Skip to main content
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ. 1999 ส่วนภาพประกอบและหมายเหตุเป็นของผู้แปลเอง 
 
 
                                
 
                                        ภาพจาก www.amazon.com
 
หลังจากไม่กี่วันที่ผมได้ชมภาพยนตร์ของสแตนลีย์ คิวบริกคือ Eyes Wide Shut ภาพยนตร์เรื่องอื่นที่ปรากฏในหัวของผมซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็คือ Belle de Jour (1967) ของหลุยส์ บูเนล มันเป็นเรื่องราวของภรรยาสาวผู้แอบไปทำงานในซ่องโสเภณีครั้งหรือ 2 ครั้งภายใน 1 อาทิตย์ ในเรื่องนี้นักแสดงจะสร้างสรรค์ "เรื่องเร้นลับ"สำหรับตัวพวกเขาซึ่งผู้ชมภาพยนตร์ไม่รู้ ผมเชื่อมั่นว่าถ้าผู้หญิงที่แสดงโดยนิโคล คิดแมนในภาพยนตร์ของคิวบริกมีภาพยนตร์ที่ชื่นชอบเป็นส่วนตัว เรื่องนี้ก็คือ Belle de Jour นั่นเอง
 
มันอาจเป็นภาพยนตร์อีโรติกซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในปัจจุบันนี้ หรือบางทีอาจเป็นเรื่องที่ดีที่สุด เพราะมันมีความเข้าใจต่อกามสุนทรีย์ (Eroticisim) จากภายในอย่างแท้จริง นั่นคือกามสุนทรีย์ไม่ได้มีแค่เรื่องของหยาดเหงื่อและผิวหนัง แต่เป็นเรื่องของจินตนาการ  Belle de Jour เป็นเรื่องที่นำเสนอผ่านมุมมองของซีแวรีน ภรรยาผู้น่ารัก วัย 23 ปีของศัลยแพทย์คนหนึ่ง ผู้มารับบทนี้คือแคธารีน เดอเนิฟ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้คือบูเนลผู้มีวัยถึง 67   ปีในขณะที่ภาพยนตร์ถูกนำออกฉาย เขาใช้เวลาทั้งชีวิตในการสร้างภาพยนตร์ที่มีกลเม็ดเกี่ยวกับเรื่องอันเร้นลับของธรรมชาติมนุษย์
 
และเขารู้ว่าสิ่งหนึ่งซึ่งผู้กำกับภาพยนตร์ส่วนใหญ่ไม่เคยค้นพบนั่นคือสำหรับผู้หญิงเช่นซีแวรินซึ่งกำลังเดินเข้ามาในห้องเพื่อมีเพศสัมพันธ์ ความเป็นกามสุนทรีย์ไม่ได้มาจากว่าใครกำลังรออยู่ในห้อง แต่มาจากความจริงที่ว่าเธอกำลังเดินเข้ามาเพื่อ"เอา"ต่างหาก เรื่องเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเธอเอง แน่นอนว่าเรื่องความรักก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง 
 
เป้าหมายทางอารมณ์ของซีแวรินนั้นก็คือตัวซีแวรินเอง เธอมีชีวิตการแต่งงานที่แสนน่าเบื่อกับศัลยแพทย์ที่หนุ่มหล่อเพียบพร้อมทุกสิ่งนามว่าปีแอร์ (ญอง โซเรล์) ผู้ซึ่งยกย่องความเป็นคนดีของเธอ เธอถูกเกี้ยวพาราสีโดยเพื่อนผู้สูงอายุของครอบครัวสามีคืออังรีผู้วางมาดเงียบขรึม (มิเชล ปีคโคลิ ผู้ซึ่งเกิดมาดูหน้าตาเอาเรื่อง) เขายังเกิดอารมณ์จากท่าทางดูเป็นคนดีของเธอ (1) ความเป็นผู้หญิงผมบอนด์อันสมบูรณ์แบบของเธอ การแต่งตัวอย่างระมัดระวัง ท่วงทีอันเงียบขรึม และความเย็นชาเหินห่างของเธอที่มีต่อเขา "เก็บคำชมพวกนั้นไว้กับตัวคุณเองเถอะ" เธอกล่าวขึ้นขณะที่เธอและปีแอร์นั่งทานอาหารเที่ยงกับเขาที่รีสอร์ตแห่งหนึ่ง
 
ความลับของซีแวรีนก็คือเธอมีความฝันเฟื่องที่ออกหวือหวาสักหน่อย และบูเนลสอดแทรกมันเข้าระหว่างรอยยิ้มอันลึกลับของเธอและสิ่งที่เธอกำลังคิด บูเนลเต็มเติมความปรารถนาทางเพศที่หมกมุ่นกับวัตถุ (Festish) ของเขาเองนั่นคือมักจะให้ตัวผู้แสดงนำเข้ามาเกี่ยวข้องกับเท้าและรองเท้า และเขาเข้าใจว่าความปรารถนาทางเพศที่หมกมุ่นกับวัตถุนั้นจะไม่มีความหมายใดนอกจากว่ามันจะเกี่ยวข้องกับวัตถุเท่านั้น
 
ซีแวรีนนั้นเป็นผู้เกิดอารมณ์ทางเพศหากถูกทำให้เจ็บตัว (Masochist)และชอบถูกทำกระทำอย่างดิบ ๆ เสียด้วย และเธอยังเกิดอารมณ์เล็ก ๆน้อยๆ จากสิ่งซึ่งภาพยนตร์ฉลาดมากที่ไม่เคยอธิบายให้คนดูเต็มๆ สักทีเพราะมันเป็นเรื่องของเธอเพียงคนเดียว เช่นเสียงเหมียวๆ ของแมวและเสียงกระดิ่งของรถม้า เสียงเหล่านั้นจะมีขึ้นพร้อมกับฉากฝันกลางวันอันโด่งดังของภาพยนตร์เช่นตอนเปิดเรื่องที่ซีแวรีนนั่งรถม้ากับปีแอร์ไปในชนบท สามีของเธอสั่งให้คนรถ 2 คนเข้ามาปลุกปล้ำเธอ อีกฉากหนึ่งเธอถูกมัดจนขยับตัวไม่ได้ภายใต้ชุดสีขาวสะอาดตาขณะที่พวกผู้ชายขว้างโคลนใส่เธอ
 
จุดเปลี่ยนสำคัญในเรื่องทางเพศของซีแวรีนก็คือเธอได้พบว่ากรุงปารีสมีซ่องโสเภณีซึ่งบรรดาแม่บ้านมาทำงานในตอนบ่ายๆเพื่อหาลำไพ่พิเศษในขณะที่สามีของพวกเธอออกไปทำงาน
 
อองรีผู้มีหมายเลขโทรศัพท์ของเธอได้ให้ที่อยู่ของซ่องนี้แก่เธอ ไม่กี่วันต่อมา เธอแต่งชุดสีดำราวกับไปงานศพของตัวเองและไปเคาะประตูเพื่อพบกับแม่เล้าชื่อว่ามาดามอนาอีส (เชเนวิพ ปาเช)นักธุรกิจหญิงผู้เจนจัดได้ยินดีมอบงานให้กับเธอ ซีแวรีกลับวิ่งหนี แต่แล้วก็ย้อนกลับมาอีกเพราะความฉงน ตอนแรกเธอต้องการที่จะเลือกลูกค้าด้วยตัวเอง แต่อนาอิสกล่อมจนเธอต้องกล่าวว่า "ค่ะ คุณนาย" หญิงผู้สูงวัยกว่ายิ้มให้ตัวเองแล้วกล่าวว่า "ฉันรู้ดีว่าเธอต้องการคนช่วยเหลือจริง ๆ" เธอเข้าใจความต้องการของซีแวรินและพอใจว่ามันจะดีต่อธุรกิจของเธอ
 
ไม่มีฉากร่วมเพศอย่างชัดเจนในภาพยนตร์ ฉากหนึ่งที่มีชื่อเสียงที่สุด ซึ่งมักจะถูกนำมาอ้างอิงอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า นั้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เราไม่เห็นและไม่เข้าใจ ลูกค้านำเอากล่องทาแล็คเกอร์มาด้วย เขาเปิดมันและแสดงให้หนึ่งในบรรดาโสเภณีและซีแวรีนได้ดู มีเสียงหึ่งดังเบา ๆ มาจากข้างในนั้น คุณโสคนแรกปฏิเสธที่จะตามคำขอของลูกค้า เช่นเดียวกับซีแวรีน แต่ภาพยนตร์ก็ตัดไปอย่างชวนให้สงสัยและฉากต่อมาแสดงถึงความเป็นไปได้ที่ว่าบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นแล้ว
 
อะไรอยู่ในกล่อง ? ความจริงทางภาษานั้นไม่สำคัญ ความจริงเชิงสัญลักษณ์ที่เป็นสิ่งที่บูเนลสนใจทั้งหมดคือการที่มันบรรจุบางสิ่งบางอย่างที่เร้าอารมณ์ทางเพศอย่างมากที่สุดสำหรับลูกค้าคนนั้น
 
แล้วก็มีนักเลง 2 คนเข้ามาในซ่องของมาดามอนาอีส หนึ่งในนั้นเป็นชายหนุ่มที่ท่าทางเขื่อง เขาถือไม้เท้าที่ข้างในเป็นดาบและสวมเสื้อคลุมหนังสีดำ แถมยังมีฟันเหล็กน่าเกลียดอยู่เต็มปาก ชายคนนี้ชื่อว่ามาร์เซล (ปีแอร์ คลีแมนติ)   "สำหรับคุณแล้วไม่เก็บเงินค่ะ" แซเวอรีนกล่าว อย่างรวดเร็ว เธอเกิดอารมณ์ต่อคำดูถูก และกิริยามารยาทของเขา ไม่ต้องสงสัยอีกว่าเพราะภาพความเป็นผู้หญิงสมบูรณ์แบบในความคิดของเธอจะต้องราคีจากท่าทางหยาบคายของเขา ทั้ง 2 มีความสัมพันธ์ทางเพศต่อกันซึ่งนำไปสู่การเสียดสีอย่างเจ็บแสบในฉากน้ำเน่าฉากสุดท้ายของภาพยนตร์ แต่สิ่งที่มาร์เซลไม่เคยเข้าใจก็คือในขณะที่แซเวอรีนเสพติดในสิ่งที่เขายื่นให้ เธอนั้นแทบไม่เคยสนใจต่อตัวเขาเลย เขาเป็นผู้ช่วยสร้างความฝันเฟื่องทางเพศของเธอ ผู้ช่วยที่ดีที่สุดที่เธอเคยพบมา
 
หลุยส์ บูเนล (เกิด ปี ค.ศ. 1900- เสียชีวิต ปี ค.ศ.1983) หรือหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้นดูถูกต่อรูปแบบการทำภาพยนตร์แบบปราณีตอลังการ เมื่อเขายังหนุ่มกลายเป็นศิลปินแบบเหนือจริงและร่วมงานกับซัลวาดอร์ ดาลีในการสร้างภาพยนตร์เรื่อง Un Chien Andalou (1928)เขานั้นมองโลกในแง่ร้ายต่อธรรมชาติของมนุษย์อย่างมากมาย แต่นำเสนอมันด้วยความขบขันไม่ใช่การดูถูก เขาสนเท่ห์ต่อความคิดที่ว่าบางสิ่งกำหนดมนุษย์ไว้ล่วงหน้าและสำคัญกว่าเจตจำนงอิสระในการตัดสินใจของมนุษย์ ภาพยนตร์หลายเรื่องของเขานำเสนอเหตุการณ์ซึ่งตัวละครดูเหมือนจะมีอิสระในการกระทำแต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เขาเชื่อว่าคนจำนวนมากถูกกำหนดรูปแบบทางเพศในช่วงแรกของชีวิตและจะเป็นเช่นนั้นไปตลอดชีวิต
 
ซีแวรีนเป็นคนเช่นนั้น "ฉันไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้" เธอกล่าวในตอนหนึ่ง "ฉันกำลังหลงทาง " เธอมีการปลงตกต่อตัวเองเช่นนี้ในตอนท้าย ๆของภาพยนตร์ เธอรู้ดีว่าเธอทรยศปีแอร์ และเธอก็ได้หลอกใช้มาร์เซลอย่างน่าละอายใจถึงแม้ว่านั้นเป็นสิ่งที่เขาคิดว่าเขากระทำต่อเธอ เหมือนกับคำพูดของวูดดี อัลเลนซึ่งเต็มไปด้วยความสิ้นหวัง เช่นเดียวกับการท้าทายที่ว่า "หัวใจต้องการในสิ่งที่หัวใจต้องการ"
 
ภาพยนตร์มีองค์ประกอบที่งดงามไม่ว่า เครื่องแต่งกาย ฉาก เครื่องประดับ ทรงผม เสื้อผ้าและการเดินเรื่องไปอย่างสบายๆ ชะตากรรมของซีแวรีนดูเหมือนจะถูกกำหนดไว้แล้ว เช่นเดียวกับสามีของเธอซึ่งเป็นชายอ่อนแอไม่อาจต้านทานพลังอันแรงกล้าแห่งความปรารถนาของภรรยาตัวเอง จุดที่ถูกนำเสนอย่างประณีตที่สุดเป็นจุดเล็ก ๆ ที่คนซึ่งไม่คุ้นเคยกับบูเนลอาจจะพลาดไป (แต่มันก็เยี่ยมยอดถึงแม้ว่าคุณไม่ได้สังเกตมันก็ตาม) เสียงเหมียวๆ อันแผ่วเบาที่สอดแทรกมาในภาพยนตร์ มันนำเสนอถึงอะไร ? มีเพียงซีแวรีนที่รู้ มันเป็นธรรมชาติอันซ้ำซากของมนุษย์ดังเช่นหลังจากที่ซีแวรีนปฏิเสธลูกค้าคนแรก อนาอิสได้ส่งลูกน้องสาวเข้าไปทำหน้าที่แทนและพาซีแวรีนไปแอบมองและเรียนรู้พฤติกรรมของพวกเขาผ่านช่องเล็ก ๆ (2) "น่าขยะแขยงจัง" ซีแวรีนบ่นพึมพำ เบือนหน้าหนีไปแต่แล้วก็หันกลับมาแอบมองอีกครั้ง
 
Belle de Jour และ Eyes Wide Shut (3) นั้นต่างมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน มันเป็นเรื่องของผู้ชายชนชั้นกลางที่แสนจะน่าเบื่อซึ่งการแต่งงานของพวกเขาไม่สามารถตอบสนองความต้องการอันมีสีสันของเหล่าภรรยาได้ เรื่องความต้องการจะมีอะไรกับทหารเรือที่ตัวละครรับบทโดย     นิโคล คิดแมนได้เล่าให้กับสามีฟังนั้นมีลักษณะคล้ายกับจินตนาการของซีแวรีน ผู้ชายทั้ง 2 คนต่างก็ไม่เข้าใจเพราะสิ่งที่ภรรยาของเขาปรารถนาไม่ใช่ตัวพวกเขาแต่เกี่ยวกับความต้องการและความหมกมุ่นที่ฝังลึกในระดับเดียวกับสัญชาติญาณ เช่นเดียวกับเสียงร้องเหมียว ๆของแมว (4)
 
 
 
 
 
.......................................................................................
 
 
1.ภาพยนตร์ยังย้อนกลับไปในวัยเด็กของซีแวรีนสักเล็กน้อยเพื่อแสดงให้เห็นว่าเธอเติบโตมาในครอบครัวที่เคร่งศาสนา ทำให้กลายเป็นเรื่องแบบกลับตาลปัตรที่เรามักจะพบบ่อยในชีวิตจริงนั้นคือคนที่เข้าวัดวา หมกมุ่นกับธรรมะแต่ความจริงมีความต้องการอันร้อนแรงที่รอวันปลดปล่อย แนวคิดนี้เป็นรูปแบบของบูเนลเองที่มักจะเสียดสีศาสนาจนภาพยนตร์ของเขาหลายเรื่องถูกศาสนจักรประณามก่นด่า
 
2.เป็นฉากที่น่าตกใจและน่าขบขันไปพร้อมๆ กันนั้นคือลูกค้าคนนั้นเป็นครูบาอาจารย์ มาดภูมิฐานแต่ต้องการให้โสเภณีสวมบทบาทเป็นเจ้านายเพื่อกดขี่และดูถูกตัวเขาเองก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ด้วย ซึ่งพฤติกรรมก็คือมาโซคิสต์แบบเดียวกับของซีแวรีนนั้นเอง
 
3. Eyes Wide Shut (1999)เป็นเรื่องของนายแพทย์หนุ่ม (ทอม ครุยส์)ที่มีชีวิตทางเพศที่น่าผิดหวังกับภรรยา (นิโคล คิดแมน) เขาจึงได้ดื่มด่ำไปกับชีวิตยามราตรีของมหานครนิวยอร์คที่เต็มไปด้วยการปลดปล่อยอารมณ์ทางเพศที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรมและสุดแสนจะอันตราย
 
4.การนำเสียงบางอย่างมาแทรกแทรกเข้าไปในภาพยนตร์นี้เป็นแรงบันดาลใจสำหรับผู้กำกับภาพยนตร์ไทยแนวศิลปะคือเป็นเอก รัตนเรืองอย่างมาก เขาใช้กลยุทธแบบนี้กับภาพยนตร์หลายเรื่อง ๆ เช่น รักน้อยนิดมหาศาลและคำพิพากษาของมหาสมุทร
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถือได้ว่า It's A Wonderful Life เป็นภาพยนตร์ที่อเมริกันชนแสนจะรักใคร่มากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังชีวิตในยุคหลังมากมายหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์ขาวดำเรื่องนี้ยังถูกนำมาฉายทางโทรทัศน์ในช่วงคริสต์มาสของทุกปีในอเมริกา คอหนังอเมริกันมักจะเอยชื่อหนังเรื่อง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ  มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44  ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect  Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ  กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982)  สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด