Skip to main content

ความมืดกลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง เช่นเดียวกับไม้เกี๊ยะที่มาจากแกนไม้สนสองใบต้องถูกเผาเพื่อผลิตแสงสว่างในครัวบ้านปวาเก่อญออีกครั้ง กาต้มน้ำที่ดำสนิทด้วยคราบเขม่าควันไฟถูกตั้งบนเหล่อฉอโข่อีกครั้ง กลิ่นชาป่าขั้วหอมทำให้โสตประสาทกระปรี่กระเปร่าขึ้นมาพร้อมเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ภายในบ้านไม้ไผ่หลังเดิม

เตหน่ากู คืออุปกรณ์การเรียนรู้ถูกเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ของพ่อซึ่งเป็นผู้สอนหนึ่งตัว ของลูกซึ่งเป็นผู้เรียนหนึ่งตัว รูปร่างลักษณะเตหน่ากูแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีรูปทรงที่คล้ายๆกัน  มีตัวท่อนไม้ใหญ่ และมีกิ่งไม้ที่โค้งงอ

เมื่อพ่อเห็นว่าลูกชายพร้อมที่จะเริ่มการรับความรู้แล้ว  พ่อเริ่มขับขานบทเพลงและดีดเตหน่ากูไปพร้อมๆกัน  นิ้วมือ ข้อมือและเสียงร้องทำงานประสานกันอย่างกลมกลืน  ลูกชายมองที่มือของพ่อและฟังเสียงพ่ออย่างตั้งอกตั้งใจ พ่อร้องจนจบเพลง

“ร้องตามและเล่นตามพ่อทีละท่อนนะ” พ่อหันมาบอกลูกศิษย์ของตนเอง
“ได้เล้ย! เริ่มกันเลย!” ลูกศิษย์พร้อมปฏิบัติตามที่ครูสั่งอย่างเต็มใจ

พ่อร้องนำหนึ่งท่อนลูกร้องตามหนึ่งท่อน  พ่อดีดนำหนึ่งทีลูกดีดตามหนึ่งที  พ่อดีดมือหนึ่งลูกดีดมือเดียวกัน  พ่อดีดสองมือลูกก็ดีดตามสองมือ  ลูกพยามร้องและเล่นให้เหมือนกับที่พ่อได้ทำให้ดู  ดูเหมือนเสียงเพลงที่ร้องตามจะไปได้ด้วยดี  แต่มือที่ดีดเตหน่ากูและเสียงเตหน่ากูที่เล่นตามนั้นเกิดอะไรขึ้นกับลูกศิษย์

“เดี่ยว! เดี่ยว! เดี่ยว! หยุดก่อน ทำไมเสียงเตหน่ากูไม่ตรงกัน” ผู้เรียนร้องทักครู ทำให้ครูผู้สอนวางเตหน่ากูลงแล้วหัวเราะขำกลิ้งไปพักใหญ่ ส่วนผู้เป็นศิษย์มองพ่อหัวเราะด้วยความมึนงง??

“มันเป็นอย่างงัยครับ? มันเกิดอะไรขึ้น? พ่อแกล้งผมหรือเปล่า?” ลูกศิษย์ชักไม่แน่ใจในตัวตรู

“ไม่ได้แกล้ง! ก็ลูกยังไม่ได้เทียบเสียงสายเตหน่ากู ให้เท่ากับของพ่อ แล้วเสียงมันจะตรงกันได้งัย?” พ่อตอบเชิงแนะนำให้กับลูกชาย

“เทียบสายเตหน่ากูให้เท่ากันก่อน ให้มีเสียงเท่ากันทุกสายนะ” พ่อพูดจบพร้อมกับยื่นเตหน่าให้ลูกเทีบยสาย และก็หยิบมวนบุหรี่ขี้โยจิ้มกับถ่านแดงในเตาไฟ พ่อนำมวนยาดูดอย่างแรงจนแก้มปากสองข้างบุ๋มลึกแล้วคายควันออกมาทางปากและจมูกนั้น ขณะเดียวกันพ่อก็อมยิ้มมองลูกชายเทีบยสายเตหน่ากูอยู่

“ได้หรือยัง?”  พ่อถาม
“คิดว่านะ... แต่พ่อลองดูก่อน” ลูกหยิบเตหน่ากูให้พ่อเล่น เมื่อพ่อเห็นว่าเสียงเตหน่ากูเท่ากันแล้ว จึงเริ่มถ่ายทอดความรู้ให้ลูกชายต่อ

พ่อบรรจงเล่นทีละสาย  บรรจงร้องทีละท่อน เพื่อให้ลูกสามารถตามได้ทัน  การถ่ายทอดเรียนรู้ค่อยๆเป็นค่อยๆไปทีละนิด จนลูกชายเริ่มเล่นตามแบบมั่นใจขึ้นมามากขึ้น  กระทั่งสักพัก

“เอ๊ะ! ฟังเหมือนสายของผมจะไม่ตรงกับของพ่ออีกแล้วน่ะ!??” ลุกชายเริ่มลังเลอีกครั้ง
“ดีดแรงไป ทำให้สายเพี้ยน” ผู้เป็นพ่อบอกกับลูกและยังเตือนลูกอีกว่า หากเล่นเบาเกินเสียงจะเบาไปต้องควบคุมระดับความแรงให้พอดี

“พ่อ...ตั้งสายใหม่ให้หน่อย” ลูกชายยื่นเตหน่ากูให้พ่อ แต่พ่อไม่รับเตหน่ากูจากลูก
“พ่อคิดว่า ก่อนอื่นลูกต้องรู้จักวิธีตั้งสายก่อนนะ” ผู้เป็นพ่อแนะลูก   และบอกให้ลูกฟังอีกว่า แม้ว่าจะเล่นเตหน่ากูเป็นแล้ว แต่หากตั้งสายไม่เป็นมันจะลำบาก หากสายผิดเพี้ยนขึ้นมาก็ต้องอาศัยอื่นคอยตั้งให้ตลอด แต่หากเราตั้งสายเป็น เราก็ตั้งเองได้และสามารถตั้งเสียงสูงเสียงต่ำตามความต้องการของเราได้เอง

“การตั้งสายเตหน่ากูมีทั้งหมดกี่อย่างครับ? แต่ละอย่างตั้งอย่างไร?” ลูกชายใจร้อนถามพ่อ
“ใจเย็นๆ ซิ! เดี๋ยวค่อยๆ เรียนรู้ด้วยกัน” ผู้เป็นพ่ออมยิ้มบอกคำลูกชาย

การตั้งสายของเตหน่ากูนั้นมีหลากหลายรูปแบบ  ขึ้นอยู่กับความถนัดของคนเล่นและการเปลี่ยนตำแหน่งของสาย แต่หากอธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆอาจสามารถแยกแยะได้เป็นสองรูปแบบหลักๆ

“เอายั่งงี้ พ่อจะอธิบายตามความเข้าใจของพ่ออย่างง่ายๆคือ มีการตั้งสายสองรูปแบบหรือสองแนว แบบแรกคือแบบ ไมเนอร์ (Minor) แบบที่สองคือ แบบเมเจอร์ (Major)” ขณะที่พ่อพูดยังไม่ทันจบ

“ไมเนอร์ เมเจอร์ มันคืออะไรครับ??” ลูกชายถามแทรกมา
“พ่อเองก็ไม่ค่อยรู้เหมือนกัน แต่เห็นเพื่อนนักดนตรีเค้าเรียกกันอย่างนี้พ่อก็เรียกตามงั้นๆแหละ!” ผู้สอนออกตัวในความรู้ด้านทฤษฎีดนตรี

แต่ก็อธิบายให้ลูกฟังเพื่อเข่าใจง่ายๆว่า แบบไมเนอร์ จะเป็นแนวออกคล้ายๆ ดนตรีลุกทุ่ง หมอลำหรือเพลงพื้นบ้านต่างๆ แถวๆ บ้านเรา  ส่วนเมเจอร์ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเพลงสตริง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้จำกัดตัวว่าต้องเป็นแบบนี้เสมอไป  เพลงสตริงก็มีลายไมเนอร์ขณะเดียวเพลงลูกทุ่งหรือเพลงพื้นบ้านในบ้านเราบางครั้งก็มีเมเจอร์ด้วยเช่นกัน

หากมองเมเจอร์ กับไมเนอร์ในประเด็นของเสียงจะมีความแตกต่างตรงที่มีขั้นของคู่เสียงที่ต่างกัน  และหากมองในด้านอารมณ์ เมเจอร์มักจะให้อารมณ์ที่สดใสสว่างไสว  ขณะที่ไมเนอร์จะให้อารมณ์ที่โศกเศร้า อาลัยมากกว่า

“เอายั่งงี้เดี๋ยวพ่อจะสอนวิธีการตั้งสายให้ทั้งสองแบบเลย แต่ต้องไปทีละอย่างนะ” พ่อพูดจบ มือหยิบเกลือใส่ก๊อกน้ำไม้ไผ่แล้วเทน้ำจากกาเหล็กดำรินใส่ก๊อกแล้วดื่มเพื่อพักยกการถ่ายทอดเรียนรู้เตหน่ากูชั่วครู่

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าวันที่ 10 กันยาฯ ทีมทั้งหมดเริ่มซ้อมเพื่อทบทวนกระบวนท่าฟ้อน ท่ารำ ท่วงท่าทำนอง จังหวะจะโคน ก่อนตระเวนออกศึก การซ้อมเริ่มต้นด้วยเพลงในอัลบั้มหิมพานต์ 2nd World ของพี่ทอด์ด ทองดี ต่อด้วยเพลงของ ซอ สมาชิกวง the sis ตามด้วยเพลงของลานนา คัมมินส์ รวมทั้งเพลงของมือระนาดและมือโปงลาง หมอแคน จนมาปิดท้ายที่เพลงของผม
ชิ สุวิชาน
บรรยากาศจากเทือกเขาสแครนตัน   หลังจากที่นักดนตรี นักร้อง นักรำมาถึงกันครบองค์ทั้งหมดแล้ว จึงเริ่มมีการแกะกล่องสัมภาระที่ขนเครื่องดนตรีและเครื่องไม้เครื่องมือประกอบการแสดงที่มาจากเมืองไทย ผมเริ่มแกะพลาสติกกันกระแทกที่ห่อเตหน่ากูไว้ เตหน่ากูได้โผล่ออกมารับแสงรับลมอีกครั้ง
ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าตื่นมา อากาศเย็นค่อนไปถึงหนาว ในขณะที่คณะที่มาด้วยกันยังนอนหลบกันอย่างเมามันจากอาการเพลียเพราะการเดินทาง ผมเดินลงไปในห้องครัวเผื่อเจออะไรที่ทานได้บ้าง หน้าห้องครัวเจ้าของบ้านได้ติดรูปคนในครอบครัว รูปลูกชายสองคน ที่ผมแปลกใจคือมีรูปหนึ่งที่ไม่ใช่รูปของผู้ชาย เป็นรูปคล้ายนางฟ้ามีข้อความเขียนว่า “Bless this home”  ทำให้นึกถึงบ้านคนไทยที่มีการเขียนหน้าบ้านต่างๆหลายอย่างเช่น “มั่งมีศรีสุข” บ้าง “บ้านนี้อยู่แล้วรวย” บ้าง
ชิ สุวิชาน
การรอคอยที่ไทเปสิ้นสุดลง เมื่อประตูสู่นิวยอร์กได้เปิดออกให้ผู้โดยสารเดินเข้าไปในเครื่องบิน ระยะทางกว่าสิบสี่ชั่วโมง ผมอยู่กับเพลง World Music ซึ่งเป็นเมนูที่มีให้เลือกจากสายการบิน บางเพลงมีเสียงระนาด ขลุ่ย และมีจังหวะหมอลำปะปนด้วยได้กลิ่นไอดนตรีไทยเป็นอย่างสูง ผมจึงยกหูฟังให้พี่สานุ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์จากกรุงเทพฟัง เขาฟันธงเลยว่าเสียงทั้งหมดเป็นการ Samp มาทั้งนั้น ไม่ใช่เสียงจริงดั้งเดิมที่คนเล่นมา แต่ถึงอย่างไรก็เป็นการฆ่าความน่าเบื่อของการอยู่บนเครื่องเป็นเวลานานได้เป็นอย่างดี  
ชิ สุวิชาน
ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
ชิ สุวิชาน
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คำรบที่สาม เป็นไปอย่างเรียบง่ายเล็กๆ กะทัดรัด ตามประเด็นหัวข้อที่นำเอาเรื่องของ "การจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงในรูปแบบโฉนดชุมชน" ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสชนเผ่าทางภาคเหนือต่างมากันอย่างครบครันเช่นเดิม
ชิ สุวิชาน
เขาเดินลงไปท้ายหมู่บ้าน พร้อมกับบทเพลง" อย่าให้น้ำตาไหลริน"ของ ฉ่า เก โดะ ที  แม่จ๋า อย่าปล่อยให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล            บัดนี้อายุลูกครบ สิบหกบริบูรณ์แล้วดั่งกฎของชายชาติทหารทุกประทศมี                  ลูกต้องทำหน้าที่เพื่อการปฏิวัติพ่อได้สละชีพจนแม่เลี้ยงลูกอย่างกำพร้า             อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ลำเค็ญ แม่ทนถึงคราวลูกชายคนโตต้องไปทำหน้าที่ต่อ     …
ชิ สุวิชาน
สงครามตามชายแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำเมยได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทางการพม่าออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนกับสงครามที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากะเหรี่ยงด้วยกันเอง คือระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ผลของการสู้รบทำให้ประชาชนชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเองที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบ ต้องหนีภัยจากการสู้รบ หลายชุมชนต้องฝ่าเสียงกระสุนปืน หลายชุมชนต้องฝ่าดงและเสียงระเบิด ในขณะที่เดินฝ่าความตายเพื่อหนีตายนั้น ต้องทำด้วยความเงียบ ความรวดเร็ว ต้องเก็บแม้กระทั่งเสียงร้องไห้
ชิ สุวิชาน
เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!
ชิ สุวิชาน
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี  "โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน
ชิ สุวิชาน
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น  แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย