Skip to main content

นพพร ชูเกียรติศิริชัย

 

การที่ใครจะเป็น ‘modern’ (ทันสมัย) เขาคนนั้นก็จะต้องคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณแห่งการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากของเก่าที่ดำรงอยู่ (tradition) และที่สำคัญ คือ พร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากตัวตนของตัวเองที่ดำรงอยู่ ถ้าตัวตนเป็น modern ก็ต้องพร้อมที่จะละทิ้งความเป็น modern ด้วยเหตุผลของความเป็น modern เอง

 ในการจะเป็น modern มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเป็น postmodern หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าใครจะเป็น modern เขา หรือเธอคนนั้นก็จะต้องเป็น postmodern มิฉะนั้นแล้ว เขาก็ไม่สามารถเป็น modern ได้ (Jean-Francois Lyotard อ้างถึงใน ไชยันต์ ไชยพร.POSTMODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ.กทม.: หจก.ภาพพิมพ์, 2550 หน้า 41)

 หากรถไฟ คือ ตัวแทนของความทันสมัย (modern) ที่จะนำพาผู้คนจากอดีตไปสู่อนาคต การที่คนกลุ่มหนึ่งมัววิ่งตามขบวนรถไฟ ก็อาจจะทำให้พวกเขาไม่สามารถไปสู่จุดหมายปลายทาง แต่ขณะเดียวกันการที่จะมัวหมกหมุ่นอยู่บนรถไฟ (modern) ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าคนกลุ่มนั้นจะสามารถหาคำตอบให้กับชีวิตของพวกเขาเอง และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการเดินทางค้นหาจิตวิญญาณโดยสามพี่น้องตระกูลวิตแมน ในภาพยนตร์ The Darjeeling Limited

 The Darjeeling Limited เป็นเรื่องราวของสามพี่น้องแห่งตระกูลวิตแมน ซึ่งปรารถนาที่จะใช้โปรแกรมการเดินทางไปยังอินเดีย เพื่อผสานรอยร้าวแห่งความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง

 

 แจ็ค วิตแมน (เจสัน ชวาร์ตแมน) น้องชายคนเล็กผู้มีมุมมองต่อ ผู้หญิงในฐานะ วัตถุทางเพศ(ตัวแทนขององค์ความรู้จากตะวันตก ก่อนการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม ที่ถกเถียงกันถึงเรื่องความงามและสุนทรียะ) เขาเฝ้าพร่ำเพ้อถึงความงดงามของเรือนร่าง (และความหอม) ของหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์กันชั่วข้ามคืน (แต่สุดท้ายเธอก็เดินทางไปยังอิตาลี) โดยที่ แจ็คมุ่งหวังว่าหลังจากจบการเดินทางไปยังอินเดีย เพื่อสานความสัมพันธ์กับพี่ชายทั้งสอง เขาจะติดตามเธอไปยังดินแดนต้นกำเนิดศิลปกรรมยุคคลาสสิคเช่นกัน

 ฟรานซิส วิตแมน (โอเวน วิลสัน) พี่ชายคนโตที่หลงใหลกับความทันสมัยของ เทคโนโลยี(อย่างแปรสีฟันไฟฟ้า) และ สินค้าแบรนด์เนมตลอดจน การแสดงออกซึ่งตัวตน (ด้วยการสลักชื่อลงบนเข็มขัด) เขาคือผู้คิดแผนการเดินทางค้นหาจิตวิญญาณ เพื่อสานความสัมพันธ์ระหว่างเหล่าพี่น้องวิตแมน โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือการพา แม่(แอนเจลิก้า ฮุสตัน) ซึ่งหนีไปบวชชีกลับบ้าน (การปฏิเสธศาสนาและการยัดเยียดความเป็นแม่ให้กับสตรี) ทั้งนี้ระหว่างการเดินทาง ปีเตอร์พยายามที่จะให้น้องๆ ของเขาปฏิบัติตนตาม กฎเกณฑ์และ ตารางเวลาที่ผู้ช่วยของเขากำหนดไว้ให้ ด้วยความมุ่งหวังว่ามันจะทำให้ทุกคนพบกับความสุขในแบบที่เขาเชื่อ

 ปีเตอร์ วิตแมน (แอเดรียน โบรดี้) พี่ชายคนกลาง ซึ่งเติบโตมากับ พ่อ นั่นคือสิ่งที่ทำให้เขาหวาดกลัว ความเป็นเมียและ ความเป็นแม่ ทั้งๆ ที่ตัวเขาเองก็ไม่รู้เช่นกันว่า ความเป็น เมียและความเป็น แม่นั้นหมายความว่าอะไร (เปรียบเสมือนผู้ที่พยายามจะปฏิเสธองค์ความรู้แบบเก่าโดยที่ไม่รู้ว่าทำไมเขาถึงควรจะปฏิเสธ) เขาจึงตัดสินใจที่จะหนี อลิซ(หญิงสาวซึ่งเขาไปทำเธอท้อง) เพื่อร่วมเดินทางไปกับพี่และน้องของเขา โดยที่ปีเตอร์เองก็ไม่ทราบว่า พี่ชายของเขา (ฟรานซิส) วางแผนที่จะพาพวกเขาไปพบกับ แม่(ซึ่งไม่ยอมปรากฏตัวในงานศพของพ่อ) ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ปรารถนาที่จะพบกับเธอไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ

 แม้พวกเขาทั้งสามคนจะเป็นพี่น้องกันโดยสายเลือด แต่พวกเขาก็แทบที่จะไม่รู้จักกันและกัน (เช่นเดียวกับความพยายามของนักวิชาการบางกลุ่มที่จะหั่นองค์ความรู้ตะวันตกออกเป็น 3 ส่วน อดีต ปัจจุบัน อนาคต โดยที่เชื่อมั่นว่าองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ได้สัมพันธ์กันโดยสิ้นเชิง) และนั่นทำให้พวกเขาไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน แต่อาจจะมีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นที่ทำให้พวกเขาสามารถที่จะระลึกถึงสายสัมพันธ์ระหว่างกันได้นั่นก็คือ มรดกจากพ่อ(องค์ความรู้แบบชายเป็นใหญ่) ทั้งในแง่ของ ความทรงจำและ สิ่งของที่ถูกบรรจุอยู่ในกระเป๋าหลุยส์วิสตองจำนวน 11 ใบ

 ตลอดการเดินทางโดยรถไฟ พวกเขาคือ มนุษย์เพียงกลุ่มเดียวที่สร้างเรื่องราวแหก กฎและ ประเพณี(ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ) เริ่มจากการสูบบุหรี่บนรถไฟ ต่อมาด้วยเหตุการณ์ที่ แจ็ค น้องชายคนสุดท้อง แอบมี เพศสัมพันธ์กับ บริกรสาวชาวอินเดีย ใน ห้องน้ำแบบตะวันตกบน รถไฟโดยที่เขาก็ไม่รู้ว่า บริกรสาวคนดังกล่าวเป็นแฟนกับ พนักงานตรวจตั๋ว

 ‘ปีเตอร์พี่ชายคนรอง แอบนำ งูพิษ (สัญลักษณ์ของ สิ่งต้องห้ามหรือ สิ่งผิดกฎหมาย) ขึ้นมาบนรถไฟ (สังคม) จนทำให้พนักงานเก็บตั๋ว (เจ้าหน้าที่) ตัดสินใจที่จะคาดโทษพวกเขาด้วยการให้พวกเขาอยู่แต่ในห้อง (วิธีการลงโทษด้วยการคุมขัง)

 แต่อยู่ๆ รถไฟก็เกิดหลงออกนอกเส้นทาง โดยที่พวกเขาก็ไม่รู้ว่าตนเองกำลังอยู่ที่ไหน (เช่นเดียวกับปัจจุบันที่กำลังถกเถียงกันอยู่ว่า เราอยู่ในยุคสมัยใด ระหว่าง สมัยใหม่ (modern) หรือ หลังสมัยใหม่ (postmodern)) หลังจากนั้น ฟรานซิส(พี่ชายคนโต) จึงตัดสินใจเล่าเรื่องแผนการการเดินทางเพื่อตามหา แม่ให้น้องๆ ฟัง จนนำมาซึ่งความไม่พอใจต่อ ปีเตอร์

 สุดท้ายเมื่อกลับขึ้นรถไฟอีกครั้ง วิวาทะเกี่ยวกับ แม่ก็นำมาซึ่ง ความขัดแย้งถึงขั้นลงไม้ลงมือ ระหว่าง ฟรานซิส(ที่หวังจะพา แม่กลับบ้าน) กับ ปีเตอร์(ผู้ที่ไม่ต้องการรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ แม่)จนเลยเถิด ออกไปยัง พื้นที่อื่นๆ ของรถไฟ (สังคม) และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้พวกเขาต้องถูกไล่ลงจากรถไฟจริงๆ

