Pai,They know us a little go.

จดหมายถึง ไผ่ ดาวดิน 

 

เมื่อวานเราไปดูหนังที่พูดถึงเรื่องของนาย ไม่รู้ว่านายได้ดูหนังเรื่องนี้ก่อนฉายจริงหรือยัง แต่นายน่าจะได้เห็นตัวเองในหนังนะ  โคตรกวนประสาทเลย ไม่แปลกใจที่ทำไมฝ่ายนั้นมันถึงอยากจะเล่นงานนายให้จมดินนัก ก็อาจจะพอๆกับเรา ที่ดูท่ากวนๆ ไม่เป็นผู้หญิงที่ดีในความคิดของคนบางกลุ่ม

พูดอะไรไปก็ไม่เข้าหู แถมยังอยากกระทืบให้จมดินด้วย ถ้านายรู้นายคงขำ
ว่าแค่คำพูดของพวกเราไม่กี่คำ มันทำให้คนมีอำนาจเดือดดาลกันได้ถึงเพียงนั้น

มันตลกดี ที่เราเห็นนายในหน้าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดเลย ตั้งแต่สมัยที่นายไปช่วยชาวบ้านคัดค้านเหมือง ไล่มาจนถึงไปชูสามนิ้วต้านรัฐประหารต่อหน้าประยุทธ์ จนมาโดนจับเรื่องประชามติ เรื่องแชร์ข่าวบีบีซีไทย แต่ละอย่างที่นายทำ มันกวนประสาทพวกคนมีอำนาจ จนเค้าต้องจับนายเข้าคุกในที่สุด

เราไม่เคยเขียนถึงนายอย่างจริงจังมาก่อนเลยว่ะ ได้แต่แชร์ข่าวนายไปวันๆ เปลี่ยนรูปโปรไฟล์เป็นรูปการ์ตูนของนายบ้างตามแต่อารมณ์ ไม่ได้จุดเทียนอยู่ที่บ้านแบบเพื่อนคนอื่นๆเท่าไหร่ แต่เคยไปจุดเทียนกับพวกนักกิจกรรมที่กรุงเทพครั้งนึงตอนที่ไปประชุมกัน แล้วพวกเราก็นึกถึงนาย เลยล้อมวงกันจุดเทียน เขียนคำว่า Freepai

หลายวันก่อนก็เกิดเรื่องกับเราเยอะแยะเต็มไปหมด เป็นเรื่องที่นายเองก็อาจจะไมไ่ด้สนใจเท่าไหร่นัก เพราะพวกนักกิจกรรมผู้ชายก็ไม่ค่อยสนใจเรื่องเพศกันใช่มั้ยล่ะ แต่มันก็เป็นเรื่องที่ทำให้เรารู้ว่าแม้แต่เรื่องที่ดูเหมือนเล็กน้อยแบบนี้ คนเขาก็ไม่อยากฟังกันนะ ไม่อยากให้พูดเป็นอย่างอื่น นอกจากแบบที่เขาอธิบายมาโดยตลอด เราก็เจออะไรคล้ายๆกันนี่แหละ เพียงแต่เขาไม่มีกฎหมายมาจับเราเข้าคุก เราเลยไม่ต้องอยู่ในคุก แต่ก็ต้องมารับมือกับอันตรายอย่างอื่นแทน มีบางคนถึงกับจะให้นักรบมาจัดการกับพวกเราเลยนะ บางคนก็ว่าจะทำจีฮาดเพื่อปกป้องจากการทำลายล้างของเรา หลายคนก็ถึงขนาดเรียกเราว่าเป็นมารศาสนา เป็นซาตาน อะไรแบบนั้นเลย

ถ้านายออกมาได้ เราก็อาจจะไม่ได้เจอกันหรอก นายอยู่ขอนแก่น เราอยู่ปัตตานี
เราไม่เคยไปขอนแก่น และเราก็เดาว่านายไม่เคยมาปัตตานีเหมือนกัน 
แต่ไม่รู้นายรู้รึยังว่า มีนักข่าวเค้าเขียนถึงเรื่องเราในคอลัมน์เดียวกัน เป็นคอลัมน์สุดท้ายที่เค้าเขียนทิ้งท้ายการทำงานเป็นนักข่าวของสำนักข่าวนั้นซะด้วย
มันเป็นภาษาอังกฤษน่ะนะ เราพยายามแปลเก็บไว้ แต่ก็ยังแปลไม่จบย่อหน้าสุดท้าย

มันตลกดีนะว่ามั้ย ที่สุดท้ายแล้ว คนอย่างพวกเราต้องมาอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์หน้าเดียวกัน ทั้งๆที่เราไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย และงานที่ทำก็ไม่มีอะไรเหมือนกัน นอกจากสิ่งเดียวคือ ทำงานบนฐานคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน คนเท่ากัน

ประโยคนึงที่อยู่ในหนัง ตอนที่นายพูดว่า นายทนไม่ได้หรอก ที่จะยืนดูชาวบ้านถูกรังแก นายต้องทำอะไรสักอย่าง จะทนได้ยังไงกัน 
ตอนนายพูดประโยคนั้น เราร้องไห้เลย เพราะเราก็เป็นคนประเภทนั้นเหมือนกัน

ชีวิตเราอันที่จริงจะอยู่เฉยๆก็ได้ สุขสบายดีจะตายไป เปิดร้านหนังสือชิคๆ มีคู่ชีวิตที่ดี มีการงานมั่นคง สถานะทางสังคมก็สูงกว่าชาวบ้านทั่วไป แต่ทำไมยังต้องมาทำอะไรเสี่ยงๆให้คนด่าทอไล่ล่า

ก็เพราะเรารู้สึกแบบนายน่ะแหละ มันทนไม่ได้จริงๆที่เห็นมนุษย์ถูกรังแกน่ะ 
ทนไม่ได้ที่เห็นคนถูกละเมิด เพียงเพราะเค้าแตกต่าง หลุดไปจากบรรทัดฐานที่สังคมบอกว่าอะไรดี อะไรไม่ดี สุดท้ายเราก็กลายมาเป็นนักปกป้องสิทธิจนทุกวันนี้   เราไม่ได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองอะไรเลย ทำจากความรู้สึกล้วนๆ
และเราว่านายก็คงทำมันเพราะว่านายรู้สึกเหมือนกัน

เราหวังว่านายจะได้ออกมาเร็วๆ ออกมากวนประสาทพวกคนมีอำนาจกับพวกเราต่อไป
จนกว่าประเทศนี้มันจะมีความเท่าเทียม เคารพความเป็นมนุษย์กัน โลกมันอาจไม่เปลี่ยนวันนี้ เราอาจจะตายก่อนก็ได้ แต่เราจะทำมันไปจนตายนั่นแหละ มันอาจจะเปลี่ยนในยุครุ่นลูกรุ่นหลานเราก็ได้ เราคิดงั้นนะ 

อยากให้นายออกมาดูหนังเรื่องนี้นอกคุกเร็วๆ

จาก เพื่อนแดนไกล ปลา บูคู

 

เรียน Gender ที่อินเดีย ตอนที่ 3

ไม่ได้มาเขียนบล็อกที่นี่เกี่ยวกับการเรียนเจนเดอร์ที่อินเดียน่าจะเกินหนึ่งปี เนื่องจากผู้เขียนใกล้จะเรียนจบแล้ว

เลยอยากเล่าประสบการณ์การเรียนที่ผ่านมา เผื่อเป็นประโยชน์กับคนที่สนใจมาเรียนต่อด้านเพศสถานะศึกษาที่นี่

 

เรียน Gender ที่อินเดีย ตอนที่ 1

โดย ดาราณี ทองศิริ ผู้ร่วมก่อตั้ง ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน (Buku Classroom) 
นศ.ปริญญาโท สาขาเพศภาวะ วัฒนธรรม และการพัฒนาศึกษา มหาวิทยาลัยปูเน่ อินเดีย

 

ขัดกันฉันมิตร : คล้ายกันแต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ต่างกันแต่ไม่จำเป็นต้องเกลียดกัน

 

บทรีวิวภาพยนตร์สั้นโครงการทักษะวัฒนธรรม

โดย ดาราณี ทองศิริ ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน ร้านหนังสือบูคู Buku Classroom

*มีการเปิดเผยบางส่วนของเนื้อหาในภาพยนตร์

 

จากยะลาวาเลนไทน์สู่บายเฟรชชี่ที่ปัตตานี เราเรียนรู้อะไรจากกิจกรรมแจกถุงยาง?

ดาราณี ทองศิริ

ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน ร้านหนังสือบูคู

ข้อพิพาทกรณีการแจกถุงยางอนามัยในสามจังหวัดชายแดนใต้/ปาตานี