Skip to main content
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ  Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913  และหนังสือเล่มนี้ก็ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในปีเดียวกัน
 
ก่อนหน้านี้ผมรู้สึกอับอายเป็นยิ่งนักเมื่อตอนเรียนมัธยมปีที่ 4  อาจารย์ได้ใช้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลา และอาจารย์ได้อ่านกวี (ซึ่งไม่เน้นสัมผัส)ให้แก่พวกเราฟัง ด้วยสติปัญญาอันตื้นเขิน พวกเราจึงหัวเราะด้วยความไม่เข้าใจสารที่ท่านมหากวีต้องการจะสื่อ แต่ครั้นเมื่อได้อ่านบทกวีเล่มนี้ของท่านซ้ำแล้วซ้ำอีก ผมถึงกลับหลั่งน้ำตาถึงความไพเราะของบทกวีที่ท่านได้รจนามาจากจิตวิญญาณอันละเอียดอ่อนและการหยั่งรู้ถึงสัจธรรมของโลกและจักรวาล งดงามเช่นเดียวกับหนังสือคีตาญชลี (ขอน้อมสรรเสริญพระเจ้าด้วยบทเพลง) แต่ในหนังสือเล่มนี้กลับเน้นไปที่การสะท้อนมุมมองอันบริสุทธิ์ของเด็กที่มีต่อโลกภายนอก โดยเฉพาะต่อแม่ของเขา ดังนั้นผมจึงใคร่จะนำเสนอบางบทโดยเฉพาะที่น่าประทับใจเป็นพิเศษ จากทั้งหมดกว่า 40 บท  มีคนนำมาแปลเป็นภาษาไทยอย่างเช่นนายแพทย์ วิทูร แสงสิงแก้วที่ผมใช้อ่านเป็นหนังสือนอกเวลาและ ท่านกรุณา กุศลาสัย (ถ้าจำไม่ผิดเป็นบางส่วน) แต่ที่สามารถเอามาลงบล็อคได้คือเวอร์ชั่นของคุณปรีชา ช่อปทุมจาก  http://www.fringer.org/wp-content/writings/crescent-thai.pdf  ดังข้างล่าง
 
 
 
                        
 
                              ภาพจาก www. tower.com
 
หนังสือเริ่มต้นจากบทกวีที่แสนจะงดงามทางจิตวิญญาณทำให้ผมนึกถึงชนบทแถวบ้านนอกของผม คือบทแรกที่ชื่อว่า
 
The Home 
 
I paced alone on the road across the field while the sunset was hiding its last gold like a miser.
 
The daylight sank deeper and deeper into the darkness, and the widowed land, whose harvest had been reaped, lay silent.
 
Suddenly a boy's shrill voice rose into the sky. He traversed the dark unseen, leaving the track of his song across the hush of the evening.
 
His village home lay there at the end of the waste land, beyond the sugar-cane field, hidden among the shadows of the banana and the slender areca palm, the cocoa-nut and the dark green jack-fruit trees.
 
I stopped for a moment in my lonely way under the starlight, and saw spread before me the darkened earth surrounding with her arms countless homes furnished with cradles and beds, mothers' hearts and evening lamps, and young lives glad with a gladness that knows nothing of its value for the world.
 
บ้าน

ฉันย่ำไปตามเสนทางซึ่งตัดผานทองทุง ขณะที่ดวงอาทิตยอัสดงกําลังซอนแสงสีทอง เสมือนอาการของคนขี้ตระหนี่  ความสวางแหงวันจบลงทามกลางความมืด ทองทุงโลงตลอด ภายหลังฤดูเก็บเกี่ยวนอน สงบตัวนิ่ง ทันใดเสียงยะเยือกของเด็กกองสูนภากาศ เขาเดินฝาความมืดขมัว ทิ้งรองรอยแหงบท เพลงไวกับความสงบยามค่ํา หมูบานของเขาอยูในบริเวณรกราง พนเขตไรออยออกไป มันซุกอยูใตดงกลวย ดงหมากสูงชะลูด ดงมะพราวและขนุนใบเขียวเขม ฉันหยุดอยูครูหนึ่งบนทางเปลี่ยวภายใตแสงดาว เบื้องหนาโนนและเห็นผืนธรณีสีนิล ทอดลําแขนตระกองกอดหมูบานซึ่งประดับดวยเปลและเตียง ดวงใจของแมและเปลวประทีป เด็กๆ มีชีวิตอยูกับความรื่นรมย ์โดยหาไดตระหนักถึงคุณคาของตัวเองไม วามีตอโลกเปนประการใด

 
 
ลองนึกถึงภาพถึงความงดงามของชนบทอินเดีย ในยามสนทยา จากแสงอันขมุกขมัว (เป็นจินตนาการอันแสนบรรเจิดมากที่ท่านมหากวีเปรียบอาทิตย์เหมือนกับคนตระหนี่ที่แอบเก็บทองไว้) จนไปถึงม่านแห่งความมืดได้คลี่ลงมาให้เห็นดาวระยิบระยับ และไกลออกไปนั้นคือความงดงามของความรักที่แม่มีต่อลูก ในบทแรกนี้ ท่านรพินทรนาถได้ให้ผู้บรรยายเป็นบุคคลอื่นที่พเนจร เดินผ่านมา (คิดว่าคงใช่ เพราะในกวีบอกว่า My lonely way)
 
หากชีวิตของเราเหมือนคนพเนจรคนนั้นก็ดี ท่านอาจจะเปรียบกับคนทั่วไปที่ถือว่าตนเป็นคนมีฐานะ มั่งคั่ง แบบชนชั้นกลาง ชีวิตเต็มไปด้วยความวุ่นวาย ผลประโยชน์ พิธีการ แต่ไม่เคยเห็นอย่างคนพเนจร หมอนหมิ่น ได้แลเห็นบางสิ่งบางอย่างที่ชีวิตของเราตั้งแต่หนุ่มสาวถึงแก่ไม่เคยพบ นั่นคือความรักอันบริสุทธิ์ ความเงียบสงบของชนบทอาจจะหมายถึงความสงบของจิตวิญญาณมนุษย์ และเสียงของเด็กหนุ่มอาจจะเปรียบกับเสียงแห่งแห่งการสวดมนต์ หรือเสียงจากภายในของตัวมนุษย์เอง
 
นอกจากนี้ยังมีอีกบทที่น่าสนใจคือบทที่ 2 ดังชื่อ
 
On The Seashore  
 
On the seashore of endless worlds children meet.
 
The infinite sky is motionless overhead and the restless water is boisterous. On the seashore of endless worlds the children meet with shouts and dances.
 
They build their houses with sand, and they play with empty shells. With withered leaves they weave their boats and smilingly float them on the vast deep. Children have their play on the seashore of worlds.
 
They know not how to swim, they know not how to cast nets. Pearl-fishers dive for pearls, merchants sail in their ships, while children gather pebbles and scatter them again. They seek not for hidden treasures, they know not how to cast nets.
 
The sea surges up with laughter, and pale gleams the smile of the sea-beach. Death-dealing waves sing meaningless ballads to the children, even like a mother while rocking her baby's cradle. The sea plays with children, and pale gleams the smile of the sea-beach.
 
On the seashore of endless worlds children meet. Tempest roams in the pathless sky, ships are wrecked in the trackless water, death is abroad and children play. On the seashore of endless worlds is the great meeting of children.
 
