Skip to main content

 

สหภาพแรงงาน : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

คาร์ล มาร์กซ์ (1866)

 

150 ปีก่อน ในวันที่ 3 เดือนกันยายน ปี 1866 (ถ้าเทียบจากปัจจุบันก็เป็นเวลา 152 ปีแล้ว) การประชุมสภาสามัญครั้งที่หนึ่งของสมาคมกรรมกรสากล (สากลที่ 1) ได้ถูกจัดขึ้นในเจนีวา ในการประชุมครั้งนั้นที่ประชุมมีมติว่าให้กำหนดการเรียกร้องหลักการทำงานทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันเป็นเป้าหมายหลักในการเคลื่อนไหวของขบวนการสังคมนิยมสากลทั้งหมด ซึ่งข้อเรียกร้องในครั้งนั้นในภายหลังได้กลายมาเป็นหลักการสำคัญขององค์กรแรงงานสากล (ILO) เมื่อเวลาผ่านได้ถึง 53 ปี

และนี่คือข้อเขียนที่มาร์กซ์ได้เขียนขึ้นนำเสนอต่อผู้แทนในที่ประชุมสภาสามัญครั้งนั้นในหัวข้อ สหภาพแรงงาน : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

 

(ก) อดีตของสหภาพแรงงาน

นายทุนนั้นได้ผูกขาดพลังอำนาจทางสังคมเอาไว้ ในขณะที่ชนชั้นแรงงานนั้นได้ถือครองเพียงแต่กำลังแรงงานของตัวเอง ดังนั้นสัญญาที่ถูกทำขึ้นระหว่างนายทุนกับแรงงานย่อมจะเป็นสัญญาที่ไม่ได้วางอยู่บนหลักของความเป็นธรรม แม้กระทั่งในสามัญสำนึกร่วมของสังคมที่จัดวางเอาหารถือครองกรรมสิทธิ์ในวิถีการดำรงชีพและแรงงานเอาไว้ด้านหนึ่ง และจัดวางเอาปัจจัยที่สำคัญสำหรับการผลิตเอาไว้ในด้านที่เป็นศัตรูกัน อำนาจทางสังคมเพียงอย่างเดียวที่ชนชั้นแรงงานได้ถือครองเอาไว้นั้นก็คือจำนวนอันไพศาลของชนชั้นแรงงาน อย่างไรก็ตามอำนาจอันมาจากจำนวนนี้ก็สามารถถูกทำลายลงได้หากไม่เกิดการรวมตัวกัน และการแตกแยกกันของแรงงานนี้ก็เกิดขึ้นได้จากความไร้ระเบียบและการแข่งขันกันเองภายในชนชั้นแรงงานที่ยากจะหลีกเลี่ยง

สหภาพแรงงานนั้นในเบื้องแรกได้ถือกำเนิดขึ้นจากความพยายามอันเป็นปกติวิสัยของชนชั้นแรงงานเพื่อที่จะกำจัดหรืออย่างน้อยที่สุดก็เพื่อต้านทานการแข่งขัน ภายใต้จุดมุ่งหมายที่จะบรรลุเป้าหมายในการร่างสัญญาจ้างที่ช่วยทำให้พวกเขาได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและไม่ได้มีสถานะประหนึ่งทาสที่ทำงานในโรงงาน ด้วยเหตุนี้เป้าประสงค์โดยพื้นฐานของสหภาพแรงงานนั้นย่อมจะเกี่ยวพันอยู่กับชีวิตประจำวัน เพื่อจะขัดขวางการขยายตัวและการรุกล้ำชีวิตของแรงงานอย่างไม่หยุดหย่อนของนายทุน หรือกล่าวอีกอย่างก็คือ การตั้งคำถามต่อเรื่องค่าจ้างและชั่วโมงการทำงาน ซึ่งการกระทำของสหภาพแรงงานนี้นอกจากจะเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วมันยังถือเป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องทำอย่างยิ่งยวด มันไม่สามารถปล่อยให้เกิดการแจกจ่ายงานอย่างสะเปะสะปะพร้อมชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานอย่างเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ ในทางตรงกันข้าม มันควรจะต้องได้รับการลงความเห็นด้วยการก่อร่างและความร่วมมือของสหภาพแรงงาน ในทุกๆประเทศทั่วโลก และในอีกทางหนึ่งนั้นไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตามแต่สหภาพแรงงานก็กำลังก่อกำเนิดศูนย์กลางขององค์กรของชนชั้นแรงงานขึ้น เหมือนเช่นที่ระบบเทศบาลเมืองในยุคกลางและระบบคอมมูนทำกับชนชั้นกลาง และถ้าหากว่าสหภาพแรงงานนั้นต้องการที่จะเริ่มต้นการต่อสู้ระหว่างชนชั้นแรงงานกับชนชั้นนายทุนแล้ว ตัวสหภาพแรงงานนี้ย่อมจะยิ่งกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะสามารถเข้ามาแทนที่ระบบเศรษฐกิจของระบบทุนนิยมได้

 

(ข) สหภาพแรงงานในปัจจุบัน

สหภาพแรงงานในปัจจุบันนั้นยังคงสับสนกับการต่อสู้กับนายทุนทั้งในเมืองและชนบท สหภาพแรงงานในตอนนี้ยังคงไม่มีความเข้าใจถึงอำนาจที่แท้จริงของสหภาพในการจะนำการต่อสู้เพื่อต่อต้านระบบทาสรับค่าจ้าง (ระบบทุนนิยม) โดยตัวสหภาพแรงงานเอง ดังนั้นสหภาพแรงงานจึงพยายามจะวางตัวออกห่างจากเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคม อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดแล้วก็ดูเหมือนว่าพวกเขานั้นสามารถจะตื่นรู้ถึงภารกิจทางประวัติศาสตร์ของตนเองได้บ้าง ผ่านการมีส่วนร่วมของพวกเขาในบางสถานการณ์ เช่นในอังกฤษ ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่พึ่งผ่านมา จากมุมมองของแรงงานที่เข้าใจถึงบทบาทของตัวเองที่มากขึ้นในสหรัฐอเมริกา  และจากมติที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมผู้แทนสหภาพแรงงานที่เชฟฟิดล์ที่กล่าวว่า “ที่ประชุมนี้ ขอแสดงความชื่นชมยกย่องต่อความพยายามของสมาคมสากลในการสร้างความร่วมมือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความเป็นภราดรภาพให้เกิดขึ้นในหมู่พี่น้องแรงงานทั่วโลก ซึ่งเราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่านี่คือแก่นแท้ที่จะสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับชุมชนชนชั้นแรงงานของเราทั่วโลก”

 

(ง) สหภาพแรงงานในอนาคต

สหภาพแรงงานในอนาคตนั้นจะต้องเติบโตไปไกลกว่าเป้าหมายตั้งต้นของมัน สหภาพแรงงานจะต้องเริ่มเรียนรู้ที่จะแสดงออกและเคลื่อนไหวในฐานะองค์กรที่เป็นศูนย์กลางของชนชั้นแรงงาน เพื่อการปลดแอกชนชั้นแรงงานทั้งหมด และสหภาพแรงงานนั้นจะต้องมุ่งมั่นในการเคลื่อนไหวทั้งในทางสังคมและการเมือง เพื่อจะตอบสนองต่อทิศทางและเป้าหมายดังกล่าว ทำการต่อสู้ในฐานะผู้ปกป้องและผู้แทนของชนชั้นแรงงาน และจะต้องไม่ลืมที่จะหาสมาชิกใหม่เข้าร่วมกับองค์กรอยู่เสมอ และสหภาพแรงงานจะต้องไปหลงลืมหรือทิ้งกลุ่มแรงงานที่เสียต้นทุนสูง อย่างเช่น แรงงานภาคการเกษตร หรือแรงงานที่ไร้อำนาจ ด้วยการละเลยพวกเขา แต่จะต้องผนวกรวมพวกเขาเข้ามาและต่อสู้เคียงข้างกัน ชักชวนให้ชนชั้นแรงงานทั่วโลกให้เข้าร่วมการต่อสู้กับนายทุนด้วยความมุมานะพยายาม และการละทิ้งความเห็นแก่ตัว และความใจแคบ เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายแห่งการปลดแอกชนชั้นแรงงานทั่วโลกออกจากระบบที่เอารัดเอาเปรียบและกดขี่ขูดรีดพวกเขา.

 

แปลเป็นภาษาไทยโดย : จักรพล ผลละออ 

 

บล็อกของ จักรพล ผลละออ

จักรพล ผลละออ
 มาร์กซิสม์ 101 – ความคิดปฏิวัติของคาร์ล มาร์กซ์(Marxism 101
จักรพล ผลละออ
 วิกฤตของลัทธิมาร์กซิสม์ : บทสัมภาษณ์ของหลุยส์ อัลธูแซร์The Crisis o
จักรพล ผลละออ
 ชีวประวัติและความคิดของหลุยส์ อัลธูแซร์Biography and idea of Louis Althusser
จักรพล ผลละออ
 มาร์กซิสม์ 101 – ระบบสังคมนิยมจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร?(Marxism 101 – What will socialism loo
จักรพล ผลละออ
มาร์กซิสต์ 101 – ทฤษฎีว่าด้วยวิกฤตทุนนิยมแบบมาร์กซิสต์(Marxism 101 – the Marxist Theory of Crisis of Capitalism) By Rob Sewell. Translated by Jakkapon P. 
จักรพล ผลละออ
มาร์กซิสม์ 101 – มายาคติเกี่ยวกับมาร์กซิสม์(Marxism 101 – The myths about Marxism)By Marxist Student Federation. Translated by Jakkapon P. 
จักรพล ผลละออ
 มาร์กซิสม์ 101 – ทำไมเราจึงควรเป็นนักสังคมนิยม(Marxism 101 – why you should be a socialist)By Rob Sewel
จักรพล ผลละออ
 มาร์กซิสม์ 101 - 14 คำถามนี่นักมาร์กซิสต์ต้องเจอ(Marxism 101 - Frequ
จักรพล ผลละออ
picture from : https://www.youtube.com/watch?v=nSNAhib3B_M 
จักรพล ผลละออ
 บทนำเสนอความคิดของอัลธูแซร์ฉบับกะทัดรัด(Introduction to Al
จักรพล ผลละออ
 บทนำเสนอความคิดของมาร์กซ์ฉบับกะทัดรัด(Introduction to Marx)By Felluga, Dino.