Skip to main content
นพพร ชูเกียรติศิริชัย

 

 

ผมชอบคำว่า เพื่อนบ้าน' (Neighbor) เนื่องจากผมเล็งเห็นว่า คำว่า เพื่อนบ้าน' นั้นดูจะมีความหมายในการมอง มนุษย์' ที่อยู่รอบๆ ตัวของผู้พูด ผู้เขียน ผู้ใช้ คำๆ นี้ในแง่ดี (Positive Thinking)

 

ส่วนคำว่า จ๊ะเอ๋' นั้น ผมจำได้ว่าเป็นคำที่ผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน (รวมทั้งตัวผม) มักจะใช้เล่นกับเด็กๆ ด้วยการเอามือ ผ้า หรือสิ่งของอื่นๆ ที่หาได้สะดวก ปิดหน้าปิดตาของตัวผู้ใหญ่เอง (หรือใช้ปิดตาเด็ก) หลังจากนั้นจึงเปิดหน้าออกพร้อมรอยยิ้มแล้วกล่าวคำว่า จ๊ะเอ๋' ซึ่งเด็กๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะชอบและมักจะมอบรอยยิ้มหรือเสียงหัวเราะเป็นการแสดงความพึงพอใจต่อการละเล่นชนิดนี้ หรือบางทีเราอาจจะใช้คำๆ นี้หยอกล้อกับคนที่รัก หรือเพื่อนสนิทก็ได้เช่นเดียวกัน (หรือใครอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องของอำนาจที่ผู้ใหญ่ใช้กระทำต่อเด็กก็สุดแล้วแต่)

 

ผมจำได้อีกว่าผมเคยได้ยินได้ฟังคำว่า Positive thinking กับ Negative thinking เป็นครั้งแรกในชั้นเรียนภาษาอังกฤษระดับมัธยมปลาย หากแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ ด้วยความรู้โง่ๆ ของผม คำว่า Positive thinking น่าจะแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า การมองโลกในแง่ดี' ส่วน Negative thinking ก็คงจะหมายความว่า การมองโลกในแง่ร้าย' และแน่นอนว่า การมองโลกในแง่ดี' ย่อมให้ความหมายที่ดีมากกว่า การมองโลกในแง่ร้าย' (ส่วนนิยามคำว่า ดี' นั้นคงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักปรัชญา นักภาษาศาสตร์ นักสัญวิทยา และนักอื่นๆ เป็นผู้แสวงหาคำอธิบายที่แตกต่างหลากหลายกันต่อไป)

 

ส่วนสาเหตุที่ผมจะต้องเขียนถึงเรื่อง เพื่อนบ้าน' ‘การมองโลกในแง่ดี' และ การมองโลกในแง่ร้าย' ในสัปดาห์นี้ ก็เนื่องมาจากสถานการณ์ เขาพระวิหาร' ที่กำลังจะบานปลายกลายเป็นปรากฏการณ์ฟื้นฝอยเส้นแบ่งดินแดนทางกายภาพ เพื่อสร้าง ความขัดแย้ง' (conflict)ระหว่างเพื่อนมนุษย์บ้านใกล้ (บางครั้งบ้านใกล้ อาจจะไม่ใช่เพื่อนบ้าน หากปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนบ้านใกล้ไม่ใยดีต่อกัน)

 

ผมต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่า ผมเข้าใจในความรู้สึกของ คนไทย' (ผู้ที่อยู่ในประเทศไทยและถือบัตรประชาชนไทย ตามคำนิยามของคนบางกลุ่ม) ที่รับรู้ว่าปราสาทเขาพระวิหารกำลังจะไม่ใช่สมบัติของประเทศไทยแล้วจริงๆ เพราะผมก็เป็นมนุษย์ผู้หนึ่งซึ่งถูกอบรม สั่งสอน และถ่ายทอด ความเป็นไทย' มาตั้งแต่อ้อนแต่ออก ดังนั้นผมจึงถูกผลิตขึ้นมาภายใต้วาทกรรม เอกราช' เช่นเดียวกับพี่น้องชาวไทยส่วนใหญ่ในประเทศนี้

 

แต่กระนั้นผมก็อดหวาดหวั่นพรั่นพรึงไม่ได้ เมื่อมีโอกาสได้ยินได้ฟังชาวบ้านร้านตลาด พยายามเชื่อมโยงเรื่องราวการขึ้นทะเบียน ปราสาทเขาพระวิหาร' เป็นมรดกโลก กับ สงครามแย่งชิงดินแดน' (ขอภาวนาให้มันกลายเป็นเพียงความคิด) เพราะโดยส่วนตัวผมเชื่อว่า ความรุนแรง' ย่อมไม่ใช่ทางออกของปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่จะต้องเกี่ยวข้องกับชีวิตและจิตใจของมนุษย์จำนวนมาก และ สงคราม' ก็ไม่เคยเป็นคำตอบของชัยชนะระหว่างประชาชน กับประชาชน (แม้ว่ามันจะเป็นชัยชนะของรัฐต่อรัฐก็ตาม)

 

ยิ่งผมได้ยินได้ฟังนักวิชาการรุ่นใหม่ท่านหนึ่ง ของสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ที่พยายามเชื่อมโยงประเด็น ปราสาทเขาพระวิหาร' กับ การสูญเสียดินแดน' อื่นๆ อีกหลายพื้นที่ ยิ่งทำให้ขนหัวของผมลุกซู่ด้วยความหวาดกลัว แต่ไม่ได้เป็นความหวาดกลัวว่าเราจะสูญเสียดินแดน หรืออธิปไตยในเร็ววันนี้ หากแต่ ข้อมูลทางวิชาการ' ของนักวิชาการท่านนั้นมันกำลังจะสร้าง ความหวาดกลัว' ขึ้นในจิตใจที่อ่อนไหวของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ และ ความกลัว' เหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนเป็น ความเกลียดชัง' ในไม่ช้า

 

ยิ่งนักวิชาการท่านนี้พยายามจะเสนอทางออกด้วยการผลักดันเพื่อนบ้านออกไปจากดินแดน (หรือไม่ก็ต้องเก็บภาษีพวกเขา) ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างสองประเทศ เพื่อแสดงอธิปไตยเหนือดินแดนของเรา (ตามที่ท่านบอก) ยิ่งทำให้ผมเล็งเห็นว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การศึกษาในประเทศไทยไม่เคยทลายกำแพง อคติ' ทางชาติพันธุ์ ที่ทำให้ มนุษย์กลุ่มหนึ่ง' มอง มนุษย์อีกกลุ่มหนึ่ง' คือ ผู้สร้างปัญหา' ไปได้เลย (แม้ในหมู่นักวิชาการบางกลุ่ม)

 

เหตุการณ์ และข้อมูลที่นักวิชาการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) นำเสนอผ่านรายการ ตาสว่าง' เมื่อคืนวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2551 ทำให้ผมอดนึกย้อนไปในอดีตเมื่อครั้งที่บรรพบุรุษของผม (และบรรพบุรุษของอีกหลายๆ ท่านที่ระบุว่าตนเองคือคนไทย) ออกเดินทางโดยเรือสำเภามาจากประเทศจีนเพื่อมาตั้งรกรากยังแดนดินถิ่นสยามแห่งนี้ไม่ได้ ผมแอบสงสัยว่าในครั้งนั้น บรรพบุรุษ' ของผมจะถูกเกลียดชังจากผู้คนในดินแดนแห่งนี้หรือเปล่า? และหากเป็นเช่นนั้น ท่าน' และ เราทั้งหลาย' สามารถฝ่า กำแพงแห่งความเกลียดชัง' เหล่านั้นมาได้อย่างไร? เหตุใดทุกวันนี้เราถึงยอมรับการตั้งถิ่นฐานของคนกลุ่มหนึ่ง (จีน ฝรั่ง ญี่ปุ่น เกาหลี และ ฯลฯ) แต่กลับไม่ยอมรับการตั้งถิ่นฐานของคนอีกกลุ่มหนึ่ง (ประเทศบ้านใกล้)

 

สำหรับตัวผม กรณีเขาพระวิหาร' จึงไม่ใช่แค่เรื่องของเส้นแบ่งเขตแดนทางกายภาพ หากแต่เป็นเรื่อง อาณาเขตทางจิตใจ' ของผู้คนทั้งสองฝั่งที่อาจจะกว้างไม่เพียงพอที่จะลบ บาดแผลทางประวัติศาสตร์' ระหว่างกัน จนก่อเกิดเป็น กำแพงแห่งความเกลียดชัง' ที่ทั้งสองฝ่ายสร้างขึ้นเพื่อป้องกันตน (ด้วยทัศนคติในแง่ลบ Negative thinking) เมื่อไรก็ตามที่บาดแผลถูกสะกิดจากอำนาจรัฐ ประวัติศาสตร์' ระหว่างสองชาติบ้านใกล้ก็จะถูกนำมาเชื่อมโยงให้กลายเป็นเรื่องระหว่าง ศัตรู'ทันที ทั้งๆ ที่ในระดับวิถีชีวิตประจำวันของชาวบ้าน ประวัติศาสตร์' ของพวกเขาอาจจะไม่มีอาณาเขตหรือดินแดนใดๆ เป็นตัวแบ่งความสัมพันธ์เลยด้วยซ้ำ

 

นอกจากการมุ่งประเด็นไปที่ การทวงคืนดินแดน' หรือ การยกปราสาท'ให้เขา สิ่งที่ผู้คนทั้งสองแผ่นดิน (ตามเส้นแบ่งของรัฐ) ต้องนำมาพิจารณาในกรณีของ เขาพระวิหาร' ก็คือ เรื่องของ ทัศนคติ' (attitude)ที่เราใช้มองกันและกัน เพราะสิ่งนี้ต่างหากที่จะช่วยป้องกันปัญหาระหว่างผู้คนทั้งสองฝ่ายในระยะยาว เราควรจะกลับมาทบทวนว่า ที่ผ่านมาเราทั้งสองฝ่ายมองกันในฐานะอะไร? เพื่อนบ้าน' หรือ แค่ คนบ้านใกล้'

 

เกริ่นเสียยืดยาวอีกตามเคย

 

My Neighbor Totoro : ‘เพื่อนบ้าน' และ การมองโลกในแง่ดี'

 

My Neighbor Totoro (ค.ศ. 1988) ภาพยนตร์อนิเมชั่น ผลงานการกำกับของ ฮายาโอะ มิยาซากิ' (Hayao Miyazaki) นำเสนอเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์' กับสิ่งแวดล้อม' (ซึ่งหมายรวมถึงทุกสรรพสิ่งบนโลก ทั้ง ต้นไม้ คน สัตว์ สิ่งของ และฯลฯ) โดยบอกเล่าผ่านตัวละคร ซัทสึกิ'เด็กสาววัย 11 ปี กับ เมย์' น้องสาววัย 4 ขวบ ที่ต้องย้ายติดตามคุณพ่อมาสู่บ้านใหม่ในชนบท

 

สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ของชนบทไม่เพียงแต่จะสร้างความรื่นรมย์ให้กับเด็กทั้งสอง แต่ที่นี่ยังทำให้พวกเธอได้พบเจอกับ มิตรภาพ' ของ เพื่อนบ้าน' หน้าใหม่ อย่าง คุณยายใจดีข้างบ้าน ที่สามารถเข้านอกออกในบ้านของพวกเธอราวกับเป็นญาติสนิท, ‘คันตะ' หลานชายของคุณยายใจดี, มัคคุโระคุโระสึเกะ' หรือซึซึวาตาริ' เจ้าตัวประหลาดกลมๆ สีดำๆ ที่มักจะเข้ามาอาศัยในบ้านร้างและนำฝุ่นเข้ามาในบ้าน แต่เมื่อมีคนเข้ามาอยู่ เจ้าตัว ซึซึวาตาริ' หรือ มัคคุโระ คุโรสุเกะ' ก็จะย้ายออกไป

