มาร์กซิสม์ 101 - 14 คำถามนี่นักมาร์กซิสต์ต้องเจอ
(Marxism 101 - Frequently asked questions)
By Socialist Appeal. Translated by Jakkapon P.
เพื่อจะช่วยวางรากฐานทางความคิดแบบมาร์กซิสม์ให้แก่ผู้อ่าน และเพื่อจะตอบกลับมายาคติขนาดใหญ่ที่รายล้อมอยู่รอบความคิดแบบมาร์กซิสต์ เราจึงได้จำเสนอ 14 คำถามที่นักมาร์กซิสต์ต้องเจอบ่อยที่สุด เกี่ยวกับแนวคิดสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ และการปฏิวัติมาให้
เป้าหมายนั้นก็เพื่อติดอาวุธทางความคิดให้แก่ผู้อ่านด้วยการอภิปรายด้วยเหตุผลที่จำเป็นสำหรับใช้ในการป้องกันแนวคิดมาร์กซิสต์เมื่อเราทำการถกเถียงกับผู้อื่น และในทางเดียวกันนั้นก็เพื่อช่วยให้พวกเราเองมีอาวุธทางความคิดที่จำเป็นสำหรับการต่อสู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงโลกด้วยการปฏิวัติ
1) สังคมนิยมมันฟังดูดีมากเลยนะ – แต่ว่าเราจะทำยังไงกับธรรมชาติของมนุษย์ล่ะ? ไม่ใช่ว่าเนื้อแท้ของมนุษย์นั้นเต็มไปด้วยความโลภและความเห็นแก่ตัวหรอ?
มีผู้คนจำนวนมากที่พร้อมจะยอมรับว่าระบบทุนนิยมนั้นไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆของตัวมันเอง อย่างเช่น ปัญหาการว่างงาน คนไร้บ้าน ความอดอยาก และสงคราม ได้ มีคนจำนวนมากที่พร้อมจะเห็นด้วยว่า ถ้าหากเรานำทรัพยากรที่มีมหาศาลในโลกนี้มาใช้อย่างมีเหตุมีผลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ทุกคน ไม่ใช่นำไปใช้เพื่อสร้างกำไรให้กับพวกมหาเศรษฐีจำนวนน้อยแล้ว มนุษย์ทุกคนบนโลกย่อมจะได้รับคุณภาพในการดำรงชีวิตที่ดีเยี่ยมอย่างแน่นอน
และดังนั้นเพื่อที่จะดำรงรักษาระบอบที่ทำให้คนแปดคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลกนั้นสามารถถือครองทรัพย์สินที่รวมกันแล้วมีมูลค่ามากกว่าทรัพย์สินของคนอีกครึ่งโลกที่รวมกันไว้ได้ พวกเราทั้งหลายจึงถูกกล่อมเกลาจากพวกชนชั้นปกครองที่พร่ำบอกเราว่าสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้คือลักษณะ ตามธรรมชาติ และไปถึงขั้นกล่าวว่าความโลภและความเห็นแก่ตัวนั้นคือ “ธรรมชาติ” ของมนุษย์ และยังบอกต่อว่าความพยายามใดๆก็ตามที่จะทำให้เกิดระบบที่เท่าเทียมกันขึ้นนั้นย่อมจะจบลงด้วยความล้มเหลว เพราะฉะนั้นจงอย่าคิดถึงมัน!
เราอาจจะยอมรับหรือเข้าอย่างตื้นเขินถึงความล้มเหลวของระบบสตาลินนิสม์ (Stalinism) ในศตวรรษที่ 20 ได้ หากแต่อะไรคือ “ธรรมชาติ” ที่เป็นจริงสำหรับมนุษย์? ถ้าหากเรามองย้อนกลับไปในเส้นทางอันยาวไกลของประวัติศาสตร์และ เราย่อมจะเห็นว่ามันมีความยากลำบากที่มากขึ้นในการจะพูดถึงคุณค่าร่วมระดับสากลที่ถูกรับมาใช้กับมนุษย์ในแต่ละยุตสมัย
ยกตัวอย่างเช่น มันเป็น “ธรรมชาติ” ของมนุษย์ด้วยหรือไม่ที่เราจะจับมนุษย์คนอื่นมาเป็นทาส? ชนชั้นปกครองในกรีกและโรมันโบราณต่างก็ถกเถียงกันในเรื่องหากแต่ก็เป็นที่ชัดเจนมามันไม่ใช่ประเด็น
อันที่จริง ในเชิงกายภาพแล้วมนุษย์สมัยใหม่ได้ดำรงอยู่มากว่า 200,000 ปีแล้วและหากเราพูดถึงการดำรงอยู่ในรูปแบบของครอบครัวของมนุษย์ยุคบรรพชนหรือมนุษย์วานรก็อาจจะย้อนไปไกลได้ถึง 6-7 ล้านปีเป็นอย่างน้อย การใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการดำรงชีพนั้นปรากฏขึ้นมาตั้งแต่เมื่อสามล้านปีก่อน สำหรับประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษย์เราแล้ว บรรพบุรุษของเราเคยอาศัยอยู่ในระบบสังคมคอมมิวนิสต์ชนเผ่าบุพกาล (primitive communist tribes) ที่ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างคนจนกับคนรวย ไม่มีชนชั้นผู้ขูดรีด กับผู้ถูกขูดรีด ไม่มีระบบเงินตรา ไม่มีตำรวจและนักโทษเครื่องไม้เครื่องมือและสินทรัพย์ทั้งหลายในสังคมนั้นต่างก็เป็นสมบัติร่วมสมาชิกในสังคม เพราะเนื่องมาจากการใช้กำลังแรงงานสร้างการผลิตนั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้า มันจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจเป็นไปได้ที่จะมีใครสักคนดำรงอยู่ชีวิตอยู่ด้วยการขูดรีดกำลังแรงงานส่วนเกินของผู้อื่น ผู้คนในสังคมนี้จึงคำนึงถึงความอยู่รอดของเผ่ามาก่อนตัวเอง
สังคมชนชั้น (class societies) กล่าวคือ ระบบที่วางตนเองอยู่บนฐานเรื่องการขูดรีดคนส่วนใหญ่โดยคนส่วนน้อยนั้นพึ่งจะปรากฏขึ้นมาในระยะเวลาเพียง 6,000 – 12,000 ปีเท่านั้น ด้วยการพัฒนาระบบการเพาะปลูกขนาดใหญ่ขึ้นมาแทนที่ระบบการเพาะปลูกพืชสวนขนาดย่อม ระบบโครงสร้างสังคมแบบชนชั้นเต็มรูปแบบที่ชัดเจนที่สุดนั้นพึ่งจะปรากฏขึ้นมาเพียง 5,500 ปีก่อนนี้เองในอารยธรรมของชาวสุเมเรียนและการเริ่มต้นของยุคสำริด (Bronze age)
และในระบบสังคมแบบนี้เองที่คนจำนวนหยิบมือหนึ่ง – หรือก็คือชนชั้นของผู้ขูดรีด – ถูกผลักดันจากตำแหน่งแห่งที่ของตนเองในฐานะของผู้ปกครองให้มีพฤติกรรมเห็นแก่ตัวและความละโมบโลภมากขึ้น และถ้าหากว่าพวกเขาไม่กระทำการกดขี่อย่างโหดเหี้ยมและยึดครองเอาแต่ผลประโยชน์ของชนชั้นตนเองไว้เช่นนี้ พวกเขาก็ย่อมจะหลุดลอยออกจากตำแหน่งแห่งที่ทางอำนาจไป เมื่อเมื่อปัจเจกบุคคลที่โหดเหี้ยมกว่ามาท้าทายและขับไล่พวกเขาออกไป
ดังนี้แล้วภายใต้ระบบทุนนิยม นี่คือมุมมองของกลุ่มชนชั้นปกครอง – ซึ่งจำเป็นจะต้องรักษาความเห็นแก่ตัวและความโลภเอาไว้ – อันเป็นสิ่งที่เราได้รับการบอกเล่ามาว่ามันเป็นเรื่องที่เหมาะสมกับมนุษย์ทุกคน ในทุกสถานที่ และทุกเวลา – กล่าวคือมันเป็นเสมือนส่วนหนึ่งที่อยู่ภายใน “ธรรมชาติ” ของพวกเรา
อย่างไรก็ตามการพูดแบบดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องโกหกอย่างชัดเจน ดังเช่นหลักฐานจากการกระทำหรือการปฏิบัติการจำนวนนับล้านครั้งที่เป็นการกระทำอันทำไปด้วยความมีน้ำใจและความเห็นแก่ส่วนรวมที่เราสามารถเห็นได้ในแต่ละวันและในทุกๆวันตลอดทั้งโลก ดังเช่นกรณีของนักดับเพลิงที่เสี่ยงชีวิตของตนเองเข้าไปช่วยเหลือผู้อื่น หรือจากกรณีของคนธรรมดาที่ยอมสละเวลาและทรัพย์สินของตนเองเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น
สิ่งที่ชัดเจนแน่นอนว่ามันไม่ใช่ “ธรรมชาติ” นั้นคือการที่ปัจจัยการผลิต (ประกอบด้วย ทรัพยากร อุตสาหกรรม และองค์ความรู้) นั้นถูกถือครองและควบคุมเอาไว้โดยคนกลุ่มน้อยในสังคม ด้วยการทำให้อุตสาหกรรมนั้นกลายไปเป็นสิ่งที่ทำการผลิตเพื่อสร้างกำไร ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเราสามารถผลิตสิ่งของได้มากพอที่ทุกคนจะได้รับมันไปใช้อย่างเท่าเทียมและอิสระตามความต้องการอย่างล้นเหลือ!
ในสังคมที่เปี่ยมไปด้วยความอุดมสมบูรณ์อย่างล้นเหลือ ความคิดเรื่องการสะสมทุนที่มากกว่าผู้อื่นย่อมจะกลายไปเป็นเรื่องไรสาระ ดังเช่นในสำนักงานที่มันมีการสำรองปากกาเอาไว้ในตู้เก็บอุปกรณ์ส่วนกลางที่ทุกคนสามารถมาหยิบไปใช้ได้ มันย่อมไม่มีใครที่จะพยายามสะสมปากกาเป็นของตัวเอง ดังเช่นที่มาร์กซ์ได้อธิบาย เงื่อนไขทางวัตถุนั้นเป็นสิ่งที่กำหนดจิตสำนึกอย่างสุดขั้ว ไม่ใช่ในวิถีทางอื่นใดเลย
สำหรับผู้ที่เห็นด้วยกับความคิดแบบสังคมนิยม หากแต่ยังคงคิดว่า “ธรรมชาติของมนุษย์” นั้นเป็นสิ่งที่ฉุดรั้งเราเอาไว้ ขอให้ท่านลองถามตัวเองว่า – มันเป็นธรรมชาติในตัวของ คุณ เองจริงๆหรือที่ต้องการจะกดขี่ขูดรีดผู้อื่นอย่างโหดเหี้ยมทารุณ? ถ้าหากคำตอบคือไม่แล้วล่ะก็ มนุษย์คนอื่นๆก็ย่อมจะเห็นเช่นเดียวกัน.
2) ไม่ใช่ว่าระบบสังคมนิยมถูกนำมาใช้แล้วแต่ล้มเหลวหรอกหรอ?
วลีหนึ่งที่เด่นของไอน์สไตน์ย้ำเตือนว่า “ความบ้าคลั่งนั้นคือการกระทำสิ่งเดิมๆครั้งแล้วครั้งเล่า และคาดหวังว่ามันจะได้รับผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกมา” กังนั้นแล้วในเมื่อมันเคยมีการพยายามสถาปนาระบบสังคมนิยมขึ้นมาในอดีต และมันก็ล้มเหลวไปแล้วทำไมนักมาร์กซิสต์จึงยังคงต่อสู้เพื่อสร้างสังคมนิยมอยู่อีก? เพื่อจะตอบคำถามที่ว่านี้มันมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่ามันเกิดอะไรขึ้นในสหภาพโซเวียตและเกิดอะไรขึ้นในประเทศอื่นๆที่เรียกตัวเองว่าเป็น “สังคมนิยม”
ในปี ค.ศ.1917 ชนชั้นแรงงานในรัสเซียได้เข้ายึดอำนาจอันเป็นผลลัพธ์มาจากการเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิวัติของมวลชน ระบบเศรษฐกิจนั้นถูกเปลี่ยนมือจากการถือครองของนายทุนและบรรดาเจ้าที่ดิน และถูกเปลี่ยนมาดำเนินการด้วยกระบวนการควบคุมแบบประชาธิปไตยของคนงานและชาวนายากจนผ่านระบบสภาคนงาน (หรือที่เรียกว่า “โซเวียต”) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้นั้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเริ่มต้นของกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากสังคมทุนนิยมไปสู่สังคมนิยม
อย่างไรก็ตาม เลนิน ทรอสกี้ และพรรคบอลเชวิคนั้นไม่เคยคิดหรือเชื่อว่ามันมีความเป็นไปได้ที่จะสร้าง “สังคมนิยมภายในประเทศเดียว” ได้หากแต่พวกเขามองการปฏิวัติรัสเซียว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติโลก ดังเช่นที่ทุนนิยมนั้นได้กลายไปเป็นระบบโลก สังคมนิยมก็ย่อมจะต้องกลายไปเป็นระบบโลกเช่นกัน
ซึ่งความคิดนี้ได้รับการยืนยันในทางปฏิบัติ เมื่อการปฏิวัติและสถานการณ์ปฏิวัติได้พัฒนาตัวเองขึ้นทั่วทั้งยุโรป ประกอบด้วย ในเยอรมนี, ออสเตรีย, ฮังการี, อิตาลี, ฝรั่งเศส, สเปน และกระทั่งในเกาะอังกฤษ
ความล้มเหลวของชนชั้นแรงงานในการเข้ายึดอำนาจในประเทศเหล่านี้นั้นไม่ได้เกิดมาจากการขาดความมุ่งมั่นในส่วนของขบวนการเคลื่อนไหว หากแต่เกิดจากการขาดพรรคปฏิวัติ ที่สามารถจะทำหน้าที่ในการกำหนดและควบคุมพลังของมวลชนให้มุ่งหน้าไปสู่การยึดครองอำนาจรัฐได้
ดังนั้นแล้วการปฏิวัติในรัสเซียจึงถูกทิ้งให้โดดเดี่ยวตัวเอง แทนที่จะสามารถสร้างการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ทรัพยากรอันกว้างขวางของรัสเซียเข้ากับอุตสาหกรรมอันก้าวหน้าของยุโรปได้ ดังนั้นเศรษฐกิจของรัสเซียจึงถูกทิ้งให้แตกออกเป็นเสี่ยงๆภายหลังสงครามกลางเมือง
ในฐานะนักมาร์กซิสต์ เราย่อมเข้าใจถึงศักยภาพในการสถาปนาสังคมที่เป็นอิสระจากความน่ากลัวของปัญหาความยากจน การว่างงาน ความอดอยาก ฯลฯ นั้นย่อมจะถูกกำหนดโดย ระดับ ของกำลังการผลิต (อุตสาหกรรม, การเกษตร, วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี) ตลอดจน ผู้ถือครอง และ ควบคุม
มาร์กซ์นั้นได้น้ำเตือนว่า “พัฒนาการของกำลังการผลิตนั้นคือหลักฐานเชิงปฏิบัติการที่จำเป็นอย่างสัมบูรณ์ [ของสังคมนิยม] เพราะหากปราศจากการพัฒนากำลังการผลิตแล้วมันย่อมเกิดความขาดแคลนขึ้นมาโดยทั่วไป และด้วยความขาดแคลนนี้ก็จะทำให้เกิดการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดขึ้นมาอีกครั้ง และนั่นหมายความว่าระบบอันเป็นสิ่งปฏิกูลทั้งหลายของยุคเก่านั้นจะรื้อฟื้นกลับมาอีกครั้ง”
รัสเซียในช่วงก่อนทศวรรษที่ 1920 นั้นภายหลังผ่านช่วงเวลาแห่งสงคราม มันประสบอยู่กับภัยพิบัติจากการล่มสลายของอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ความขาดแคลนนั้นแพร่กระจายไปทั่ว ซึ่งในบริบทของสังคมรัสเซียนี้เป็นผลมาจากการที่แรงงานนับล้านคนถูกสังหารหรือได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้อย่างยาวนาน อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบโซเวียตที่เคยเป็นนั้นเลือนหายไปพร้อมๆกับการก้าวขึ้นสู่อำนาจของกลุ่มข้าราชการที่เข้ามามีอำนาจมากขึ้น
กระทั่งในปี 1920 นั้นจำนวนของเจ้าหน้าที่รัฐและข้าราชการก็มีจำนวนสูงเกือบ 6 ล้านคน ซึ่งส่วนมากนั้นมีที่มาจากกลุ่มอภิสิทธิ์ชนดั้งเดิมในระบบซาร์ (Tsarist regime) และก็เนื่องจากบรรดากลุ่มชนนี้เองที่ทำให้สตาลินก้าวขึ้นสู่อำนาจในฐานะตัวแทนของกลุ่มอำนาจ
ด้วยเหตุนี้แล้วระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จจึงก้าวขึ้นสู่อำนาจเพื่อปกป้องรักษาการครองอำนาจของกลุ่มข้าราชการและทำลายความเชื่อมโยงที่มีต่อแก่นแท้และหัวใจสำคัญของการปฏิวัติเดือนตุลา (October revolution) ตลอดจนกวาดล้างพรรคบอลเชวิคเดิมและทำลายรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยของคนงานลงจนหมดสิ้น
และเมื่อปราศจากการมีส่วนร่วมเชิงประชาธิปไตยจากคนงานในการวางแผนและขับเคลื่อนสังคม ระบบเศรษฐกิจของโซเวียตจึงล่มสลายลงอันเนื่องมาจากการบริหารจัดการที่ผอดพลาดของกลุ่มข้าราชการแดง
และด้วยการหยุดนิ่งของเศรษฐกิจโซเวียตนี้ ชนชั้นข้าราชการในโซเวียตจึงหันไปสู่การรื้อฟื้นระบบทุนนิยมขึ้นในทศวรรษที่ 1990 (อันเป็นการเริ่มต้นด้วยกลุ่มข้าราชการในยุคนั้นที่ปัจจุบันกลายมาเป็นมหาเศรษฐี) ดังเช่นที่ทรอสกี้ได้ทำนายเอาล่วงหน้าเกือบหนึ่งทศวรรษในงานเรื่อง The Revolution Betrayed แม้ว่าความน่าสะพรึงกลัวของระบบสตาลิน ที่นักมาณ์กซิสต์นั้นไม่เคยให้การสนับสนุน หากแต่การกู้คืนระบบทุนนิยมกลับมานั้นก็ก่อให้เกิดภัยพิบัติแก่ชนชั้นแรงงานไม่ต่างกัน
ภารกิจที่อยู่เบื้องหน้าของชนชั้นแรงงานในทุกวันนั้นคือการต่อสู้เพื่อแก่นแท้ของสังคมนิยม ไม่ใช่การต่อสู้เพื่อรื้อฟื้นระบอบอันบิดเบือนของสตาลินขึ้นมา และความล้มเหลวที่ผ่านมานั้นถือเป็นความล้มเหลวของระบอบสตาลิน ไม่ใช่ความล้มเหลวของสังคมนิยม
สำหรับนักมาร์กซิสต์นั้น ประชาธิปไตยของคนงานถือว่าเป็นเลือดเนื้อของรัฐสังคมนิยม สิ่งที่สำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใดนั้นคือการทำความเข้าใจว่าระบบสังคมนิยมภายในประเทศเดียวนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเป็นไปได้ นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงเป็นนักสากลนิยม (internationalists) และนี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงต่อสู้เพื่อสังคมนิยมที่ไม่ใช่สังคมนิยมเฉพาะในเกาะอังกฤษ หากแต่เป็นสังคมตลอดทั้งโลก นี่คือสังคมนิยมที่เรากำลังต่อสู้เพื่อสถาปนา – อันเป็นสิ่งที่จะทำลายล้างความผิดพลาดที่แท้จริงของยุคสมัยใหม่ให้มลายลง นั่นคือทำลายระบบทุนนิยม
3) ทำไมเราจึงต้องการการปฏิวัติ? เราสามารถที่จะสร้างการปฏิรูปไปเรื่อยๆจนกระทั่งไปถึงสังคมนิยมแทนได้ไหม?
หากเราพิจารณาข้อเสนอนี้เพียงผิวเผินแล้วต้องยอมรับว่าข้อเสนอนี้นับว่าน่าสนใจอย่างยิ่ง เป็นข้อเสนอที่น่าสนใจมากกว่าความรุนแรงและการโหมกระหน่ำของการปฏิวัติอยู่มาก มันจะง่ายกว่าไหมหากว่าเราจะเอาชนะเสียงส่วนมากในสภาและตรากฎหมายเพื่อการปฏิรูปอันก้าวหน้า ซึ่งถึงแม้ว่าอาจจะใช้เวลายาวนานสักนิด หากแต่ว่าสุดท้ายแล้วเราก็อาจจะสามารถเปลี่ยนผ่านสังคมจากทุนนิยมไปสู่สังคมนิยมได้ไม่ใช่หรือ?
เป็นความจริงในอดีตที่ชนชั้นแรงงานนั้นเคยประสบความสำเร็จอย่างมีนัยยะสำคัญผ่านการต่อสู้ในรูปแบบนี้ ผ่านการเรียกร้อง รัฐสวัสดิการ (The welfare State) ระบบดูแลสุขภาพแห่งชาติ (the NHS) การรักษาความปลอดภัยและประกันสุขภาพในการทำงาน การทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน – ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่เป็นความสำเร็จและชัยชนะที่ได้มาจากการต่อสู่ภายในระบบที่เป็นอยู่ มันจะไม่เป็นเรื่องแปลไปหน่อยหรือที่คุณจะแยกเอาการปฏิรูปและการปฏิวัติไปเป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกัน ราวกับว่าคุณสามารถจะเลือกได้เพียงแค่ทางใดทางหนึ่งเท่านั้น?
แก่นแท้ของมาร์กซิสต์นั้นไม่เคยปฏิเสธหรือต่อต้านการต่อสู้เพื่อการปฏิรูปภายใต้ระบบทุนนิยม เราจะไม่พูดว่า “เราจะนั่งรอจนกว่าการปฏิวัติจะมาถึง อันจะทำให้ปัญหาทั้งหมดของเรานั้นหมดไป” หากแต่เราย่อมจะต่อสู้อย่างต่อเนื่องและแข็งขันเพื่อการปฏิรูปอันก้าวหน้าใดๆก็ตามที่มอบผลประโยชน์ให้กับชนชั้นแรงงาน
มาร์กซ์นั้นชี้ให้เห็นว่าการต่อสู้เพื่อเรียกร้องการปฏิรูปภายใต้ระบบทุนนิยมนี้เองที่จะทำให้ชนชั้นแรงงานตระหนักถึงความแข็งแกร่งของชนชั้นตัวเองได้ และก็ด้วยการผ่านการต่อสู้เท่านั้นที่จะทำให้ชนชั้นแรงงานพัฒนาจิตสำนึกทางชนชั้น (class-consciousness) ของตนเองขึ้นมา ตลอดจนการสร้างองค์กรเพื่อการต่อสู้ – นั่นคือสหภาพแรงงานและพรรคการเมือง
และก็ด้วยการผ่านการต่อสู้ต่างๆนี้เองที่จะทำให้ชนชั้นแรงงานได้เรียนรู้ถึงข้อจำกัดของการปฏิรูปภายใต้ระบบทุนนิยม และนี่ก็ถือว่าเป็นเรื่องจริงอย่างยิ่งโดยเฉพาะในห้วงเวลาแห่งวิกฤตเช่นในปัจจุบัน
ในอดีตนั้น เมื่อถูกกดดันอย่างหนักจากผู้ถูกปกครอง ชนชั้นปกครองนั้นย่อมจะต้องตระเตรียมการปล่อยให้มีการปฏิรูปที่แน่นอนขึ้นแม้ว่าพวกเขาจะตกอยู่ภายใต้การกดดันจากชนชั้นแรงงานตลอดเวลาก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อระบบเศรษฐกิจนั้นมีความก้าวหน้าขึ้น ชนชั้นนำย่อมจะเป็นจะต้องสละบางอย่างเพื่อสร้างการยอมรับและการประนีประนอมเพื่อดำรงรักษาความสงบสุขเอาไว้
ในความเป็นจริงแล้วการปฏิรูปที่มีความสำคัญทั้งหลายนั้นเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มชนชั้นนำ เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิวัติจากกลุ่มชนชั้นล่าง ดังนั้นแล้วในช่วงเวลาหนึ่งบรรดาชนชั้นนำในยุโรปจึงหันไปยอมรับหลักการเรื่อง “รัฐสวัสดิการ” ซึ่งในขณะเดียวกันนั้นมันย่อมจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมากในช่วงยุคแห่งความเจริญหลังสงคราม
ปัญหาก็คือการยอมรับที่เกิดขึ้นที่ได้ชัยชนะเหนือพวกนายทุนนี้ อาจจะถูกยึดคืนหรือทำลายลงได้ในอนาคต นี่นับเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในระหว่างวิกฤต เมื่อนายทุนมีความต้องการจะรื้อฟื้นการสร้างกำไร ชนชั้นนายทุนย่อมจะหันมาแว้งกัดชนชั้นแรงงาน และยึดคืนเอาผลประโยชน์ที่ชนชั้นแรงงานเคยได้ไปเมื่อครั้งอดีต และมันการโต้ตอบการปฏิรูปนี้ก็กลายมาเป็นระเบียบในปัจจุบัน
อันเนื่องมาจากวิกฤตในช่วงทศวรรษที่ 1970 เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าผลพวงเชิงนโยบายที่ได้มาจากการปฏิรูปอันก้าวหน้าในช่วงหลังสงครามนั้นกกลายมาเป็นเป้าโจมตี อุตสาหกรรมของชาติหลายชนิดนั้นถูกแปรรูป (privatised) โนตัดงบประมาณ กิจการของรัฐหลายอย่างถูกขายทิ้งและระบบดูแลสุขภาพแห่งชาตินั้นก็กำลังตกอยู่ในวิกฤต ทั้งหมดทั้งมวลที่เกิดขึ้นในวิกฤตนี้ทำให้กลุ่มคนรวยนั้นสามารถจะหากำไรใส่ตัวได้มากยิ่งขึ้นบนการจ่ายเงินเพิ่มของพวกเรา
การโจมตีนี้อาจจะถูกย้อนกลับได้หากแต่ในวิกฤตการณ์ระดับโลกที่กำลังเกิดขึ้น มันจำเป็นจะต้องมีการสร้างความแตกหักกับระบบทุนนิยม อันเนื่องมาจากรัฐบาลในปัจจุบันนี้ต่างก็ถูกบงการโดยความต้องการของระบบตลาด (กล่าวคือ ผลประโยชน์ของนายธนาคารและกลุ่มมหาเศรษฐี) ดังเช่นที่ผู้นำของพรรค SYRIZA ได้ประสบกับมันพร้อมกับความเจ็บปวดรวดร้าว
ในฐานะนักมาร์กซิสต์ เราย่อมเข้าใจว่าปัญหาทั้งหลาย เช่น ความยากจน การว่างงาน วิกฤตและสงคราม นั้นคือผลผลิตที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้จากระบบทุนนิยม แม้ว่าเราจะเก็บภาษีจำนวนมากจากคนรวยหรือการกู้ยืมเงินก็ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ได้ สิ่งที่จำเป็นสำหรับการแก้ไขปัญหานี้คือการเข้ายึดครองหัวใจสำคัญในการควบคุมเศรษฐกิจ และใช้กระบวนการทางประชาธิปไตยเพื่อจะนำความต้องการของผู้คนนั้นเข้าร่วมเป็นหัวข้อหนึ่งในการวางแผนการผลิตแบบสังคมนิยมภายใต้การควบคุมและการจัดการโดยแรงงาน
การจินตนาการว่ารัฐบาลสังคมนิยมควรจะทำการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป – แปรรูปอุตสาหกรรมหนึ่งให้เป็นของรัฐในปีนี้ แปรรูปอีกธนาคารหนึ่งให้เป็นของรัฐในปีถัดไป และถัดไป และถัดไป นั้นคือการไม่สนใจความจริงองค์รวมของประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางชนชั้น มันเป็นเหมือนกับการจินตนาการว่าคุณสามารถจะชนะเกมส์หมากรุกได้ในขณะที่คุณเหลือเพียงเบี้ยตัวเดียวสำหรับเดิน ในความเป็นจริง เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งทำการโต้ตอบกลับ แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากแต่ชนชั้นปกครองนั้นก็ย่อมจะไม่ยอมปล่อยอำนาจและอภิสิทธิ์ของชนชั้นตนเองโดยไม่มีการต่อสู้ขัดขืน
นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องการการปฏิวัติ – กล่าวคือการเคลื่อนไหวขนาดใหญ่ของประชาชนทั่วโลก – เพื่อจะเข้ายึดครองอำนาจและควบคุมกลไกทางอำนาจทั้งหลายของกลุ่มนายทุนจำนวนหยิบมือ และหลังจากนั้นจึงจะเริ่มต้นและทำการปกป้องกระบวนการปฏิรูปที่หยั่งรากลึกที่สุดอันเป็นการปฏิรูปครั้งสุดท้ายอันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบ.
4) ระบบทุนนิยมนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนไม่ใช่หรือ?
ตามความคิดของผู้ปกป้องระบบทุนนิยมแล้ว พวกเขามองว่ามันไม่มีสิ่งใดจะมีประสิทธิภาพมากไปกว่า “ระบบตลาดเสรี” หากแต่เมื่อระบบดังกล่าวนั้นเริ่มจัดหาสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมแล้ว ตัวอย่างเช่น อาหาร หรือที่พักอาศัย ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดก็แสดงให้เห็นว่าตัวมันนั้นบกพร่องในหน้าที่อย่างชัดเจน และบกพร่องอย่างร้ายกาจที่สุด
เหตุผลหนึ่งและเหตุผลเดียวที่นายทุนจะลงทุนในการผลิตนั้นก็คือการทำไปเพื่อแสวงหากำไร ความต้องการทางสังคมนั้นไม่ได้ถูกนับอยู่เป็นส่วนหนึ่งในการคำนวณของพวกเขาเลย เรื่องเดียวที่คอยกวนใจของพวกนายทุนคือปัญหาว่าพวกเขาจะทำอย่างไรถึงจะสามารถลดค่าตอบแทนหรือค่าจ้างของแรงงานลงให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อจะแสวงหากำไรให้ตัวเองได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ความไร้ประสิทธิภาพของระบบทุนนิยมนั้นได้เปิดเผยตัวเองอย่างสิ้นเชิงออกมาผ่านปัญหาเรื้อรังเรื่องการว่างงานซึ่งในตอนนี้ได้กลายมาเป็นคุณลักษณะถาวรของ “ตลาดแรงงาน” ตามรายงานของ องค์กรแรงงานสากล (ILO) ตัวเลขคนว่างงานทั่วโลกนั้นได้ขยายตัวสูงขึ้นไปถึง 200 ล้านคนและมันยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และนี่คือการบ่อนทำลายขนาดมโหฬารที่อาจจะเกิดต่อมนุษยชาติ
ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนของสังคมนิยม ความสามารถด้านที่ดีที่สุดของมนุษย์ทุกคนนั้นย่อมจะถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่ และภาระในการทำงานทั้งหลายนั้นจะกลายเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของคนทั้งสังคม ภายใต้ระบบทุนนิยม งานจำนวนมหาศาลที่สามารถจะทำให้สำเร็จได้ด้วยเครื่องจักรนั้นยังคงถูกผลักให้เป็นภาระของแรงงานมนุษย์ เพราะการใช้แรงงานคนนั้นสามารถลดค่าแรงลงได้มากกว่าการลงทุนเพื่อใช้เครื่องจักรมาทำการผลิต ภายใต้ระบบสังคมนิยมเราย่อมจะปลดปล่อยกำลังการผลิตของเครื่องจักรจนถึงขีดสุด อันจะทำให้เกิดการขยายตัวของกำลังการผลิตและช่วยให้เราสามารถลดชั่วโมงการทำงานในแต่ละสัปดาห์ลงไปเหลือไม่กี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์เท่านั้น
เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนที่มีเหตุมีผลแล้ว ระบบทุนนิยมนั้นก็จะกลายไปเป็นสิ่งมที่ไร้ประโยชน์อย่างถึงที่สุด มีผลการประเมินที่ชัดเจนออกมาว่าในปัจจุบันนี้เราสามารถผลิตอาหารจำนวนมากพอสำหรับเลี้ยงดูคนทั้งโลกได้เป็นเวลานานมากแล้ว และอาหารจำนวนหลายตันก็ถูกทำลายลงในทุกๆปีเพื่อรักษาราคาตลาด (ซึ่งบวกกำไรเข้าไปแล้ว) ยังคงสูงอยู่ ทว่าในห้วงเวลาเดียวกันนี้เองกลับมีผู้คนที่ต้องอดอยากจนตายปีละกว่าห้าล้านคน อันเนื่องมาจากการที่พวกเขานั้นไม่มีเงินมากพอที่จะ จ่าย เพื่อซื้ออาหารได้ จากจุดยืนเรื่องความต้องการทางสังคม เราจะเห็นว่าในแต่ละปีนั้นมันมีการระดมเงินเพื่อใช้จ่ายอย่างสิ้นเปลืองไปกับรายจ่ายที่ไม่ได้สร้างการผลิตใดๆเลย เฉพาะในปี 2016 เพียงปีเดียวนั้น มีเงินกว่า 5 แสนล้านดอลลาห์ถูกใช้จ่ายในระดับโลกเพื่อการโฆษณา และเงินจำนวนกว่า 1.69 ล้านล้านดอลลาห์ถูกใช้จ่ายไปกับงบด้านการทหาร!
ความคิดเรื่องการผิตแบบวางแผนนั้นไม่ได้แปลกแยกจากนายทุน ตราบเท่าที่ผลกำไรเป็นฝ่ายชนะ อันที่จริงในทุกๆบริษัทของนายทุนนั้นมันก็ย่อมมีการวางแผนในระดับสูง ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตรถยนต์เช่นบริษัทฟอร์ด พวกเขาไม่ได้ปล่อยให้สินค้าของตัวเองเข้าสู่ “ระบบตลาด” เพื่อให้มันตัดสินว่าที่ไหนและเมื่อไหร่ที่คู่แข่งจะมาถึง แรงงานจะต้องเข้างานเมื่อไหร่และต้องเข้าทำงานจำนวนกี่คน และรถยนต์ที่เป็นผลผลิตจะกระจายตัวออกไปที่ไหน กระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่ได้รับการวางแผนอย่างดีในความก้าวหน้าระดับโลก ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อที่จะลดทอนต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด
อย่างไรก็ตาม เมื่อมันได้ไปถึงการเริ่มต้นกระบวนการผลิตแบบวางแผนพร้อมกันทั่วโลก กลุ่มนายทุนย่อมจะไร้ที่ทาง และนี่เป็นหนทางที่แท้จริงเพียงทางเดียวที่จะวางแผนระบบเศรษฐกิจที่มีเหตุมีผลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทั้งหมดของเราซึ่งรวมถึงการที่ชนชั้นแรงงานจะเข้าครองอำนาจเหนืออำนาจสั่งการระดับสูงของระบบเศรษฐกิจและเปลี่ยนให้มันตกมาอยู่ใต้การควบคุมแบบประชาธิปไตย – กล่าวคือปลดแอกอำนาจออกจากการครอบครองของพวกนายทุน
ความจริงที่ว่าระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบตลาดเสรีเป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงเวลาระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่ออังกฤษได้นำระบบการผลิตแบบวางแผนมาใช้อย่างกว้างขวางโดยรัฐในการควบคุมเศรษฐกิจเพื่อผลิตอุปกรณ์ทางการทหารที่มากพอสำหรับการต่อสู้ และรักษาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้อยู่รอดได้ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมาก
การถือกำเนิดของสหภาพโซเวียตจากประเทศล้าหลัง จากประเทศกึ่งศักดินา ซึ่ออาศัยระยะเวลาเพียงแค่หนึ่งทศวรรษในการกลายมาเป็นมหาอำนาจลำดับสองของโลกนั้นเป็นผลพวงที่เกิดจากระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน อย่างไรก็ตามเนื่องจากธรรมชาติของการวางแผนแบบราชการภายใต้ระบอบสตาลินนั้น ระบบเศรษฐกิจทั้งหมดก็ถูกยึดครองและครอบงำไว้ด้วยการคอรัปชั่นและการบริหารจัดการที่ผิดพลาด
นักมาณ์กซิสต์นั้นย่อมจะไม่มองว่าการดำเนินการระบบการผลิตแบบสังคมนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่กระทำแบบบนลงล่างตามระบบราชการ หากแต่ควรจะต้องเป็นการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมากในเชิงราบของสังคมเพื่อจะกำหนดว่าเรามีทรัพยากรอะไรบ้าง และเราจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของเราได้โดยที่มันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ความเป็นจริงที่ว่า มหาเศรษฐีจำนวน 8 คนนั้นถือครองทรัพย์สินมากกว่าทรัพย์สินของคนจนจำนวนครึ่งโลกรวมกัน แสดงให้เห็นความหมายที่แท้จริงของ “ประสิทธิภาพ” ของระบบทุนนิยม ภายใต้ระบบสังคมนิยมด้วยการควบคุมและจัดการโดยคนงาน เราย่อมจะสามารถหยิบใช้ทรัพยากรทั้งหลาย – กำลังแรงงาน, วัตถุดิบ และ วิทยาศาสตร์ – โดยผสานมันเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองและสร้างชีวิตความเป็นอยู่ให้กับผู้คนทั้งผองได้อย่างเต็มที่
5) ทำไมนักมาร์กซิสต์ถึงเอาแต่พูดถึงการปฏิวัติโลก? ไม่คิดว่ามันเป็นเป้าหมายที่ไกลไปหน่อยหรือ? ทำไมเราไม่ลองหันมาสร้างสังคมนิยมภายในเกาะอังกฤษเพียงที่เดียวแทนล่ะ?
แก่นแท้ของนักมาร์กซิสต์นั้นคือความเป็นนักสากลนิยม ตามวลีที่โด่งดังทั้งสองของมาร์กซ์และเองเกลซึ่งถูกเขียนเอาไว้ในแถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ (the Communist Manifesto) ว่า “ชนชั้นแรงงานนั้นไร้ประเทศ” และ “ชนชั้นแรงงานทั่วโลก จงรวมตัวกันเข้า!”
และเพื่อจะจัดวางความคิดเหล่านี้ออกมาในการปฏิบัติ นักมาร์กซิสต์จึงได้สร้างความต่อเนื่องให้เกิดขึ้นในองค์กรปฏิวัติสากล เริ่มต้นจาก เครือข่ายแรงงานสัมพันธ์สากล (International Workingmen’s Association) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยมาร์กซ์ และเองเกล และถัดมาคือองค์กรคอมมิวนิสต์สากล (Communist International) ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเลนิน และทรอสกี้ ในองค์กรเหล่านี้ “พรรคการเมือง” ระดับประเทศนั้นถูกนับในฐานะของหน่วยงานย่อยหนึ่งภายในองค์กรเพื่อการปฏิวัติโลก
นี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเนื่องจากความคิดอุดมคติใดๆ หรือความซาบซึ้งเชิงอารมณ์ใดๆทั้งสิ้น ความจำเป็นที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ของการปฏิวัติในระดับโลกนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากพัฒนาการของระบบทุนนิยมโดยตัวมันเองจนกลายไปเป็นระบบโลก
ในช่วงไม่กี่ปีแรกของระบบทุนนิยม การพัฒนาระบบรัฐชาตินั้นเป็นกลไกอันก้าวหน้าในการขับเคลื่อนสังคมไปข้างหน้า ซึ่งแตกต่างจากการแบ่งแยกนครรัฐและอาณาเขตที่ก่อตั้งขึ้นโดยระบบศักดินา – ด้วยระบบกฎหมาย, วัฒนธรรม, วิถีชีวิต และการเก็บภาษี – ระบบรัฐขนาดใหญ่นั้นได้พัฒนาตนเองขึ้นและรวบรวมประเทศทั้งหลายเข้าสู่ระบบตลดและระบบการเมืองเดียวกัน
นี่คือสิ่งที่ระบบทุนนิยมจะต้องทำลายออกไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อระบบตลาดในเมืองขนาดเล็กหรือในภูมิภาคนั้นไม่สามารถรองรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้
เมื่อถึงจุดหนึ่งที่แน่นอนไม่ว่าอย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งเมื่อระบบตลาดที่ขยายตัวด้วยการพัฒนาโดยรัฐชาติได้พิสูจน์ว่ามันไม่สามารถที่จะเติบโตตามการเติบโตของกำลังการผลิตของประเทศหนึ่งได้ โลกทั้งใบย่อมจะถูกยึดครองเป็นอาณานิคมโดยอำนาจจักรวรรดินิยม และส่งผลให้เกิดพัฒนาการของระบบตลาดโลก
ระบบรัฐชาติจากที่มันเคยเป็นกลไกอันก้าวหน้าที่ให้การสนับสนุนความเจริญเติบโต ได้กลับกลายไปเป็นสิ่งที่ต่อต้านการเจริญเติบโต กลายเป็นโซ่ตรวนที่ฉุกรั้งพัฒนาการของมนุษยชาติ ซึ่งต้องการจะหยิบใช้ทรัพยากรทั่วโลกอย่างอิสระและเต็มที่ และไม่มีข้อตำกัดจากเรื่องพรมแดนและการแย่งชิงทรัพยากร
ในทุกวันนี้ไม่มีประเทศใดเลยที่สามารถหลีกหนีความย่อยยับที่ถูกกำหนดมาจากระบบตลาดด้วยการเชื่อมโยงประเทศต่างๆเข้าด้วยกันได้ ดังนั้นความพยายามที่จะเอาชนะเอาชนะสภาพความเสื่อมถอยนี้ผ่านการต่อต้านการค้าดังเช่นกรณีของสหภาพยุโรป และสนธิสัญญาอื่นๆนั้นย่อมจะไม่สามารถเป็นโล่กำบังที่ปกป้องสมาชิกของประเทศจากผลกระทบของระบบทุนนิยมได้ ดังเช่นกรณีของวิกฤตการณ์ในยุโรป ที่แต่ละรัฐบาลนั้นย่อมจะต้องเผชิญหน้ากับความวุ่นวายและความล้มละลายต่อกันเป็นทอดๆ
สิ่งที่เรียกว่าการแข่งขันเสรีภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นมีแนวโน้มที่จะมุ่งหน้าไปสู่การผูกขาด ดังจะเห็นได้จากการที่บริษัทใหญ่นั้นสามารถควบรวมหรือกลืนกินบริษัทที่อ่อนแอกว่าได้ แนวโน้มดังกล่าวนี้แสดงผลลัพธ์ออกมาในการปรากฏขึ้นของบริษัทระดับโลก ที่มูลค่าสินทรัพย์ของบริษัทนั้นมีจำนวนมากกว่างบประมาณของประเทศหลายประเทศ
อีกด้านหนึ่งของบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้นั้นคือการที่พวกเขาได้นำเสนอตัวเองต่อแรงงานในหลากหลายประเทศว่าพวกเขามีศัตรูร่วมกัน “ชนชั้นแรงงานนั้นไร้ประเทศ” ไม่เคยได้เป็นจริง ตัวอย่างเช่น คนงานเหมืองที่ถูกว่าจ้างโดยบริษัท Glencore ในอเมริกาใต้ แอฟริกา และเอเชีย นั้นห่างไกลจากความรู้สึกร่วมกันต่อคนอื่น ดังนั้นพวกเขาจึงทำงานด้วยการเชื่อฟังชนชั้นปกครองในประเทศของตน แรงงานในทุกๆประเทศนั้นได้แบ่งปันผลประโยชน์ทางชนชั้นร่วมกันในสังคมที่แปรปรวน
พัฒนาการของระบบตลาดโลกและบริษัทระดับโลกนั้นยังส่อแสดงถึงว่าวิกฤตของระบบทุนนิยมก็คือวิกฤตระดับโลก คำตอบเดียวที่บรรดาชนชั้นปกครองในทุกประเทศมีก็คือ “ต้องรื้อฟื้นการทำกำไร” ด้วยการพยายามลดทอนค่าจ้างแรงงาน ลดทอนเงื่อนไขและปัจจัยการผลิต และลดการใช้จ่ายภาครัฐ – กล่าวคือมันเป็นการ “แข่งกันถอยหลัง” ในระดับโลก
มาตรการรัดเข้มขัดนี้ได้ทำให้เกิดช่องว่างในกลไกระดับโลกขึ้น พัฒนาการของการปฏิวัตินั้นย่อมจะยึดครองพื้นที่ในประเทศหนึ่งต่อเนื่องจากอีกประเทศหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้นความสำเร็จในการปฏิวัติสังคมนิยมในประเทศหนึ่งนั้นย่อมจะส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อประเทศอื่นๆ – ประวัติศาสตร์ทั้งหลายนั้นได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการปฏิวัตินั้นมักจะไม่หยุดยั้งอยู่เพียงแต่ภายในขอบเขตของรัฐชาติ
สำหรับสังคมนิยมแล้วเพื่อที่จะปลดปล่อยศักยภาพของมนุษยชาติแล้ว มันจำเป็นจะต้องสร้างความเจริญงอกงามและความมีประสิทธิภาพให้มากกว่าระบบทุนนิยม ที่วางตัวเองอยู่บนการขูดรีดทรัพยากรจากโลกทั้งใบ ยิ่งไปกว่านั้นบรรดาทรัพยากรเหล่านี้ยังถูกปล้นชิงเอาไปถือครองไว้ในมือของกลุ่มนายทุนผู้ร่ำรวย วิถีทางเดียวที่จะแก้ไขปัญหานี้คือการพัฒนาอย่างมีเหตุมีผลเพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นแรงงานทั้งหมดโดยการผลักดันให้ชนชั้นแรงงานนั้นถือครองอำนาจในทุกประเทศ สมัครใจเข้าร่วมอย่างแข็งขันในการรวมตัวเป็นสหพันธรัฐของรัฐสังคมนิยมระดับโลก และนี่คือเหตุผลว่าทำไมนักมาร์กซิสต์จึงเป็นนักสากลนิยม
จงมุ่งหน้าไปสู่การปฏิวัติโลก – เรามีโลกที่รอให้เรายึดครองรออยู่
6) หากปราศจากแรงจูงใจทางกำไรแล้วการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆจะไม่ถูกทำลายลงจนหยุดชะงักหรือ?
เราถูกบอกอยู่บ่อยครั้งว่าสังคมนิยมนั้นเป็นความคิดที่ดีในเชิงหลักการ หากแต่มันย่อมจะล้มเหลวลง หากปราศจากแรงผลักดันจากกำไรแล้ว การสร้างสรรค์นวัตกรรมทั้งหลายนั้นย่อมจะถูกบดทำลายลงจนหยุดชะงักแน่นอน
ในทางหนึ่งนั้นมันเป็นเรื่องจริงที่เราอาจจะเห็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างมีนัยยะสำคัญในช่วง 300 ปีที่พึ่งผ่านมา หากแต่มันเป็นการสรุปที่ผิดหากจะบอกว่ามีแต่ความอยากร่ำรวยส่วนบุคคลเท่านั้นที่เป็นพลังในการขับเคลื่อนและสร้างนวัตกรรม
บรรพบุรุษยุคดึกดำบรรพ์ของเรานั้นได้พัฒนาเครื่องมือจากหินยุคแรกขึ้นมาตั้งแต่เมื่อเวลาราวๆ 2.6 ล้านปีก่อน ในห้วงเวลานั้นอันเป็นห้วงเวลาที่ดำรงอยู่ก่อนช่วงเวลาของพัฒนาการของสังคมชนชั้นที่เชื่อกันว่าพึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อราวๆ 8-10,000 ปีก่อนเท่านั้น ในห้วงเวลาก่อนหน้านั้นบรรพบุรุษของเราได้ค้นพบวิธีใช้ไฟ การสร้างที่พักอาศัย เสื้อผ้าสาน สร้างเครื่องดนตรี เขียนภาพเขียนผนัง ปั่นเชือก ทำเครื่องปั้นดินเผา และอื่นๆอีกมาก
ตลอดห้วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ทรัพย์สมบัติทั้งหลายนั้นถูกถือครองร่วมกันโดยผู้คนทั้งหมดในเผ่า มันไม่มีระบบเงินตรา ไม่มีคนจนและคนรวย ไม่มีผู้ขูดรีด และผู้ถูกขูดรีด ความอยู่รอดของกลุ่มนั้นต้องอาศัยการพึ่งพาสมาชิกทุกคนในการใช้ทักษะและการทำงานร่วมกัน นวัตกรรมที่ช่วยลดการใช้กำลังแรงงานย่อมจะช่วยให้เกิดการรักษาหรือช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนทั้งเผ่าให้สูงขึ้นได้
สภาพชีวิตแบบดังกล่าวนั้นเริ่มเปลี่ยนแปลงไปด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีในการทำการเกษตรกรรม และด้วยพัฒนาการนี้เองทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่จะเกิดชนชั้นที่เป็นเสมือนกาฝากขนาดเล็กที่จะดำรงชีวิตอยู่ด้วยการอาศัยส่วนเกินจากกำลังแรงงานของผู้อื่น
มันเป็นความจริงที่ว่าการต่อสู้แข่งขันกันระหว่างชนชั้นปกครอง ตัวอย่างเช่น ระหว่างจักรวรรดิโบราณที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดแรงผลักดันในการพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งโดยปกติแล้วจักรวรรดิใดที่มีพลานุภาพทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันก้าวเข้าสู่สงคราม ย่อมจะสามารถมีชัยชนะและยึดครองจักรวรรดิที่มีฐานเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าได้
แรงผลักดันทางการต่อสู้แข่งขันนี้ได้เดินทางไปถึงจุดสูงสุดของตัวมันเองอย่างเต็มรูปแบบเมื่อชนชั้นกระฎุมพียุคแรกนั้นเริ่มต้นการโค่นล้มการปกครองของพวกศักดินา และปูทางสำหรับการมาถึงของระบบทุนนิยม
การต่อสู้แข่งขันระหว่างนายทุนนั้นทำให้พวกเขาต้องสร้างการลงทุนส่วนหนึ่งในกำไรของเขาด้วยการลงทุนในเทคโนโลยีที่ประหยัดแรงงานใหม่ ซึ่งผู้นำเกมส์นั้นสามารถจะผลิตสินค้าที่มีราคาถูกมากขึ้นได้และด้วยเหตุนั้นก็จะเป็นการผลักดันให้คู่แข่งทางธุรกิจของพวกเขาพ่ายแพ้ไปในที่สุด ดังนั้นแล้วยุคแรกของระบบทุนนิยมนั้นจึงเป็นห้วงเวลาที่มีการพัฒนากำลังแรงงานที่เจริญงอกงามอย่างมากที่สุดเมื่อเทียบกับยุคหลังที่ตามมา
ในปัจจุบันนี้ นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักต่างก็ละทิ้งการขีดเขียนของพวกเขาที่มีต่อสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า “ปริศนาทางการผลิต” ลง เหตุใดอัตราการผลิตทั่วโลกจึงไม่มีการพัฒนาขยายตัวหรือกระทั่งเริ่มต้นที่จะถดถอยนับตั้งแต่ปี 2008? สภาพการณ์ดังกล่าวนี้หมายความว่าการสร้างสรรค์นวัตกรรมกำลังหยุดชะงักลงด้วยหรือไม่?
สำหรับนักมาร์กซิสต์แล้วปัญหาสำคัญนั้นไม่ใช่การขาดการสร้างสรรค์นวัตกรรมหากแต่เรื่องที่สำคัญคือความไร้สมรรถภาพของนายทุนในการ ทำกำไร จากการนำเทคโนโลยีการประหยัดแรงงานใหม่ไปใช้ ทำไมนายทุนจะต้องไปลงทุนเพิ่มในการผลิตเมื่อระบบตลาดโลกนั้นกำลังแน่นขนัดไปด้วยสินค้าอันเนื่องมาจากผลของการผลิตจนล้นเกิน (overproduction) ?
และด้วยการพยายามลดค่าจ้างและพยายามเพิ่ม “ความยืดหยุ่น” ของสัญญาจ้างแรงงานตั้งแต่หลังวิกฤตนั้น ทำให้แรงงานจำนวนมากรับรู้เป็นอย่างดีว่าพวกเขาจะต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถพัฒนาคุณภาพการผลิตในสถานที่ทำงานของตนได้ อย่างไรก็ตาม พวกเขาเก็บงำความคิดเหล่านี้เอาไว้กับตัวเอง เพราะหากพวกเขาดำเนินการมันแล้วผลลัพธ์ของมันจะออกมาในรูปแบบที่แรงงานจำนวนมากถูกปลดออกจากงาน และทำให้แรงงานกลุ่มที่เหลือนั้นต้องทำงานที่หนักมากขึ้น และท้ายที่สุดแล้วผู้ที่จะได้รับประโยชน์ก็คือบรรดานายจ้างและหุ้นส่วน
ภายใต้ระบบสังคมนิยม มนุษย์ทุกคนนั้นย่อมจะได้รับแรงจูงใจจากการนำเอาเทคโนโลยีการประหยัดแรงงานที่ทรงประสิทธิภาพมาใช้อย่างเต็มที่ เช่นเดียวกันนั้นมนุษย์ทุกคนย่อมได้รับผลประโยชน์จากการทำงานในชั่วโมงการทำงานที่น้อยลงอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นระบบทุนนิยมนั้นได้สร้างคนว่างงานจำนวนมหาศาล หากแต่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนเราย่อมจะประสานผลประโยชน์และความจำเป็นหรือความต้องการในการทำงานของมนุษย์ทุกคนเข้าด้วยกัน
มันไม่เป็นความจริงที่ความต้องการความร่ำรวยส่วนบุคคลนั้นเป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้ผู้คนพัฒนานวัตกรรม ในความเป็นจริงนวัตกรรมจำนวนมากที่เกิดขึ้นภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นภายในการแล็บวิจัยของมหาวิทยาลัย หรือในหน่วยวิจัยและพัฒนาของบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งผู้ทำการค้นคว้านั้นไม่ค่อยจะกลายไปเป็นคนร่ำรวยสักเท่าไหร่ หากแต่ผลกำไรทั้งหลายนั้นกลับตกไปอยู่ในมือของหุ้นส่วนผู้ถือครองบริษัทต่างหาก
ภายใต้ระบบสังคมนิยมนั้นมันย่อมห่างไกลจากการบ่อนทำลายการสร้างสรรค์นวัตกรรม หากแต่ทั้งนวัตกรรมและวิทยาศาสตร์นั้นย่อมจะได้รับการปลดปล่อยและเปิดทางให้มนุษย์สามารถเข้าถึงมันได้และนำไปใช้ได้อย่างเต็มศักยภาพ ด้วยชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ที่ต่ำลง สิทธิการเข้าถึงการศึกษาสำหรับมนุษย์ทุกคน และการควบคุมระบบการผลิตแบบประชาธิปไตย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ทั้งหลายนั้นย่อมจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกครอบครองเอาไว้เพื่อตอบสนองผลประโยชน์ให้กับคนจำนวนน้อยเพียงกลุ่มเดียว หากแต่มันจะเป็นไปเพื่อตอบสนองและสร้างผลประโยชน์ให้กับมนุษย์ทั้งโลก
7) จริงหรือไม่ที่นักมาร์กซิสต์นิยมความรุนแรง?
ฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดมาร์กซิสต์นั้นย่อมจะสร้างมุมมองและแพร่ขยายแนวคิดที่มองว่าพวกมาร์กซิสต์นั้นเป็นนักปฏิวัติที่กรหายเลือด หากแต่ในความเป็นจริงแล้วนักมาร์กซิสต์นั้นเพียงแค่ต้องการจะสร้างการปฏิวัติอย่างสันติเพื่อโค่นล้มระบบทุนนิยม มีเพียงแต่คนคนบ้าเท่านั้นที่ต้องการการปฏิวัติที่เต็มไปด้วยความรุนแรง ในขณะที่มันยังสามารถสร้างการปฏิวัติที่สันติได้
หากแต่ปมปัญหาก็คือประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้นได้สอนเราว่าไม่มีชนชั้นปกครองหน้าไหนที่จะยอมมอบอำนาจและสละสิทธิพิเศษทางชนชั้นของตนเองโดยไม่ต่อสู้ปกป้องมัน ดังนั้นแล้วชนชั้นแรงงานควรจะสงบปากสงบคำแล้วก้มหน้าลงยินยอมอดทนรับการกดขี่ขูดรีดจากชนชั้นปกครองต่อไป แล้วล้มเลิกความคิดที่จะต่อสู้เพื่อสังคมนิยมอย่างนั้นหรือ?
คำตอบอย่างชัดเจนที่สุดก็คือ ไม่! นักมาร์กซิสต์นั้นไม่ใช่พวกสันติวิธี อย่างน้อยที่สุดก็คือเราจะไม่ยอมรับและไม่ยอมแพ้ง่ายๆเพียงเพราะพวกชนชั้นปกครอง – พวกคนกลุ่มน้อยในสังคม – เตรียมพร้อมที่จะใช้วิธีการใช้ความรุนแรงเพื่อจะรักษาการยึดกุมอำนาจของตนเองในสังคมเอาไว้ พวกเราไม่ควรยอมแพ้และถอดใจในการต่อสู้เพื่อสร้างโลกที่ดียิ่งกว่า
หากแต่ปัญหาก็คือเราจะทำการเคลื่อนไหวต่อต้านชนชั้นปกครองที่ไม่ยอมละทิ้งอำนาจของตนเองอย่างไรโดยใช้ความรุนแรงให้น้อยที่สุด? คำตอบที่ฟังแล้วอาจจะดูแปลกประหลาดไปหน่อยก็คือ เราจะไม่ละทิ้งวิธีการใช้ความรุนแรงหากแต่เราจะต้องเตรียมพร้อมชนชั้นของเราเพื่อปกป้องตนเองจากการต่อต้านหรือการโต้กลับของชนชั้นปกครอง ด้วยขุมกำลังตามแต่ความจำเป็น
ลองจินตนาการภาพถึงกองทัพที่ปราศจากการติดอาวุธจำนวน 10,000 คนต้องเผชิญหน้ากับศัตรูกลุ่มหนึ่งจำนวน 10 คน ซึ่งแต่ละคนนั้นติดอาวุธด้วยปืนกลเต็มอัตรา เมื่อนั้นมันย่อมไม่ใช่สงครามหากแต่เป็นการสังหารหมู่ หากแต่กองทัพ 10,000 คนนั้นได้รับการติดอาวุธแบบเดียวกันแล้ว พวกเขาย่อมสามารถจะบีบบังคับให้ศัตรูทั้ง 10 คนนั้นยอมจำนนลงโดยไม่จำเป็นต้องปะทะหรือยิงกันแม้แต่นัดเดียว
ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้นเต็มไปด้วยบทเรียนและตัวอย่าง ตัวอย่างเช่น กรณีของประธานาธิบดี Salvador Allende ในชิลี ที่พยายามลงนามข้อตกลงร่วมกับกองทัพเพื่อให้พวกเขา “เคารพต่อรัฐธรรมนูญ” หรือก็คือการพยายามวาดภาพว่าชนชั้นนายทุน (ที่มีกองกำลังติดอาวุธ) นั้นย่อมจะยินยอมและยอมรับต่อเจตจำนงของชนชั้นแรงงาน (ที่ปราศจากอาวุธ)
อย่างไรก็ตามมวลชนชาวชิลีนั้นไม่ใช่กลุ่มผู้ไร้เดียงสา การประท้วงของแรงงานนับล้านคนเบื้องหน้าทำเนียบประธานาธิบดีในปี 1973 พร้อมข้อเรียกร้องขอการปกป้องการปฏิวัติของพวกเขา หากแต่ข้อเรียกร้องนั้นกลับถูกมองข้ามไป และนายพล Pinochet ได้เริ่มต้นการทำรัฐประหารเพียงหนึ่งวันหลังจากนั้น เกิดการใช้ความรุนแรงอย่างมหาศาลด้วยอำนาจเผด็จการที่ทำให้คนนับหมื่นถูกล้มจับอย่างโหดร้าย และจำนวนมากนั้นถูกนำไปทรมาน และสังหาร ในขณะที่ผู้คนอีกนับล้านซึ่งรอดชีวิตก็ต้องทนทุกข์ทรมานกับระบอบการปกครองแบบเผด็จการ
ในทางตรงกันข้าม การปฏิวัติเดือนตุลาในปี 1917 ที่เปโตรกราด (Petrograd) นั้นเป็นสถานการณ์การปฏิวัติที่มีการนองเลือดน้อยมาก อันเนื่องมาจากการเตรียมการอย่างพิถีพิถันของพรรคบอลเชวิคในการใช้กระบวนการทางการเมืองเอาชนะกองทหารรักษาการณ์เมืองเปโตรกราดและด้วยการสถาปนากองทหารของชนชั้นแรงงานเพื่อปกป้องชนชั้นแรงงานจากกลุ่มอำนาจที่พยายามปฏิปักษ์ปฏิวัติ
การเข้ายึดอำนาจในครั้งนั้นได้ถูกอธิบายเอาไว้ราวกับเป็นการปฏิบัติการจู่โจมของตำรวจ ที่ผ่านการฝึกฝนและจัดตั้งมาอย่างสูง เมทื่อกลุ่มทหารและเรดการ์ดได้เข้ายึดศูนย์กลางอำนาจและเปลี่ยนให้ศูนย์กลางอำนาจนั้นอยู่ภายใต้กระบวนการควบคุมที่เป็นประชาธิปไตยของโซเวียต
แม้ว่าจะมีความพยายามจำนวนเล็กน้อยที่จะโค่นล้มรัฐบาลพรรคบอลเชวิคด้วยการใช้ความรุนแรง อดีตชนชั้นปกครองของรัสเซียนั้นต้องประสบกับการเสียขวัญอย่างมาก เพราะพวกเขากำลังพยายามต่อต้านการเคลื่อนไหวของมวลชนนับล้านที่พร้อมจะสละชีวิตของตนเพื่อการต่อสู้เปลี่ยนแปลงสังคม
หากแต่การแทรกแซงของประเทศกองกำลังจากประเทศจักรวรรดินิยม – อันเนื่องมาจากความหวาดกลัวของบรรดาชนชั้นนำที่มีต่อการแพร่กระจายของการปฏิวัติที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศของตนเอง – ที่ทำให้เกิดการนองเลือดขึ้นในสงครามกลางเมืองเริ่มต้นขึ้น โดยการให้การสนับสนุนกองทัพต่างชาติกว่า 21 กองทัพเพื่อการโต้กลับการปฏิวัติ ตลอดจนการสนับสนุนด้านเงินทุน อาวุธ และคำแนะนำ พวกเขาพยายามที่จะทำลายการปฏิวัติให้จมลงในกองเลือดเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง
เราย่อมจะเห็นการเสแสร้งอันน่าสะอิดสะเอียนของบรรดาชนชั้นปกครองเมื่อพวกเขาพูดถึงเรื่องที่มาร์กซิสต์ต่อต้านความรุนแรง – สิ่งที่นักมาร์กซิสต์ต่อต้านก็คือความรุนแรงจากพวกชนชั้นนั่นแหละและเราจำเป็นต้องทำเพื่อปกป้องตัวเราเอง!
บรรดาศีลธรรมต่อต้านความรุนแรงจากชนชั้นนายทุนนั้นเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจอย่างถึงที่สุด มันเป็นคำพูดและศีลธรรมที่มาจากชนชั้นที่ส่งชนชั้นแรงงานนับสิบล้านคนไปสู่ความตายในสงครามโลกทั้งสองครั้ง เพื่อความประสงค์ในการจะจัดการวางระบบระเบียบใหม่ที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ทางชนชั้นของตนเอง
เราจำเป็นจะต้องตอกย้ำอยู่ตลอดเวลาว่ามันมีความเป็นไปได้อย่างแน่นอนที่ชนชั้นแรงงานจะเข้ายึดกุมอำนาจอย่างสันติ พร้อมกับการที่เรานั้นได้เตรียมความพร้อมสำหรับการปกป้องตนเองจากการโต้กลับด้วยความรุนแรงใดๆก็ตามจากบรรดานายทุน ซึ่งต่างจากรัสเซียในปี 1917 ชนชั้นแรงงานในหลายประเทศในปัจจุบันนี้ได้กลายมาเป็นคนจำนวนมากของสังคมแล้ว ชนชั้นปกครอง – ซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตในทุกหนทุกแห่ง – ย่อมพยายามจะสรรหาการสนับสนุนเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการต่อสู้เพื่อช่วงชิงเอาผลประโยชน์ทางชนชั้นของตนเองคืน
ด้วยการพยายามสถาปนาระบบสังคมนิยมให้สำเร็จในระดับโลก เราย่อมจะโค่นล้มระบบอันโหดเหี้ยมที่เป็นอยู่ลงและได้เห็นความพยายามใช้ความรุนแรงจากคนกลุ่มเล็กเพื่อปกป้องการขูดรีดและการกดขี่ที่พวกเขากระทำต่อคนส่วนมากของโลกอย่างน่ารังเกียจ
8) ระบบประชาธิปไตยนั้นเข้ากันได้กับสังคมนิยมหรือไม่?
มีการโต้เถียงกันอยู่บ่อยครั้งว่าสังคมนิยมและประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งที่ “เข้ากันไม่ได้” ซึ่งส่วนมากแล้วการโต้เถียงนั้นมักจะยกตัวอย่างอ้างถึงกรณีของรัสเซียในยุคสตาลินและบรรดารัฐที่เรียกตัวเองว่า “สังคมนิยม” มาใช้เป็นภาพตัวแทนในการโต้เถียง อย่างไรก็ตามมันเป็นเรื่องที่ไกลจากความเข้ากันไม่ได้ หากแต่เมื่อเราพิจารณาจากแก่นแท้ของมาร์กซิสต์แล้วเราย่อมจะพบว่าแนวคิดมาร์กซิสต์นั้นวางตัวเองอยู่บนหลักการประชาธิปไตยเสมอ และเสนอว่าความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นคือ แก่นแท้ สำหรับสังคมนิยมที่จะทำให้มันสามารถทำงานได้และเจริญรุ่งเรืองขึ้นได้
ภายใต้ “อำนาจที่มองไม่เห็น” (invisible hand) ของระบบตลาด กฎของระบบทุนนิยมนั้นทำงานไปโดยปราศจากการควบคุมหรือการวางแผน หากแต่ภายใต้ระบบสังคมนิยมนั้นการผลิตย่อมจะต้องอยู่ภายใต้การวางแผนอย่างมีจิตสำนึกเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ให้กับคนทั้งมวล และในระบบแบบดังกล่าวมันย่อมไม่มีที่ทางให้กับพวกข้าราชการที่จะมานั่งในสำนักงานเพื่อวางแผนการผลิตที่จะตอบสนองความต้องการให้กับคนนับล้านทั่วโลก หากแต่มวลชนทั้งหลายทั่วโลกนั้นจะต้องมีส่วนร่วมในภารกิจของการบริหารจัดการสังคมร่วมกัน เพื่อที่จะเข้าถึงศักยภาพสูงสุดของตนเอง
และเพื่อจะทำให้การผลิตนั้นได้รับการวางแผนอย่างดีเยี่ยมภายใต้ระบบสังคมนิยม มันจึงจำเป็นที่ชนชั้นแรงงานจะต้องมีกระบวนการควบคุมที่เป็นประชาธิปไตยเหนือระบบเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากหากขาดกระบวนการควบคุมที่เป็นประชาธิปไตยนี้แล้วมันย่อมจะเปิดทางให้บรรดาข้าราชการเข้ามาแทรกแทรกตัวเองในระบบและบ่อนทำลายกระบวนการผลิตลง ดังเช่นที่เกิดขึ้นมาแล้วจากบทเรียนในสหภาพโซเวียต ตัวอย่างก็เนื่องจากเพื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของการปผลิต ข้าราชการนั้นย่อมจะเข้าหากลุ่มเป้าหมายบนกระดาษหรือรายงานไม่ใช่การลงไปพบอย่างแท้จริง ซึ่งเมื่อนำไปสู่การปฏิบัติแล้วมันย่อมส่งให้เกิดความสิ้นเปลืองและความสูญเสียต่อสินค้า
กรณีตัวอย่างสำหรับเรื่องนี้ก็คือ โรงงานที่ถูกสั่งให้ผลิต “รองเท้าหนึ่งล้านอัน” ดังนั้นผู้จัดการจึงสั่งให้ผลิตรองเท้าข้างซ้ายมาหนึ่งล้านข้าง เพื่อตอบสนองเป้าหมายตามคำสั่งในกระดาษ! ซึ่งตัวอย่างเหล่านี้นั้นเกิดขึ้นเป็นทวีคูณภ่ยใต้ระบบการปกครองของสตาลิน
สถานการณ์แบบดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างแพร่หลายก็เนื่องมาจากการที่บรรดาชนชั้นแรงงานถูกขับออกจากการควบคุมอำนาจเหนือการผลิตและการเมือง ระบบการปกครองที่ต้องการส่งเสริมสิทธิประโยชน์พิเศษให้กับกลุ่มข้าราชการนั้นนำไปสู่การละเลยไม่แยแสต่อมวลชน และภายใต้บรรยากาศที่การวิพากษ์วิจารณ์ถูกห้ามนั้น ศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมและสร้างพลวัตรของชนชั้นแรงงานย่อมจะถูกบ่อนทำลายลง
มีเพียงแต่ภายใต้ระบบสังคมนิยมเท่านั้น ด้วยการสนับสนุนให้ชนชั้นแรงงานครองอำนาจ ที่จะทำให้ประชาธิปไตยของคนนับล้านสามารถเกิดขึ้นจริงได้
“ประชาธิปไตย” แบบนายทุนนั้นหมายถึงการที่มวลชนจำนวนมหาศาลของชนชั้นแรงงานถูกกีดกันออกจากกระบวนการมีส่วนร่วมแบบเป็นประชาธิปไตยในทุกๆวิธีการ ไม่เฉพาะแต่ในความจริงที่ว่าคนนับล้านถูกบีบบังคับให้ต้องใช้เวลาจำนวนมากไปกับการทำงานราวกับว่าถูกจองจำเอาไว้ในโรงงานหรือในสำนักงานตลอดทั้งวัน และบ่อยครั้งทำให้ชนชั้นแรงงานนั้นเหนื่อยอ่อนหรืออ่อนล้าเกินกว่าจะเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมือง
และแทนที่เราจะได้สิทธิในการกำหนดและควบคุมชีวิตของตัวเองเราเอง เรากลับได้รับการเสนอโอกาสที่จะเข้าไปลงคะแนนเสียงในทุกๆห้าปีหรือน้อยกว่านั้นเพื่อเลือกสมาชิก ซึ่งมักจะเป็นชนชั้นปกครอง เพื่อไปเป็นตัวแทนจอมปลอมของเราในรัฐสภา กระนั้นเองรัฐสภาก็เป็นเพียงแค่หน้าฉากเท่านั้น เบื้องหลังของมันนั้นถูกควบคุมไว้ด้วยการตัดสินที่เด็ดขาดที่จะส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเรา – และผู้ที่ทำการควบคุมที่แท้จริงก็คือบรรดานายธนาคารและเหล่ามหาเศรษฐีเจ้าของธุรกิจใหญ่โตทั้งหลายนั่นเอง
บนรากฐานของระบบทุนนิยมนั้นชนชั้นปกครองคือผู้ที่ควบคุมบงการรัฐสภาไม่ใช่ใครอื่น ดังเช่นที่เราจะเห็นได้จากบทเรียนของรัฐบาล SYRIZA ในประเทศกรีซ
ระบบประชาธิปไตยของคนงานภายใต้ระบบสังคมนิยม กล่าวคือ ระบบประชาธิปไตยสำหรับคนนับล้านนั้นย่อมจะเป็นกระบวนการที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่ารูปแบบประชาธิปไตยใดๆก็ตามที่ปรากฏขึ้นภายใต้ระบบทุนนิยม แรงงานในทุกๆสถานที่ทำงานและในย่านสถานที่ทำงานย่อมจะมีสิทธิเลือกผู้แทนของตนเข้าสู่สภาของคนงาน ซึ่งแตกต่างจากระบบรัฐสภานั้นย่อมจะมีอำนาจและความอิสระภายในตัวเองที่จะดำเนินการลงมติของตนเอง บรรดาผู้แทนทุกคนนั้นย่อมจะได้รับการเลือกตั้งมาอย่างเป็นประชาธิปไตย ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือผู้แทนทั้งหลายนั้นจะได้รับการบันทึกรายชื่อและยังอยู่ภายใต้สิทธิการถูกเพิกถอนความเป็นผู้แทนได้ด้วย
ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนของสังคมนิยมนั้นย่อมจะเปิดช่องทางให้กับการลงมติเพื่อปรับลดชั่วโมงการทำงานรายสัปดาห์ลง และเพื่อที่จะทำลายระบบการวิ่งเต้นซื้อตำแหน่งนั้นบรรดาผู้แทนจากการเลือกตั้งย่อมจะไม่ได้รับการจ่ายค่าตอบแทนใดๆมากไปกว่าค่าแรงที่เทียบเท่ากับแรงงานคนอื่นๆ และจะไม่ได้อยู่ในสำนักงานนานเกินความจำเป็น คือสามารถจะมีสำนักงานหรืออยู่ในสำนักได้เพียงช่วงเวลาหนึ่งที่แน่นอนสำหรับการวางแผนหรือลงมติเพื่อขับเคลื่อนสังคมเท่านั้น
กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้วมันกลับเป็นระบบทุนนิยมนี่เองที่เข้ากันไม่ได้กับแก่นแท้ของประชาธิปไตย เมื่อใดก็ตามที่คนงานเลือกรัฐบาลที่มีแนวโน้มจะคุกคามต่อกำไรและผลประโยชน์ของชนชั้นปกครอง บรรดานายทุน “ผู้รักประชาธิปไตย” ทั้งหลายนั้นย่อมไม่ลังเลที่จะสถาปนาระบบเผด็จการทหารขึ้น ดังเช่นที่เกิดขึ้นใน ละตินอเมริกา และในตะวันออกกลาง มีเพียงแต่ระบบประชาธิปไตยของคนงานเท่านั้น บนรากฐานของสังคมนิยม ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจากระบบประชาธิปไตยของคนส่วนน้อยไปสู่ระบบประชาธิปไตยของคนหมู่มาก
9) มันเป็นไปได้หรือที่จะเกิดการปฏิวัติขึ้นในขณะที่สื่อกระแสหลักนั้นต่อต้านเรา?
บ่อยครั้งที่เรามักจะได้ยินการพูดว่าการปฏิวัติสังคมนิยมนั้นย่อมจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ หากแต่มันไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ “ตราบใดก็ตามที่บรรดาสื่อกระแสหลักยังคงต่อต้านการปฏิวัติสังคมนิยม”
มันเป็นเรื่องจริงที่ว่าสื่อนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยในการก่อรูปความคิดสาธารณะ ในความเป็นจริง ด้วยการทำงานของโรงเรียน มหาวิทยาลัย และสถาบันศาสนา นี่คืออาวุธที่แหลมคมและทรงอานุภาพที่สุดของชนชั้นปกครองในการจะหยิบใช้มันเพื่อติดตั้งมโนทัศน์ทางสังคมที่พวกเขาต้องการให้กับมวลชนทั้งหลายยอมรับมัน
ในเกาอังกฤษนั้น มหาเศรษฐีสองคนคือ – Rupert Murdoch และ Lord Rothermere – นั้นทั้งสองได้ควบคุมการค่าขายกระดาษมากกว่า 50% ของทั้งประเทศ หรือกระทั่งในส่วนของสื่อออนไลน์เองก็มีเพียงห้าบริษัทเท่านั้นที่ครอบครองส่วนแบ่งทางตลาดของสหราชอาณาจักรไปกว่า 80% และนี่เป็นเพียงกรณีของอังกฤษเท่านั้น! ในสหรัฐอเมริกา บริษัทจำนวนหกแห่งที่ถูกถือครองโดยมหาเศรษฐีจำนวน 15 คนนั้นควบคุมการถือครองสื่อทั้งหมดเอาไว้
ด้วยการถือครองระบบสื่อทั้งหมดในโลกเอาไว้ในมือของบรรดามหาเศรษฐีเหล่านี้ มันจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่บรรดานักเขียนและนักข่าวที่พวกเขาจ้างมาย่อมจะเป็นกลุ่มนักเขียนนักข่าวที่ซื่อสัตย์และยอมเดินตามเส้นและกรอบที่พวกเขาขีดไว้ รวมถึงย่อมจะต้องทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ให้กับบรรดาเจ้าของบริษัท
นี่เป็นเรื่องที่เราสามารถสังเกตเห็นได้จากกรณีของอังกฤษ เมื่อหนังสือพิมพ์นั้นได้รับการบันทึกว่าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ระดับชาติที่ครองส่วนแบ่งกว่า 80% ในการให้การสนับสนุนพรรคอนุรักษ์นิยมในช่วงการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ข้อยกเว้นเดียวทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นกับกรณีนี้คือการที่พวกเขาสนับสนุน Tony Blair ให้ตั้งรัฐบาล “พรรคแรงงานใหม่” ในยุคที่ Blair นั้นหันไปสนับสนุนผลประโยชน์ทางชนชั้นของพวกนายทุนอย่างชัดเจน
แล้วสื่อที่ดูเอนเอียงมาทางฝ่ายซ้ายอย่าง the Guardian และ the Mirror ล่ะ? พวกเขาอาจจะมีจุดยืนที่ต่อต้านหรืออยู่ฝ่ายตรงข้ามกับพวกผู้สนับสนุนพรรคอนุรักษ์นิยมหากแต่เมื่อมันอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยม มันจึงเชื่อถือได้ว่าพวกเขามีแนวโน้มจะปกป้องระบบ ตัวอย่างเช่น การที่พวกเขานำเสนอข่าวโจมตีการปฏิวัติในเวเนซุเอลา หรือ การพยายามเขียนข่าวโจมตีอย่างต่อเนื่องที่พุ่งเป้าตรงไปหา Jeremy Corbyn
และเรื่องเดียวที่ทำให้ BBC แตกต่างออกไปนั้นคือการที่สื่อนี้บอกว่าตัวเองนำเสนอ “ความเป็นกลาง” แน่นอนว่าในความเป็นจริงแล้วคำว่า “ความเป็นกลาง” นี้ย่อมไม่มีความหมายหากเราพูดถึงมันในบริบทของการต่อสู้ทางชนชั้น ลองดูการกระทำของ BBC ที่มีต่อการนัดหยุดงานของคนงานเหมืองในระหว่างปี 1984-1985 เมื่อตัวฟุตเทจที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ตำรวจปราบปรามคนงานเหมือง เมื่อ BBC ถูกก่อตั้งขึ้น ชนชั้นปกครองต่างถกเถียงกันว่าควรจะควบรวมเอาบริษัทเข้ามาเป็นของรัฐทั้งหมดหรือไม่ และในท้ายที่สุดมันก็ถูกตัดสินให้ดำเนินการอย่างมีความเป็นกลางและเป็นอิสระ ซึ่งมันเป็นการดีกว่าและเป็นวิธีการที่ดีกว่าสำหรับการสร้างการครอบงำและหลอกลวงต่อผู้คน
แม้ว่าการรวบอำนาจสื่อทั้งหมดนี้จะตกอยู่ในมือของชนชั้นปกครอง มันก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเราทั้งหลายนั้นจะหมดหวังหรืออับจนหนทางในเป้าหมายการสถาปนาระบบสังคมนิยมและการปฏิวัติ ชนชั้นนายทุนนั้นอาจจะพูดหรือนำเสนออะไรก็ได้ตามที่พวกเขาต้องการผ่านสื่อหากแต่เมื่อสิ่งที่พวกเขาพูดนั้นไม่ได้สอดคล้องตรงกับความเป็นจริงที่ประชาชนพบเจอในชีวิตประจำวัน พวกเขาก็ย่อมจะไม่ฟังสิ่งที่พวกนายทุนบอกอีกต่อไป ชนชั้นปกครองนั้นอาจจะกล่อมเกลาเราทุกวันว่าระบบทุนนิยมนั้นดีเลิศประเสริฐศรีขนาดไหน หากแต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มันเกิดปัญหาคนว่างงานจำนวนมหาศาล ความยากจน และวิกฤตด้านค่าแรงและที่พักอาศัย โฆษณาชวนเชื่อทั้งหลายของพวกเขาก็ย่อมจะไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป
เราอาจจะมองเห็นกรณีนี้ได้ผ่านการกระทำของสื่อที่กระทำต่อ Corbyn ในระหว่างการเลือกตั้งเดือนมิถุนายนหรือก่อนหน้านั้น สื่อกระแสหลักทั้งหลายนั้นพากันกระโดดเข้าร่วมการเขียนข่าวโจมตีและบ่อนทำลาย Corbyn อย่างต่อเนื่อง โดยร่วมมือกับกลุ่ม “the Establishment” พวกเขาต่างทุ่มสรรพกำลังและสรรพาวุธทั้งหมดที่พวกเขามีใส่ Corbyn ตั้งแต่การโจมตีเรื่องรสนิยมส่วนบุคคลของเขาไปจนถึงการใส่ร้ายว่าเขาเข้าข้างกลุ่มผู้ก่อการร้าย
ถึงแม้ว่าการโจมตีนี้จะส่งผลกระเทือนต่อความคิดของคนบางกลุ่ม หากแต่ในส่วนใหญ่แล้วก็ยังถือว่าบรรดาชนชั้นนำนั้นพ่ายแพ้และไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ มันเป็นสิ่งที่กระจ่างชัดเมื่อบรรดาสื่อของมหาเศรษฐีพากันโจมตี Corbyn เหมือนเช่นเป้าหมายของ Corbyn ที่ยืนหยัดเพื่อท้าทายผลประโยชน์ของพวกเขา ยิ่งไปกว่าการทำลายชื่อเสียงของ Corbyn บรรดาสื่อทั้งหลายนั้นกลับทำให้ตนเองกลายเป็นสิ่งสกปรกในสายตาของคนนับล้าน ที่ยิ่งทำให้มวลชนเห็นอย่างกระจ่างชัดว่าพวกเขาควรจะเลือกยืนอยู่ฝั่งไหนในความขัดแย้งทางชนชั้นนี้
กระบวนการสื่อต่างๆนี้จะบรรลุการแสดงออกสูงสุดของตัวมันเองระหว่างห้วงเวลาแห่งการปฏิวัติ เมื่อความขัดแย้งทางชนชั้นดำเนินไปถึงจุดสูงสุด ตัวอย่างเช่น การทำรัฐประหารเพื่อโค่นล้มรัฐบาลของ Hugo Chavez ในปี 2002 ที่เวเนซุเอลา ที่กระบวนการต่อต้านส่วนใหญ่นั้นถูกจัดการและสนับสนุนโดยนายทุนที่ควบคุมสื่อ หากแต่การควบคุมคลื่นวิทยุโทรทัศน์ของพวกเขานั้นไม่ได้ช่วยให้มวลชนนับล้านๆคนออกสู่ถนนเพื่อปกป้องการปฏิวัติของพวกเขาและเพื่อต่อต้านการรัฐประหาร
เช่นเดียวกัน ในช่วงระหว่างการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 ในห้วงเวลาก่อนเดือนตุลาคมนั้น บรรดานายทุนต่างส่งหนังสือพิมพ์จำนวนมหาศาลที่บรรทุกไปในรถไฟ (ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์แจกฟรี) ไปส่งให้บรรดาทหารในแนวหน้า หากแต่บรรดาทหารกลับนำหนังสือพิมพ์เหล่านั้นมาเผาทิ้งทั้งหมด ในทางกลับกันทหารในแนวหน้านั้นต่างรอคอยที่จะได้รับสื่อสิ่งพิมพ์ของคณะปฏิวัติแทน อันเป็นสื่อที่คนนับล้านในรัสเซียต่างรอคอยที่จะได้อ่าน
เราจำเป็นจะต้องพัฒนาหนังสือพิมพ์ของพวกเราขึ้นเพื่อตอบโต้คำโกหกของสื่อจากชนชั้นนายทุน เราจำเป็นจะต้องสร้างความเชื่อมั่นที่จะเปลี่ยนให้ชนชั้นแรงงานก้าวออกมาและลงมือกระทำการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม และโฆษณาชวนเชื่อของชนชั้นนายทุนก็ไม่อาจจะฉุดรั้งเราไว้ได้อีกต่อไป.
10) เราจำเป็นต้องมีพรรคปฏิวัติหรือไม่?
คนจำนวนมากนั้นเห็นด้วยกับความคิดที่ว่ามันจำเป็นต้องจะต้องมีการปฏิวัติเพื่อปลดปล่อยมนุษยชาติให้เป็นอิสระจากฝันร้ายของระบบทุนนิยม อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นด้วยว่าอะไรบ้างที่เป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้สำหรับจะทำใหการปฏิวัตินั้นประสบความสำเร็จ
ตามความคิดของผู้ที่เป็นนักอนาธิปไตย (anarchists) พวกเขามองว่าไม่เฉพาะแต่พรรคปฏิวัติจะไม่จำเป็นสำหรับการปฏิวัติ แต่ยังมองว่าพรรคปฏิวัตินั้นคือสิ่งที่เป็นอันตรายอย่างแท้จริง พวกเขามองว่าระบบทุนนิยมนั้นจะล่มสลายลงในทันทีที่พลังของการปฏิบัติได้ระเบิดตัวเองออกมาจากมวลชน หรือการปะทะทั่วๆไป สังคมที่ปราศจากรัฐและชนชั้นนั้นจะเป็นสิ่งที่ดำเนินการและเป็นไปโดยธรรมชาติ
นักมาร์กซิสต์นั้นเห็นด้วยว่าขบวนการเคลื่อนไหวปฏิวัติของมวลชนนั้นอาจจะเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะมีพรรคปฏิวัติชี้นำหรือไม่ก็ตาม และมันเป็นความไร้สมรรถภาพของระบบทุนนิยมที่จะนำพาสังคมก้าวไปข้างหน้าหน้า ซึ่งทำให้มันเกิดการสะสมความโกรธแค้นและความไม่พอใจอยู่ภายใน และในที่สุดแล้วอาศัยเพียงประกายไฟเล็กๆก็มากพอที่จะทำให้ความโกรธแค้นเหล่านี้ระเบิดออกเป็นการเคลื่อนไหวของมวลชนขนาดมหาศาล
การยึดจัตุรัสเมือง หรือกระทั่งการเรียกรวมพลเพื่อการนัดหยุดงานนั้นไม่เพียงพอต่อการจะโค่นล้มระบบทุนนิยม บรรดาการเคลื่อนไหวเหล่านี้ ในเชิงวิธีการแล้วมันเป็นเสมือนการต่อสู้ด้วยการยืนคล้องแขนกัน ดังนั้นนั่นหมายความว่าบรรดาชนชั้นนำก็เพียงแต่นั่งรอเวลาจนกระทั่งชนชั้นแรงงานเลิกราไปเอง หรือรอจนกระทั่งชนชั้นแรงงานเหนื่อยอ่อนไปเอง
เพื่อที่จะทำให้การปฏิวัติสำเร็จลุล่วงไปได้ มันจำเป็นจะต้องทำให้ชนชั้นแรงงานเข้ายึดอำนาจจากมือของชนชั้นนายทุน และสถาปนารัฐรูปแบบใหม่ขึ้นมา และกระบวนการดังกล่าวนี้ย่อมจะไม่เกิดขึ้น “โดยธรรมชาติ” หากแต่จำเป็นจะต้องมีการวางแผนอย่างมีจิตสำนึก มีการจัดการองค์กร และมีการนำ
ชนชั้นแรงงานนั้นไม่ใช่กลุ่มคนที่มีลักษณะเหมือนกันราวกับกำเนิดมาจากแม่พิมพ์เดียว กลุ่มชั้นที่แตกต่างกันไปย่อนจะร่างภาพของการปฏิวัติออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกันไป และภายในกลุ่มคนนี้ย่อมจะมีผู้ที่มีความก้าวหน้าที่สุด และมีจิตสำนึกทางชนชั้นมาก ตลอดจนมีกลุ่มที่ล้าหลังที่สุดซึ่งยังคงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของชนชั้นนำ
ในทุกๆการปะทุขึ้นของการต่อสู้ทางชนชั้น ไม่ว่าจะในการนัดหยุดงานหรือการปฏิวัติ กลุ่มแรงงานที่มีความก้าวหน้าที่สุดในทุกๆสถานที่ทำงานหรือในขบวนการเคลื่อนไหวย่อมจะได้รับบทบาทการนำไปโดยปริยาย ในแง่นี้เองพวกเขาจึงเป็นเสมือน “กองหน้า” ของชนชั้นกรรมาชีพ ที่จะทำหารต่อสู้ในแนวหน้าและเคลื่อนตัวนำกลุ่มคนอื่นๆที่อยู่เบื้องหลัง
ในการปฏิวัติ กลุ่มกองหน้าของการปฏิวัตินี้สามารถกระทำการเป็นส่วนยอดอันทรงพลังในการนำชนชั้นแรงงานไปสู่ชัยชนะ ด้วยการตระเตรียมเงื่อนไขที่จำเป็นด้วยการจัดตั้งพรรคที่ติดอาวุธด้วยความคิดที่ถูกต้องในการเปลี่ยนแปลงสังคม
จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้พรรคปฏิวัติจึเป็นสิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในขั้นแรกเพื่อการวางเค้าโครงของการปฏิวัติ ประกอบเอาการก้าวเดินเชิงรูปธรรมที่จำเป็นเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลก มันย่อมจะยอมรับมรรควิธีหรือเทคนิคที่แน่นอนในการต่อสู้เพื่อทำให้เค้าโครงของการปฏิวัติประสบความสำเร็จ บรรดากลไกของพรรคนั้นเป็นกลไกเดียวที่จะทำให้ความคิดเรื่องการปฏิวัติกลายเป็นปฏิบัติการที่เป็นจริงขึ้นได้
เค้าโครงของการปฏิวัตินี้ไม่ใช่สิ่งที่ตกลงมาจากฟากฟ้าหากแต่เป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นมาจากการต่อสู้ทางชนชั้นเพื่อต่อต้านระบบทุนนิยม พรรคปฏิวัติโดยทั่วไปแล้วย่อมเก็บสะสมประสบการณ์และบทเรียนจากการต่อสู้ของขบวนการแรงงานในอดีตตลอดมา ย่อมสามารถที่จะร่างข้อเรียกร้องและความต้องการร่วมทั้งหมดของชนชั้นแรงงานเข้าไว้ด้วยกันได้ (เช่น ยุติปัญหาการว่างงาน และเพิ่มค่าแรง) และกำหนดภารกิจอันเป็นรูปธรรมที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้เพื่อทำเป้าหมายของพวกเขาให้เป็นจริง เช่น การเข้าควบคุมอำนาจสั่งการระดับสูงเหนือระบบเศรษฐกิจและสร้างระบบการผลิตแบบวางแผนเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทุกคน
พรรคปฏิวัติที่กล่าวมานี้ ถ้าหากว่ามันสามารถหยั่งรากลึกลงไปในชนชั้นแรงงานได้ จะทำให้มันสามารถกลายเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการพัฒนาจิตสำนึกของการปฏิวัติท่ามกลางหมู่มวลชนได้ อย่างไรก็ตามหน้าที่สำคัญนี้จะทำงานได้อย่างเต็มที่เมื่อมีการตั้งคำถามต่ออำนาจโดยตรง ซึ่งย่อมจะเกิดขึ้นในทุกๆสถานการณ์ปฏิวัติ
ถ้าหากว่าพรรคปฏิวัติถูกนำโดยผู้นำที่เด็ดเดี่ยวผู้สร้างความมั่นใจให้แก่ชนชั้นแรงงานและเป็นผู้ที่สามารถกำหนดภารกิจที่เป็นรูปธรรมซึ่งเกี่ยวกับการยกระดับการต่อสู้ พรรคปฏิวัติดังกล่าวนี้ ด้วยการจัดการและจัดตั้งกองหน้าของการปฏิวัติ ย่อมจะสามารถชักจูงและชักชวนเอาชนชั้นแรงงานอักจำนวนมหาศาลมาเข้าร่วมการต่อสู้เพื่อยึดครองอำนาจได้
การจัดการและการจัดตั้งที่เรากล่าวถึงนี้เป็นเสมือนลูกสูบที่อยู่รอบเครื่องจักรไอน้ำ ด้วยการควบรวมเอาพละกำลังของมวลชนมารวมเข้าไว้ด้วยกันและพุ่งตรงไปสู่จุดเดียวที่จะโจมตี เมื่อนั้นมันย่อมกลายเป็นอำนาจที่ทรงพลังสำหรับการเปลี่ยนแปลงสังคม หากว่าปราศจากสิ่งเหล่านี้แล้วพลังของชนชั้นแรงงานย่อมจะสูญสลายหายไป เสมือนไอน้ำในอากาศ
เพียงแค่ย้อนไปดูบทเรียนจากการปฏิวัติในตูนิเซียหรืออียิปต์นั้นก็เพียงพอที่จะทำให้เรามองเห็นความคล้ายคลึงกันที่ปรากฏออกมาในทางปฏิบัติ คนนับล้านนั้นออกมาเดินขบวนบนท้องถนนเพื่อเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง หากแต่เมื่อปราศจากพรรคปฏิวัติที่มีเค้าโครงที่ชัดเจนว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถบรรลุการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นแล้วกลุ่มพลังของคนนับล้านนี้จึงเลือนหายไป และชนชั้นนายทุนนั้นก็ยังคงอยู่อย่างผาสุก
ขบวนการปฏิวัตินั้นจะถูกเตรียมพร้อมในทุกๆประเทศด้วยการเผชิญหน้ากับวิกฤตของระบบทุนนิยม ดังนั้นเพื่อที่จะยืนยันถึงความสำเร็จของการเคลื่อนไหว มันจึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำงานเพื่อสถาปนาองค์กรเพื่อการปฏิวัติระดับสากล ที่มีหน่วยย่อยระดับปฏิบัติงานในทุกประเทศ ซึ่งจะทำให้เราสามารถดำเนินการเคลื่อนไหวในบทบาทนำหรือเป็นกองหน้าของการปฏิวัติได้เมื่อเวลาที่เหมาะสมมาถึง
11) มันเป็นไปได้หรือที่เราจะสร้างสังคมนิยมขึ้นโดยปราศจากการทำลายล้างโลก?
บ่อยครั้งที่เรามักจะได้ยินว่าระบบสังคมนิยมนั้นเป็นสิ่งที่เยี่ยมยอดในทางทฤษฎี หากแต่ในทางปฏิบัติแล้วมันจะเป็นสิ่งที่ทำลายล้างโลกทั้งใบ เหตุผลนั้นก็เริ่มมาจากภายใต้ระบบสังคมนิยม เราจำเป็นจะต้องเพิ่มการผลิตในอุตสาหกรรมอย่างรุนแรงเพื่อที่จะผลิตสินค้าที่มากเพียงพอสำหรับให้มนุษย์ทุกคนได้รับมันอย่างเสรี การขยายตัวนี้ย่อมจะต้องนำทรัพยากรมาใช้อย่างมากและย่อมเป็นการทำลายสภาพแวดล้อมอย่างมาก ซึ่งจะสร้างความเสี่ยงให้กับโลกทั้งใบในอนาคต
มันเป็นความจริงที่ว่าภายใต้ระบบทุนนิยมนั้น โลกของเรากำลังเผชิญหน้ากับมหัตภัยด้านสิ่งแวดล้อม ดังจะเห็นได้จากมลพิษในแหล่งน้ำ การพังทลายลงของป่าไม้ การปนเปื้อนมลภาวะทางอากาศในชั้นบรรยากาศ และมลพิษทางทะเล ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก
แม้ว่าบรรดาชนชั้นปกครองนั้นพยายามที่จะโยนความผิดทั้งหมดนี้ลงไปที่ “การบริโภค” ของปัจเจกบุคคลระดับล่าง หากแต่ความเป็นจริงก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลพวงและคุณลักษณะที่แน่นอนของระบบที่ต้องการทำการผลิตเพื่อแสวงหากำไรเพียงอย่างเดียว
ความเสียหายทางด้านสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ได้ถูกนับรวมอยู่ในการคำนวณของกลุ่มนายทุน พวกเขาต่างสนใจเพียงแต่การสร้างกำไร ถ้าหากว่าพวกเขาสนใจเรื่องความเสียหายนี้มากขึ้น เช่น ติดตั้งชุดกรองอากาศเหนือปล่องควันโรงงาน พวกเขาย่อมจะพ่ายแพ้ต่อนายทุนคนอื่นที่ไม่ได้สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม การแข่งขันบนระบบตลาดนั้นผลักดันให้นายทุนต้องแสวงหาหนทางการผลิตที่มีราคาถูกที่สุด โดยปราศจากความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม
แต่ทว่าแล้วระเบียบข้อบังคับหรือกฎหมายล่ะ? รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการอะไรเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมได้เลยหรือ? มันเป็นความจริงหนึ่งที่ว่ารัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลกต่างก็ผ่านกฎหมายปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในทุกรูปแบบ และบ่อยครั้งนั้นออกมาในมาตรการของกฎหมายปกป้องการค้าภายในที่ต่อต้านการนำเข้าสินค้า แต่ถึงกระนั้นก็ตามบรรดานายทุนก็ยังสามารถจะสรรกาวิถีทางอีกนับร้อยนับพันเพื่อหลบเลี่ยงกฎข้อบังคับเหล่านี้ ดังเช่นกรณีล่าสุดในเรื่อง “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันอื้อฉาว” ที่โรงงาน Volkswagen เมื่อมันมีการติดตั้งระบบซอฟแวร์ในรถเพื่อหลบเลี่ยงเครื่องตรวจจับการปล่อยมลพิษของตัวรถ
ยิ่งไปกว่านั้นเราไม่อาจจะวาดหวังให้รัฐบาลของนายทุนนั้นแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อมได้ รัฐบาลทุกๆรัฐบาลนั้นต่างก็อยู่ในการแข่งขันกันเพื่อสร้าง “แรงจูงใจในการลงทุน” เพื่อชนชั้นนายทุน กล่าวคือ พยายามลดภาระผูกพันใดๆก็ตามที่จะทำให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อความสามารถในการสร้างกำไรของนายทุน ต่อให้มันจะมีการลงนามในสนธิสัญญาเพื่อสิ่งแวดล้อม ดังเช่น ในสนธิสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมที่ปารีส บรรดาผู้นำรับบาลนั้นอาจจะลงนามในแผ่นกระดาษในที่ประชุม หากแต่หลังจากนั้นรัฐบาลก็อาจจะประกาศยกเลิกการลงนามนี้ได้เช่นกัน (ดังเช่นที่ Trump พึ่งกระทำไป) เพื่อจะพยายามรักษาผลประโยชน์ให้กับชนชั้นนายทุนเป็นอันดับแรก
แล้วสำหรับระบบสังคมนิยมล่ะ? ในระบบสังคมนิยมนั้นพวกเราจะไม่ยอมปล่อยให้กระบวนการผลิตนั้นตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ “อำนาจที่มองไม่เห็น” (invisible hand) ของระบบตลาด หากแต่เราจะต้องใช้กระบวนการผลิตที่มีการวางแผนอย่างมีจิตสำนึกที่จะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย
การศึกษาสำรวจชิ้นล่าสุดนั้นพบว่ามีบริษัทเพียง 100 บริษัทเท่านั้นในจากทั่วโลกที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 71% ระหว่างปี 1988 และปี 2017 ถ้าหากว่าบรรดาบริษัทเหล่านี้ (และบริษัทอื่นๆ) ดำเนินการอย่างเป็นประชาธิปไตยเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คน ไม่ใช่ตอบสนองการสร้างกำไรให้นายทุนแล้วล่ะก็ ลองจินตนาการภาพถึงผลลัพธ์ที่เราจะได้รับในการควบคุมความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ (climate change) สิ
เทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นได้พัฒนาไปถึงขั้นที่เราสามารถดำเนินอุตสาหกรรมพลังงานที่สะอาดและยั่งยืนได้แล้ว หากแต่ภายใต้ระบบทุนนิยมนั้น เงินทุนจำนวนล้านล้านถูกนำไปลงทุนในการขุดเจาะพลังงานถ่านหิน และความเป็นจริงก็คือพวกเขาใช้มันเพราะมันสามารถทำกำไรได้มากขึ้น พร้อมๆกับการควบคุมการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ทดแทน
มันมีการศึกษาเชิงประมาณการณ์แล้วว่าหากเราเปลี่ยนพื้นที่ในทะเลทรายซาฮาร่าให้เป็นแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์โดยอาศัยพื้นที่เทียบเท่ากับแคว้นเวลส์พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้นั้นจะมีจำนวนมากพอสำหรับป้อนให้กับทวีปยุโรปทั้งทวีป แน่นอนว่าภายใต้ระบบทุนนิยม รัฐบาลในยุโรปนั้นไม่ได้มีความกระตือรือร้นที่จะมอบอำนาจในการควบคุมพลังงานของประเทศตนเองให้กับรัฐบาลอัลจีเรีย ลิเบีย และอียิปต์ หากแต่ภายใต้ระบบสังคมนิยมที่ใช้ระบอบสหพันธ์สังคมนิยมระดับโลก ที่วางรากฐานอยู่บนความร่วมมือกันของชนชั้นแรงงานทั่วโลกนั้น ขอบเขตหรือกำแพงกั้นของรัฐชาติที่เคยมีก็ย่อมจะสลายหายไป
ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นไม่จำเป็นจะต้องตามมาด้วยการสร้างความเสียหายต่อโลก สินค้านั้นย่อมจะได้รับการออกแบบจนกระทั่งมันออกมาดีที่สุดแทนที่จะทำให้ผลิตมันออกมาล้มเหลว และการจัดการการผลิตนั้นย่อมจะช่วยขจัดความสูญเสียลง ด้วยทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ของโลกใบนี้ มันย่อมมีความเป็นไปได้อย่างแน่นอนที่เราจะสร้างบ้านให้มนุษย์ทุกคนได้อยู่อาศัยกันอย่างผาสุก และยิ่งดีขึ้น ดีขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันนี้เราสามารถผลิตอาหารที่มากพอสำหรับเลี้ยงดูคนในโลกไปได้อีกถึง 2-3 เท่า และแน่นอนว่าผู้คนนับล้านก็ยังตกอยู่ในความอดอยาก ดังนั้นปัญหาของมันจึงเป็นปัญหาทางการเมือง ไม่ใช่ปัญหาด้านเทคโนโลยี
เป็นความจริงที่ว่าระบบสังคมนิยมโดยตัวมันเองนั้นไม่ใช่ระบบที่ “รักษ์โลก” อย่างแท้จริง หากแต่ว่ามันมีเพียงแต่การเข้าควบคุมเหนือหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจในระดับโลก และทำลายเอาเรื่องกำไรออกจากสมการการคำนวณในการผลิตเท่านั้นที่จะทำให้มนุษยชาติสามารถพบโอกาสที่จะเดินหน้าตามหัวข้อเรื่องการอนุรักษ์ได้ และหากเราไม่ทำเช่นนั้น ระบบทุนนิยมก็จะบ่อยทำลายโลกของเราลงไป
12) การปฏิวัติเดือนตุลาปี 1917 นั้นถือว่าเป็น “การรัฐประหาร” หรือไม่?
เมื่อ 100 ปีก่อน ภายหลังการปฏิวัติเดือนตุลาในปี 1917 ในรัสเซีย เรายังคงตกอยู่ภายใต้การโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่รู้จบว่าการปฏิวัติในเดือนตุลานั้นเป็นเพียงการทำรัฐประหาร ที่นำโดยกลุ่มผู้สมรู้ร่วมคิดเพียงไม่กี่คนเท่านั้น
ตรรกะของการนำเสนอนี้คือการพยายามสร้างภาพใส่ร้ายว่าเลนินและทรอสกี้นั้นเป็นเพียงคนบ้าที่กระหายอำนาจ ผู้ยัดเยียดความต้องการของตนเองให้กับประชากรจำนวนมากที่ไม่ได้เห็นด้วย หากแต่พวกเราไม่ได้หลงเชื่อในเรื่องโหกนี้ สิ่งหนึ่งที่พวกนายทุนไม่เคยเอ่ยถึงและไม่เคยทำสำเร็จก็คือ ความเจริญงอกงามของ “ระบบประชาธิปไตย” นั้นพัฒนาขึ้นในรัสเซีย โดยปราศจากความน่าหวาดกลัวของสงครามกลางเมือง
การปฏิวัตินั้นไม่ใช่การกระทำนาฏกรรมในครั้งเดียว หากแต่เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยเวลานับเดือนหรือปี การปฏิวัตินั้นไม่ใช่เพียงการกระทำที่เกิดจากความพยายามของคนบางกลุ่มหรือผู้สมคบคิดบางกลุ่ม หากแต่เป็นการระเบิดออกของมวลชนจำนวนมหาศาลเนื่องจากความไร้ศักยภาพของชนชั้นปกครองในการพัฒนากำลังการผลิตของสังคม กล่าวคือ ความไร้ศักยภาพในการจะนำพามนุษยชาติไปสู่ความก้าวหน้า
นี่เป็นสิ่งที่ถูกพิสูจน์อย่างชัดเจนในระดับโลกในปี 1914 ด้วยการปะทุขึ้นของสงคราม หากแต่วิกฤตนั้นได้เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในรัสเซีย ในช่วงต้นปี 1917 บรรดานายทหารนั้นต่างก็ติดอยู่ในแนวหน้า ชนชั้นแรงงานในเมืองนั้นต่างตกอยู่ในสภาวะความอดอยาก และชาวนาในชนบทนั้นต่างก็ถูกรีดนาทาเร้นโดยบรรดาเจ้าที่ดิน
วิกฤตการณ์นี้ได้ดำเนินมาถึงจุดแตกหักในเดือนกุมภาพันธ์ของปี 1917 เมื่อมวลชนนั้นโค่นล้มระบบซาร์ (Tsar) และแน่นอนว่ากลุ่มที่เรียกว่ารัฐบาลชั่วคราว ที่นำโดยบรรดานายทุนและเจ้าที่ดินนั้นไม่สามารถจะนำ “สันติภาพ อาหารและที่ดิน” มามอบให้กับมวลชนผู้ผลักดันพวกเขาให้ขึ้นสู่อำนาจได้
และโดยการอาศัยร่วมกันกับรัฐบาลชั่วคราวนั้น ชนชั้นแรงงาน ชาวนา และทหารได้ร่วมกันก่อตั้ง “โซเวียต” (กล่าวคือ สภา) ของพวกเขาขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนของผลประโยชน์จากปฏิวัติของพวกเขา
อย่างไรก็ตามในขั้นแรกของการปฏิวัตินั้น พรรคแมนเชวิคและกลุ่มนักปฏิวัติสังคมนิยม (กปส.) ได้เข้าควบคุมโซเวียตและใช้อิทธิพลของมันเพื่อสนับสนุนรัฐบาลชั่วคราวของชนชั้นปกครอง ดังนั้นแล้วระบบดังกล่าวจึงหยุดชะงักลงจากวิกฤตการณ์หนึ่งไปสู่อีกวิกฤตการณ์หนึ่ง ดังเช่นที่มันได้ดำเนินสงครามจักรวรรดินิยมต่อไปและไม่ได้มอบการเยียวยาใดๆให้แก่มวลชน
เมื่อเลนินกลับสู่รัสเซียในเดือนเมษายน เขาได้เสนอความคิดกระทั่งในห้วงที่พรรคบอลเชวิคยังคงเป็นเสียงส่วนน้อยว่า ภารกิจของพวกเขานั้นไม่ใช่การยึดอำนาจโดยตัวเอง หกแต่เป็นการ “ขยายความคิดอย่างอดทน” ถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนผ่านอำนาจทั้งหลายมาสู่โซเวียต หรือก็คือสภาของมวลชน ในวันที่ 5 พฤษภาคม 1917 เลนินได้เขียนข้อความนำเสนอว่า
“ใครก็ตามที่พูดว่า “ยึดอำนาจ” นั้นมักจะไม่ได้คิดในระยะยาวจนตระหนักว่าความพยายามที่จะทำเช่นนั้นโดยปราศจากการสนับสนุนจากมวลชนส่วนมากของสังคมแล้วย่อมจะเป็นการกระทำที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงอย่างโง่เง่า”
ตลอดเดือนในฤดูร้อน ความกระตือรือร้นของมวลชนที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเผชิญกับการต่อต้านจากบรรดาผู้นำพรรคแมนเชวิคและกลุ่มนักปฏิวัติสังคมนิยม ผู้ปฏิเสธการเข้ายึดอำนาจอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงยุติการสนับสนุนพวกเขา และโซเวียตก็หันไปสนับสนุนกลุ่มบอลเชวิคแทนอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง
ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน พรรคบอลเชวิคก็ได้รับชัยชนะและได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากมวลชนโซเวียตในเปโตรกราด และมอสโก ตลอดจนในที่อื่นๆอีกมากมาย ด้วยการลุกฮือของกลุ่มชาวนาในชนบท มันจึงเป็นช่วงเวลาที่สุกงอมสำหรับการสร้างการปฏิวัติ
สำหรับผู้ที่มองหรือศึกษาเพียงผิวเผิน การปฏิวัตินี้ย่อมจะปรากฏต่อสายตาของพวกเขาในฐานะของ “การรัฐประหาร” เนื่องจากจำนวนของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต่อสู้นั้นมีเพียงเล็กน้อย กล่าวคือ มันเป็นการปฏิวัติที่มุ่งไปยึดกุมบุคคลสำคัญในรัฐบาลและเข้ายึดครองสถานที่ที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญเท่านั้น
ดังเช่นที่ทรอสกี้ได้จดบันทึกเอาไว้ในบันทึกของเขาเรื่อง ประวัติศาสตร์ของการปฏิวัติรัสเซีย
“ความเงียบสงบของท้องถนนในเดือนตุลาคม การปราศจากมวลชนและการต่อสู้ ทำให้ศัตรูมีข้ออ้างที่จะกล่าวว่ามันเป็นการเปลี่ยนแปลงของผู้สมรู้ร่วมคิดที่เป็นคนกลุ่มน้อยของสังคม เป็นการกระทำที่เสี่ยงโชคของพรรคบอลเชวิคในการพยายามยึดอำนาจ...”
“หากแต่ในความเป็นจริง การที่พรรคบอลเชวิคนั้นต้องลดและหลีกเลี่ยงการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจในห้วงจังหวะสุดท้ายให้กลายไปเป็นเรื่องของ “กลุ่มผู้สมคบคิด” นั้นไม่ใช่เพราะพวกเขาเป็นเพียงคนกลุ่มน้อย หากแต่เป็นเหตุผลที่ตรงกันข้าม – มันเป็นเพราะพวกเขานั้นมีมวลชนที่สนับสนุนพวกเขาจำนวนมากในเขตหัวเมือง และค่ายทหารที่เป็นมวลชนอันล้มหลามมหาศาล ที่มีความมั่นคง ได้รับการจัดตั้ง และมีระเบียบวินัย”
ถ้าหากว่าพรรคบอลเชวิคนั้นไม่ได้รับการสนับสนุนจากมวลชนจำนวนมหาศาลแล้ว พวกเขาย่อมจะไม่สามารถครองอำนาจอยู่ได้แม้แต่วันเดียวด้วยซ้ำ
ยิ่งไปกว่านั้น การเตรียมการสำหรับการยึดอำนาจนั้นได้ดำเนินมาแล้วหลายเดือนก่อนหน้าการยึดอำนาจ – ด้วยการเดินสายเชื่อมโยงอย่างมุ่งมั่นของพรรคบอลเชวิคที่ทำให้พวกเขาได้รับการสนับสนุนจากมวลชนและกองทหาร รวมถึงทำให้ผู้สนับสนุนของรัฐบาลชั่วคราวนั้นเปลี่ยนข้าง จนกระทั่งไม่มีใครสักคนที่คิดจะต่อสู้เพื่อปกป้องรัฐบาลชั่วคราว
ถ้าหากว่าพรรคบอลเชวิคไม่ได้เข้ายึดกุมอำนาจในช่วงเวลาดังกล่าวและผลักดันให้การปฏิวัติก้าวหน้าต่อไปแล้ว ผลลัพธ์ของมันย่อมจะไม่ทำให้เกิด “ความเจริญงอกงามของประชาธิปไตย” ขึ้นในรัสเซีย หากแต่จะเกิดสภาวะเผด็จการอำนาจนิยมรัสเซียขึ้นแทน ดังเช่นที่ชนชั้นปกครองย่อมจะดำเนินการตอบโต้ที่รุนแรงต่อนักปฏิวัติชนชั้นแรงงานและชาวนา
13) มนุษย์ทุกคนจะไม่พากันขี้เกียจหรอกหรือหากว่าเราทุกคนนั้น “ต่างได้รับผลตอบแทนที่เท่าเทียมกัน” ไม่ว่าใครจะทำงานมากหรือน้อย?
บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินการโต้แย้งที่ว่าระบบสังคมนิยมนั้นไม่สามารถจะทำงานได้หรอก ถ้าหากว่ามนุษย์ทุกคนนั้น “ต่างได้รับค่าตอบแทนที่เท่ากัน” แล้วพวกเขาย่อมจะไม่มีแรงจูงใจที่จะ “ทำงานหนัก”
ข้อโต้แย้งดังกล่าวนี้มีความผิดพลาดอยู่ในหลายระดับ ประการแรก มันเป็นการอุปโลกน์เอาเองว่าบรรดาผู้ที่ได้รับการจ่ายค่าจ้างจำนวนมากที่สุด ภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นเป็นผู้ที่ทำงาน “ที่ยากที่สุด” ในความเป็นจริงแล้วความมั่งคั่งของบรรดาผู้ร่ำรวยมหาศาลนั้นไม่ได้ “เกิดขึ้น” จากการทำงานของพวกเขา หากแต่เกิดจากการถือครองและผูกขาดกำลังการผลิตของพวกเขา และเงื่อนไขนี้เปิดโอกาสให้พวกเขาสามารถ ยึดครอง มูลค่านับล้านล้านที่เกิดจากการใช้กำลังแรงงานของชนชั้นแรงงานได้
บรรดามหาเศรษฐีเหล่านี้ส่วนมากแล้วไม่ได้ทำงานที่สร้างความเจริญงอกงามหากแต่พวกเขาจ่ายเงินจ้างผู้อื่นให้มาจัดการบริษัทและเงินทุนของพวกเขาแทน งานศึกษาของ Oxfam เกี่ยวกับความมั่งคั่งและทรัพย์สินของบรรดาเศรษฐีทั่วโลกนั้นแสดงให้เห็นว่าหนึ่งในสามของบรรดาเศรษฐีนั้นร่ำรวยจากการได้รับมรดกตกทอด ขณะที่ 43% นั้นเกี่ยวข้องกับการคดโกงและการคอรัปชั่น
ในขณะที่บรรดานายทุนกาฝากเหล่านี้กำลัง “ทำงานหนัก” บนเรือยอร์ชสุดหรูของพวกเขา คนนับล้านก็ถูกบีบบังคับให้ทำงาน 50 หรือ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ พวกเขาต้องทำงานหนักจนหลังแทบหักเพียงเพื่อแลกกับค่าแรงที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน
“งานหนัก” ที่ถูกพูดถึงมานี้นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องและได้รับการสนับสนุนจากความจริงที่ว่ากลุ่มชนที่แตกต่างกันในชนชั้นแรงงานนั้นอาจจะได้รับค่าแรงที่สูงกว่าแรงงานกลุ่มอื่น นี่เป็นผลลัพธ์มาจากความจำเป็นที่จะต้องยอมรับหน้าที่การงานใดๆก็ตาม เพื่อที่จะสามารถมีเงินมากพอซื้อหาอาหารมาทาน จ่ายค่าเช่าบ้าน และหนี้ ทางเลือกเดียวของพวกเขาหากไม่ทำงานก็คือกลายเป็นคนว่างงาน ที่สำหรับหลายคนแล้วหมายถึงความอดอยากและเป็นคนไร้บ้าน
ประการที่สอง ข้อโต้แย้งที่ว่าภายใต้ระบบสังคมนิยมนั้น “เราต่างจะได้รับค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน” นั้นคือสิ่งที่ผิด
เป้าหมายสูงสุดของพวกเรานั้นคือการไปถึงสังคมคอมมิวนิสต์ ที่มนุษย์ทุกคนนั้นสามารถได้รับทุกสิ่งที่พวกเขาต้องการอย่างอิสระ อย่างไรก็ตามความคิดแบบมาร์กซิสต์นี้ไม่ใช่พวกอุดมคติเพ้อฝัน และแน่นอนเราไม่ได้คาดหวังว่าสังคมใหม่นี้จะมาถึงเพียงแค่ช่วงข้ามคืนหลังจากชนชั้นแรงงานเข้ายึดอำนาจ หากแต่มันจำเป็นต้องใช้เวลาระยะหนึ่งเป็นห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน (ซึ่งหลายครั้งถูกเรียกว่าลำดับขั้นของ “สังคมนิยม”) ซึ่งในห้วงเวลาระหว่างนั้นคุณลักษณะของระบบทุนนิยมจะต้องถกทำลายล้างลง
ดังเช่นที่มาร์กซ์เขียนไว้ว่า
“สิ่งที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้คือสังคมคอมมิวนิสต์ และไม่ใช่ว่ามันเป็นสิ่งที่ พัฒนา ขึ้นมาจากรากฐานของตัวมันเอง หากแต่ในทางตรงกันข้ามมันเป็นสิ่งที่ ปรากฏ ออกมาจากสังคมทุนนิยม ซึ่งดังนั้นแล้วมันจึงเป็นเช่นนั้นในทุกมุมมอง ทั้งทางเศรษฐกิจ ศีลธรรม และความคิดทางปัญญา นั้นล้วนแล้วแต่ถูกประทับตราเอาไว้ราวกับปานที่ติดตัวของสังคมเก่ามาตั้งแต่มันตั้งครรภ์ก่อนการกำเนิด”
ด้วยการยึดครองอำนาจเหนือการสั่งการระดับสูงในระบบเศรษฐกิจและการวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการ มันย่อมเปิดโอกาสให้เกิดการสร้างความรุดหน้าจำนวนมากให้กับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ตัวอย่างเช่นมันย่อมเป็นไปได้ที่จะแก้ไขปัญหาคนว่างงานอย่างรวดเร็วด้วยการลดชั่วโมงการทำงานรายสัปดาห์ลง โดยไม่ต้องสูญเสียอะไรสักอย่าง
ในทางเดียวกันนั้นการเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาลในอังกฤษนั้นเป็นกระบวนการแบบสังคมนิยมผ่านนโยบายระบบการรักษาพยายามแห่งชาติ มันย่อมเป็นไปได้เช่นกันที่เราจะทำให้สินค้าและบริการอย่างอื่นเช่น พลังงาน อินเตอร์เน็ต การขนส่ง และอาหาร นั้นกลายเป็นของฟรี นี่ก็เนื่องมาจากเมื่อเราทำการผลิตหรือสามารถผลิตสินค้าได้มากพอที่จะหล่อเลี้ยงคนทั้งโลก และมันย่อมจะสามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ในแบบเดียวกันในการเพิ่มค่าจ้างระดับสูงให้กับคนจำนวนมากของสังคม
แน่นอนว่าเมื่อความขาดแคลนยังคงดำรงอยู่ วัตถุหรือสินค้าบางอย่างย่อมจำเป็นจะต้องได้รับการกระจายตัวผ่านการใช้เงินตรา กล่าวคือ การจ่ายเงินค่าจ้างนั้นยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่ มันคงเป็นเรื่องเพ้อฝันหากจะคิดว่าในช่วงแรกภายหลังการปฏิวัติสังคมนิยมนั้น มนุษย์ทุกคนจะยอมรับการได้รับการจ่ายค่าจ้างที่เท่าเทียมกันเมื่อพวกเขามีความต้องการที่แตกต่างกัน มีความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน และมีจำนวนงานที่แตกต่างกัน หรือกระทั่งยินยอมให้ผู้ที่ไม่ทำงานได้รับผลผลิตของสังคมไปใช้
อย่างไรก็ตามระบบสังคมนิยมนั้นแตกต่างจากระบบทุนนิยม ที่บริษัทจำนวนมากนั้นมีอัตราส่วนการจ่ายค่าจ้างระดับต่ำสุดกับสูงสุดที่แตกต่างกันอย่างมหาศาล (บริษัทอันดับต้น 100 บริษัทนั้น เจ้านาย “ได้รับ” ค่าจ้างเฉลี่ยที่มีมูลค่ามากกว่าค่าแรง ขั้นต่ำในการดำรงชีพ ราวๆ 386 เท่า) ภายใต้ระบบสังคมนิยม เราจำเป็นจะต้องลดทอนความต่างนี้อย่างมีนัยยะสำคัญ ในช่วงแรกของการสถาปนาสหภาพโซเวียต อัตราส่วนในการจ่ายค่าจ้างระหว่างค่าจ้างสูงสุดกับต่ำสุดในระดับทางการนั้นอยู่ที่ 1:4 และแม้ว่าอยู่ในอัตราส่วนนี้มันก็ยังถูกถือว่าอยู่ในระดับสูงอยู่ดี
ด้วยการควบคุมของชนชั้นแรงงาน การลดระดับชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ลง ตลอดจนการทำลายการแบ่งแยกระหว่างแรงงานมือกับแรงงานสมอง มโนทัศน์เรื่อง “งาน” ของเรานั้นย่อมจะเปลี่ยนแปลงไป จากภาระอันน่าเหนื่อยหน่าย ความจำเป็นต้องทำงานเพื่อหาเงินมาจ่ายหนี้ ที่ทำให้พวกเศรษฐีร่ำรวยขึ้น มันจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชีวิตของเรามีความหมาย หรือเป็น “ความต้องการขั้นแรกในชีวิต”
ด้วยการพัฒนากำลังการผลิตไปถึงจุดที่เราสามารถผลิตทุกสิ่งทุกอย่างอย่างง่ายดายเพื่อให้มนุษย์ทุกคนเข้าถึงมันได้อย่างเสรี ความต้องการที่จะได้รับ “ค่าจ้าง” ที่มากกว่าคนอื่นนั้นย่อมจะกลายเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย ดังเช่นเงินตราโดยตัวมันเองที่ย่อมจะกลายไปเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป สังคมคอมมิวนิสต์นั้นจะเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากความขี้เกียจอย่างกว้างขวาง หากแต่มันเป็นสังคมที่จะทำให้มนุษยชาตินั้นสามารถบรรลุศักยภาพสูงสุดของตัวเองได้
14) นักมาร์กซิสต์นั้นต้องการปิดกั้นและทำลายศาสนาจริงหรือ?
ถึงแม้ว่ามาร์กซิสม์นั้นจะเป็นปรัชญาแบบอเทวนิยมอย่างเต็มที่ หากแต่แก่นแท้ของมาร์กซิสต์นั้นไม่เคยเสนอหรือต้องการให้ “ห้ามปรามศาสนา” แต่ในทางตรงกันข้าม – มาร์กซิสต์นั้นต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของผู้คนที่จะปฏิบัติตนตามความเชื่อใดๆก็ตามที่พวกเขาต้องการอยู่เสมอ และนี่คือรากฐานของสิทธิทางประชาธิปไตย
ความเข้าใจผิดนี้เกิดมาจากความพยายามของกลุ่มข้าราชการในระบอบสตาลินที่พยายามปราบปรามและสั่งห้ามการปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา เราต้องรู้และตระหนักเอาไว้เสมอว่าเรานั้นไม่สามารถจะสั่งห้ามความคิดได้ การเคลื่อนไหวแบบดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการที่พยายามจะปราบปรามเสรีภาพแบบประชาธิปไตยที่อาจจะหันกลับมาต่อต้านการปกครองของพวกเขา
เป็นความจริงที่ว่ามาร์กซ์นั้นได้เสนอว่าศาสนานั้นควรจะแยกขาดตนเองออกจากรัฐ – นี่ก็เป็นหลักการขั้นพื้นฐานของประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน ศาสนาและสถาบันทางศาสนานั้นไม่ควรจะได้รับสิทธิพิเศษหรืออำนาจ หรือการสนับสนุนทางการเงินใดๆ และไม่ควรจะเข้าไปมีส่วนร่วมในสถาบันการศึกษาหรือบริการสาธารณะใดๆด้วย
นักมาร์กซิสต์นั้นยืนหยัดเพื่อการรวมตัวกันอย่างถึงที่สุดของชนชั้นแรงงานในการต่อสู้เพื่อโค่นล้มระบบทุนนิยม การแบ่งแยกทางศาสนา – หรือกล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว การแบ่งแยกใดๆก็ตามไม่ว่าจะเป็น เพศ, เชื้อชาติ, สัญชาติ, ฯลฯ – ดำรงอยู่เพียงเพื่อแบ่งแยกพวกเราออกจากกัน นักมาร์กซิสต์นั้นยินดียอมรับใครก็ตามที่เป็นนักต่อสู้ทางชนชั้นผู้แน่วแน่มาเข้าร่วมการต่อสู้ โดยไม่สนใจว่าพวกเขาจะนับถือหรือเคยนับถือศาสนาอะไร
แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าพวกเรานั้นหยิบเอาความคิดทางศาสนาเข้ามาปะปนในการเคลื่อนไหวที่ถูกชี้นำด้วยปรัชญาหรือแผนการ เราไม่ได้พยายามที่จะสร้างการปฏิรูปเล็กน้อยให้กับระบบ หากแต่เป็นการต่อสู้เพื่อโค่นล้มระบบทุนนิยมอย่างถึงรากถึงโคน
ดังนั้นแล้วพวกเราจึงจำเป็นจะต้องมีความคิดและกลยุทธ์ที่ชัดเจน ซึ่งจะต้องวางรากฐานอยู่บนการศึกษาที่เป็นวิทยาศาสตร์ของการต่อสู้ทางชนชั้น ความเชื่อเรื่องโชคลางหรือคาถาอาคมใดๆก็ตามนั้นย่อมจะเป็นภัยต่อภารกิจของเรา
เราจำเป็นต้องชี้ให้เห็นว่าในศาสนาใดๆก็ตามนั้นมันมักจะมี “นิกาย” ที่แตกต่างกันอยู่เสมอ อันเนื่องมาจากการขัดแย้งที่มีต่ออีกนิกาย บรรดานิกายต่างๆในก็มีผู้นำในระดับสูงที่เป็นคนส่วนน้อย ซึ่งเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับชนชั้นปกครอง ในขณะที่พวกผู้นำศาสนานี้ได้รับสิทธิประโยชน์จากสถานภาพของตนเอง พวกเขาก็หยิบใช้ศาสนาเพื่อสั่งสอนให้ผู้คนนั้นหยุดต่อสู้ หรือก็คือให้เราอดทนต่อการต่อสู้ทางชนชั้นพร้อมกับพยายามบ่อนทำลายการต่อสู้ทางชนชั้น ตัวอย่างเช่น หากพวกอันธพาลฝ่ายขวาเข้ามาต่อยหน้าคุณ พวกนักเทศน์จะบอกว่า “ขงยื่นแก้มอีกข้างให้เขาต่อย” หรือในกรณีที่บรรดานายทุนขูดรีดคุณ พวกนักเทศน์ก็จะบอกว่า “จงแสดงออกซึ่งความรักและการให้อภัย”
ในอีกด้านหนึ่งนั้นสิ่งที่มวลชนผู้ศรัทธาจำนวนมหาศาลนั้นมองเห็นจากศาสนาของพวกเขาคือหนทางไปสู่โลกที่ดีกว่า (แม้ว่ามันจะมีทางเดียวคือโลกหลังความตาย) สำหรับพวกเขาแล้วเราย่อมกล่าวว่า : จงระมัดระวังบรรดาผู้นำทางศาสนาที่พยายามจะฉุดรั้งท่านออกจากการต่อสู้ทางชนชั้น จงพึ่งพิงแต่ความแข็งแกร่งของตัวท่านเอง และพึ่งพิงความแข็งแกร่งขององค์กรของชนชั้นแรงงาน!
มาร์กซิสม์นั้นเป็นปรัชญาที่เป็นวิทยาศาสตร์ เราไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือใดๆจากพลังเหนือธรรมชาติเพียงเพื่อจะเข้าใจโลกและเปลี่ยนแปลงโลก อย่างไรก็ตาม เราไม่มีสิ่งใดร่วมกันกับบรรดา “อเทวนิยมใหม่” อย่างเช่น Richard Dawkins ผู้ที่คิดว่ามุมมองแบบศาสนานั้นสามารถเอาชนะได้อย่างง่ายดายผ่าน “การโต้แย้งอย่างมีเหตุมีผล” และการโฆษณาชวนเชื่อ
นักมาร์กซิสต์นั้นตระหนักดีว่าศาสนานั้นมีรากฐานเชิงวัตถุอยู่ภายในสังคม มันเติมเต็มความต้องทางสังคมอันทรงพลัง เมื่อคนนับล้านเผชิญหน้ากับการพังทลายอย่างรุนแรงในชีวิตทางโลก ด้วยปัญหาความยากจน ชีวิตที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง และสภาวะความแปลกแยกแล้ว คำสัญญาถึงสรวงสวรรค์ในชีวิตหลังความตายนั้นย่อมจะดึงดูดใจพวกเขาอย่างยิ่ง
และด้วยเหตุผลนี้เองมาร์กซ์จึงเขียนว่า
“ความทุกข์ทรมาน ทางศาสนา นั้นคือ ในห้วงเวลาหนึ่งและในเวลาเดียวกันนั้น การแสดงออก ถึงความทุกข์ทรมานที่แท้จริง และ การประท้วง ต่อต้านความทุกข์ทรมานที่เป็นจริง ศาสนานั้นเป็นการถอนใจและความเหนื่อยอ่อนของผู้สรรสร้างที่ถูกกดขี่ เป็นหัวใจของโลกที่ไร้หัวใจ และเป็นจิตวิญญาณของสภาวการณ์ที่ไร้จิตวิญญาณ ศาสนานั้นคือ ยาฝิ่น ของผู้คน.”
การต่อสู้ที่เป็นจริงใดๆก็ตามที่ต่อต้านความคิดอันลี้ลับของศาสนานั้นท้ายที่สุดแล้วย่อมจะเป็นการต่อสู้กับ สภาวการณ์ ที่ทำให้เกิดบรรดาความคิดเหล่านี้ขึ้นในเบื้องแรก นั่นจึงหมายถึงการต่อสู้อย่างมุ่งมั่นเพื่อทำลายระบบทุนนิยม ที่เป็นส่วนหนึ่งของการกดขี่และความทุกข์ทรมานของผู้คนนับพันล้านทั่วโลก
ภายใต้ระบบทุนนิยมนั้น ศาสนาปรากฏขึ้นในฐานะของอำนาจเหนือธรรมชาติที่ควบคุมเรา หากแต่ผู้คนนับล้านที่ถูกทำให้ตกงานนั้นดูเหมือนว่าจะเกิดจาก “อำนาจที่มองไม่เห็น” ของระบบตลาด ผู้คนนับล้านนั้นถูกฆ่าตายในสงคราม ภัยพิบัติ และความยากจน โดยปราศจากการควบคุมใดๆเหนือชีวิตของเรา มันจึงเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ที่คนจำนวนมากจะเชื่อคำอธิบายเชิงเหนือธรรมชาติว่าบรรดาเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นจากน้ำมือของพระเจ้า
เมื่อใดก็ตามที่ระบบการผลิตแบบเป็นประชาธิปไตยโดยคนงานนั้นได้ครองอำนาจเหนือระบบเศรษฐกิจ เราย่อมจะสามารถมอบจุดจบให้กับฝันร้ายของสังคมชนชั้นได้ เมื่อมนุษย์ทุกคนนั้นเข้าถึงการควบคุมชีวิตและโชคชะตาของตนเองได้อย่างแท้จริง มันย่อมไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมองหาที่พึ่งพิงทางความคิดเหนือธรรมชาติอีกต่อไป ถ้าหากว่าเราสามารถสร้างสรวงสวรรค์ขึ้นบนโลกนี้ได้ มันย่อมไม่มีความจำเป็นที่เราจะปลอบใจตัวเองถึงคำสัญญาว่าเราจะได้ขึ้นสวรรค์ในชีวิตหลังความตาย ดังนั้นแล้วศาสนาจะไม่ถูกห้ามปราบหรือถูกกวาดล้างในระบบสังคมนิยม หากแต่มันจะหมดความจำเป็นและสูญสลายไปเอง.