Skip to main content

“ผมมีเพื่อนปกาเกอะญอมาด้วยคนหนึ่ง” ผมบอกกับคนดู
ผมได้ไปพบ และได้ไปฟัง เพลงที่เขาร้อง ณ ริมฝั่งสาละวิน ทำให้ผมเกิดความประทับใจในท่วงทำนองและความหมายของบทเพลงรวมทั้งตัวเขาด้วย

ผมทราบมาว่าตอนนี้เขาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่  ผมจึงไม่พลาดโอกาสทีจะชักชวนเขามาร่วม บอกเล่าเรื่องราวของชนเผ่า ผ่านบทเพลงที่ผมประทับใจ ซึ่งแรก ๆ นั้น เขาแบ่งรับ แบ่งสู้  ที่จะตอบรับการชักชวนชองผม แต่ผมก็ชักแม่น้ำทั้งห้า จนเขาหมดหนทางปฏิเสธ

“ผมไม่คุ้นเคยกับการร้องเพลงต่อหน้าคนมาก ๆ นะ” เขาออกตัวกับผมก่อนวันงาน แต่เมื่อถึงวันงานเขาก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง เขาเดินออกมาแบบเกร็งๆ และประหม่าอย่างเห็นได้ชัด เขาจะยืนตรงก็ไม่ใช่ จะยืนเท้าเอวก็ไม่เชิง

“ตอนขึ้นต้นช่วยร้องนำให้หน่อยนะ ผมไม่มั่นใจ ผมกลัวขึ้นไม่ถูก” เขากระซิบข้างผมก่อนจะร้องเพลง ผมพยักหน้าตอบและยิ้ม ๆ เพื่อให้เขารู้สึกอุ่นใจขึ้น ผมบีบแขนเขา เพื่อให้เขาหายเกร็ง เขาหันกลับมายิ้มแบบเกร็ง ๆ อยู่เหมือนเดิม  

เมื่อผมเริ่มบรรเลงเตหน่า เขาเริ่มทำหน้าเครียดทันที เขาพยายามฟังเตหน่าของผม และพยายามดูหน้าของผม เผื่อผมจะส่งสัญญาณให้ขึ้นต้นร้องเพลง  และแล้วเขาก็เริ่มต้นร้องพลาดจนได้ แต่ผมส่งสัญญาณให้เขาเดินหน้าร้องต่อไป  เขาไม่ลังเลอีกแล้ว เขาเปล่งเสียงร้องต่อแบบสั่น ๆ นิดหน่อย

ฤดูกาลแห่งความร้อนแล้ง ได้สิ้นสุดลงแล้ว
ฤดูกาลแห่งสายฝนจะเริ่มต้นแล้ว
ลมฝน เริ่มมาทักทายยอดใบไม้ของต้นไม้สูง
ไข่ในรังนกเริ่มแตกและออกลูก
ฝูงเขียดร้องระงมไปทั่วทุ่งนาในยามค่ำคืน
เชือกเริ่มมาร้อยที่จมูก
ฤดูกาลแห่งการทำงานได้เริ่มต้นอีกครา
กลางแดด กลางฝน ต้องตามเชือกที่เขาจูง
เมื่อยขา เล็บแตก ก็ต้องทน
ท้องหิว แต่งานยังไม่เสร็จก็ต้องทน
อยากจะบอกความต้องการให้เขารู้แต่พูดไม่ได้

เกิดมาชาตินี้มีแต่กรรม
ต้องทนทุกข์เข็ญทรมาน
ทั้งดิน ทั้งโคลน ต้องลากดึง
เพื่อคนอื่นได้มีกิน เราต้องทำ

ฤดูกาลแห่งการเก็บเกี่ยวสิ้นสุดลงแล้ว
ฤดูกาลแห่งการดื่มกินฉลองได้เริ่มต้น
ลมหนาวได้พัดมาหนาวเย็นถึงกระดูก
ต้องเข้าป่าเพื่อหญ้าลำพังตามประสา
ลืมแล้วผู้ไถคราดยามต้นฤดู
ชาติหน้าเรามาสลับเปลี่ยนสภาพกันบ้าง
แล้วจะเข้าใจว่ามันเป็นอย่างไร?

เขาร้องเพลงจบ เขาหันมายิ้มให้ผมพร้อมเหงื่อบนใบหน้า  
“ขอเป็นกำลังใจด้วยเสียงตบมือให้เพื่อนผมหน่อยครับ” ผมพูดจบ เสียงตบมือดังลั่นห้อง เขาก้มหัวแทนคำขอบคุณและเดินลงไปอย่างเงียบๆ

ผมยังคงต้องทำหน้าที่ต่อ ณ ที่ว่างข้างหน้าแห่งนั้น โดยยังคงมีผู้ช่วยของผมและเพื่อนนักดนตรีจากออสเตรเลียร่วมทำหน้าที่

แบแล บทเพลงที่ให้พลิกฟื้นแผ่นดินถิ่นเกิด เขามีข้าวกิน เราก็มีข้าวกิน อร่อยแน่ๆ หากได้อยู่ได้กินได้ทำในถิ่นกำเนิด  แม่ผู้ยังคงทำหน้าที่ผลิตวัฒนธรรมสู่ลูกหลานให้กลับมาสู่เหย้า  และการกลับมาของฟักสีเขียวกับไก่สีขาวบนขันตกเดียวกัน  โลกต้องการการปลอบประโลมให้หยุดร้องไห้

“ผมมีพีชายอีกคนหนึ่ง ซึ่งเดินทางมาจากริมทะเลสาบสงขลา จนมาพบเจอเรื่องราวของธรรมชาติและคนบนภูเขา วันนี้อยากให้เขามาเล่าเรื่องราวอีกมุมหนึ่งในการเดินทางให้พวกเราฟัง” ผมพูดจบทุกสายตาต่างมองไปที่ผู้ชายร่างโย่งที่กำลังลุกขึ้นมาเก้งก้างกว่าคนใต้ทั่วไป

เขาเดินขึ้นมานิ่งๆ ช้าๆ แต่มั่นคงในจังหวะเดิน  ยิ้มนิ่มๆ พูดเบาๆ
“เพลงสัตว์ป่านะ” เขาหันมาถามผมเพื่อความแน่ใจ

เขาเคยบอกกับผมว่าเพลงนี้เขาเขียนร่วมกับอาจารย์ลีซะ  ขุนพลเพลงปกาเกอะญอรุ่นใหญ่อีกคนหนึ่ง

“แม้เนื้อเพลงจะพูดถึงสัตว์ป่า แต่มันทำให้เห็นมนุษย์อยู่ในนั้น การล่ากันในสังคมมนุษย์ มันเกิดขึ้นจริง อยากบอกว่าหยุดได้แล้ว” เขาเคยบอกผม แล้วมันก็ติดอยู่ในหัวของผมตลอดเรื่อยมา ซึ่งก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมนำเพลงนี้มาขับร้องร่วมกับเขาในครั้งนี้และต่อไปอีกหลายๆ ครั้ง (ถ้าเขายินยอมเล่นด้วย)

*อีเก้ง ร้องในลำห้วย  หวลให้นึกถึงโลกป่า
โด เก่อ โอ(นกฮูก) ร้องยามค่ำคืน
อย่าไปล่า อย่าฆ่ามันเลย
....................................
ปล่อยให้มันเป็นอยู่อย่างนั้น
มันจะได้ใช้ชีวิตในโลกป่าเขา

* บางส่วนของเพลงสัตว์ป่า จากอัลบั้ม คนภูดอย / ศิลปินลีซะและสุวิชานนท์


บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
“ตั้งสายได้แล้ว วิธีการเล่นล่ะ?” ลูกชายกำลังไฟแรงอยากเรียนรู้ “ใจเย็นๆ ก่อนอื่นต้องฝึกร้องเพลงให้ได้ก่อน ถ้าร้องเพลงไม้ได้ จำทำนองเพลงไม่ได้ จะเล่นได้ไง” พ่อค่อยๆสอนลูกชาย “เอางี๊ เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นและชอบสอนเด็กบ่อยๆ ซักสองสามท่อนนะ” แล้วพ่อก็เริ่มเปล่งเสียงร้องและให้ลูกชายร้องตามที่ละวรรค
ชิ สุวิชาน
พ่อได้ดื่มชาในกระบอกไม้ไผ่จนหมดไปกว่าครึ่งหนึ่ง แล้วจึงวางลง“เดิมทีนั้น เตหน่ากูมีจำนวนสายเพียง 5-7สาย แต่ต่อมาได้มีการเพิ่มเติมสายในการเล่นเป็น 8-9สายหรือ 10-12หรือมากกว่านั้นก็ได้” พ่อหยิบเตหน่ากูและเล่าให้ลูกชายฟัง“ทำไมจำนวนสายไม่เท่ากันล่ะ?” ลูกชายถามผู้เป็นพ่อ“มันขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน ชอบและถนัด 7 สายก็เล่น7 สายชอบน้อยกว่านั้นก็เล่นน้อยกว่าก็ได้ หรือชอบมากกว่านั้นก็เล่นมากกว่านั้นก็ได้” พ่อตอบสิ่งที่ลูกชายสงสัยในการตั้งสายเตหน่ากูแบบไมเนอร์สเกล (Minor scale) นั้นเริ่มจาก 5-7 สายโดยมีตัวโน๊ตหลักตามไมเนอร์สเกลอยู่ 5 โน้ต ได้แก่ โด (D) เร (R)  มี (M) โซ (S) ลา…
ชิ สุวิชาน
ความมืดกลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง เช่นเดียวกับไม้เกี๊ยะที่มาจากแกนไม้สนสองใบต้องถูกเผาเพื่อผลิตแสงสว่างในครัวบ้านปวาเก่อญออีกครั้ง กาต้มน้ำที่ดำสนิทด้วยคราบเขม่าควันไฟถูกตั้งบนเหล่อฉอโข่อีกครั้ง กลิ่นชาป่าขั้วหอมทำให้โสตประสาทกระปรี่กระเปร่าขึ้นมาพร้อมเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ภายในบ้านไม้ไผ่หลังเดิมเตหน่ากู คืออุปกรณ์การเรียนรู้ถูกเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ของพ่อซึ่งเป็นผู้สอนหนึ่งตัว ของลูกซึ่งเป็นผู้เรียนหนึ่งตัว รูปร่างลักษณะเตหน่ากูแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีรูปทรงที่คล้ายๆกัน  มีตัวท่อนไม้ใหญ่ และมีกิ่งไม้ที่โค้งงอเมื่อพ่อเห็นว่าลูกชายพร้อมที่จะเริ่มการรับความรู้แล้ว …
ชิ สุวิชาน
“พี่น้องครับ พี่ชายคนนี้ยังคงทำหน้าที่ต่อ ณ ตรงนี้ครับ ขอมอบเวทีต่อให้พี่ครับ” ผมพูดจบผมกลับไปที่นั่งของผมเพื่อเป็นคนดูต่อแม่น้ำสายนี้ยังคงไหลไปตามกาลเวลาฯ....................................................ฉันผ่านมา  ผ่านมาทางนี้ ผ่านมาดูสายน้ำ.............ได้รู้ได้ยิน..............ฯบทเพลงแรกผ่านไปต่อด้วยสาละวิน สายน้ำตาเสียงปืนดังที่กิ่วดอยลูกชายไปสงครามเด็กน้อยผวาตื่น(ทุกคืนๆ)
ชิ สุวิชาน
“ผมมีเพื่อนปกาเกอะญอมาด้วยคนหนึ่ง” ผมบอกกับคนดูผมได้ไปพบ และได้ไปฟัง เพลงที่เขาร้อง ณ ริมฝั่งสาละวิน ทำให้ผมเกิดความประทับใจในท่วงทำนองและความหมายของบทเพลงรวมทั้งตัวเขาด้วยผมทราบมาว่าตอนนี้เขาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่  ผมจึงไม่พลาดโอกาสทีจะชักชวนเขามาร่วม บอกเล่าเรื่องราวของชนเผ่า ผ่านบทเพลงที่ผมประทับใจ ซึ่งแรก ๆ นั้น เขาแบ่งรับ แบ่งสู้  ที่จะตอบรับการชักชวนชองผม แต่ผมก็ชักแม่น้ำทั้งห้า จนเขาหมดหนทางปฏิเสธ“ผมไม่คุ้นเคยกับการร้องเพลงต่อหน้าคนมาก ๆ นะ” เขาออกตัวกับผมก่อนวันงาน แต่เมื่อถึงวันงานเขาก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง เขาเดินออกมาแบบเกร็งๆ และประหม่าอย่างเห็นได้ชัด เขาจะยืนตรงก็ไม่ใช่…
ชิ สุวิชาน
ณ ห้องเล็กๆ แถวสี่แยกกลางเวียง เมืองเชียงใหม่ เก้าอี้ถูกเรียงเป็นแถวหน้ากระดานประมาณร้อยกว่าตัว  ข้างหน้าถูกปล่อยว่างเล็กน้อยสำหรับเป็นพื้นที่ตั้งเครื่องเล่นดีวีดีและโปรเจคเตอร์เพื่อฉายสารคดี ใกล้เวลานัดหมายผู้คนเริ่มทยอยกันเข้ามาทีละคน ทีละคู่ ทีละกลุ่ม“เค้าไม่อยากให้เราพูดถึงเรื่องการเมือง แต่เราอาจพูดได้นิดหน่อย” เจ้าหน้าที่ FBR กระซิบมาบอกผมเกี่ยวกับความกังวลของเจ้าของสถานที่ ผมยิ้มแทนการสนทนาตอบ เพียงแต่คิดในใจว่า หากการเมืองคือความทุกข์ยากของประชาชน ของชาวบ้านคนรากหญ้าก็ต้องพูดให้สาธารณะได้รับรู้ เพื่อจะหาช่องทางในการช่วยบรรเทาทุกข์ของประชาชน…
ชิ สุวิชาน
หลังจากดูสารคดีด้วยกันจบ “ผมอยากฉายสารคดีชุดนี้สู่สาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่คนทั่วไปในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผมอยากให้คุณมาร่วมเล่นดนตรีด้วย คุณ โอ เค มั้ย” เขาถามผมผมนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง เพราะผมไม่รู้จะปฏิเสธอย่างไร  ผมรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งที่ต้องทำ  ผมบอกกับตัวเองว่า เพียงแค่เห็นใจและเข้าใจอาจไม่เพียงพอ   หากสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสื่อสารเรื่องราวของผู้ทุกข์ยาก โดยเฉพาะคนชนเผ่าเดียวกันได้  มันก็ควรทำไม่ใช่หรือหลังจากผมตอบตกลงเขา เราทั้งสองได้พูดคุยประสานงานกันเกี่ยวกับงานอยู่เรื่อย ๆ จนเวลาลงตัวในวันที่ 21 ธันวาคม ศกนี้ ณ สมาคม AUA เชียงใหม่ ในหัวข้อ “…
ชิ สุวิชาน
ต่า หมื่อ แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละ         ตา ข่า แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละอะ เคอ กิ ดิ เค่อ มี โบ            มา ซี ปกา ซู โข่ อะ เจอผีร้ายโผล่มาทางริมฝั่งสาละวิน        แมงร้ายโผล่มาทางลำน้สาละวินเสื้อผ้าลายเหมือนดั่งต้นบุก        มาเข่นฆ่าทำลายล้างชีวิตคน(ธา บทกวีคนปกาเกอะญอ)“คุณเคยติดตามสถานการณ์ทางรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่าบ้างไหม” เสียงผู้ชายโทรศัพท์มาถามผมด้วยภาษาไทยสำเนียงฝรั่ง“ผมทำงานในองค์กรชื่อFree Burma Rangers ครับ”…
ชิ สุวิชาน
เขานั่งอยู่แถวหน้า และเขาโบกไม้โบกมือขณะที่ผมกำลังบรรเลงเพลงอยู่บนเวที  ในมหกรรมคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งจัดโดยสำนักประชาสัมพันธ์ร่วมกับองค์กรยูเนสโก้  ในงานได้มีการเชิญศิลปินชนเผ่าหลักทั้ง 7 เผ่า ได้แก่ ม้ง อาข่า ลีซู ลาหู่ เมี่ยน ไทยใหญ่และกะเหรี่ยง รวมทั้งยังมีศิลปินล้านนา อาทิ ครูแอ๊ด  ภานุทัต  คำหล้า ธัญาภรณ์ น้อง ปฏิญญา และไม้เมืองนอกจากนี้มีทายาทของสุนทรี  เวชชานนท์ ราชินีเพลงล้านนา คือน้องลานนา มาร่วมร้องเพลง ธีบีโกบีกับทอดด์ ทองดี ศิลปินจากรัฐเพนโซเวเนีย…
ชิ สุวิชาน
เมื่อเข็มนาฬิกาเข็มที่สั้นที่สุด เลื่อนไปยังหมายเลขเก้า ทุกคนจึงขึ้นรถตู้ เคลื่อนขบวนไปยังศูนย์ศิลปและวัฒนธรรมแสงอรุณ  เมื่อถึงมีทีมงานเตรียมข้าวกล่องไว้รอให้ทาน พอทานข้าวเสร็จพี่อ้อย ชุมชนคนรักป่า ก็มาบอกผมว่า  งานจะเริ่มบ่ายโมง  พร้อมกับยื่นใบกำหนดการให้ผมดู  ผมตื่นเต้นนิดหน่อยพอบ่ายโมง งานก็เริ่มขึ้น โดยการฉายสไลด์เกี่ยวกับป่าชุมชนที่หมู่บ้านสบลาน อำเภอสะเมิงเชียงใหม่   "ถ้าถึงคิวแล้วจะมาเรียกนะ” ทีมงานบอกกับผมในระหว่างที่ผมรออยู่หน้างานนั้น ผมก็ได้เจอกับนักเขียน นักดนตรี นักกวี ที่ทยอยมา ได้มีโอกาสคุยกับคนที่ผมรู้จัก และกำลังรู้จัก และที่ไม่รู้จักด้วย …
ชิ สุวิชาน
บุ เต่อ โดะ นะ แล บุ เออบุ ลอ บ ะ เลอ ต่า อะ เออชะตา วาสนาช่างรันทดต้องเผชิญแต่สิ่งลำเค็ญ