Skip to main content

ความมืดกลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง เช่นเดียวกับไม้เกี๊ยะที่มาจากแกนไม้สนสองใบต้องถูกเผาเพื่อผลิตแสงสว่างในครัวบ้านปวาเก่อญออีกครั้ง กาต้มน้ำที่ดำสนิทด้วยคราบเขม่าควันไฟถูกตั้งบนเหล่อฉอโข่อีกครั้ง กลิ่นชาป่าขั้วหอมทำให้โสตประสาทกระปรี่กระเปร่าขึ้นมาพร้อมเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ภายในบ้านไม้ไผ่หลังเดิม

เตหน่ากู คืออุปกรณ์การเรียนรู้ถูกเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ของพ่อซึ่งเป็นผู้สอนหนึ่งตัว ของลูกซึ่งเป็นผู้เรียนหนึ่งตัว รูปร่างลักษณะเตหน่ากูแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีรูปทรงที่คล้ายๆกัน  มีตัวท่อนไม้ใหญ่ และมีกิ่งไม้ที่โค้งงอ

เมื่อพ่อเห็นว่าลูกชายพร้อมที่จะเริ่มการรับความรู้แล้ว  พ่อเริ่มขับขานบทเพลงและดีดเตหน่ากูไปพร้อมๆกัน  นิ้วมือ ข้อมือและเสียงร้องทำงานประสานกันอย่างกลมกลืน  ลูกชายมองที่มือของพ่อและฟังเสียงพ่ออย่างตั้งอกตั้งใจ พ่อร้องจนจบเพลง

“ร้องตามและเล่นตามพ่อทีละท่อนนะ” พ่อหันมาบอกลูกศิษย์ของตนเอง
“ได้เล้ย! เริ่มกันเลย!” ลูกศิษย์พร้อมปฏิบัติตามที่ครูสั่งอย่างเต็มใจ

พ่อร้องนำหนึ่งท่อนลูกร้องตามหนึ่งท่อน  พ่อดีดนำหนึ่งทีลูกดีดตามหนึ่งที  พ่อดีดมือหนึ่งลูกดีดมือเดียวกัน  พ่อดีดสองมือลูกก็ดีดตามสองมือ  ลูกพยามร้องและเล่นให้เหมือนกับที่พ่อได้ทำให้ดู  ดูเหมือนเสียงเพลงที่ร้องตามจะไปได้ด้วยดี  แต่มือที่ดีดเตหน่ากูและเสียงเตหน่ากูที่เล่นตามนั้นเกิดอะไรขึ้นกับลูกศิษย์

“เดี่ยว! เดี่ยว! เดี่ยว! หยุดก่อน ทำไมเสียงเตหน่ากูไม่ตรงกัน” ผู้เรียนร้องทักครู ทำให้ครูผู้สอนวางเตหน่ากูลงแล้วหัวเราะขำกลิ้งไปพักใหญ่ ส่วนผู้เป็นศิษย์มองพ่อหัวเราะด้วยความมึนงง??

“มันเป็นอย่างงัยครับ? มันเกิดอะไรขึ้น? พ่อแกล้งผมหรือเปล่า?” ลูกศิษย์ชักไม่แน่ใจในตัวตรู

“ไม่ได้แกล้ง! ก็ลูกยังไม่ได้เทียบเสียงสายเตหน่ากู ให้เท่ากับของพ่อ แล้วเสียงมันจะตรงกันได้งัย?” พ่อตอบเชิงแนะนำให้กับลูกชาย

“เทียบสายเตหน่ากูให้เท่ากันก่อน ให้มีเสียงเท่ากันทุกสายนะ” พ่อพูดจบพร้อมกับยื่นเตหน่าให้ลูกเทีบยสาย และก็หยิบมวนบุหรี่ขี้โยจิ้มกับถ่านแดงในเตาไฟ พ่อนำมวนยาดูดอย่างแรงจนแก้มปากสองข้างบุ๋มลึกแล้วคายควันออกมาทางปากและจมูกนั้น ขณะเดียวกันพ่อก็อมยิ้มมองลูกชายเทีบยสายเตหน่ากูอยู่

“ได้หรือยัง?”  พ่อถาม
“คิดว่านะ... แต่พ่อลองดูก่อน” ลูกหยิบเตหน่ากูให้พ่อเล่น เมื่อพ่อเห็นว่าเสียงเตหน่ากูเท่ากันแล้ว จึงเริ่มถ่ายทอดความรู้ให้ลูกชายต่อ

พ่อบรรจงเล่นทีละสาย  บรรจงร้องทีละท่อน เพื่อให้ลูกสามารถตามได้ทัน  การถ่ายทอดเรียนรู้ค่อยๆเป็นค่อยๆไปทีละนิด จนลูกชายเริ่มเล่นตามแบบมั่นใจขึ้นมามากขึ้น  กระทั่งสักพัก

“เอ๊ะ! ฟังเหมือนสายของผมจะไม่ตรงกับของพ่ออีกแล้วน่ะ!??” ลุกชายเริ่มลังเลอีกครั้ง
“ดีดแรงไป ทำให้สายเพี้ยน” ผู้เป็นพ่อบอกกับลูกและยังเตือนลูกอีกว่า หากเล่นเบาเกินเสียงจะเบาไปต้องควบคุมระดับความแรงให้พอดี

“พ่อ...ตั้งสายใหม่ให้หน่อย” ลูกชายยื่นเตหน่ากูให้พ่อ แต่พ่อไม่รับเตหน่ากูจากลูก
“พ่อคิดว่า ก่อนอื่นลูกต้องรู้จักวิธีตั้งสายก่อนนะ” ผู้เป็นพ่อแนะลูก   และบอกให้ลูกฟังอีกว่า แม้ว่าจะเล่นเตหน่ากูเป็นแล้ว แต่หากตั้งสายไม่เป็นมันจะลำบาก หากสายผิดเพี้ยนขึ้นมาก็ต้องอาศัยอื่นคอยตั้งให้ตลอด แต่หากเราตั้งสายเป็น เราก็ตั้งเองได้และสามารถตั้งเสียงสูงเสียงต่ำตามความต้องการของเราได้เอง

“การตั้งสายเตหน่ากูมีทั้งหมดกี่อย่างครับ? แต่ละอย่างตั้งอย่างไร?” ลูกชายใจร้อนถามพ่อ
“ใจเย็นๆ ซิ! เดี๋ยวค่อยๆ เรียนรู้ด้วยกัน” ผู้เป็นพ่ออมยิ้มบอกคำลูกชาย

การตั้งสายของเตหน่ากูนั้นมีหลากหลายรูปแบบ  ขึ้นอยู่กับความถนัดของคนเล่นและการเปลี่ยนตำแหน่งของสาย แต่หากอธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆอาจสามารถแยกแยะได้เป็นสองรูปแบบหลักๆ

“เอายั่งงี้ พ่อจะอธิบายตามความเข้าใจของพ่ออย่างง่ายๆคือ มีการตั้งสายสองรูปแบบหรือสองแนว แบบแรกคือแบบ ไมเนอร์ (Minor) แบบที่สองคือ แบบเมเจอร์ (Major)” ขณะที่พ่อพูดยังไม่ทันจบ

“ไมเนอร์ เมเจอร์ มันคืออะไรครับ??” ลูกชายถามแทรกมา
“พ่อเองก็ไม่ค่อยรู้เหมือนกัน แต่เห็นเพื่อนนักดนตรีเค้าเรียกกันอย่างนี้พ่อก็เรียกตามงั้นๆแหละ!” ผู้สอนออกตัวในความรู้ด้านทฤษฎีดนตรี

