Skip to main content

นพพร ชูเกียรติศิริชัย

 

การที่ใครจะเป็น ‘modern’ (ทันสมัย) เขาคนนั้นก็จะต้องคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณแห่งการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากของเก่าที่ดำรงอยู่ (tradition) และที่สำคัญ คือ พร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากตัวตนของตัวเองที่ดำรงอยู่ ถ้าตัวตนเป็น modern ก็ต้องพร้อมที่จะละทิ้งความเป็น modern ด้วยเหตุผลของความเป็น modern เอง

 ในการจะเป็น modern มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเป็น postmodern หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าใครจะเป็น modern เขา หรือเธอคนนั้นก็จะต้องเป็น postmodern มิฉะนั้นแล้ว เขาก็ไม่สามารถเป็น modern ได้ (Jean-Francois Lyotard อ้างถึงใน ไชยันต์ ไชยพร.POSTMODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ.กทม.: หจก.ภาพพิมพ์, 2550 หน้า 41)

 หากรถไฟ คือ ตัวแทนของความทันสมัย (modern) ที่จะนำพาผู้คนจากอดีตไปสู่อนาคต การที่คนกลุ่มหนึ่งมัววิ่งตามขบวนรถไฟ ก็อาจจะทำให้พวกเขาไม่สามารถไปสู่จุดหมายปลายทาง แต่ขณะเดียวกันการที่จะมัวหมกหมุ่นอยู่บนรถไฟ (modern) ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าคนกลุ่มนั้นจะสามารถหาคำตอบให้กับชีวิตของพวกเขาเอง และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการเดินทางค้นหาจิตวิญญาณโดยสามพี่น้องตระกูลวิตแมน ในภาพยนตร์ The Darjeeling Limited

 The Darjeeling Limited เป็นเรื่องราวของสามพี่น้องแห่งตระกูลวิตแมน ซึ่งปรารถนาที่จะใช้โปรแกรมการเดินทางไปยังอินเดีย เพื่อผสานรอยร้าวแห่งความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง

 

 แจ็ค วิตแมน (เจสัน ชวาร์ตแมน) น้องชายคนเล็กผู้มีมุมมองต่อ ผู้หญิงในฐานะ วัตถุทางเพศ(ตัวแทนขององค์ความรู้จากตะวันตก ก่อนการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม ที่ถกเถียงกันถึงเรื่องความงามและสุนทรียะ) เขาเฝ้าพร่ำเพ้อถึงความงดงามของเรือนร่าง (และความหอม) ของหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์กันชั่วข้ามคืน (แต่สุดท้ายเธอก็เดินทางไปยังอิตาลี) โดยที่ แจ็คมุ่งหวังว่าหลังจากจบการเดินทางไปยังอินเดีย เพื่อสานความสัมพันธ์กับพี่ชายทั้งสอง เขาจะติดตามเธอไปยังดินแดนต้นกำเนิดศิลปกรรมยุคคลาสสิคเช่นกัน

 ฟรานซิส วิตแมน (โอเวน วิลสัน) พี่ชายคนโตที่หลงใหลกับความทันสมัยของ เทคโนโลยี(อย่างแปรสีฟันไฟฟ้า) และ สินค้าแบรนด์เนมตลอดจน การแสดงออกซึ่งตัวตน (ด้วยการสลักชื่อลงบนเข็มขัด) เขาคือผู้คิดแผนการเดินทางค้นหาจิตวิญญาณ เพื่อสานความสัมพันธ์ระหว่างเหล่าพี่น้องวิตแมน โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือการพา แม่(แอนเจลิก้า ฮุสตัน) ซึ่งหนีไปบวชชีกลับบ้าน (การปฏิเสธศาสนาและการยัดเยียดความเป็นแม่ให้กับสตรี) ทั้งนี้ระหว่างการเดินทาง ปีเตอร์พยายามที่จะให้น้องๆ ของเขาปฏิบัติตนตาม กฎเกณฑ์และ ตารางเวลาที่ผู้ช่วยของเขากำหนดไว้ให้ ด้วยความมุ่งหวังว่ามันจะทำให้ทุกคนพบกับความสุขในแบบที่เขาเชื่อ

 ปีเตอร์ วิตแมน (แอเดรียน โบรดี้) พี่ชายคนกลาง ซึ่งเติบโตมากับ พ่อ นั่นคือสิ่งที่ทำให้เขาหวาดกลัว ความเป็นเมียและ ความเป็นแม่ ทั้งๆ ที่ตัวเขาเองก็ไม่รู้เช่นกันว่า ความเป็น เมียและความเป็น แม่นั้นหมายความว่าอะไร (เปรียบเสมือนผู้ที่พยายามจะปฏิเสธองค์ความรู้แบบเก่าโดยที่ไม่รู้ว่าทำไมเขาถึงควรจะปฏิเสธ) เขาจึงตัดสินใจที่จะหนี อลิซ(หญิงสาวซึ่งเขาไปทำเธอท้อง) เพื่อร่วมเดินทางไปกับพี่และน้องของเขา โดยที่ปีเตอร์เองก็ไม่ทราบว่า พี่ชายของเขา (ฟรานซิส) วางแผนที่จะพาพวกเขาไปพบกับ แม่(ซึ่งไม่ยอมปรากฏตัวในงานศพของพ่อ) ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ปรารถนาที่จะพบกับเธอไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ

 แม้พวกเขาทั้งสามคนจะเป็นพี่น้องกันโดยสายเลือด แต่พวกเขาก็แทบที่จะไม่รู้จักกันและกัน (เช่นเดียวกับความพยายามของนักวิชาการบางกลุ่มที่จะหั่นองค์ความรู้ตะวันตกออกเป็น 3 ส่วน อดีต ปัจจุบัน อนาคต โดยที่เชื่อมั่นว่าองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ได้สัมพันธ์กันโดยสิ้นเชิง) และนั่นทำให้พวกเขาไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน แต่อาจจะมีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นที่ทำให้พวกเขาสามารถที่จะระลึกถึงสายสัมพันธ์ระหว่างกันได้นั่นก็คือ มรดกจากพ่อ(องค์ความรู้แบบชายเป็นใหญ่) ทั้งในแง่ของ ความทรงจำและ สิ่งของที่ถูกบรรจุอยู่ในกระเป๋าหลุยส์วิสตองจำนวน 11 ใบ

 ตลอดการเดินทางโดยรถไฟ พวกเขาคือ มนุษย์เพียงกลุ่มเดียวที่สร้างเรื่องราวแหก กฎและ ประเพณี(ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ) เริ่มจากการสูบบุหรี่บนรถไฟ ต่อมาด้วยเหตุการณ์ที่ แจ็ค น้องชายคนสุดท้อง แอบมี เพศสัมพันธ์กับ บริกรสาวชาวอินเดีย ใน ห้องน้ำแบบตะวันตกบน รถไฟโดยที่เขาก็ไม่รู้ว่า บริกรสาวคนดังกล่าวเป็นแฟนกับ พนักงานตรวจตั๋ว

 ‘ปีเตอร์พี่ชายคนรอง แอบนำ งูพิษ (สัญลักษณ์ของ สิ่งต้องห้ามหรือ สิ่งผิดกฎหมาย) ขึ้นมาบนรถไฟ (สังคม) จนทำให้พนักงานเก็บตั๋ว (เจ้าหน้าที่) ตัดสินใจที่จะคาดโทษพวกเขาด้วยการให้พวกเขาอยู่แต่ในห้อง (วิธีการลงโทษด้วยการคุมขัง)

 แต่อยู่ๆ รถไฟก็เกิดหลงออกนอกเส้นทาง โดยที่พวกเขาก็ไม่รู้ว่าตนเองกำลังอยู่ที่ไหน (เช่นเดียวกับปัจจุบันที่กำลังถกเถียงกันอยู่ว่า เราอยู่ในยุคสมัยใด ระหว่าง สมัยใหม่ (modern) หรือ หลังสมัยใหม่ (postmodern)) หลังจากนั้น ฟรานซิส(พี่ชายคนโต) จึงตัดสินใจเล่าเรื่องแผนการการเดินทางเพื่อตามหา แม่ให้น้องๆ ฟัง จนนำมาซึ่งความไม่พอใจต่อ ปีเตอร์

 สุดท้ายเมื่อกลับขึ้นรถไฟอีกครั้ง วิวาทะเกี่ยวกับ แม่ก็นำมาซึ่ง ความขัดแย้งถึงขั้นลงไม้ลงมือ ระหว่าง ฟรานซิส(ที่หวังจะพา แม่กลับบ้าน) กับ ปีเตอร์(ผู้ที่ไม่ต้องการรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ แม่)จนเลยเถิด ออกไปยัง พื้นที่อื่นๆ ของรถไฟ (สังคม) และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้พวกเขาต้องถูกไล่ลงจากรถไฟจริงๆ

 หลังถูกไล่ลงจากรถไฟพวกเขาตัดสินใจเดินเท้าท่องไปในดินแดนที่พวกเขาไม่รู้จัก โดยระหว่างนั้นพวกเขาได้ตกลงกันว่าหลังจากนี้พวกเขาจะแยกกันไปตามทางของตนเอง

 แต่ทันใดนั้นพวกเขาก็ต้องพบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เมื่อเด็กชายชาวอินเดียสามคนที่กำลังจะข้ามลำธารด้วยแพข้ามฟาก กลับตกลงไปในลำธารที่กระแสน้ำกำลังไหลเชี่ยวกราก พวกเขาทั้งสามพี่น้องจึงรีบกระโดดน้ำลงไปช่วยเด็กชายทั้งสาม ขณะที่ แจ็ค และ ฟรานซิส (ตัวแทนของอดีตและปัจจุบัน) สามารถที่จะช่วย 2 เด็กชายขึ้นจากน้ำได้สำเร็จ แต่ปีเตอร์(ตัวแทนแห่งความหมกหมุ่นถึงอนาคต) กลับไม่สามารถช่วยให้เด็กชายคนที่ 3 ไปถึงฝั่งได้ เนื่องจากขาของเด็กคนที่ 3 ติดอยู่กับเชือก และ ปีเตอร์ก็ไม่ได้คิดที่จะแก้เชือก (ปัญหา) ที่ติดขาเด็ก แต่เขากลับเลือกที่จะขึ้นไปบนแพที่อยู่บนตัวเด็ก จนทำให้แพพลิกคว่ำ และร่างของเด็กก็ลอยตามน้ำไปกระแทกหิน

 หลังจากนั้น เด็กชายชาวอินเดียสองคนซึ่งรอดชีวิตจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน จึงพาสามพี่น้องวิตแมน และร่างที่ปราศจากลมหายใจของเด็กชายคนที่ 3 กลับไปยังหมู่บ้านเพื่อจัดพิธีศพ

 ณ หมู่บ้านชาวอินเดียแห่งนี้ พี่น้องวิตแมนได้เรียนรู้ถึง บทบาทและ หน้าที่ของ ผู้หญิงในสังคมประเพณี(tradition) ซึ่งถูกกำหนดให้หมกหมุ่นอยู่กับ งานบ้านและได้เรียนรู้ถึงบทบาทของ ผู้ชายในฐานะผู้ประกอบพิธีกรรม ศักดิ์สิทธิ์ ผ่านพิธีศพ

 สิ่งเหล่านี้ทำให้พวกเขาทั้งสามหวนกลับไประลึกถึงสาเหตุที่ แม่ ของเขาไม่ยอมปรากฏตัวในงานศพของ พ่อเมื่อหลายปีก่อน และนั่นทำให้พวกเขาทั้งสามคนเห็นพ้องต้องกันว่าพวกเขาควรเดินทางไปตามหา แม่ ไม่ว่าพวกเขาจะได้รับคำตอบที่น่าพึงพอใจหรือไม่

 แต่เมื่อพวกเขาเดินทางไปพบกับแม่ คำตอบที่ได้ฟังจากปากของแม่ของพวกเขาก็คือ บางครั้งเรื่องบางเรื่องมันก็ไม่มีเหตุผล (การปฏิเสธองค์ความรู้แบบวิทยาศาสตร์) และเธอ มีหน้าที่อีกมากมายที่สำคัญและยิ่งใหญ่กว่า การเป็น แม่ พร้อมกันนี้เธอยังได้ขอให้พวกเขาทั้ 3 คน (แจ็ค, ฟรานซิส และปีเตอร์) รับปากเธอ 3 ข้อ คือ

 หนึ่ง พรุ่งนี้เราจะออกเดินทางแต่เช้า และก็พยายามสนุกกันในที่ที่สวยงามนี่ สอง เราจะเลิกสมเพชตัวเองมันไม่น่าพิศมัยเลย และสาม เราจะวางแผนอนาคตของเรา ตกลงมั้ย

