Skip to main content

เขานั่งอยู่แถวหน้า และเขาโบกไม้โบกมือขณะที่ผมกำลังบรรเลงเพลงอยู่บนเวที  ในมหกรรมคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งจัดโดยสำนักประชาสัมพันธ์ร่วมกับองค์กรยูเนสโก้  ในงานได้มีการเชิญศิลปินชนเผ่าหลักทั้ง 7 เผ่า ได้แก่ ม้ง อาข่า ลีซู ลาหู่ เมี่ยน ไทยใหญ่และกะเหรี่ยง รวมทั้งยังมีศิลปินล้านนา อาทิ ครูแอ๊ด  ภานุทัต  คำหล้า ธัญาภรณ์ น้อง ปฏิญญา และไม้เมือง

นอกจากนี้มีทายาทของสุนทรี  เวชชานนท์ ราชินีเพลงล้านนา คือน้องลานนา มาร่วมร้องเพลง ธีบีโกบีกับทอดด์ ทองดี ศิลปินจากรัฐเพนโซเวเนีย พิธีกรรายการคุณพระช่วยในงานนี้ด้วยเช่นกัน

ในการเล่นเพลงสุดท้ายของผม ผมได้เชิญคุณทอดด์ มาช่วยตีโกละหรือฆ้องกบเพื่อบรรเลงร่วมกับเตหน่ากู   

“ชิครับ! ผมขอคุกเข่าตีนะ เพราะผมยืนตีแล้วไม่ค่อยถนัดเท่าไหร่” คุณทอดด์ บอกกับผมก่อนขึ้นเวที ผมตอบตกลงตามนั้น ซึ่งทอดด์ ทองดี ก็ทำหน้าที่บนเวทีได้อย่างที่ควรเป็น

เขาคนนั้นจ้องมองผมเล่นกับคุณทอดด์อย่างไม่กะพริบตา

หลังจากจบงานคืนนั้น เขาได้เงียบหายไป เขาไม่เข้ามาหาผมหลังเวทีอย่างเคย  แต่หลังจากนั้นสองวันเสียงโทรศัพท์ของผมก็ดังขึ้น

“โอะ มึ โช เปอ” เขาทักทายผมเป็นภาษาปกาเกอะญอซึ่งเป็นภาษาของเราทั้งสอง จากนั้นเขาก็ได้กล่าวถึงสิ่งที่เขาประทับใจและไม่ประทับใจในการจัดงานที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของตัวศิลปินแต่ละคนและฝ่ายจัดการจัดงานด้วย

“เรามีอะไรที่สงสัยบางอย่างที่อยากถาม” เขาบอกกับผม ซึ่งผมก็ไม่อาจปฏิเสธสิ่งที่เขาอยากถามได้
“อยากรู้ว่า โกละนั้นเป็นของชนเผ่าปกาเกอะญอ แล้วชิคิดอย่างไรถึงให้ฝรั่งเป็นคนช่วยตีให้ ทำไมไม่ให้คนปกาเกอะญอตี” มันเป็นคำถามที่ทำให้ผมต้องใช้เวลาในการตอบยาวหน่อย แต่เขาก็พร้อมที่จะเสียเวลาฟังผมอธิบาย

ที่ผ่านมาเราตามเขามาโดยตลอด เราต้องพูดภาษาตามเขา เราต้องแต่งตัวตามเขา เราต้องกินอาหารตามเขา เราต้องเล่นเครื่องดนตรีตามเขา ซึ่งมันผิดไหม มันก็ไม่ผิด เพียงแต่เราต้องตามความคิดคนอื่น ตามการกระทำของเขาตลอด ซึ่งบางครั้งก็ไม่จำเป็น และเรามักถูกครอบงำจากคนที่เราตามนั้นเสมอ

แต่สิ่งที่ผมทำ ผมอยากให้เห็นว่าเราไม่จำเป็นต้องตามเขาเสมอไป เราก็มีดีพอที่จะให้คนอื่นตามเราได้เช่นกัน  โดยเฉพาะฝรั่งจากตะวันตกซึ่งเราพยายามตามและเลียนแบบเขามาโดยตลอด ซึ่งงานนี้ผมอยากให้ฝรั่งตามผมบ้าง มาเล่นเครื่องดนตรีของผม ของชนเผ่าผมบ้าง

โดยวิธีการเล่นทั้งหมดผมเป็นกำหนดว่าควรเล่นแบบไหน  มันถูกไหม  มันอาจไม่ถูก  แต่มันมีศักดิ์ศรีกว่า  สิ่งเหล่านี้มันเป็นของเราเอง เราเล่น เราร้อง เราเป็นโดยไม่เขิน ไม่อายใคร เล่นผิดก็ไม่มีใครรู้ ฮ่า ฮ่า!!

ซึ่งบางทีคนทางตะวันตกเขาเคารพและศรัทธาในสิ่งที่เราเป็น  แต่บางครั้งเราเองกลับไม่มั่นใจในองค์ความรู้ภูมิปัญญาของบรรพชนเรา  บางทีคนตะวันตกก็เอามาจากคนอื่นเช่นกัน  ต้นกำเนิดของกีตาร์นั้นพัฒนามาจากเครื่องดนตรีจากประเทศอิรัก  ฝรั่งเอาไปประยุกต์อีกที  

องค์ความรู้ของเรานั้นหากเราหยิบใช้มันพัฒนาและต่อยอด มันจะเป็นการยกระดับองค์ความรู้ให้ขยับไปอีกในระดับที่ดีขึ้น

หลังจากเสร็จงาน คุณทอดด์ นัดผมไปทานข้าวผม ขณะที่กำลังทานข้าวนั้น เขาบอกว่า
“เฮ้!! ชิ แก๊ง ยูเนสโก ชอบโชว์ของเรานะ เขา(ยูเนสโก้)บอกว่า ไม่เคยเห็นการเล่นดนตรีที่มีศิลปินฝรั่งที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงบ้างเล่นดนตรีร่วมกับคนชนเผ่า  โดยที่ศิลปินฝรั่งคุกเข่าเล่นและคนชนเผ่ายืนเล่นอยู่เหนือกว่า  มันเหมือนคนฝรั่งเองคารวะในศักดิ์ศรีและภูมิปัญญาของคนชนเผ่า  เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเคารพในความเป็นมนุษย์ของคนชนเผ่า” คุณทอดด์ กล่าวอย่างตื่นเต้น
 
“แต่ผมบอกเขาไปว่า เปล่าหรอกครับ ผมยืนตีแล้วไม่ถนัด ก็เลยคุกเข่าตี” คุณทอดด์ พูดจบพร้อมกับอ้าปากหัวเราะจนเห็นฟันครบทุกซี่

แต่ประเด็นที่สำคัญคือทำอย่างไร เราถึงจะไปด้วยกันได้  โดยไม่รู้สึกว่าใครนำ ใครตาม หรือใครครอบงำใคร  ผมเชื่อว่าเราไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวหรือปิดตัวจากโลกภายนอกได้  เราต้องมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  แต่ในการปฏิสัมพันธ์นั้นทำอย่างจึงจะมีความสมดุลระหว่างการรับของคนอื่นและการใช้ของตนเอง  โดยที่เราสามารถยังสามารถยืนอยู่บนรากทางวัฒนธรรมของตนเองได้

“เออ จริงหว่า!!” เขาพูดออกมาหลังจากที่ฟังผมพร่ำยาวเหยียด แต่ผมไม่ทราบว่าเขาคิดและเข้าใจอย่างไรบ้าง??
 “แล้ว ได้ชื่ออัลบั้มใหม่หรือยัง และเปิดอัลบั้มเมื่อไหร่” เขาถามผมต่อ ผมไม่แน่ใจว่าเขาถามเพื่อที่จะซื้อหรือว่าเพื่อที่จะขอฟรี
“ได้แล้ว ชื่ออัลบั้ม เตหน่าแลมิตร คาดว่าจะเปิดตัวที่เชียงใหม่ราวเดือนธันวาคมศกนี้ หากคืบหน้าอย่างไรเดี่ยวจะส่งข่าวอีกที”
“ ต่าบลื๊อ ต่าบล๊อ” เขาขอบคุณบอกลาแล้วเขาก็วางสายโทรศัพท์

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
“ตั้งสายได้แล้ว วิธีการเล่นล่ะ?” ลูกชายกำลังไฟแรงอยากเรียนรู้ “ใจเย็นๆ ก่อนอื่นต้องฝึกร้องเพลงให้ได้ก่อน ถ้าร้องเพลงไม้ได้ จำทำนองเพลงไม่ได้ จะเล่นได้ไง” พ่อค่อยๆสอนลูกชาย “เอางี๊ เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นและชอบสอนเด็กบ่อยๆ ซักสองสามท่อนนะ” แล้วพ่อก็เริ่มเปล่งเสียงร้องและให้ลูกชายร้องตามที่ละวรรค
ชิ สุวิชาน
พ่อได้ดื่มชาในกระบอกไม้ไผ่จนหมดไปกว่าครึ่งหนึ่ง แล้วจึงวางลง“เดิมทีนั้น เตหน่ากูมีจำนวนสายเพียง 5-7สาย แต่ต่อมาได้มีการเพิ่มเติมสายในการเล่นเป็น 8-9สายหรือ 10-12หรือมากกว่านั้นก็ได้” พ่อหยิบเตหน่ากูและเล่าให้ลูกชายฟัง“ทำไมจำนวนสายไม่เท่ากันล่ะ?” ลูกชายถามผู้เป็นพ่อ“มันขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน ชอบและถนัด 7 สายก็เล่น7 สายชอบน้อยกว่านั้นก็เล่นน้อยกว่าก็ได้ หรือชอบมากกว่านั้นก็เล่นมากกว่านั้นก็ได้” พ่อตอบสิ่งที่ลูกชายสงสัยในการตั้งสายเตหน่ากูแบบไมเนอร์สเกล (Minor scale) นั้นเริ่มจาก 5-7 สายโดยมีตัวโน๊ตหลักตามไมเนอร์สเกลอยู่ 5 โน้ต ได้แก่ โด (D) เร (R)  มี (M) โซ (S) ลา…
ชิ สุวิชาน
ความมืดกลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง เช่นเดียวกับไม้เกี๊ยะที่มาจากแกนไม้สนสองใบต้องถูกเผาเพื่อผลิตแสงสว่างในครัวบ้านปวาเก่อญออีกครั้ง กาต้มน้ำที่ดำสนิทด้วยคราบเขม่าควันไฟถูกตั้งบนเหล่อฉอโข่อีกครั้ง กลิ่นชาป่าขั้วหอมทำให้โสตประสาทกระปรี่กระเปร่าขึ้นมาพร้อมเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ภายในบ้านไม้ไผ่หลังเดิมเตหน่ากู คืออุปกรณ์การเรียนรู้ถูกเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ของพ่อซึ่งเป็นผู้สอนหนึ่งตัว ของลูกซึ่งเป็นผู้เรียนหนึ่งตัว รูปร่างลักษณะเตหน่ากูแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีรูปทรงที่คล้ายๆกัน  มีตัวท่อนไม้ใหญ่ และมีกิ่งไม้ที่โค้งงอเมื่อพ่อเห็นว่าลูกชายพร้อมที่จะเริ่มการรับความรู้แล้ว …
ชิ สุวิชาน
“พี่น้องครับ พี่ชายคนนี้ยังคงทำหน้าที่ต่อ ณ ตรงนี้ครับ ขอมอบเวทีต่อให้พี่ครับ” ผมพูดจบผมกลับไปที่นั่งของผมเพื่อเป็นคนดูต่อแม่น้ำสายนี้ยังคงไหลไปตามกาลเวลาฯ....................................................ฉันผ่านมา  ผ่านมาทางนี้ ผ่านมาดูสายน้ำ.............ได้รู้ได้ยิน..............ฯบทเพลงแรกผ่านไปต่อด้วยสาละวิน สายน้ำตาเสียงปืนดังที่กิ่วดอยลูกชายไปสงครามเด็กน้อยผวาตื่น(ทุกคืนๆ)
ชิ สุวิชาน
“ผมมีเพื่อนปกาเกอะญอมาด้วยคนหนึ่ง” ผมบอกกับคนดูผมได้ไปพบ และได้ไปฟัง เพลงที่เขาร้อง ณ ริมฝั่งสาละวิน ทำให้ผมเกิดความประทับใจในท่วงทำนองและความหมายของบทเพลงรวมทั้งตัวเขาด้วยผมทราบมาว่าตอนนี้เขาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่  ผมจึงไม่พลาดโอกาสทีจะชักชวนเขามาร่วม บอกเล่าเรื่องราวของชนเผ่า ผ่านบทเพลงที่ผมประทับใจ ซึ่งแรก ๆ นั้น เขาแบ่งรับ แบ่งสู้  ที่จะตอบรับการชักชวนชองผม แต่ผมก็ชักแม่น้ำทั้งห้า จนเขาหมดหนทางปฏิเสธ“ผมไม่คุ้นเคยกับการร้องเพลงต่อหน้าคนมาก ๆ นะ” เขาออกตัวกับผมก่อนวันงาน แต่เมื่อถึงวันงานเขาก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง เขาเดินออกมาแบบเกร็งๆ และประหม่าอย่างเห็นได้ชัด เขาจะยืนตรงก็ไม่ใช่…
ชิ สุวิชาน
ณ ห้องเล็กๆ แถวสี่แยกกลางเวียง เมืองเชียงใหม่ เก้าอี้ถูกเรียงเป็นแถวหน้ากระดานประมาณร้อยกว่าตัว  ข้างหน้าถูกปล่อยว่างเล็กน้อยสำหรับเป็นพื้นที่ตั้งเครื่องเล่นดีวีดีและโปรเจคเตอร์เพื่อฉายสารคดี ใกล้เวลานัดหมายผู้คนเริ่มทยอยกันเข้ามาทีละคน ทีละคู่ ทีละกลุ่ม“เค้าไม่อยากให้เราพูดถึงเรื่องการเมือง แต่เราอาจพูดได้นิดหน่อย” เจ้าหน้าที่ FBR กระซิบมาบอกผมเกี่ยวกับความกังวลของเจ้าของสถานที่ ผมยิ้มแทนการสนทนาตอบ เพียงแต่คิดในใจว่า หากการเมืองคือความทุกข์ยากของประชาชน ของชาวบ้านคนรากหญ้าก็ต้องพูดให้สาธารณะได้รับรู้ เพื่อจะหาช่องทางในการช่วยบรรเทาทุกข์ของประชาชน…
ชิ สุวิชาน
หลังจากดูสารคดีด้วยกันจบ “ผมอยากฉายสารคดีชุดนี้สู่สาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่คนทั่วไปในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผมอยากให้คุณมาร่วมเล่นดนตรีด้วย คุณ โอ เค มั้ย” เขาถามผมผมนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง เพราะผมไม่รู้จะปฏิเสธอย่างไร  ผมรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งที่ต้องทำ  ผมบอกกับตัวเองว่า เพียงแค่เห็นใจและเข้าใจอาจไม่เพียงพอ   หากสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสื่อสารเรื่องราวของผู้ทุกข์ยาก โดยเฉพาะคนชนเผ่าเดียวกันได้  มันก็ควรทำไม่ใช่หรือหลังจากผมตอบตกลงเขา เราทั้งสองได้พูดคุยประสานงานกันเกี่ยวกับงานอยู่เรื่อย ๆ จนเวลาลงตัวในวันที่ 21 ธันวาคม ศกนี้ ณ สมาคม AUA เชียงใหม่ ในหัวข้อ “…
ชิ สุวิชาน
ต่า หมื่อ แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละ         ตา ข่า แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละอะ เคอ กิ ดิ เค่อ มี โบ            มา ซี ปกา ซู โข่ อะ เจอผีร้ายโผล่มาทางริมฝั่งสาละวิน        แมงร้ายโผล่มาทางลำน้สาละวินเสื้อผ้าลายเหมือนดั่งต้นบุก        มาเข่นฆ่าทำลายล้างชีวิตคน(ธา บทกวีคนปกาเกอะญอ)“คุณเคยติดตามสถานการณ์ทางรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่าบ้างไหม” เสียงผู้ชายโทรศัพท์มาถามผมด้วยภาษาไทยสำเนียงฝรั่ง“ผมทำงานในองค์กรชื่อFree Burma Rangers ครับ”…
ชิ สุวิชาน
เขานั่งอยู่แถวหน้า และเขาโบกไม้โบกมือขณะที่ผมกำลังบรรเลงเพลงอยู่บนเวที  ในมหกรรมคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งจัดโดยสำนักประชาสัมพันธ์ร่วมกับองค์กรยูเนสโก้  ในงานได้มีการเชิญศิลปินชนเผ่าหลักทั้ง 7 เผ่า ได้แก่ ม้ง อาข่า ลีซู ลาหู่ เมี่ยน ไทยใหญ่และกะเหรี่ยง รวมทั้งยังมีศิลปินล้านนา อาทิ ครูแอ๊ด  ภานุทัต  คำหล้า ธัญาภรณ์ น้อง ปฏิญญา และไม้เมืองนอกจากนี้มีทายาทของสุนทรี  เวชชานนท์ ราชินีเพลงล้านนา คือน้องลานนา มาร่วมร้องเพลง ธีบีโกบีกับทอดด์ ทองดี ศิลปินจากรัฐเพนโซเวเนีย…
ชิ สุวิชาน
เมื่อเข็มนาฬิกาเข็มที่สั้นที่สุด เลื่อนไปยังหมายเลขเก้า ทุกคนจึงขึ้นรถตู้ เคลื่อนขบวนไปยังศูนย์ศิลปและวัฒนธรรมแสงอรุณ  เมื่อถึงมีทีมงานเตรียมข้าวกล่องไว้รอให้ทาน พอทานข้าวเสร็จพี่อ้อย ชุมชนคนรักป่า ก็มาบอกผมว่า  งานจะเริ่มบ่ายโมง  พร้อมกับยื่นใบกำหนดการให้ผมดู  ผมตื่นเต้นนิดหน่อยพอบ่ายโมง งานก็เริ่มขึ้น โดยการฉายสไลด์เกี่ยวกับป่าชุมชนที่หมู่บ้านสบลาน อำเภอสะเมิงเชียงใหม่   "ถ้าถึงคิวแล้วจะมาเรียกนะ” ทีมงานบอกกับผมในระหว่างที่ผมรออยู่หน้างานนั้น ผมก็ได้เจอกับนักเขียน นักดนตรี นักกวี ที่ทยอยมา ได้มีโอกาสคุยกับคนที่ผมรู้จัก และกำลังรู้จัก และที่ไม่รู้จักด้วย …
ชิ สุวิชาน
บุ เต่อ โดะ นะ แล บุ เออบุ ลอ บ ะ เลอ ต่า อะ เออชะตา วาสนาช่างรันทดต้องเผชิญแต่สิ่งลำเค็ญ