Skip to main content

เขานั่งอยู่แถวหน้า และเขาโบกไม้โบกมือขณะที่ผมกำลังบรรเลงเพลงอยู่บนเวที  ในมหกรรมคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งจัดโดยสำนักประชาสัมพันธ์ร่วมกับองค์กรยูเนสโก้  ในงานได้มีการเชิญศิลปินชนเผ่าหลักทั้ง 7 เผ่า ได้แก่ ม้ง อาข่า ลีซู ลาหู่ เมี่ยน ไทยใหญ่และกะเหรี่ยง รวมทั้งยังมีศิลปินล้านนา อาทิ ครูแอ๊ด  ภานุทัต  คำหล้า ธัญาภรณ์ น้อง ปฏิญญา และไม้เมือง

นอกจากนี้มีทายาทของสุนทรี  เวชชานนท์ ราชินีเพลงล้านนา คือน้องลานนา มาร่วมร้องเพลง ธีบีโกบีกับทอดด์ ทองดี ศิลปินจากรัฐเพนโซเวเนีย พิธีกรรายการคุณพระช่วยในงานนี้ด้วยเช่นกัน

ในการเล่นเพลงสุดท้ายของผม ผมได้เชิญคุณทอดด์ มาช่วยตีโกละหรือฆ้องกบเพื่อบรรเลงร่วมกับเตหน่ากู   

“ชิครับ! ผมขอคุกเข่าตีนะ เพราะผมยืนตีแล้วไม่ค่อยถนัดเท่าไหร่” คุณทอดด์ บอกกับผมก่อนขึ้นเวที ผมตอบตกลงตามนั้น ซึ่งทอดด์ ทองดี ก็ทำหน้าที่บนเวทีได้อย่างที่ควรเป็น

เขาคนนั้นจ้องมองผมเล่นกับคุณทอดด์อย่างไม่กะพริบตา

หลังจากจบงานคืนนั้น เขาได้เงียบหายไป เขาไม่เข้ามาหาผมหลังเวทีอย่างเคย  แต่หลังจากนั้นสองวันเสียงโทรศัพท์ของผมก็ดังขึ้น

“โอะ มึ โช เปอ” เขาทักทายผมเป็นภาษาปกาเกอะญอซึ่งเป็นภาษาของเราทั้งสอง จากนั้นเขาก็ได้กล่าวถึงสิ่งที่เขาประทับใจและไม่ประทับใจในการจัดงานที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของตัวศิลปินแต่ละคนและฝ่ายจัดการจัดงานด้วย

“เรามีอะไรที่สงสัยบางอย่างที่อยากถาม” เขาบอกกับผม ซึ่งผมก็ไม่อาจปฏิเสธสิ่งที่เขาอยากถามได้
“อยากรู้ว่า โกละนั้นเป็นของชนเผ่าปกาเกอะญอ แล้วชิคิดอย่างไรถึงให้ฝรั่งเป็นคนช่วยตีให้ ทำไมไม่ให้คนปกาเกอะญอตี” มันเป็นคำถามที่ทำให้ผมต้องใช้เวลาในการตอบยาวหน่อย แต่เขาก็พร้อมที่จะเสียเวลาฟังผมอธิบาย

ที่ผ่านมาเราตามเขามาโดยตลอด เราต้องพูดภาษาตามเขา เราต้องแต่งตัวตามเขา เราต้องกินอาหารตามเขา เราต้องเล่นเครื่องดนตรีตามเขา ซึ่งมันผิดไหม มันก็ไม่ผิด เพียงแต่เราต้องตามความคิดคนอื่น ตามการกระทำของเขาตลอด ซึ่งบางครั้งก็ไม่จำเป็น และเรามักถูกครอบงำจากคนที่เราตามนั้นเสมอ

แต่สิ่งที่ผมทำ ผมอยากให้เห็นว่าเราไม่จำเป็นต้องตามเขาเสมอไป เราก็มีดีพอที่จะให้คนอื่นตามเราได้เช่นกัน  โดยเฉพาะฝรั่งจากตะวันตกซึ่งเราพยายามตามและเลียนแบบเขามาโดยตลอด ซึ่งงานนี้ผมอยากให้ฝรั่งตามผมบ้าง มาเล่นเครื่องดนตรีของผม ของชนเผ่าผมบ้าง

โดยวิธีการเล่นทั้งหมดผมเป็นกำหนดว่าควรเล่นแบบไหน  มันถูกไหม  มันอาจไม่ถูก  แต่มันมีศักดิ์ศรีกว่า  สิ่งเหล่านี้มันเป็นของเราเอง เราเล่น เราร้อง เราเป็นโดยไม่เขิน ไม่อายใคร เล่นผิดก็ไม่มีใครรู้ ฮ่า ฮ่า!!

ซึ่งบางทีคนทางตะวันตกเขาเคารพและศรัทธาในสิ่งที่เราเป็น  แต่บางครั้งเราเองกลับไม่มั่นใจในองค์ความรู้ภูมิปัญญาของบรรพชนเรา  บางทีคนตะวันตกก็เอามาจากคนอื่นเช่นกัน  ต้นกำเนิดของกีตาร์นั้นพัฒนามาจากเครื่องดนตรีจากประเทศอิรัก  ฝรั่งเอาไปประยุกต์อีกที  

องค์ความรู้ของเรานั้นหากเราหยิบใช้มันพัฒนาและต่อยอด มันจะเป็นการยกระดับองค์ความรู้ให้ขยับไปอีกในระดับที่ดีขึ้น

หลังจากเสร็จงาน คุณทอดด์ นัดผมไปทานข้าวผม ขณะที่กำลังทานข้าวนั้น เขาบอกว่า
“เฮ้!! ชิ แก๊ง ยูเนสโก ชอบโชว์ของเรานะ เขา(ยูเนสโก้)บอกว่า ไม่เคยเห็นการเล่นดนตรีที่มีศิลปินฝรั่งที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงบ้างเล่นดนตรีร่วมกับคนชนเผ่า  โดยที่ศิลปินฝรั่งคุกเข่าเล่นและคนชนเผ่ายืนเล่นอยู่เหนือกว่า  มันเหมือนคนฝรั่งเองคารวะในศักดิ์ศรีและภูมิปัญญาของคนชนเผ่า  เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเคารพในความเป็นมนุษย์ของคนชนเผ่า” คุณทอดด์ กล่าวอย่างตื่นเต้น
 
“แต่ผมบอกเขาไปว่า เปล่าหรอกครับ ผมยืนตีแล้วไม่ถนัด ก็เลยคุกเข่าตี” คุณทอดด์ พูดจบพร้อมกับอ้าปากหัวเราะจนเห็นฟันครบทุกซี่

แต่ประเด็นที่สำคัญคือทำอย่างไร เราถึงจะไปด้วยกันได้  โดยไม่รู้สึกว่าใครนำ ใครตาม หรือใครครอบงำใคร  ผมเชื่อว่าเราไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวหรือปิดตัวจากโลกภายนอกได้  เราต้องมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  แต่ในการปฏิสัมพันธ์นั้นทำอย่างจึงจะมีความสมดุลระหว่างการรับของคนอื่นและการใช้ของตนเอง  โดยที่เราสามารถยังสามารถยืนอยู่บนรากทางวัฒนธรรมของตนเองได้

“เออ จริงหว่า!!” เขาพูดออกมาหลังจากที่ฟังผมพร่ำยาวเหยียด แต่ผมไม่ทราบว่าเขาคิดและเข้าใจอย่างไรบ้าง??
 “แล้ว ได้ชื่ออัลบั้มใหม่หรือยัง และเปิดอัลบั้มเมื่อไหร่” เขาถามผมต่อ ผมไม่แน่ใจว่าเขาถามเพื่อที่จะซื้อหรือว่าเพื่อที่จะขอฟรี
“ได้แล้ว ชื่ออัลบั้ม เตหน่าแลมิตร คาดว่าจะเปิดตัวที่เชียงใหม่ราวเดือนธันวาคมศกนี้ หากคืบหน้าอย่างไรเดี่ยวจะส่งข่าวอีกที”
“ ต่าบลื๊อ ต่าบล๊อ” เขาขอบคุณบอกลาแล้วเขาก็วางสายโทรศัพท์

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า?…
ชิ สุวิชาน
 หลังเสร็จงานศพ ความรู้สึกจำใจจากบ้านมาเยือนอีกครั้ง  แต่การกลับบ้านครั้งนี้แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะในวิถีประเพณี ที่มีคนตายในชุมชน  ได้เห็นสภาพของป่าช้าที่ถูกผ่าตัดตอนแล้วพยายามเปลี่ยนอวัยวะชิ้นส่วนใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนที่ 
ชิ สุวิชาน
 โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม  ลูกชายที่เป็นศาสนาจารย์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศิษยาภิบาลได้จับดินก้อนหนึ่งกำไว้ในมือ  แล้วชูดินต่อหน้าผู้ร่วมงาน"ชีวิตเราถูกสร้างมาจากดิน แล้วพระเจ้าได้เป่าลมหายใจ คือชีวิตสู่เรา การรักษาร่างกายไม่สำคัญเท่ากับการรักษาชีวิต ชีวิตที่แม้ไม่มีร่างกายก็มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อร่างกายเราถูกสร้างมาจากดิน ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งก็ต้องเสื่อมและต้องกลับคืนสู่ดิน แต่ชีวิตไม่ได้ถูกสร้างมาจากดิน ชีวิตถูกสร้างมาจากลมหายใจที่มาจากพระเป็นเจ้า ถ้าเรารักษาชีวิตไว้ในขณะที่อยู่บนโลกให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า…
ชิ สุวิชาน
จบพิธีทางคริสต์ศาสนา แขกเหรื่อที่มาต่างทยอยเดินลงบันใด และยืนกองรวมกันที่ลานหน้าบ้านผู้ตาย รถกระบะสองคันซึ่งเป็นของลูกชายศาสนาจารย์ที่จากไปได้แล่นมาแหวกกลุ่มคนที่ยืนอยู่ลานหน้าบ้าน และจอดท่ามกลางวงห้อมล้อมของฝูงชน  "กางเขนนี้คนเอาไม่อยู่ โคตรหนักเลย" เสียงของหนึ่งในชายฉกรรจ์ พูดขึ้นหลังจากนำไม้กางเขนซีเมนต์ขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้วได้ขึ้นไว้บนรถกระบะ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้แบกไม้กางเขนของตนเองไปยังภูเขาที่พระองค์จะถูกตรึง ระหว่างทางได้อ่อนระโหยโรยแรง มีชายผู้หนึ่งที่สงสารจึงอาสาช่วยแบก แต่มาครั้งนี้คนเอาไม่อยู่ ผมเพียงแต่นึกในใจว่ากางเขนซีเมนต์นี้…
ชิ สุวิชาน
"ที่จะร้องให้ฟังต่อไปนี้เป็น ธา ปลือ ร้องเพื่อให้คนเป็นรู้ว่าคนตายได้ตายเพื่อไปที่อื่นแล้ว ร้องเพื่อให้คนตายรู้ว่าตัวว่าได้ตายและต้องไปอยู่อีกที่แล้ว ในวันที่ไม่มีคนตายห้ามพูดห้ามร้องเด็ดขาด ไม่ว่าในบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือที่ใดก็ตาม ในวันที่มีคนตายนั้นต้องร้อง" พือพูดก่อนร้อง พือหยิบไมโครโฟน หันมาทางผม ผมจึงเริ่มบรรเลงเตหน่า
ชิ สุวิชาน
ข่าวเรื่องการละสังขารของศาสนาจารย์ผู้ก่อตั้งคริสตจักรมูเจะคีในวัย 96 ปีได้ถูกกระจายออกไป ไม่เพียงแค่ในพื้นที่มูเจะคีเท่านั้น เชียงราย กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่เกิดและที่เติบโตของพื้นที่อื่นที่เขาเคยเผยแพร่และเทศนาเรื่องราวของพระคริสต์ทั้งในพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ข่าวการจากไปของเขาไม่เลยผ่านไปได้ งานศพถูกจัดการอย่างดีตามรูปแบบของคริสเตียน ข่าวไปถึงที่ไหนผู้คนจากที่นั่นก็มา คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ดูแล้วปริมาณไม่ต่างกันเท่าเลย เหมือนมีการจัดงานมหกรรมบางเกิดขึ้นในชุมชน ลูกหลานที่ไปทำงานจากที่ต่างๆ ของเขาก็มากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยที่งานศพถูกเก็บไปสามคืน
ชิ สุวิชาน
พี่นนท์เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้ฟังพาตี่ทองดี จึงร้องเพลงธาปลือให้ฟัง จนกระทั่งถึงท่อน โย เย็นนั้นระหว่างงาน พี่นนท์จึงถามคำแปลของเพลงเหล่านั้น หลังจากเสร็จงานนั้นเพลงเส่อเลจึงมีการต่อเติมจนเป็นเพลงขึ้นมาจนได้ “พี่นึกถึงหญิงสาวที่ต้องโตขึ้นมาอย่างลำบาก นึกถึงพัฒนาการการเติบโตของชีวิต ต้องตามพ่อตามแม่ปลูกข้าว กว่าจะโตเป็นสาวต้องผ่านการตรากตรำทำงานอย่างลำบาก พี่เลยจินตนาการการตายของเธอว่า เป็นการเสียชีวิตด้วยไข้ป่า”
ชิ สุวิชาน
แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้
ชิ สุวิชาน
ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย “ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก…
ชิ สุวิชาน
มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมูอยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพรท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่าทำไร่หมุนเวียน ทำนา …
ชิ สุวิชาน
เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง "ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ…
ชิ สุวิชาน
ปี 2540 สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชนที่อยู่กับป่าร้อนระอุขึ้นมาอีกระลอก เมื่อรัฐบาลของนายหัว ชวน หลีกภัย ได้มีนโยบายอพยพคนออกจากป่า นั่นหมายถึงชะตากรรมวิถีของคนอยู่กับป่าจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ชุมชนเดิม ที่อยู่ ที่ทำกินเดิมนั้นจะกลายเป็นเพียงที่ที่เคยอยู่เคยกินเท่านั้น ตัวแทนขบวนคนอยู่กับป่าจึงมีการขยับเคลื่อนสู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง โดยมีเครือข่ายกลุ่มสมัชชาคนจนจากภาคต่างๆมาสมทบอย่างครบครัน กลายเป็นชุมชนคนจนหน้าทำเนียบโดยปริยาย “ลูกหลานไปเรียกร้องสิทธิหลายครั้งแล้ว ไม่ได้สักที คราวนี้ฉันต้องไปเอง ถ้าเรียกร้องไม่สำเร็จฉันจะไม่กลับมาเด็ดขาด”…