Skip to main content


บรรยากาศจากเทือกเขาสแครนตัน

 

หลังจากที่นักดนตรี นักร้อง นักรำมาถึงกันครบองค์ทั้งหมดแล้ว จึงเริ่มมีการแกะกล่องสัมภาระที่ขนเครื่องดนตรีและเครื่องไม้เครื่องมือประกอบการแสดงที่มาจากเมืองไทย ผมเริ่มแกะพลาสติกกันกระแทกที่ห่อเตหน่ากูไว้ เตหน่ากูได้โผล่ออกมารับแสงรับลมอีกครั้ง


 

มันดูงอนๆผมอยู่ที่ผมไม่ยอมอุ้มขึ้นเครื่อง แต่เลือกดาวน์โหลดในส่วนสัมภาระแทนเพื่อความสะดวกในการเดินทางระยะไกล เขาต่อว่าผมที่ยัดมันลงกล่องอันแออัด ผมไม่ได้ยินแต่ผมพอจะรู้ว่ามันสามารถพูดได้ ผมหยิบมันขึ้นมาเช็ดถูแล้วเปลี่ยนสายใหม่ โดยพกสายเบรกจักรยานยนต์จากเมืองไทยมา ตั้งสายให้มันกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

เมื่อต่างคนต่างสำรวจดูของตัวเองว่าสภาพเป็นอย่างไร และยังมีสิ่งที่ต้องหาเพิ่มเติมหรือไม่ มือกลองต้องการไปซื้อสแนร์ มือเบสต้องการซื้อแอมป์ มือกีตาร์ต้องการซื้อแอฟเฟค มือคีย์บอร์ดต้องการสายแจ็ค โปงลาง
,ระนาด ต้องการไมค์จ่อ ทีมงานทำการจดไว้อย่างละเอียด เมื่อทบทวนดูอีกทีก่อนออกไปซื้อของ ทุกสายตาจึงหันมามองที่เตหน่ากู

มึงไม่ต้องการอะไรเหรอ แน่ใจว่าเรียบร้อยดีนะ” พี่ทอด์ดหันถามผม ซึ่งผมยังไม่ทันตอบ
ผมว่าต้องหาปิกอัพมาให้เตหน่ากูใหม่นะ เพราะที่ผ่านมาที่มีอยู่มันจะมีเสียงหอนและ Feedback เยอะ มีเพิ่มเสียงให้ดังขึ้น" พี่สานุ มือคีย์บอร์ดและโปรดิวเซอร์เสนอความเห็น
ผมเห็นด้วย อยากให้มันมีเสียงออกมาดีๆ ชัดๆ เดี๋ยวเราไปดูกันว่ามีอะไรที่เหมาะกับมัน ผมมีเพื่อนที่มีร้านขายอุปกรณ์ดนตรี เดี๋ยวจะลองให้เขาดู เผื่อมีคำแนะนำดีๆ” พี่ทอด์ดบอก


ร้านขายอุปกรณ์ดนตรีร้านแรก

นี่เพื่อนผมตอนเรียนมัธยมด้วยกัน เขาเป็นคนซ่อมกีตาร์ และดนตรีอย่างอื่นด้วยตนเอง” พี่ทอด์ด แนะนำเจ้าของร้าน หลังจากนั้นนักดนตรีแต่ละคนเริ่มหาอุปกรณ์ที่ตนเองต้องการ บางคนได้ บางคนไม่มีสิ่งที่ต้องการ และมาปิดท้ายที่เตหน่ากู

 

ช่วยดู เครื่องดนตรีนี้หน่อย เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของชนเผ่าที่อยู่บนภูเขาทางเหนือของประเทศไทย มันจะมีปัญหาเรื่อง feedback เวลาใช้แจ๊ค ลองดูว่ามันจะทำอะไรกับมันได้บ้าง”  พี่ทอด์ดถามเจ้าของร้าน เจ้าของร้านขยับเข้ามาดูเตหน่ากูแล้วให้ผมลองเล่นให้ฟัง เพื่อจะรู้ว่าเสียงออกมาจากส่วนไหนของมัน

 

Amazing!!” เขาอุทานออกมาเมื่อได้ยินเสียงเตหน่ากู หลังจากที่เขาหยิบมาดูจนทั่วทั้งร่างแล้วเขาเสนอความคิดเห็นว่าให้เอาไมโครโฟนจ่อดีที่สุด ซึ่งผมเคยจ่อมาแล้วหลายงานแต่ล้มเหลวทุกงาน สรุปแล้วเขาช่วยเตหน่ากูไม่ได้

 

ร้านที่สอง
เขาหยิบเตหน่ากูมาดูเช่นกัน ดูที่หัว ดูข้าง ดูที่สาย ดูที่ตูด เขาแนะนำให้ใช้ไมโครโฟนฝังข้างใน และเขาก็หยิบผลิตภัณฑ์ของเขามาให้ดู เขาบอกว่าเป็นรุ่นที่ดีที่สุด ราคาตกอยู่ที่
199 เหรียญ ผมจึงขอทดลองดูก่อนเพื่อให้แน่ใจว่ามันใช้ได้จริงหรือไม่ แต่เจ้าของร้านปฏิเสธไม่ให้ลอง

 

ยังไม่ต้องเอาไปดูที่อื่นก่อนแล้ว ถ้าไม่ได้ค่อยว่ากันอีกที” พี่สานุพูดพร้อมกับยกพลออกจากร้านดังกล่าว

 

ร้านที่สาม Guitar Center ณ เมืองสแครนตัน
ทันทีที่เข้าในร้าน เรามุ่งตรงไปที่จุดขายปิกอัพ หนุ่มเครายาวจ้องดูเตหน่ากูแล้วถามว่าเป็นเครื่องดนตรีจากที่ไหน จะมาเล่นที่ไหน เมื่อเราบอกว่าเป็นเครื่องดนตรีชนเผ่าปกาเกอะญอมาจากประเทศไทย มาเล่นร่วมกับทอด์ด

 

ทอด์ด ลาเวลล์ คนที่อยู่ สแครนตันหรือเปล่า?” หนุ่มเครายาวถาม
ใช่ คนนั้นไง” แล้วผมชี้มือไปที่พี่ทอด์ด พี่ทอด์ดหันมาหาเขา ช่างบังเอิญหนุ่มเครายาวเป็นเพื่อนร่วมชั้นกับพี่ทอด์ด สมัยเรียนชั้นประถมร่วมกัน การกอดกันกันทักทายตามประสาฝรั่งจึงเกิดขึ้น หนุ่มเครายาวบอกว่าพี่ทอด์ดเป็นคนเพี้ยนตั้งแต่สมัยเรียนประถมแล้ว ในขณะที่หนุ่มเครายาวเรียนมัธยมไม่จบ แต่สุดท้ายทั้งสองก็มาทำงานด้านดนตรีเหมือนกัน

 


เตหน่ากูตามหา
-เสียงในร้านดนตรี
 

 

หนุ่มเครายาวมั่นใจว่าปิกอัพเอาเตหน่ากูอยู่แน่นอน เขาจึงหยิบปิกอัพที่ดีที่สุดในร้านมาให้
อันนี้เป็นปิกอัพที่รับเสียงดีที่สุด และมี feedback น้อยที่สุด” เขานำเสนอด้วยความภูมิใจ

 

แต่เมื่อลองแล้วปรากฏว่ามันไม่ Feedback ก็จริงแต่เสียงมันออกมาเบามาก หนุ่มเครายาวพยายามลองหาตำแหน่งต่างของเตหน่ากูที่รับเสียงได้ดีที่สุด โดยการเลื่อนไปหลายจุด แต่ไม่มีอะไรดีขึ้น เขาแปลกใจมาก เขายืนกุมขมับแล้วส่ายหัว เป็นอันว่าไม่เป็นผล คงต้องใช้ของเดิมที่ติดตัวมาจากเมืองไทย

 


ฝรั่งงงกับเส้นเสียงของเตหน่ากู
 

 

เดี๋ยวผมว่าน่าจะใช้ปิกอัพของกลองมาใช้ดู ผมมีเพื่อนเล่น เชลโล่ เขาใช้ปิกอัพกลอง” มือกลองในวงที่มาจากฮอลแลนด์เสนอความเห็น แต่ไม่มีใครเห็นด้วยแม้กระทั่งเจ้าของร้าน แต่เขาไม่ละความพยายาม เขาไปหยิบมาแล้วขอลองดู เจ้าของร้านใจป้ำให้ลอง พอลองแล้วปรากฏว่าพอได้ แม้จะมี feedback บ้างเวลาเปิดเสียงจนสุด แต่ก็ดีกว่าอันเก่า จนเจ้าของร้านต้องแปลกใจอีกครั้งว่า ทำไมถึงใช้ได้ อย่างไรก็แล้วแต่ ตอนนี้เตหน่ากูเริ่มมั่นใจในการเปล่งเสียงบนดินแดนมะกันมากขึ้น

 


เมื่อมันเปล่งเสียงออกมา พนักงานร้านดนตรีจ้องอย่างด้วยความทึ่ง

 

หลังจากตามหาเสียงให้เตหน่ากูได้แล้ว ช่วงบ่าย Grayson หลานชายพี่ทอด์ดชวนผมไปดูเขาแข่งเบสบอล ตอนแรกผมคิดว่าไม่ไป


ไม่ไปเป็นกำลังใจให้ผมในเกมเหรอ??” เขาถามด้วยสายตาที่อ้อนผม จนผมตกลงใจไปดู ในเกมเป็นการแข่งขันภายในชุมชนของเขาซึ่งมีเด็กประมาณ 20 กว่าคน แบ่งเป็น 2 ทีม คนที่ดูนักกีฬา คนที่เป็นกรรมการ คนที่เป็นกองเชียร์ ล้วนเป็นผู้ปกครองของเด็ก แม้จำนวนผู้ปกครองจะมีจำนวนไม่มากแต่เสียงเชียร์มีมากกว่าจำนวนคน

Good job” เสียงนี้ดังขึ้นในทุกครั้งที่เด็กทำได้ดี และเมื่อเด็กทำพลาดหรือทำไม่ดี เสียงจะเงียบ ไม่มีการว่า ไม่มีการติ ไม่มีการซ้ำเติม แต่เสียงเฮจะมาอีกทุกครั้งที่เด็กเริ่มต้นลูกใหม่หรือเกมใหม่ สิ่งที่ทำให้ผมแปลกใจอีกอย่างคือ รอบสนามเล็กของชุมชนแห่งนี้เต็มไปด้วยป้ายรายชื่อผู้สนับสนุน ร้านมินิมาร์ทบ้าง ร้านขายอะไหล่รถบ้าง ร้านซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์บ้าง ร้านอาหารบ้าง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นร้านค้าที่อยู่ในชุมชน

เงินผู้สนับสนุนเหล่านี้ เราเอามาทำสนามแข่งสำหรับเด็กและอุปกรณ์กีฬา ส่วนครูผู้ฝึกสอน เราให้ผู้ปกครองที่มีทักษะมาสอน อนาคตอาจจ้างโค้ชที่เป็นมืออาชีพมา ถ้ามีเงินมากขึ้น สำหรับชุดกีฬา ผู้ปกครองเด็กแต่ละคนจะรับผิดชอบเอง” Tish แม่ของ Grayson เล่าให้ฟัง

ความเป็นมืออาชีพ มันต้องสร้างตั้งแต่เด็ก เราไม่รู้ว่าเด็กทั้งหมดในชุมชนจะมีกี่คนที่จะได้เล่นในลีกอาชีพของประเทศบ้างในอนาคต อาจจะห้าคน สามคน หรือแค่คนเดียว มันอาจจะเป็นลูกฉัน หรือลูกคนอื่น คนโน้น คนนี้ แต่มันน่าภูมิใจว่า คนในชุมชนเราสร้างเขาคนนั้นขึ้นมาร่วมกัน ชุมชนของฉันตั้งความหวังว่าอีกสิบปี คนในชุมชนต้องไปเล่นในลีกอาชีพของประเทศให้ได้ ฉันเองก็เฝ้ารอวันนั้น และฉันจะไปเชียร์ที่ขอบสนามทุกนัดเลย” Tish กล่าวทิ้งท้าย

 

 

 

 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าวันที่ 10 กันยาฯ ทีมทั้งหมดเริ่มซ้อมเพื่อทบทวนกระบวนท่าฟ้อน ท่ารำ ท่วงท่าทำนอง จังหวะจะโคน ก่อนตระเวนออกศึก การซ้อมเริ่มต้นด้วยเพลงในอัลบั้มหิมพานต์ 2nd World ของพี่ทอด์ด ทองดี ต่อด้วยเพลงของ ซอ สมาชิกวง the sis ตามด้วยเพลงของลานนา คัมมินส์ รวมทั้งเพลงของมือระนาดและมือโปงลาง หมอแคน จนมาปิดท้ายที่เพลงของผม
ชิ สุวิชาน
บรรยากาศจากเทือกเขาสแครนตัน   หลังจากที่นักดนตรี นักร้อง นักรำมาถึงกันครบองค์ทั้งหมดแล้ว จึงเริ่มมีการแกะกล่องสัมภาระที่ขนเครื่องดนตรีและเครื่องไม้เครื่องมือประกอบการแสดงที่มาจากเมืองไทย ผมเริ่มแกะพลาสติกกันกระแทกที่ห่อเตหน่ากูไว้ เตหน่ากูได้โผล่ออกมารับแสงรับลมอีกครั้ง
ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าตื่นมา อากาศเย็นค่อนไปถึงหนาว ในขณะที่คณะที่มาด้วยกันยังนอนหลบกันอย่างเมามันจากอาการเพลียเพราะการเดินทาง ผมเดินลงไปในห้องครัวเผื่อเจออะไรที่ทานได้บ้าง หน้าห้องครัวเจ้าของบ้านได้ติดรูปคนในครอบครัว รูปลูกชายสองคน ที่ผมแปลกใจคือมีรูปหนึ่งที่ไม่ใช่รูปของผู้ชาย เป็นรูปคล้ายนางฟ้ามีข้อความเขียนว่า “Bless this home”  ทำให้นึกถึงบ้านคนไทยที่มีการเขียนหน้าบ้านต่างๆหลายอย่างเช่น “มั่งมีศรีสุข” บ้าง “บ้านนี้อยู่แล้วรวย” บ้าง
ชิ สุวิชาน
การรอคอยที่ไทเปสิ้นสุดลง เมื่อประตูสู่นิวยอร์กได้เปิดออกให้ผู้โดยสารเดินเข้าไปในเครื่องบิน ระยะทางกว่าสิบสี่ชั่วโมง ผมอยู่กับเพลง World Music ซึ่งเป็นเมนูที่มีให้เลือกจากสายการบิน บางเพลงมีเสียงระนาด ขลุ่ย และมีจังหวะหมอลำปะปนด้วยได้กลิ่นไอดนตรีไทยเป็นอย่างสูง ผมจึงยกหูฟังให้พี่สานุ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์จากกรุงเทพฟัง เขาฟันธงเลยว่าเสียงทั้งหมดเป็นการ Samp มาทั้งนั้น ไม่ใช่เสียงจริงดั้งเดิมที่คนเล่นมา แต่ถึงอย่างไรก็เป็นการฆ่าความน่าเบื่อของการอยู่บนเครื่องเป็นเวลานานได้เป็นอย่างดี  
ชิ สุวิชาน
ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
ชิ สุวิชาน
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คำรบที่สาม เป็นไปอย่างเรียบง่ายเล็กๆ กะทัดรัด ตามประเด็นหัวข้อที่นำเอาเรื่องของ "การจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงในรูปแบบโฉนดชุมชน" ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสชนเผ่าทางภาคเหนือต่างมากันอย่างครบครันเช่นเดิม
ชิ สุวิชาน
เขาเดินลงไปท้ายหมู่บ้าน พร้อมกับบทเพลง" อย่าให้น้ำตาไหลริน"ของ ฉ่า เก โดะ ที  แม่จ๋า อย่าปล่อยให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล            บัดนี้อายุลูกครบ สิบหกบริบูรณ์แล้วดั่งกฎของชายชาติทหารทุกประทศมี                  ลูกต้องทำหน้าที่เพื่อการปฏิวัติพ่อได้สละชีพจนแม่เลี้ยงลูกอย่างกำพร้า             อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ลำเค็ญ แม่ทนถึงคราวลูกชายคนโตต้องไปทำหน้าที่ต่อ     …
ชิ สุวิชาน
สงครามตามชายแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำเมยได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทางการพม่าออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนกับสงครามที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากะเหรี่ยงด้วยกันเอง คือระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ผลของการสู้รบทำให้ประชาชนชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเองที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบ ต้องหนีภัยจากการสู้รบ หลายชุมชนต้องฝ่าเสียงกระสุนปืน หลายชุมชนต้องฝ่าดงและเสียงระเบิด ในขณะที่เดินฝ่าความตายเพื่อหนีตายนั้น ต้องทำด้วยความเงียบ ความรวดเร็ว ต้องเก็บแม้กระทั่งเสียงร้องไห้
ชิ สุวิชาน
เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!
ชิ สุวิชาน
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี  "โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน
ชิ สุวิชาน
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น  แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย