Skip to main content

Debate =discussion between people in which they express different opinions about something อ้างจาก http://www.merriam-webster.com/dictionary/debate

 

ดีเบตแปลว่า การถกเถียงกันระหว่างบุคคลโดยพวกเขาแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับบางเรื่อง

 

สาขาวิชาของข้าพเจ้าได้รับเชิญให้ไปร่วมงานดีเบตหรืองานถกเถียงร่างรัฐธรรมนูญที่หอประชุมของวิทยาลัยแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา ตอนแรกมีการร้องขอให้สถานที่จัดเป็นมหาวิทยาลัยของข้าพเจ้า แต่ดูเหมือน กกต.จะไม่ยินยอมเท่าไรนัก อาจเพราะเกรงว่าจะมีการปลุกระดมนิสิตหัวรุนแรงมาชูป้ายก็ได้ โดยทางเพื่อนที่ทำงานพร้อมใจกันโหวตให้ข้าพเจ้าเข้าร่วมในนามของฝ่ายไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญเพียงผู้เดียว ไม่ใช่ว่าข้าพเจ้าเก่งอยู่คนเดียว แต่บรรยากาศเช่นนี้ ย่อมทำให้คนแสดงการคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญอย่างเปิดเผยรู้สึกอึดอัดใจ เพราะมีกฎหมายมาตีกันไว้ อันเป็นการส่งเสริมบรรยากาศซึ่งภาษาฝรั่งเค้าเรียกว่า repressive คือกดๆ ไว้จากรัฐบาล อันสะท้อนให้เห็นว่าเป็นการพรางตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการโจมตีของอีกฝ่ายที่ว่าไม่ยอมรับความคิดเห็นอันแตกต่าง

 

และก็เป็นจริงอย่างที่ข้าพเจ้าคาดเดาไว้ เพราะผู้จัดงานคือหน่วยราชการได้เปลี่ยนเป็นงานประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญแทนดีเบตแทน ภายใต้ชื่อว่า "เวทีแสดงความคิดเห็น" มีผู้ว่าราชการจังหวัดและนายกอบจ.มานั่งฟังด้วย บรรยากาศจึงเป็นทางการแบบไทยๆ ที่ไม่น่าจะยอมรับความเห็นอันแตกต่างกันหรือความคิดแปลกใหม่ได้เพราะมีโพยเตรียมไว้หมดแล้ว ดีที่ผู้ดำเนินรายการคนสวยช่วยจัดให้มีดีเบตเล็กๆ ระหว่างข้าพเจ้ากับปลัดจังหวัดผู้นั่งอยู่เคียงข้างโดยบังเอิญ  ซึ่งท่านก็ได้แสดงความคิดเห็นแบบท่านมีชัยกับพี่ตู่ของอุดม แต้พานิชมาก เช่นเชียร์เรื่องรัฐธรรมนูญว่าจะให้สิทธิประชาชนเรื่องอะไรบ้างและก็โจมตีประชาชนไทยว่ายังไม่เหมาะสมกับประชาธิปไตยเหมือนกับคนอังกฤษ (เป็นการตอบโต้กับตัวอย่างที่ข้าพเจ้ายกถึงความยิ่งใหญ่ของรัฐสภาอังกฤษ) แถมยังโจมตีคณะราษฎรอีกต่างหาก ข้าพเจ้าอยากจะเถียงท่านมากกว่านี้ แต่ก็ต้องดึงๆ ตัวเอง หรือ self censor ไว้ เพราะไม่แน่ใจว่าบรรยากาศงานถูกออกแบบว่าจะไปทางไหนว่าไปถ้าดุเดือดกว่านั้นคนดูน่าจะพอรับได้เพราะโทรทัศน์ก็มีรายการแบบนี้บ่อยไป คิดเล่นๆ ว่าถ้างานนี้จัดโดยสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันหรือบุ๊ครีพับลิก น่าจะสนุกกว่านี้ แต่อาจด้วยทางจังหวัดซึ่งปกครองเขตที่ทางรัฐบาลเพ่งเล็งพิเศษว่ามีเสื้อแดงอยู่มากเกรงว่าจะมีคนมาป่วนหรือประท้วง แม้แต่การเปิดให้คนดูแสดงความคิดเห็นก็กลายเป็นการเขียนกระดาษคำถามส่งให้ผู้ดำเนินรายการอ่านแทน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นคำถามที่ไม่ค่อยเข้าเป้าเท่าไร กระนั้นคำอ้างเช่นนี้ของผู้จัดงานอาจเป็นการเขียนเสือให้วัวกลัวก็ได้ เพราะข้าพเจ้าก็ไม่เห็นวี่แววของใครจะมาป่วนงาน บางทีมีคนมาป่วนงานบ้างก็ดีจะได้เป็นสีสันของประชาธิปไตยเหมือนการรณรงค์การออกจากสหภาพยุโรปหรือ Brexit ของอังกฤษ แต่ตามตรรกะของระบบราชการไทยซึ่งสมองแช่แข็งตั้งแต่ยุคสฤษดิ์แล้ว การถกเถียงกันคือการทะเลาะกันและนำไปสู่ความวุ่นวาย และจะนำพวกเขาไปสู่ความเดือดร้อนเพราะจะถูกหน่วยเหนือเล่นงานเช่นสั่งย้ายหรือไม่ให้ความดีความชอบดังเช่นผู้ว่าราชการจังหวัดที่กลัวแม้แต่ป้ายโฆษณากาแฟยี่ห้อหนึ่งจึงต้องอ้างเรื่องก่อม๊อบไว้ก่อน งานที่ข้าพเจ้าเข้าร่วมเลยเป็นการประชาสัมพันธ์หรือโฆษณาชวนเชื่อดังว่า

 

ท้ายนี้ ข้าพเจ้าคิดว่างานที่พวกเสรีนิยมชื่นชอบอย่างดีเบตได้ถูกกลายร่างเป็นเฟอร์นิเจอร์สวยๆ ให้กับทางรัฐบาลได้อ้างกับต่างชาติเรื่องการส่งเสริมประชาธิปไตยได้เสมอ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางการเมืองไทยยุคหลังรัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคมตลอดไปไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะผ่านหรือไม่ก็ตาม นั่นคือการจัดเวทีนาฎกรรม (Drama) โดยรัฐเพื่อกล่อมประชาชนเสียมากกว่าจะอิงกับอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างแท้จริง เว้นแต่ว่าไทยจะเป็นประชาธิปไตยเสรีนิยมอย่างแท้จริงไม่ว่าทางรูปแบบทางการเมืองหรือวัฒนธรรม ซึ่งข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่าเมื่อไร

 

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถือได้ว่า It's A Wonderful Life เป็นภาพยนตร์ที่อเมริกันชนแสนจะรักใคร่มากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังชีวิตในยุคหลังมากมายหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์ขาวดำเรื่องนี้ยังถูกนำมาฉายทางโทรทัศน์ในช่วงคริสต์มาสของทุกปีในอเมริกา คอหนังอเมริกันมักจะเอยชื่อหนังเรื่อง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ  มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44  ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect  Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ  กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982)  สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด