Skip to main content

นพพร ชูเกียรติศิริชัย

 

การที่ใครจะเป็น ‘modern’ (ทันสมัย) เขาคนนั้นก็จะต้องคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณแห่งการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากของเก่าที่ดำรงอยู่ (tradition) และที่สำคัญ คือ พร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากตัวตนของตัวเองที่ดำรงอยู่ ถ้าตัวตนเป็น modern ก็ต้องพร้อมที่จะละทิ้งความเป็น modern ด้วยเหตุผลของความเป็น modern เอง

 ในการจะเป็น modern มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเป็น postmodern หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าใครจะเป็น modern เขา หรือเธอคนนั้นก็จะต้องเป็น postmodern มิฉะนั้นแล้ว เขาก็ไม่สามารถเป็น modern ได้ (Jean-Francois Lyotard อ้างถึงใน ไชยันต์ ไชยพร.POSTMODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ.กทม.: หจก.ภาพพิมพ์, 2550 หน้า 41)

 หากรถไฟ คือ ตัวแทนของความทันสมัย (modern) ที่จะนำพาผู้คนจากอดีตไปสู่อนาคต การที่คนกลุ่มหนึ่งมัววิ่งตามขบวนรถไฟ ก็อาจจะทำให้พวกเขาไม่สามารถไปสู่จุดหมายปลายทาง แต่ขณะเดียวกันการที่จะมัวหมกหมุ่นอยู่บนรถไฟ (modern) ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าคนกลุ่มนั้นจะสามารถหาคำตอบให้กับชีวิตของพวกเขาเอง และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการเดินทางค้นหาจิตวิญญาณโดยสามพี่น้องตระกูลวิตแมน ในภาพยนตร์ The Darjeeling Limited

 The Darjeeling Limited เป็นเรื่องราวของสามพี่น้องแห่งตระกูลวิตแมน ซึ่งปรารถนาที่จะใช้โปรแกรมการเดินทางไปยังอินเดีย เพื่อผสานรอยร้าวแห่งความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง

 

 แจ็ค วิตแมน (เจสัน ชวาร์ตแมน) น้องชายคนเล็กผู้มีมุมมองต่อ ผู้หญิงในฐานะ วัตถุทางเพศ(ตัวแทนขององค์ความรู้จากตะวันตก ก่อนการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม ที่ถกเถียงกันถึงเรื่องความงามและสุนทรียะ) เขาเฝ้าพร่ำเพ้อถึงความงดงามของเรือนร่าง (และความหอม) ของหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์กันชั่วข้ามคืน (แต่สุดท้ายเธอก็เดินทางไปยังอิตาลี) โดยที่ แจ็คมุ่งหวังว่าหลังจากจบการเดินทางไปยังอินเดีย เพื่อสานความสัมพันธ์กับพี่ชายทั้งสอง เขาจะติดตามเธอไปยังดินแดนต้นกำเนิดศิลปกรรมยุคคลาสสิคเช่นกัน

 ฟรานซิส วิตแมน (โอเวน วิลสัน) พี่ชายคนโตที่หลงใหลกับความทันสมัยของ เทคโนโลยี(อย่างแปรสีฟันไฟฟ้า) และ สินค้าแบรนด์เนมตลอดจน การแสดงออกซึ่งตัวตน (ด้วยการสลักชื่อลงบนเข็มขัด) เขาคือผู้คิดแผนการเดินทางค้นหาจิตวิญญาณ เพื่อสานความสัมพันธ์ระหว่างเหล่าพี่น้องวิตแมน โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือการพา แม่(แอนเจลิก้า ฮุสตัน) ซึ่งหนีไปบวชชีกลับบ้าน (การปฏิเสธศาสนาและการยัดเยียดความเป็นแม่ให้กับสตรี) ทั้งนี้ระหว่างการเดินทาง ปีเตอร์พยายามที่จะให้น้องๆ ของเขาปฏิบัติตนตาม กฎเกณฑ์และ ตารางเวลาที่ผู้ช่วยของเขากำหนดไว้ให้ ด้วยความมุ่งหวังว่ามันจะทำให้ทุกคนพบกับความสุขในแบบที่เขาเชื่อ

 ปีเตอร์ วิตแมน (แอเดรียน โบรดี้) พี่ชายคนกลาง ซึ่งเติบโตมากับ พ่อ นั่นคือสิ่งที่ทำให้เขาหวาดกลัว ความเป็นเมียและ ความเป็นแม่ ทั้งๆ ที่ตัวเขาเองก็ไม่รู้เช่นกันว่า ความเป็น เมียและความเป็น แม่นั้นหมายความว่าอะไร (เปรียบเสมือนผู้ที่พยายามจะปฏิเสธองค์ความรู้แบบเก่าโดยที่ไม่รู้ว่าทำไมเขาถึงควรจะปฏิเสธ) เขาจึงตัดสินใจที่จะหนี อลิซ(หญิงสาวซึ่งเขาไปทำเธอท้อง) เพื่อร่วมเดินทางไปกับพี่และน้องของเขา โดยที่ปีเตอร์เองก็ไม่ทราบว่า พี่ชายของเขา (ฟรานซิส) วางแผนที่จะพาพวกเขาไปพบกับ แม่(ซึ่งไม่ยอมปรากฏตัวในงานศพของพ่อ) ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ปรารถนาที่จะพบกับเธอไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ

 แม้พวกเขาทั้งสามคนจะเป็นพี่น้องกันโดยสายเลือด แต่พวกเขาก็แทบที่จะไม่รู้จักกันและกัน (เช่นเดียวกับความพยายามของนักวิชาการบางกลุ่มที่จะหั่นองค์ความรู้ตะวันตกออกเป็น 3 ส่วน อดีต ปัจจุบัน อนาคต โดยที่เชื่อมั่นว่าองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ได้สัมพันธ์กันโดยสิ้นเชิง) และนั่นทำให้พวกเขาไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน แต่อาจจะมีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นที่ทำให้พวกเขาสามารถที่จะระลึกถึงสายสัมพันธ์ระหว่างกันได้นั่นก็คือ มรดกจากพ่อ(องค์ความรู้แบบชายเป็นใหญ่) ทั้งในแง่ของ ความทรงจำและ สิ่งของที่ถูกบรรจุอยู่ในกระเป๋าหลุยส์วิสตองจำนวน 11 ใบ

 ตลอดการเดินทางโดยรถไฟ พวกเขาคือ มนุษย์เพียงกลุ่มเดียวที่สร้างเรื่องราวแหก กฎและ ประเพณี(ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ) เริ่มจากการสูบบุหรี่บนรถไฟ ต่อมาด้วยเหตุการณ์ที่ แจ็ค น้องชายคนสุดท้อง แอบมี เพศสัมพันธ์กับ บริกรสาวชาวอินเดีย ใน ห้องน้ำแบบตะวันตกบน รถไฟโดยที่เขาก็ไม่รู้ว่า บริกรสาวคนดังกล่าวเป็นแฟนกับ พนักงานตรวจตั๋ว

 ‘ปีเตอร์พี่ชายคนรอง แอบนำ งูพิษ (สัญลักษณ์ของ สิ่งต้องห้ามหรือ สิ่งผิดกฎหมาย) ขึ้นมาบนรถไฟ (สังคม) จนทำให้พนักงานเก็บตั๋ว (เจ้าหน้าที่) ตัดสินใจที่จะคาดโทษพวกเขาด้วยการให้พวกเขาอยู่แต่ในห้อง (วิธีการลงโทษด้วยการคุมขัง)

 แต่อยู่ๆ รถไฟก็เกิดหลงออกนอกเส้นทาง โดยที่พวกเขาก็ไม่รู้ว่าตนเองกำลังอยู่ที่ไหน (เช่นเดียวกับปัจจุบันที่กำลังถกเถียงกันอยู่ว่า เราอยู่ในยุคสมัยใด ระหว่าง สมัยใหม่ (modern) หรือ หลังสมัยใหม่ (postmodern)) หลังจากนั้น ฟรานซิส(พี่ชายคนโต) จึงตัดสินใจเล่าเรื่องแผนการการเดินทางเพื่อตามหา แม่ให้น้องๆ ฟัง จนนำมาซึ่งความไม่พอใจต่อ ปีเตอร์

 สุดท้ายเมื่อกลับขึ้นรถไฟอีกครั้ง วิวาทะเกี่ยวกับ แม่ก็นำมาซึ่ง ความขัดแย้งถึงขั้นลงไม้ลงมือ ระหว่าง ฟรานซิส(ที่หวังจะพา แม่กลับบ้าน) กับ ปีเตอร์(ผู้ที่ไม่ต้องการรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ แม่)จนเลยเถิด ออกไปยัง พื้นที่อื่นๆ ของรถไฟ (สังคม) และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้พวกเขาต้องถูกไล่ลงจากรถไฟจริงๆ

 หลังถูกไล่ลงจากรถไฟพวกเขาตัดสินใจเดินเท้าท่องไปในดินแดนที่พวกเขาไม่รู้จัก โดยระหว่างนั้นพวกเขาได้ตกลงกันว่าหลังจากนี้พวกเขาจะแยกกันไปตามทางของตนเอง

 แต่ทันใดนั้นพวกเขาก็ต้องพบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เมื่อเด็กชายชาวอินเดียสามคนที่กำลังจะข้ามลำธารด้วยแพข้ามฟาก กลับตกลงไปในลำธารที่กระแสน้ำกำลังไหลเชี่ยวกราก พวกเขาทั้งสามพี่น้องจึงรีบกระโดดน้ำลงไปช่วยเด็กชายทั้งสาม ขณะที่ แจ็ค และ ฟรานซิส (ตัวแทนของอดีตและปัจจุบัน) สามารถที่จะช่วย 2 เด็กชายขึ้นจากน้ำได้สำเร็จ แต่ปีเตอร์(ตัวแทนแห่งความหมกหมุ่นถึงอนาคต) กลับไม่สามารถช่วยให้เด็กชายคนที่ 3 ไปถึงฝั่งได้ เนื่องจากขาของเด็กคนที่ 3 ติดอยู่กับเชือก และ ปีเตอร์ก็ไม่ได้คิดที่จะแก้เชือก (ปัญหา) ที่ติดขาเด็ก แต่เขากลับเลือกที่จะขึ้นไปบนแพที่อยู่บนตัวเด็ก จนทำให้แพพลิกคว่ำ และร่างของเด็กก็ลอยตามน้ำไปกระแทกหิน

 หลังจากนั้น เด็กชายชาวอินเดียสองคนซึ่งรอดชีวิตจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน จึงพาสามพี่น้องวิตแมน และร่างที่ปราศจากลมหายใจของเด็กชายคนที่ 3 กลับไปยังหมู่บ้านเพื่อจัดพิธีศพ

 ณ หมู่บ้านชาวอินเดียแห่งนี้ พี่น้องวิตแมนได้เรียนรู้ถึง บทบาทและ หน้าที่ของ ผู้หญิงในสังคมประเพณี(tradition) ซึ่งถูกกำหนดให้หมกหมุ่นอยู่กับ งานบ้านและได้เรียนรู้ถึงบทบาทของ ผู้ชายในฐานะผู้ประกอบพิธีกรรม ศักดิ์สิทธิ์ ผ่านพิธีศพ

 สิ่งเหล่านี้ทำให้พวกเขาทั้งสามหวนกลับไประลึกถึงสาเหตุที่ แม่ ของเขาไม่ยอมปรากฏตัวในงานศพของ พ่อเมื่อหลายปีก่อน และนั่นทำให้พวกเขาทั้งสามคนเห็นพ้องต้องกันว่าพวกเขาควรเดินทางไปตามหา แม่ ไม่ว่าพวกเขาจะได้รับคำตอบที่น่าพึงพอใจหรือไม่

 แต่เมื่อพวกเขาเดินทางไปพบกับแม่ คำตอบที่ได้ฟังจากปากของแม่ของพวกเขาก็คือ บางครั้งเรื่องบางเรื่องมันก็ไม่มีเหตุผล (การปฏิเสธองค์ความรู้แบบวิทยาศาสตร์) และเธอ มีหน้าที่อีกมากมายที่สำคัญและยิ่งใหญ่กว่า การเป็น แม่ พร้อมกันนี้เธอยังได้ขอให้พวกเขาทั้ 3 คน (แจ็ค, ฟรานซิส และปีเตอร์) รับปากเธอ 3 ข้อ คือ

 หนึ่ง พรุ่งนี้เราจะออกเดินทางแต่เช้า และก็พยายามสนุกกันในที่ที่สวยงามนี่ สอง เราจะเลิกสมเพชตัวเองมันไม่น่าพิศมัยเลย และสาม เราจะวางแผนอนาคตของเรา ตกลงมั้ย

 หลังจากนั้นแม่ของพวกเขาจึงแนะนำให้แจ็ค, ฟรานซิส และปีเตอร์ ลองใช้ความเงียบเพื่อตรึกตรองถึงเรื่องราวที่ผ่านมา จนทำให้พวกเขานึกขึ้นมาได้ว่า สังคม โลกทุกวันนี้ก็เปรียบเสมือนกับ รถไฟที่กำลังวิ่งตรงไปข้างหน้า แม้ว่ามันอาจจะวิ่งซ้ำรอยเดิม แต่รถไฟก็จะนำพาผู้คนที่โดยสารมันไปสู่อนาคตเสมอ

 และทุกๆ โบกี้ (ตู้โดยสาร) ก็เปรียบเสมือน พื้นที่ส่วนตัว (ซึ่งใช้เก็บ ซ่อน’ ‘ความลับของแต่ละบุคคลไว้) แม้ว่าพวกเราอาจจะอยู่บนรถไฟขบวนเดียวกัน แม้ว่ารถไฟคันนี้กำลังวิ่งไปบนรางเดียวกัน แต่บางครั้งเราก็มิอาจที่จะก้าวล้ำเข้าไปยัง พื้นที่ส่วนตัวของคนอื่นๆ บนรถไฟ นั่นทำให้เราไม่อาจที่จะล่วงรู้ถึงเหตุผลที่ซ่อนอยู่ภายในของ ปัจเจกบุคคลแม้ว่าเราจะพยายามเดินค้นหามันก็ตาม

 การหายตัวไปของ แม่(สัญลักษณ์แห่งการปลดปล่อยผู้หญิงออกจากวาทกรรม แม่และ เมีย) ในเช้าวันรุ่งขึ้น ไม่ได้สร้างความเสียใจให้กับ 3 พี่น้องตระกูลวิตแมนเลยแม้แต่น้อย ในทางตรงกันข้ามพวกเขาทั้ง 3 คนกลับเรียนรู้ที่จะปล่อยวาง มรดกจากพ่อ(องค์ความรู้แบบชายเป็นใหญ่) ด้วยการทิ้งกระเป๋าหลุยส์วิสตรอง 11 ใบ ซึ่งหอบหิ้วมาตั้งแต่ต้นเรื่อง และก้าวขึ้น รถไฟเพื่อจะไปสู่ อนาคตร่วมกัน

 วินาทีแห่งการตัดสินใจคือวินาทีแห่งความบ้า และจะว่าไปแล้ว มนุษย์เราเสียเวลากับการคิดล่วงหน้า หาเหตุผลที่ดีที่สุด และมนุษย์เราเสียเวลามากมายในการนั่งทะเลาะกันกับ สิ่งที่ควรจะเป็น น่าจะเป็น หรือควรจะเกิดขึ้นมากกว่าที่จะ กระทำอะไรกันจริง’” (ข้อคิดที่นำเสนอโดยสำนักคิด Pragmatism หรือ ปฏิบัตินิยม อ้างถึงใน ไชยันต์ ไชยพร.POSTMODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ.กทม.: หจก.ภาพพิมพ์, 2550 หน้า 27-28)

 วันนี้คุณพร้อมจะก้าวขึ้น รถไฟไปด้วยกันหรือยัง ?

