Skip to main content


 

< นพพร ชูเกียรติศิริชัย >

 

 

หากพูดถึงประเทศจีน คุณนึกถึงอะไร? กังฟู, ก๋วยเตี๋ยว, หมีแพนด้า,มังกร, ลูกท้อ,ซาลาเปา, ปรัชญาลัทธิเต๋า และภูเขาสูงหน้าตาแปลกๆ

 

หากสิ่งเหล่านี้คือคำตอบของคุณ นั่นก็หมายความว่า คุณพร้อมแล้วที่จะไปสัมผัสกับภาพยนตร์ ‘KUNG FU PANDA’ หรือในชื่อภาษาไทยว่า กังฟูแพนด้า จอมยุทธพลิกล็อค ช็อคยุทธภพ

 

ผมไม่แน่ใจว่าหมีแพนด้าถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของ มิตรภาพระหว่างประเทศจีน กับประเทศอื่นๆ ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ บทบาทความเป็น ทูตสันติภาพของหมีแพนด้า ในบัดนี้ได้ถูกนำเสนอผ่านจอภาพยนตร์ฮอลีวู้ดไปเป็นที่เรียบร้อย

 

 

KUNG FU PANDA นำเสนอเรื่องราวของ โพหมีแพนด้าลูกชายเจ้าของร้านบะหมี่ผู้ใฝ่ฝันที่จะเป็นสุดยอดปรมาจารย์กังฟู ทั้งๆ ที่ในสายตาของคนอื่นๆ เขาเป็นเพียงหมีแพนด้าตัวอ้วนๆ ผู้ปราศจากวิทยายุทธ แต่แล้วโชคชะตากลับเล่นตลกส่งให้ โพกลายเป็นนักรบมังกร (Dragon Warrior) ตามคำพยากรณ์โบราณ โดยมีภาระกิจสำคัญคือการปกป้องหุบเขาสันติภาพและชาวบ้าน จาก ไต้หลุงเสือดาวหิมะจอมโฉดซึ่งปรารถนาจะแย่งชิงคัมภีร์มังกรเพื่อครอบครองความยิ่งใหญ่

 

ขณะที่ ชิฟูปรมาจารย์กังฟู ผู้เป็นอาจารย์ของเจ้าตำนานทั้งห้า (บุคลาธิษฐานของตำนานกังฟูวัดเส้นหลิน คือ หมัดพยัคฆ์, หมัดวานร, หมัดงู, หมัดตั๊กแตน และหมัดนกกระเรียน) คือ ไทเกรส(นางพยัคฆ์),เครน (กระเรียนทอง), มังกี้ (เจ้าวานร),ไวเปอร์ (อสรพิษไฟ) และแมนทิส (ตั๊กแตนจอมต่อย)กลับไม่แน่ใจว่าเขาจะสามารถสั่งสอนให้เจ้าหมีแพนด้าผู้ปราศจากวรยุทธ ให้กลายเป็นจอมยุทธในตำนานได้อย่างไร

 

แต่แล้วความศรัทธาก็ทำให้ ชิฟูค้นพบกับพรสวรรค์ที่แฝงอยู่ในตัวของ โพและนั่นทำให้เขารับรู้ว่าหลักสูตรการสอน (วิทยายุทธ) แบบที่เขาคุ้นชินนั้นไม่เหมาะกับ โพและเป็นหน้าที่ของอาจารย์อย่างเขาที่จะต้องหาวิธีการสอนศิษย์ผู้นี้ให้เป็นสุดยอดจอมยุทธ์ให้ได้

 

จากหลักสูตรพิเศษของ ชิฟูทำให้ โพแข็งแกร่งเพียงพอที่จะเป็นผู้ครอบครองความลับในคัมภีร์มังกร แต่สุดท้ายทั้ง ชิฟู โพรวมไปถึงเหล่าเจ้าตำนานทั้ง 5 ก็ต้องพบกับความผิดหวัง เมื่อพวกเขาได้รับรู้ว่า ไม่มีสิ่งใดอยู่ในคัมภีร์ และนั่นก็ทำให้พวกเขาต้องตัดสินใจหลบหนีออกจากหุบเขาสันติภาพก่อนที่ ไต้หลุงจะมาถึง

 

แต่ในขณะที่ โพกำลังอพยพผู้คนออกจากหมู่บ้าน มิสเตอร์พิงเจ้าของร้านบะหมี่ผู้เป็นพ่อของ โพกับเป็นผู้ที่ทำให้ โพค้นพบกับความลับของคัมภีร์ และนั่นคือที่มาของตำนานจอมยุทธแพนด้า

 

แล้ว ( เรา) ผมจะได้อะไรจาก KUNG FU PANDA?

 

  1. บรรพบุรุษของเราไม่อาจกำหนดให้เราเป็นอะไร

หากใครที่มีโอกาสได้ไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้มาแล้วคงจะทราบว่า มิสเตอร์พิงเจ้าของร้านบะหมี่ ผู้เป็นพ่อของโพนั่นไม่ใช่หมีแพนด้า แต่ มิสเตอร์พิงคือ เป็ดนั่นหมายความว่าองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องของ พันธุกรรมหรือ ‘DNA’  ไม่อาจจะเป็นตัวกำหนดว่าคุณคือใคร? หรือคุณควรเป็นอย่างไร? (อย่างน้อยก็ในภาพยนตร์เรื่องนี้)

 

ขณะเดียวกันการที่บรรพบุรุษของ โพหลายชั่วอายุคน เป็นเจ้าของร้านบะหมี่ ก็ไม่ได้หมายว่า โพควรที่จะเป็นเจ้าของร้านบะหมี่เช่นเดียวกับบรรพบุรุษ และก็เช่นเดียวกับ ประเทศจีนในปัจจุบันที่สามารถพิสูจน์ให้โลกเห็นแล้วว่า ความเป็นมาของบรรพบุรุษไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่าพวกเขาคือใคร และควรทำอะไร? หากแต่พวกเขาสามารถที่จะกำหนดชะตาชีวิตภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้เอง

 

  1. ไม่มีแบบเรียน หรือโครงสร้างที่สมบูรณ์ตายตัว

การที่ปรมาจารย์กังฟูอย่าง ชิฟูมั่วหมกหมุ่นอยู่กับองค์ความรู้และวิธีการสอนแบบที่ตนเองคุ้นชิน ทำให้เขาไม่เคยเชื่อมั่น ในตัวลูกศิษย์อย่าง โพและกลายเป็นภาพลวงที่ทำให้เขาละเลย ความแตกต่างของบุคคล แต่สุดท้ายเมื่อเขาได้ค้นพบกับ ความแตกต่างของ โพเขาก็รับรู้ว่า การยึดมั่นอยู่กับวิธีการสอน ของเขาต่างหากที่เป็นอุปสรรคในการนำพาลูกศิษย์ไปสู่ความเป็นสุดยอดจอมยุทธ

 

ขณะเดียวกัน ความลับสุดยอดของคัมภีร์มังกร (ซึ่งเปรียบเสมือนองค์ความรู้แบทฤษฎีของตะวันตก) ที่เหล่าจอมยุทธ (นักวิชาการ,นักทฤษฎี) เชื่อว่าหากใครได้รับรู้ถึงความลับนั้นก็จะบรรลุสู่ความเป็นสุดยอดจอมยุทธ (ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ไม่มีความลับใดอยู่ในคัมภีร์มังกร  ที่จะนำผู้คนไปสู่ความเป็นสุดยอด) ก็กลายเป็นเพียงสิ่งล่อหลอกให้ผู้คนจำนวนหนึ่งมุ่งมั่นที่จะแย่งชิงคัมภีร์มังกรเพื่อครอบครองความเป็นใหญ่ (คล้ายๆ กับการแย่งชิงกันเข้าสู่มหาวิทยาลัยเพื่อจะขึ้นไปเหยียบอยู่บนจุดสูงสุดของสังคม)

 