 

ที่สำคัญพวกเธอยังได้พบกับ โตโตโร่' หรือ วิญญาณผู้พิทักษ์ป่า' ผู้น่ารัก ซึ่งแตกต่างจากจินตนาการของมนุษย์ส่วนใหญ่ ที่มักจะสร้างภาพของวิญญาณให้มีลักษณะ น่ากลัว' แต่สำหรับ โตโตโร่' กลับมีลักษณะคล้ายกระต่ายขนฟูตัวใหญ่ ที่ชอบนอนหลับพักผ่อน และมักจะส่งความรู้สึกผ่านเสียงคล้ายกับการหาว

 

โตโตโร่' ช่วยให้พวกเด็กๆ รับรู้ว่านอกจากโลกปกติที่พวกผู้ใหญ่ (อย่างเราๆท่านๆ) รู้จัก มันยังมีโลก' อีกโลกหนึ่ง ที่พวกเธอสามารถสัมผัสได้ เพียงแค่เปิดใจยอมรับ หรือ ต้องมีทัศนะคติในการมองโลกในแง่ดี (positive thinking) อย่างที่ เมย์' เด็กสาววัย 4 ขวบ เป็นผู้ค้นพบโลกของ โตโตโร่'

 

และภายในโลกที่ผู้ใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยอคติ' ไม่มีวันมองเห็นนั้น มันเป็นโลกที่แถบจะไม่มีขอบเขต เป็นโลกที่อาจจะสามารถนำพาพวกเราลอยสูงขึ้นไปยังท้องฟ้า (อยู่เหนือปัญหา) อย่างที่ โตโตโร่' ได้นำพา เมย์' และ ซัทสึกิ' ล่องลอยไปพบเจอกับมุมมองใหม่ๆ ด้านบน

 

นอกจาก ความอบอุ่น' และ ความสัมพันธ์' อันดีระหว่างผู้คนในครอบครัว คุราซาเบะ' (พ่อ แม่ ซัทสึกิ และเมย์) แล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังพยายามที่จะบอกกับเราว่า ความกลัว' (อคติ) คือ อุปสรรค' สำคัญในการทำความรู้จักกับ มิตรภาพ' ดังที่เราจะเห็นได้ว่า เด็กหญิงอย่าง เมย์' (ผู้ค้นพบโลกของโตโตโร่) มักจะกล่าวอยู่เสมอว่า "เมย์ไม่กลัว" และนั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เธอสามารถค้นพบและเรียนรู้จักกับทุกๆ สิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวันด้วยความสนุกสนาน

 

และในหลายๆ ฉากที่เกี่ยวข้องกับ บ้านหลังใหม่' เราจะพบว่า ผู้กำกับคล้ายจะจงใจที่จะเปิดประตูบ้านทิ้งไว้ เพื่อให้คนในครอบครัวได้รับรู้โลกภายนอก ขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมให้ เพื่อนบ้าน' ได้เรียนรู้จักกับครอบครัวของ ซัทสึกิ' และ เมย์' เช่นเดียวกัน เช่น ในฉากที่ คุณยายข้างบ้าน' เดินเข้ามาทำความรู้จักกับเด็กๆ ถึงในบ้าน หรือในฉากที่พวกเด็กๆ (ซัทสึกิ และเมย์) นอนเปิดประตู จนทำให้พวกเธอได้พบเห็น โตโตโร่' และเพื่อนๆ กำลังทำพิธีกรรมปลูกต้นไม้ ซึ่งสุดท้ายพวกเด็กๆ ก็ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมพิธีกรรมนั้นด้วย

 

การเปิดประตูบ้าน' (การเปิดใจ) ในภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงไม่ใช่เรื่องของการยอมสูญเสีย พื้นที่ส่วนตัว' แต่เป็นการเปิดประตู เพื่อให้ เพื่อนบ้าน' ได้มีโอกาสเรียนรู้จักกับ ความจริงใจ' ที่ตัวละครในครอบครัวของซัทสึกิ และเมย์ มีให้ และ ความไม่กลัว' (ความไม่มีอคติ) ของเด็กๆ ก็ไม่ใช่ความไม่ระมัดระวัง หรือ ความประมาท' แต่ในทางตรงกันข้ามมันกลับเป็น ความกล้าหาญ' ที่จะทำลาย อคติ' ในการเรียนรู้จักกับ เพื่อนบ้าน' และทุกๆ สรรพสิ่งบนโลกใบนี้อย่างเท่าเทียม และการมองโลกในแง่ดี (positive thinking) ของตัวละครก็นำไปสู่เรื่องราวที่งดงามของ มิตรภาพ'

 

หลังชมภาพยนตร์จบ ผมพยายามหาคำตอบให้กับตัวเองว่ "วันนี้เราพร้อมที่จะ เปิดใจ' รับ เพื่อนบ้าน' โดย ปราศจากอคติ' เพื่อ ความเท่าเทียม' ของ มิตรภาพ' แล้วหรือยัง?"

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
  ธวัชชัย ชำนาญหนังรักโรแมนติกเป็นอะไรที่คนไทยให้ความสนใจโดยเฉพาะกลุ่มวัยทีนทั้งหลาย อย่างที่เพิ่งเข้าโรงไปอีกเรื่องก็คือ Happy Birthday เป็นความรักแบบโศกซึ้งน้ำตาซึมแห่งปีไปเลยก็ว่าได้ สาวๆหลายคนออกมาคงรำพันกับตัวเองไม่น้อย "ผู้ชายแบบนี้ยังมีอีกไหมหนอ"แต่สัปดาห์นี้ กระผมขอนำความรักในอีกแบบหนึ่งมาเสนอ เป็นหนังรักแห่งแดนอิเหนา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหนังรักแนวของประเทศมุสลิม คือเป็นหนังรักที่มีศาสนา จารีต ประเพณี และกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตรักของตัวละคร อย่างน้อยๆ หนังเรื่องนี้เป็นการสร้างสรรค์ให้วงการหนังแนวโรแมนติกในอีกมุมมองหนึ่งของความรักหนังเรื่องนี้ชื่อ ‘Ayat Ayat Cinta'…
Cinemania
 พิชญ์ รัฐแฉล้ม   " องค์บาก 2 " ภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นฟอร์มยักษ์ส่งท้ายปี 2551 นำแสดงโดย ‘จา' พนม ยีรัมย์ หรือ ‘โทนี่จา' ในวงการภาพยนต์โลก ถือฤกษ์มงคล 5 ธันวาคม เข้าฉาย ทีมผู้สร้างวางเป้าหมายไว้ ‘องค์บาก 2' จะต้องประสบความสำเร็จอย่างงดงามสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน บัดนี้..ผ่านมาแล้วสองสัปดาห์เต็มที่ภาพยนตร์ได้ออกฉายให้แฟนๆ จา พนม ที่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวแอ็กชั่นได้สัมผัสอย่างเต็มตา และได้รับการตอบรับจากแฟน จา พนม เป็นอย่างดีจนสามารถฉลองความสำเร็จของรายได้ที่ทะลุเป้าหมายร้อยล้านในสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้ๆกัน ‘องค์บาก 2'…
Cinemania
  หมายเหตุ: “บันทึกอิสรา” แสดงที่มะขามป้อมสตูดิโอ ในวันที่ 9-15 ธันวาคม เวลา 19.30น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 14.00น.  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูไปที่ www.makhampomstudio.net        “เรื่องราว... ถ้าไม่เล่าสู่กันฟัง คนข้างหลังก็จะลืม... เลือนราง” เนื้อร้องท่อนหนึ่งจากละครร้องเรื่อง “บันทึกอิสรา” ว่าเอาไว้ ชวนให้นึกเห็นด้วยไม่น้อย ทุกวันนี้ถ้าจะย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านพ้นมา ก็พบว่า ประวัติศาสตร์ของหลายๆ อย่างในประเทศนี้ไม่เคยจะสมบูรณ์เสียที ประวัติศาสตร์บางแบบแม้จะเรียนแล้วก็ต้องเรียนอีก…
Cinemania
ไก่ย้อย หมายเหตุ: จดหมายฉบับนี้สร้างขึ้นจากเรื่องจริงแต่แอบอิงวิธีการนำเสนอจากภาพยนตร์เรื่อง ‘เพื่อนสนิท’ โดยสมมติเหตุการณ์ว่าเป็นภาคต่อของภาพยนตร์ต้นฉบับ หากใครยังไม่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ บางทีก็อาจจะไม่เข้าใจมุกเห่ยๆ ของผู้เขียน  ส่วนใครที่ไม่อยากอ่านจดหมายฉบับนี้ ผู้เขียนก็ขอร้องว่าอย่าอ่านเลยนะพวกคุณ   ถึงเพื่อนๆ หากพวกแกได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ฉันขอร้องพวกแกอย่างหนึ่งนะว่า “อย่าคิดมาก” เพราะที่ผ่านมาเหตุการณ์บ้านเมือง และวงการวิชาการของไทยมันก็มีเรื่องซีเรียสมากมายกันพออยู่แล้ว ฉะนั้นพวกแกอย่าเสียเวลาเปลืองมันสมองเพื่อขบคิดกับจดหมายบ้าๆ บอๆ ของฉันอยู่เลย…
Cinemania
  จันทร์ ในบ่อ 20th Century Boys หรือเด็กในศตวรรษที่ 20 เป็นภาพยนตร์ที่นำเรื่องราวจากการ์ตูนชื่อเดียวกันมาสร้าง (การ์ตูนชื่อไทยว่า แกงค์นี้มีป่วน) เป็นผลงานเรื่องเด่นจากค่าย Shogakukan แต่งโดย Naoki Urasawa คนเดียวกับผู้เขียน Monster (คนปีศาจ)  20th Century Boys ยังคว้ารางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมครั้งที่ 48 จาก Shogakukan  รางวัลชนะเลิศในงาน Media Art ครั้งที่ 6 ของทบวงวัฒนธรรมญี่ปุ่น และรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม ครั้งที่ 25 จาก Kodansha คอการ์ตูนเองคงรู้ดีถึงความยอดเยี่ยม ส่วนฉบับภาพยนตร์ดูแล้วก็คิดว่าว่าไม่เสียรสชาติครับ ด้วยข้อจำกัดของหนังด้านเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหา…
Cinemania
จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิตรบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัยImagine : John LennonImagine there's no heavenIt's easy if you tryNo hell below usAbove us only skyImagine all the people  Living for todayImagine there's no countriesIt isn't hard to doNo greed or hungerAnd no religion tooImagine all the people  Living life in peaceYou may say I'm a dreamerBut I'm not the only oneI hope someday you'll join usAnd the world will live as oneImagine no possessionsI wonder if you canNothing to kill or die forA brotherhood of manImagine all the peopleSharing all the worldผมเคยได้ยินและได้ฟังเพลง Imagine…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  อังกฤษ ปี ค.ศ. 1983 ยุคที่รองเท้า ‘บู้ท' สไตล์ Dr.Matins ทรงผม ‘สกรีนเฮด' เสื้อเชิ้ต ‘ลายสก๊อต' และกางเกงยีนส์ คือสัญลักษณ์แห่ง ‘อำนาจ' ที่เหนือกว่าชนชาติอื่นในหมู่เยาวชนชาวอังกฤษ ‘ชอน' เด็กชายวัย 12 ผู้ฝังใจอยู่กับการสูญเสียพ่อไปในสมรภูมิเกาะฟอร์คแลนด์ (สงครามแย่งชิงเกาะฟอร์แลนด์ระหว่างประเทศอังกฤษและ อาเจนติน่า) กำลังเริ่มต้นค้นหาชีวิตในวัยหนุ่มกับกลุ่มเยาวชนรุ่นพี่  เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็นกลุ่มก้อน หรือความเป็นสถาบันผ่านเครื่องแต่งกายสไตล์ขาโจ๋เมืองผู้ดีในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็น ‘ชาย' ผ่าน ‘เกมส์'…
Cinemania
ชญานุช เล็กตระกูลชัย    ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mona_Lisa_Smile   “ศิลปะคืออะไร อะไรที่ทำให้มันดีหรือแย่ แล้วใครเป็นคนกำหนด” “ศิลปะไม่ใช่ศิลปะ จนกว่าจะมีคนบอกว่าใช่… มันมีมาตรฐาน เทคนิค องค์ประกอบ สี และหัวข้อ” (บางส่วนของบทสนทนาระหว่างตัวละคร ‘แคเธอรีน วัตสัน’ (จูเลีย โรเบิร์ตส์) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และ ‘เบ็ตตี้ วอร์เร็น’ (เคิร์สเตน ดันสต์) นักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ) ปรัชญา ศิลปะ และกระบวนการทำให้ ‘หญิง’ เป็น ‘หญิง’ ภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile นำเสนอภาพสะท้อนของสังคมตะวันตก (ทั้งยุโรป และอเมริกา) ในช่วงต้น…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  ภาพจาก http://www.japclub.com/dvd_box/j-bics/2008_may/Crows-Zero.htm    ผมเป็นผู้หนึ่งที่รู้สึกอิดหนาระอาใจกับสถานการณ์บ้านเมืองของเรา (หรือเปล่า?) ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผมไม่เคยคาดคิดว่า ภาพการไล่กระทืบกันอย่างเมามันด้วยความมุ่งหวังที่จะพิชิตฝ่ายตรงข้าม (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน) จะเกิดขึ้นในสังคมที่เที่ยวประกาศกับใครต่อใครว่าเป็นสังคมที่ยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาอย่างเข้มข้น ‘ฉากชีวิตจริง’ นั้นดุเด็ดเผ็ดมันกว่า ‘หนังบู๊’ ที่ดูผ่านหน้าจอหลายเท่านัก และดูจะสยดสยองกว่า ‘คลิปวีดีโอเด็กนักเรียนตบกัน’ เป็นไหนๆ  ส่วน ‘…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย   "to prove the Faustian dream to be a nightmare" ผมมีโอกาสประสบพบกับประโยคภาษาอังกฤษข้างต้นเป็นครั้งแรกในหนังสือ ‘POST MODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ' ของ อาจารย์ไชยันต์ ไชยพร และตั้งแต่วันนั้นผมก็ไม่เคยคิดว่าผมจะต้องนึกถึงมันอีกเลยไม่ว่าจะในกรณีใดๆ แต่แล้ววันดีคืนดี ในขณะที่ผมกำลังนั่งเพลิดเพลินเจริญอารมณ์อยู่กับภาพยนตร์เรื่อง Hellboy 2 : The Golden Army หลายๆ ฉาก หลายๆ ตอนในภาพยนตร์กลับทำให้มันสมองของผมเกิดระลึกถึงคำอธิบายเกี่ยวกับ ‘the Faustian dream' ของอาจารย์ไชยันต์ (ไชยพร) ขึ้นมาอย่างกระทันหัน …