ชายฝั่ง
 

เด็กๆ มาพบกัน ณ ชายฝงทะเลของโลกกวาง ทองฟาเวิ้งวางนิ่งสนิทอยูเบื้องบน สวนทองน้ำเคลื่อนไหวโครมครืน เด็กๆ มาพบกันดวย เสียงตะโกน และการโลดเตน ณ ชายฝงทะเลของโลกกวาง พวกเขาสรางบานดวยทราย เลนสนุกกับเปลือกหอย ตอเรือดวยใบไมรวง แลวหยอนลง น้ําลึกและกวางดวยอาการยิ้มหัว เด็กๆ มีที่เลน ณ ชายฝงทะเลของโลกกวาง พวกเขาวายน้ำไมเปน ทอดแหไมเปน สวนนักงมไขมุกดําดิ่งลงควานหาหอยมุก นาย วาณิชแลนสําเภาออกคาขาย ขณะที่เด็กๆ รวบรวมกอน กรวด แลวก็โยนเกลื่อนกระจาย พวกเขา ไมเสาะหาขุมทรัพยและทอดแหก็ไมเปน หาดทรายเผยอยิ้ม น้ำทะเลเออลนดวยการหัวเราะ คลื่นมรณะขับขานลํานําอันปราศจาก ความหมายใหเด็กๆ ฟง เชนเดียวกับแมเหกลอมทารกขณะไกวเปล ทะเลหยอกเย้าเด็กๆ และหาด ทรายเผยอยิ้ม เด็กๆ มาพบกัน ณ ชายฝงทะเลของโลกกวาง พายุโหมกระหน่ำ สําเภาพินาศลงในแมน้ำ และความตายเขาจูโจม แตเด็กๆ คงเลนสนุกตอไป พวกเขามาพบกัน ณ ชายฝงทะเลของโลกกวาง

 
ในบทนี้ ท่านรพินทรนาถ ฐากูรได้เปลี่ยนสถานที่จากชนบทมายังทะเล ซึ่งในตอนแรกจะทำให้คนอ่านจินตนาการถึงทะเลในยามเช้า ที่สดใส แสงแดดส่องทะลุเมฆขาวลงกระทบกับทะเลและชายหาดเป็นกระจายราวกับมีอัญมณีเกลื่อนอยู่ แต่ท่านก็ได้บรรยายว่าทะลนี้ยังมีความน่ากลัวคือส่งเสียงดังอยู่อื้ออึง (Boisterous) และยังสามารเกิดทะเลซึ่งส่งผลให้เรือต้องอับปางและมีคนตายกันเกลื่อน 
 
สิ่งที่ทำให้บทกวี้นี้สวยงามก็คือทะเลยังเป็นสถานที่ให้บรรดาเด็กน้อยทั้งหลายได้ เล่นก้อนกรวด กู่ร้อง เต้นรำกันอย่างมีความสุข สำหรับพวกเขาคลื่นที่แสนน่ากลัวกลับเห่กล่อมเขาด้วยบทเพลงที่ไม่มีความหมาย ดุจดังเพลงกล่อมที่มารดามีต่อบุตร 
 
ในกวีบทนี้ท่านมหากวีต้องการเปรียบทะเลหรือ Endless World ได้ดังความร่าเริงและจินตนาการอันบริสุทธิ์ของเด็ก หรือมองอีกแง่คือความไร้ซึ่งกิเลสซึ่งคนทั่วติดอยู่ในร่างแห่ของมัน คำว่ากิเลสในบทกวีนี้ถูกแทนด้วยกิจกรรมอันแสนวุ่นวายของผู้ใหญ่ เช่นการวางอวน การค้นหาไข่มุกและ สมบัติ การจมลงของเรือจึงเปรียบได้กับความยุ่งยากหรือความพินาศของมนุษย์ที่เกิดจากกิเลสเอง ในขณะที่ผู้ปราศจากกิเลส ดังสัญลักษณ์คือ เด็ก ต่างมีความสุขสงบในโลกอันไร้ที่สิ้นสุดของเขา 
 
แนวคิดของท่านมหากวีจึงเป็นจินตนิยมหรือ Romanticism คือเน้นไปค้นหาความจริง ความงามจากภายใน ถึงแม้ท่านจะเป็นนักปราชญ์ฮินดูแต่ท่านจะเน้นจากภายในของตัวมนุษย์เองมากกว่า จากพระเจ้า นับได้ว่าท่านมหากวีเปรียบเปรยกับชีวิตมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้งและงดงามยิ่งนัก 
 
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เข้าใจว่าผลงานของ William Shakespeare ที่คนไทยรู้จักกันดีรองจากเรื่อง Romeo and Julius ก็คือวานิชเวนิส หรือ Merchant of Venice ด้วยเหตุที่ล้นเกล้ารัชกาลที่หกทรงแปลออกมาเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับเด็กนักเรียนได้อ่านกัน และประโยค ๆ หนึ่งกลายเป็นประโยคยอดฮิตที่ยกย่องดนตรีว่า &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเพลงหรือ musical ที่มีสีสันมากที่สุดเรื่องหนึ่งในทศวรรษที่ห้าสิบและหกสิบ เราก็คงจะนึกถึงเรื่อง West Side Story เป็นเรื่องแรก ๆ อาจจะก่อน Singin' in The Rain หรือ Sound of Music เสียด้วยซ้ำ ด้วยหนังเรื่องนี้มีจุดเด่นคือเพลงทั้งบรรเลงและเพลงร้องที่แสนไพเราะ ฝีมือการกำกับวงของวาทยากรอ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มักเป็นที่เข้าใจว่าอเมริกาเป็นประเทศแห่งความเท่าเทียมกัน อาจด้วยอเมริกานั้นไม่เคยเปลี่ยนผ่านยุคศักดินาเหมือนกับประเทศในเอเชียและยุโรป อเมริกาถึงแม้จะมีชนชั้นกลางมากแต่บรรดาในชนชั้นกลางก็มีการแบ่งแบ่งแยกที่ดีที่สุดคือเงิน รองลงมาก็ได้แก่ฐานะทางสังคม สีผิว เพศ ฯลฯ เอาเข้าจริงๆ ไม่มีสังคมไหนในโลกท
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    1.นอยด์ เป็นคำแสลงที่ถือกำเนิดได้มานานหลายปีแล้ว มาจากคำว่า noid กร่อน (โดยคนไทยเอง) จากศัพท์อังกฤษ  paranoid ซึ่งแปลว่า ความวิตกกังวลว่าคนอื่นไม่ชอบหรือพยายามจะทำร้ายตัวเองแม้ว
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                                                                    &
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผีเป็นบุคคลที่เราไม่พึงปรารถนาจะพบ แต่เราชอบนินทาพวกเขาแถมยังพยายามเจอบ่อยเหลือเกินในจอภาพยนตร์ ทั้งที่ก็ไม่รู้ว่ามีตัวตนจริงหรือเปล่า ด้วยส่วนใหญ่ได้ยินกันปากต่อปาก ประสบการณ์ส่วนตัวก็ไม่ชัดเจน อาจเกิดจากความผิดปกติทางประสาทสัมผัส หรือการหลอกตัวเองก็ได้ ยิ่งหนังผีทำได้วิจิตร พิศดารออกมามากเท่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                 แปลและตัดต่อบางส่วนจากบทความ Gustav Mahler : The Austrian composer เขียนโดยเดรีก วี คุก จาก  www.britannica.com
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ทศวรรษที่ 80 ของฝรั่งคือปี 1980-1989  หรือว่าช่วง พ.ศ. 2523  ถึง พ.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถึงแม้เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) จะได้ชื่อว่าเป็น คีตกวีที่แสนเก่งกาจคนหนึ่งในยุคคลาสสิกและโรแมนติก แต่ศิลปะแขนงหนึ่งที่เขาไม่สู้จะถนัดนักคือการเขียนอุปรากร เหมือนกับ โมซาร์ท คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ หรือ โจอากีโน รอสซีนี  ดังนั้นช่วงชีวิต 50 กว่าปีของเบโธเฟนจึงสามารถสร้างอุปรากรออกมาไ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ตามความจริง คำว่า Godfather เป็นคำที่ดีมาก หมายถึงพ่อทูนหัว ของศาสนาคริสต์ที่หมายถึงใครสักคนหนึ่งยอมรับเป็นพ่อทูนหัวของเด็กซึ่งเป็นลูกของคนอื่นในพิธีศีลจุ่มหรือ Baptism เขาก็จะเป็นผู้ประกันว่าเด็กคนนั้นจะได้รับการศึกษาทางศาสนาและถ้าพ่อแม่ของเด็กคนนั้นตายก็ต้องรับอุปการะ นอกจากนี้ยังหมายถึงฝ่ายห
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 visionary ,under the shadow Prayut tries to be the most visionary politician,but he is merely under the shadow of Thacky.&