ขณะที่ชาวตะวันตกอาจจะกำลังพยายามวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้ จีนประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ภายใต้เศรษฐกิจแบบทุนนิยม แต่สำหรับภาพยนตร์อนิเมชั่นอย่าง KUNG FU PANDA กำลังบอกว่าความลับในคัมภีร์มังกรก็คือ การเป็นในสิ่งที่จีนเป็น นั่นเอง

 

หากไม่มีใครบอกว่า ภาพยนตร์อนิเมชั่นจากค่ายดรีมเวิร์คส์ (DREAMWORKS) เรื่องนี้ เป็นฝีมือการผลิตจากทีมงาน (ซึ่งส่วนใหญ่เป็น) ชาวตะวันตก ผมคงเผลอคิดไปว่านี่คือหนังโฆษณาที่ทางการจีนกำลังใช้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนทั่วโลกได้สัมผัสกับ จีนในฐานะเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติแน่ๆ เลย

 

 

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
โดย… พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
Cinemania
      ซาเสียวเอี้ย   แต่ไหนแต่ไรมา...ระบบการศึกษาในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกมักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการ ‘ดับฝัน’ ของคนวัยหนุ่มสาว เพราะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้นที่จะ ‘เรียนรู้’ สิ่งแปลกใหม่ในวัยเยาว์ถูกลบเลือนหายไปในกรอบ-กฎเกณฑ์-เหตุผล-เงื่อนไข และข้อเท็จจริงทั้งหลายทั้งปวง (ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีโอกาสเกิดมาใช้ชีวิตบนโลกก่อนหน้าเรา...)   กระนั้น...ใครหลายคนก็ยังยินดีเดินตามแนวทางหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกวางไว้แล้วโดยไม่เคยคิดตั้งคำถาม เพื่อแลกเปลี่ยนกับ ‘การยอมรับ’ จากสังคมรอบข้าง...เพื่อที่มนุษย์ทั้งหลาย (ซึ่งเป็นสัตว์สังคม)…
Cinemania
        ซาเสียวเอี้ย   ‘ชาร์ลี วิลสัน’ ตายแล้ว...   แม้การตายของเขาจะไม่ได้ทำให้โลกสะท้านสะเทือนอะไรมากนัก แต่ก็มีความหมายสลักสำคัญมิใช่น้อย เพราะบทบาทของวิลสันในสมัยที่เขายังหนุ่มแน่นและดำรงตำแหน่ง สว.รัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา เป็นประเด็นให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดว่าควรจะจดจำเขาไว้ในฐานะอะไร...   บ้างก็ว่า ชาร์ลี วิลสัน คือ ‘นักการเมืองเจ้าสำราญ’ เจ้าของฉายา Good Time Charlie ผู้มีชีวิตโลดโผนเต็มไปด้วยสีสัน หรือเป็น ‘วีรบุรุษชาวอเมริกัน’ ผู้ช่วยให้นักรบมูจาฮิดีนขับไล่กองทัพสหภาพโซเวียตอันโหดร้ายป่าเถื่อนไปจากอัฟกานิสถาน…
Cinemania
themadmon หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น บทสะท้อนย้อนคิดหลังจากการชมภาพยนตร์เรื่อง Air Doll ผมในฐานะที่เป็นผู้เขียนจงใจจะหยิบเลือกประเด็น (ซึ่งผ่านการตีความของผม) โดยไม่ได้อ้างอิงอย่างชัดเจนไปสู่ตัวภาพยนตร์ในแต่ละฉากแต่ละตอน โดยหวังว่าผู้ที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ก็สามารถอ่านได้ และผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วจะสามารถระลึกถึงฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้ด้วยเช่นกัน     หากลองพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในสามประโยค  ผมคงพูดสั้นๆ ว่า.. “ผู้คนหลากหลาย เราต่างก็ว่างเปล่า และเหงามากมาย”  เพราะอะไรน่ะหรือ …
Cinemania
  บริวารเงา   ขงจื๊อ เป็นชื่อหนึ่งที่ผมได้ยินมาเนิ่นนาน ถ้าจำไม่ผิดอาจจะเป็นหนังจีนกำลังภายในสักเรื่องหนึ่งที่อ้างชื่อนี้ขึ้นมาเพื่อพูดถึงปรัชญาในเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร ผมมารู้จักเขาอีกครั้งในห้องสมุดช่วงที่กำลังสนใจพวกวิชาปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ฯลฯ  แต่ผมกลับไปชอบปรมาจารย์จีนอีกคนคือ เล่าจื๊อ เสียมากกว่า เพราะว่าแกมีความคิดที่ 'แนว' ดี (อารมณ์ของวัยรุ่นเช่นนี้แล) อีกนัยหนึ่งก็ดูเพี้ยน ๆ อีกนัยหนึ่งก็มีอารมณ์ศิลปินกว่าขงจื๊อ ขณะที่ผมเห็นว่าขงจื๊อเอาแต่พร่ำบ่นอะไรที่เป็นหลักจริยธรรมน่าเบื่อ ๆ ซึ่งความน่าเบื่อนี้ไม่ใช่ความผิดของขงจื๊อเสียทีเดียว…
Cinemania
เดือนสองจันทร์   October Sonata: รักที่รอคอย
Cinemania
สุพิชชา โมนะตระกูล ตลอดช่วงเวลาขณะชมภาพยนตร์สารคดี “Our Daily Bread” ผู้เขียนรู้สึกตะลึงกับภาพที่ได้รับชม โดยสาเหตุหลักหาใช่ “ความงาม” ของสีสันหรือองค์ประกอบศิลป์แบบภาพที่ผู้กำกับภาพบรรจงจัดวางอย่างภาพยนตร์ที่มีภาพงามเรื่องอื่นๆ...หากเป็น “ความจริง” ของภาพที่ตรึงผู้เขียนไว้ตลอดระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
Cinemania
  สาวกท่านเป้า ขณะที่กำลังตุรัดตุเหร่ในร้านหนังสือแอร์เย็นเฉียบ เพื่อตามหานิตยสารมือถือฉบับหนึ่ง บังเอิญเหลือบไปเห็นนิตยสารฉบับหนึ่งที่นำภาพโปรโมทภาพยนตร์ “วงษ์คำเหลา” มาขึ้นปก แต่เมื่อหยิบมาจึงรู้ว่าเป็นปกหลัง แต่ปกหน้าก็ยังเป็นวงษ์คำเหลาอยู่ดี จึงเริ่มรู้ตัวว่าถูกหลอกแดกเสียแล้ว มีที่ไหนวางขายนิตยสารโดยเอาปกหลังเป็นตัวชูโรง นิตยสารฉบับนั้นคือนิตยสารภาพยนตร์ของกลุ่มคนทวนกระแสที่ชื่อว่า “ไบโอสโคป”
Cinemania
   เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ ‘สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ ‘เศรษฐีใหม่' หรือ ‘ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง ‘บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ‘ปม'…
Cinemania
 'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...‘ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น ‘คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...บุรุษไปรษณีย์นามว่า ‘มาริโอ โรปโปโร':::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ‘ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538…
Cinemania
  ..mad mon..::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์:: 1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep)…
Cinemania
(เขียนเมื่อ 31 ธ.ค.51)จันทร์ ในบ่อ สิ้นปีกันเสียที บรรยากาศตึงๆ ปีนี้อาจทำให้ใครหลายคนอึดอัดและทำท่าจะลากยาวไปถึงปีหน้า ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ  คนสู้ๆ กับปัญหาที่รุมเร้า แต่ถ้าเครียดมากลองผ่อนคลายกันด้วยการหาหนังดูมาสักเรื่องสองเรื่อง จะซื้อ จะเช่ามานั่งดูที่บ้านหรือจะออกไปดูตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็ได้ ลองออกจากโลกความจริงไปอยู่ในโลกอื่นสักชั่วโมงสองชั่วโมงอาจจะสบายใจขึ้นส่วนถ้าใครยังไม่รู้จะดูเรื่องอะไร ที่ไหนอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมหนังรับปีใหม่มาฝาก เป็นหนังฟรีกลางแปลงครับหลายคนคงไม่ค่อยทราบว่าที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดเทศการหนังกลางแปลงกันทุกปี ในวันที่ 7-8-9 มกราคม 2552…