กรรมกรและชาวนา
อันโตนิโอ กรัมชี่ (1919)
---------------------------------------------
มาจาก : L’Ordine Nuovo 2 สิงหาคม 1919
แปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก : โดย Michael Carney
แปลเป็นภาษาไทย : โดย จักรพล ผลละออ 2017
---------------------------------------------
ท่ามกลางช่วงเวลาของสงครามและเหตุผลของสงคราม รัฐอิตาลีได้เสแสร้งว่าตัวเองอยู่ท่ามกลางการรับผิดชอบต่อการควบคุมการผลิตและการกระจายสินค้าและวัตถุดิบ นี่ทำให้เราตระหนักถึงเรื่องรูปแบบของการไว้วางใจต่ออุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ รูปแบบของการจดจ่อกับวิถีการผลิตและการแลกเปลี่ยนและการทำให้เกิดปัจจัยการขูดรีดชนชั้นกรรมาชีพและพวกกึ่งชนชั้นกรรมาชีพอย่างเท่าๆกันซึ่งจะนำไปสู่ประสิทธิภาพของการปฏิวัติ มันเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะทำความเข้าใจลักษณะธรรมชาติโดยทั่วของสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นอยู่โดยปราศจากการคำนึงถึงปรากฎการณ์ที่กล่าวมาและผลพวงด้านความคิดที่เกิดจากปรากฎการณ์เหล่านั้น
ในกลุ่มประเทศทุนนิยมล้าหลังอย่างเช่น รัสเซีย อิตาลี ฝรั่งเศส และสเปน นั้นมีการแบ่งแยกระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบทอย่างชัดเจน การแบ่งแยกระหว่างเมืองกับชนบท กรรมกรและชาวนา ในภาคเกษตรกรรมหรือชนบทนั้นรูปแบบทางเศรษฐกิจยังคงเป็นรูปแบบศักดินาอย่างแท้จริงและสอดคล้อง/ส่งผลถึงระบบความคิดของชาวนาด้วย ความคิดสมัยใหม่เรื่องทุนนิยม-เสรีนิยมนั้นยังไม่ได้เป็นที่รู้จักในชนบท สถาบันทางเศรษฐกิจและการเมืองเองก็ไม่ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในรูปแบบของหมวดหมู่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการของการพัฒนาและจะนำไปสู่การล้มล้างรูปแบบของสถาบันแบบเก่าเพื่อสถาปนารูปแบบทางสังคมใหม่ที่ดียิ่งกว่าเข้าแทนที่โดยธรรมชาติ ในความเป็นจริงกลุ่มเจ้าที่ดินขนาดใหญ่ยังคงอยู่และอยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ของการแข่งขันเสรีด้วย ในขณะที่รัฐสมัยใหม่ก็สามารถยอมรับแก่นของระบบศักดินานี้ไว้ หลกเกณฑ์ทางกฎหมายจำนวนมากถูกตราขึ้นเพื่อรักษาการดำรงอยู่ของระบบศักดินา และเพื่อรักษากลุ่มอภิสิทธิ์ชนของระบบศักดินา ส่วนระบบความคิดของชาวนาในชนบทก็ถูกหยุดให้เชื่อในเรื่องความจริงที่พวกเขาเป็นเพียงข้าติดที่ดิน แน่นอนว่าอาจจะมีบ้างที่ชาวนาบางคนทำการต่อต้านหรือมีปัญหากับ “เจ้านาย” หรือ “เจ้าที่ดิน” ในบางครั้ง แต่ทว่าพวกเขาไม่สามารถจะขยับความคิดตัวเองไปสู่การเข้าใจว่าตัวของพวกเขาคือส่วนหนึ่งของชนชั้นและความขัดแย้งภาพรวม (ระหว่างกลุ่มของผู้ขูดรีดที่ถือครองปัจจัยการผลิต และกลุ่มผู้ถูกขูดรีดคือชนชั้นกรรมาชีพ) และไม่สามารถจะพัฒนาการปฏิบัติการเชิงระบบและการต่อสู้อันมั่นคงเพื่อจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองในสังคมได้
