Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

คนไม่มีอะไร
Carousal
เมื่อสัปดาห์ก่อน เราไปทัวร์เอโดะ ยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มเปิดประตูบ้านต้อนรับนานาอารยประเทศ กับจินหมอทะลุศตวรรษกันไปแล้ว สัปดาห์นี้ เรามาย้อนไปไกลยิ่งกว่านั้น สู่ญี่ปุ่นยุคที่ทั้งรุ่งเรืองด้วยศิลปะ และวรรณกรรม รวมทั้งยังเข้มข้นด้วยเรื่องราวการแก่งแย่งชิงดีทางการเมืองกับการ์ตูนเรื่องนี้กันเถอะค่ะ Ryo – the Miracle girl’s adventure
กวีประชาไท
เอาหัวใจฉันไปไว้ที่ไหนใครยึดไว้ ฤๅ ฉันเพียงฉงนไม่ชัดแจ้งแจ่มอารมณ์อันแปรปรนนึกเผยพ้นผุดผ่านม่านภวังค์ ฯลฯ ในเสี้ยวนึก ในหวั่น รำพันเผยระเรียดเหย หายเช้า แว่วเรือนหวังดั่งโลกเงียบ แว่วกังสดาลดังฟังนึกนี้อีกครั้งยามนั่งนอน ฯลฯ ลุกสัมผัสผืนร้าว ชีวิตร่ำดินเมืองแห้งลำนำกว่าผุดย้อนได้กินอยู่สืบถ่ายในนาครได้ถ่ายถอน ถือวาง รอยร่างไว้ ฯลฯ ในส่วนแห่งชีวิตเหนี่ยวชิดเกื้อข้างในหนั่นเลือดเนื้อละอองไหว ในน้ำค้างซึมซ่านละอองไอข้างในชื้นฉ่ำสายระรายยัง ฯลฯ แม้นหวังว้า หัวใจยังได้หวังอยู่คือยั้ง ภวังค์เกี่ยว ในเหนี่ยวรั้งรายนึกหรือ รอยผลึกแม้เกรอะกรังได้ทวนทั้ง เข็นฝ่าชีวาเชย ฯลฯ ข้างในแท้ พ่ายเผยหัวใจหวั่นถึงกี่กั้นพันธนา ฯ พันธะเอ๋ยข้างในเช้าค่ำดั่งน้ำค้างเปรยหยดไว้แย้มไหวระเหยข้างในแวว .                                     ณรงค์ยุทธ โคตรคำ
หัวไม้ story
หลังจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2007 ได้รับอนุมัติไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2550  ก็เป็นอันชัดเจนว่า นับจากนี้ไป 15 ปี ประเทศไทยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 20 กว่าโรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง (2,800 เมกกะวัตต์) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง (4,000 เมกกะวัตต์) มีทั้งที่ กฟผ.สร้างเองและการเปิดให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้า (IPP)ยังไม่นับรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอีกเป็นจำนวนมากด้วย  แผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นตัวหลัก ขณะที่มีเสียงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน นอกจากนี้กระบวนการทำแผนยังมีเสียงสะท้อนเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม เช่น การรับฟังความคิดเห็นครั้งใหญ่ๆ มีอยู่ไม่กี่ครั้ง และเป็นการอธิบายโดยวิทยากรมากกว่าจะรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ   อย่างไรก็ตาม แม้แผนจะชัดเจน แต่พื้นที่ที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโดยเฉพาะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งยังมีข้อถกเถียงชวนกังวลนั้น ยังไม่ได้ชี้ชัดว่าจะไปลงตรงไหน จนมาปีนี้ความชัดเจนค่อยๆ ปรากฏขึ้นว่ามีแนวโน้มจะเป็นพื้นที่เดิมที่เคยถูกวางไว้และพื้นที่ใกล้เคียง  000  หลังจากแผนพีดีพีอนุมัติ พื้นที่ที่จะตั้งโครงการโรงไฟฟ้าทั้งถ่านหิน และนิวเคลียร์ ยังเป็นเรื่องคลุมเครือ อาจเพราะรัฐเองก็กำลังประเมินแรงต้านในพื้นที่ว่ายังมีหนาแน่น กระทั่ง ‘ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์' อดีต รมว.พลังงานที่ดันพีดีพีฉบับล่าสุดสำเร็จก็ยังออกมาบ่นว่าว่ารัฐบาลขับเคลื่อนโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปได้ช้า ขณะที่เวลาที่วางไว้ในแผนพีดีพีก็งวดเข้าทุกที ( "ปิยสวัสดิ์สับลดค่ากลั่น 10 ปีต้องผุดนิวเคลียร์" นสพ.ข่าวหุ้น 9 มิ.ย.51) ตามแผนแล้วโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2,000 เมกกะวัตต์แรกต้องป้อนไฟสู่ระบบในปี 2563 และอีก 2,000 เมกกะวัตต์ที่เหลือจะตามมาในปีถัดมา นับเป็นเวลาที่รวดเร็วมากในการคิดและดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาจเพราะไทยพยายามเร่งฝีเท้าให้ทันเวียดนาม ซึ่งถูกเล็งว่าเป็นคู่แข่งตัวฉกาจ เพราะเวียดนามก็เริ่มผลักดันโครงการนิวเคลียร์แล้ว แต่ขอเวลาศึกษาก่อน 15 ปี ขณะเดียวกันเวียดนามก็สำรวจพบแหล่งแร่ยูเรเนียมขนาดใหญ่ในประเทศเองด้วย  สำหรับประเทศไทย ขณะนี้มีคณะทำงานขึ้นมา 5 ชุดเพื่อเตรียความพร้อมทั้งด้านบุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการประชาสัมพันธ์กับประชาชน นอกจากนี้ กฟผ.ยังเตรียมส่งหนังสือเชิญ 5 บริษัทต่างประเทศ ทั้งญี่ปุ่น สหรัฐ ฝรั่งเศส เข้าคัดเลือกเป็นที่ปรึกษาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยคาดว่าผลการศึกษาจะเสร็จภายใน 2 ปี  อย่างไรก็ตาม  นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ศึกษานโยบายพลังงานไทยมายาวนานให้ความเห็นว่า คณะกรรมการศึกษาความเหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ได้ทุ่มงบประมาณไปกว่า 100 ล้านบาท แบ่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ อาทิ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) สร้างความเข้าใจในเรื่องนี้แก่ประชาชน แต่ปัญหาคือ การดำเนินงานดังกล่าวยังไม่รอบด้าน มุ่งเน้นแต่การให้ความรู้ด้านนิวเคลียร์เท่านั้น ทั้งๆที่ประเทศไทยยังมีพลังงานทางเลือกชนิดอื่นๆ ( "ติงงบประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 100 ล้าน" เว็บไซต์ไทยรัฐ 2 ก.ค.51) ที่ผ่านมามีกลุ่มนักวิชาการและเอ็นจีโอเสนอแนวทางการปฏิบัติด้านพลังงานทางเลือกของประเทศไทยให้แก่กระทรวงพลังงาน แต่ดูเหมือนไม่ได้รับการตอบรับใดๆ จึงยังไม่มีบทสนทนาในเรื่องนี้เท่าไรนัก และน่าสนใจว่า เดชรัตน์และคณะก็กำลังจะพิมพ์หนังสือเรื่อง 10 สิ่งที่นิวเคลียร์พูดและไม่พูด เผยแพร่ในเดือนสิงหาคมนี้ เรียกได้ว่าแข่งกันทำความเข้าใจกับประชาชนเลยทีเดียว   000  ขณะที่เมื่อเร็วๆ นี้ นายกสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย "ผศ.ดร.ปรีชา การสุทธิ์" ในฐานะประธานคณะกรรมการชุดศึกษาความปลอดภัยและคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า คาดว่าพื้นที่เดิมที่เคยเตรียมไว้จะถูกนำมาทบทวนอีกครั้ง โดยเฉพาะทะเลชายฝั่งตะวันตก หรือ "เวสเทิร์นซีบอร์ด" ที่เคยมีการศึกษาไว้แล้วไล่ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี เนื่องจากมีความลึกของทะเลและมีการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานรองรับเอาไว้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือในเขตภาคใต้ฝั่งตะวันตกดังกล่าวมี "แนวรอยเลื่อนระนอง" พาดผ่าน ตั้งแต่ประจวบฯ ชุมพร ระนอง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาพฤติกรรมของ "รอยเลื่อนระนอง" หลังเหตุการณ์ "สึนามิ" เมื่อ 3 ปีก่อนว่ามีการขยับหรือไม่ ซึ่งการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปลายปีนี้ ( "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์  (จับกระแสพลังงาน)" เว็บไซต์แนวหน้า 30 