Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

ชาน่า
"อันชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนพิกลนัก" คำกล่าวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ที่พวกเรารู้จักกันดีและเห็นด้วยในความหมายของประโยคนี้กันมาตั้งแต่ไหนแต่ไร อย่าบอกนะว่าคนอ่านคอลัมน์ของชาน่าไม่ชอบเพลง ถ้าชอบก็แล้วแต่ว่าใครจะถนัดแนวไหน โดยส่วนตัวของชาน่าฟังได้ทุกแนวค่ะ ไม่ว่าจะเป็นแนวตะเข็บชายแดน หรือเด็กแนว เด็กหยาม (วัยรุ่นสยาม) เพื่อชีวิต ลูกทุ่ง ลูกกรุง สากล ฟังได้ไม่เลือกแต่ก็ขึ้นอยู่กับกาละและเทศะ กะอารมณ์อีกทีหนะฮ่ะ เพลงหลายเพลงแต่งจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้น แต่งจากแรงบันดาลใจ หลายเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง ทุกเหตุการณ์ ทุกอารมณ์ ถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ ปรุงแต่งทำนอง เนื้อร้องให้เข้าเป็นจังหวะจะโคลน โดน ๆ จึงไม่แปลกที่เพลงเก่า เพลงใหม่จะโดนใจคนฟัง ไม่ว่าเพลงนั้นจะพึ่งแต่งขึ้นเมื่อวานหรือผ่านหูตั้งแต่แรกเกิด
ชนกลุ่มน้อย
วจีเอ่ยเอื้อนออกไปอาจมิใช่ดังใจรู้สึกหากแต่เราคงดำเนินต่อข้ามผ่านกาลคืนค้นหาแรกก้าวจากเริ่มต้นจนพลันหายไปในอากาศพยายามเข้าใจ...จะดำรงอยู่อย่างมีเราอย่างไร ณ ที่นั้นสบเข้าไปนัยน์ตาเธอมิใช่ใครเลยที่ฉันรู้จักดื่มด่ำความงงงันอันว่างเปล่าด้วยสำนึกที่แสนเปลี่ยวเหงาณ บัดนี้ สำหรับฉัน บางคำผุดขึ้นมาอย่างง่ายดายซึ่งฉันรู้ว่ามิมีความหมายมากมายหากเปรียบเทียบกับคำกล่าวเมื่อฅนรักได้สัมผัสเธอมิอาจรู้ว่าสิ่งใดที่ทำให้ฉันรักในเธอและฉันเองก็มิอาจรู้ว่าเธอรักสิ่งใดในความเป็นฉันอาจเป็นภาพของใครบางฅนที่เธอคาดหวังตื่นขึ้นมาอีกครั้ง ฉันมิอาจเสแสร้งใดใด ด้วยรู้ว่าแสนเปลี่ยวเหงาและใกล้ถึงจุดท้ายสุดแห่งความรู้สึกที่เราต่างรับรู้นานเท่าไหร่ที่ฉันหลับใหลนานเท่าไหร่ที่ฉันล่องลอยกับความเปลี่ยวเหงาข้ามผ่านกาลคืนนานเท่าไหร่ที่ฉันอยู่ในฝันที่อาจเป็นจริงหากฉันเพียงหลับตาและพยายามทั้งหมดใจเพื่อเป็นใครฅนหนึ่งฅนนั้นของเธอตื่นขึ้นมาอีกครั้ง ฉันมิอาจเสแสร้งใดใด ด้วยรู้ว่าแสนเปลี่ยวเหงาและใกล้ถึงจุดท้ายสุดแห่งความรู้สึกที่เราต่างรับรู้นานเท่าไหร่ที่ฉันหลับใหลนานเท่าไหร่ที่ฉันลอยล่องอย่างเปลี่ยวใจผ่านกาลคืนนั้นนานเท่าไหร่ที่ฉันคงดำเนินต่อไปเพื่อเข้าถึงยามอรุณรุ่งข้ามผ่านเสียงกระซิบ และแสงที่แปรเปลี่ยนณ ที่ที่เราต่างเอนกายเคียงข้าง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผ่านไปครึ่งทริปส์ จากกรุงเทพฯถึงเวียดนามภาคกลาง เว้ ดานังและโฮยอาน กับการเดินทางในฐานะแบ็กแพ็คเกอร์ เรากำลังวางแผนขึ้นเหนือ ฮานอย ซาปา และหมู่เกาะกั๊ตบาในอ่าวฮาลอง ก่อนจะจบทริปส์แล้วบินกลับเมืองไทย จากสนามบินนอยไบ ในฮานอย ...
