Skip to main content

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ gramsci

 

มนุษย์ หรือเครื่องจักร

Antonio Gramsci 1916

แปลเป็นภาษาไทยโดย จักรพล ผลละออ 2018

 

หัวข้ออภิปรายสั้นๆซึ่งถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปรายกันในการประชุมสภาครั้งล่าสุด อันเป็นการอภิปรายกันระหว่างสหายและเหล่าผู้แทนของเรา วางอยู่บนหัวข้อเรื่องการวางแผนสำหรับการสร้างการฝันฝนเพื่อความเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีคุณค่าคู่ควรกับการแสดงความเห็น และถึงแม้ว่ามันจะถูกทำให้มีเนื้อหาที่ค่อนข้างสั้น คือมีเพียงรายงานสรุปออกมาอย่างย่นย่อ ความเห็นหนึ่งอันโดดเด่นของสหายเรานามว่า Zini กล่าวว่า (‘เมื่อโครงการนี้จะกลายไปเป็นการฝึกฝนสำหรับประชาชนทั่วไปแล้ว มุมมองด้านการทำงานและมุมมองด้านมนุษยธรรมในปัจจุบันย่อมจะยังคงตกอยู่ภายใต้ความขัดแย้ง ซึ่งเราจำเป็นจะต้องควบรวมและผนวกมันเอาไว้ให้เป็นปึกแผ่นเดียวกัน แต่ขณะเดียวกันนั้นเราก็จะต้องไม่หลงลืมว่าเบื้องหลังของสิ่งที่เรียกว่า แรงงาน นั้นมันยังคงมีสิ่งที่เรียกว่า มนุษย์ อยู่เบื้องหลัง และเราจะต้องไม่ลบล้างความเป็นมนุษย์ออกจากแรงงาน เพียงเพื่อจะสร้างความเป็นไปได้ในการขยายขอบฟ้าทางจิตวิญญาณของแรงงาน เหมือนเช่นการที่เราสามารถจะทำให้แรงงานกลายเป็นทาสได้ ผ่านการทำให้เขากลายเป็นเพียงเครื่องจักร’) และความเห็นของ Sincero สมาชิกสภาซึ่งประกาศต่อต้านปรัชญาว่า (ปรัชญานั้นจะสามารถค้นพบศัตรูของมันได้เฉพาะเมื่อมันได้สร้างคำประกาศซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มผลประโยชน์ที่ชัดเจน) ซึ่งไม่ใช่เพียงเรื่องของห้วงเวลาแห่งความขัดแย้งซึ่งผูกพันกันจนเกิดขึ้นจากยุคสู่ยุค หากแต่มันเป็นการปะทะกันที่สำคัญอย่างยิ่งระหว่างประชาชนผู้ซึ่งยึดถือหลักการขั้นพื้นฐานที่แตกต่างกัน

1.พรรคการเมืองของเรานั้นยังไม่ได้ทำการตัดสินใจวางเค้าโครงของโครงการอบรมศึกษาซึ่งแตกต่างจากการศึกษาตามระบบอย่างชัดเจน จนกระทั่งถึงตอนนี้เองพวกเราก็ยังคงพึงพอใจที่อยู่ภายใต้หลักการทั่วไปข้อหนึ่งนั่นคือ ความต้องการการศึกษา ไม่ว่ามันจะเป็นเพียงการศึกษาระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ หรือระดับที่สูงยิ่งๆขึ้นไป นี่คือหลักการซึ่งเราได้ทำการนำเสนอชี้แจง และทำการสนับสนุนหลักการนี้ด้วยขุมกำลังและอำนาจ เราสามารถมั่นใจได้ว่าการตกต่ำลงของอัตราการรู้หนังสือในอิตาลีนั้นอาจจะไม่ได้ลดลงมากเช่นนี้หากว่ามันมีกฎหมายสำหรับกำหนดการศึกษาภาคบังคับ หากแต่ชีวิตในเชิงจิตวิญญาณนั้นโดยตัวมันเอง การตระหนักถึงความต้องการบางอย่างที่เฉพาะเจาะจงในแง่มุมต่อชีวิต ซึ่งโฆษณาชวนเชื่อของนักสังคมนิยมนั้นรู้ดีว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะปลุกความคิดเช่นนี้ขึ้นมาได้ในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพอิตาเลียน แต่ทว่านี่ก็คือทั้งหมดที่เราได้ทำแล้ว สถานศึกษาภายในประเทศของเรายังคงเป็น แบบที่มันเป็นตามธรรมชาติ คือเป็นสถานศึกษาอันเป็นสถาบันของพวกกระฎุมพี กล่าวในภาษาที่แย่ที่สุด  โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และโรงเรียนมัธยมทั้งหมดซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ ซึ่งทำให้มันได้รับการสนับสนุนผ่านภาษีของประชาชน ผ่านภาษีที่ผู้จ่ายคือชนชั้นกรรมาชีพ หากแต่ผู้ที่สามารถเข้ารับการศึกษาได้นั้นกลับมีเพียงบรรดาลูกชายและลูกสาวของพวกกระฎุมพี ผู้ที่มีความสุขสนุกสนานอยู่กับการได้รับการศึกษาที่จะช่วยปูพื้นฐานให้พวกเขาสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไปอีกได้ ในขณะที่ลูกหลานของชนชั้นกรรมาชีพ ต่อให้พวกเขาจะมีสติปัญญาชาญฉลาดถึงเพียงใดก็ตาม หรือต่อให้พวกเขามีคุณสมบัติเพียบพร้อมเหมาะสมสำหรับคุณสมบัติขั้นพื้นฐานในการจะเข้ารับการศึกษาได้ แต่พวกเขาก็ถูกบีบบังคับให้ใช้ความสามารถของพวกเขาในการแสวงหาความรู้ทางอื่น นั่นคือกลายไปเป็นพวกหัวขบถนอกรีต หรือไม่ก็ต้องกลายเป็นคนที่แสวงหาความรู้เอาเอง หรืออาจจะกล่าวได้ว่า (นอกจากเหนือจากข้อยกเว้นบางประการแล้ว) ลูกหลานของชนชั้นกรรมาชีพนั้นถูกบีบบังคับให้กลายเป็นเพียง ครึ่งมนุษย์ (half man) คือผู้ไม่สามารถจะใช้จ่ายเงินเพื่อเข้ารับการศึกษาตามระบบของโรงเรียนได้ ความรู้นั้นกลายไปเป็นสิทธิพิเศษ การไปโรงเรียนกลายเป็นสิทธิพิเศษ และเราไม่เคยต้องการให้มันกลายเป็นเช่นนี้ เยาวชนทุกคนควรจะต้องได้เข้าสู่ระบบการศึกษาและได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม รัฐนั้นไม่ควรเลือกจ่ายเงินอุดหนุนให้กับโรงเรียนเพียงเพื่อสนับสนุนคนแค่บางกลุ่ม หรือสนับสนุนเด็กบางกลุ่มเพียงเพราะว่าพวกเขาเป็นลูกๆของพวกคนรวย ความเท่าเทียมกันจะทำให้เด็กที่มีความเฉลียวฉลาดมากกว่าค่าเฉลี่ยจะไม่ถูกกีดกันออกจากระบบเพียงเพราะว่าพวกเขาเป็นลูกหลานของชนชั้นกรรมาชีพ การศึกษาระดับกลางและระดับสูงนั้นควรจะเป็นของสำหรับผู้ที่ได้แสดงให้เห็นว่าพวกเขานั้นมีความสามารถคู่ควรกับการเข้าศึกษา ถ้าหากว่านี่นับเป็นประโยชน์โดยทั่วไปหรือแม้กระทั่งต่อให้พวกเขาจะได้รับการสนับสนุนและการปกครองจากรัฐ มันก็ยังคงถือเป็นผลประโยชน์โดยทั่วไปที่ผู้ที่มีความฉลาดมากพอควรจะได้รับโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาไม่ว่าพวกเขาจะมีฐานะทางเศรษฐกิจแบบไหนก็ตาม ความเสียสละของส่วนรวมนั้นย่อมจะได้รับความเป็นธรรม หากว่าผู้ที่ได้รับผลจากการเสียสละนี้คือคนที่คู่ควรได้รับมัน ความเสียสละของคนส่วนรวมนั้นย่อมจะเป็นไปเพื่อสร้างการปลดภาระทางเศรษฐกิจให้กับผู้ที่ทำการศึกษา เพื่อที่พวกเขาจะได้ใช้เวลาไปกับการศึกษาหาความรู้อย่างจริงจังที่สุด.

2.ชนชั้นกรรมาชีพนั้นถูกกีดกันออกมาจากการศึกษาระดับกลาง และระดับสูง อันเนื่องมาจากเงื่อนไขทางสังคมซึ่งหมายถึงว่ามันมีการใช้ระบบแบ่งงานกันทำภายในหมู่คนงาน ในรูปแบบที่ผิดธรรมชาติอย่างที่สุด กล่าวคือมันไม่ใช่การแบ่งงานกันทำที่วางรากฐานอยู่บนความสามารถส่วนบุคคลของแรงงานและนั่นทำให้เกิดความสูญเสียและความเสื่อมถอยในการผลิต ชนชั้นกรรมาชีพนั้นจำเป็นจะต้องหันกลับไปหาสถานศึกษาทางเลือก ซึ่งเป็นสถานศึกษาเพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ หรือผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคแทน บรรดาโรงเรียนเทคนิคเหล่านี้ล้วนก่อตั้งขึ้นบนรากฐานแบบประชาธิปไตยในสมัยของ Casati หากแต่ด้วยบทบัญญัติทางการกฎหมายเรื่องค่าใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นทำให้มันเกิดการเปลี่ยนผ่านของโรงเรียนที่ทำลายแก่นแท้อันเป็นหัวใจสำคัญของโรงเรียนไป และท้ายที่สุดแล้วในปัจจุบันนี้มันก็ได้กลายไปเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งของโรงเรียนแบบทั่วไป อันจะสร้างผลผลิตที่ไร้เดียงสาเพื่อรองรับความคิดครอบงำแบบกระฎุมพีน้อย (petty-bourgeoisie) และเดินเตร่รอหางาน ค่าธรรมเนียมในการสมัครเข้าเรียนซึ่งมักจะปรับตัวสูงขึ้นเป็นประจำ และวัตรปฏิบัติประจำวันอันเป็นกฎที่โรงเรียนเสนอเข้ามานี้ ทำให้บรรดาสถานศึกษาเหล่านี้กลายไปเป็นบางสิ่งบางอย่างที่เป็นสิทธิพิเศษ ซึ่งคนจำนวนมากของชนชั้นกรรมาชีพนั้นถูกกีดกันออกจากสถานศึกษานี้โดยอัตโนมัติ อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอน ชีวิตที่ผันผวนจากรายได้ค่าจ้างนั้นบีบบังคับให้พวกเขาต้องเลือกเส้นทางอื่น วิถีชีวิตที่ไม่สามารถจะเข้าถึงระบบการศึกษาได้

3.ชนชั้นกรรมาชีพนั้นต้องการสถานศึกษาที่เป็นกลาง สถานศึกษาที่มอบโอกาสให้กับเด็กๆที่จะได้รับการศึกษาและเรียนรู้ที่จะเติบโตมาเป็นมนุษย์ซึ่งเพียบพร้อมด้วยความรู้ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเอกลักษณ์หรือคุณลักษณะส่วนบุคคล มันจะต้องเป็นสถานศึกษาที่เปี่ยมไปด้วยความมีมนุษยธรรม ดังเช่นสถานศึกษาที่เคยถูกตั้งใจจะก่อตั้งขึ้นในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) มันต้องเป็นสถานศึกษาที่ไม่ขีดกรอบอนาคต หรือวางกรงขังเจตจำนง สติปัญญา จิตสำนึกของเด็กๆเพียงเพื่อจะกำหนดโชคชะตาที่เป็นเส้นตรงให้กับเด็กๆ มันจะต้องเป็นสถานศึกษาแห่งการปลดปล่อยและเสรีภาพแห่งความริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่ใช่สถานศึกษาแห่งการปราบปรามที่จะทำให้ผู้คนกลายเป็นเพียงเครื่องจักรกึ่งอัตโนมัติ แม้แต่เด็กๆของชนชั้นกรรมาชีพเองก็ควรที่จะมีอำนาจในการเลือกชะตาชีวิตของตัวเอง พื้นที่ทั้งหมดนั้นจะต้องเปิดกว้างให้แก่พวกเขาเพื่อให้พวกเขาสามารถเติมเต็มความต้องการส่วนบุคคลของตัวเองได้ในหนทางที่ดีที่สุด และในท้ายที่สุดมันจะทำให้เกิดเป็นหนทางที่เจริญงอกงามที่สุด และไม่ใช่ความงอกงามเฉพาะต่อตัวเขาเองหากแต่มันจะสร้างความงอกงามให้กับผู้คนที่เหลือทั้งสังคมด้วย โรงเรียนสายอาชีพหรืออาชีวศึกษานั้นไม่ควรจะกลายเป็นแหล่งรวบรวมบรรดาเด็กที่ถูกตราหน้าว่าเป็นตัวปัญหาสังคม ที่ให้การศึกษาอันแห้งแล้งเพียงเพื่อสร้างคนออกไปทำงาน โดยปราศจากการมอบความคิดอันกว้างขวาง ความรู้อันกว้างขวาง และจิตวิญญาณให้ผู้เรียน สถานศึกษาจะต้องไม่มอบเพียงสายตาที่แม่นยำและมือที่มั่นคงให้แก่ผู้เรียน แต่จะต้องมอบความเชี่ยวชาญในวิชาชีพด้วย มนุษย์นั้นสามารถเติบโตขึ้นจากความเป็นเด็กได้ ตราบเท่าที่การศึกษานั้นเป็นการให้การศึกษาอย่างแท้จริงไม่ใช่เพียงการให้ข้อมูล ไม่ใช่เพียงแค่การสอนแบบส่งเดชไปตามขั้นตอน  Sincero สมาชิกสภาผู้เป็นนักอุตสาหกรรมนิยมนั้นเพียงแต่แสดงให้เห็นตัวตนของเขาที่เป็นกระฎุมพีหัวรุนแรงเมื่อเขาทำการกล่าวประท้วงเพื่อต่อต้านปรัชญา.