 หลังถูกไล่ลงจากรถไฟพวกเขาตัดสินใจเดินเท้าท่องไปในดินแดนที่พวกเขาไม่รู้จัก โดยระหว่างนั้นพวกเขาได้ตกลงกันว่าหลังจากนี้พวกเขาจะแยกกันไปตามทางของตนเอง

 แต่ทันใดนั้นพวกเขาก็ต้องพบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เมื่อเด็กชายชาวอินเดียสามคนที่กำลังจะข้ามลำธารด้วยแพข้ามฟาก กลับตกลงไปในลำธารที่กระแสน้ำกำลังไหลเชี่ยวกราก พวกเขาทั้งสามพี่น้องจึงรีบกระโดดน้ำลงไปช่วยเด็กชายทั้งสาม ขณะที่ แจ็ค และ ฟรานซิส (ตัวแทนของอดีตและปัจจุบัน) สามารถที่จะช่วย 2 เด็กชายขึ้นจากน้ำได้สำเร็จ แต่ปีเตอร์(ตัวแทนแห่งความหมกหมุ่นถึงอนาคต) กลับไม่สามารถช่วยให้เด็กชายคนที่ 3 ไปถึงฝั่งได้ เนื่องจากขาของเด็กคนที่ 3 ติดอยู่กับเชือก และ ปีเตอร์ก็ไม่ได้คิดที่จะแก้เชือก (ปัญหา) ที่ติดขาเด็ก แต่เขากลับเลือกที่จะขึ้นไปบนแพที่อยู่บนตัวเด็ก จนทำให้แพพลิกคว่ำ และร่างของเด็กก็ลอยตามน้ำไปกระแทกหิน

 หลังจากนั้น เด็กชายชาวอินเดียสองคนซึ่งรอดชีวิตจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน จึงพาสามพี่น้องวิตแมน และร่างที่ปราศจากลมหายใจของเด็กชายคนที่ 3 กลับไปยังหมู่บ้านเพื่อจัดพิธีศพ

 ณ หมู่บ้านชาวอินเดียแห่งนี้ พี่น้องวิตแมนได้เรียนรู้ถึง บทบาทและ หน้าที่ของ ผู้หญิงในสังคมประเพณี(tradition) ซึ่งถูกกำหนดให้หมกหมุ่นอยู่กับ งานบ้านและได้เรียนรู้ถึงบทบาทของ ผู้ชายในฐานะผู้ประกอบพิธีกรรม ศักดิ์สิทธิ์ ผ่านพิธีศพ

 สิ่งเหล่านี้ทำให้พวกเขาทั้งสามหวนกลับไประลึกถึงสาเหตุที่ แม่ ของเขาไม่ยอมปรากฏตัวในงานศพของ พ่อเมื่อหลายปีก่อน และนั่นทำให้พวกเขาทั้งสามคนเห็นพ้องต้องกันว่าพวกเขาควรเดินทางไปตามหา แม่ ไม่ว่าพวกเขาจะได้รับคำตอบที่น่าพึงพอใจหรือไม่

 แต่เมื่อพวกเขาเดินทางไปพบกับแม่ คำตอบที่ได้ฟังจากปากของแม่ของพวกเขาก็คือ บางครั้งเรื่องบางเรื่องมันก็ไม่มีเหตุผล (การปฏิเสธองค์ความรู้แบบวิทยาศาสตร์) และเธอ มีหน้าที่อีกมากมายที่สำคัญและยิ่งใหญ่กว่า การเป็น แม่ พร้อมกันนี้เธอยังได้ขอให้พวกเขาทั้ 3 คน (แจ็ค, ฟรานซิส และปีเตอร์) รับปากเธอ 3 ข้อ คือ

 หนึ่ง พรุ่งนี้เราจะออกเดินทางแต่เช้า และก็พยายามสนุกกันในที่ที่สวยงามนี่ สอง เราจะเลิกสมเพชตัวเองมันไม่น่าพิศมัยเลย และสาม เราจะวางแผนอนาคตของเรา ตกลงมั้ย

 หลังจากนั้นแม่ของพวกเขาจึงแนะนำให้แจ็ค, ฟรานซิส และปีเตอร์ ลองใช้ความเงียบเพื่อตรึกตรองถึงเรื่องราวที่ผ่านมา จนทำให้พวกเขานึกขึ้นมาได้ว่า สังคม โลกทุกวันนี้ก็เปรียบเสมือนกับ รถไฟที่กำลังวิ่งตรงไปข้างหน้า แม้ว่ามันอาจจะวิ่งซ้ำรอยเดิม แต่รถไฟก็จะนำพาผู้คนที่โดยสารมันไปสู่อนาคตเสมอ

 และทุกๆ โบกี้ (ตู้โดยสาร) ก็เปรียบเสมือน พื้นที่ส่วนตัว (ซึ่งใช้เก็บ ซ่อน’ ‘ความลับของแต่ละบุคคลไว้) แม้ว่าพวกเราอาจจะอยู่บนรถไฟขบวนเดียวกัน แม้ว่ารถไฟคันนี้กำลังวิ่งไปบนรางเดียวกัน แต่บางครั้งเราก็มิอาจที่จะก้าวล้ำเข้าไปยัง พื้นที่ส่วนตัวของคนอื่นๆ บนรถไฟ นั่นทำให้เราไม่อาจที่จะล่วงรู้ถึงเหตุผลที่ซ่อนอยู่ภายในของ ปัจเจกบุคคลแม้ว่าเราจะพยายามเดินค้นหามันก็ตาม

 การหายตัวไปของ แม่(สัญลักษณ์แห่งการปลดปล่อยผู้หญิงออกจากวาทกรรม แม่และ เมีย) ในเช้าวันรุ่งขึ้น ไม่ได้สร้างความเสียใจให้กับ 3 พี่น้องตระกูลวิตแมนเลยแม้แต่น้อย ในทางตรงกันข้ามพวกเขาทั้ง 3 คนกลับเรียนรู้ที่จะปล่อยวาง มรดกจากพ่อ(องค์ความรู้แบบชายเป็นใหญ่) ด้วยการทิ้งกระเป๋าหลุยส์วิสตรอง 11 ใบ ซึ่งหอบหิ้วมาตั้งแต่ต้นเรื่อง และก้าวขึ้น รถไฟเพื่อจะไปสู่ อนาคตร่วมกัน

 วินาทีแห่งการตัดสินใจคือวินาทีแห่งความบ้า และจะว่าไปแล้ว มนุษย์เราเสียเวลากับการคิดล่วงหน้า หาเหตุผลที่ดีที่สุด และมนุษย์เราเสียเวลามากมายในการนั่งทะเลาะกันกับ สิ่งที่ควรจะเป็น น่าจะเป็น หรือควรจะเกิดขึ้นมากกว่าที่จะ กระทำอะไรกันจริง’” (ข้อคิดที่นำเสนอโดยสำนักคิด Pragmatism หรือ ปฏิบัตินิยม อ้างถึงใน ไชยันต์ ไชยพร.POSTMODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ.กทม.: หจก.ภาพพิมพ์, 2550 หน้า 27-28)

 วันนี้คุณพร้อมจะก้าวขึ้น รถไฟไปด้วยกันหรือยัง ?

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย   “การที่ใครจะเป็น ‘modern’ (ทันสมัย) เขาคนนั้นก็จะต้องคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณแห่งการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากของเก่าที่ดำรงอยู่ (tradition) และที่สำคัญ คือ พร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากตัวตนของตัวเองที่ดำรงอยู่ ถ้าตัวตนเป็น modern ก็ต้องพร้อมที่จะละทิ้งความเป็น modern ด้วยเหตุผลของความเป็น modern เอง”  “ในการจะเป็น modern มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเป็น postmodern หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าใครจะเป็น modern เขา หรือเธอคนนั้นก็จะต้องเป็น postmodern มิฉะนั้นแล้ว เขาก็ไม่สามารถเป็น modern ได้” (Jean-Francois…
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย   ผมชอบคำว่า ‘เพื่อนบ้าน' (Neighbor) เนื่องจากผมเล็งเห็นว่า คำว่า ‘เพื่อนบ้าน' นั้นดูจะมีความหมายในการมอง ‘มนุษย์' ที่อยู่รอบๆ ตัวของผู้พูด ผู้เขียน ผู้ใช้ คำๆ นี้ในแง่ดี (Positive Thinking) ส่วนคำว่า ‘จ๊ะเอ๋' นั้น ผมจำได้ว่าเป็นคำที่ผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน (รวมทั้งตัวผม) มักจะใช้เล่นกับเด็กๆ ด้วยการเอามือ ผ้า หรือสิ่งของอื่นๆ ที่หาได้สะดวก ปิดหน้าปิดตาของตัวผู้ใหญ่เอง (หรือใช้ปิดตาเด็ก) หลังจากนั้นจึงเปิดหน้าออกพร้อมรอยยิ้มแล้วกล่าวคำว่า ‘จ๊ะเอ๋' ซึ่งเด็กๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะชอบและมักจะมอบรอยยิ้มหรือเสียงหัวเราะเป็นการแสดงความพึงพอใจต่อการละเล่นชนิดนี้…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย    บางครั้งผมก็รู้สึกเบื่อหน่ายที่จะต้องหอบสัมภาระมากมายเข้าไปในโรงภาพยนตร์ปัจจุบันผมแอบสงสัยว่าเหตุใดความสุขในการชมภาพยนตร์แบบเมื่อครั้งยังเป็นเด็กจึงสูญหายไป จนเมื่อมีโอกาสชมภาพยนตร์เรื่อง ‘สะบายดีหลวงพระบาง'จึงทำให้ผมรับรู้ว่าแท้จริงแล้วความสุขในวัยเด็กของผมไม่ได้หายไปไหน แต่หนังสือ ตำรา คำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ผมแบกเอาไว้ในสมองต่างหากที่บดบังความสุขแบบที่เราคุ้นเคย 
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย ถ้าหาก E เท่ากับ EMOTION (อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง และ อื่นๆ), M เท่ากับ MAN (มนุษย์ไม่ว่าหญิง ชาย และอื่นๆ) และ C เท่ากับ CLOCK (ซึ่งหมายถึงระยะเวลา) จากสมการ E=mc2คุณคิดว่า ‘จำนวนของบุคคล' ที่เหมาะสมกับ ‘ความรัก' จะเท่ากับเท่าไหร่? รัก/สาม/เศร้า ตามสมการ รัก/สอง/สุข และเวลาแค่ไหนถึงจะพอสำหรับ ‘รัก' ‘รัก/สาม/เศร้า' เป็นเรื่องราวของเพื่อนรักสามคน ที่ ‘แอบรัก' กัน ในฐานะที่มากกว่าเพื่อน ‘น้ำ' แอบรัก ‘พายุ' ‘พายุ' แอบรัก ‘ฟ้า' โดยที่ตัวฟ้าเองก็ไม่เคยรับรู้มาก่อนเลยว่าพายุแอบรักตนเอง (และก็ไม่เคยรับรู้เช่นกันว่าเพื่อนรักของตนอย่าง ‘น้ำ' ก็แอบรักเพื่อนรักอย่าง ‘พายุ'…
Cinemania
  < นพพร ชูเกียรติศิริชัย >     หากพูดถึงประเทศจีน คุณนึกถึงอะไร? กังฟู, ก๋วยเตี๋ยว, หมีแพนด้า,มังกร, ลูกท้อ,ซาลาเปา, ปรัชญาลัทธิเต๋า และภูเขาสูงหน้าตาแปลกๆ   หากสิ่งเหล่านี้คือคำตอบของคุณ นั่นก็หมายความว่า คุณพร้อมแล้วที่จะไปสัมผัสกับภาพยนตร์ ‘KUNG FU PANDA’ หรือในชื่อภาษาไทยว่า ‘กังฟูแพนด้า จอมยุทธพลิกล็อค ช็อคยุทธภพ’   ผมไม่แน่ใจว่าหมีแพนด้าถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของ ‘มิตรภาพ’ ระหว่างประเทศจีน กับประเทศอื่นๆ ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ บทบาทความเป็น ‘ทูตสันติภาพ’ ของหมีแพนด้า ในบัดนี้ได้ถูกนำเสนอผ่านจอภาพยนตร์ฮอลีวู้ดไปเป็นที่เรียบร้อย 