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
โดย… พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
Cinemania
      ซาเสียวเอี้ย   แต่ไหนแต่ไรมา...ระบบการศึกษาในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกมักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการ ‘ดับฝัน’ ของคนวัยหนุ่มสาว เพราะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้นที่จะ ‘เรียนรู้’ สิ่งแปลกใหม่ในวัยเยาว์ถูกลบเลือนหายไปในกรอบ-กฎเกณฑ์-เหตุผล-เงื่อนไข และข้อเท็จจริงทั้งหลายทั้งปวง (ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีโอกาสเกิดมาใช้ชีวิตบนโลกก่อนหน้าเรา...)   กระนั้น...ใครหลายคนก็ยังยินดีเดินตามแนวทางหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกวางไว้แล้วโดยไม่เคยคิดตั้งคำถาม เพื่อแลกเปลี่ยนกับ ‘การยอมรับ’ จากสังคมรอบข้าง...เพื่อที่มนุษย์ทั้งหลาย (ซึ่งเป็นสัตว์สังคม)…
Cinemania
        ซาเสียวเอี้ย   ‘ชาร์ลี วิลสัน’ ตายแล้ว...   แม้การตายของเขาจะไม่ได้ทำให้โลกสะท้านสะเทือนอะไรมากนัก แต่ก็มีความหมายสลักสำคัญมิใช่น้อย เพราะบทบาทของวิลสันในสมัยที่เขายังหนุ่มแน่นและดำรงตำแหน่ง สว.รัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา เป็นประเด็นให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดว่าควรจะจดจำเขาไว้ในฐานะอะไร...   บ้างก็ว่า ชาร์ลี วิลสัน คือ ‘นักการเมืองเจ้าสำราญ’ เจ้าของฉายา Good Time Charlie ผู้มีชีวิตโลดโผนเต็มไปด้วยสีสัน หรือเป็น ‘วีรบุรุษชาวอเมริกัน’ ผู้ช่วยให้นักรบมูจาฮิดีนขับไล่กองทัพสหภาพโซเวียตอันโหดร้ายป่าเถื่อนไปจากอัฟกานิสถาน…
Cinemania
themadmon หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น บทสะท้อนย้อนคิดหลังจากการชมภาพยนตร์เรื่อง Air Doll ผมในฐานะที่เป็นผู้เขียนจงใจจะหยิบเลือกประเด็น (ซึ่งผ่านการตีความของผม) โดยไม่ได้อ้างอิงอย่างชัดเจนไปสู่ตัวภาพยนตร์ในแต่ละฉากแต่ละตอน โดยหวังว่าผู้ที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ก็สามารถอ่านได้ และผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วจะสามารถระลึกถึงฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้ด้วยเช่นกัน     หากลองพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในสามประโยค  ผมคงพูดสั้นๆ ว่า.. “ผู้คนหลากหลาย เราต่างก็ว่างเปล่า และเหงามากมาย”  เพราะอะไรน่ะหรือ …
Cinemania
  บริวารเงา   ขงจื๊อ เป็นชื่อหนึ่งที่ผมได้ยินมาเนิ่นนาน ถ้าจำไม่ผิดอาจจะเป็นหนังจีนกำลังภายในสักเรื่องหนึ่งที่อ้างชื่อนี้ขึ้นมาเพื่อพูดถึงปรัชญาในเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร ผมมารู้จักเขาอีกครั้งในห้องสมุดช่วงที่กำลังสนใจพวกวิชาปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ฯลฯ  แต่ผมกลับไปชอบปรมาจารย์จีนอีกคนคือ เล่าจื๊อ เสียมากกว่า เพราะว่าแกมีความคิดที่ 'แนว' ดี (อารมณ์ของวัยรุ่นเช่นนี้แล) อีกนัยหนึ่งก็ดูเพี้ยน ๆ อีกนัยหนึ่งก็มีอารมณ์ศิลปินกว่าขงจื๊อ ขณะที่ผมเห็นว่าขงจื๊อเอาแต่พร่ำบ่นอะไรที่เป็นหลักจริยธรรมน่าเบื่อ ๆ ซึ่งความน่าเบื่อนี้ไม่ใช่ความผิดของขงจื๊อเสียทีเดียว…
Cinemania
เดือนสองจันทร์   October Sonata: รักที่รอคอย
Cinemania
สุพิชชา โมนะตระกูล ตลอดช่วงเวลาขณะชมภาพยนตร์สารคดี “Our Daily Bread” ผู้เขียนรู้สึกตะลึงกับภาพที่ได้รับชม โดยสาเหตุหลักหาใช่ “ความงาม” ของสีสันหรือองค์ประกอบศิลป์แบบภาพที่ผู้กำกับภาพบรรจงจัดวางอย่างภาพยนตร์ที่มีภาพงามเรื่องอื่นๆ...หากเป็น “ความจริง” ของภาพที่ตรึงผู้เขียนไว้ตลอดระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
Cinemania
  สาวกท่านเป้า ขณะที่กำลังตุรัดตุเหร่ในร้านหนังสือแอร์เย็นเฉียบ เพื่อตามหานิตยสารมือถือฉบับหนึ่ง บังเอิญเหลือบไปเห็นนิตยสารฉบับหนึ่งที่นำภาพโปรโมทภาพยนตร์ “วงษ์คำเหลา” มาขึ้นปก แต่เมื่อหยิบมาจึงรู้ว่าเป็นปกหลัง แต่ปกหน้าก็ยังเป็นวงษ์คำเหลาอยู่ดี จึงเริ่มรู้ตัวว่าถูกหลอกแดกเสียแล้ว มีที่ไหนวางขายนิตยสารโดยเอาปกหลังเป็นตัวชูโรง นิตยสารฉบับนั้นคือนิตยสารภาพยนตร์ของกลุ่มคนทวนกระแสที่ชื่อว่า “ไบโอสโคป”
Cinemania
   เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ ‘สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ ‘เศรษฐีใหม่' หรือ ‘ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง ‘บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ‘ปม'…
Cinemania
 'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...‘ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น ‘คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...บุรุษไปรษณีย์นามว่า ‘มาริโอ โรปโปโร':::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ‘ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538…
Cinemania
  ..mad mon..::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์:: 1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep)…
Cinemania
(เขียนเมื่อ 31 ธ.ค.51)จันทร์ ในบ่อ สิ้นปีกันเสียที บรรยากาศตึงๆ ปีนี้อาจทำให้ใครหลายคนอึดอัดและทำท่าจะลากยาวไปถึงปีหน้า ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ  คนสู้ๆ กับปัญหาที่รุมเร้า แต่ถ้าเครียดมากลองผ่อนคลายกันด้วยการหาหนังดูมาสักเรื่องสองเรื่อง จะซื้อ จะเช่ามานั่งดูที่บ้านหรือจะออกไปดูตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็ได้ ลองออกจากโลกความจริงไปอยู่ในโลกอื่นสักชั่วโมงสองชั่วโมงอาจจะสบายใจขึ้นส่วนถ้าใครยังไม่รู้จะดูเรื่องอะไร ที่ไหนอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมหนังรับปีใหม่มาฝาก เป็นหนังฟรีกลางแปลงครับหลายคนคงไม่ค่อยทราบว่าที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดเทศการหนังกลางแปลงกันทุกปี ในวันที่ 7-8-9 มกราคม 2552…