ระบบความคิดของชาวนานั้นอยู่ภายใต้ปัจจัยและไม่สามารถควบคุมได้ ความรู้สึกและอารมณ์ของพวกเขายังคงสับสนและพัวพันอยู่กับระบบการปกป้องการขูดรีดเพียงเพราะความทระนงตนที่ปราศจากตรรกะที่ต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมในการแยกแยะความแตกต่างและการกลายเป็นทาส การต่อสู้ทางชนชั้นในชนบทจึงก่อตัวขึ้นด้วย การโจรกรรม การหักหลัง การเผาทำลายพื้นที่ การทำลายปศุสัตว์ การลักพาตัวผู้หญิงและเด็ก และการโจมตีที่ทำการเทศบาล ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงพื้นฐานของการก่อการร้ายอันปราศจากผลลัพธ์อันมั่นคงและมีประสิทธิภาพ พูดอย่างเป็นจริงที่สุดระบบความคิดของชาวนานั้นถูกลดลงให้เหลือเพียงผลรวมขนาดเล็กของความรู้สึกพื้นฐานซึ่งเกิดขึ้นจากเงื่อนไขทางสังคมที่มาจากรัฐแบบรัฐสภา-ประชาธิปไตย ชาวนานั้นถูกปล่อยให้อาศัยอยู่ภายใต้ความเมตตาของเจ้าที่ดิน พวกประจบสอพลอ และพวกข้าราชการฉ้อฉล ความกังวลหลักของชาวนานั้นจดจ่ออยู่กับการเอาชีวิตรอดไปวันๆจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น จากการลงโทษอย่างโหดร้ายทารุณของพวกเจ้าที่ดินและพวกข้าราชการ ชาวนานั้นอาศัยอยู่ในพื้นที่นอกการรองรับของกฎหมายเสมอมา พวกเขาไม่มีทั้งสิทธิของบุคคลตามกฎหมาย ไม่มีความคิดเรื่องปัจเจกบุคคล พวกเขาคงเหลือเพียงความคิดแบบอนาธิปไตย เป็นเสมือนหน่วยอิสระเล็กๆท่ามกลางกระแสความวุ่นวายโกลาหล พวกเขายึดถือเพียงแต่ความกลัวต่อพวกเจ้าหน้าที่และผีปิศาจ พวกเขาไม่เข้าใจต่อเรื่องการมีวินัย พวกเขามีความอดทนและยืนหยัดในการต่อสู่ระดับปัจเจกบุคคลเพื่อเสาะหาผลไม้อันขาดแคลนในธรรมาชาติมาเพื่อประทังชีวิต พวกเขาสามารถสร้างการเสียสละอันยิ่งใญ่เพื่อครอบครัวของเขา แต่พวกเขาไม่สามารถทนรอต่อการต่อส้างชนชั้นได้ และไม่สามารถจัดวางหรือก่อตั้งความมุ่งหมายสำหรับการต่อสู้อย่างเป็นระบบได้
เป็นเวลากว่าสี่ปีในสงครามและการนองเลือดท่ามกลางสนามเพลาะได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในระบบคิดของชาวนา ความเปลี่ยนแปลงนี้เห็นได้อย่างชัดเจนในรัสเซียและมันยังเป็นเงื่อนไขโดยธรรมชาติของการปฏิวัติอีกด้วย ซึ่งการปฏิวัตินั้นไม่ได้ถูกนำพามาโดยลัทธิอุตสาหกรรมนิยมและการพัฒนาโดยทั่วไปของมัน หากแต่ถูกนำมาโดยสงคราม สงครามได้ผลักดันให้ประเทศทุนนิยมล้าหลังจำเป็นจะต้องจัดหาเครื่องจักรเข้ามาใช้ในวิถีการผลิตเพื่อจะเกณฑ์คนงานเข้าสู่การเป็นทหารสำหรับการทำสงครามของประเทศ ในกรณีรัสเซียสงครามได้นำพาปัจเจกบุคคลจากทั่วทุกสารทิศของประเทศมารวมกันและเข้าร่วมสงครามอย่างไม่ขาดสายเป็นปีๆภายใต้คำว่าการเสียสละ ซึ่งมาพร้อมความตาย ในระดับที่เท่าๆกัน ผลกระทบทางความคิดที่ต่อเนื่องจากสงครามนั้นส่งผลที่ยืนยงและกว้างขวางขึ้นอย่างคาดไม่ถึง
ความหยิ่งทระนงของปัจเจกบุคคลเริ่มลางเลือนไป ขณะที่จิตสำนึกเรื่องการรวมตัวกันได้ก่อรูปร่างขึ้น ความรู้สึกนึกคิดถูกทำให้เท่ากัน และพฤติกรรมอันมีวินัยได้ถูกสร้างขึ้น ชาวนาเริ่มเข้าใจถึงรัฐในความซับซ้อนอันยิ่งใหญ่ ในฐานะอำนาจอันยิ่งใหญ่ที่ไม่อาจจะวัดได้ ในฐานะโครงสร้างอันซับซ้อน พวกเขาเข้าใจโลกว่ามันไม่ใช่สิ่งของขนาดใหญ่ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้และไม่ใช่เพียงสถานที่คุมขังอันแออัดยัดเยียดราวกับหอคอยโบสถ์ในหมู่บ้าน แต่เข้าใจภายในรูปธรรมของรัฐและประชาชน ระหว่างผู้เข้มแข็งในสังคมกับผู้อ่อนแอ ระหว่างกองทัพและเครื่องจักร ระหว่างคนร่ำรวยกับคนยากจน การเชื่อมโยงความร่วมมือจะเกิดขึ้น หรือไม่ก็ต้องรอการผ่านเวลาเป็นทศวรรษในการสะสมประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์อันเกิดจากการต่อสู้ที่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งช่วงเวลาสี่ปีท่มกลางเลือดและโคลนในสนามเพลาะนั้น โลกแห่งจิตวิญญาณได้ปรากฎขึ้นอย่างกระตือรือล้นที่จะยืนยันตัวเองในสถาบันและรูปแบบทางสังคมอย่างถาวร
ด้วยเหตุนี้มันจึงเดขึ้นที่รัสเซียเบื้องหน้าสภาผู้แทนทางการทหาร ทหารชาวนาจึงจะกระตือรือล้นที่จะร่วมมือกันในโซเวียตเปโตรกราดและมอสโคว และในศูนย์กลางอุตสาหกรรมรัสเซียแห่งอื่นๆ อันนำมาสู่การได้มาซึ่งจิตสำนึกร่วมของชนชั้นแรงงาน เมื่อเป็นเช่นนี้ กองทัพรัสเซียจึงปลดประจำการและเหล่าทหารก็ได้กลับสู่ที่ทำงานเดิมของพวกเขา อาณาเขตอันกว้างใหญ่ของรัสเซียก็จะถูกเชื่อมโยงกันด้วยเครือข่ายของสภาท้องถิ่นอันเป็นกลไกพื้นฐานสำหรับดารสร้างสังคมใม่เพื่อประชาชนรัสเซีย ภายใต้รูปแบบทางความคิดใหม่นี้จะทำให้เกิดการเผยแพร่แนวคิดคอมมิวนิสต์ผ่านเขตเมืองอุตสาหกรรม อันจะทำให้เกิดการส่งเสริมและการยอมรับผ่านประสบการณ์ร่วมของการปฏิวัติ
เงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ในอิตาลีนั้นไม่ได้แตกต่างจากเงื่อนไขของการปฏิวัติในรัสเซียเลย ปัญหาในการรวมตัวกันของมวลชนกรรมกรและชาวนานั้นแสดงออกให้เห็นในรูปแบบเดิมๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นในปฏิบัติการของรัฐสังคมนิยมและจะก่อตั้งขึ้นบนความคิดใหม่ในชีวิตส่วนรวมท่ามกลางสนามเพลาะ
เกษตรกรชาวอิตาลีจำเป็นจะต้องเริ่มปฏิบัติการเปลี่ยนผ่านอย่างรุนแรงเพื่อหลีกหนีออกจากวิกฤตที่เกิดจากสงคราม การทำลายปศุสัตว์นั้นบีบบังคับให้การผลิตต้องหันไปใช้เครื่องจักร บีบบังคับให้เกิดการเปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรเข้ามาแทนที่แรงงานอย่างรวดเร็วในทุกพื้นที่ที่มีความพร้อม แต่การเปลี่ยนผ่านนั้นไม่อาจจะเกิดได้ภายใต้ระบบทรัพย์สินส่วนบุคคลที่ปราศจากภัยพิบัติ ในขณะที่การเปลี่ยนผ่านนี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีเลี่ยงได้ในรัฐสังคมนิยมภายใต้ผลประโยชน์ของชาวนาและกรรมกรที่รวมตัวกันเป็นหน่วยทางเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ การนำเครื่องจักรมาใช้แทนที่ในกระบวนการการผลิตย่อมจะก่อให้เกิดวิกฤตเรื่องคนว่างงาน มีเพียงความยืดหยุ่มของตลาดแรงงานที่จะสามารถเอาชนะได้อย่างช้าๆ ในวันนี้เงื่อนไขของการทำงานได้เปลี่ยนไปอย่างรุนแรง แรงงานว่างงานจากภาคการเกษตรกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่อาจจะแก้ไขได้เพราะแรงงานไม่สามารถย้ายถิ่นฐานเพื่อเปลี่ยนแปลงงานได้ การนำเครื่องจักรมาใช้ในภาคการเกษตรจะเกิดขึ้นได้ก็เพียงแต่จากความยินยอมพร้อมใจของชาวนายากจนผ่านรูปแบบของเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพในสภาของกรรมกรอุตสาหกรรมและชาวนา
กรรมกรโรงงานและชาวนายากจนคือสองกลุ่มพลังสำคัญของการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพ สำหรับพวกเขาแล้วคอมมิวนิสต์ได้นำเสนอความจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้นั่นคือการเสนอชีวิตใหม่และเสรีภาพ การดำเนินกิจกรรมของระบบทรัพย์สินส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่องนั้นย่อมจะขยับเข้าใกล้ความพินาศอยู่แล้วโดยธรรมชาติ อันจะทำลายล้างทุกอย่างจนกระทั่งชีวิตของผู้คน พวกเขาเป็นกลุ่มกำลังที่ไม่อาจจะลดกำลังลงได้ คือความต่อเนื่องของความกระตือรือล้นต่อการปฏิวัติ คือเจตจำนงค์อันแข็งแกร่งที่จะปฏิเสธการประนีประนอม คือความก้าวหน้าที่จะผลักดันการปฏิวัติให้เกิดขึ้นจริงอย่างไม่โอนอ่อน โดยไม่มีทางเสียขวัญให้กับความพ่ายแพ้ในบางครั้งคราว และจะไม่ตกอยู่ภายใต้ภายมายาของชัยชนะเล็กๆน้อยๆ
พวกเขาคือกระดูกสันหลังของการปฏิวัติ คือกองพันเหล็กของกองทัพประชาชนที่จะรุดหน้าไปทำลายอุปสรรคด้วยการระเบิดออกหรือปิดล้อมพวกมันด้วยคลื่นมนุษย์ที่จะทำลายอุปสรรคเหล่านั้นลงด้วยความมุมานะ ความเสียสละ อย่างไม่ย่อท้อ คอมมิวนิสต์คือรูปแบบทางวัฒนธรรมของพวกเขา มันคือระบบของเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ซึ่งพวกเขาจะได้รับความเป็นตัวเอง เกียรติภูมิ วัฒนธรรม ตลอดจนพวกเขาจะกลายเป็นจิตวิญญาณแห่งการสรรสร้างความก้าวหน้าและความเจริญงอกงาม
งานของการปฏิวัติมีโอกาสที่จะสำเร็จตราบเท่าที่มันเริ่มต้นวางรากฐานของตัวมันเองบนความจำเป็นของการดำรงอยู่แ