คนไม่มีอะไร
ไม่ทราบว่าในโลกใบนี้มีคนเหมื่อนเราหรือเปล่า เพราะว่าการที่จะเราตั้งใจจะทำอะไรสักอย่าง แต่ก็มีอุปสรรค์เกิดขึ้นตลอด อย่างเช่นเรื่องบล็อก ทำอยู่สองวันแล้ว ไม่มีเครืองมือก็พยายามโหลดขึ้น พอมีแล้วอัพไม่ได้อีก บ้างทีก็ตลกตัวเอง บางที่ก็เศร้าเวลาโหลด พอเราคลิกไปดูผล ผลออกมามันยังไม่ขึ้นให้สักที่ เดี
kanis
ขนมไทย...เชื่อว่าเด็กวันรุ่นไทยสมัยนี้คงแทบไม่รู้จักชื่อและหน้าตาของขนมไทยโบร่ำ โบราณ ที่พอดีว่าได้ไปเจอมาจากเวบ WWW.TEENEE.COM  เห็นว่าน่าสนใจเลยนำมาฝากันที่นี่  ขอบคุณเวบ  WWW.TEENEE.COM  มา ณ ที่นี้ด้วยจ้า...............................................  ........................................................กนิษฐ์  พงษ์นาวิน2/07/51
วาดวลี
 ๑. จะมี อะไรบ้าง ยั่งยืน ? กลางวัน กลางคืน แดด ฝน ลม หนาว มนุษย์ สมมุติ ชั่วคราว ว่าเรา ครอบครอง เพื่อ "ของเรา" ๒. ไยแย่งโอบกอดอนาคต แล้วเอ่ยกล่าวโทษวันเก่า ไยถก ไยเถียง เรื่องเงา ที่ลาลับ ล่วงกับ ดวงตะวัน 
รวิวาร
ฝนมาเพียงไม่กี่ฝนเท่านั้น กิ่งสักโล้นโกร๋นก็ผลิใบกว้าง สีเขียวถูกเทระบายลงแทนสีแดง วันเว้นวันฟ้าหม่นมัว สีเทาดำปื้นเหมือนหมึกฉาบลงบนเมฆในท้องฟ้าก่อนซัดซ่าลงมาเป็นสายน้ำสีขาว เราจ้างคนมาขุดบ่อลึกลงไปอีกเมื่อปลายเมษาฯ ค่าแรงสำหรับตาน้ำใหม่คิดตามอัตราชนชั้นกลางในหมู่บ้าน (แพงกว่าปกติ) เพียงสัปดาห์ผ่าน ฝนกลับกระหน่ำลงมา บ่อเล็ก ๆ ของเราไม่เคยแห้งอีกเลย จากนั้น ลืมๆ เลือนๆ ไปบ้าง แล้วสวนกว้างก็เขียวขจีด้วยพงหญ้า เหมือนที่ภูเขา เรือกสวน ไร่นาและท้องทุ่ง ในตลาดและเพิงหญ้ารายทาง หน่อไม้แรกของปีขาวผ่อง เห็ดเผาะอ่อนๆ เยี่ยมหน้ามาในกรวยใบตองตึง ตามอย คนเลี้ยงวัวที่พาเสียงกระดึงกังวานผ่านหน้าบ้านยามย่ำค่ำของฤดูหนาวหายเข้าไปในขนัดสวนใกล้ ๆ แกกลับออกมาอีกครั้งพร้อมเห็ดตับเต่าถุงใหญ่ ค่ำคืน แมงเม่า แมงมันพากันบินมาตอมดวงไฟ แมงจอนหรือแมงกระชอนเล็บคมตัวใหญ่ก็กระโดดมากับเขาด้วย เหล่านี้เอง อาหารแผ่นดิน สายฝนปลุกโลกให้ตื่น เรียกมวลธาตุส่งพลังชีวิตให้แก่พืชพรรณ ปลุกอึ่งอ่าง กบ เขียด และสัตว์จำศีลออกมาจากใต้พิภพ ถึงเวลาเริงร่าแล้ว น้ำทิพย์จากฟ้ามีของบำรุง ต่อให้รดน้ำต้นไม้ทุกวันก็สู้ความอุดมสมบูรณ์จากสายฝนไม่ได้
ภู เชียงดาว
‘ลุ่มน้ำแม่ป๋าม’ ถือว่าเป็นลุ่มน้ำสาขาหลักที่สำคัญของแม่น้ำปิงอีกสายหนึ่งของอำเภอเชียงดาว ที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลย เมื่อย้อนทวนขึ้นไปบนความสลับซับซ้อนของต้นกำเนิดน้ำแม่ป๋าม หรือที่หลายคนเรียกกันว่า ตาน้ำ จะพบว่าอยู่บริเวณชุมชนบ้านแม่ปาคี ต.สันทราย ของ อ.พร้าว ก่อนจะลัดเลาะไหลอ้อมตีนดอยผาแดง ลงสู่หุบห้วยบริเวณบ้านป่าตึงงาม โดยมีสายน้ำย่อยอีกสายหนึ่ง คือน้ำแม่ป๋อย ได้ไหลมารวมกับน้ำแม่ป๋ามตรงสบน้ำบ้านออน ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว นอกจากนั้นยังมีลำน้ำแม่มาดอีกสายหนึ่ง ซึ่งมีขุนน้ำอยู่บริเวณป่าเชิงดอยบ้านปางโม่ ก็ได้ไหลมาสมทบกับน้ำแม่ป๋าม แล้วค่อยไหลผ่านหมู่บ้านแม่ป๋าม ก่อนไหลรวมลงไปบรรจบกับแม่น้ำปิงที่อ้อมผ่านบ้านปิงโค้ง ว่ากันว่า อนุภาคของลุ่มน้ำแม่ป๋ามนี้ได้ครอบคลุมพื้นที่หลายหมู่บ้านในตำบลปิงโค้ง และเนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ป๋ามเป็นพื้นที่ที่มีฐานทรัพยากรความอุดมสมบูรณ์ ผู้คนแถบนี้จึงมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ป๋ามมาโดยตลอด แน่นอน ลุ่มน้ำแม่ป๋าม จึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนพื้นเมืองหลายชนเผ่าโดยคนในลุ่มน้ำได้ร่วมรักษาป่า ดูแลสายน้ำ มีการจัดการทรัพยากรมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการจัดการป่าไม้ในรูปแบบป่าชุมชน การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝาย และการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อทำการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ รวมไปถึงการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ มีวิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่ธรรมชาติกันมานานเนิ่นหลายชั่วอายุคน
นกพเนจร
1 ผมพอจะเดาออกว่าอารมณ์แรกๆ ที่ผุดขึ้นเมื่อเห็นหัวเรื่องข้างบนคืออะไร ตามรูปมวยต้องเรียกว่าปลดการ์ดให้สอยคางกันง่ายดาย ซึ่งอันที่จริงผมก็รู้ชะตากรรมตัวเองดีว่าต้องเจอกับอะไรบ้าง ถ้าเขียนแบบนี้ในพื้นที่แบบนี้ บางคนอาจรู้สึกรุนแรงถึงขั้นมองผมว่าเป็น ‘ศัตรู’ ของเขา ของประชาชน และของประชาธิปไตย แต่เชื่อเถอะครับว่าผมไม่ได้คิดจะตั้งตัวเป็นศัตรูกับใครทั้งสิ้น ที่สำคัญคือผมไม่ได้กำลังจะพูดเรื่องการเมือง ออกตัวไว้ก่อนว่าผมไม่ใช่พวกซาดิสต์ แต่ถ้าใครเกิดรู้สึกทนไม่ได้ ก่นด่า หรือมองผมเป็นศัตรู ...นั่นอาจเป็นเครื่องยืนยันที่ดีต่อเรื่องราวที่ผมพบเจอและทำให้ผมงงๆ กับคำว่า ‘ประชาธิปไตย’ ‘ประชาธิปไตย’ บอกตามตรงครับว่าไม่อยากเอ่ยคำใหญ่คำโตนี้เท่าไหร่ มันเกินสติปัญญาคนจบ ม.6 อย่างผมที่จะทำความเข้าใจ จึงควรปล่อยเป็นหน้าที่ของปัญญาชนผู้มีความรู้มากมายมหาศาลให้คอยดูแลคำคำนี้จะดีกว่า
SenseMaker
เมื่อพูดถึงเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ บนโลกนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีคือตัวการอันดับต้นๆ โดยในช่วงหนึ่งศตวรรษหลังสุด ICT ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกสังคม และในวงกว้างไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ ICT ยุคแรกๆ ซึ่งได้แก่โทรเลข ตามมาด้วยโทรศัพท์ มาจนถึง ICT ในยุคปัจจุบัน นั่นคือโทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเตอร์เนตต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดต่างๆความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏการณ์ชัดเจน คือ การที่ ICT ทำให้สังคมมนุษย์ มีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการเข้าถึง ประมวลผล และจัดการข้อมูล ที่มีความรวดเร็วขึ้น (การประหยัดเวลาในการติดต่อสื่อสาร และการจัดการข้อมูล) และด้วยต้นทุนที่ต่ำลง (ลดต้นทุนที่เกิดจากการเดินทางเพื่อการติดต่อ หรือการเข้าถึงข้อมูล) ซึ่งส่งผลให้การจัดการด้านต่างๆ มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น (สามารถดำเนินการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และทันท่วงทีมากขึ้น)จากปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า ICT ได้ย่นและย่อโลกใบนี้ลง ทำให้ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค (Distanceless) อีกต่อไป นั่นคือ ไม่ว่าจะอยู่ไกลหรือใกล้ มนุษย์ก็สามารถติดต่อถึงกัน หรือสามารถเข้าถึงข้อมูล และบริการที่ต้องการได้ภายในเวลาไม่กี่วินาทีอีกทั้ง ยังก่อให้เกิดอีกหนึ่งความเชื่อที่ว่า ICT ได้ทำให้มนุษย์มีความคล่องตัว หรือมีอิสรภาพที่จะเคลื่อนที่ (Mobility) มากขึ้น เนื่องจากมนุษย์ไม่จำเป็นต้องผูกติดกับสถานที่ หรือบริเวณใดบริเวณหนึ่ง เพื่อการได้มาซึ่งความสามารถในการดำเนินกิจกรรมที่ตนต้องการ เนื่องจากมีศักยภาพในการติดต่อสื่อสาร และในการเข้าถึง ประมวลผล และจัดการข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็วจากทุกหนแห่ง (ที่เครือข่ายสื่อสารไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ หรืออินเตอร์เนตเข้าถึงได้) เพิ่มขึ้นความเชื่อทั้งสองข้างต้น ถูกสะท้อนและตอกย้ำด้วยการเกิดขึ้นของระบบบริการแบบ e ต่างๆ เช่น e-Mail e-Commerce และ e-Government และระบบแบบ m ต่างๆ เช่น m-Pay และ m-Banking โดยวัตถุประสงค์ คือ การทำให้บริการ ซึ่งในอดีตผู้ที่ต้องการจะใช้บริการต้องเดินทางไปด้วยตนเอง ณ สถานที่ให้บริการเฉพาะ มาอยู่ในรูปแบบอิเลกทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต และเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ตามลำดับอีกทั้ง ความเชื่อทั้งสองข้างต้น ยังถูกสะท้อนผ่านการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินการของสถาบันหรือองค์กรต่างๆ ทั้งในระดับภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ดังจะเห็นได้จากการเกิดขึ้นและขยายตัวของระบบ Paperless office และรูปแบบการทำงานแบบ Mobile office เป็นต้นโดยระบบ Paperless office จะเน้นไปที่การสร้าง ส่งผ่าน และจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเลกทรอนิกส์ เพื่อให้เอกสารและข้อมูลต่างๆ สามารถถูกค้นหาได้ง่าย เข้าถึงได้ในวงกว้าง และสามารถถูกนำมาใช้งานในโอกาสต่างๆ ได้อย่างทันที และในรูปแบบที่หลากหลายในขณะที่รูปแบบการทำงานแบบ Mobile office จะเน้นไปที่ความคล่องตัวในการทำงาน ซึ่งทำให้ในขณะที่พนักงานมีอิสระในการทำงานมากขึ้น (พนักงานสามารถทำงาน ได้จากหลายสถานที่ และมีช่วงเวลาทำงาน ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยไม่ขาดการติดต่อสื่อสารกับองค์กร) องค์กรยังคงความสามารถ ในการพัฒนาประสิทธิภาพ ได้อย่างต่อเนื่อง (กิจกรรมทางธุรกิจดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว มากขึ้น) ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นข้างต้น คล้ายกำลังชี้นำ ให้เราเข้าใจว่า ICT เป็นกลไกสำคัญ ที่ทำให้มนุษย์ใกล้ชิดกันมากขึ้น ทั้งจากการติดต่อสื่อสารระหว่างกันที่ทำได้ง่ายจากทุกหนทุกแห่ง และจากการแบ่งปันข้อมูลและทำงานร่วมกัน อีกทั้ง ICT ยังถูกมองว่า เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและอิสรภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล และในระดับองค์กร ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี ในขณะที่ทุกสิ่งข้างต้นเกิดขึ้นและดำเนินไป สิ่งต่างๆ ซึ่งสะท้อนความเป็นจริงในอีกมุมหนึ่งก็กำลังเกิดขึ้นและดำเนินไปเช่นกัน นั่นคือเมื่อแต่ละปัจเจกบุคคล มีศักยภาพในการติดต่อสื่อสาร และมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ ได้จากทุกหนทุกแห่ง รวมทั้งความคล่องตัว หรืออิสรภาพที่จะเคลื่อนที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมทำให้แต่ละปัจเจกบุคคล หลุดจากข้อจำกัดของระยะทาง นั่นคือไม่ถูกผูกติดกับสถานที่อีกทั้ง ด้วยความสามารถและการมีอิสรภาพที่มากขึ้นในการเลือกผู้ที่ตนต้องการจะติดต่อสื่อสาร ในการเลือกสังคมที่ต้องการจะมีปฏิสัมพันธ์ และในการเลือกบริโภคข่าวสารจากสังคมที่ตนต้องการ ผลที่ตามมา ทำให้แต่ละปัจเจกบุคคล ไม่จำเป็นต้องถูกผูกติดกับกรอบของสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่เดิม ทั้งในแง่ของกรอบความคิด ค่านิยม และวิถีการดำเนินชีวิต (เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า สังคมในแนวขนาน ซึ่งเคยกล่าวถึงในรายละเอียดในบทความแรก) เมื่อแต่ละปัจเจกบุคคลไม่ถูกผูกติดกับสถานที่ ย่อมทำให้เกิดความห่างไกลทางกายภาพระหว่างสมาชิกของสังคม ตั้งแต่ในระดับครอบครัว (สมาชิกในครอบครัว) ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ (ประเทศชาติ) ผลที่ตามมา ทำให้สังคมขาดการมีประสบการณ์ร่วมกัน ซึ่งทำให้ปริมาณ การปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในสังคมลดลง นอกจากนั้นยังทำให้การรับรู้ทางกายสัมผัส เช่น การจับมือ การโอบกอด หรือการส่งผ่านความรู้สึก จากการปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพอื่นๆ ระหว่างสมาชิกในสังคมลดน้อยลง ซึ่งในปัจจุบัน เทคโนโลยียังไม่สามารถเข้ามาทดแทนความอบอุ่น หรือรายละเอียดตรงนี้ได้ นั่นหมายถึง ในขณะที่ ICT ย่นและย่อโลกใบนี้ลง และทำให้ระยะทางไม่มีความหมายนั้น ICT กลับเพิ่มระยะทาง ระหว่างสมาชิกภายในสัมคมต่างๆ ทั้งในรูปแบบของความห่างไกลกันทางกายภาพ ซึ่งเป็นผลจากการมีอิสรภาพในการเคลื่อนที่มากขึ้น และในรูปแบบของความแตกต่างกันทางความคิด ค่านิยม และวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของความสามารถ และอิสรภาพในการเข้าถึงและเลือกรับข่าวสาร เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จึงเกิดข้อสงสัยที่น่าสนใจที่ว่า สรุปแล้ว ICT ช่วยให้ครอบครัวซึ่งเป็นหน่อยย่อยที่สุดทางสังคม มีความอบอุ่นขึ้น หรือผลักดันให้เกิดความแตกแยก กับอีกข้อสงสัยที่ว่า ตกลงแล้ว ICT ช่วยลดหรือเพิ่มแรงเสียดทานในการดำรงอยู่และการพัฒนาขององค์กรทางสังคมต่างๆ จากปรากฏการณ์และข้อสงสัยข้างต้น จึงนำไปสู่คำถามที่ว่า ความเชื่อที่ว่า ICT ทำให้มนุษย์เราใกล้ชิดกันมากขึ้น หรือความเชื่อที่ว่า ICT ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและอิสรภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ ยังคงเป็นจริงอยู่รึเปล่า ปรากฏการณ์ ข้อสงสัย และคำถามทั้งหมด ที่ข้าพเจ้าตระหนัก และพยายามฉายให้เห็นข้างต้น ทำให้ข้าพเจ้าเชื่อว่า ICT เป็นตัวการที่ผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ทางสังคม ที่มี “ความย้อนแย้ง” ในตัวของมันเอง โดยนอกจากประเด็นความย้อนแย้งข้างต้นแล้ว ICT ยังเป็นตัวการผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ทางสังคมที่มีความย้อนแย้งในอีกหลายมุมมอง ดังนี้ ในมุมของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แน่นอนว่า ICT ทำให้มนุษย์มีความจำเป็นในการเดินทางน้อยลง เนื่องจากสามารถใช้เทคโนโลยีทดแทนได้ แต่ในขณะเดียวกัน ด้วยความคล่องตัว และอิสรภาพในการเคลื่อนที่ ที่ได้รับมาจาก ICT ทำให้มนุษย์กลับมีความปรารถนา และความสามารถที่จะเดินทางอย่างอิสระมากขึ้น เมื่อมองจากมุมของ ศักยภาพทางเทคโนโลยี ICT ได้เปิดโอกาสให้มนุษย์ มีรูปแบบชีวิตที่มีอิสระมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน เพราะความเจริญทางเทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์เสียความเป็นส่วนตัวจากความสามารถที่จะถูกตรวจสอบ และถูกติดตามได้ตลอดเวลา หากมองในมุมของความหลากหลาย ดูเหมือนว่า ICT ได้ทำลายเส้นกั้นเขตแดนทางกายภาพต่างๆ ทำให้เกิดการหลั่งไหลของข้อมูล วัฒนธรรม แนวความคิดข้ามพรมแดน ซึ่งในท้ายที่สุด ICT น่าจะเป็นตัวการสำคัญในการบ่มเพาะความหลากหลายในหลายๆ ด้านของสังคมหนึ่งๆ แต่เมื่อมองในระดับสังคมขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งได้แก่สังคมโลก จะเห็นว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรม และแนวความคิดต่างๆ ของสังคมขนาดย่อยทั่วโลกถูกทำลายลง พร้อมกับการเกิดขึ้นของกระบวนการโลกาภิวัฒน์ หรือการมุ่งสู่การมีมาตรฐานและวัฒนธรรมเดียว ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะเป็นจุดเริ่ม ที่ทำให้ทุกท่านได้ตระหนักและระมัดระวังว่า ในขณะที่ท่านใช้ ICT เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ผลลัพท์ที่ย้อนแย้ง อาจจะกำลังเกิดและดำเนินไปพร้อมๆ กัน จงอย่าลืมว่า “ในขณะที่ ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย แต่ก็กลับทำให้เกิดผลลัพธ์ทางสังคมที่ย้อนแย้งอย่างน่าฉงน”
dinya
ใครกำลังรู้สึกเหมือนฉันไหมว่า ความรุนแรงและมหันตภัยไร้ระเบียบ กำลังรอถล่มเราอยู่? ไม่รู้จะพูดเกินเหตุไปไหมนะ ไม่ถึงกับหวาดผวา แต่ว่าหวั่นนิดๆ หลังจากเกิดพายุนาร์กิสถล่ม แผ่นดินไหวที่จีน น้ำท่วมต่อมา แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น แล้วตอนนี้ยังมีพายุที่ฟิลิปปินส์อีก เชื่อว่าตัวเลขผู้เสียชีวิต 87,000 คนและสูญหายอีก 5 ล้านคนจากแผ่นดินไหวที่จีน ยังเป็นเรื่องที่ช็อกเราอยู่ จนน่าตั้งคำถามว่า ก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหวนั้น มีอะไรเตือนล่วงหน้ากันบ้างไหม ? ว่ากันว่า ลางสังหรณ์ หรือ Omen ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้น เป็นสิ่งที่ใครหลายๆ คนที่จีน ใช้เป็นข้อเสนอให้มีการหยุดงานเพื่อเตรียมรับมือกับธรณีพิบัติ แต่มันก็เป็นแค่ ลางสังหรณ์ ไม่มีอะไรยืนยัน คำขอนั้นก็เลยถูกปฏิเสธไปเสีย เลยจะมาชวนกันดูและสังเกตถึง 10 วันก่อนที่จีนจะพังพินาศกันดีกว่า ว่ามีอะไรกันบ้าง เผื่อจะนำมาเป็นแนวทางการสังเกตในบ้านเราบ้าง
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท และค่าใช้จ่ายนี้กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แสดงว่า ค่าอาหาร การศึกษา ฯลฯ ของเราลดลง

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม