Skip to main content


บรรยากาศจากเทือกเขาสแครนตัน

 

หลังจากที่นักดนตรี นักร้อง นักรำมาถึงกันครบองค์ทั้งหมดแล้ว จึงเริ่มมีการแกะกล่องสัมภาระที่ขนเครื่องดนตรีและเครื่องไม้เครื่องมือประกอบการแสดงที่มาจากเมืองไทย ผมเริ่มแกะพลาสติกกันกระแทกที่ห่อเตหน่ากูไว้ เตหน่ากูได้โผล่ออกมารับแสงรับลมอีกครั้ง


 

มันดูงอนๆผมอยู่ที่ผมไม่ยอมอุ้มขึ้นเครื่อง แต่เลือกดาวน์โหลดในส่วนสัมภาระแทนเพื่อความสะดวกในการเดินทางระยะไกล เขาต่อว่าผมที่ยัดมันลงกล่องอันแออัด ผมไม่ได้ยินแต่ผมพอจะรู้ว่ามันสามารถพูดได้ ผมหยิบมันขึ้นมาเช็ดถูแล้วเปลี่ยนสายใหม่ โดยพกสายเบรกจักรยานยนต์จากเมืองไทยมา ตั้งสายให้มันกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

เมื่อต่างคนต่างสำรวจดูของตัวเองว่าสภาพเป็นอย่างไร และยังมีสิ่งที่ต้องหาเพิ่มเติมหรือไม่ มือกลองต้องการไปซื้อสแนร์ มือเบสต้องการซื้อแอมป์ มือกีตาร์ต้องการซื้อแอฟเฟค มือคีย์บอร์ดต้องการสายแจ็ค โปงลาง
,ระนาด ต้องการไมค์จ่อ ทีมงานทำการจดไว้อย่างละเอียด เมื่อทบทวนดูอีกทีก่อนออกไปซื้อของ ทุกสายตาจึงหันมามองที่เตหน่ากู

มึงไม่ต้องการอะไรเหรอ แน่ใจว่าเรียบร้อยดีนะ” พี่ทอด์ดหันถามผม ซึ่งผมยังไม่ทันตอบ
ผมว่าต้องหาปิกอัพมาให้เตหน่ากูใหม่นะ เพราะที่ผ่านมาที่มีอยู่มันจะมีเสียงหอนและ Feedback เยอะ มีเพิ่มเสียงให้ดังขึ้น" พี่สานุ มือคีย์บอร์ดและโปรดิวเซอร์เสนอความเห็น
ผมเห็นด้วย อยากให้มันมีเสียงออกมาดีๆ ชัดๆ เดี๋ยวเราไปดูกันว่ามีอะไรที่เหมาะกับมัน ผมมีเพื่อนที่มีร้านขายอุปกรณ์ดนตรี เดี๋ยวจะลองให้เขาดู เผื่อมีคำแนะนำดีๆ” พี่ทอด์ดบอก


ร้านขายอุปกรณ์ดนตรีร้านแรก

นี่เพื่อนผมตอนเรียนมัธยมด้วยกัน เขาเป็นคนซ่อมกีตาร์ และดนตรีอย่างอื่นด้วยตนเอง” พี่ทอด์ด แนะนำเจ้าของร้าน หลังจากนั้นนักดนตรีแต่ละคนเริ่มหาอุปกรณ์ที่ตนเองต้องการ บางคนได้ บางคนไม่มีสิ่งที่ต้องการ และมาปิดท้ายที่เตหน่ากู

 

ช่วยดู เครื่องดนตรีนี้หน่อย เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของชนเผ่าที่อยู่บนภูเขาทางเหนือของประเทศไทย มันจะมีปัญหาเรื่อง feedback เวลาใช้แจ๊ค ลองดูว่ามันจะทำอะไรกับมันได้บ้าง”  พี่ทอด์ดถามเจ้าของร้าน เจ้าของร้านขยับเข้ามาดูเตหน่ากูแล้วให้ผมลองเล่นให้ฟัง เพื่อจะรู้ว่าเสียงออกมาจากส่วนไหนของมัน

 

Amazing!!” เขาอุทานออกมาเมื่อได้ยินเสียงเตหน่ากู หลังจากที่เขาหยิบมาดูจนทั่วทั้งร่างแล้วเขาเสนอความคิดเห็นว่าให้เอาไมโครโฟนจ่อดีที่สุด ซึ่งผมเคยจ่อมาแล้วหลายงานแต่ล้มเหลวทุกงาน สรุปแล้วเขาช่วยเตหน่ากูไม่ได้

 

ร้านที่สอง
เขาหยิบเตหน่ากูมาดูเช่นกัน ดูที่หัว ดูข้าง ดูที่สาย ดูที่ตูด เขาแนะนำให้ใช้ไมโครโฟนฝังข้างใน และเขาก็หยิบผลิตภัณฑ์ของเขามาให้ดู เขาบอกว่าเป็นรุ่นที่ดีที่สุด ราคาตกอยู่ที่
199 เหรียญ ผมจึงขอทดลองดูก่อนเพื่อให้แน่ใจว่ามันใช้ได้จริงหรือไม่ แต่เจ้าของร้านปฏิเสธไม่ให้ลอง

 

ยังไม่ต้องเอาไปดูที่อื่นก่อนแล้ว ถ้าไม่ได้ค่อยว่ากันอีกที” พี่สานุพูดพร้อมกับยกพลออกจากร้านดังกล่าว

 

ร้านที่สาม Guitar Center ณ เมืองสแครนตัน
ทันทีที่เข้าในร้าน เรามุ่งตรงไปที่จุดขายปิกอัพ หนุ่มเครายาวจ้องดูเตหน่ากูแล้วถามว่าเป็นเครื่องดนตรีจากที่ไหน จะมาเล่นที่ไหน เมื่อเราบอกว่าเป็นเครื่องดนตรีชนเผ่าปกาเกอะญอมาจากประเทศไทย มาเล่นร่วมกับทอด์ด

 

ทอด์ด ลาเวลล์ คนที่อยู่ สแครนตันหรือเปล่า?” หนุ่มเครายาวถาม
ใช่ คนนั้นไง” แล้วผมชี้มือไปที่พี่ทอด์ด พี่ทอด์ดหันมาหาเขา ช่างบังเอิญหนุ่มเครายาวเป็นเพื่อนร่วมชั้นกับพี่ทอด์ด สมัยเรียนชั้นประถมร่วมกัน การกอดกันกันทักทายตามประสาฝรั่งจึงเกิดขึ้น หนุ่มเครายาวบอกว่าพี่ทอด์ดเป็นคนเพี้ยนตั้งแต่สมัยเรียนประถมแล้ว ในขณะที่หนุ่มเครายาวเรียนมัธยมไม่จบ แต่สุดท้ายทั้งสองก็มาทำงานด้านดนตรีเหมือนกัน

 


เตหน่ากูตามหา
-เสียงในร้านดนตรี
 

 

หนุ่มเครายาวมั่นใจว่าปิกอัพเอาเตหน่ากูอยู่แน่นอน เขาจึงหยิบปิกอัพที่ดีที่สุดในร้านมาให้
อันนี้เป็นปิกอัพที่รับเสียงดีที่สุด และมี feedback น้อยที่สุด” เขานำเสนอด้วยความภูมิใจ

 

แต่เมื่อลองแล้วปรากฏว่ามันไม่ Feedback ก็จริงแต่เสียงมันออกมาเบามาก หนุ่มเครายาวพยายามลองหาตำแหน่งต่างของเตหน่ากูที่รับเสียงได้ดีที่สุด โดยการเลื่อนไปหลายจุด แต่ไม่มีอะไรดีขึ้น เขาแปลกใจมาก เขายืนกุมขมับแล้วส่ายหัว เป็นอันว่าไม่เป็นผล คงต้องใช้ของเดิมที่ติดตัวมาจากเมืองไทย

 


ฝรั่งงงกับเส้นเสียงของเตหน่ากู
 

 

เดี๋ยวผมว่าน่าจะใช้ปิกอัพของกลองมาใช้ดู ผมมีเพื่อนเล่น เชลโล่ เขาใช้ปิกอัพกลอง” มือกลองในวงที่มาจากฮอลแลนด์เสนอความเห็น แต่ไม่มีใครเห็นด้วยแม้กระทั่งเจ้าของร้าน แต่เขาไม่ละความพยายาม เขาไปหยิบมาแล้วขอลองดู เจ้าของร้านใจป้ำให้ลอง พอลองแล้วปรากฏว่าพอได้ แม้จะมี feedback บ้างเวลาเปิดเสียงจนสุด แต่ก็ดีกว่าอันเก่า จนเจ้าของร้านต้องแปลกใจอีกครั้งว่า ทำไมถึงใช้ได้ อย่างไรก็แล้วแต่ ตอนนี้เตหน่ากูเริ่มมั่นใจในการเปล่งเสียงบนดินแดนมะกันมากขึ้น

 


เมื่อมันเปล่งเสียงออกมา พนักงานร้านดนตรีจ้องอย่างด้วยความทึ่ง

 

หลังจากตามหาเสียงให้เตหน่ากูได้แล้ว ช่วงบ่าย Grayson หลานชายพี่ทอด์ดชวนผมไปดูเขาแข่งเบสบอล ตอนแรกผมคิดว่าไม่ไป


ไม่ไปเป็นกำลังใจให้ผมในเกมเหรอ??” เขาถามด้วยสายตาที่อ้อนผม จนผมตกลงใจไปดู ในเกมเป็นการแข่งขันภายในชุมชนของเขาซึ่งมีเด็กประมาณ 20 กว่าคน แบ่งเป็น 2 ทีม คนที่ดูนักกีฬา คนที่เป็นกรรมการ คนที่เป็นกองเชียร์ ล้วนเป็นผู้ปกครองของเด็ก แม้จำนวนผู้ปกครองจะมีจำนวนไม่มากแต่เสียงเชียร์มีมากกว่าจำนวนคน

Good job” เสียงนี้ดังขึ้นในทุกครั้งที่เด็กทำได้ดี และเมื่อเด็กทำพลาดหรือทำไม่ดี เสียงจะเงียบ ไม่มีการว่า ไม่มีการติ ไม่มีการซ้ำเติม แต่เสียงเฮจะมาอีกทุกครั้งที่เด็กเริ่มต้นลูกใหม่หรือเกมใหม่ สิ่งที่ทำให้ผมแปลกใจอีกอย่างคือ รอบสนามเล็กของชุมชนแห่งนี้เต็มไปด้วยป้ายรายชื่อผู้สนับสนุน ร้านมินิมาร์ทบ้าง ร้านขายอะไหล่รถบ้าง ร้านซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์บ้าง ร้านอาหารบ้าง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นร้านค้าที่อยู่ในชุมชน

เงินผู้สนับสนุนเหล่านี้ เราเอามาทำสนามแข่งสำหรับเด็กและอุปกรณ์กีฬา ส่วนครูผู้ฝึกสอน เราให้ผู้ปกครองที่มีทักษะมาสอน อนาคตอาจจ้างโค้ชที่เป็นมืออาชีพมา ถ้ามีเงินมากขึ้น สำหรับชุดกีฬา ผู้ปกครองเด็กแต่ละคนจะรับผิดชอบเอง” Tish แม่ของ Grayson เล่าให้ฟัง

ความเป็นมืออาชีพ มันต้องสร้างตั้งแต่เด็ก เราไม่รู้ว่าเด็กทั้งหมดในชุมชนจะมีกี่คนที่จะได้เล่นในลีกอาชีพของประเทศบ้างในอนาคต อาจจะห้าคน สามคน หรือแค่คนเดียว มันอาจจะเป็นลูกฉัน หรือลูกคนอื่น คนโน้น คนนี้ แต่มันน่าภูมิใจว่า คนในชุมชนเราสร้างเขาคนนั้นขึ้นมาร่วมกัน ชุมชนของฉันตั้งความหวังว่าอีกสิบปี คนในชุมชนต้องไปเล่นในลีกอาชีพของประเทศให้ได้ ฉันเองก็เฝ้ารอวันนั้น และฉันจะไปเชียร์ที่ขอบสนามทุกนัดเลย” Tish กล่าวทิ้งท้าย

 

 

 

 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า?…
ชิ สุวิชาน
 หลังเสร็จงานศพ ความรู้สึกจำใจจากบ้านมาเยือนอีกครั้ง  แต่การกลับบ้านครั้งนี้แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะในวิถีประเพณี ที่มีคนตายในชุมชน  ได้เห็นสภาพของป่าช้าที่ถูกผ่าตัดตอนแล้วพยายามเปลี่ยนอวัยวะชิ้นส่วนใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนที่ 
ชิ สุวิชาน
 โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม  ลูกชายที่เป็นศาสนาจารย์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศิษยาภิบาลได้จับดินก้อนหนึ่งกำไว้ในมือ  แล้วชูดินต่อหน้าผู้ร่วมงาน"ชีวิตเราถูกสร้างมาจากดิน แล้วพระเจ้าได้เป่าลมหายใจ คือชีวิตสู่เรา การรักษาร่างกายไม่สำคัญเท่ากับการรักษาชีวิต ชีวิตที่แม้ไม่มีร่างกายก็มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อร่างกายเราถูกสร้างมาจากดิน ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งก็ต้องเสื่อมและต้องกลับคืนสู่ดิน แต่ชีวิตไม่ได้ถูกสร้างมาจากดิน ชีวิตถูกสร้างมาจากลมหายใจที่มาจากพระเป็นเจ้า ถ้าเรารักษาชีวิตไว้ในขณะที่อยู่บนโลกให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า…
ชิ สุวิชาน
จบพิธีทางคริสต์ศาสนา แขกเหรื่อที่มาต่างทยอยเดินลงบันใด และยืนกองรวมกันที่ลานหน้าบ้านผู้ตาย รถกระบะสองคันซึ่งเป็นของลูกชายศาสนาจารย์ที่จากไปได้แล่นมาแหวกกลุ่มคนที่ยืนอยู่ลานหน้าบ้าน และจอดท่ามกลางวงห้อมล้อมของฝูงชน  "กางเขนนี้คนเอาไม่อยู่ โคตรหนักเลย" เสียงของหนึ่งในชายฉกรรจ์ พูดขึ้นหลังจากนำไม้กางเขนซีเมนต์ขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้วได้ขึ้นไว้บนรถกระบะ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้แบกไม้กางเขนของตนเองไปยังภูเขาที่พระองค์จะถูกตรึง ระหว่างทางได้อ่อนระโหยโรยแรง มีชายผู้หนึ่งที่สงสารจึงอาสาช่วยแบก แต่มาครั้งนี้คนเอาไม่อยู่ ผมเพียงแต่นึกในใจว่ากางเขนซีเมนต์นี้…
ชิ สุวิชาน
"ที่จะร้องให้ฟังต่อไปนี้เป็น ธา ปลือ ร้องเพื่อให้คนเป็นรู้ว่าคนตายได้ตายเพื่อไปที่อื่นแล้ว ร้องเพื่อให้คนตายรู้ว่าตัวว่าได้ตายและต้องไปอยู่อีกที่แล้ว ในวันที่ไม่มีคนตายห้ามพูดห้ามร้องเด็ดขาด ไม่ว่าในบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือที่ใดก็ตาม ในวันที่มีคนตายนั้นต้องร้อง" พือพูดก่อนร้อง พือหยิบไมโครโฟน หันมาทางผม ผมจึงเริ่มบรรเลงเตหน่า
ชิ สุวิชาน
ข่าวเรื่องการละสังขารของศาสนาจารย์ผู้ก่อตั้งคริสตจักรมูเจะคีในวัย 96 ปีได้ถูกกระจายออกไป ไม่เพียงแค่ในพื้นที่มูเจะคีเท่านั้น เชียงราย กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่เกิดและที่เติบโตของพื้นที่อื่นที่เขาเคยเผยแพร่และเทศนาเรื่องราวของพระคริสต์ทั้งในพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ข่าวการจากไปของเขาไม่เลยผ่านไปได้ งานศพถูกจัดการอย่างดีตามรูปแบบของคริสเตียน ข่าวไปถึงที่ไหนผู้คนจากที่นั่นก็มา คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ดูแล้วปริมาณไม่ต่างกันเท่าเลย เหมือนมีการจัดงานมหกรรมบางเกิดขึ้นในชุมชน ลูกหลานที่ไปทำงานจากที่ต่างๆ ของเขาก็มากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยที่งานศพถูกเก็บไปสามคืน
ชิ สุวิชาน
พี่นนท์เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้ฟังพาตี่ทองดี จึงร้องเพลงธาปลือให้ฟัง จนกระทั่งถึงท่อน โย เย็นนั้นระหว่างงาน พี่นนท์จึงถามคำแปลของเพลงเหล่านั้น หลังจากเสร็จงานนั้นเพลงเส่อเลจึงมีการต่อเติมจนเป็นเพลงขึ้นมาจนได้ “พี่นึกถึงหญิงสาวที่ต้องโตขึ้นมาอย่างลำบาก นึกถึงพัฒนาการการเติบโตของชีวิต ต้องตามพ่อตามแม่ปลูกข้าว กว่าจะโตเป็นสาวต้องผ่านการตรากตรำทำงานอย่างลำบาก พี่เลยจินตนาการการตายของเธอว่า เป็นการเสียชีวิตด้วยไข้ป่า”
ชิ สุวิชาน
แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้
ชิ สุวิชาน
ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย “ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก…
ชิ สุวิชาน
มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมูอยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพรท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่าทำไร่หมุนเวียน ทำนา …
ชิ สุวิชาน
เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง "ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ…
ชิ สุวิชาน
ปี 2540 สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชนที่อยู่กับป่าร้อนระอุขึ้นมาอีกระลอก เมื่อรัฐบาลของนายหัว ชวน หลีกภัย ได้มีนโยบายอพยพคนออกจากป่า นั่นหมายถึงชะตากรรมวิถีของคนอยู่กับป่าจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ชุมชนเดิม ที่อยู่ ที่ทำกินเดิมนั้นจะกลายเป็นเพียงที่ที่เคยอยู่เคยกินเท่านั้น ตัวแทนขบวนคนอยู่กับป่าจึงมีการขยับเคลื่อนสู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง โดยมีเครือข่ายกลุ่มสมัชชาคนจนจากภาคต่างๆมาสมทบอย่างครบครัน กลายเป็นชุมชนคนจนหน้าทำเนียบโดยปริยาย “ลูกหลานไปเรียกร้องสิทธิหลายครั้งแล้ว ไม่ได้สักที คราวนี้ฉันต้องไปเอง ถ้าเรียกร้องไม่สำเร็จฉันจะไม่กลับมาเด็ดขาด”…