แต่ก็อธิบายให้ลูกฟังเพื่อเข่าใจง่ายๆว่า แบบไมเนอร์ จะเป็นแนวออกคล้ายๆ ดนตรีลุกทุ่ง หมอลำหรือเพลงพื้นบ้านต่างๆ แถวๆ บ้านเรา  ส่วนเมเจอร์ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเพลงสตริง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้จำกัดตัวว่าต้องเป็นแบบนี้เสมอไป  เพลงสตริงก็มีลายไมเนอร์ขณะเดียวเพลงลูกทุ่งหรือเพลงพื้นบ้านในบ้านเราบางครั้งก็มีเมเจอร์ด้วยเช่นกัน

หากมองเมเจอร์ กับไมเนอร์ในประเด็นของเสียงจะมีความแตกต่างตรงที่มีขั้นของคู่เสียงที่ต่างกัน  และหากมองในด้านอารมณ์ เมเจอร์มักจะให้อารมณ์ที่สดใสสว่างไสว  ขณะที่ไมเนอร์จะให้อารมณ์ที่โศกเศร้า อาลัยมากกว่า

“เอายั่งงี้เดี๋ยวพ่อจะสอนวิธีการตั้งสายให้ทั้งสองแบบเลย แต่ต้องไปทีละอย่างนะ” พ่อพูดจบ มือหยิบเกลือใส่ก๊อกน้ำไม้ไผ่แล้วเทน้ำจากกาเหล็กดำรินใส่ก๊อกแล้วดื่มเพื่อพักยกการถ่ายทอดเรียนรู้เตหน่ากูชั่วครู่

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า?…
ชิ สุวิชาน
 หลังเสร็จงานศพ ความรู้สึกจำใจจากบ้านมาเยือนอีกครั้ง  แต่การกลับบ้านครั้งนี้แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะในวิถีประเพณี ที่มีคนตายในชุมชน  ได้เห็นสภาพของป่าช้าที่ถูกผ่าตัดตอนแล้วพยายามเปลี่ยนอวัยวะชิ้นส่วนใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนที่ 
ชิ สุวิชาน
 โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม  ลูกชายที่เป็นศาสนาจารย์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศิษยาภิบาลได้จับดินก้อนหนึ่งกำไว้ในมือ  แล้วชูดินต่อหน้าผู้ร่วมงาน"ชีวิตเราถูกสร้างมาจากดิน แล้วพระเจ้าได้เป่าลมหายใจ คือชีวิตสู่เรา การรักษาร่างกายไม่สำคัญเท่ากับการรักษาชีวิต ชีวิตที่แม้ไม่มีร่างกายก็มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อร่างกายเราถูกสร้างมาจากดิน ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งก็ต้องเสื่อมและต้องกลับคืนสู่ดิน แต่ชีวิตไม่ได้ถูกสร้างมาจากดิน ชีวิตถูกสร้างมาจากลมหายใจที่มาจากพระเป็นเจ้า ถ้าเรารักษาชีวิตไว้ในขณะที่อยู่บนโลกให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า…
ชิ สุวิชาน
จบพิธีทางคริสต์ศาสนา แขกเหรื่อที่มาต่างทยอยเดินลงบันใด และยืนกองรวมกันที่ลานหน้าบ้านผู้ตาย รถกระบะสองคันซึ่งเป็นของลูกชายศาสนาจารย์ที่จากไปได้แล่นมาแหวกกลุ่มคนที่ยืนอยู่ลานหน้าบ้าน และจอดท่ามกลางวงห้อมล้อมของฝูงชน  "กางเขนนี้คนเอาไม่อยู่ โคตรหนักเลย" เสียงของหนึ่งในชายฉกรรจ์ พูดขึ้นหลังจากนำไม้กางเขนซีเมนต์ขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้วได้ขึ้นไว้บนรถกระบะ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้แบกไม้กางเขนของตนเองไปยังภูเขาที่พระองค์จะถูกตรึง ระหว่างทางได้อ่อนระโหยโรยแรง มีชายผู้หนึ่งที่สงสารจึงอาสาช่วยแบก แต่มาครั้งนี้คนเอาไม่อยู่ ผมเพียงแต่นึกในใจว่ากางเขนซีเมนต์นี้…
ชิ สุวิชาน
"ที่จะร้องให้ฟังต่อไปนี้เป็น ธา ปลือ ร้องเพื่อให้คนเป็นรู้ว่าคนตายได้ตายเพื่อไปที่อื่นแล้ว ร้องเพื่อให้คนตายรู้ว่าตัวว่าได้ตายและต้องไปอยู่อีกที่แล้ว ในวันที่ไม่มีคนตายห้ามพูดห้ามร้องเด็ดขาด ไม่ว่าในบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือที่ใดก็ตาม ในวันที่มีคนตายนั้นต้องร้อง" พือพูดก่อนร้อง พือหยิบไมโครโฟน หันมาทางผม ผมจึงเริ่มบรรเลงเตหน่า
ชิ สุวิชาน
ข่าวเรื่องการละสังขารของศาสนาจารย์ผู้ก่อตั้งคริสตจักรมูเจะคีในวัย 96 ปีได้ถูกกระจายออกไป ไม่เพียงแค่ในพื้นที่มูเจะคีเท่านั้น เชียงราย กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่เกิดและที่เติบโตของพื้นที่อื่นที่เขาเคยเผยแพร่และเทศนาเรื่องราวของพระคริสต์ทั้งในพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ข่าวการจากไปของเขาไม่เลยผ่านไปได้ งานศพถูกจัดการอย่างดีตามรูปแบบของคริสเตียน ข่าวไปถึงที่ไหนผู้คนจากที่นั่นก็มา คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ดูแล้วปริมาณไม่ต่างกันเท่าเลย เหมือนมีการจัดงานมหกรรมบางเกิดขึ้นในชุมชน ลูกหลานที่ไปทำงานจากที่ต่างๆ ของเขาก็มากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยที่งานศพถูกเก็บไปสามคืน
ชิ สุวิชาน
พี่นนท์เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้ฟังพาตี่ทองดี จึงร้องเพลงธาปลือให้ฟัง จนกระทั่งถึงท่อน โย เย็นนั้นระหว่างงาน พี่นนท์จึงถามคำแปลของเพลงเหล่านั้น หลังจากเสร็จงานนั้นเพลงเส่อเลจึงมีการต่อเติมจนเป็นเพลงขึ้นมาจนได้ “พี่นึกถึงหญิงสาวที่ต้องโตขึ้นมาอย่างลำบาก นึกถึงพัฒนาการการเติบโตของชีวิต ต้องตามพ่อตามแม่ปลูกข้าว กว่าจะโตเป็นสาวต้องผ่านการตรากตรำทำงานอย่างลำบาก พี่เลยจินตนาการการตายของเธอว่า เป็นการเสียชีวิตด้วยไข้ป่า”
ชิ สุวิชาน
แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้
ชิ สุวิชาน
ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย “ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก…
ชิ สุวิชาน
มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมูอยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพรท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่าทำไร่หมุนเวียน ทำนา …
ชิ สุวิชาน
เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง "ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ…
ชิ สุวิชาน
ปี 2540 สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชนที่อยู่กับป่าร้อนระอุขึ้นมาอีกระลอก เมื่อรัฐบาลของนายหัว ชวน หลีกภัย ได้มีนโยบายอพยพคนออกจากป่า นั่นหมายถึงชะตากรรมวิถีของคนอยู่กับป่าจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ชุมชนเดิม ที่อยู่ ที่ทำกินเดิมนั้นจะกลายเป็นเพียงที่ที่เคยอยู่เคยกินเท่านั้น ตัวแทนขบวนคนอยู่กับป่าจึงมีการขยับเคลื่อนสู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง โดยมีเครือข่ายกลุ่มสมัชชาคนจนจากภาคต่างๆมาสมทบอย่างครบครัน กลายเป็นชุมชนคนจนหน้าทำเนียบโดยปริยาย “ลูกหลานไปเรียกร้องสิทธิหลายครั้งแล้ว ไม่ได้สักที คราวนี้ฉันต้องไปเอง ถ้าเรียกร้องไม่สำเร็จฉันจะไม่กลับมาเด็ดขาด”…