Skip to main content
นพพร ชูเกียรติศิริชัย

 

 

ผมชอบคำว่า เพื่อนบ้าน' (Neighbor) เนื่องจากผมเล็งเห็นว่า คำว่า เพื่อนบ้าน' นั้นดูจะมีความหมายในการมอง มนุษย์' ที่อยู่รอบๆ ตัวของผู้พูด ผู้เขียน ผู้ใช้ คำๆ นี้ในแง่ดี (Positive Thinking)

 

ส่วนคำว่า จ๊ะเอ๋' นั้น ผมจำได้ว่าเป็นคำที่ผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน (รวมทั้งตัวผม) มักจะใช้เล่นกับเด็กๆ ด้วยการเอามือ ผ้า หรือสิ่งของอื่นๆ ที่หาได้สะดวก ปิดหน้าปิดตาของตัวผู้ใหญ่เอง (หรือใช้ปิดตาเด็ก) หลังจากนั้นจึงเปิดหน้าออกพร้อมรอยยิ้มแล้วกล่าวคำว่า จ๊ะเอ๋' ซึ่งเด็กๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะชอบและมักจะมอบรอยยิ้มหรือเสียงหัวเราะเป็นการแสดงความพึงพอใจต่อการละเล่นชนิดนี้ หรือบางทีเราอาจจะใช้คำๆ นี้หยอกล้อกับคนที่รัก หรือเพื่อนสนิทก็ได้เช่นเดียวกัน (หรือใครอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องของอำนาจที่ผู้ใหญ่ใช้กระทำต่อเด็กก็สุดแล้วแต่)

 

ผมจำได้อีกว่าผมเคยได้ยินได้ฟังคำว่า Positive thinking กับ Negative thinking เป็นครั้งแรกในชั้นเรียนภาษาอังกฤษระดับมัธยมปลาย หากแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ ด้วยความรู้โง่ๆ ของผม คำว่า Positive thinking น่าจะแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า การมองโลกในแง่ดี' ส่วน Negative thinking ก็คงจะหมายความว่า การมองโลกในแง่ร้าย' และแน่นอนว่า การมองโลกในแง่ดี' ย่อมให้ความหมายที่ดีมากกว่า การมองโลกในแง่ร้าย' (ส่วนนิยามคำว่า ดี' นั้นคงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักปรัชญา นักภาษาศาสตร์ นักสัญวิทยา และนักอื่นๆ เป็นผู้แสวงหาคำอธิบายที่แตกต่างหลากหลายกันต่อไป)

 

ส่วนสาเหตุที่ผมจะต้องเขียนถึงเรื่อง เพื่อนบ้าน' ‘การมองโลกในแง่ดี' และ การมองโลกในแง่ร้าย' ในสัปดาห์นี้ ก็เนื่องมาจากสถานการณ์ เขาพระวิหาร' ที่กำลังจะบานปลายกลายเป็นปรากฏการณ์ฟื้นฝอยเส้นแบ่งดินแดนทางกายภาพ เพื่อสร้าง ความขัดแย้ง' (conflict)ระหว่างเพื่อนมนุษย์บ้านใกล้ (บางครั้งบ้านใกล้ อาจจะไม่ใช่เพื่อนบ้าน หากปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนบ้านใกล้ไม่ใยดีต่อกัน)

 

ผมต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่า ผมเข้าใจในความรู้สึกของ คนไทย' (ผู้ที่อยู่ในประเทศไทยและถือบัตรประชาชนไทย ตามคำนิยามของคนบางกลุ่ม) ที่รับรู้ว่าปราสาทเขาพระวิหารกำลังจะไม่ใช่สมบัติของประเทศไทยแล้วจริงๆ เพราะผมก็เป็นมนุษย์ผู้หนึ่งซึ่งถูกอบรม สั่งสอน และถ่ายทอด ความเป็นไทย' มาตั้งแต่อ้อนแต่ออก ดังนั้นผมจึงถูกผลิตขึ้นมาภายใต้วาทกรรม เอกราช' เช่นเดียวกับพี่น้องชาวไทยส่วนใหญ่ในประเทศนี้

 

แต่กระนั้นผมก็อดหวาดหวั่นพรั่นพรึงไม่ได้ เมื่อมีโอกาสได้ยินได้ฟังชาวบ้านร้านตลาด พยายามเชื่อมโยงเรื่องราวการขึ้นทะเบียน ปราสาทเขาพระวิหาร' เป็นมรดกโลก กับ สงครามแย่งชิงดินแดน' (ขอภาวนาให้มันกลายเป็นเพียงความคิด) เพราะโดยส่วนตัวผมเชื่อว่า ความรุนแรง' ย่อมไม่ใช่ทางออกของปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่จะต้องเกี่ยวข้องกับชีวิตและจิตใจของมนุษย์จำนวนมาก และ สงคราม' ก็ไม่เคยเป็นคำตอบของชัยชนะระหว่างประชาชน กับประชาชน (แม้ว่ามันจะเป็นชัยชนะของรัฐต่อรัฐก็ตาม)

 

ยิ่งผมได้ยินได้ฟังนักวิชาการรุ่นใหม่ท่านหนึ่ง ของสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ที่พยายามเชื่อมโยงประเด็น ปราสาทเขาพระวิหาร' กับ การสูญเสียดินแดน' อื่นๆ อีกหลายพื้นที่ ยิ่งทำให้ขนหัวของผมลุกซู่ด้วยความหวาดกลัว แต่ไม่ได้เป็นความหวาดกลัวว่าเราจะสูญเสียดินแดน หรืออธิปไตยในเร็ววันนี้ หากแต่ ข้อมูลทางวิชาการ' ของนักวิชาการท่านนั้นมันกำลังจะสร้าง ความหวาดกลัว' ขึ้นในจิตใจที่อ่อนไหวของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ และ ความกลัว' เหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนเป็น ความเกลียดชัง' ในไม่ช้า

 

ยิ่งนักวิชาการท่านนี้พยายามจะเสนอทางออกด้วยการผลักดันเพื่อนบ้านออกไปจากดินแดน (หรือไม่ก็ต้องเก็บภาษีพวกเขา) ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างสองประเทศ เพื่อแสดงอธิปไตยเหนือดินแดนของเรา (ตามที่ท่านบอก) ยิ่งทำให้ผมเล็งเห็นว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การศึกษาในประเทศไทยไม่เคยทลายกำแพง อคติ' ทางชาติพันธุ์ ที่ทำให้ มนุษย์กลุ่มหนึ่ง' มอง มนุษย์อีกกลุ่มหนึ่ง' คือ ผู้สร้างปัญหา' ไปได้เลย (แม้ในหมู่นักวิชาการบางกลุ่ม)

 

เหตุการณ์ และข้อมูลที่นักวิชาการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) นำเสนอผ่านรายการ ตาสว่าง' เมื่อคืนวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2551 ทำให้ผมอดนึกย้อนไปในอดีตเมื่อครั้งที่บรรพบุรุษของผม (และบรรพบุรุษของอีกหลายๆ ท่านที่ระบุว่าตนเองคือคนไทย) ออกเดินทางโดยเรือสำเภามาจากประเทศจีนเพื่อมาตั้งรกรากยังแดนดินถิ่นสยามแห่งนี้ไม่ได้ ผมแอบสงสัยว่าในครั้งนั้น บรรพบุรุษ' ของผมจะถูกเกลียดชังจากผู้คนในดินแดนแห่งนี้หรือเปล่า? และหากเป็นเช่นนั้น ท่าน' และ เราทั้งหลาย' สามารถฝ่า กำแพงแห่งความเกลียดชัง' เหล่านั้นมาได้อย่างไร? เหตุใดทุกวันนี้เราถึงยอมรับการตั้งถิ่นฐานของคนกลุ่มหนึ่ง (จีน ฝรั่ง ญี่ปุ่น เกาหลี และ ฯลฯ) แต่กลับไม่ยอมรับการตั้งถิ่นฐานของคนอีกกลุ่มหนึ่ง (ประเทศบ้านใกล้)

 

สำหรับตัวผม กรณีเขาพระวิหาร' จึงไม่ใช่แค่เรื่องของเส้นแบ่งเขตแดนทางกายภาพ หากแต่เป็นเรื่อง อาณาเขตทางจิตใจ' ของผู้คนทั้งสองฝั่งที่อาจจะกว้างไม่เพียงพอที่จะลบ บาดแผลทางประวัติศาสตร์' ระหว่างกัน จนก่อเกิดเป็น กำแพงแห่งความเกลียดชัง' ที่ทั้งสองฝ่ายสร้างขึ้นเพื่อป้องกันตน (ด้วยทัศนคติในแง่ลบ Negative thinking) เมื่อไรก็ตามที่บาดแผลถูกสะกิดจากอำนาจรัฐ ประวัติศาสตร์' ระหว่างสองชาติบ้านใกล้ก็จะถูกนำมาเชื่อมโยงให้กลายเป็นเรื่องระหว่าง ศัตรู'ทันที ทั้งๆ ที่ในระดับวิถีชีวิตประจำวันของชาวบ้าน ประวัติศาสตร์' ของพวกเขาอาจจะไม่มีอาณาเขตหรือดินแดนใดๆ เป็นตัวแบ่งความสัมพันธ์เลยด้วยซ้ำ

 

นอกจากการมุ่งประเด็นไปที่ การทวงคืนดินแดน' หรือ การยกปราสาท'ให้เขา สิ่งที่ผู้คนทั้งสองแผ่นดิน (ตามเส้นแบ่งของรัฐ) ต้องนำมาพิจารณาในกรณีของ เขาพระวิหาร' ก็คือ เรื่องของ ทัศนคติ' (attitude)ที่เราใช้มองกันและกัน เพราะสิ่งนี้ต่างหากที่จะช่วยป้องกันปัญหาระหว่างผู้คนทั้งสองฝ่ายในระยะยาว เราควรจะกลับมาทบทวนว่า ที่ผ่านมาเราทั้งสองฝ่ายมองกันในฐานะอะไร? เพื่อนบ้าน' หรือ แค่ คนบ้านใกล้'

 

เกริ่นเสียยืดยาวอีกตามเคย

 

My Neighbor Totoro : ‘เพื่อนบ้าน' และ การมองโลกในแง่ดี'

 

My Neighbor Totoro (ค.ศ. 1988) ภาพยนตร์อนิเมชั่น ผลงานการกำกับของ ฮายาโอะ มิยาซากิ' (Hayao Miyazaki) นำเสนอเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์' กับสิ่งแวดล้อม' (ซึ่งหมายรวมถึงทุกสรรพสิ่งบนโลก ทั้ง ต้นไม้ คน สัตว์ สิ่งของ และฯลฯ) โดยบอกเล่าผ่านตัวละคร ซัทสึกิ'เด็กสาววัย 11 ปี กับ เมย์' น้องสาววัย 4 ขวบ ที่ต้องย้ายติดตามคุณพ่อมาสู่บ้านใหม่ในชนบท

 

สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ของชนบทไม่เพียงแต่จะสร้างความรื่นรมย์ให้กับเด็กทั้งสอง แต่ที่นี่ยังทำให้พวกเธอได้พบเจอกับ มิตรภาพ' ของ เพื่อนบ้าน' หน้าใหม่ อย่าง คุณยายใจดีข้างบ้าน ที่สามารถเข้านอกออกในบ้านของพวกเธอราวกับเป็นญาติสนิท, ‘คันตะ' หลานชายของคุณยายใจดี, มัคคุโระคุโระสึเกะ' หรือซึซึวาตาริ' เจ้าตัวประหลาดกลมๆ สีดำๆ ที่มักจะเข้ามาอาศัยในบ้านร้างและนำฝุ่นเข้ามาในบ้าน แต่เมื่อมีคนเข้ามาอยู่ เจ้าตัว ซึซึวาตาริ' หรือ มัคคุโระ คุโรสุเกะ' ก็จะย้ายออกไป

 

ที่สำคัญพวกเธอยังได้พบกับ โตโตโร่' หรือ วิญญาณผู้พิทักษ์ป่า' ผู้น่ารัก ซึ่งแตกต่างจากจินตนาการของมนุษย์ส่วนใหญ่ ที่มักจะสร้างภาพของวิญญาณให้มีลักษณะ น่ากลัว' แต่สำหรับ โตโตโร่' กลับมีลักษณะคล้ายกระต่ายขนฟูตัวใหญ่ ที่ชอบนอนหลับพักผ่อน และมักจะส่งความรู้สึกผ่านเสียงคล้ายกับการหาว

 

โตโตโร่' ช่วยให้พวกเด็กๆ รับรู้ว่านอกจากโลกปกติที่พวกผู้ใหญ่ (อย่างเราๆท่านๆ) รู้จัก มันยังมีโลก' อีกโลกหนึ่ง ที่พวกเธอสามารถสัมผัสได้ เพียงแค่เปิดใจยอมรับ หรือ ต้องมีทัศนะคติในการมองโลกในแง่ดี (positive thinking) อย่างที่ เมย์' เด็กสาววัย 4 ขวบ เป็นผู้ค้นพบโลกของ โตโตโร่'

 

และภายในโลกที่ผู้ใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยอคติ' ไม่มีวันมองเห็นนั้น มันเป็นโลกที่แถบจะไม่มีขอบเขต เป็นโลกที่อาจจะสามารถนำพาพวกเราลอยสูงขึ้นไปยังท้องฟ้า (อยู่เหนือปัญหา) อย่างที่ โตโตโร่' ได้นำพา เมย์' และ ซัทสึกิ' ล่องลอยไปพบเจอกับมุมมองใหม่ๆ ด้านบน

 

นอกจาก ความอบอุ่น' และ ความสัมพันธ์' อันดีระหว่างผู้คนในครอบครัว คุราซาเบะ' (พ่อ แม่ ซัทสึกิ และเมย์) แล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังพยายามที่จะบอกกับเราว่า ความกลัว' (อคติ) คือ อุปสรรค' สำคัญในการทำความรู้จักกับ มิตรภาพ' ดังที่เราจะเห็นได้ว่า เด็กหญิงอย่าง เมย์' (ผู้ค้นพบโลกของโตโตโร่) มักจะกล่าวอยู่เสมอว่า "เมย์ไม่กลัว" และนั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เธอสามารถค้นพบและเรียนรู้จักกับทุกๆ สิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวันด้วยความสนุกสนาน

 

และในหลายๆ ฉากที่เกี่ยวข้องกับ บ้านหลังใหม่' เราจะพบว่า ผู้กำกับคล้ายจะจงใจที่จะเปิดประตูบ้านทิ้งไว้ เพื่อให้คนในครอบครัวได้รับรู้โลกภายนอก ขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมให้ เพื่อนบ้าน' ได้เรียนรู้จักกับครอบครัวของ ซัทสึกิ' และ เมย์' เช่นเดียวกัน เช่น ในฉากที่ คุณยายข้างบ้าน' เดินเข้ามาทำความรู้จักกับเด็กๆ ถึงในบ้าน หรือในฉากที่พวกเด็กๆ (ซัทสึกิ และเมย์) นอนเปิดประตู จนทำให้พวกเธอได้พบเห็น โตโตโร่' และเพื่อนๆ กำลังทำพิธีกรรมปลูกต้นไม้ ซึ่งสุดท้ายพวกเด็กๆ ก็ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมพิธีกรรมนั้นด้วย

 

การเปิดประตูบ้าน' (การเปิดใจ) ในภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงไม่ใช่เรื่องของการยอมสูญเสีย พื้นที่ส่วนตัว' แต่เป็นการเปิดประตู เพื่อให้ เพื่อนบ้าน' ได้มีโอกาสเรียนรู้จักกับ ความจริงใจ' ที่ตัวละครในครอบครัวของซัทสึกิ และเมย์ มีให้ และ ความไม่กลัว' (ความไม่มีอคติ) ของเด็กๆ ก็ไม่ใช่ความไม่ระมัดระวัง หรือ ความประมาท' แต่ในทางตรงกันข้ามมันกลับเป็น ความกล้าหาญ' ที่จะทำลาย อคติ' ในการเรียนรู้จักกับ เพื่อนบ้าน' และทุกๆ สรรพสิ่งบนโลกใบนี้อย่างเท่าเทียม และการมองโลกในแง่ดี (positive thinking) ของตัวละครก็นำไปสู่เรื่องราวที่งดงามของ มิตรภาพ'

 

หลังชมภาพยนตร์จบ ผมพยายามหาคำตอบให้กับตัวเองว่ "วันนี้เราพร้อมที่จะ เปิดใจ' รับ เพื่อนบ้าน' โดย ปราศจากอคติ' เพื่อ ความเท่าเทียม' ของ มิตรภาพ' แล้วหรือยัง?"

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย   “การที่ใครจะเป็น ‘modern’ (ทันสมัย) เขาคนนั้นก็จะต้องคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณแห่งการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากของเก่าที่ดำรงอยู่ (tradition) และที่สำคัญ คือ พร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากตัวตนของตัวเองที่ดำรงอยู่ ถ้าตัวตนเป็น modern ก็ต้องพร้อมที่จะละทิ้งความเป็น modern ด้วยเหตุผลของความเป็น modern เอง”  “ในการจะเป็น modern มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเป็น postmodern หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าใครจะเป็น modern เขา หรือเธอคนนั้นก็จะต้องเป็น postmodern มิฉะนั้นแล้ว เขาก็ไม่สามารถเป็น modern ได้” (Jean-Francois…
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย   ผมชอบคำว่า ‘เพื่อนบ้าน' (Neighbor) เนื่องจากผมเล็งเห็นว่า คำว่า ‘เพื่อนบ้าน' นั้นดูจะมีความหมายในการมอง ‘มนุษย์' ที่อยู่รอบๆ ตัวของผู้พูด ผู้เขียน ผู้ใช้ คำๆ นี้ในแง่ดี (Positive Thinking) ส่วนคำว่า ‘จ๊ะเอ๋' นั้น ผมจำได้ว่าเป็นคำที่ผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน (รวมทั้งตัวผม) มักจะใช้เล่นกับเด็กๆ ด้วยการเอามือ ผ้า หรือสิ่งของอื่นๆ ที่หาได้สะดวก ปิดหน้าปิดตาของตัวผู้ใหญ่เอง (หรือใช้ปิดตาเด็ก) หลังจากนั้นจึงเปิดหน้าออกพร้อมรอยยิ้มแล้วกล่าวคำว่า ‘จ๊ะเอ๋' ซึ่งเด็กๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะชอบและมักจะมอบรอยยิ้มหรือเสียงหัวเราะเป็นการแสดงความพึงพอใจต่อการละเล่นชนิดนี้…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย    บางครั้งผมก็รู้สึกเบื่อหน่ายที่จะต้องหอบสัมภาระมากมายเข้าไปในโรงภาพยนตร์ปัจจุบันผมแอบสงสัยว่าเหตุใดความสุขในการชมภาพยนตร์แบบเมื่อครั้งยังเป็นเด็กจึงสูญหายไป จนเมื่อมีโอกาสชมภาพยนตร์เรื่อง ‘สะบายดีหลวงพระบาง'จึงทำให้ผมรับรู้ว่าแท้จริงแล้วความสุขในวัยเด็กของผมไม่ได้หายไปไหน แต่หนังสือ ตำรา คำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ผมแบกเอาไว้ในสมองต่างหากที่บดบังความสุขแบบที่เราคุ้นเคย 
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย ถ้าหาก E เท่ากับ EMOTION (อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง และ อื่นๆ), M เท่ากับ MAN (มนุษย์ไม่ว่าหญิง ชาย และอื่นๆ) และ C เท่ากับ CLOCK (ซึ่งหมายถึงระยะเวลา) จากสมการ E=mc2คุณคิดว่า ‘จำนวนของบุคคล' ที่เหมาะสมกับ ‘ความรัก' จะเท่ากับเท่าไหร่? รัก/สาม/เศร้า ตามสมการ รัก/สอง/สุข และเวลาแค่ไหนถึงจะพอสำหรับ ‘รัก' ‘รัก/สาม/เศร้า' เป็นเรื่องราวของเพื่อนรักสามคน ที่ ‘แอบรัก' กัน ในฐานะที่มากกว่าเพื่อน ‘น้ำ' แอบรัก ‘พายุ' ‘พายุ' แอบรัก ‘ฟ้า' โดยที่ตัวฟ้าเองก็ไม่เคยรับรู้มาก่อนเลยว่าพายุแอบรักตนเอง (และก็ไม่เคยรับรู้เช่นกันว่าเพื่อนรักของตนอย่าง ‘น้ำ' ก็แอบรักเพื่อนรักอย่าง ‘พายุ'…
Cinemania
  < นพพร ชูเกียรติศิริชัย >     หากพูดถึงประเทศจีน คุณนึกถึงอะไร? กังฟู, ก๋วยเตี๋ยว, หมีแพนด้า,มังกร, ลูกท้อ,ซาลาเปา, ปรัชญาลัทธิเต๋า และภูเขาสูงหน้าตาแปลกๆ   หากสิ่งเหล่านี้คือคำตอบของคุณ นั่นก็หมายความว่า คุณพร้อมแล้วที่จะไปสัมผัสกับภาพยนตร์ ‘KUNG FU PANDA’ หรือในชื่อภาษาไทยว่า ‘กังฟูแพนด้า จอมยุทธพลิกล็อค ช็อคยุทธภพ’   ผมไม่แน่ใจว่าหมีแพนด้าถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของ ‘มิตรภาพ’ ระหว่างประเทศจีน กับประเทศอื่นๆ ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ บทบาทความเป็น ‘ทูตสันติภาพ’ ของหมีแพนด้า ในบัดนี้ได้ถูกนำเสนอผ่านจอภาพยนตร์ฮอลีวู้ดไปเป็นที่เรียบร้อย 
Cinemania
   ปิติ-ชูใจท่ามกลาง ‘หนังซัมเมอร์' ที่ดาหน้ากันมาถมจนเต็มพื้นที่ในโรงภาพยนตร์ช่วงฤดูร้อน ทางเลือกของคนดูหนังใน ‘โรงหนังชั้นนำใกล้บ้านคุณ' ก็ยังไม่ได้หลากหลายอะไรนัก เพราะแนวทางหลักๆ ของหนังซัมเมอร์ที่เห็นอยู่ตอนนี้ก็มีแค่ แอ๊กชั่น, ตลก, สยองขวัญ และอนิเมชั่น กรณีที่อยากดูหนังนอกกระแส ก็ต้อง ‘เข้าเมือง' กันอย่างเดียว เพราะที่ทางของหนังเหล่านี้ยังกระจุกตัวอยู่ที่สยามหรือไม่ก็สุขุมวิทแค่นั้น (ซึ่งมันก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ในยุคที่หนังถูกจำกัดความหมายให้เป็นแค่เครื่องมือผ่อนคลายและสร้างความบันเทิง) แต่อย่างน้อยที่สุด หน้าร้อนปีนี้ยังมีหนังไทยน่าสนใจอยู่ 2 เรื่อง ที่พอจะแหวกกระแสเดิมๆ…
Cinemania
   ::: ข้อความหลังเส้นประของข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ ::: โดย...ณภัค เสรีรักษ์ภาพยนตร์พูดภาษาอังกฤษเรื่องแรกของผู้กำกับชื่อดัง ‘หว่องการ์ไว' (Wong Kar Wai) ที่เพิ่งเข้าฉายให้ผู้ชมในดินแดนประเทศไทยได้ชมกันตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่เพิ่งจะผ่านมา (2008) ที่มีชื่อว่า My Blueberry Nights นั้น อาจมีประเด็นต่างๆ นานาให้สามารถสร้างบทสนทนากันได้มากมายและยาวนาน แต่สำหรับในที่นี้นั้น ผมอยากจะ ‘หยิบเลือก' เพียงบางประเด็นมา ‘อ่าน' หรืออีกนัยหนึ่ง ‘สนทนา' เกี่ยวกับ ‘ตัวละคร' ในภาพยนตร์ดังกล่าว ภายใต้ความคิดเกี่ยวกับเรื่อง ‘ความทรงจำ' ซึ่งสะท้อนร่วมกับความคิดเกี่ยวกับ ‘…
Cinemania
Between the FramesE-mail: betweentheframes@gmail.com:::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil::: "All those gathered here will know that it is not by sword or spear that the LORD saves; for the battle is the LORD's, and He will give all of you into our hands."                                                   …
Cinemania
 :::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil::: เวลา 2 ชั่วโมงกว่า (158 นาที) ในหนัง There will be blood - ผลงานเรื่องที่ 5 ของผู้กำกับ Paul Thomas Anderson คือเรื่องราวในด้านที่มืดดำของมนุษย์ เต็มไปด้วยความโลภ ความอ่อนแอ สันดานดิบ และแน่นอน...มันรวมไปถึง ‘การสร้างศรัทธา' ด้วยวิธีการอันน่าขนลุกด้วย...เราได้รู้จัก ‘เดเนียล เพลนวิว' (Daniel Day-Lewis) นักเสี่ยงโชคที่ตั้งใจทำเหมืองเงิน แต่บังเอิญได้ที่ดินซึ่งมีน้ำมันดิบนอนสงบนิ่งอยู่ใต้พื้นมาแทน โลกของเดเนียลไม่มีคำว่า ‘สุดแท้แต่โชคชะตา' หรือ ‘ศรัทธา' ไม่มีแม้กระทั่งคำว่า ‘พระผู้เป็นเจ้า'…
Cinemania
ซาเสียวเอี้ยการไล่ตีแมลงสาบบนฝาบ้าน อาจเป็นเกมสนุกสนานอย่างหนึ่ง และเพียงสายลมเย็นจากพัดลมมือสองที่เป่าไล่ความร้อนในค่ำคืนอบอ้าวอาจเป็นถึง ‘รางวัลชีวิต' ของสองพ่อลูกผู้ยากจน...ผู้อาศัยอยู่ในโลกแห่งความแร้นแค้นทั้งหมดที่่ว่ามา-อาจฟังไม่ต่างจากสงครามชีวิตสุดรันทด (บัดซบ!) แต่เมื่อเรื่องราวเหล่านี้ถูกถ่ายทอดผ่านมุมมองของ ‘โจวซิงฉือ' ไอ้สิ่งที่ควรจะเศร้า...กลับทำให้เราหัวเราะออกมาได้000ถึงแม้ว่าหน้าหนังของ CJ7 จะถูกโฆษณาว่าเป็นแนว Sci-fi แต่ ‘ใจความสำคัญ' ที่อยู่ในนั้น ไม่ใช่ ‘ความลี้ลับ' ของจักรวาลอันกว้างใหญ่ หรือถ้าจะพูดให้ชัดๆ ก็ต้องบอกว่า นี่คือหนังครอบครัวแนว Comedy-Drama ที่ให้ ‘…