โดย… พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
“ในเวลานี้ ชาวอิหร่านทั่วโลกกำลังเฝ้าดูเราอยู่ ผมจินตนาการว่าพวกเขากำลังมีความสุขเป็นอย่างยิ่ง พวกเขาไม่ได้มีความสุขเพียงเพราะว่านี่เป็นรางวัลสำคัญ หรือแค่เพราะว่าเป็นภาพยนตร์จากอิหร่าน หรือเป็นคนทำหนังชาวอิหร่าน แต่เป็นเพราะว่าในเวลาที่นักการเมืองต่างพูดถึงอิหร่านในแง่มุมเกี่ยวกับสงคราม การคุกคาม และความก้าวร้าว ประเทศอิหร่านได้ถูกกล่าวถึงที่นี่, ตรงนี้ผ่านวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองและเก่าแก่ซึ่งถูกซุกซ่อนอยู่ภายใต้ฝุ่นผงหนาทึบของการเมือง ผมมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่จะมอบรางวัลนี้ให้กับผู้คนในประเทศของผม, ผู้คนซึ่งเคารพวัฒนธรรมทุกแบบและไม่ยอมรับในความเป็นปรปัักษ์และความคับแค้นใจ” [1]
นี่คือสิ่งที่ผู้กำกับอัสการ์ ฟาร์ฮาดี พูดบนเวทีประกาศผลรางวัลออสการ์ เมื่อ A Separation ได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมปี 2012 และบล็อกเกอร์หลายคนออกมายกย่องว่าเป็นสุนทรพจน์ขอบคุณที่ดีที่สุดในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ปีนี้ [2] สุนทรพจน์ของฟาร์ฮาดีก็เหมือนกับภาพยนตร์ของฟาร์ฮาดีที่ไม่ได้โจมตีรัฐบาลอนุรักษ์นิยมอิสลามอย่างเผ็ดร้อน แต่พูดถึงชีวิตของผู้คนธรรมดา, ผู้ซึ่งพยายามจะใช้ชีวิตในแต่ละวันให้ผ่านพ้นไปอย่างธรรมดา แต่ความปรารถนาเพียงเท่านั้นก็ไม่อาจเป็นจริงได้โดยง่าย ภายใต้สภาพสังคมการเมืองที่มีแต่ความไม่แน่นอน
A Separation เปิดเรื่องด้วยฉากที่ Nader กับ Simin นั่งต่อหน้าผู้พิพากษา โดย Simin พยายามจะให้เหตุผลว่าที่เธอต้องการหย่ากับ Nader เป็นเพราะว่าเธอต้องการจะย้ายไปอยู่ต่างประเทศ แต่ Nader ไม่ต้องการทิ้งพ่อที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ไว้เพียงลำพัง และไม่ต้องการให้ Termeh ลูกสาววัย 11 ปีไปอยู่กับเธอเช่นกัน
A Separation อาจจะไม่มีภาพการต่อต้านรัฐบาลอนุรักษ์นิยมของขบวนปัญญาชนและคนหนุ่มสาวหัวก้าวหน้า A Separation อาจจะไม่มีภาพการจับกุมผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล A Separation อาจจะไม่มีภาพการควบคุมสื่ออย่างเข้มงวด [3] แต่เราจะเห็นความพยายามของ Simin ผู้ซึ่งดิ้นรนหาหนทางไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศในช่วงเวลาที่ประเทศอิหร่านเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายทางการเมือง คนดูอาจจะไม่เห็นบรรยากาศเหล่านั้นปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ แต่รู้ได้ว่าเป็นแรงจูงใจที่ทำให้ตัวละครอยากออกไปจากประเทศนี้ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด
อัสการ์ ฟาร์ฮาดีฉายให้เห็นภาพการปะทะกันระหว่างชนชั้นและการปะทะกันระหว่างวิธีคิดทางศาสนาแบบดั้งเดิมกับวิถีชีวิตในโลกสมัยใหม่ ผ่านตัวละครที่เป็นชนชั้นกลางระดับบนและชนชั้นล่างผู้ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงอย่างเตหะรานที่มีประชากรมากกว่า 8 ล้านคน ต่างจากหนังอิหร่านยุค 90's ซึ่งนิยมใช้ภาพชีวิตของผู้คนในชนบทถ่ายทอดปัญหาสังคมการเมือง แต่ผู้กำกับอิหร่านยุคใหม่มักจะเลือกเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมเมืองร่วมสมัย [4]
แม้เส้นเรื่องหลักของ A Separation จะเล่าถึงข้อพิพาทระหว่างสองครอบครัวที่แตกต่างกันทั้งฐานะและสถานภาพในสังคม แต่จุดร่วมของสองครอบครัวคือทั้งสองครอบครัวต่างดิ้นรนอย่างสิ้นหวังที่จะมีชีวิตที่ดีกว่าภายใต้สภาพสังคมอิหร่านที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ชนชั้นกลางระดับบนพยายามดิ้นรนเพื่ออพยพไปอยู่ต่างประเทศจนนำมาซึ่งความแตกร้าวในครอบครัวอย่างไม่มีทางเยียวยา ในขณะที่ชนชั้นล่างต้องพยายามมีชีวิตอยู่รอดให้ได้ในโลกทุนนิยมสมัยใหม่และต้องพยายามปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดในฐานะมุสลิมที่ดีไปในเวลาเดียวกัน (ฉากที่เผยให้เห็นความลักลั่นได้ชัดเจนที่สุดคือ ฉากที่ตัวละคร Razieh ซึ่งเป็นแม่บ้านที่ Nader จ้างมาดูแลพ่อ ต้องโทรไปขอคำปรึกษาทางศาสนาว่าการอาบน้ำให้ชายชราเป็นสิ่งที่บาปหรือไม่)
ความชาญฉลาดของ A Separation คือการเผยให้เห็นบริบทของสังคมอิหร่านโดยไม่ต้องชี้นิ้ววิพากษ์วิจารณ์โดยตรง เพราะการกระทำเช่นนั้นนอกจากจะสร้างความขุ่นเคืองให้รัฐบาลอนุรักษ์นิยมของประธานาธิบดีอาห์มะดีเนจาดแล้ว ตัวผู้กำกับเองก็อาจจะถูกจับโยนเข้าคุกด้วยข้อหาบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติและศาสนาอย่างเช่นที่ผู้กำกับจาฟาร์ ปานาฮี ถูกสั่งจำคุก 6 ปีและเพิกถอนใบอนุญาตทำหนังนานถึง 20 ปี เมื่อปานาฮีทำหนังเรียกร้องสิทธิสตรีเรื่อง Offside [5]
A Separation เล่าเรื่องความขัดแย้งในหน่วยเล็กที่สุดอย่างครอบครัวด้วยสไตล์สมจริงแบบหนังสัจจนิยม (Realism) แต่ท้ายที่สุดแล้ว หนังเผยให้เห็นความเจ็บปวดซึ่งผู้คนในสังคมอันกดทับต้องเผชิญอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ยิ่งไปกว่านั้น A Separation ได้ตั้งคำถามกับความเป็นมนุษย์ของคนดูซ้ำแล้วซ้ำเล่าผ่านสถานการณ์บีบหัวใจที่ทำให้คนดูต้องถามตัวเองเช่นกันว่า “ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น - เราจะทำอย่างไร?”
ภาพยนตร์ของฟาร์ฮาดีก็เหมือนกับสุนทรพจน์ของฟาร์ฮาดีบนเวทีออสการ์ เขาไม่ได้เผชิญหน้าหรือปะทะกับผู้ปกครองที่ใช้อำนาจลิดรอนเสรีภาพของประชาชนโดยตรง แต่ฟาร์ฮาดีกำลังทำหน้าที่ของศิลปิน นั่นคือการส่งเสียงให้โลกได้รู้ว่า ณ ที่นี่, ตรงนี้, นอกจากประเด็นนิวเคลียร์บนโต๊ะเจรจาระหว่างประเทศ นอกจากรัฐบาลอนุรักษ์นิยมที่ตะวันตกอาจมองว่าเป็นภัยคุกคามสันติภาพของโลก ณ ที่นี่, ตรงนี้, อิหร่านยังเป็นประเทศที่ประกอบด้วยผู้คนธรรมดา, ผู้ซึ่งพยายามใช้ชีวิตในแต่ละวันให้ผ่านพ้นไปอย่างดีที่สุด ผู้คนธรรมดา, ผู้ซึ่งสับสนกับสิ่งที่เป็นอยู่แต่ไม่รู้จะหาทางออกอย่างไร ผู้คนธรรมดา, ผู้ซึ่งต้องแบกรับความเจ็บปวดส่วนตัวไปเพียงลำพัง, ทั้งที่ความเจ็บปวดนั้นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของบาดแผลใหญ่ที่กำลังกัดกินทั้งสังคม
[1] http://www.huffingtonpost.com/2012/02/26/oscars-a-separation-iran_n_1302973.html
[2] http://thinkprogress.org/alyssa/2012/02/27/432678/the-biggest-winner-of-the-2012-academy-awards/ และ http://www.slate.com/blogs/browbeat/2012/02/27/asghar_farhadi_s_oscar_speech_the_best_of_the_night.html
[3] http://www.hrw.org/world-report-2012/world-report-2012-iran
[4] บทความ “เด็กน้อยที่หายไปและรสชาติใหม่ของหนังอิหร่าน” โดยกิตติภัต แสนดี นิตยสาร Bioscope ฉบับเดือนมีนาคม 2555
บล็อกของ Cinemania
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย “การที่ใครจะเป็น ‘modern’ (ทันสมัย) เขาคนนั้นก็จะต้องคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณแห่งการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากของเก่าที่ดำรงอยู่ (tradition) และที่สำคัญ คือ พร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากตัวตนของตัวเองที่ดำรงอยู่ ถ้าตัวตนเป็น modern ก็ต้องพร้อมที่จะละทิ้งความเป็น modern ด้วยเหตุผลของความเป็น modern เอง” “ในการจะเป็น modern มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเป็น postmodern หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าใครจะเป็น modern เขา หรือเธอคนนั้นก็จะต้องเป็น postmodern มิฉะนั้นแล้ว เขาก็ไม่สามารถเป็น modern ได้” (Jean-Francois…
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย ผมชอบคำว่า ‘เพื่อนบ้าน' (Neighbor) เนื่องจากผมเล็งเห็นว่า คำว่า ‘เพื่อนบ้าน' นั้นดูจะมีความหมายในการมอง ‘มนุษย์' ที่อยู่รอบๆ ตัวของผู้พูด ผู้เขียน ผู้ใช้ คำๆ นี้ในแง่ดี (Positive Thinking) ส่วนคำว่า ‘จ๊ะเอ๋' นั้น ผมจำได้ว่าเป็นคำที่ผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน (รวมทั้งตัวผม) มักจะใช้เล่นกับเด็กๆ ด้วยการเอามือ ผ้า หรือสิ่งของอื่นๆ ที่หาได้สะดวก ปิดหน้าปิดตาของตัวผู้ใหญ่เอง (หรือใช้ปิดตาเด็ก) หลังจากนั้นจึงเปิดหน้าออกพร้อมรอยยิ้มแล้วกล่าวคำว่า ‘จ๊ะเอ๋' ซึ่งเด็กๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะชอบและมักจะมอบรอยยิ้มหรือเสียงหัวเราะเป็นการแสดงความพึงพอใจต่อการละเล่นชนิดนี้…
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย บางครั้งผมก็รู้สึกเบื่อหน่ายที่จะต้องหอบสัมภาระมากมายเข้าไปในโรงภาพยนตร์ปัจจุบันผมแอบสงสัยว่าเหตุใดความสุขในการชมภาพยนตร์แบบเมื่อครั้งยังเป็นเด็กจึงสูญหายไป จนเมื่อมีโอกาสชมภาพยนตร์เรื่อง ‘สะบายดีหลวงพระบาง'จึงทำให้ผมรับรู้ว่าแท้จริงแล้วความสุขในวัยเด็กของผมไม่ได้หายไปไหน แต่หนังสือ ตำรา คำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ผมแบกเอาไว้ในสมองต่างหากที่บดบังความสุขแบบที่เราคุ้นเคย
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย ถ้าหาก E เท่ากับ EMOTION (อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง และ อื่นๆ), M เท่ากับ MAN (มนุษย์ไม่ว่าหญิง ชาย และอื่นๆ) และ C เท่ากับ CLOCK (ซึ่งหมายถึงระยะเวลา) จากสมการ E=mc2คุณคิดว่า ‘จำนวนของบุคคล' ที่เหมาะสมกับ ‘ความรัก' จะเท่ากับเท่าไหร่? รัก/สาม/เศร้า ตามสมการ รัก/สอง/สุข และเวลาแค่ไหนถึงจะพอสำหรับ ‘รัก' ‘รัก/สาม/เศร้า' เป็นเรื่องราวของเพื่อนรักสามคน ที่ ‘แอบรัก' กัน ในฐานะที่มากกว่าเพื่อน ‘น้ำ' แอบรัก ‘พายุ' ‘พายุ' แอบรัก ‘ฟ้า' โดยที่ตัวฟ้าเองก็ไม่เคยรับรู้มาก่อนเลยว่าพายุแอบรักตนเอง (และก็ไม่เคยรับรู้เช่นกันว่าเพื่อนรักของตนอย่าง ‘น้ำ' ก็แอบรักเพื่อนรักอย่าง ‘พายุ'…
Cinemania
< นพพร ชูเกียรติศิริชัย > หากพูดถึงประเทศจีน คุณนึกถึงอะไร? กังฟู, ก๋วยเตี๋ยว, หมีแพนด้า,มังกร, ลูกท้อ,ซาลาเปา, ปรัชญาลัทธิเต๋า และภูเขาสูงหน้าตาแปลกๆ หากสิ่งเหล่านี้คือคำตอบของคุณ นั่นก็หมายความว่า คุณพร้อมแล้วที่จะไปสัมผัสกับภาพยนตร์ ‘KUNG FU PANDA’ หรือในชื่อภาษาไทยว่า ‘กังฟูแพนด้า จอมยุทธพลิกล็อค ช็อคยุทธภพ’ ผมไม่แน่ใจว่าหมีแพนด้าถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของ ‘มิตรภาพ’ ระหว่างประเทศจีน กับประเทศอื่นๆ ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ บทบาทความเป็น ‘ทูตสันติภาพ’ ของหมีแพนด้า ในบัดนี้ได้ถูกนำเสนอผ่านจอภาพยนตร์ฮอลีวู้ดไปเป็นที่เรียบร้อย
Cinemania
ปิติ-ชูใจท่ามกลาง ‘หนังซัมเมอร์' ที่ดาหน้ากันมาถมจนเต็มพื้นที่ในโรงภาพยนตร์ช่วงฤดูร้อน ทางเลือกของคนดูหนังใน ‘โรงหนังชั้นนำใกล้บ้านคุณ' ก็ยังไม่ได้หลากหลายอะไรนัก เพราะแนวทางหลักๆ ของหนังซัมเมอร์ที่เห็นอยู่ตอนนี้ก็มีแค่ แอ๊กชั่น, ตลก, สยองขวัญ และอนิเมชั่น กรณีที่อยากดูหนังนอกกระแส ก็ต้อง ‘เข้าเมือง' กันอย่างเดียว เพราะที่ทางของหนังเหล่านี้ยังกระจุกตัวอยู่ที่สยามหรือไม่ก็สุขุมวิทแค่นั้น (ซึ่งมันก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ในยุคที่หนังถูกจำกัดความหมายให้เป็นแค่เครื่องมือผ่อนคลายและสร้างความบันเทิง) แต่อย่างน้อยที่สุด หน้าร้อนปีนี้ยังมีหนังไทยน่าสนใจอยู่ 2 เรื่อง ที่พอจะแหวกกระแสเดิมๆ…
Cinemania
::: ข้อความหลังเส้นประของข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ ::: โดย...ณภัค เสรีรักษ์ภาพยนตร์พูดภาษาอังกฤษเรื่องแรกของผู้กำกับชื่อดัง ‘หว่องการ์ไว' (Wong Kar Wai) ที่เพิ่งเข้าฉายให้ผู้ชมในดินแดนประเทศไทยได้ชมกันตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่เพิ่งจะผ่านมา (2008) ที่มีชื่อว่า My Blueberry Nights นั้น อาจมีประเด็นต่างๆ นานาให้สามารถสร้างบทสนทนากันได้มากมายและยาวนาน แต่สำหรับในที่นี้นั้น ผมอยากจะ ‘หยิบเลือก' เพียงบางประเด็นมา ‘อ่าน' หรืออีกนัยหนึ่ง ‘สนทนา' เกี่ยวกับ ‘ตัวละคร' ในภาพยนตร์ดังกล่าว ภายใต้ความคิดเกี่ยวกับเรื่อง ‘ความทรงจำ' ซึ่งสะท้อนร่วมกับความคิดเกี่ยวกับ ‘…
Cinemania
Between the FramesE-mail: betweentheframes@gmail.com:::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil::: "All those gathered here will know that it is not by sword or spear that the LORD saves; for the battle is the LORD's, and He will give all of you into our hands." …
Cinemania
:::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil::: เวลา 2 ชั่วโมงกว่า (158 นาที) ในหนัง There will be blood - ผลงานเรื่องที่ 5 ของผู้กำกับ Paul Thomas Anderson คือเรื่องราวในด้านที่มืดดำของมนุษย์ เต็มไปด้วยความโลภ ความอ่อนแอ สันดานดิบ และแน่นอน...มันรวมไปถึง ‘การสร้างศรัทธา' ด้วยวิธีการอันน่าขนลุกด้วย...เราได้รู้จัก ‘เดเนียล เพลนวิว' (Daniel Day-Lewis) นักเสี่ยงโชคที่ตั้งใจทำเหมืองเงิน แต่บังเอิญได้ที่ดินซึ่งมีน้ำมันดิบนอนสงบนิ่งอยู่ใต้พื้นมาแทน โลกของเดเนียลไม่มีคำว่า ‘สุดแท้แต่โชคชะตา' หรือ ‘ศรัทธา' ไม่มีแม้กระทั่งคำว่า ‘พระผู้เป็นเจ้า'…
Cinemania
ซาเสียวเอี้ยการไล่ตีแมลงสาบบนฝาบ้าน อาจเป็นเกมสนุกสนานอย่างหนึ่ง และเพียงสายลมเย็นจากพัดลมมือสองที่เป่าไล่ความร้อนในค่ำคืนอบอ้าวอาจเป็นถึง ‘รางวัลชีวิต' ของสองพ่อลูกผู้ยากจน...ผู้อาศัยอยู่ในโลกแห่งความแร้นแค้นทั้งหมดที่่ว่ามา-อาจฟังไม่ต่างจากสงครามชีวิตสุดรันทด (บัดซบ!) แต่เมื่อเรื่องราวเหล่านี้ถูกถ่ายทอดผ่านมุมมองของ ‘โจวซิงฉือ' ไอ้สิ่งที่ควรจะเศร้า...กลับทำให้เราหัวเราะออกมาได้000ถึงแม้ว่าหน้าหนังของ CJ7 จะถูกโฆษณาว่าเป็นแนว Sci-fi แต่ ‘ใจความสำคัญ' ที่อยู่ในนั้น ไม่ใช่ ‘ความลี้ลับ' ของจักรวาลอันกว้างใหญ่ หรือถ้าจะพูดให้ชัดๆ ก็ต้องบอกว่า นี่คือหนังครอบครัวแนว Comedy-Drama ที่ให้ ‘…