Skip to main content

‘พิณประภา ขันธวุธ’

20080124 ปกหนังสือ ฉลาม

ชื่อหนังสือ : ฉลาม
ผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์
สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัด

ข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้น
ไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...
ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้น

ในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด ตัวใครตัวมัน การทำสิ่งใดโดยไม่ตามใคร

“ฉลาม” เป็นเรื่องสั้นขนาดยาว ที่โปรยปกท้าทายคนที่ไม่เชื่อมั่นในความรักว่า “เรื่องรัก ที่จะกัดกินไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ” ตัวอักษรในหนังสือ165 หน้าถ่ายทอดเรื่องราวของ หญิงสาวชาวไทยที่ไม่ปลื้มกับชื่อเสียงเรียงนามของตัวเองนัก “น้ำใจ บุญบดินทร์” อายุเพียงยี่สิบปีเศษ หญิงสาวสุดเปรี้ยว แต่ในความเปรี้ยวของเธอนั้นเหมือนน้ำส้มสายชูมากกว่ามะนาวเพราะอะไรนะหรือ? ความเปรี้ยวที่เกิดในตัวเธอมันเกิดจากการแต้มแต่งชีวิตของเธอเองในขณะที่หัวใจและจิตวิญาณเธอยังสับสนกับความหมายของชีวิต เราจะรู้สึกทันที่ถึงความอ้างว่าง-เปล่าดายในลมหายใจของตัวละคร หลักๆ สองคน คือหญิงสาวกับชายหนุ่มนาม “กระถิก” ผู้อาศัยอยู่ในต่างแดน

เหล้า-บุหรี่ -โคเคน-กัญชา นำมาซึ่งคราบน้ำตาของตัวละครทั้งสอง

ฉันอ่านเรื่องนี้แล้วอดคิดตามไปด้วยไมได้ว่า ชีวิตฉัน ถึงจะข้องแวะสารเสพติดบ้างแต่ก็แค่นิดๆหน่อย พอที่จะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร เหตุผลหลักของฉันคือ ...ฉันจะไม่ยอมมีชีวิตอยู่อย่างเป็นทาสสิ่งใดฉันจะไม่ยอมอยู่อย่าง...
คล้ายว่าต้องค่อยพึ่งพาสิ่งหนึ่งสิ่งนั้น หากไม่มีมัน ฉันจะทุรนทุราย นั่นคือ เหตุผลที่ฉันจะไม่ยอมให้ตัวเองเป็นเช่นนั้น

เช่นเดียวกันกับ “น้ำใจ” และ“กระถิก” พวกเขาไม่ติดสารเสพติดเหล่านั้น แต่มีชีวิตอยู่เหมือนขาดแก่นแกนให้ยึดเหนี่ยว แม้กระทั้งความรักที่เกิดขึ้นก็ยังถูกปฎิเสธให้มันเติบโตอย่างที่มันควรจะเป็น ในความดิบ-เถื่อนและคำสบถหยาบคายต่าง ๆ ที่หลุดจากปากตัวเอกของเรื่องราวกับโลกทั้งโลกไม่มีความหมาย ภาพรูปแบบ ปัจเจกบุคคลอย่างชัดเจน

“ตัวกู-อย่างยุ่งเรื่องของกู”

ในสังคมที่ต้องเดินเบียดไหล่กับคนแปลกหน้าในท้องถนน เรามักโหยหาความเป็น “ส่วนตัว” แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องการให้มีคน “ห่วงใย” แท้จริงแล้ว...เราจะยังดำเนินชีวิตอยู่โดยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้จริงหรือ?

อ่านเพียงผิวเผิน ฉลามอาจไม่ต่างจากนิยายที่ว่าด้วยเรื่องเด็กสาวใจแตก กับวังวนของชีวิต แต่สิ่งที่ทำแตกต่างกว่านิยายเกลื่อนแผงคือการถามหาความหมายของชีวิตในตัวละคร และโดยเฉพาะเมื่อ “น้ำใจ” ต้องเปลี่ยนสถานภาพจากคนที่เป็นลูกมาเป็นรับบทแม่ แต่สิ่งที่บรรเทาและเยี่ยวหัวใจที่บาดเจ็บของ "น้ำใจ"คือความรัก ของ ผู้ซึ่งเธอเรียกว่า "แม่" น้ำใจ ที่กำลังจะเป็น "แม่" กับความรู้สึกสับสนว่าการเป็น "แม่" มันคืออะไร และบทบาท "แม่" ที่ต้องคอยดูแล "ลูก" ที่กำลังจะกลายเป็น "แม่"

ฉันมองเห็นช่องว่างของสังคมที่ถ่างและกว้างสุดกว้างในขณะเดียวกันมันก็ใกล้แต่ใช้มือโอบกอด และสัมผัสได้ถึงความอ่อนโยนที่มีในซ่อนในตัวอักษรไม่ต่างจากความอ่อนโยนของแม่ของน้ำใจที่มีให้ลูกสาวผ่านท่าทีที่เย็นชา ราวกับไม่ใส่ใจความทุกข์ร้อนของลูก ทว่าในความเป็นจริงมันตรงข้าม เธอแทบกลายเป็นคนเสียสติเมื่อลูกสาวได้รับอุบัติเหตุ

ความรู้สึกของถิกที่มีต่อน้ำใจ ไม่ได้เด่นชัดพอให้ฉันประทับใจได้ แต่ในทางตรงข้ามทำให้ฉันเผลอยิ้มกับความอ่อนหวานของผู้ชายอ่อนโยนที่ใช้ถ้อยคำหยาบคายคนนี้ ทำให้เห็นว่า ความรัก เป็นได้มากกว่าทิ่คิด

‘ในท้องน้ำที่สงบร่มเย็น เราคิดอย่างดีแล้วว่า หนทางข้างหน้าคือปะการังที่สวยงาม ไม่มีภยันตรายใด ๆ ปลาน้อยแหวกว่ายเล่นได้ ไม่มีพิษ เราเลือกที่จะดำน้ำลงไป กับคนที่เรารัก กับรอยยิ้มที่กำลังแค่เริ่มผลิ

...แต่บางทีเราก็ลืมคิดไปว่า อะไรบางอย่างที่กำลังตามมาหรืออยู่ข้างหลังอาจจะเป็น ในสิ่งที่ไม่มีวันคาดถึง’


ข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้น
ไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้น
เพราะเราได้มองเห็นจุดเจ็บที่ปวดร้าวตอนจบและหนทาง...ก่อนที่ความผิดพลาดจะมาเยือน

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
 
สวนหนังสือ
นายยืนยง   พัฒนาการของกวีภายใต้คำอธิบายที่มีอำนาจหรือวาทกรรมยุคเพื่อชีวิต ซึ่งมีท่าทีต่อต้านระบบศักดินา รวมทั้งต่อต้านกวีราชสำนักที่เป็นตัวแทนของความเป็นชาตินิยม ต่อต้านระบอบราชาธิปไตย ต่อต้านไปถึงฉันทลักษณ์ในบางกลุ่ม ต่อต้านทุนนิยมและจักรวรรดิอเมริกา ขณะที่ได้ส่งเสริมให้เกิดอุดมการณ์ประชาธิปไตยในยุคก่อนโน้น มาถึงพ.ศ.นี้ ได้เกิดเป็นปรากฏการณ์ทวนกระแสเพื่อชีวิต ด้วยวิธีการปลุกความเป็นชาตินิยม ปลูกกระแสให้เรากลับมาสู่รากเหง้าของเราเอง
สวนหนังสือ
นายยืนยง บทความนี้เกิดจากการรวบรวมกระแสคิดที่มีต่อกวีนิพนธ์ไทยในรุ่นหลัง เริ่มนับจากกวีนิพนธ์แนวเพื่อชีวิตมาถึงปัจจุบัน  และให้น้ำหนักเรื่อง “กวีกับอุดมคติทางกวีนิพนธ์”
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : ร่างกายที่เหนืออายุขัย จิตใจที่ไร้กาลเวลา                  Ageless Body, Timeless Mind เขียน : โชปรา ดีปัก แปล : เรืองชัย รักศรีอักษร พิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2551   แสนกว่าปีมาแล้วที่มนุษย์พัฒนากายภาพมาถึงขีดสุด ต่อนี้ไปการพัฒนาทางจิตจะต้องก้าวล้ำ มีหนังสือมากมายที่กล่าวถึงวิธีการพัฒนาทักษะทางจิต เพื่อให้อำนาจของจิตนั้นบันดาลถึงความมหัศจรรย์แห่งชีวิต หนึ่งในนั้นมีหนังสือที่กล่าวอย่างจริงจังถึงอายุขัยของมนุษย์ ว่าด้วยกระบวนการรังสรรค์ชีวิตให้ยืนยาว…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชีวประวัติของนักเขียนหนุ่ม กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ในความจดจำของฉัน เป็นเพียงภาพร่างของนักเขียนในอุดมคติ ผู้ซึ่งอุทิศวันเวลาของชีวิตให้กับงานเขียนอย่างเคร่งครัด ไม่มีสีสันอื่นใดให้ฉันจดจำได้อีกมากนัก แม้กระทั่งวันที่เขาหมดลมหายใจลงอย่างปัจจุบันทันด่วน ฉันจำได้เพียงว่าเป็นเดือนกุมภาพันธ์...
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : แสงแรกของจักรวาล ผู้เขียน : นิวัต พุทธประสาท ประเภท : รวมเรื่องสั้น จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2551   ชื่อของนิวัต พุทธประสาท ปรากฎขึ้นในความประทับใจของฉันเมื่อหลายปีก่อน ในฐานะนักเขียนที่มีผลงานเรื่องสั้นสมัยใหม่ เหตุที่เรียกว่า เรื่องสั้นสมัยใหม่ เพราะเรื่องสั้นที่สร้างความประทับใจดังกล่าวมีเสียงชัดเจนบ่งบอกไว้ว่า นี่ไม่ใช่วรรณกรรมเพื่อชีวิต... เป็นเหตุผลที่มักง่ายที่สุดเลยว่าไหม
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : คนรักผู้โชคร้าย ผู้แต่ง : อัลแบร์โต โมราเวีย ผู้แปล : ธนพัฒน์ ประเภท : เรื่องสั้นแปล จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2535  
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : คุณนายดัลโลเวย์ (Mrs. Dalloway) ผู้แต่ง : เวอร์จิเนีย วูล์ฟ ผู้แปล : ดลสิทธิ์ บางคมบาง ประเภท : นวนิยายแปล จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ชมนาด พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2550
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : จำปาขาว ลาวหอม (ลาวใต้,ลาวเหนือ) ผู้แต่ง : รวงทอง จันดา ประเภท : สารคดี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทางช้างเผือก พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2552 ยินดีต้อนรับสู่พุทธศักราช 2553 ถึงวันนี้อารมณ์ชื่นมื่นแบบงานฉลองปีใหม่ยังทอดอาลัยอยู่ อีกไม่ช้าคงค่อยจางหายไปเมื่อต้องกลับสู่ภาวะของการทำงาน
สวนหนังสือ
“อารมณ์เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง” อาจารย์ชา สุภัทโท ฝากข้อความสั้น กินใจ ไว้ในหนังสือธรรมะ ซึ่งข้อความว่าด้วยอารมณ์นี้ เป็นหนึ่งในหลายหัวข้อในหนังสือ “พระโพธิญาณเถร” ท่านอธิบายข้อความดังกล่าวในทำนองว่า “ถ้าเราวิ่งกับอารมณ์เสีย... ปัญญาเกิดขึ้นไม่ได้ จิต – ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตต์แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่ สมาธิ ”
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ขบวนรถไฟสายตาสั้น ขึ้นชื่อว่า “วรรณกรรม” อาจเติมวงเล็บคล้องท้ายว่า “แนวสร้างสรรค์” เรามักได้ยินเสียงบ่นฮึมฮัม ๆ ในทำนอง วรรณกรรมขายไม่ออก ขายยาก ขาดทุน เป็นเสียงจากนักเขียนบ้าง บรรณาธิการบ้าง สำนักพิมพ์บ้าง ผสมงึมงำกัน เป็นเหมือนคลื่นคำบ่นอันเข้มข้นที่กังวานอยู่ในก้นบึ้งของตลาดหนังสือ แต่ก็ช่างเป็นคลื่นอันไร้พลังเสียจนราบเรียบราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สวนหนังสือ
  นายยืนยง     ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 50 บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน จัดพิมพ์โดย : สำนักช่างวรรณกรรม