แน่นอนว่าสำหรับกระฎุมพีนักอุตสาหกรรมนิยม มันย่อมจะเป็นเรื่องที่ดีกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าในการที่จะใช้รงงานเครื่องจักรเข้ามาแทนที่แรงงานคน มันอาจจะเรียกได้ว่าเป็นความเสียสละที่สังคมต้องยอมเสียสละเพื่อสร้างความก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรือง เพื่อให้มนุษย์ที่มีความพร้อมสมบูรณ์สามารถขยับตัวหลุดออกจากตาข่ายคุมขังนี้ไปได้ หากแต่ผู้ที่สามารถจะช่วยสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้นแม้จะเป็นเรื่องในอนาคตย่อมจะต้องมองเห็นว่าความมั่งคั่งที่ตอบกลับมาในรูปแบบผลประโยชน์นั้นควรจะต้องตอบสนองและเป็นประโยชน์ต่อคนทั้งสังคม ไม่ใช่ตอบสนองให้เพียงแต่คนบางกลุ่ม หรือบางชนชั้นเท่านั้น

นี่คือปมปัญหาเรื่องสิทธิและอำนาจ และชนชั้นกรรมาชีพนั้นจะต้องเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเราย่อมไม่ได้รับการกดขี่ที่มากขึ้นอีกต่อไป เนื่องจากว่าพวกเราทั้งหลายนั้นล้วนถูกกดขี่เสมอมาอยู่แล้ว.

 


Source: http://www.classicistranieri.com/antonio-gramsci-uomini-o-macchine.html;
First published: in Avanti!, 24 December 1916;
Translated: by Natalie Campbell


 

 

บล็อกของ จักรพล ผลละออ

จักรพล ผลละออ
 มาร์กซิสม์ 101 – ความคิดปฏิวัติของคาร์ล มาร์กซ์(Marxism 101
จักรพล ผลละออ
 วิกฤตของลัทธิมาร์กซิสม์ : บทสัมภาษณ์ของหลุยส์ อัลธูแซร์The Crisis o
จักรพล ผลละออ
 ชีวประวัติและความคิดของหลุยส์ อัลธูแซร์Biography and idea of Louis Althusser
จักรพล ผลละออ
 มาร์กซิสม์ 101 – ระบบสังคมนิยมจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร?(Marxism 101 – What will socialism loo
จักรพล ผลละออ
มาร์กซิสต์ 101 – ทฤษฎีว่าด้วยวิกฤตทุนนิยมแบบมาร์กซิสต์(Marxism 101 – the Marxist Theory of Crisis of Capitalism) By Rob Sewell. Translated by Jakkapon P. 
จักรพล ผลละออ
มาร์กซิสม์ 101 – มายาคติเกี่ยวกับมาร์กซิสม์(Marxism 101 – The myths about Marxism)By Marxist Student Federation. Translated by Jakkapon P. 
จักรพล ผลละออ
 มาร์กซิสม์ 101 – ทำไมเราจึงควรเป็นนักสังคมนิยม(Marxism 101 – why you should be a socialist)By Rob Sewel
จักรพล ผลละออ
 มาร์กซิสม์ 101 - 14 คำถามนี่นักมาร์กซิสต์ต้องเจอ(Marxism 101 - Frequ
จักรพล ผลละออ
picture from : https://www.youtube.com/watch?v=nSNAhib3B_M 
จักรพล ผลละออ
 บทนำเสนอความคิดของอัลธูแซร์ฉบับกะทัดรัด(Introduction to Al
จักรพล ผลละออ
 บทนำเสนอความคิดของมาร์กซ์ฉบับกะทัดรัด(Introduction to Marx)By Felluga, Dino.