Skip to main content

ซาเสียวเอี้ย

การไล่ตีแมลงสาบบนฝาบ้าน อาจเป็นเกมสนุกสนานอย่างหนึ่ง

และเพียงสายลมเย็นจากพัดลมมือสองที่เป่าไล่ความร้อนในค่ำคืนอบอ้าว

อาจเป็นถึง รางวัลชีวิต' ของสองพ่อลูกผู้ยากจน...ผู้อาศัยอยู่ในโลกแห่งความแร้นแค้น

ทั้งหมดที่่ว่ามา-อาจฟังไม่ต่างจากสงครามชีวิตสุดรันทด (บัดซบ!) แต่เมื่อเรื่องราวเหล่านี้ถูกถ่ายทอดผ่านมุมมองของ โจวซิงฉือ' ไอ้สิ่งที่ควรจะเศร้า...กลับทำให้เราหัวเราะออกมาได้

000

ถึงแม้ว่าหน้าหนังของ CJ7 จะถูกโฆษณาว่าเป็นแนว Sci-fi แต่ ใจความสำคัญ' ที่อยู่ในนั้น ไม่ใช่ ความลี้ลับ' ของจักรวาลอันกว้างใหญ่ หรือถ้าจะพูดให้ชัดๆ ก็ต้องบอกว่า นี่คือหนังครอบครัวแนว Comedy-Drama ที่ให้ สิ่งมีชีวิตจากนอกโลก' เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องโดยบังเอิญเท่านั้นเอง

ตัวละครแบบ ลูกกระจ๊อก' ลูกไล่' หรือ ไอ้ขี้แพ้' ตามสไตล์หนังโจวซิงฉือ ยังอยู่ครบถ้วน เพียงแต่ว่าครั้งนี้เขาไม่ได้มาคนเดียว แต่มีการเฉลี่ยน้ำหนักให้ดาราหน้าใหม่ที่มาแสดงเป็น ลูกชาย' ในเรื่องด้วย

ชีวิตของ อาตี้' (โจวซิงฉือ) ไม่รุ่งโรจน์สดใส เขาอาจจะตายไปโดยไม่อาจเป็นอะไรอย่างอื่นได้อีก นอกจากกรรมกรก่อสร้าง' ผอมแห้งแรงน้อย และที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะอาตี้ไม่ได้เรียนหนังสือตอนเป็นเด็ก เขาจึงตั้งความหวังว่า เสี่ยวตี้' (ซูเจียว) ลูกชายคนเดียวที่มี จะมีอนาคตที่ดีกว่า

อาตี้ทำงานหนัก ควบทั้งกะเช้ากะดึก เพื่อจะส่งเสียให้ลูกได้เรียนในโรงเรียนเอกชน ดีๆ'

และการที่โรงเรียนเอกชน ดีๆ' ส่วนใหญ่เก็บค่าเล่าเรียน แพงๆ' ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา

เงินที่อาตี้หามาได้ก็หมดไปกับค่าเล่าเรียน ค่าเครื่องแบบ ค่าหนังสือ ฯลฯ ของเสี่ยวตี้ และครั้งไหนที่ไม่มีเงินซื้อของใหม่ อาตี้จะไป ช็อปปิ้ง' ที่ภูเขาขยะเพื่อหาข้าวของที่ยังพอจะใ้ช้การได้มาซ่อมแซมให้ลูกชาย

วันหนึ่งเสี่ยวตี้ดื้อดึงจะให้พ่อซื้อของเล่นราคาแพงเหมือนอย่างที่เคยเห็นของเพื่อนในโรงเรียน ผลก็คืออาตี้ต้องไปคุ้ยภูเขาขยะเพื่อหาของเล่น (ที่คนอื่นทิ้งแล้ว) มาปลอบใจลูกชาย แต่กลายเป็นว่า สิ่งที่เขาหยิบมาคือ อะไรบางอย่าง' ที่เดินทางมาจากนอกโลกพร้อมยานอวกาศรูปทรงประหลาดๆ ลำหนึ่ง...

ของเล่น' ที่อาตี้เก็บมาให้ลูกชาย กลายเป็นของแปลกที่น่าสนใจสำหรับเสี่ยวตี้ เพราะต่อมา ของเล่นชิ้นนั้นก็กลายร่างเป็นสัตว์ประหลาดตัวเขียวหยุ่นๆ หัวกลมๆ มีขนฟู และตาโตๆ เหมือนลูกหมา

การอยู่ร่วมกับสัตว์ประหลาดที่ว่าก็กลายเป็นประสบการณ์สำคัญที่เปลี่ยนชีวิตสองพ่อลูกผู้ยากไร้ในภายหลัง...

000

ผลงานก่อนหน้า อย่าง Kung Fu Hustle หรือ Shaolin Soccer ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ทั้งที่ตอนนั้นโจวซิงฉือเพิ่งจะมีผลงานกำกับเอง, เขียนบทเอง และแสดงเองอยู่แค่ไม่กี่เรื่อง แต่มุขเสียดสีสังคมอย่างแสบสันต์ด้วยการหยิบเอาตำนานจอมยุทธ์มาล้อเลียนกับฉากหลังอันปั่นป่วนของฮ่องกงยุคต่างๆ (ยุคอันธพาลครองเมืองและยุคโลกาภิวัตน์) เพื่อบอกเล่าถึงการต่อสู้ของชนชั้นล่างที่ต้องรวมตัวกันปกป้องชุมชนของตัวเองอย่างแข็งขัน เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมตะวันออกมีประสบการณ์ร่วมอยู่บ้าง ทั้งจากหนังจีนกำลังภายใน หนังสือ และวัฒนธรรมที่บ่มเพาะกันมานาน เมื่อจับมารวมกับมุขตลกหน้าตายของโจวซิงฉือ มันก็กลายเป็นสูตรของหนังที่ประสบความสำเร็จได้ไม่ยากเย็นอะไร

ทั้งที่ภาพลักษณ์ของโจวซิงฉือ ไม่ใช่ Action Hero อย่าง เฉินหลง' หรือหลีเหลียนเจี๋ย' (Jet Li) แต่เพราะเขาคือผู้แพ้' ที่พากเพียร หรือไม่ก็เป็นพวกขี้โม้ กะล่อน เอาัตัวรอดไปวันๆ และอาจเป็นได้ว่า ความไม่เอาไหนเหล่านั้น คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนดูหลายคนสนุกกับการเอาใจช่วยเขามากกว่าเวลาที่ได้ดูการแสดงของนักแสดงดังๆ ที่เก่งกาจเรื่องศิลปะการต่อสู้ระดับเทพ

แต่การกลับมาพร้อม หนังไซ-ไฟ' ของโจวซิงฉือครั้งนี้ อาจเรียกว่าเป็นความพยายามที่จะ ฉีกแนว' ครั้งสำคัญ...น่าเสียดาย...ที่บรรยากาศมันไม่ได้แตกต่างจากผลงานหลายๆ เรื่องที่เขาเคยผ่านมาแล้ว

จริงอยู่--ความน่ารักของ เสี่ยวตี้' และ CJ7 หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ซีเจ' ยังมีพลังมากพอที่จะทำให้คนดูหนังรู้สึกเพลิดเพลินจำเริญใจไปกับหนัง และต้องยกให้เป็นความลงตัวของสเปเชียลเอฟเฟกต์และนักแสดงหน้าใหม่ ซึ่งแสดงได้ดีจนไม่อยากเชื่อว่าเด็กผู้ชายหน้าทะเล้นคนนั้น แท้จริงแล้วเป็น เด็กผู้หญิง' วัย 10 ขวบ และอนิเมชั่นสามมิติที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นสัตว์ประหลาดสีเขียวขนฟูนั้นก็ดูน่ารักน่าชังจริงๆ

แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม หลายต่อหลายฉากที่ผ่านตาใน CJ7 หลายต่อหลายคนเคยเห็นมามากแล้วในหนังของโจวซิงฉือหลายๆ เรื่อง ซึ่งมันอาจจะไม่ได้ทำให้เราหัวเราะหรือร้องไห้กับมันได้น้อยลง ฉากที่ควรจะขำ คนดูหลายๆ คนก็ยังขำ และฉากไหนที่ออกมาเพื่อเรียกน้ำตา ก็ยังทำให้หลายคนต้องควานหากระดาษทิชชู่หรือผ้าเช็ดหน้ามาใช้งานอยู่เหมือนเดิม แต่สิ่งที่หายไปคือเสน่ห์ของ ตลกร้าย' ที่ทำให้เรารู้สึกเศร้าใจไปพร้อมๆ กับการระเบิดเสียงหัวเราะออกมา

วิธีเอาตัวรอดของหนุ่มบ้านนอกซื่อๆ ที่พยายามจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแก๊งค์ผู้มีอิทธิพลซึ่งโจวซิงฉือเคยวิพากษ์ไว้ในหนังเรื่อง Kung Fu Hustle มีความแหลมคมสะใจที่ได้เห็นสังคม กินคน' ถูกท้าทาย ที่ๆ อำนาจมืดและอำนาจทุนกดขี่ผู้คนจากบนลงล่าง และอำนาจรัฐก็ช่วยอะไรไม่ได้ ในที่สุดก็ถูกล้มล้างโดยชาวบ้านใน ตรอกเล้าหมู' ที่แสนจะอุดอู้และสกปรก ส่วนประเด็นที่พูดถึงใน CJ7 คือการ ยกระดับทางสังคม' ซึ่งน่าจะมีเรื่องราวให้เอามาเสียดสีได้เยอะทีเดียว แต่ (อาจจะ) ด้วยความที่ต้องการให้หนังเรื่องนี้เป็น หนังครอบครัว' โจวซิงฉือจึงเลือกวิธีที่ค่อนไปในทาง สั่งสอน' และเทศนา' โดยยกให้ การศึกษา' เป็นคำตอบของเรื่องทั้งหมด

หลายๆ ฉากใน CJ7 อาตี้สอนลูกให้ขยันเรียน, ซื่อสัตย์, อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เพราะการศึกษาคือ ความหวัง' ที่จะทำให้คนยากจนหลุดพ้นไปจากความแร้นแค้น แ่ต่ค่านิยมแบบนี้ก็ไปผลิดอกออกผลเป็นการแก่งแย่งแข่งขันตะเกียกตะกายเื่พื่อเข้าไปเรียนในโรงเรียนดีๆ และสิ่งที่อาตี้สอนบทเรียนให้ลูกไม่ได้ก็คือว่า เด็กๆ ควรจะทำอย่างไรเมื่อต้องเข้าไปอยู่ในสภาพที่การ (ได้รับความ) เคารพศักดิ์ศรี--มาพร้อมกับสถานะทางสังคมที่นิยมวัตถุมากกว่าอะไรที่เป็นนามธรรม อย่างเช่น ความอ่อนน้อม ความมีน้ำใจ และความยุติธรรม

แต่ถึงจะบ่นว่ายังไงก็ตามที โดยส่วนตัวแล้วก็ยังเห็นว่า CJ7 เป็นหนังที่ดีและดูสนกอีกเรื่องหนึ่งซึ่งใครๆ ก็ดูได้

เพราะอย่างน้อยที่สุด สิ่งหนึ่งที่โจวซิงฉือถ่ายทอดออกมาในหนัง (แทบจะ) ทุกเรื่องก็ยังไม่หายไปไหน นั่นคือ ความหวัง' ว่าพรุ่งนี้ต้องดีกว่าเดิม...

 

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
โดย… พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
Cinemania
      ซาเสียวเอี้ย   แต่ไหนแต่ไรมา...ระบบการศึกษาในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกมักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการ ‘ดับฝัน’ ของคนวัยหนุ่มสาว เพราะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้นที่จะ ‘เรียนรู้’ สิ่งแปลกใหม่ในวัยเยาว์ถูกลบเลือนหายไปในกรอบ-กฎเกณฑ์-เหตุผล-เงื่อนไข และข้อเท็จจริงทั้งหลายทั้งปวง (ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีโอกาสเกิดมาใช้ชีวิตบนโลกก่อนหน้าเรา...)   กระนั้น...ใครหลายคนก็ยังยินดีเดินตามแนวทางหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกวางไว้แล้วโดยไม่เคยคิดตั้งคำถาม เพื่อแลกเปลี่ยนกับ ‘การยอมรับ’ จากสังคมรอบข้าง...เพื่อที่มนุษย์ทั้งหลาย (ซึ่งเป็นสัตว์สังคม)…
Cinemania
        ซาเสียวเอี้ย   ‘ชาร์ลี วิลสัน’ ตายแล้ว...   แม้การตายของเขาจะไม่ได้ทำให้โลกสะท้านสะเทือนอะไรมากนัก แต่ก็มีความหมายสลักสำคัญมิใช่น้อย เพราะบทบาทของวิลสันในสมัยที่เขายังหนุ่มแน่นและดำรงตำแหน่ง สว.รัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา เป็นประเด็นให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดว่าควรจะจดจำเขาไว้ในฐานะอะไร...   บ้างก็ว่า ชาร์ลี วิลสัน คือ ‘นักการเมืองเจ้าสำราญ’ เจ้าของฉายา Good Time Charlie ผู้มีชีวิตโลดโผนเต็มไปด้วยสีสัน หรือเป็น ‘วีรบุรุษชาวอเมริกัน’ ผู้ช่วยให้นักรบมูจาฮิดีนขับไล่กองทัพสหภาพโซเวียตอันโหดร้ายป่าเถื่อนไปจากอัฟกานิสถาน…
Cinemania
themadmon หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น บทสะท้อนย้อนคิดหลังจากการชมภาพยนตร์เรื่อง Air Doll ผมในฐานะที่เป็นผู้เขียนจงใจจะหยิบเลือกประเด็น (ซึ่งผ่านการตีความของผม) โดยไม่ได้อ้างอิงอย่างชัดเจนไปสู่ตัวภาพยนตร์ในแต่ละฉากแต่ละตอน โดยหวังว่าผู้ที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ก็สามารถอ่านได้ และผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วจะสามารถระลึกถึงฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้ด้วยเช่นกัน     หากลองพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในสามประโยค  ผมคงพูดสั้นๆ ว่า.. “ผู้คนหลากหลาย เราต่างก็ว่างเปล่า และเหงามากมาย”  เพราะอะไรน่ะหรือ …
Cinemania
  บริวารเงา   ขงจื๊อ เป็นชื่อหนึ่งที่ผมได้ยินมาเนิ่นนาน ถ้าจำไม่ผิดอาจจะเป็นหนังจีนกำลังภายในสักเรื่องหนึ่งที่อ้างชื่อนี้ขึ้นมาเพื่อพูดถึงปรัชญาในเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร ผมมารู้จักเขาอีกครั้งในห้องสมุดช่วงที่กำลังสนใจพวกวิชาปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ฯลฯ  แต่ผมกลับไปชอบปรมาจารย์จีนอีกคนคือ เล่าจื๊อ เสียมากกว่า เพราะว่าแกมีความคิดที่ 'แนว' ดี (อารมณ์ของวัยรุ่นเช่นนี้แล) อีกนัยหนึ่งก็ดูเพี้ยน ๆ อีกนัยหนึ่งก็มีอารมณ์ศิลปินกว่าขงจื๊อ ขณะที่ผมเห็นว่าขงจื๊อเอาแต่พร่ำบ่นอะไรที่เป็นหลักจริยธรรมน่าเบื่อ ๆ ซึ่งความน่าเบื่อนี้ไม่ใช่ความผิดของขงจื๊อเสียทีเดียว…
Cinemania
เดือนสองจันทร์   October Sonata: รักที่รอคอย
Cinemania
สุพิชชา โมนะตระกูล ตลอดช่วงเวลาขณะชมภาพยนตร์สารคดี “Our Daily Bread” ผู้เขียนรู้สึกตะลึงกับภาพที่ได้รับชม โดยสาเหตุหลักหาใช่ “ความงาม” ของสีสันหรือองค์ประกอบศิลป์แบบภาพที่ผู้กำกับภาพบรรจงจัดวางอย่างภาพยนตร์ที่มีภาพงามเรื่องอื่นๆ...หากเป็น “ความจริง” ของภาพที่ตรึงผู้เขียนไว้ตลอดระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
Cinemania
  สาวกท่านเป้า ขณะที่กำลังตุรัดตุเหร่ในร้านหนังสือแอร์เย็นเฉียบ เพื่อตามหานิตยสารมือถือฉบับหนึ่ง บังเอิญเหลือบไปเห็นนิตยสารฉบับหนึ่งที่นำภาพโปรโมทภาพยนตร์ “วงษ์คำเหลา” มาขึ้นปก แต่เมื่อหยิบมาจึงรู้ว่าเป็นปกหลัง แต่ปกหน้าก็ยังเป็นวงษ์คำเหลาอยู่ดี จึงเริ่มรู้ตัวว่าถูกหลอกแดกเสียแล้ว มีที่ไหนวางขายนิตยสารโดยเอาปกหลังเป็นตัวชูโรง นิตยสารฉบับนั้นคือนิตยสารภาพยนตร์ของกลุ่มคนทวนกระแสที่ชื่อว่า “ไบโอสโคป”
Cinemania
   เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ ‘สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ ‘เศรษฐีใหม่' หรือ ‘ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง ‘บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ‘ปม'…
Cinemania
 'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...‘ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น ‘คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...บุรุษไปรษณีย์นามว่า ‘มาริโอ โรปโปโร':::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ‘ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538…
Cinemania
  ..mad mon..::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์:: 1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep)…
Cinemania
(เขียนเมื่อ 31 ธ.ค.51)จันทร์ ในบ่อ สิ้นปีกันเสียที บรรยากาศตึงๆ ปีนี้อาจทำให้ใครหลายคนอึดอัดและทำท่าจะลากยาวไปถึงปีหน้า ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ  คนสู้ๆ กับปัญหาที่รุมเร้า แต่ถ้าเครียดมากลองผ่อนคลายกันด้วยการหาหนังดูมาสักเรื่องสองเรื่อง จะซื้อ จะเช่ามานั่งดูที่บ้านหรือจะออกไปดูตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็ได้ ลองออกจากโลกความจริงไปอยู่ในโลกอื่นสักชั่วโมงสองชั่วโมงอาจจะสบายใจขึ้นส่วนถ้าใครยังไม่รู้จะดูเรื่องอะไร ที่ไหนอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมหนังรับปีใหม่มาฝาก เป็นหนังฟรีกลางแปลงครับหลายคนคงไม่ค่อยทราบว่าที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดเทศการหนังกลางแปลงกันทุกปี ในวันที่ 7-8-9 มกราคม 2552…