พฤษภาคม 2551) ภาคใต้ตอนบนเป็นทำเลทองสำหรับโครงการโรงไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมหนักมาเนิ่นนาน และพร้อมๆ กันก็มีประวัติการต่อสู้คัดค้านของชาวบ้านในพื้นที่มาอย่างยาวนานด้วย โดยเฉพาะที่ประจวบคีรีขันธ์ ‘ทับสะแก'อีกอำเภอหนึ่งในจังหวัดประจวบฯ ก็เคยถูกเล็งไว้จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินชุดเดียวกับโรงไฟฟ้าบ่อนอก-บ้านกรูด (แห่งละ 700 เมกกะวัตต์) ซึ่งสุดท้ายทั้งบ่อนอก ทั้งบ้านกรูดถูกคัดค้านจนต้องพับโครงการไป ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าทับสะแกซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า คือ 2,000 เมกกะวัตต์ก็มีปัญหาการคอรัปชั่นของพนักงาน กฟผ. ในการซื้อที่ดิน 4,019 ไร่ โดยมีการทุจริตเป็นมูลค่า 800 ล้านบาท หรือ 40% ของมูลค่าทั้งหมดของโครงการ จนต้องหยุดชะงักไป แต่วันนี้โครงการโรงไฟฟ้าที่ทับสะแกกลับมาใหม่ และแว่วว่าอาจจะใหญ่กว่าเดิม  000           ปลายปี  2549  กฟผ.ได้ฟื้นโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแกขึ้นมาใหม่ พร้อมมีแผนจะขยายกำลังการผลิตจาก 2,000 เมกะวัตต์ เป็น 4,000 เมกะวัตต์ (5 โรง) คาดว่าจะใหญ่ที่สุดในเอเชีย          นายสถาน ช่อระหงส์ ชาวบ้านทับสะแกให้ข้อมูลว่า ถึงแม้ชาวบ้านจะเกาะติด ตามเรื่องที่กระทรวงพลังงานจนทางกระทรวงยืนยันว่าไม่มีนโยบายสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ทับสะแก แต่ในทางปฏิบัติ กฟผ.ก็ยังคงเข้ามาทำการผลักดันโครงการในรูปแบบต่างๆ และสร้างความแตกแยกกับคนในชุมชน จนบางชุมชนถึงกับต้องไล่ฝ่ายมวลชนสัมพันธ์ของ กฟผ.ออกจากหมู่บ้านไป นอกจากนี้ยังมีประเด็นของการเปลี่ยนผังเมือง "สีเขียว" เป็น "สีน้ำเงิน" เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพราะปัจจุบันร่างผังเมืองรวมชุมชนทับสะแกที่โยธาและผังเมืองจังหวัดประจวบฯ ได้นำมาขอรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนครั้งที่ 1 ได้ระบุให้พื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแกของ กฟผ.เป็นสีเขียว เพราะเห็นว่าเป็นแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจเดิมของชุมชนที่เป็นเกษตร และมีทิศทางการเติบโตด้านการท่องเที่ยวอย่างเห็นได้ชัด อยู่ห่างจากชุมชนหนาแน่นเพียง 1,500 เมตร แต่  กฟผ.ยื่นขอให้เปลี่ยนสีผังเมืองจากสีเขียวเป็นสีน้ำเงินแทน โดยอ้างว่า การใช้ประโยชน์ที่ดินนี้เป็นส่วนราชการและเป็นพื้นที่สาธารณูปโภค เพราะ กฟผ.ตีความว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นสาธารณูปโภคของรัฐ   ซึ่งเรื่องนี้ยังคงต่อสู้กันอยู่ โดยชาวบ้านในพื้นที่ยังคงรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งเพื่อคัดค้านโครงการ คาดกันว่า โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่นี้จะเดินหน้าไปคู่กับการผลักดันให้พื้นที่ประจวบฯ เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์เหล็กแห่งชาติ เน้นการผลิตเหล็กครบวงจร ซึ่งก็กำลังผลักดันกันอยู่อย่างหนักหน่วงเช่นกัน 000 ด้านภาคตะวันออกและภาคกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมหนักมาอย่างยาวนานและหนาแน่น ยังคงมีความพยายามใส่โครงการเหล่านี้เพิ่มเติมเข้าไป เช่น ที่ระยองมีการขยายโครงการปิโตรเคมีระยะ 3 ซึ่งเป็นอภิมหาโครงการด้านปิโตรเคมี รวมไปถึงโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ส่วนที่ฉะเชิงเทรา สมุทรสงครามก็มีโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เช่นกัน แม้ระดับนโยบายจะผลักดันโครงการเหล่านี้ ภาคเอกชนเองก็กำลังรีบดำเนินการ ในส่วนของคนในพื้นที่ก็มีการรวมตัวกันคัดค้านอย่างเหนียวแน่นเรียกว่าระดมพลข้ามเขตข้ามจังหวัดกันแล้ว เช่น เมื่อ 22 มิ.