ค.ศ.1749-1832) แต่หนังสือของอาจารย์ไชยันต์ก็ได้ช่วยอธิบายเรื่องย่อของบทประพันธ์ดังกล่าวซึ่งจะกลายเป็นที่มาของ ‘the Faustian dream' เอาไว้ว่า

 

"เป็นเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของบัณฑิตผู้ใฝ่รู้นามว่า เฟาสต์' และด้วยความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะพบแก่นแท้ความหมายของชีวิต เขาได้เรียกปีศาจมาเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว ปีศาจเสนอตัวว่าจะรับใช้เขาตราบเท่าที่เขามีชีวิตอยู่ และจะเอาวิญญาณของเฟาสต์ก็ตอนที่เขาได้บรรลุถึงจุดสูงสุดของความสุข" (ไชยันต์ ไชยพร.POST MODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ. กทม. : หจก.ภาพพิมพ์, 2550 พิมพ์ครั้งที่ 2 หน้า 96 )

 

และแม้ว่าผมจะไม่เคยอ่านบทความของ  Seyla Benhabib นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เจ้าของประโยค ‘to prove the Faustian dream to be a nightmare' แต่อาจารย์ไชยันต์ ไชยพร ก็ช่วยอธิบายไว้ในหนังสือเรื่องเดิมอีกว่า

 

"การพูดถึง ‘the Faustian dream' นั้นเกี่ยวพันกับยุคสมัยใหม่ตรงที่ว่า ในการวิวาทะระหว่างภูมิปัญญาโบราณและภูมิปัญญาสมัยใหม่ในยุโรปช่วงศตวรรษที่สิบเจ็ดนั้น พวกที่นิยมความรู้สมัยใหม่อันได้แก่ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เป็นต้น มีความศรัทธาเชื่อมั่นว่า ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่นั้นจะนำมนุษยชาติไปสู่ชีวิตที่สะดวกสบายมีความสุขและก้าวหน้ากว่าที่เป็นอยู่ ท่ามกลางคลื่นศรัทธาว่า มนุษยชาติจะก้าวหน้าไปสู่ความสมบูรณ์แบบ' นั้น ก็มีนักเขียนหลายคนได้สะท้อนจินตนาการความเชื่อของเขาออกมาเป็นนิยายหรือนิยายวิทยาศาสตร์ พวกนิยมภูมิปัญญาสมัยใหม่เชื่อว่า การละทิ้งความรู้โบราณ ซึ่งอาจรวมถึงศรัทธาความเชื่อในศาสนาและพระผู้เป็นเจ้า ย่อมคุ้มค่าที่จะเสี่ยง เพราะการหันไปยึดมั่นในความรู้ใหม่จะสร้างโลกที่เหมือนกับสวรรค์ได้ด้วยน้ำมือความสามารถของมนุษย์เอง โดยไม่ต้องรอตายแล้วถึงจะได้ขึ้นสวรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า...

 

" การละทิ้งของโบราณเพื่อของใหม่นั้น ก็ได้ให้รางวัลแก่ผู้ที่กล้าทิ้งของโบราณที่ดำรงอยู่มานานอย่างสาสม เพราะความเป็นสมัยใหม่นั้นได้นำความสะดวกสบายต่างๆ มาให้มนุษย์อย่างที่คนโบราณยากที่จะจิตนาการได้...

 

"แต่การเลิกเชื่อพระผู้เป็นเจ้าก็ไม่ต่างกับการที่คนเรากลายเป็นสัตว์ไร้วิญญาณ หรือไม่ก็ถูกวิญญาณชั่วร้ายเข้าสิงสู่ การเลิกเชื่อพระผู้เป็นเจ้าเพื่อหวังความสุขสบายทางกายและความบันเทิงทางโลกีย์ต่างๆ นั้น ก็ไม่ต่างกับที่ Faust ทำสัญญากับปีศาจ ไม่ต่างกับการขายวิญญาณเพื่อแลกกับการตอบสนองกิเลสตัณหา...

 

"เมื่อเวลาผ่านไป ความก้าวหน้า ความสะดวกสบายต่างๆ ในยุคสมัยใหม่ก็เริ่มถูกเงาร้ายคืบคลานเข้ามาแทนที่ เพราะยังมิทันที่สังคมสมัยใหม่จะเข้าสู่ยุคสมบูรณ์พูนสุขกันถ้วนหน้าทั่วโลกอย่างที่จินตนาไว้...ทุกอย่างมันเริ่มจะเลวลงมากกว่าในสายตาของ คนสมัยใหม่' บางพวกในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสงคราม ความวิบัติ ความอดอยากที่ไม่น่าจะมีในโลกที่มีวิทยาการอันแสนจะก้าวหน้า ที่สามารถผลิตอะไรต่างๆ ได้ครั้งละมหาศาล...สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ แหล่งเสื่อมโทรม ฆาตกรโรคจิต คนวิปริตทางเพศ ช่องว่างระหว่างคนจนคนรวย ก็เริ่มจะกลายเป็นฝันร้าย ‘to prove the Faustian dream to be a nightmare'

(ไชยันต์ ไชยพร.POST MODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ. กทม. : หจก.ภาพพิมพ์, 2550 พิมพ์ครั้งที่ 2 หน้า 92-93)

 

 

โดยสรุปแล้ว (ตามความเข้าใจของผู้เขียนเอง) ‘the Faustian drem' จึงเป็นคำที่ใช้อธิบายสภาพจิตใจของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่' ที่รู้สึกกังวัลว่าการละทิ้งความเชื่อแบบโบราณ (ความเชื่อในพระเจ้า) แล้วหันหน้ามาพึ่งพา วิทยาศาสตร์' และ เทคโนโลยี' กำลังจะนำพวกเขาไปสู่ข้อผูกมัดที่เลวร้ายดุจเดียวกับการทำสัญญากับปีศาจ

 

เกริ่นมาถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านหลายท่านคงจะตัดสินใจเลิกอ่านไปแล้ว หรือหากยังมีบางท่านที่อ่านอยู่ก็คงจะเกิดข้อสงสัยว่า แล้วไอ้ที่ผมพยายามอ้างอิงงานวิชาการมาตั้งนานนี่มันเกี่ยวอะไรกับ Hellboy  ภาค 2 วะ,ครับ,คะ? ซึ่งผมก็ไม่รู้จะตอบคำถามนี้ได้หรือเปล่า แต่ก็อยากให้ลองอ่านกันต่อไป

 

Hellboy 2 : The Golden Army : ‘พระเจ้าตายแล้ว' จริงๆ

 

(ก่อนอื่นผมคงต้องขอบอกไว้ก่อนว่าผมไม่ได้ชมภาพยนตร์เรื่อง Hellboy ภาคแรก แต่เข้าใจไปเองว่ามันคงจะไม่ได้ต่อเนื่องกันสักเท่าไหร่ เพราะผู้กำกับเดล โตโรก็บอกเองว่าหนังจะไม่มีการอ้างอิงหรือย้อนอะไรไปถึงภาคแรกมากนัก')

 

ภาพยนตร์เรื่อง Hellboy ภาค 2 เริ่มต้น ด้วยตำนานแต่ครั้งโบราณที่อาณาจักรเอลฟ์ (สวรรค์) โลกใต้พิภพ และโลกมนุษย์ยังไม่ถูกแยกออกจากกัน จนอยู่มาวันหนึ่งราชาแห่งโลกมนุษย์นั้นต้องการที่จะยึดครองดินแดนทั้งสาม (ความพยายามของมนุษย์ที่จะเอาชนะธรรมชาติ และปฏิเสธความเชื่อในพระเจ้า) พระองค์จึงเดินหน้าทำสงครามทั้งกับเหล่ามนุษย์ เทวดา และปีศาจใต้พิภพ

 

ยิ่งนับวันกองทัพของมนุษย์ก็ยิ่งเข้มแข็งขึ้น และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ราชาแห่งเอลฟ์ (ราชาแห่งเทวดาตัวแทนแห่งพระเจ้า) ต้องตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโดยได้รับความช่วยเหลือจากนักรบทองคำที่สร้างขึ้นโดย ช่างตีเหล็กมากฝีมือ

 

ซึ่งนอกจากช่างตีเหล็กจะสร้างเหล่านักรบทองคำจำนวนมหาศาลขึ้นมาแล้ว เขายังได้สร้าง มงกุฏทองคำ' มอบให้แด่ราชาแห่งเอลฟ์เพื่อใช้ในการควบคุม นักรบทองคำ' และด้วยความแข็งแกร่งของกองทัพจักรกลทองคำ ทำให้มนุษย์จำนวนมากต้องพ่ายแพ้และล้มตายไปในสงครามระหว่างมนุษย์และเทวดา

 

จากความสูญเสียอย่างมหาศาล  ราชาแห่งเอลฟ์ (พระเจ้า) จึงตัดสินใจที่จะทำสนธิสัญญาเพื่อยุติสงคราม และตัดสินใจที่จะแยกมงกุฎทองคำออกเป็น 3 ส่วน เพื่อป้องกันมิให้มีผู้ใดสามารถนำ กองทัพทองคำ' ไปประหัตประหารชีวิตผู้คนได้อีก

 

แต่สำหรับเจ้าชายเนาด้า บุตรของราชาแห่งเอลฟ์ กลับรู้สึกว่าไม่มีประโยชน์ที่จะทำสนธิสัญญาสงบศึกกับพวกมนุษย์ เพราะนับวันพวกมนุษย์ก็ยิ่งพยายามจะรุกรานธรรมชาติ โดยไม่เห็นหัวเหล่าเทวดา (การปฏิเสธพระเจ้า) เจ้าชายเนาด้าจึงตัดสินใจที่จะเนรเทศตนเองออกจากอาณาจักรเอลฟ์ โดยมุ่งหวังว่าวันหนึ่งเขาจะกลับมาแย่งชิง มงกุฎทองคำ' และนำ กองทัพทองคำ' ออกทำสงครามปราบปรามเหล่ามนุษย์ซึ่งหยิ่งผยองในอำนาจของตนเอง  

 

แต่ภารกิจในการแย่งชิงและรวบรวมชิ้นส่วนของ มงกุฎทองคำ' ของ เจ้าชายเนาด้า' กลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะหน่วยเฝ้าระวังเรื่องเหนือธรรมชาติของสหรัฐ (BPRD-Bureau for Paranormal Reserch and Defense) ที่นำทีมโดย เฮลล์บอย บุตรของเจ้าแห่งนรกซึ่งเต็มไปด้วยพละกำลัง, ลิช เชอร์แมน สาวพลังไฟ เพื่อนร่วมงานและภรรยาของเฮลล์บอย, เอ๊บ เบรเมน หรือเอ๊ป ซาเปียน มนุษย์ ปลาที่สามารถอ่านจิตได้ และสมาชิกใหม่อย่างโยฮาน ครอส (ดวงจิตที่เต็มไปด้วยความรู้ความสามารถทางวิชาการ) ต่างรับรู้ถึงความไม่ชอบมาพากลที่กำลังจะเกิดขึ้นกับมนุษย์

 

พวกเขาจึงตัดสินใจที่จะใช้ความรู้ความสามารถ (องค์ความรู้แบบวิทยาศาสตร์ของโยฮาน ครอส พละกำลังมหาศาล (กองกำลังทหาร)ของ เฮลล์บอย บุตรของเจ้านรก และเทคโนโลยีทางอาวุธอันทรงอานุภาพ) ในการบุกตะลุยดินแดนใต้พิภพ ที่ถูกกั้นกลางด้วยประตูกลไก (สัญลักษณ์หรือตัวแทนความเชื่อที่ว่ามนุษย์สามารถไขความลับของธรรมชาติด้วยองค์ความรู้แบบวิทยาศาสตร์) เพื่อลงไปสืบหาปรากฏการณ์ที่อาจจะเป็นภัยต่อมนุษย์

 

แม้ว่าเจ้าชายเนาด้า (ตัวแทนของพระเจ้า) จะพยายามขัดขวางหน่วย BPRD ด้วยการส่งสัตว์ร้ายเข้าต่อสู้ แต่ก็ไม่คะนามือ บุตรแห่งเจ้านรกอย่างเฮลล์บอย หรือแม้แต่ รุกขเทวดา' (ตัวแทนของภัยธรรมชาติ) ก็ถูก เฮลล์บอย' ระเบิดกระบาลดับสนิทด้วยอาวุธปืนขนาดใหญ่ (สัญลักษณ์แห่งความสามารถของมนุษย์ในการคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อเอาชนะธรรมชาติ)

 

และถึงแม้ว่าเจ้าชายเนาด้า (ตัวแทนของพระเจ้า) จะสามารถรวบรวม มงกุฎทองคำ' เพื่อบัญชาการกองทัพจักรกลทองคำ' ได้สำเร็จ แต่สุดท้ายเจ้าชาย (พระเจ้า) ก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับบุตรแห่งเจ้านรกอย่าง เฮลล์บอย (ตัวแทนของกองทัพและเทคโนโลยี) อยู่ดี

 

และภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ทำให้เรารับรู้ว่า จากความร่วมมือระหว่างมนุษย์ และบุตรของปีศาจ (เทคโนโลยี) ในสังคมสมัยใหม่นั้น ทำให้ พระเจ้าตายแล้ว' จริงๆ  

 

 ‘to prove the Faustian dream to be a nightmare' หรือ ความฝันแบบ ‘Faust' กำลังจะกลายเป็นฝันร้ายแม้แต่ในโลกของฮอลีวู้ด

 

 

 

 

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
โดย… พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
Cinemania
      ซาเสียวเอี้ย   แต่ไหนแต่ไรมา...ระบบการศึกษาในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกมักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการ ‘ดับฝัน’ ของคนวัยหนุ่มสาว เพราะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้นที่จะ ‘เรียนรู้’ สิ่งแปลกใหม่ในวัยเยาว์ถูกลบเลือนหายไปในกรอบ-กฎเกณฑ์-เหตุผล-เงื่อนไข และข้อเท็จจริงทั้งหลายทั้งปวง (ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีโอกาสเกิดมาใช้ชีวิตบนโลกก่อนหน้าเรา...)   กระนั้น...ใครหลายคนก็ยังยินดีเดินตามแนวทางหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกวางไว้แล้วโดยไม่เคยคิดตั้งคำถาม เพื่อแลกเปลี่ยนกับ ‘การยอมรับ’ จากสังคมรอบข้าง...เพื่อที่มนุษย์ทั้งหลาย (ซึ่งเป็นสัตว์สังคม)…
Cinemania
        ซาเสียวเอี้ย   ‘ชาร์ลี วิลสัน’ ตายแล้ว...   แม้การตายของเขาจะไม่ได้ทำให้โลกสะท้านสะเทือนอะไรมากนัก แต่ก็มีความหมายสลักสำคัญมิใช่น้อย เพราะบทบาทของวิลสันในสมัยที่เขายังหนุ่มแน่นและดำรงตำแหน่ง สว.รัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา เป็นประเด็นให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดว่าควรจะจดจำเขาไว้ในฐานะอะไร...   บ้างก็ว่า ชาร์ลี วิลสัน คือ ‘นักการเมืองเจ้าสำราญ’ เจ้าของฉายา Good Time Charlie ผู้มีชีวิตโลดโผนเต็มไปด้วยสีสัน หรือเป็น ‘วีรบุรุษชาวอเมริกัน’ ผู้ช่วยให้นักรบมูจาฮิดีนขับไล่กองทัพสหภาพโซเวียตอันโหดร้ายป่าเถื่อนไปจากอัฟกานิสถาน…
Cinemania
themadmon หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น บทสะท้อนย้อนคิดหลังจากการชมภาพยนตร์เรื่อง Air Doll ผมในฐานะที่เป็นผู้เขียนจงใจจะหยิบเลือกประเด็น (ซึ่งผ่านการตีความของผม) โดยไม่ได้อ้างอิงอย่างชัดเจนไปสู่ตัวภาพยนตร์ในแต่ละฉากแต่ละตอน โดยหวังว่าผู้ที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ก็สามารถอ่านได้ และผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วจะสามารถระลึกถึงฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้ด้วยเช่นกัน     หากลองพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในสามประโยค  ผมคงพูดสั้นๆ ว่า.. “ผู้คนหลากหลาย เราต่างก็ว่างเปล่า และเหงามากมาย”  เพราะอะไรน่ะหรือ …
Cinemania
  บริวารเงา   ขงจื๊อ เป็นชื่อหนึ่งที่ผมได้ยินมาเนิ่นนาน ถ้าจำไม่ผิดอาจจะเป็นหนังจีนกำลังภายในสักเรื่องหนึ่งที่อ้างชื่อนี้ขึ้นมาเพื่อพูดถึงปรัชญาในเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร ผมมารู้จักเขาอีกครั้งในห้องสมุดช่วงที่กำลังสนใจพวกวิชาปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ฯลฯ  แต่ผมกลับไปชอบปรมาจารย์จีนอีกคนคือ เล่าจื๊อ เสียมากกว่า เพราะว่าแกมีความคิดที่ 'แนว' ดี (อารมณ์ของวัยรุ่นเช่นนี้แล) อีกนัยหนึ่งก็ดูเพี้ยน ๆ อีกนัยหนึ่งก็มีอารมณ์ศิลปินกว่าขงจื๊อ ขณะที่ผมเห็นว่าขงจื๊อเอาแต่พร่ำบ่นอะไรที่เป็นหลักจริยธรรมน่าเบื่อ ๆ ซึ่งความน่าเบื่อนี้ไม่ใช่ความผิดของขงจื๊อเสียทีเดียว…
Cinemania
เดือนสองจันทร์   October Sonata: รักที่รอคอย
Cinemania
สุพิชชา โมนะตระกูล ตลอดช่วงเวลาขณะชมภาพยนตร์สารคดี “Our Daily Bread” ผู้เขียนรู้สึกตะลึงกับภาพที่ได้รับชม โดยสาเหตุหลักหาใช่ “ความงาม” ของสีสันหรือองค์ประกอบศิลป์แบบภาพที่ผู้กำกับภาพบรรจงจัดวางอย่างภาพยนตร์ที่มีภาพงามเรื่องอื่นๆ...หากเป็น “ความจริง” ของภาพที่ตรึงผู้เขียนไว้ตลอดระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
Cinemania
  สาวกท่านเป้า ขณะที่กำลังตุรัดตุเหร่ในร้านหนังสือแอร์เย็นเฉียบ เพื่อตามหานิตยสารมือถือฉบับหนึ่ง บังเอิญเหลือบไปเห็นนิตยสารฉบับหนึ่งที่นำภาพโปรโมทภาพยนตร์ “วงษ์คำเหลา” มาขึ้นปก แต่เมื่อหยิบมาจึงรู้ว่าเป็นปกหลัง แต่ปกหน้าก็ยังเป็นวงษ์คำเหลาอยู่ดี จึงเริ่มรู้ตัวว่าถูกหลอกแดกเสียแล้ว มีที่ไหนวางขายนิตยสารโดยเอาปกหลังเป็นตัวชูโรง นิตยสารฉบับนั้นคือนิตยสารภาพยนตร์ของกลุ่มคนทวนกระแสที่ชื่อว่า “ไบโอสโคป”
Cinemania
   เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ ‘สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ ‘เศรษฐีใหม่' หรือ ‘ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง ‘บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ‘ปม'…
Cinemania
 'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...‘ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น ‘คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...บุรุษไปรษณีย์นามว่า ‘มาริโอ โรปโปโร':::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ‘ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538…
Cinemania
  ..mad mon..::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์:: 1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep)…
Cinemania
(เขียนเมื่อ 31 ธ.ค.51)จันทร์ ในบ่อ สิ้นปีกันเสียที บรรยากาศตึงๆ ปีนี้อาจทำให้ใครหลายคนอึดอัดและทำท่าจะลากยาวไปถึงปีหน้า ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ  คนสู้ๆ กับปัญหาที่รุมเร้า แต่ถ้าเครียดมากลองผ่อนคลายกันด้วยการหาหนังดูมาสักเรื่องสองเรื่อง จะซื้อ จะเช่ามานั่งดูที่บ้านหรือจะออกไปดูตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็ได้ ลองออกจากโลกความจริงไปอยู่ในโลกอื่นสักชั่วโมงสองชั่วโมงอาจจะสบายใจขึ้นส่วนถ้าใครยังไม่รู้จะดูเรื่องอะไร ที่ไหนอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมหนังรับปีใหม่มาฝาก เป็นหนังฟรีกลางแปลงครับหลายคนคงไม่ค่อยทราบว่าที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดเทศการหนังกลางแปลงกันทุกปี ในวันที่ 7-8-9 มกราคม 2552…