 หลังจากนั้นแม่ของพวกเขาจึงแนะนำให้แจ็ค, ฟรานซิส และปีเตอร์ ลองใช้ความเงียบเพื่อตรึกตรองถึงเรื่องราวที่ผ่านมา จนทำให้พวกเขานึกขึ้นมาได้ว่า สังคม โลกทุกวันนี้ก็เปรียบเสมือนกับ รถไฟที่กำลังวิ่งตรงไปข้างหน้า แม้ว่ามันอาจจะวิ่งซ้ำรอยเดิม แต่รถไฟก็จะนำพาผู้คนที่โดยสารมันไปสู่อนาคตเสมอ

 และทุกๆ โบกี้ (ตู้โดยสาร) ก็เปรียบเสมือน พื้นที่ส่วนตัว (ซึ่งใช้เก็บ ซ่อน’ ‘ความลับของแต่ละบุคคลไว้) แม้ว่าพวกเราอาจจะอยู่บนรถไฟขบวนเดียวกัน แม้ว่ารถไฟคันนี้กำลังวิ่งไปบนรางเดียวกัน แต่บางครั้งเราก็มิอาจที่จะก้าวล้ำเข้าไปยัง พื้นที่ส่วนตัวของคนอื่นๆ บนรถไฟ นั่นทำให้เราไม่อาจที่จะล่วงรู้ถึงเหตุผลที่ซ่อนอยู่ภายในของ ปัจเจกบุคคลแม้ว่าเราจะพยายามเดินค้นหามันก็ตาม

 การหายตัวไปของ แม่(สัญลักษณ์แห่งการปลดปล่อยผู้หญิงออกจากวาทกรรม แม่และ เมีย) ในเช้าวันรุ่งขึ้น ไม่ได้สร้างความเสียใจให้กับ 3 พี่น้องตระกูลวิตแมนเลยแม้แต่น้อย ในทางตรงกันข้ามพวกเขาทั้ง 3 คนกลับเรียนรู้ที่จะปล่อยวาง มรดกจากพ่อ(องค์ความรู้แบบชายเป็นใหญ่) ด้วยการทิ้งกระเป๋าหลุยส์วิสตรอง 11 ใบ ซึ่งหอบหิ้วมาตั้งแต่ต้นเรื่อง และก้าวขึ้น รถไฟเพื่อจะไปสู่ อนาคตร่วมกัน

 วินาทีแห่งการตัดสินใจคือวินาทีแห่งความบ้า และจะว่าไปแล้ว มนุษย์เราเสียเวลากับการคิดล่วงหน้า หาเหตุผลที่ดีที่สุด และมนุษย์เราเสียเวลามากมายในการนั่งทะเลาะกันกับ สิ่งที่ควรจะเป็น น่าจะเป็น หรือควรจะเกิดขึ้นมากกว่าที่จะ กระทำอะไรกันจริง’” (ข้อคิดที่นำเสนอโดยสำนักคิด Pragmatism หรือ ปฏิบัตินิยม อ้างถึงใน ไชยันต์ ไชยพร.POSTMODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ.กทม.: หจก.ภาพพิมพ์, 2550 หน้า 27-28)

 วันนี้คุณพร้อมจะก้าวขึ้น รถไฟไปด้วยกันหรือยัง ?

