Skip to main content
นพพร ชูเกียรติศิริชัย

 

 

ผมชอบคำว่า เพื่อนบ้าน' (Neighbor) เนื่องจากผมเล็งเห็นว่า คำว่า เพื่อนบ้าน' นั้นดูจะมีความหมายในการมอง มนุษย์' ที่อยู่รอบๆ ตัวของผู้พูด ผู้เขียน ผู้ใช้ คำๆ นี้ในแง่ดี (Positive Thinking)

 

ส่วนคำว่า จ๊ะเอ๋' นั้น ผมจำได้ว่าเป็นคำที่ผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน (รวมทั้งตัวผม) มักจะใช้เล่นกับเด็กๆ ด้วยการเอามือ ผ้า หรือสิ่งของอื่นๆ ที่หาได้สะดวก ปิดหน้าปิดตาของตัวผู้ใหญ่เอง (หรือใช้ปิดตาเด็ก) หลังจากนั้นจึงเปิดหน้าออกพร้อมรอยยิ้มแล้วกล่าวคำว่า จ๊ะเอ๋' ซึ่งเด็กๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะชอบและมักจะมอบรอยยิ้มหรือเสียงหัวเราะเป็นการแสดงความพึงพอใจต่อการละเล่นชนิดนี้ หรือบางทีเราอาจจะใช้คำๆ นี้หยอกล้อกับคนที่รัก หรือเพื่อนสนิทก็ได้เช่นเดียวกัน (หรือใครอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องของอำนาจที่ผู้ใหญ่ใช้กระทำต่อเด็กก็สุดแล้วแต่)

 

ผมจำได้อีกว่าผมเคยได้ยินได้ฟังคำว่า Positive thinking กับ Negative thinking เป็นครั้งแรกในชั้นเรียนภาษาอังกฤษระดับมัธยมปลาย หากแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ ด้วยความรู้โง่ๆ ของผม คำว่า Positive thinking น่าจะแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า การมองโลกในแง่ดี' ส่วน Negative thinking ก็คงจะหมายความว่า การมองโลกในแง่ร้าย' และแน่นอนว่า การมองโลกในแง่ดี' ย่อมให้ความหมายที่ดีมากกว่า การมองโลกในแง่ร้าย' (ส่วนนิยามคำว่า ดี' นั้นคงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักปรัชญา นักภาษาศาสตร์ นักสัญวิทยา และนักอื่นๆ เป็นผู้แสวงหาคำอธิบายที่แตกต่างหลากหลายกันต่อไป)

 

ส่วนสาเหตุที่ผมจะต้องเขียนถึงเรื่อง เพื่อนบ้าน' ‘การมองโลกในแง่ดี' และ การมองโลกในแง่ร้าย' ในสัปดาห์นี้ ก็เนื่องมาจากสถานการณ์ เขาพระวิหาร' ที่กำลังจะบานปลายกลายเป็นปรากฏการณ์ฟื้นฝอยเส้นแบ่งดินแดนทางกายภาพ เพื่อสร้าง ความขัดแย้ง' (conflict)ระหว่างเพื่อนมนุษย์บ้านใกล้ (บางครั้งบ้านใกล้ อาจจะไม่ใช่เพื่อนบ้าน หากปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนบ้านใกล้ไม่ใยดีต่อกัน)

 

ผมต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่า ผมเข้าใจในความรู้สึกของ คนไทย' (ผู้ที่อยู่ในประเทศไทยและถือบัตรประชาชนไทย ตามคำนิยามของคนบางกลุ่ม) ที่รับรู้ว่าปราสาทเขาพระวิหารกำลังจะไม่ใช่สมบัติของประเทศไทยแล้วจริงๆ เพราะผมก็เป็นมนุษย์ผู้หนึ่งซึ่งถูกอบรม สั่งสอน และถ่ายทอด ความเป็นไทย' มาตั้งแต่อ้อนแต่ออก ดังนั้นผมจึงถูกผลิตขึ้นมาภายใต้วาทกรรม เอกราช' เช่นเดียวกับพี่น้องชาวไทยส่วนใหญ่ในประเทศนี้

 

แต่กระนั้นผมก็อดหวาดหวั่นพรั่นพรึงไม่ได้ เมื่อมีโอกาสได้ยินได้ฟังชาวบ้านร้านตลาด พยายามเชื่อมโยงเรื่องราวการขึ้นทะเบียน ปราสาทเขาพระวิหาร' เป็นมรดกโลก กับ สงครามแย่งชิงดินแดน' (ขอภาวนาให้มันกลายเป็นเพียงความคิด) เพราะโดยส่วนตัวผมเชื่อว่า ความรุนแรง' ย่อมไม่ใช่ทางออกของปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่จะต้องเกี่ยวข้องกับชีวิตและจิตใจของมนุษย์จำนวนมาก และ สงคราม' ก็ไม่เคยเป็นคำตอบของชัยชนะระหว่างประชาชน กับประชาชน (แม้ว่ามันจะเป็นชัยชนะของรัฐต่อรัฐก็ตาม)

 

ยิ่งผมได้ยินได้ฟังนักวิชาการรุ่นใหม่ท่านหนึ่ง ของสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ที่พยายามเชื่อมโยงประเด็น ปราสาทเขาพระวิหาร' กับ การสูญเสียดินแดน' อื่นๆ อีกหลายพื้นที่ ยิ่งทำให้ขนหัวของผมลุกซู่ด้วยความหวาดกลัว แต่ไม่ได้เป็นความหวาดกลัวว่าเราจะสูญเสียดินแดน หรืออธิปไตยในเร็ววันนี้ หากแต่ ข้อมูลทางวิชาการ' ของนักวิชาการท่านนั้นมันกำลังจะสร้าง ความหวาดกลัว' ขึ้นในจิตใจที่อ่อนไหวของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ และ ความกลัว' เหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนเป็น ความเกลียดชัง' ในไม่ช้า

 

ยิ่งนักวิชาการท่านนี้พยายามจะเสนอทางออกด้วยการผลักดันเพื่อนบ้านออกไปจากดินแดน (หรือไม่ก็ต้องเก็บภาษีพวกเขา) ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างสองประเทศ เพื่อแสดงอธิปไตยเหนือดินแดนของเรา (ตามที่ท่านบอก) ยิ่งทำให้ผมเล็งเห็นว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การศึกษาในประเทศไทยไม่เคยทลายกำแพง อคติ' ทางชาติพันธุ์ ที่ทำให้ มนุษย์กลุ่มหนึ่ง' มอง มนุษย์อีกกลุ่มหนึ่ง' คือ ผู้สร้างปัญหา' ไปได้เลย (แม้ในหมู่นักวิชาการบางกลุ่ม)

 

เหตุการณ์ และข้อมูลที่นักวิชาการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) นำเสนอผ่านรายการ ตาสว่าง' เมื่อคืนวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2551 ทำให้ผมอดนึกย้อนไปในอดีตเมื่อครั้งที่บรรพบุรุษของผม (และบรรพบุรุษของอีกหลายๆ ท่านที่ระบุว่าตนเองคือคนไทย) ออกเดินทางโดยเรือสำเภามาจากประเทศจีนเพื่อมาตั้งรกรากยังแดนดินถิ่นสยามแห่งนี้ไม่ได้ ผมแอบสงสัยว่าในครั้งนั้น บรรพบุรุษ' ของผมจะถูกเกลียดชังจากผู้คนในดินแดนแห่งนี้หรือเปล่า? และหากเป็นเช่นนั้น ท่าน' และ เราทั้งหลาย' สามารถฝ่า กำแพงแห่งความเกลียดชัง' เหล่านั้นมาได้อย่างไร? เหตุใดทุกวันนี้เราถึงยอมรับการตั้งถิ่นฐานของคนกลุ่มหนึ่ง (จีน ฝรั่ง ญี่ปุ่น เกาหลี และ ฯลฯ) แต่กลับไม่ยอมรับการตั้งถิ่นฐานของคนอีกกลุ่มหนึ่ง (ประเทศบ้านใกล้)

 

สำหรับตัวผม กรณีเขาพระวิหาร' จึงไม่ใช่แค่เรื่องของเส้นแบ่งเขตแดนทางกายภาพ หากแต่เป็นเรื่อง อาณาเขตทางจิตใจ' ของผู้คนทั้งสองฝั่งที่อาจจะกว้างไม่เพียงพอที่จะลบ บาดแผลทางประวัติศาสตร์' ระหว่างกัน จนก่อเกิดเป็น กำแพงแห่งความเกลียดชัง' ที่ทั้งสองฝ่ายสร้างขึ้นเพื่อป้องกันตน (ด้วยทัศนคติในแง่ลบ Negative thinking) เมื่อไรก็ตามที่บาดแผลถูกสะกิดจากอำนาจรัฐ ประวัติศาสตร์' ระหว่างสองชาติบ้านใกล้ก็จะถูกนำมาเชื่อมโยงให้กลายเป็นเรื่องระหว่าง ศัตรู'ทันที ทั้งๆ ที่ในระดับวิถีชีวิตประจำวันของชาวบ้าน ประวัติศาสตร์' ของพวกเขาอาจจะไม่มีอาณาเขตหรือดินแดนใดๆ เป็นตัวแบ่งความสัมพันธ์เลยด้วยซ้ำ

 

นอกจากการมุ่งประเด็นไปที่ การทวงคืนดินแดน' หรือ การยกปราสาท'ให้เขา สิ่งที่ผู้คนทั้งสองแผ่นดิน (ตามเส้นแบ่งของรัฐ) ต้องนำมาพิจารณาในกรณีของ เขาพระวิหาร' ก็คือ เรื่องของ ทัศนคติ' (attitude)ที่เราใช้มองกันและกัน เพราะสิ่งนี้ต่างหากที่จะช่วยป้องกันปัญหาระหว่างผู้คนทั้งสองฝ่ายในระยะยาว เราควรจะกลับมาทบทวนว่า ที่ผ่านมาเราทั้งสองฝ่ายมองกันในฐานะอะไร? เพื่อนบ้าน' หรือ แค่ คนบ้านใกล้'

 

เกริ่นเสียยืดยาวอีกตามเคย

 

My Neighbor Totoro : ‘เพื่อนบ้าน' และ การมองโลกในแง่ดี'

 

My Neighbor Totoro (ค.ศ. 1988) ภาพยนตร์อนิเมชั่น ผลงานการกำกับของ ฮายาโอะ มิยาซากิ' (Hayao Miyazaki) นำเสนอเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์' กับสิ่งแวดล้อม' (ซึ่งหมายรวมถึงทุกสรรพสิ่งบนโลก ทั้ง ต้นไม้ คน สัตว์ สิ่งของ และฯลฯ) โดยบอกเล่าผ่านตัวละคร ซัทสึกิ'เด็กสาววัย 11 ปี กับ เมย์' น้องสาววัย 4 ขวบ ที่ต้องย้ายติดตามคุณพ่อมาสู่บ้านใหม่ในชนบท

 

สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ของชนบทไม่เพียงแต่จะสร้างความรื่นรมย์ให้กับเด็กทั้งสอง แต่ที่นี่ยังทำให้พวกเธอได้พบเจอกับ มิตรภาพ' ของ เพื่อนบ้าน' หน้าใหม่ อย่าง คุณยายใจดีข้างบ้าน ที่สามารถเข้านอกออกในบ้านของพวกเธอราวกับเป็นญาติสนิท, ‘คันตะ' หลานชายของคุณยายใจดี, มัคคุโระคุโระสึเกะ' หรือซึซึวาตาริ' เจ้าตัวประหลาดกลมๆ สีดำๆ ที่มักจะเข้ามาอาศัยในบ้านร้างและนำฝุ่นเข้ามาในบ้าน แต่เมื่อมีคนเข้ามาอยู่ เจ้าตัว ซึซึวาตาริ' หรือ มัคคุโระ คุโรสุเกะ' ก็จะย้ายออกไป

 

ที่สำคัญพวกเธอยังได้พบกับ โตโตโร่' หรือ วิญญาณผู้พิทักษ์ป่า' ผู้น่ารัก ซึ่งแตกต่างจากจินตนาการของมนุษย์ส่วนใหญ่ ที่มักจะสร้างภาพของวิญญาณให้มีลักษณะ น่ากลัว' แต่สำหรับ โตโตโร่' กลับมีลักษณะคล้ายกระต่ายขนฟูตัวใหญ่ ที่ชอบนอนหลับพักผ่อน และมักจะส่งความรู้สึกผ่านเสียงคล้ายกับการหาว

 

โตโตโร่' ช่วยให้พวกเด็กๆ รับรู้ว่านอกจากโลกปกติที่พวกผู้ใหญ่ (อย่างเราๆท่านๆ) รู้จัก มันยังมีโลก' อีกโลกหนึ่ง ที่พวกเธอสามารถสัมผัสได้ เพียงแค่เปิดใจยอมรับ หรือ ต้องมีทัศนะคติในการมองโลกในแง่ดี (positive thinking) อย่างที่ เมย์' เด็กสาววัย 4 ขวบ เป็นผู้ค้นพบโลกของ โตโตโร่'

 

และภายในโลกที่ผู้ใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยอคติ' ไม่มีวันมองเห็นนั้น มันเป็นโลกที่แถบจะไม่มีขอบเขต เป็นโลกที่อาจจะสามารถนำพาพวกเราลอยสูงขึ้นไปยังท้องฟ้า (อยู่เหนือปัญหา) อย่างที่ โตโตโร่' ได้นำพา เมย์' และ ซัทสึกิ' ล่องลอยไปพบเจอกับมุมมองใหม่ๆ ด้านบน

 

นอกจาก ความอบอุ่น' และ ความสัมพันธ์' อันดีระหว่างผู้คนในครอบครัว คุราซาเบะ' (พ่อ แม่ ซัทสึกิ และเมย์) แล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังพยายามที่จะบอกกับเราว่า ความกลัว' (อคติ) คือ อุปสรรค' สำคัญในการทำความรู้จักกับ มิตรภาพ' ดังที่เราจะเห็นได้ว่า เด็กหญิงอย่าง เมย์' (ผู้ค้นพบโลกของโตโตโร่) มักจะกล่าวอยู่เสมอว่า "เมย์ไม่กลัว" และนั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เธอสามารถค้นพบและเรียนรู้จักกับทุกๆ สิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวันด้วยความสนุกสนาน

 

และในหลายๆ ฉากที่เกี่ยวข้องกับ บ้านหลังใหม่' เราจะพบว่า ผู้กำกับคล้ายจะจงใจที่จะเปิดประตูบ้านทิ้งไว้ เพื่อให้คนในครอบครัวได้รับรู้โลกภายนอก ขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมให้ เพื่อนบ้าน' ได้เรียนรู้จักกับครอบครัวของ ซัทสึกิ' และ เมย์' เช่นเดียวกัน เช่น ในฉากที่ คุณยายข้างบ้าน' เดินเข้ามาทำความรู้จักกับเด็กๆ ถึงในบ้าน หรือในฉากที่พวกเด็กๆ (ซัทสึกิ และเมย์) นอนเปิดประตู จนทำให้พวกเธอได้พบเห็น โตโตโร่' และเพื่อนๆ กำลังทำพิธีกรรมปลูกต้นไม้ ซึ่งสุดท้ายพวกเด็กๆ ก็ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมพิธีกรรมนั้นด้วย

 

การเปิดประตูบ้าน' (การเปิดใจ) ในภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงไม่ใช่เรื่องของการยอมสูญเสีย พื้นที่ส่วนตัว' แต่เป็นการเปิดประตู เพื่อให้ เพื่อนบ้าน' ได้มีโอกาสเรียนรู้จักกับ ความจริงใจ' ที่ตัวละครในครอบครัวของซัทสึกิ และเมย์ มีให้ และ ความไม่กลัว' (ความไม่มีอคติ) ของเด็กๆ ก็ไม่ใช่ความไม่ระมัดระวัง หรือ ความประมาท' แต่ในทางตรงกันข้ามมันกลับเป็น ความกล้าหาญ' ที่จะทำลาย อคติ' ในการเรียนรู้จักกับ เพื่อนบ้าน' และทุกๆ สรรพสิ่งบนโลกใบนี้อย่างเท่าเทียม และการมองโลกในแง่ดี (positive thinking) ของตัวละครก็นำไปสู่เรื่องราวที่งดงามของ มิตรภาพ'

 

หลังชมภาพยนตร์จบ ผมพยายามหาคำตอบให้กับตัวเองว่ "วันนี้เราพร้อมที่จะ เปิดใจ' รับ เพื่อนบ้าน' โดย ปราศจากอคติ' เพื่อ ความเท่าเทียม' ของ มิตรภาพ' แล้วหรือยัง?"

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
โดย… พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
Cinemania
      ซาเสียวเอี้ย   แต่ไหนแต่ไรมา...ระบบการศึกษาในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกมักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการ ‘ดับฝัน’ ของคนวัยหนุ่มสาว เพราะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้นที่จะ ‘เรียนรู้’ สิ่งแปลกใหม่ในวัยเยาว์ถูกลบเลือนหายไปในกรอบ-กฎเกณฑ์-เหตุผล-เงื่อนไข และข้อเท็จจริงทั้งหลายทั้งปวง (ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีโอกาสเกิดมาใช้ชีวิตบนโลกก่อนหน้าเรา...)   กระนั้น...ใครหลายคนก็ยังยินดีเดินตามแนวทางหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกวางไว้แล้วโดยไม่เคยคิดตั้งคำถาม เพื่อแลกเปลี่ยนกับ ‘การยอมรับ’ จากสังคมรอบข้าง...เพื่อที่มนุษย์ทั้งหลาย (ซึ่งเป็นสัตว์สังคม)…
Cinemania
        ซาเสียวเอี้ย   ‘ชาร์ลี วิลสัน’ ตายแล้ว...   แม้การตายของเขาจะไม่ได้ทำให้โลกสะท้านสะเทือนอะไรมากนัก แต่ก็มีความหมายสลักสำคัญมิใช่น้อย เพราะบทบาทของวิลสันในสมัยที่เขายังหนุ่มแน่นและดำรงตำแหน่ง สว.รัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา เป็นประเด็นให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดว่าควรจะจดจำเขาไว้ในฐานะอะไร...   บ้างก็ว่า ชาร์ลี วิลสัน คือ ‘นักการเมืองเจ้าสำราญ’ เจ้าของฉายา Good Time Charlie ผู้มีชีวิตโลดโผนเต็มไปด้วยสีสัน หรือเป็น ‘วีรบุรุษชาวอเมริกัน’ ผู้ช่วยให้นักรบมูจาฮิดีนขับไล่กองทัพสหภาพโซเวียตอันโหดร้ายป่าเถื่อนไปจากอัฟกานิสถาน…
Cinemania
themadmon หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น บทสะท้อนย้อนคิดหลังจากการชมภาพยนตร์เรื่อง Air Doll ผมในฐานะที่เป็นผู้เขียนจงใจจะหยิบเลือกประเด็น (ซึ่งผ่านการตีความของผม) โดยไม่ได้อ้างอิงอย่างชัดเจนไปสู่ตัวภาพยนตร์ในแต่ละฉากแต่ละตอน โดยหวังว่าผู้ที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ก็สามารถอ่านได้ และผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วจะสามารถระลึกถึงฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้ด้วยเช่นกัน     หากลองพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในสามประโยค  ผมคงพูดสั้นๆ ว่า.. “ผู้คนหลากหลาย เราต่างก็ว่างเปล่า และเหงามากมาย”  เพราะอะไรน่ะหรือ …
Cinemania
  บริวารเงา   ขงจื๊อ เป็นชื่อหนึ่งที่ผมได้ยินมาเนิ่นนาน ถ้าจำไม่ผิดอาจจะเป็นหนังจีนกำลังภายในสักเรื่องหนึ่งที่อ้างชื่อนี้ขึ้นมาเพื่อพูดถึงปรัชญาในเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร ผมมารู้จักเขาอีกครั้งในห้องสมุดช่วงที่กำลังสนใจพวกวิชาปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ฯลฯ  แต่ผมกลับไปชอบปรมาจารย์จีนอีกคนคือ เล่าจื๊อ เสียมากกว่า เพราะว่าแกมีความคิดที่ 'แนว' ดี (อารมณ์ของวัยรุ่นเช่นนี้แล) อีกนัยหนึ่งก็ดูเพี้ยน ๆ อีกนัยหนึ่งก็มีอารมณ์ศิลปินกว่าขงจื๊อ ขณะที่ผมเห็นว่าขงจื๊อเอาแต่พร่ำบ่นอะไรที่เป็นหลักจริยธรรมน่าเบื่อ ๆ ซึ่งความน่าเบื่อนี้ไม่ใช่ความผิดของขงจื๊อเสียทีเดียว…
Cinemania
เดือนสองจันทร์   October Sonata: รักที่รอคอย
Cinemania
สุพิชชา โมนะตระกูล ตลอดช่วงเวลาขณะชมภาพยนตร์สารคดี “Our Daily Bread” ผู้เขียนรู้สึกตะลึงกับภาพที่ได้รับชม โดยสาเหตุหลักหาใช่ “ความงาม” ของสีสันหรือองค์ประกอบศิลป์แบบภาพที่ผู้กำกับภาพบรรจงจัดวางอย่างภาพยนตร์ที่มีภาพงามเรื่องอื่นๆ...หากเป็น “ความจริง” ของภาพที่ตรึงผู้เขียนไว้ตลอดระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
Cinemania
  สาวกท่านเป้า ขณะที่กำลังตุรัดตุเหร่ในร้านหนังสือแอร์เย็นเฉียบ เพื่อตามหานิตยสารมือถือฉบับหนึ่ง บังเอิญเหลือบไปเห็นนิตยสารฉบับหนึ่งที่นำภาพโปรโมทภาพยนตร์ “วงษ์คำเหลา” มาขึ้นปก แต่เมื่อหยิบมาจึงรู้ว่าเป็นปกหลัง แต่ปกหน้าก็ยังเป็นวงษ์คำเหลาอยู่ดี จึงเริ่มรู้ตัวว่าถูกหลอกแดกเสียแล้ว มีที่ไหนวางขายนิตยสารโดยเอาปกหลังเป็นตัวชูโรง นิตยสารฉบับนั้นคือนิตยสารภาพยนตร์ของกลุ่มคนทวนกระแสที่ชื่อว่า “ไบโอสโคป”
Cinemania
   เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ ‘สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ ‘เศรษฐีใหม่' หรือ ‘ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง ‘บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ‘ปม'…
Cinemania
 'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...‘ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น ‘คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...บุรุษไปรษณีย์นามว่า ‘มาริโอ โรปโปโร':::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ‘ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538…
Cinemania
  ..mad mon..::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์:: 1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep)…
Cinemania
(เขียนเมื่อ 31 ธ.ค.51)จันทร์ ในบ่อ สิ้นปีกันเสียที บรรยากาศตึงๆ ปีนี้อาจทำให้ใครหลายคนอึดอัดและทำท่าจะลากยาวไปถึงปีหน้า ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ  คนสู้ๆ กับปัญหาที่รุมเร้า แต่ถ้าเครียดมากลองผ่อนคลายกันด้วยการหาหนังดูมาสักเรื่องสองเรื่อง จะซื้อ จะเช่ามานั่งดูที่บ้านหรือจะออกไปดูตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็ได้ ลองออกจากโลกความจริงไปอยู่ในโลกอื่นสักชั่วโมงสองชั่วโมงอาจจะสบายใจขึ้นส่วนถ้าใครยังไม่รู้จะดูเรื่องอะไร ที่ไหนอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมหนังรับปีใหม่มาฝาก เป็นหนังฟรีกลางแปลงครับหลายคนคงไม่ค่อยทราบว่าที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดเทศการหนังกลางแปลงกันทุกปี ในวันที่ 7-8-9 มกราคม 2552…