Cinemania
   ปิติ-ชูใจท่ามกลาง ‘หนังซัมเมอร์' ที่ดาหน้ากันมาถมจนเต็มพื้นที่ในโรงภาพยนตร์ช่วงฤดูร้อน ทางเลือกของคนดูหนังใน ‘โรงหนังชั้นนำใกล้บ้านคุณ' ก็ยังไม่ได้หลากหลายอะไรนัก เพราะแนวทางหลักๆ ของหนังซัมเมอร์ที่เห็นอยู่ตอนนี้ก็มีแค่ แอ๊กชั่น, ตลก, สยองขวัญ และอนิเมชั่น กรณีที่อยากดูหนังนอกกระแส ก็ต้อง ‘เข้าเมือง' กันอย่างเดียว เพราะที่ทางของหนังเหล่านี้ยังกระจุกตัวอยู่ที่สยามหรือไม่ก็สุขุมวิทแค่นั้น (ซึ่งมันก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ในยุคที่หนังถูกจำกัดความหมายให้เป็นแค่เครื่องมือผ่อนคลายและสร้างความบันเทิง) แต่อย่างน้อยที่สุด หน้าร้อนปีนี้ยังมีหนังไทยน่าสนใจอยู่ 2 เรื่อง ที่พอจะแหวกกระแสเดิมๆ…
Cinemania
   ::: ข้อความหลังเส้นประของข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ ::: โดย...ณภัค เสรีรักษ์ภาพยนตร์พูดภาษาอังกฤษเรื่องแรกของผู้กำกับชื่อดัง ‘หว่องการ์ไว' (Wong Kar Wai) ที่เพิ่งเข้าฉายให้ผู้ชมในดินแดนประเทศไทยได้ชมกันตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่เพิ่งจะผ่านมา (2008) ที่มีชื่อว่า My Blueberry Nights นั้น อาจมีประเด็นต่างๆ นานาให้สามารถสร้างบทสนทนากันได้มากมายและยาวนาน แต่สำหรับในที่นี้นั้น ผมอยากจะ ‘หยิบเลือก' เพียงบางประเด็นมา ‘อ่าน' หรืออีกนัยหนึ่ง ‘สนทนา' เกี่ยวกับ ‘ตัวละคร' ในภาพยนตร์ดังกล่าว ภายใต้ความคิดเกี่ยวกับเรื่อง ‘ความทรงจำ' ซึ่งสะท้อนร่วมกับความคิดเกี่ยวกับ ‘…
Cinemania
Between the FramesE-mail: betweentheframes@gmail.com:::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil::: "All those gathered here will know that it is not by sword or spear that the LORD saves; for the battle is the LORD's, and He will give all of you into our hands."                                                   …
Cinemania
 :::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil::: เวลา 2 ชั่วโมงกว่า (158 นาที) ในหนัง There will be blood - ผลงานเรื่องที่ 5 ของผู้กำกับ Paul Thomas Anderson คือเรื่องราวในด้านที่มืดดำของมนุษย์ เต็มไปด้วยความโลภ ความอ่อนแอ สันดานดิบ และแน่นอน...มันรวมไปถึง ‘การสร้างศรัทธา' ด้วยวิธีการอันน่าขนลุกด้วย...เราได้รู้จัก ‘เดเนียล เพลนวิว' (Daniel Day-Lewis) นักเสี่ยงโชคที่ตั้งใจทำเหมืองเงิน แต่บังเอิญได้ที่ดินซึ่งมีน้ำมันดิบนอนสงบนิ่งอยู่ใต้พื้นมาแทน โลกของเดเนียลไม่มีคำว่า ‘สุดแท้แต่โชคชะตา' หรือ ‘ศรัทธา' ไม่มีแม้กระทั่งคำว่า ‘พระผู้เป็นเจ้า'…
Cinemania
ซาเสียวเอี้ยการไล่ตีแมลงสาบบนฝาบ้าน อาจเป็นเกมสนุกสนานอย่างหนึ่ง และเพียงสายลมเย็นจากพัดลมมือสองที่เป่าไล่ความร้อนในค่ำคืนอบอ้าวอาจเป็นถึง ‘รางวัลชีวิต' ของสองพ่อลูกผู้ยากจน...ผู้อาศัยอยู่ในโลกแห่งความแร้นแค้นทั้งหมดที่่ว่ามา-อาจฟังไม่ต่างจากสงครามชีวิตสุดรันทด (บัดซบ!) แต่เมื่อเรื่องราวเหล่านี้ถูกถ่ายทอดผ่านมุมมองของ ‘โจวซิงฉือ' ไอ้สิ่งที่ควรจะเศร้า...กลับทำให้เราหัวเราะออกมาได้000ถึงแม้ว่าหน้าหนังของ CJ7 จะถูกโฆษณาว่าเป็นแนว Sci-fi แต่ ‘ใจความสำคัญ' ที่อยู่ในนั้น ไม่ใช่ ‘ความลี้ลับ' ของจักรวาลอันกว้างใหญ่ หรือถ้าจะพูดให้ชัดๆ ก็ต้องบอกว่า นี่คือหนังครอบครัวแนว Comedy-Drama ที่ให้ ‘…