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
  ธวัชชัย ชำนาญหนังรักโรแมนติกเป็นอะไรที่คนไทยให้ความสนใจโดยเฉพาะกลุ่มวัยทีนทั้งหลาย อย่างที่เพิ่งเข้าโรงไปอีกเรื่องก็คือ Happy Birthday เป็นความรักแบบโศกซึ้งน้ำตาซึมแห่งปีไปเลยก็ว่าได้ สาวๆหลายคนออกมาคงรำพันกับตัวเองไม่น้อย "ผู้ชายแบบนี้ยังมีอีกไหมหนอ"แต่สัปดาห์นี้ กระผมขอนำความรักในอีกแบบหนึ่งมาเสนอ เป็นหนังรักแห่งแดนอิเหนา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหนังรักแนวของประเทศมุสลิม คือเป็นหนังรักที่มีศาสนา จารีต ประเพณี และกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตรักของตัวละคร อย่างน้อยๆ หนังเรื่องนี้เป็นการสร้างสรรค์ให้วงการหนังแนวโรแมนติกในอีกมุมมองหนึ่งของความรักหนังเรื่องนี้ชื่อ ‘Ayat Ayat Cinta'…
Cinemania
 พิชญ์ รัฐแฉล้ม   " องค์บาก 2 " ภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นฟอร์มยักษ์ส่งท้ายปี 2551 นำแสดงโดย ‘จา' พนม ยีรัมย์ หรือ ‘โทนี่จา' ในวงการภาพยนต์โลก ถือฤกษ์มงคล 5 ธันวาคม เข้าฉาย ทีมผู้สร้างวางเป้าหมายไว้ ‘องค์บาก 2' จะต้องประสบความสำเร็จอย่างงดงามสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน บัดนี้..ผ่านมาแล้วสองสัปดาห์เต็มที่ภาพยนตร์ได้ออกฉายให้แฟนๆ จา พนม ที่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวแอ็กชั่นได้สัมผัสอย่างเต็มตา และได้รับการตอบรับจากแฟน จา พนม เป็นอย่างดีจนสามารถฉลองความสำเร็จของรายได้ที่ทะลุเป้าหมายร้อยล้านในสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้ๆกัน ‘องค์บาก 2'…
Cinemania
  หมายเหตุ: “บันทึกอิสรา” แสดงที่มะขามป้อมสตูดิโอ ในวันที่ 9-15 ธันวาคม เวลา 19.30น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 14.00น.  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูไปที่ www.makhampomstudio.net        “เรื่องราว... ถ้าไม่เล่าสู่กันฟัง คนข้างหลังก็จะลืม... เลือนราง” เนื้อร้องท่อนหนึ่งจากละครร้องเรื่อง “บันทึกอิสรา” ว่าเอาไว้ ชวนให้นึกเห็นด้วยไม่น้อย ทุกวันนี้ถ้าจะย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านพ้นมา ก็พบว่า ประวัติศาสตร์ของหลายๆ อย่างในประเทศนี้ไม่เคยจะสมบูรณ์เสียที ประวัติศาสตร์บางแบบแม้จะเรียนแล้วก็ต้องเรียนอีก…
Cinemania
ไก่ย้อย หมายเหตุ: จดหมายฉบับนี้สร้างขึ้นจากเรื่องจริงแต่แอบอิงวิธีการนำเสนอจากภาพยนตร์เรื่อง ‘เพื่อนสนิท’ โดยสมมติเหตุการณ์ว่าเป็นภาคต่อของภาพยนตร์ต้นฉบับ หากใครยังไม่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ บางทีก็อาจจะไม่เข้าใจมุกเห่ยๆ ของผู้เขียน  ส่วนใครที่ไม่อยากอ่านจดหมายฉบับนี้ ผู้เขียนก็ขอร้องว่าอย่าอ่านเลยนะพวกคุณ   ถึงเพื่อนๆ หากพวกแกได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ฉันขอร้องพวกแกอย่างหนึ่งนะว่า “อย่าคิดมาก” เพราะที่ผ่านมาเหตุการณ์บ้านเมือง และวงการวิชาการของไทยมันก็มีเรื่องซีเรียสมากมายกันพออยู่แล้ว ฉะนั้นพวกแกอย่าเสียเวลาเปลืองมันสมองเพื่อขบคิดกับจดหมายบ้าๆ บอๆ ของฉันอยู่เลย…
Cinemania
  จันทร์ ในบ่อ 20th Century Boys หรือเด็กในศตวรรษที่ 20 เป็นภาพยนตร์ที่นำเรื่องราวจากการ์ตูนชื่อเดียวกันมาสร้าง (การ์ตูนชื่อไทยว่า แกงค์นี้มีป่วน) เป็นผลงานเรื่องเด่นจากค่าย Shogakukan แต่งโดย Naoki Urasawa คนเดียวกับผู้เขียน Monster (คนปีศาจ)  20th Century Boys ยังคว้ารางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมครั้งที่ 48 จาก Shogakukan  รางวัลชนะเลิศในงาน Media Art ครั้งที่ 6 ของทบวงวัฒนธรรมญี่ปุ่น และรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม ครั้งที่ 25 จาก Kodansha คอการ์ตูนเองคงรู้ดีถึงความยอดเยี่ยม ส่วนฉบับภาพยนตร์ดูแล้วก็คิดว่าว่าไม่เสียรสชาติครับ ด้วยข้อจำกัดของหนังด้านเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหา…
Cinemania
จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิตรบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัยImagine : John LennonImagine there's no heavenIt's easy if you tryNo hell below usAbove us only skyImagine all the people  Living for todayImagine there's no countriesIt isn't hard to doNo greed or hungerAnd no religion tooImagine all the people  Living life in peaceYou may say I'm a dreamerBut I'm not the only oneI hope someday you'll join usAnd the world will live as oneImagine no possessionsI wonder if you canNothing to kill or die forA brotherhood of manImagine all the peopleSharing all the worldผมเคยได้ยินและได้ฟังเพลง Imagine…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  อังกฤษ ปี ค.ศ. 1983 ยุคที่รองเท้า ‘บู้ท' สไตล์ Dr.Matins ทรงผม ‘สกรีนเฮด' เสื้อเชิ้ต ‘ลายสก๊อต' และกางเกงยีนส์ คือสัญลักษณ์แห่ง ‘อำนาจ' ที่เหนือกว่าชนชาติอื่นในหมู่เยาวชนชาวอังกฤษ ‘ชอน' เด็กชายวัย 12 ผู้ฝังใจอยู่กับการสูญเสียพ่อไปในสมรภูมิเกาะฟอร์คแลนด์ (สงครามแย่งชิงเกาะฟอร์แลนด์ระหว่างประเทศอังกฤษและ อาเจนติน่า) กำลังเริ่มต้นค้นหาชีวิตในวัยหนุ่มกับกลุ่มเยาวชนรุ่นพี่  เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็นกลุ่มก้อน หรือความเป็นสถาบันผ่านเครื่องแต่งกายสไตล์ขาโจ๋เมืองผู้ดีในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็น ‘ชาย' ผ่าน ‘เกมส์'…
Cinemania
ชญานุช เล็กตระกูลชัย    ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mona_Lisa_Smile   “ศิลปะคืออะไร อะไรที่ทำให้มันดีหรือแย่ แล้วใครเป็นคนกำหนด” “ศิลปะไม่ใช่ศิลปะ จนกว่าจะมีคนบอกว่าใช่… มันมีมาตรฐาน เทคนิค องค์ประกอบ สี และหัวข้อ” (บางส่วนของบทสนทนาระหว่างตัวละคร ‘แคเธอรีน วัตสัน’ (จูเลีย โรเบิร์ตส์) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และ ‘เบ็ตตี้ วอร์เร็น’ (เคิร์สเตน ดันสต์) นักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ) ปรัชญา ศิลปะ และกระบวนการทำให้ ‘หญิง’ เป็น ‘หญิง’ ภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile นำเสนอภาพสะท้อนของสังคมตะวันตก (ทั้งยุโรป และอเมริกา) ในช่วงต้น…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  ภาพจาก http://www.japclub.com/dvd_box/j-bics/2008_may/Crows-Zero.htm    ผมเป็นผู้หนึ่งที่รู้สึกอิดหนาระอาใจกับสถานการณ์บ้านเมืองของเรา (หรือเปล่า?) ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผมไม่เคยคาดคิดว่า ภาพการไล่กระทืบกันอย่างเมามันด้วยความมุ่งหวังที่จะพิชิตฝ่ายตรงข้าม (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน) จะเกิดขึ้นในสังคมที่เที่ยวประกาศกับใครต่อใครว่าเป็นสังคมที่ยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาอย่างเข้มข้น ‘ฉากชีวิตจริง’ นั้นดุเด็ดเผ็ดมันกว่า ‘หนังบู๊’ ที่ดูผ่านหน้าจอหลายเท่านัก และดูจะสยดสยองกว่า ‘คลิปวีดีโอเด็กนักเรียนตบกัน’ เป็นไหนๆ  ส่วน ‘…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย   "to prove the Faustian dream to be a nightmare" ผมมีโอกาสประสบพบกับประโยคภาษาอังกฤษข้างต้นเป็นครั้งแรกในหนังสือ ‘POST MODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ' ของ อาจารย์ไชยันต์ ไชยพร และตั้งแต่วันนั้นผมก็ไม่เคยคิดว่าผมจะต้องนึกถึงมันอีกเลยไม่ว่าจะในกรณีใดๆ แต่แล้ววันดีคืนดี ในขณะที่ผมกำลังนั่งเพลิดเพลินเจริญอารมณ์อยู่กับภาพยนตร์เรื่อง Hellboy 2 : The Golden Army หลายๆ ฉาก หลายๆ ตอนในภาพยนตร์กลับทำให้มันสมองของผมเกิดระลึกถึงคำอธิบายเกี่ยวกับ ‘the Faustian dream' ของอาจารย์ไชยันต์ (ไชยพร) ขึ้นมาอย่างกระทันหัน …