ย. ที่ผ่านมา แกนนำกลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าหลายแห่ง เช่น กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าจังหวัดระยอง กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าหนองแซง จ.สระบุรี กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าบางปะกง กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าราชบุรี กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าเขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา ได้เดินทางมารวมตัวกัน เพื่อประชุมหารือแนวทาง และผนึกกำลังกันในการเคลื่อนไหวต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในแต่ละท้องที่ที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบ หลังจากมีกระแสข่าวว่า สำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงพลังงานเร่งรัดให้ สำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เร่งพิจารณาอนุมัติ ผ่านอีไอเอ (EIA) ให้แก่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าภาคเอกชน 4 แห่ง ได้แก่ โรงไฟฟ้าเสม็ดเหนือ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา โรงไฟฟ้าถ่านหิน ของกลุ่มบริษัทเครือเกษตรรุ่งเรือง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา โรงไฟฟ้าราชบุรี และโรงไฟฟ้า จ.ระยอง ทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้า   000  แนวโน้มการผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหลายดูเหมือนจะเต็มไปด้วยอุปสรรค  การเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับนโยบาย ตั้งแต่จุดเริ่มต้นอาจหาจุดลงตัวยากลำบาก แต่น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่าการต่อสู้กันในบั้นปลายที่มีแต่จะยิ่งเพิ่มแรงกดดันกับทุกฝ่าย  การแก้ปัญหาที่มีอยู่เดิม เช่น กรณีของแม่เมาะ มาบตาพุด ฯลฯ อาจเป็นเรื่องไม่ง่ายนักเพราะปัญหาสะสมหมักหมมมานาน แต่ก็น่าจะเพิ่มความมั่นใจให้ผู้คนที่กำลังจะเผชิญกับโครงการในรูปแบบเดียวกันได้ ยังคงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดว่าโครงการมหึมาที่มีข้อถกเถียงกันเยอะแยะในทุกรายละเอียดนี้จะลงเอยอย่างไร ในพื้นที่ไหน ในภาวะที่ประชาชนหัวแข็งขึ้นเรื่อยๆ และไม่ยอมให้ "ผู้เชี่ยวชาญ" ผูกขาดอำนาจการกำหนดนโยบายแล้ว
การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์
   ราศีเมษ Aries (13 เมย.-13 พค.) ไพ่ใบแรกของคุณสัปดาห์นี้ 7 ดาบค่ะ ในรอบสัปดาห์นี้ขอให้คุณระมัดระวังเรื่องเกี่ยวกับการโจรกรรม ทรัพย์สินสูญหาย หรือเหตุจากเรื่องลับๆ เร้นๆ การใช้กลยุทธ์เทคนิคพลิกแพลงต่างๆ ด้วยค่ะ แต่ในบางคนอาจหมายถึงวิธีการแก้ปัญหา หรือเอาตัวรอดจากบางสถานการณ์ด้วยวิธีที่ไม่มีใครคาดคิด...แต่ได้ผลความรัก ความสัมพันธ์ 5 ถ้วยค่ะ มีความผิดหวังเล็กๆ น้อยๆ เกิดขึ้นนะคะ หรือได้อะไรมาก็ไม่สมหวังดั่งใจ มีปัญหาความสัมพันธ์ มีเรื่องเสียใจกับคนรัก มีเหตุให้ถอนใจบ่อยๆ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรมากค่ะ สถานการณ์การเงิน ราชินีเหรียญ โอกาสดีค่ะ หากคุณทำงานก็จะได้รับผลตอบแทนที่ดี หรือมีปัญหาก็จะมีผู้ให้ความช่วยเหลือ หมายถึงสถานการณ์ทางการเงินที่ราบรื่นค่ะ ธุรกิจ การงาน 6 คทา ความสำเร็จกำลังจะมาถึงค่ะ ผลการสอบ การแข่งขันต่างๆ คุณจะโชคดี แต่งานใดที่เริ่มทำในตอนนี้ก็รอไปหน่อยนะคะ อีกนาน คำเตือนหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้น The High Priestess รักซ้อนซ่อนเร้น หรือเรื่องที่ฝังอยู่ในใจลึกๆ การแบ่งแยกจากกันของสมองและจิตใจ ความรู้สึกที่คลุมเครือ
Hit & Run
  เมื่อหนุ่มน้อย "สี TOA" เขียนจดหมายถึง "ศรีบูรพา" ว่าด้วยความสับสนและอคติต่ออุดมการณ์สื่อ
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย    บางครั้งผมก็รู้สึกเบื่อหน่ายที่จะต้องหอบสัมภาระมากมายเข้าไปในโรงภาพยนตร์ปัจจุบันผมแอบสงสัยว่าเหตุใดความสุขในการชมภาพยนตร์แบบเมื่อครั้งยังเป็นเด็กจึงสูญหายไป จนเมื่อมีโอกาสชมภาพยนตร์เรื่อง ‘สะบายดีหลวงพระบาง'จึงทำให้ผมรับรู้ว่าแท้จริงแล้วความสุขในวัยเด็กของผมไม่ได้หายไปไหน แต่หนังสือ ตำรา คำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ผมแบกเอาไว้ในสมองต่างหากที่บดบังความสุขแบบที่เราคุ้นเคย 
สุมาตร ภูลายยาว
สำเนียงภาษาอีสานจากหนังเรื่อง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ฉุดให้ผมคิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับหนังขึ้นมาอีกครั้ง ผมตั้งใจเอาไว้หลายครั้งแล้วว่า อยากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ซ่อนอยู่ในเนื้อในหนังอันเป็นเรื่องราวที่ผู้กำกับหนังคนนั้นๆ ต้องการอยากให้เราเห็น ฉากทุกฉากที่ปรากฏอยู่ในหนังแทบทุกเรื่อง ล้วนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันคือความจงใจที่ผู้กำกับต้องการอยากให้เราเห็นในสิ่งที่เขาเห็น เขาจึงได้ใส่มันเข้าไปในหนัง หลังจากดู ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ จบ ผมก็มานั่งนึกว่าตัวเองได้ดูหนังอะไรบ้างที่พูดถึงแม่น้ำโขง หรือมีชาวโขงเข้าไปโลดเล่นอยู่บนจอสีขาวในโรงหนัง หากเป็นหนังที่พูดถึงเรื่องราวแม่น้ำโขงโดยตรงนั้น เรื่องแรกคงหนีไม่พ้น ‘ทองปาน’ หนังกึ่งสารคดีที่ถูกจัดสร้างขึ้นมาเมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
หากเลือกได้เราอยากจะให้ในพื้นที่ของชีวิตเติมเต็มด้วยสิ่งใด? เสื้อผ้าอาภรณ์สวยๆ งามๆ เงินทอง ความสมบูรณ์พูนสุขทางวัตถุหรือการอิ่มเต็มในจิตใจ... มีเพียงคำถามแต่ไม่มีปลายทางของคำตอบ เพราะว่าการแสวงหาความหมายในชีวิต ว่าในชีวิตหนึ่งหนึ่งคนเราเกิดมาเพื่อค้นหาหรือเสาะแสวงหาสิ่งใดมาเติมเต็มให้กับชีวิตตัวเอง ล้วนเป็นปรัชญาและเป้าหมายสูงสุดประการหนึ่งในการเกิดมามีชีวิตของคนเราทุกคน
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
แค่ตั้งชื่อก็สะดุ้งเอง แต่แน่ใจว่าต้องใช้ชื่อนี้ เพราะเหตุเกิดที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี ค.ศ. 1946 ค่ะ เป็นกลุ่มทหารปฏิวัติหรือกลุ่มกบฎ นำโดย Gusti Ngurah Rai นายทหารผู้ก่อตั้ง กองทัพปลดปล่อยอิสรภาพจากการรุกรานของประเทศอาณานิคมดัทช์ และญี่ปุ่น เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นถอนทัพออกจากบาหลี ก็เป็นโอกาสให้ดัทช์ เจ้าอาณานิคมเก่าเข้ามาครอบครองบาหลีอีกครั้ง โดยครั้งนี้ต้องการรวมบาหลีเข้ากับอินโดนีเซีย ทหารและประชาชนชาวบาหลี ซึ่งมาจากทั่วทั้งเกาะบาหลี จึงพร้อมใจกันเข้าต่อสู้กับกองทัพดัทช์ ผู้ซึ่งมีกองกำลังพร้อมอาวุธทันสมัย แต่ทหารบาหลีมีเพียงอาวุธของชาวญี่ปุ่น และไม้ไผ่อาบยาพิษเข้าต่อสู้ เพื่อปกป้องอธิปไตยของตนเอง และสละชีพเพื่ออิสรภาพในวันนั้น 20 พฤศจิกายน 1946 วันเดียวถึง 1,372 ราย พร้อมแม่ทัพ Ngurah Rai ในวัยเพียง 29 ปี
คนไม่มีอะไร
เป็นกิจกรรมที่เราช่วยกันสร้าง เป็นช่วงเวลาที่เรามีความสุข มีความทุกข์ แต่ก็อยากทำอะไรให้สังคมบ้าง ในฐานะเป็นหนึ่งในสังคม
kanis
ชาวบ้านรอบโรงไฟฟ้า IRPC ระยอง เรียกร้องการปฏิรูป EIA ใหม่   เมื่อวันนี้ 2  กรกฎาคม  2551 เวลา 18.00 น. ณ. ศาลาฟุ้งขจร  หมู่ที่ 1   ตำบลตะพง  อำเภอเมืองระยอง  จังหวัดระยอง  นายสุทธิ  อัชฌาศัย  ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก  ได้จัดการประชุมหารือ ระหว่าง ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยนายกองค์การบริหารส่วยตำบลตะพง และตัวแทนหน่วยราชการปลัดอำเภอเมืองระยอง กับชาวบ้านโดยรอบเขตประกอบการนิคมไออาร์พีซี  ประกอบด้วย ประชาชนในตำบลบ้านแลง  ตำบลนาตาขวัญ ตำบลเชิงเนิน ตำบลตะพง และ เขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 300 คน เรื่องโครงการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซ กำลังผลิต 220 เมกกะวัตต์  ที่ไออาร์พีซีกำลังมีการจ้างให้บริษัทที่ปรึกษาลงพื้นที่ทำประชาพิจารณ์ กับประชาชนในพื้นที่  และไออาร์พีซีเองก็ระดมจัดพาแกนนำชาวบ้านไปทัวร์โรงไฟฟ้าที่สระบุรี  ซึ่งการทำประชาพิจารณ์ และการพาคนไปทัวร์โรงไฟฟ้าได้ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัย  และความสับสนในการให้ข้อมูลที่เป็นจริง   ทั้งนี้นายสุทธิจึงได้นัดหมายชาวบ้าน และทางตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนหน่วยราชการในอำเภอเมืองระยอง มาร่วมหารือหากลไกในการจะเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการจัดทำ EIA ใหม่  และทำความเข้าใจที่ถูกต้องต่อกระบวนการจัดทำประชาพิจารณ์  ประชาชนโดยรอบพื้นที่ตั้งโครงการโรงไฟฟ้าของบริษัทไออาร์พีซี  ไม่ได้ติดใจในโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซ  แต่ติดใจ สงสัย และเคลือบแคลงต่อกระบวนการจัดทำ EIA กระบวนการจัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่  จึงได้เสนอขอให้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น  ที่เป็นเวทีใหญ่  โดยการเชิญผู้ได้รับผลกระทบ  ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มเข้าร่วม เช่น ประชาชนโดยรอบโครงการโรงไฟฟ้า  ตัวแทนจากกรมควบคุมมลพิษ ตัวแทนจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนักวิชาการ  สื่อมวลชน เพื่อช่วยกันระดมความคิดและให้ข้อมูลที่รอบด้านต่อประชาชน และชุมชน  ซึ่งการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่อยู่โดยรอบโครงการโรงไฟฟ้าของไออาร์พีซีที่ยังคงเสนอให้จัดเวทีรับฟังเป็นเวทีขนาดใหญ่  มีคนเข้าร่วมอย่างหลากหลายกลุ่มในครั้งนี้   ถือเป็นกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550  มาตรา 67 อย่างแท้จริง  สมควรที่โครงการขนาดใหญ่ที่จะสร้างในพื้นที่ทุกพื้นที่ในประเทศไทยต้องจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแบบเปิดกว้างนี้ให้เป็นแบบอย่าง  นายสุทธิ  อัชฌาศัย  กล่าวทิ้งท้าย

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม