Skip to main content

แปลมาจากบทความของคุณอิลิซาเบท ชวาร์ม เกลสเนอร์  จาก www.w3.rz-berlin.mpg.de

 

Symphony No.1, Op.21

 

ดังเช่นฮอลลีวูดมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ของโลกในปัจจุบันนี้ กรุงเวียนนานั้นเปรียบได้โลกแห่งดนตรีในช่วงปลายทศวรรษที่ 1700 มันเป็นเมืองหลวงซึ่งมีความยิ่งใหญ่และทรงอำนาจ กรุงเวียนนาเป็นหัวใจทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองของทวีปยุโรป เมืองซึ่งเป็นแม่เหล็กที่ดึงดูดบุคคลที่ทะเยอทะยานในด้านต่าง ๆ สำหรับคีตกวีคนสำคัญ ๆ ซึ่งมีชื่อเกี่ยวข้องกับเมืองนี้ มีเพียงไม่กี่คนที่เป็นชาวเมืองเวียนนาจริง ๆ เพราะโดยมากพวกเขามาจากที่อื่น ๆ ด้วยความหวังต่ออาชีพที่มั่นคงรุ่งเรือง ทั้งไฮเดิน และ โมซาร์ท ก็จัดอยู่ในคนกลุ่มนั้นที่ประสบความสำเร็จในระดับแตกต่างกันไป เมื่อเบโธเฟนก้าวตามรอยของคนทั้งสองบ้างในปี 1792 คีตกวีผู้อาวุโสกว่าก็ได้สร้างรูปแบบของซิมโฟนี โซนาตา และสตริง ควอเท็ต (วงที่ใช้เครื่องสาย 4 ชิ้น) ไว้เรียบร้อยแล้ว ฉันลักษณ์เหล่านี้คือส่วนผสมของความอลังการ ความกระจ่างแจ้งและความสง่างาม แต่ในไม่ช้าพวกเขาก็ลดบทบาทความสำคัญไป ทว่ายังคงเหลือไว้ในดนตรียุคต้น ๆ ของเบโธเฟน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปียโนคอนแชร์โต  2   บทแรกและซิมโฟนีหมายเลข 1 ของเขา ซิมโฟนีหมายเลข1  นั้นถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรกในโรงละครโฮฟเบิร์ก ในวันที่ 2 เมษายน ปี 1800 การแสดงดนตรีซึ่งเป็นการเปิดตัวครั้งแรกของเบโธเฟนในกรุงเวียนนายังรวมไปถึงเซปเท็ต (เพลงที่ใช้เครื่องดนตรี 7 ชิ้น) เปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 1  ซิมโฟนีของโมซาร์ทและบางส่วนจาก The Creation ของ ไฮเดิน งานของคีตกวีดาวรุ่งที่ถูกนำแสดงพร้อมกับคีตกวีอาวุโสเป็นการย้ำความเหมือนกันระหว่างรูปแบบของพวกเขา แต่ความแตกต่างก็ยังมีให้เห็น นั่นคือถึงแม้เบโธเฟนจะคงรูปแบบเก่าไว้ แต่เขาก็ได้ทดลองด้วยความคิดใหม่ ๆ

เบโธเฟนได้ใช้ความพยายามนำเอาเครื่องดนตรีที่ใช้ลมมากกว่าตามรูปแบบเดิมและยังเพิ่มความมีชีวิตชีวาอย่างมากมายในกระบวนที่ 3  หรือ Minuet (จังหวะเต้นรำ) ที่เดิมเคยอ่อนนุ่ม จนคนดูตกใจ เบโธเฟนได้สร้างสีสันให้กับฉันทลักษณ์ทางดนตรีด้วยความเฉลียวฉลาด เช่นจากส่วนเริ่มต้นโดยคีย์ที่ไม่เหมือนเดิม มายังตอนจบที่มีส่วนเหมือนเพลงมาร์ชที่มีลักษณะเดียวกับเพลงที่คนเยอรมันร้องไปพร้อมกับดื่มเหล้า ถึงแม้ว่านักวิจารณ์หัวอนุรักษ์นิยมจะตกตะลึง นักสังเกตุการณ์โดยมากจะตอบรับในด้านบวกต่องานใหม่ชิ้นนี้ หนังสือพิมพ์ อัลล์เกอมาย มูสิกาลิช ที่ทรงอิทธิพลเขียนยกย่องอย่างมากมายว่า ซิมโฟนีชิ้นนี้ได้แสดงถึงศิลปะ ความเป็นนวตกรรมและความร่ำรวยทางความคิด  คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ยกย่องว่ามันเป็นซิมโฟนีที่ทรงพลัง กระจ่างแจ้งและยอดเยี่ยม ซิมโฟนีหมายเลข  1  นี้เป็นงานขนาดใหญ่ชิ้นแรกที่เบโธเฟนตีพิมพ์ออกมา

 

เวลาที่ใช้เล่นทั้งหมด 28 นาที มี 4 กระบวน

 

1. Adagio molto - Allegro con brio

 

2. Andante cantabile con moto

 

3. Menuetto (Allegro molto e vivace)

 

4. Adagio - Allegro

 

                              

                                             

                                                         นำมาจาก www.boxset.ru

 

Symphony No.2, Op.36

 

ซิมโฟนีหมายเลข 2 ของเบโธเฟนเป็นประจักษ์พยานต่อความกล้าหาญที่ไม่เหมือนใคร มันถูกเขียนในช่วงที่เบโธเฟนกำลังเผชิญกับช่วงอันมืดมนที่สุดซึ่งกลายมาเป็นชีวิตอันทุกข์ระทม ถึงแม้อาชีพของเขาจะเจริญก้าวหน้า ความสามารถด้านการฟังของเบโธเฟนเริ่มอ่อนแอลงอย่างรวดเร็ว และในปี 1802 เขาไม่ได้สามารถละเลยคำว่า"หูหนวก"ได้อีกต่อไป คุณหมอแนะนำว่าการไปพักผ่อนที่ชนบทอันเงียบสงบ ปราศจากเสียงอึกทึกในเมืองใหญ่อาจจะช่วยรักษาอาการได้ อย่างน้อยที่สุดก็ในเรื่องของอารมณ์ ในฤดูใบไม้ผลิต ของปี 1802 เบโธเฟนก็ได้ออกจากกรุงเวียนนาเพื่อไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านไฮลิเกนสตาดท์ ซึ่งอยู่ไม่ไกล แต่ไม่เป็นผล อาการหูหนวกของเขาไม่ได้ดีขึ้น ถึงแม้จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นชนบทและน่ารื่นรมย์ คีตกวีของเราอยู่ในภาวะแห่งความเศร้าหมองสุดขีด ความทุกข์แสนสาหัสนั้นถูกระบายออกมาในจดหมายที่เขียนถึงบรรดาน้อง ๆ แต่ไม่เคยส่งถึงมือคนเหล่านั้น ซึ่งมีคนมาพบในกองจดหมายหลังจากเบโธเฟนได้เสียชีวิตไปแล้ว

"มันเป็นไปไม่ได้สำหรับพี่ที่จะพูดกับคนรอบข้างว่า "ช่วยพูดดังๆ หรือไม่ก็ตะโกนก็ได้ เพราะผมหูหนวก !" อา พี่จะสามารถประกาศความอ่อนแอในส่วนของประสาทที่พี่ควรจะมีความเฉียบไวมากกว่าคนอื่นได้อย่างไร ... ช่างน่าละอายใจอะไรเช่นนี้ เมื่อคนที่ยืนอยู่ใกล้พี่และได้ยินเสียงฟลูตแว่วมาแต่ไกล แต่พี่กลับไม่ได้ยินอะไรเลย หรือแม้แต่เด็กเลี้ยงแกะร้องเพลง แต่พี่ไม่ได้ยินอะไรเลยอีกเหมือนกัน เหตุการณ์เช่นนี้ทำให้พี่สิ้นหวังเสียแล้ว"

จดหมายนี้ต่อมาเป็นที่รู้จักกันภายในชื่อบันทึกแห่งไฮลิเกนสตาดท์ (Heligenstadt Testament) ข้างในนั้นเบโธเฟนได้เขียนไว้ว่าชีวิตเป็นเรื่องที่สุดแสนจะทนทาน เขาจึงคิดจะฆ่าตัวตาย แต่เขาก็ระงับความคิดไว้ โดยบอกว่า "มันดูเหมือนว่าพี่จะจากโลกนี้ไปไม่ได้ จนกว่าพี่จะสร้างสรรค์สิ่งที่พี่รู้สึกภายในทั้งหมด" นี่คือบุรุษผู้เลือกที่จะใช้ชีวิตเพียงประการเดียวนั่นคือเพื่อศิลปะ ตราบใดแรงบันดาลใจของเขายังดำรงอยู่

จนกระทั้งถึงวันสุดท้ายของชีวิตเขาอีก 25 ปีต่อมา เบโธเฟนได้ผลิตงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั่นคือเปียโนโซนาตาอันแสนยิ่งใหญ่และซิมโฟนีที่โด่งดังที่มีอิทธิพลต่อซิมโฟนีอื่น ๆ ในอนาคต แต่ในบรรดางานเหล่านั้นไม่มีงานใดที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าซิมโฟนีหมายเลข 2  ซึ่งถูกเขียนจนเสร็จสิ้นในช่วงแห่งความทุกข์ระทมของตน แต่กลับไม่ได้แสดงอารมณ์เหล่านั้นออกมาเลย ในทางกลับกัน มันกลับเต็มไปด้วยจิตวิญญาณอันสูงส่งและร่าเริง ราวกับว่าถูกเขียนโดนคนที่ไร้กังวลในชีวิตนี้ มีเพียงคีตกวีผู้มีอุทิศตนด้วยใจเด็ดเดี่ยวต่องานศิลปะ ผู้ซึ่งสามารถละทิ้งความทุกข์ใจเพียงเพื่องานศิลปะที่เขียนซิมโฟนีในเวลาเช่นนั้น ในแง่มุมนี้ งานอันทรงเสน่ห์นี้จึงเป็นสารัตถะแห่งความห้าวหาญ ซิมโฟนีหมายเลข 2 ถูกนำออกแสดงในกรุงเวียนนาเมื่อวันที่ 5 เมษายน 1803 เบโธเฟนมาควบคุมรายการด้วยตนเอง ซึ่งยังรวมไปถึงออราโตริโอ ที่ชื่อว่า Christ on the Mount of Olives รวมไปถึงเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 3 ปฏิกิริยาที่สาธารณชนมีต่อการแสดงนั้นค่อนข้างจะหลากหลาย และต่อมาการแสดงก็ได้รับการวิจารณ์โดยรวมในด้านลบเพียงน้อยนิด นักวิจารณ์ชาวเมืองไลป์ซิกเขียนบรรยายว่า "ในตอนจบของเพลงนั้นเหมือนกับอสุรกายผู้น่าเกลียดชัง หรือไม่ก็งูหางกระดิ่งที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งยังดิ้นพรวดพราด อาละวาดไปจนกว่าจะสิ้นลม" แต่หนังสือพิมพ์อัลล์เกอมาย มูสิกาลิช กลับยกย่องว่าเป็นงานที่เต็มไปด้วย "ความคิดใหม่ๆ เป็นของตัวเอง"ความแปลกใหม่นั้นเองจึงเป็นสาเหตุให้คนมองในแง่มุมที่ต่างกัน อันเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของเบโธเฟน

มันเป็นงานที่มีความยิ่งใหญ่กว่าซิมโฟนีของโมซาร์ตหรือไฮเดิน บทนำของมันนั้นมีความมหึมายิ่งกว่า ตอนจบของมันมีความยาวมากกว่าและมันยังมีลักษณะค่อนไปทางซิมโฟนีตามรูปแบบของโรแมนติกที่ยังไม่มีใครก้าวไปถึง นอกจากนี้ ในงานชิ้นใหม่นี้ เป็นครั้งแรกที่ เบโธเฟนไม่ยอมใช้กระบวนที่ 3  หรือ Minuet ตามที่รูปแบบเก่า เพราะเขาหันไปใช้จังหวะ Sherzo (จังหวะที่ออกเชิงขบขัน) กระบวนอันแสนร่าเริงพร้อมด้วยพลังและความกระตือรือล้นเกินกว่าที่นักวิจารณ์หัวอนุรักษ์นิยมบางคนจะทนทานได้ นี่คือหนทางใหม่สุดในการสร้างรูปแบบของดนตรี แต่สำหรับเบโธเฟนแล้วมันเป็นเพียงจุดเริ่มต้น

 

เวลาที่ใช้เล่นทั้งหมด 36 นาที มี 4 กระบวน

 

1. Adagio molto - Allegro con brio

 

2. Larghetto

 

3. Scherzo (Allegro)

 

4. Allegro molto

 

 

                                                   

                                                                          นำมาจาก www.demotivation.us  

 

 

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    ฟังเพลงของเขามามากต่อมากแล้วเรามาทายกันดีกว่าว่าหน้าตาของเขาน่าจะเป็นอย่างไร สูงผอม บอบบาง ขี้โรค อารมณ์อ่อนไหวง่ายและหน้าตาเต็มไปด้วยความทุกข์อยู่ไม่คลาย ?  และเมื่อเห็นภาพของโชแปงซึ่งเป็นภาพถ่ายของเขาเพียงภาพเดียว (ไม่นับภาพวาดอีกหลายๆ ภาพ และภาพยนตร์ที่อิงกับชีวิตของเขา) ก็ค
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้หรือไม่กับพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกของอังกฤษเมื่อปี 2012 ที่มีภาพยนตร์สั้น ซึ่งสร้างความประหลาดใจและความประทับใจให้กับคนดูทั่วโลกอย่างมาก เมื่อเจมส์ บอนด์ (แสดงโดย ดาเนียล เครก) ได้เดินทางไปถวายการอารักขาให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (แสดงโดยพระองค์จริง) ที่พระราชวังบักกิงแฮมก่อนจะเสด็จโด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
       คนไทยมักจะรู้จักอุปรากร Madame Butterfly  หรือ คุณนายผีเสื้อ  เป็นอย่างดีผ่านบทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้าของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่ทรงดัดแปลงหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากอุปรากรเรื่องนี้ซึ่งแสดงถึงโศกนาฏกรรมของความรักระหว่างคน 2 เชื้อชาติคือ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
       หากเข้าใจเปรียบเทียบ Psycho นั้นเปรียบดังดาวซึ่งจรัสแสงที่สุดเท่าที่ฮอลลีวู้ดจะมีไว้ประดับท้องฟ้าแห่งวงการภาพยนตร์โลกประเภทตื่นเต้นสยองขวัญ แน่นอนว่าผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ซึ่งทำให้คนดูเหงื่อทะลักเกือบทั้งเรื่องทั้งที่มีเครื่องปรับอากาศย่อมไม่ใช่ใครอื่นนอกจากราชาแห่งภาพยน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ตอนที่ 1    
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   บทความนี้ขออุทิศให้ภรรยาของอ้ายจรัลซึ่งครั้งหนึ่งผู้เขียนบทความนี้มีโอกาสได้รู้จัก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ถือได้ว่าเป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของวงการดนตรีคลาสสิก เขาเป็นผู้บุกเบิกดนตรียุคบาร็อค (Baroque) ซึ่งเป็นดนตรีที่เรียบง่าย ฟังสบายๆ ไม่ดุเดือดเหมือนกับแนวโรแมนติกที่บุกเบิกโดยเบโธเฟนในหลายสิบปีให้หลัง  ด้วยดนตรีของบ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
     เคยมีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ สังคมไทยเกิดคำฮิตกับเพศชายคือคำว่าเมโทรเซ็กซัล (Metrosexual) หรือเรียกสั้นๆ ว่าเมโทร กระนั้นก็ทำให้คนเข้าใจไปเป็นคำ ๆ เดียวหรือใกล้เคียงกับ  คำว่า Homosexual หรือ พวกรักร่วมเพศ จึงกลายเป็นมองว่าคนพวกนี้เป็นเกย์ทั้งนั้น  ตามความจริ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 Ran(1985) เป็นงานชิ้นโดดเด่นและใช้ทุนสุดมหาศาลของยอดผู้กำกับภาพยนตร์อย่างอาคิระ คุโรซาวาในช่วงบั้นปลายที่เขาหันมาทำภาพยนตร์เป็นสีธรรมชาติ บางคนอาจจะชอบภาพยนตร์สีธรรมชาติเรื่องก่อนหน้านี้ของเขาคือ kagemusha หรือนักรบเงา (1980) แต่ผมคิดว่า Ran จัดว่าเป็นภาพยนตร์ที่เปี่ยมด้วยเนื้อ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                        
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Pyotr Ilyich Tchaikovsky) คีตกวีชื่อดังที่สุดคนหนึ่งของรัสเซีย ไม่ได้เก่งแค่แต่งเพลงประกอบบัลเลต์อย่างเช่น Nutcracker หรือ Swan Lake รวมไปถึงไวโอลินและเปียโนคอนแชร์โตอันลือชื่อ หากแต่ยังฉกาจในการแต่งซิมโฟนี ซึ่งแต่ละบทก็มีชื่